ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 49.229.49.86 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Noen revthai
บรรทัด 27:
=== พระราชสมภพ ===
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ [[20 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2279]] ในแผ่นดิน[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]] พระองค์เป็นบุตรคนที่ 4 ของพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น[[สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก]] กับ[[พระอัครชายา (หยก)]]
 
===พระเชษฐภคินีและพระเชษฐาและพระอนุชา===
* [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสา กรมพระยาเทพสุดาวดี]]
* [[สมเด็จพระเจ้ารามณรงค์]]
* [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์]]
* [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]
* [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]]
และมีพระอนุชาที่เกิดกับคุณหญิงมา ภรรยาคนที่2ของพระอักษรสุนทรศาสตร์(ทองดี)คือ
* [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าลา กรมหลวงจักรเจษฎา]]
และมีพระขนิษฐาที่เกิดกับคุณหญิงหยก ภรรยาคนที่3ของพระอักษรสุนทรศาสตร์(ทองดี)คือ
* [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี]]
เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ถวายตัวเป็น[[มหาดเล็ก]]ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต (ต่อมาคือ[[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร]]) ครั้นพระชนมายุครบ 21 พรรษา ก็เสด็จออกผนวชเป็นภิกษุอยู่วัดมหาทลาย 1 พรรษา แล้วลาผนวชเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรดังเดิม เมื่อพระชนมายุได้ 25 พรรษา พระองค์เสด็จออกไปรับราชการที่เมืองราชบุรีในตำแหน่ง "''หลวงยกกระบัตร''" ในแผ่นดิน[[สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์]]<ref>เทศนาพระราชประวัติและพงศาวดารกรุงเทพฯ, หน้า 5-7</ref> และได้สมรสกับคุณนาค (ภายหลังได้รับการสถาปนาที่ [[สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี]]) ธิดาในตระกูลเศรษฐีมอญที่มีรกรากอยู่ที่บ้านอัมพวา [[จังหวัดสมุทรสงคราม|เมืองสมุทรสงคราม]]<ref>หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, หน้า 12</ref>
 
=== รับราชการในสมัยกรุงธนบุรี ===
{{พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี}}
{{ดูเพิ่มที่|การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี}}
ภายหลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|การเสียกรุงศรีอยุธยา]]แก่[[พม่า]]แล้ว [[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี|พระยาตาก (สิน)]] ได้[[ปราบดาภิเษก]]ขึ้นเป็น[[พระมหากษัตริย์]]และย้ายราชธานีมายัง[[กรุงธนบุรี]] ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุได้ 32 พรรษาและได้เข้าถวายตัวรับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชตามคำชักชวนของพระมหามนตรี (บุญมา) (ต่อมาคือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) โดยทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น "''พระราชริน (พระราชวรินทร์)''" เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา และทรงย้ายนิวาสสถานมาอยู่ที่บริเวณวัดบางหว้าใหญ่ ([[วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร]]ในปัจจุบัน) ในปี [[พ.ศ. 2311]] สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จขึ้นไปตีเมืองพิมายซึ่งมี[[กรมหมื่นเทพพิพิธ]]เป็นเจ้าเมืองพิมายอยู่ พระองค์และพระมหามนตรีได้รับพระราชโองการให้ยกทัพร่วมในศึกครั้งนี้ด้วย หลังจากการศึกในครั้งนี้ พระองค์ทรงได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "''พระยาอไภยรณฤทธิ์''" จางวางพระตำรวจฝ่ายขวา เพื่อเป็นการปูนบำเหน็จที่มีความชอบในการสงครามครั้งนี้
 
หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพขึ้นไปปราบ[[เจ้าพระฝาง]]สำเร็จแล้ว มีพระราชดำริว่า[[เจ้าพระยาจักรี (หมุด)]] นั้นมิแกล้วกล้าในการสงคราม ดังนั้น จึงโปรดตั้งพระองค์ขึ้นเป็น "''พระยายมราช''" เสนาธิบดีกรมพระนครบาล โดยให้ว่าราชการที่[[สมุหนายก]]ด้วย เมื่อเจ้าพระยาจักรีแขกถึงแก่กรรมแล้ว พระองค์จึงได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "''เจ้าพระยาจักรี''" ที่สมุหนายก พร้อมทั้งโปรดให้เป็นแม่ทัพเพื่อไปตีกรุงกัมพูชา โดยสามารถตีเมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ เมืองบริบูรณ์ และเมืองพุทไธเพชร (เมืองบันทายมาศ) ได้ เมื่อสิ้นสงครามสมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดให้[[นักองค์รามาธิบดี]]ไปครองเมืองพุทไธเพชรให้เป็นใหญ่ในกรุงกัมพูชา และมีพระดำรัสให้เจ้าพระยาจักรีและพระยาโกษาธิบดีอยู่ช่วยราชการที่เมืองพุทไธเพชรจนกว่าเหตุการณ์จะสงบราบคาบก่อน
 
พระองค์เป็นแม่ทัพทำราชการสงครามกับพม่า เขมร และลาว จนมีความชอบในราชการมากมาย ดังนั้น จึงได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น "''สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิฤกมหิมา ทุกนัครระอาเดช นเรศรราชสุริยวงษ์ องค์อรรคบาทมุลิกากร บวรรัตนบรินายก''" และทรงได้รับพระราชทานให้ทรงเสลี่ยงงากลั้นกลดและมีเครื่องยศเสมอยศ[[เจ้าต่างกรม]]<ref>พระบาทสมเด็จพระเธียรมหาราชเจ้า, ปฐมวงศ์ (พระบรมราชมหาจักรีกษัตริย์สยาม), โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย, พ.ศ. 2470</ref><ref>พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 131-132</ref>
 
เมื่อถึงปี [[พ.ศ. 2325]] ได้เกิดจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรีคือ [[พระยาสรรค์]]ได้ตั้งตัวเป็นกบฏ ขณะนั้นพระองค์ท่านเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้เสด็จกลับจากกัมพูชามาที่กรุงธนบุรี แล้วปราบปรามกบฏ ทรงเห็นว่าเหตุเพราะสมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระสติวิปลาส จึงให้นำไปสำเร็จโทษด้วยการตัดพระเศียร<ref>''พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา'', กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2548, หน้า 230</ref> สมัยกรุงธนบุรีจึงสิ้นสุดลงในที่สุด
 
=== ปราบดาภิเษก ===
หลังจากนั้นในวันที่ [[6 เมษายน]] [[พ.ศ. 2325]] หลังจากที่พระองค์ทรงปราบปรามกบฏเรียบร้อยแล้ว ทางอาณาประชาราษฎร์ได้อัญเชิญเสด็จขึ้นปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]] ขณะที่มีพระชนมายุได้ 46 พรรษา พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีราชธานีเดิมที่อยู่ฝั่งตะวันตกของ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]มายังฝั่งตะวันออกของ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] พระองค์โปรดให้สร้างพระราชวังหลวงและโปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญ[[พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร]]มาประดิษฐานยังวัด[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] หลังจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉลองสมโภชพระนครเป็นเวลา 3 วัน ครั้งเสร็จการฉลองพระนครแล้ว พระองค์พระราชทานนามพระนครแห่งใหม่ให้ต้องกับนามพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรว่า "''กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์''" หรือเรียกอย่างสังเขปว่า "[[กรุงเทพมหานคร]]"
 
=== สวรรคต ===
หลังจากการฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็ทรงพระประชวรด้วยพระโรคชรา พระอาการทรุดลงตามลำดับ จนกระทั่ง เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 ณ [[พระที่นั่งไพศาลทักษิณ]] รวมพระชนมายุได้ 73 พรรษา เสด็จอยู่ในราชสมบัติ 27 ปี
 
พระบรมศพถูกเชิญลงสู่พระลองเงินประกอบด้วย[[พระโกศทองใหญ่]]แล้วเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ [[พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท]] ภายใต้พระมหาเศวตฉัตร ตั้งเครื่องสูงและเครื่องราชูปโภคเฉลิมพระเกียรติยศตามโบราณราชประเพณี พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม ประโคมกลองชนะตามเวลา ดังเช่นงานพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยาทุกประการ จนกระทั่ง พ.ศ. 2354 [[พระเมรุมาศ]]ซึ่งสร้างตามแบบพระเมรุมาศสำหรับพระเจ้าแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยาได้สร้างแล้วเสร็จ จึงเชิญพระบรมโกศจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้นประดิษฐาน ณ พระเมรุมาศ แล้วจักให้มีการสมโภชพระบรมศพเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน จึงถวายพระเพลิงพระบรมศพ หลังจากนั้น มีการสมโภชพระบรมอัฐิและบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อแล้วเสร็จจึงเชิญพระบรมอัฐิประดิษฐาน ณ [[หอพระธาตุมณเฑียร]] ภายในพระบรมมหาราชวัง ส่วนพระบรมราชสรีรางคารเชิญไปลอยบริเวณหน้า[[วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร]]
 
==พระราชกรณียกิจ==