ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัดยาร์ด คิปลิง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Choomhub (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 49:
 
วันที่ "สว่างจ้าและมืดสนิท" ของคิปลิงในบอมเบย์สิ้นสุดลงเมื่อเขาอายุได้ 5 ขวบ<ref name="autobio">{{cite web |url=http://ghostwolf.dyndns.org/words/authors/K/KiplingRudyard/prose/SomethingOfMyself/index.html |title=''Something of Myself'' |last=Kipling |first=Rudyard |year=1935 |access-date=6 September 2008 |url-status=bot: unknown |archive-url=https://web.archive.org/web/20140223004314/http://ghostwolf.dyndns.org/words/authors/K/KiplingRudyard/prose/SomethingOfMyself/index.html |archive-date=23 February 2014 }}</ref> เขาและทริกซ์ น้องสาววัย 3 ขวบถูกส่งไปยังสหราชอาณาจักรตามธรรมเนียมในบริติชอินเดีย – ในกรณีของพวกเขาคือที่[https://en.wikipedia.org/wiki/Southsea เซาท์ซี] [https://en.wikipedia.org/wiki/Portsmouth พอร์ตสมัท] – เพื่ออาศัยอยู่กับคู่สามีภรรยาที่[https://en.wikipedia.org/wiki/Boarding_house รับเลี้ยงดู]เด็กชาวอังกฤษที่มาจากในต่างแดนPinney, <ref>Thomas (2011) [2004]. "Kipling, (Joseph) Rudyard (1865–1936)". Oxford Dictionary of National Biography (online ed.). Oxford University Press. doi:10.1093/ref:odnb/34334. (Subscription or UK public library membership required.)</ref> ในอีกหกปีนับจากนี้ (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 1871 ถึงเมษายน 1877) เด็กๆอาศัยอยู่กับคู่สามีภรรยา – กัปตัน ไพรส์ อะการ์ ฮอลโลเวย์ ซึ่งเคยเป็นเจ้าหน้าที่ใน[https://en.wikipedia.org/wiki/Merchant_Navy_(United_Kingdom) กองทัพเรือพาณิชย์] และ ซาราห์ ฮอลโลเวย์ – ที่บ้านของพวกเขา ลอร์นลอดจ์ 4 ถนนแคมป์เบลล์ เซาท์ซี<ref>Pinney, Thomas (1995). "A Very Young Person, Notes on the text". Cambridge University Press. Retrieved 6 March 2012.</ref> คิปลิงเรียกขานสถานที่แห่งนี้ว่า “บ้านแห่งความอ้างว้าง”<ref name="autobio" />
 
ในอัตชีวประวัติของเขาซึ่งตีพิมพ์เมื่อ 65 ปีต่อมา คิปลิงเล่าถึงความสยดสยองขณะพักอยู่ที่บ้านหลังนั้น และสงสัยว่าหากเขาไม่ได้พบกับความโหดร้ายและการละเลยด้วยน้ำมือของนางฮอลโลเวย์ เขาก็อาจยังไม่ได้เริ่มต้นชีวิตวรรณกรรม: “ถ้าคุณคอยเข้มงวดกับกิจวัตรประจำวันของเด็กเจ็ดหรือแปดขวบ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถึงเวลานอน) เขาจะฝืนใจอย่างเต็มอกเต็มใจมาก แต่หากเรื่องที่ต้องฝืนใจมาจากคำโกหกและรายละเอียดปลีกย่อยในระหว่างมื้อเช้า ชีวิตก็ไม่ง่าย ฉันรู้จักการกลั่นแกล้งมาบ้างแล้ว แต่นี่มันรวมถึงการถูกทรมาน – ทั้งทางจิตใจและทางร่างกาย มันทำให้ฉันใส่ใจกับการแต่งเรื่องโกหก ซึ่งไม่นานก็พบว่าเป็นสิ่งจำเป็น: และเรื่องนี้ ฉันคิดเอาเองนะ ว่าเป็นรากฐานของความพยายามทางวรรณกรรม”
 
ทริกซ์ดูเหมือนจะได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่าขณะพำนักอยู่ที่ลอร์นลอดจ์; เห็นได้ชัดว่านางฮอลโลเวย์หวังว่าทริกซ์จะแต่งงานกับลูกชายของเธอในที่สุด อย่างไรก็ตาม ลูกๆของคิปลิงทั้งสองไม่มีญาติในอังกฤษที่จะไปเยี่ยมได้ ยกเว้นปีละหนึ่งเดือนในแต่ละคริสต์มาสที่พวกเขาจะได้ไปอยู่ที่บ้านเดอะเกรนจ์ของป้าจอร์เจียนา (“จอร์จี” และสามีของเธอ เอ็ดเวิร์ด เบิร์น-โจนส์ ในเมืองฟูแลม กรุงลอนดอน ซึ่งคิปลิงเรียกว่า “สวรรค์ที่ฉันเชื่อจริงๆว่าช่วยฉันไว้”
 
ในฤดูใบไม้ผลิปี 1877 อลิซกลับมาจากอินเดียและพาเด็กๆออกจากลอร์นลอดจ์ คิปลิงจำได้ว่า “บ่อยครั้งและบ่อยครั้งหลังจากนั้น ป้าที่รักจะถามฉันว่าทำไมฉันถึงไม่เคยบอกใครเลยว่าฉันถูกปฏิบัติอย่างไร เด็กๆบอกอะไรได้มากกว่าสัตว์แค่นิดเดียว เพราะพวกเขายอมรับสิ่งที่มาถึงพวกเขาว่าเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับชั่วนิรันดร์ นอกจากนี้ เด็กๆที่ได้รับการปฏิบัติไม่ดียังรู้ดีว่าจะเจออะไร หากพวกเขาทรยศต่อความลับของเรือนจำก่อนที่พวกเขาจะหลุดออกมา”
 
ระหว่างฤดูใบไม้ผลิปี 1877 อลิซพาเด็กๆ ไปที่ฟาร์มโกลดิงส์ที่ลัฟตัน ซึ่งพวกเขาใช้เวลาช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงอย่างไร้กังวลในฟาร์มที่อยู่ติดกับป่า และบางช่วงระหว่างนั้นพวกเขายังได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับ สแตนลีย์ บอลด์วิน ด้วย ในเดือนมกราคม 1878 คิปลิงถูกส่งไปเรียนที่วิทยาลัยยูไนเต็ดเซอร์วิซเซส ที่ เวสต์เวิร์ด โฮ! เดวอน โรงเรียนที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อเตรียมเด็กชายสำหรับกองทัพ มันพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นเรื่องยากสำหรับเขาในตอนแรก แต่ต่อมานำไปสู่มิตรภาพที่แน่นแฟ้น และถูกนำมาเป็นฉากสำหรับนวนิยายเกี่ยวกับเด็กนักเรียนเรื่อง Stalky & Co. (1899) ระหว่างเรียนอยู่ที่วิทยาลัย คิปลิงได้พบและตกหลุมรักกับฟลอเรนซ์ การ์ราร์ด ซึ่งลงเรือมาจากเซาท์ซีพร้อมกับทริกซ์ (ก่อนหน้านี้ทริกซ์เดินทางกลับไปที่เซาท์ซี) ฟลอเรนซ์ได้กลายเป็นแบบจำลองให้กับตัวละครชื่อไมซีในนวนิยายเรื่องแรกของคิปลิงเรื่อง The Light That Failed (1891)
 
===กลับอินเดีย===
 
เมื่อใกล้จบการศึกษาในวิทยาลัย คิปลิงถูกตัดสินว่าเขาไม่มีความสามารถพอที่จะได้รับทุนเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ครอบครัวไม่มีเงินพอที่จะส่งให้เขาเรียนต่อ ดังนั้นพ่อจึงหางานให้เขาทำในละฮอร์ เมืองที่ท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ของวิทยาลัยศิลปะมาโยและเป็นภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ละฮอร์ คิปลิงได้งานเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชื่อ ซิวิล แอนด์ มิลลิทารี กาเซ็ตต์
 
คิปลิงลงเรือเมื่อวันที่ 20 กันยายน 1882 และถึงบอมเบย์เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม เขาอธิบายช่วงเวลานั้นในหลายปีต่อมาว่า “ดังนั้น เมื่ออายุได้สิบหกปีเก้าเดือน แต่ดูแก่กว่าสี่ห้าปี และประดับประดาด้วยหนวดเคราจริงๆซึ่งมารดาผู้ถูกทำให้อับอายรีบกำจัดให้หมดสิ้นไปภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากที่ได้เห็น ฉันพบว่าตัวเองอยู่ที่บอมเบย์เมืองที่ฉันเกิด เคลื่อนไปในท่ามกลางภาพและกลิ่น ที่ส่งฉันเข้าไปในเสียงสนทนาภาษาพื้นถิ่นซึ่งฉันไม่รู้ความหมาย เด็กชายที่เกิดในอินเดียคนอื่นๆบอกฉันแล้วว่าสิ่งเดียวกันนี้ก็เคยเกิดขึ้นกับพวกเขา” การได้มาถึงเปลี่ยนแปลงคิปลิงตามคำบอกเล่าของเขา: “มีเวลาอีกสามหรือสี่วันในการเดินทางโดยรถไฟไปละฮอร์ ที่ซึ่งผู้คนของฉันอาศัยอยู่ หลังจากนั้น ช่วงเวลาภาษาอังกฤษของฉันก็จบเห่ หรือราวกับไม่เคยมีมาก่อน และฉันคิดว่า ฉันได้หวนกลับมาใช้ภาษาถิ่นได้อย่างเต็มกำลังแล้ว”
 
==ชีวิตวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (1882–1914)==
 
ระหว่างปี 1883 ถึงปี 1889 คิปลิงทำงานในบริติชอินเดียให้กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นสองฉบับ หนังสือพิมพ์ ซิวิล มิลลิทารี กาเซ็ตต์ ในละฮอร์ และหนังสือพิมพ์ เดอะไพโอเนียร์ ในอัลลาฮาบัด
 
[[File:Lahore railway station1880s.JPG|thumb|upright=1.15|สถานีรถไฟละฮอร์ ทศวรรษที่1880]]
[[File:Sukh Niwas Palace, Bundi, circa 1900.jpg|thumb|upright=1.15|บุนดิ ราชปุตนะ สถานที่ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้คิปลิงเขียนนวนิยายเรื่อง Kim]]
 
หนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่คิปลิงเรียกว่า “นายหญิงและรักแท้ที่สุด” ออกสัปดาห์ละ 6 วันตลอดทั้งปี ยกเว้นช่วงพักหนึ่งวันสำหรับเทศกาลคริสต์มาสและอีสเตอร์ สตีเวน วีลเลอร์ บรรณาธิการ ใช้งานคิปลิงอย่างหนัก แต่ความต้องการเขียนของคิปลิงนั้นหยุดไม่ได้ ในปี 1886 เขาได้ตีพิมพ์รวมบทกวีชุดแรก Departmental Ditties ปีนั้นหนังสือพิมพ์มีการเปลี่ยนตัวบรรณาธิการ; เคย์ โรบินสัน บรรณาธิการคนใหม่ อนุญาตให้เขามีอิสระในการสร้างสรรค์มากขึ้นและขอให้คิปลิงส่งเรื่องสั้นลงหนังสือพิมพ์
 
ในบทความที่ตีพิมพ์ในชัมส์, วารสารรายปีสำหรับเยาวชนชาย อดีตเพื่อนร่วมงานของคิปลิงกล่าวว่า “เขาไม่เคยรู้จักเพื่อนคนไหนเพราะหมึกเหมือนกับเพื่อนคนนี้ – เขาแค่สนุกไปกับมัน เติมมันลงปากกาอย่างเลวทราม แล้วสลัดสิ่งที่บรรจุอยู่ข้างในไปทั่วสำนักงาน ดังนั้นมันจึงเกือบจะอันตรายหากเข้าใกล้เขา” เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเช่นนี้ยังคงดำเนินต่อไป: “ในสภาพอากาศร้อนเมื่อเขา (คิปลิง) สวมแค่กางเกงขายาวสีขาวและเสื้อกั๊กบางๆ มีคนกล่าวว่าเขาดูเหมือนสุนัขดัลเมเชี่ยนมากกว่ามนุษย์ เพราะเขามีรอยหมึกแต้มไปทั่วทุกทิศทาง”
 
ในฤดูร้อนปี 1883 คิปลิงได้ไปเยือนซิมลา (ปัจจุบันคือชิมลา) สถานีบนเนินเขาที่มีชื่อเสียงและเป็นเมืองหลวงฤดูร้อนของบริติชอินเดีย มันเป็นธรรมเนียมในสมัยนั้นที่อุปราชแห่งอินเดียและรัฐบาลจะย้ายไปอยู่ที่เมืองซิมลาปีละหกเดือน แล้วในช่วงเวลานั้นเมืองนี้ก็จะกลายเป็น “ศูนย์กลางของอำนาจและความเพลิดเพลิน” ครอบครัวของคิปลิงมาเยือนซิมลาทุกปี และล็อกวูด คิปลิงจะถูกขอร้องให้เป็นผู้รับใช้ในโบสถ์ไครสต์ เชิร์ช คิปลิงเองก็จะลาพักผ่อนประจำปีทุกปี ตั้งแต่ปี 1885 ถึงปี 1888 เพื่อจะกลับมาที่ซิมลา และภาพของเมืองนี้ก็ถูกแสดงให้เห็นอย่างโดดเด่นอยู่ในผลงานหลายเรื่องที่เขาเขียนลงในกาเซ็ตต์ “วันหยุดหนึ่งเดือนของฉันที่ซิมลา หรือที่สถานีบนเนินเขาแห่งใดก็ตามที่คนของฉันไปเยือน เป็นเวลาแห่งความสุขอย่างแท้จริง – ทุกชั่วโมงทองมีค่า มันเริ่มต้นจากความร้อนและความรู้สึกไม่สบายบนทางรถไฟและถนน มันจบลงในตอนเย็นที่อากาศเย็น โดยมีกองไฟในแต่ละห้องนอน และในเช้าวันถัดมา – และยังมีอีกสามสิบเช้าที่รออยู่ข้างหน้า! – น้ำชาถ้วยแรก แม่นำมันเข้ามา แล้วเราทุกคนก็พูดคุยกันอย่างยาวนานอีกครั้ง เราเคยมีช่องสำหรับงานอะไรก็ตามอยู่ในหัว แต่ในเวลานี้ช่องพวกนั้นก็มักจะเต็มแล้ว”
 
ย้อนกลับไปที่ละฮอร์ เรื่องราวของเขา 39 เรื่องปรากฏอยู่ในการ์เซ็ตต์ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 1886 ถึงมิถุนายน 1887 คิปลิงรวบรวมผลงานส่วนใหญ่ไว้ใน Plain Tales from the Hills ซึ่งเป็นการรวมพิมพ์ร้อยแก้วชุดแรกของเขา ตีพิมพ์ในกัลกัตตาในเดือนมกราคม 1888 หนึ่งเดือนหลังจากวันเกิดปีที่ 22 ของเขา อย่างไรก็ตาม วันเวลาของคิปลิงในละฮอร์ได้สิ้นสุดลง ในเดือนพฤศจิกายน 1887 เขาถูกย้ายไปที่เดอะไพโอเนียร์ หนังสือพิมพ์พี่สาวของการ์เซ็ตต์ ในเมืองอัลลาฮาบัดในสหนคร ทำงานเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการและอาศัยอยู่ในบ้านเบลเวเดียร์ระหว่างปี 1888 ถึงปี 1889
 
[[File:John Lockwood Kipling és Rudyard Kipling.jpg|thumb|upright|รัดยาร์ด คิปลิง (ขวา) กับพ่อ จอห์น ล็อกวูด คิปลิง (ซ้าย) ในปี 1890]]
 
คิปลิงผลิตผลงานออกมาอย่างบ้าคลั่ง ในปี 1888 เขาได้ตีพิมพ์รวมเรื่องสั้นจำนวน 6 เล่ม ได้แก่ Soldiers Three, The Story of the Gadsbys, In Black and White, Under the Deodars, The Phantom Rickshaw และ Wee Willie Winkie รวมเรื่องสั้นใน 6 เล่มนี้มีจำนวนเรื่องสั้นรวม 41 เรื่อง บางเรื่องค่อนข้างยาว นอกจากนี้ ในฐานะนักข่าวพิเศษของเดอะไพโอเนียร์ในภูมิภาคตะวันตกของราชปุตนะ เขาได้เขียนข้อเขียนสั้นๆไว้อีกมากซึ่งต่อมาภายหลังถูกนำมารวมเป็น Letters of Marque และตีพิมพ์ใน From Sea to Sea and Other Sketches Letters of Travel
 
คิปลิงถูกปลดจากเดอะไพโอเนียร์ ในต้นปี 1889 หลังเกิดกรณีพิพาท ถึงเวลานี้ เขาได้คิดถึงอนาคตของเขามากขึ้น เขาขายสิทธิ์ในหนังสือรวมเรื่องสั้นหกเล่มในราคา 200 ปอนด์ กับได้ค่าลิขสิทธิ์อีกเล็กน้อย และขายสิทธิ์ Plain Tales ในราคา 50 ปอนด์; นอกจากนี้ เขาได้รับเงินเดือนหกเดือนจากเดอะไพโอเนียร์ที่จ่ายให้เพื่อชดเชยการปลดโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า
 
===กลับลอนดอน===
 
คิปลิงตัดสินใจใช้เงินเพื่อย้ายไปลอนดอน ศูนย์กลางวรรณกรรมของจักรวรรดิอังกฤษ วันที่ 9 มีนาคม 1889 เขาออกจากอินเดีย มุ่งสู่ซานฟรานซิสโกโดยเส้นทางที่ผ่านย่างกุ้ง สิงคโปร์ ฮ่องกงและญี่ปุ่น คิปลิงประทับใจญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก โดยกล่าวถึงผู้คนและวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นว่าเป็นคนที่ “ใจดีและมีมารยาท” คณะกรรมการรางวัลโนเบลกล่าวถึงงานเขียนของคิปลิงที่เกี่ยวกับมารยาทและขนบธรรมเนียมของชาวญี่ปุ่นในวันมอบรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี 1907
 
คิปลิงเขียนในภายหลังว่าเขา “เสียหัวใจ” ให้กับเกอิชาที่เขาเรียกว่าโอ-โทโย และขณะที่อยู่ในสหรัฐอเมริการะหว่างการเดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเขาเขียนว่า “ฉันทิ้งตะวันออกที่ไร้เดียงสาไว้เบื้องหลังแล้ว... ร้องไห้เบาๆแด่โอ-โทโย...โอ-โทโยที่รัก” จากนั้นคิปลิงเดินทางข้ามทวีปอเมริกาเหนือ และเขียนบทความสำหรับเดอะไพโอเนียร์ ซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์ในชื่อ From Sea to Sea and Other Sketches, Letters of Travel
 
เริ่มต้นการเดินทางในอเมริกาเหนือที่ซานฟรานซิสโก คิปลิงเดินทางขึ้นเหนือไปยังพอร์ตแลนด์ โอเรกอน จากนั้นซีแอตเทิล วอชิงตัน ข้ามพรหมแดนขึ้นเหนือไปจนถึงวิกตอเรียและแวนคูเวอร์ในบริติชโคลัมเบีย ผ่านเมดิซีนแฮต อัลเบอร์ตา กลับเข้าไปในสหรัฐอเมริกาเพื่อไปยังอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน ลงใต้ไปจนถึงซอลต์เลกซิตี้ จากนั้นไปทางตะวันออกสู่โอมาฮา เนบราสก้าและขึ้นไปยังชิคาโก อิลลินอยส์ จากนั้นไปยังบีเวอร์ เพนซิลเวเนีย ล่องแม่น้ำโอไฮโอไปเยี่ยมครอบครัวฮิลล์ จากที่นั่น เขาไปที่ชอทอควากับศาสตราจารย์ฮิลล์ และต่อมาก็ไปที่น้ำตกไนแองการ่า โตรอนโต วอชิงตัน, ดี.ซี. นิวยอร์ก และบอสตัน
 
ระหว่างการเดินทางครั้งนี้เขาได้พบกับ มาร์ก ทเวน ในเอลมิรา นิวยอร์ก และรู้สึกประทับใจอย่างยิ่ง คิปลิงมาถึงบ้านของทเวนโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า และต่อมาก็เอามาเขียนว่าในขณะที่เขากดกริ่งประตู “ฉันเพิ่งคิดเป็นครั้งแรกว่า มาร์ก ทเวน อาจมีภารกิจอื่นนอกเหนือจากความบันเทิงของคนบ้าที่หนีออกมาจากอินเดีย ทว่าพวกเขาต่างก็ยังเต็มไปด้วยความชื่นชมในกันและกัน”
 
[[File:Collier 1891 rudyard-kipling.jpg|thumb|upright|ภาพวาดคิปลิงโดย จอห์น คอลเลียร์ในปี 1891]]
[[File:Rudyard Kipling three quarter length portrait (cropped).jpg|thumb|upright|รัดยาร์ด คิปลิง โดยห้องภาพเบิร์นแอนด์เชฟเพิร์ด กัลกัตตา ในปี 1892]]
 
อย่างที่เป็นอยู่ ทเวนยินดีต้อนรับคิปลิงและพูดคุยกับเขาเป็นเวลาสองชั่วโมงเกี่ยวกับแนวโน้มในวรรณคดีแองโกล-อเมริกันและเกี่ยวกับสิ่งที่ทเวนจะเขียนในภาคต่อของ Tom Sawyer; โดยทเวนรับรองกับคิปลิงว่าภาคต่อกำลังจะมา แม้ว่าเขาไม่ได้ตัดสินใจในตอนจบ: ซอเยอร์จะได้รับเลือกเข้าสู่สภาคองเกรสหรือเขาจะถูกแขวนคอ ทเวนยังได้ส่งต่อคำแนะนำด้านวรรณกรรมว่าผู้เขียนควร “หาข้อมูลก่อน จากนั้นคุณสามารถพลิกแพลงมันได้มากเท่าที่คุณต้องการ” ทเวน ผู้ซึ่งชอบคิปลิง ได้เขียนถึงการพูดคุยกันของพวกเขาในเวลาต่อมา: “ระหว่างเรา เราครอบคลุมความรู้ทั้งหมด เขาครอบคลุมทุกสิ่งที่รู้ได้และฉันครอบคลุมส่วนที่เหลือ” คิปลิงข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังลิเวอร์พูลในเดือนตุลาคม 1889 ในไม่ช้าเขาก็ได้เปิดตัวในโลกวรรณกรรมในลอนดอน ท่ามกลางเสียงไชโยโห่ร้อง
 
===ลอนดอน===
 
ในลอนดอน นิตยสารหลายฉบับรับพิมพ์งานของคิปลิง เขาหาที่อยู่ในอีกสองปีข้างหน้าได้ที่ตรอกวิลเลียรส์ ใกล้แชริงครอสส์ (ในอาคารที่ต่อมามีชื่อว่าคิปลิงเฮาส์):
 
<blockquote>ในระหว่างนี้ ฉันพบที่พักของฉันในตรอกวิลเลียรส์ ถนนสแตรนด์ เป็นอาคารอายุสี่สิบหกปีที่ยังมีความดั้งเดิมและน่าหลงใหลทั้งเรื่องสถานที่ทั้งเรื่องผู้ร่วมพักอาศัย ห้องของฉันมีขนาดเล็ก ไม่ใช่สะอาดจนไม่มีที่ติหรือได้รับการดูแลรักษาอย่างดีจนเกินไป แต่จากโต๊ะทำงานฉันสามารถมองออกไปนอกหน้าต่างผ่านช่องแสงรูปพัดเหนือทางเข้าโรงมหรสพแกตติ ที่ฝั่งตรงข้ามถนน แทบจะขึ้นไปบนเวที รถไฟแชริงครอสส์ส่งเสียงดังกึกก้องผ่านความฝันของฉันในด้านหนึ่ง ความเจริญของถนนสแตรนด์ปรากฏอยู่ในอีกด้านหนึ่ง ขณะที่ ก่อนถึงหน้าต่างของฉัน คุณพ่อเทมส์ที่อยู่ใต้หอคอยช็อตเดินขึ้นและลงไปพร้อมกับการจราจรของเขา</blockquote>
 
สองปีต่อมา เขาได้ตีพิมพ์นวนิยาย The Light That Failed มีอาการทางประสาท และได้พบกับนักเขียนและตัวแทนสำนักพิมพ์ชาวอเมริกัน วอลคอตต์ บาเลสเทียร์ ได้ร่วมงานในการจัดพิมพ์นวนิยาย The Naulahka (ชื่อที่เขาสะกดผิดอย่างไม่เคยมีมาก่อน; ดูด้านล่าง) ในปี 1891 ตามคำแนะนำของแพทย์ คิปลิงออกเดินทางทางทะเล ไปยังแอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และได้กลับไปเยือนอินเดียอีกครั้ง เขายกเลิกแผนการที่จะใช้เวลาช่วงคริสต์มาสกับครอบครัวในอินเดียเมื่อได้ยินข่าวการเสียชีวิตอย่างกะทันหันจากไข้ไทฟอยด์ของบาเลสเทียร์และตัดสินใจกลับลอนดอนทันที ก่อนเดินทางกลับ เขาได้โทรเลขเพื่อขอแต่งงาน และได้รับคำตอบรับจากน้องสาวของวอลคอตต์ แคโรไลน์ สตารร์ บาเลสเทียร์ (1862–1939) ชื่อเล่น “แคร์รี” ซึ่งเขาเคยพบและเคยมีสัมพันธ์รักกันเมื่อหนึ่งปีก่อน ในช่วงเวลาเดียวกัน ปลายปี 1891 รวมเรื่องสั้นของเขาเกี่ยวกับชาวอังกฤษในอินเดีย Life's Handicap ได้รับการตีพิมพ์ในลอนดอน
 
วันที่ 18 มกราคม 1892 แคร์รี บาเลสเทียร์ (อายุ 29 ปี) และรัดยาร์ด คิปลิง (อายุ 26 ปี) แต่งงานกันในลอนดอน ท่ามกลาง “สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก เมื่อเหล่าสัปเหร่อหาม้าดำไม่ได้และคนตายต้องพอใจกับม้าสีน้ำตาล” งานแต่งงานจัดขึ้นที่โบสถ์ ออล โซลส์ แลงก์แฮม เพลซ เฮนรี เจมส์ เป็นผู้ส่งตัวเจ้าสาว
 
===สหรัฐ===
 
คู่สามีภรรยาตกลงไปดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์กันที่สหรัฐอเมริกาเป็นแห่งแรก (รวมถึงแวะที่คฤหาสน์ของครอบครัวบาเลสทียร์ ใกล้แบรทเทิลโบโร รัฐเวอร์มอนต์) แล้วจึงไปญี่ปุ่น[15] เมื่อมาถึงโยโกฮาม่า พวกเขาได้รับทราบว่าธนาคารเดอะนิวโอเรียนทัลที่เขาฝากเงินไว้ประสบภาวะล้มละลาย ข่าวร้ายระหว่างเดินทางนี้ทำให้พวกเขาต้องย้อนสู่สหรัฐอเมริกา กลับไปที่เวอร์มอนต์ – แคร์รีกำลังตั้งครรภ์ลูกคนแรก – และเช่ากระท่อมเล็กๆในฟาร์มใกล้แบรตเทิลโบโรด้วยเงิน 10 เหรียญต่อเดือน[24] คิปลิงเล่าว่า “เราตกแต่งที่อยู่ที่ได้มาโดยการเช่าซื้ออย่างเรียบง่าย เราซื้อเตาลมร้อนขนาดใหญ่ มือสองหรือมือสาม มาติดตั้งไว้ในห้องใต้ดิน เราเจาะรูขนาดใหญ่บนพื้นบางๆเพื่อวางท่อดีบุกขนาด 20 ซม (ฉันไม่เข้าใจเลยว่า ในแต่ละสัปดาห์ของฤดูหนาว ทำไมเราถึงไม่ถูกเผาบนเตียง) และเราพอใจกับมันมากเป็นพิเศษ”
 
ในบ้านหลังนี้ ซึ่งพวกเขาเรียกว่าบลิสคอตเทจ ลูกคนแรกของพวกเขา โจเซฟีน เกิด “ในหิมะตกหนาสามฟุตของคืนวันที่ 29 ธันวาคม 1892 วันเกิดแม่ของเธอคือวันที่ 31 และของฉันคือวันที่ 30 ของเดือนเดียวกัน และเราต่างร่วมแสดงความยินดีกับการรับรู้ถึงการมีอยู่ของสิ่งต่างๆของเธอ...”
 
[[File:Kiplingseastcoast2.JPG|thumb|upright=1.35|''อเมริกาของรัดยาร์ด คิปลิง 1892 – 1896, 1899'']]
 
ในกระท่อมหลังนี้เองที่รุ่งอรุณของ Jungle Book แวบเข้ามาในหัวของคิปลิง: “ห้องทำงานในบลิสคอตเทจมีเนื้อที่ 7 ฟุตคูณ 8 ฟุต และตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเมษายน หิมะจะอยู่ในระดับเดียวกับขอบหน้าต่าง ฉันมีโอกาสได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับป่าในประเทศอินเดียซึ่งมีเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยหมาป่า ท่ามกลางความนิ่งสนิท และความเงียบสงัด ของฤดูหนาวปี 92 ความทรงจำบางส่วนเกี่ยวกับสิงโตฟรีเมสันในนิตยสารสมัยเด็กของฉัน และประโยคหนึ่งใน Nada the Lily ของแฮกการ์ด ได้เข้ามารวมกับเสียงสะท้อนของตำนานเรื่องนี้ หลังจากเก็บความคิดหลักเอาไว้ในหัว ปากกาก็ทำงาน และฉันจ้องมองดูมันเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเมาคลีและสัตว์ต่างๆ ซึ่งต่อมาได้เติบโตเป็นหนังสือ Jungle Book ทั้งสองเล่ม
 
ด้วยการมาถึงของโจเซฟีน ทำให้พวกเขารู้สึกว่าบลิสคอตเทจชักจะแออัด ดังนั้นในที่สุดทั้งคู่ก็ซื้อที่ดิน – ขนาดประมาณ 25 ไร่ บนเนินเขาหินที่มองเห็นแม่น้ำคอนเนกทิคัต – จากบีตตี บาเลสเทียร์ น้องชายของแคร์รีและสร้างบ้านของตัวเอง คิปลิงตั้งชื่อบ้านนี้ว่านอลาคา (Naulakha) เพื่อเป็นเกียรติแก่วอลคอตต์และความร่วมมือกันของพวกเขา และคราวนี้เขาสะกดชื่อได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่ช่วงปีแรกๆของเขาในละฮอร์ (1882–1887) คิปลิงก็หลงใหลในสถาปัตยกรรมแบบโมกุล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นอลาคา พาวิเลียน ที่ตั้งอยู่ในป้อมละฮอร์ ซึ่งในท้ายที่สุดก็กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เขาเอามาตั้งเป็นชื่อนวนิยายและชื่อบ้าน บ้านยังคงตั้งอยู่บนถนนคิปลิง ห่างจากแบรตเทิลโบโรในดัมเมอร์สตัน รัฐเวอร์มอนต์ ไปทางเหนือ 5 กิโลเมตร: บ้านหลังใหญ่ เงียบสงบ สีเขียวเข้ม มุงหลังคาและกรุผนังด้วยแผ่นไม้ คิปลิงเรียกมันว่า “เรือ” ที่นำ “แสงแดดและจิตใจที่สบาย” มาให้เขา ความเงียบสงบในเวอร์มอนต์ บวกกับ “ชีวิตที่สะอาดปราศจากสิ่งรบกวนจิตใจ” ทำให้คิปลิงอุดมสมบูรณ์ด้วยความคิดสร้างสรรค์
 
ภายในเวลาเพียงสี่ปี เขาผลิต Jungle Book พร้อมกับหนังสือเรื่องสั้น (The Day's Work) นวนิยาย (Captains Courageous) และกวีนิพนธ์มากมาย รวมถึง The Seven Seas รวมลำนำและบทกวี Barrack-Room Ballads ที่พิมพ์ออกมาในเดือนมีนาคม 1892 ส่วนใหญ่เป็นผลงานที่เคยตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นรายชิ้นในปี 1890 และเพิ่มบทกวี “Mandalay” และ “Gunga Din” เข้าไป เขาชอบเขียน Jungle Book เป็นพิเศษซึ่งก็สอดคล้องกับความชอบของเด็กๆที่เขียนถึงเขา
 
====ชีวิตในนิวอิงแลนด์====
 
[[File:Caroline Starr Balestier, Mrs Rudyard Kipling (1862-1939).jpg|thumb|upright|ภาพวาดแคโรไลน์ สตารร์ บาเลสเทียร์ โดยฟิลิป เบิร์น–โจนส์]]
 
ชีวิตการเขียนในนอลาคาถูกรบกวนเป็นครั้งคราวโดยผู้มาเยือน รวมทั้งบิดาของเขาซึ่งมาเยี่ยมไม่นานหลังจากเกษียณอายุในปี 1893 และนักเขียนชาวอังกฤษ อาเทอร์ โคนัน ดอยล์ ซึ่งมาพักสองวัน พร้อมกับนำไม้กอล์ฟมาด้วย และสอนบทเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับกีฬากอล์ฟให้แก่คิปลิง ดูเหมือนคิปลิงจะชื่นชอบกีฬากอล์ฟ เขาฝึกซ้อมเป็นครั้งคราวกับพระสอนศาสนานิกายคองกรีเกชันนัลประจำท้องถิ่น และแม้กระทั่งเล่นโดยใช้ลูกกอล์ฟทาสีแดงเมื่อพื้นสนามถูกปกคลุมด้วยหิมะ อย่างไรก็ตาม การเล่นกอล์ฟฤดูหนาว “ไม่ประสบความสำเร็จโดยสิ้นเชิง เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะทางในการตีหนึ่งครั้ง; ลูกกอล์ฟอาจลื่นไถลไปตามทางลาดจนถึงแม่น้ำคอนเนกทิคัตที่อยู่ไกลออกไปถึง 3 กิโลเมตร”
 
คิปลิงชอบกิจกรรมกลางแจ้ง ไม่น้อยกว่าการได้เห็นภาพมหัศจรรย์แห่งการพลิกผันของใบไม้ในแต่ละฤดูใบไม้ร่วงในรัฐเวอร์มอนต์ เขาบรรยายถึงช่วงเวลานี้ในจดหมายว่า: “เมเปิลเล็กๆเริ่มก่อน จู่ๆเปลวสีแดงเลือดสาดก็อุบัติขึ้นตรงที่มันยืนพิงเข็มขัดสีเขียวเข้มของไม้สน เช้าวันรุ่งขึ้นมีสัญญาณตอบรับจากป่าพงของต้นซูแมกที่งอกงามอยู่ในบึง สามวันต่อมา ผืนป่าด้านเนินเขาก็ลุกเป็นไฟลามออกไปเร็วที่สุดเท่าที่สายตาจะมองเห็นได้ และถนนก็ถูกปูทับ ด้วยสีแดงเข้มและสีทอง จากนั้นลมชื้นก็พัดมา และทำลายเครื่องแบบทั้งหมดของกองทัพที่งดงามนั้น; และต้นโอ๊ก ซึ่งก่อนนี้สงวนตัวไว้ สวมเกราะเทอะทะสีบรอนซ์ของพวกมัน และยืนขึ้นอย่างแข็งทื่อจนถึงวาระการปลิดปลิวของใบสุดท้าย จนเหลือแต่เงาดินสอของกิ่งก้านว่างเปล่า และใครๆก็สามารถเห็นหัวใจอันเป็นส่วนตัวที่สุดของป่า”
 
[[File:Joseph Rudyard Kipling, Vanity Fair, 1894-06-07.jpg|thumb|upright|left|ภาพล้อเลียนคิปลิงในนิตยสารวานิตีแฟร์ ในลอนดอน 7 มิถุนายน 1894]]
 
ในเดือนกุมภาพันธ์ 1896 เป็นวันเกิดของ เอลซี คิปลิง ลูกสาวคนที่สองของคู่สามีภรรยา ถึงเวลานี้ ตามความเห็นของนักเขียนชีวประวัติหลายคน ความสัมพันธ์ในชีวิตสมรสของพวกเขาไม่สดใสราบรื่นอีกต่อไป แม้ว่าพวกเขาจะยังคงซื่อสัตย์ต่อกันอยู่เสมอ แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าพวกเขาจะตกอยู่ในบทบาทที่ทำไปตามหน้าที่ ในจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนที่หมั้นหมายในช่วงเวลานี้ คิปลิงในวัย 30 ปีให้คำแนะนำที่มืดมน: การแต่งงานสอนหลักของ “คุณธรรมที่ยากขึ้น – เช่นความอ่อนน้อมถ่อมตน ความยับยั้งชั่งใจ ความเป็นระเบียบ และการต้องคาดคำนึงถึงสิ่งที่อยู่ข้างหน้า” ต่อมาในปีเดียวกัน เขาไปช่วยสอนเป็นครั้งคราวคราวที่โรงเรียนมัธยม บิช็อปส์ คอลเล็จ ในเมืองควิเบก ประเทศแคนาดา
 
คิปลิงรักชีวิตในเวอร์มอนต์และอาจใช้ชีวิตของพวกเขาที่นั่น หากไม่เกิดสองเหตุการณ์ – หนึ่งคือการเมืองระดับโลก และอีกหนึ่งคือความขัดแย้งในครอบครัว ในช่วงต้นทศวรรษ 1890 สหราชอาณาจักรและเวเนซุเอลามีข้อพิพาทเรื่องพรมแดนที่เกี่ยวข้องกับบริติชเกียนา สหรัฐฯ ได้ยื่นข้อเสนอหลายฉบับไปที่อนุญาโตตุลาการ แต่ในปี 1895 ริชาร์ด โอลนีย์ รัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ของอเมริกาได้สร้างแรงกดดันด้วยการอ้างว่าชาวอเมริกันมี “สิทธิ์” ที่จะตัดสินชี้ขาดโดยอาศัยอำนาจอธิปไตยในทวีปนี้ (ดูการตีความของโอลนีย์ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตของลัทธิมอนโร) สิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหาในอังกฤษ และสถานการณ์ก็ขยายตัวเป็นวิกฤตหลักระหว่างแองโกล-อเมริกัน โดยมีการเล่าลือว่าจะเกิดสงคราม
 
แม้ว่าวิกฤตการณ์จะคลี่คลายในความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกากับอังกฤษมากขึ้น แต่คิปลิงก็รู้สึกถึงการต่อต้านอังกฤษในสหรัฐฯ โดยเฉพาะในสื่อ เขาเขียนในจดหมายว่ารู้สึกเหมือนถูก “เล็งด้วยขวดเหล้าบนโต๊ะอาหารค่ำที่เป็นมิตร” ภายในเดือนมกราคม 1896 เขาได้ตัดสินใจที่จะยุติ “ชีวิตที่ดีงาม” ของครอบครัวในสหรัฐอเมริกาและแสวงหาโชคชะตาของพวกเขาที่อื่น
 
ข้อพิพาทในครอบครัวกลายเป็นฟางเส้นสุดท้าย ความสัมพันธ์ระหว่างแคร์รีและ บีตตี บาเลสเทียร์ น้องชายของเธอตึงเครียดมาระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากบีตตีติดสุราและล้มละลาย ในเดือนพฤษภาคม 1896 บีตตีที่มึนเมาได้พบกับคิปลิงที่ถนนและคุกคามเขาด้วยการทำร้ายร่างกาย[ เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การจับกุมตัวบีตตีในที่สุด แต่ในการพิจารณาคดีและการนำมาเผยแพร่ในภายหลัง ทำลายชีวิตส่วนตัวของคิปลิง และเขารู้สึกอนาถและหมดแรง ในเดือนกรกฎาคม 1896 หนึ่งสัปดาห์ก่อนการพิจารณาคดีจะเริ่มขึ้นอีกครั้ง ครอบครัวคิปลิงได้เก็บข้าวของ ออกจากสหรัฐอเมริกาและกลับไปอังกฤษ
 
===เดวอน===
 
[[File:Rock House - geograph.org.uk - 1082515.jpg|thumb|บ้านทอร์คีย์ของคิปลิง มีโล่สีน้ำเงินติดอยู่บนกำแพง]]
 
เมื่อถึงเดือนกันยายน 1896 ครอบครัวคิปลิงพำนักอยู่ในทอร์คีย์ เดวอน บนชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ในบ้านบนเนินเขาที่มองเห็นช่องแคบอังกฤษ แม้ว่าคิปลิงจะไม่ค่อยสนใจบ้านหลังใหม่ของเขามากนัก โดยอ้างว่า การออกแบบ ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกท้อแท้และมืดมน แต่เขายังคงทำงานอย่างมีประสิทธิผลและมีความกระตือรือร้นในการเข้าสังคม
 
ปัจจุบันคิปลิงเป็นคนที่มีชื่อเสียง และในช่วงสองหรือสามปีที่ผ่านมาได้มีการประกาศทางการเมืองในงานเขียนของเขามากขึ้น ครอบครัวคิปลิงให้การต้อนรับ จอห์น ลูกชายคนแรก ในเดือนสิงหาคม 1897 คิปลิงได้ต้นเริ่มเขียนบทกวีสองบทคือ “Recessional” (1897) และ “The White Man’s Burden” (1899) ซึ่งได้จุดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นอย่างหนาหูหลังการตีพิมพ์ บางคนมองว่าผลงานของเขาคือเพลงสรรเสริญสำหรับการรู้แจ้งและการยอมตนแบกรับหน้าที่ในการสร้างจักรวรรดิ (จับอารมณ์ของยุควิกตอเรีย) บทกวีทั้งสองถูกมองจากคนอื่นๆว่าเป็นโฆษณาชวนเชื่อสำหรับลัทธิจักรวรรดินิยมที่หน้าด้านและทัศนคติเหยียดเชื้อชาติ; แต่ก็มีคนที่เห็นถึงการประชดประชันในบทกวีและคำเตือนถึงภัยของลัทธิจักรวรรดินิยม
 
<blockquote><poem>จงน้อมรับ ภาระ วรรณะขาว
คัดสรรดาว นักสู้ ผู้กลั่นกล้า
ให้พลัดพราก จากด่าน แดนมารดา
ไปยกค่า หมู่เขา เหล่าคนไพร
ที่หน่วงหนัก ในมือ คือบ่วงบาศ
อย่าพลั้งพลาด เผลอพรั่น หรือหวั่นไหว
กับหน้าซื่อ สื่อส่อ ไม่พอใจ
เพราะเขาไซร้ ครึ่งผี ป่าครึ่งทารก
 
—''The White Man's Burden''
</poem></blockquote>
 
 
นอกจากนี้ยังมีลางสังหรณ์ในบทกวีด้วย ประสาทที่สัมผัสถึงอนาคตที่ทุกคนยังไม่อาจรู้ได้
 
<blockquote><poem>ลิบแล้ว กองเรือ ละลายลับ
ดิ่งดับ ดำดิน สิ้นแสงใส
ฤาวันหวาน วานวัน จะบรรลัย
เหมือนอย่างไทร์ หรืออย่างที่ นีนะเวห์
 
ศาลสหชาติ โปรดย้าย ถ่ายเท
อย่ายั้ง ลังเล
เกรงจะลืม – เกรงจะลืม!
 
—''Recessional''
</poem></blockquote>
 
คิปลิงเป็นนักเขียนที่สร้างผลงานออกมาได้มากมายตลอดช่วงเวลาที่เขาอยู่ที่ทอร์คีย์ และผลงานชิ้นหนึ่งก็คือ Stalky & Co. ซึ่งเป็นรวมเรื่องราวของโรงเรียน (เกิดจากประสบการณ์ของเขาที่โรงเรียน ยูไนเต็ด เซอร์วิซเซส คอลเลจ ในเวสต์เวิร์ด โฮ!) ซึ่งตัวเอกที่เป็นเยาวชนอวดรู้ และชอบเยาะเย้ยถากถางมุมมองเกี่ยวกับความรักชาติและอำนาจ ครอบครัวของเขาเล่าว่า คิปลิงสนุกกับการอ่านเรื่องราวต่างๆจาก Stalky & Co. ให้ฟังอย่างสนุกสนานและมักจะหัวเราะไม่หยุดเพราะเรื่องตลกของเขาเอง
 
===เที่ยวแอฟริกาใต้===
 
[[File:Ralph, Landon, Gwynne and Kipling 1900-1901.jpg|thumb|upright|เอช.เอ. กวีนน์, จูเลียน ราล์ฟ, เพอร์เซอวัล แลนดอน และ รัดยาร์ด คิปลิง ในอาฟริกาใต้ ในปี 1900 - 1901]]
 
ในช่วงต้นปี 1898 ครอบครัวคิปลิงได้เดินทางไปยังแอฟริกาใต้ในช่วงวันหยุดฤดูหนาว ดังนั้นการเริ่มต้นประเพณีประจำปี (ยกเว้นปีถัดไป) จะคงอยู่จนถึงปี 1908 พวกเขาจะพักใน “เดอะวูลแซก” บ้านซึ่งปลูกบนที่ดินของ เซอซิล โรดส์ ที่ กรูต เชอร์ (ปัจจุบันเป็นหอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเคปทาวน์) ในระยะทางที่สามารถเดินเท้าไปถึงคฤหาสน์ของโรดส์
 
ด้วยชื่อเสียงใหม่ของเขาในฐานะกวีแห่งจักรวรรดิ คิปลิงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากนักการเมืองผู้มีอิทธิพลในอาณานิคมเคป รวมถึงโรดส์, เซอร์ อัลเฟรด มิลเนอร์ และ ลีนเดอร์ สตารร์ เจมสัน คิปลิงปลูกฝังมิตรภาพและแสดงความชื่นชมพวกนักการเมืองและความคิดเห็นทางการเมืองของพวกเขา ช่วงเวลา 1898-1910 มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ของแอฟริกาใต้และรวมถึงสงครามบัวร์ครั้งที่สอง (1899–1902) สนธิสัญญาสันติภาพที่ตามมา และการก่อตั้งสหภาพแอฟริกาใต้ในปี 1910 เมื่อกลับไปในอังกฤษ คิปลิงเขียนบทกวีเพื่อสนับสนุนบทบาทของอังกฤษในสงครามบัวร์ และในการเยือนแอฟริกาใต้ครั้งต่อไปในช่วงต้นปี 1900 เขาได้เป็นนักข่าวของหนังสือพิมพ์เดอะเฟรนด์ในเมืองบลูมฟอนเทน ซึ่งลอร์ด โรเบิร์ตส์เป็นผู้บังคับบัญชากองทหารอังกฤษ
 
แม้ว่างานนักข่าวของเขาจะใช้เวลาเพียงสองสัปดาห์ แต่นี่เป็นงานแรกของคิปลิงในฐานะนักข่าวตั้งแต่เขาออกจากเดอะไพโอเนียร์ในเมืองอัลลาฮาบัดเมื่อสิบกว่าปีก่อน ที่เดอะเฟรนด์ เขาได้ผูกมิตรตลอดชีวิตกับ เพอร์เซอวัล แลนดอน, เอช.เอ. กวีนน์ และคนอื่นๆ นอกจากนี้ เขายังเขียนบทความที่ตีพิมพ์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความขัดแย้งอย่างกว้างขวางมากขึ้น คิปลิงคือผู้เขียนคำจารึกสำหรับอนุสรณ์สถาน ออนเนอรด์ เดด (อนุสรณ์การล้อม) ในคิมเบอร์ลีย์
 
===ซัสเซ็กส์===
[[File:Rudyard Kipling by Sir Philip Burne-Jones 1899.jpeg|thumb|upright|ภาพวาดคิปลิงที่โต๊ะทำงาน 1899 โดยศิลปิน เซอร์ ฟิลิป เบิร์น-โจนส์ ผู้มีศักดิ์เป็นลุงเขย]]
ในปี 1897 คิปลิงย้ายจากทอร์คีย์ไปยังร็อตติงดีน ใกล้ไบรตัน ซัสเซ็กซ์ตะวันออก – ตอนแรกไปเช่าบ้านนอร์ทเอนด์และจากนั้นก็ย้ายไปเช่าบ้านเดอะเอล์ม ในปี 1902 คิปลิงจึงซื้อเบตแมนส์ บ้านที่สร้างขึ้นในปี 1634 และตั้งอยู่ในเขตชนบทของเบอร์วอช
 
เบตแมนส์เป็นบ้านของคิปลิงตั้งแต่ปี 1902 จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในปี 1936 บ้าน อาคารโดยรอบ และโรงสี รวมเนื้อที่ประมาณ 83 ไร่ ถูกซื้อมาในราคา 9,300 ปอนด์ บ้านหลังนี้ไม่มีห้องน้ำ ชั้นบนไม่มีน้ำประปาและไม่มีไฟฟ้า แต่คิปลิงชอบที่นี่มาก: “ดูเถิด เราคือเจ้าของบ้านหินสีเทาที่ปกคลุมด้วยไลเคนที่ถูกกฎหมาย – จารึกคำว่า ค.ศ. 1634 ไว้ที่เหนือประตู – มีคาน มีการกรุผนัง มีบันไดไม้โอ๊กเก่า และไม่มีใครเคยปรับเปลี่ยนอะไรและไม่มีสิ่งแปลกปลอม เป็นสถานที่ที่ดีและสงบสุข เรารักมันตั้งแต่แรกเห็น” (จดหมายในเดือนพฤศจิกายน 1902)
 
ในอาณาจักรที่ไม่ใช่นิยาย เขาได้เข้าไปพัวพันกับการโต้วาทีเกี่ยวกับการตอบสนองของอังกฤษต่อการเพิ่มขึ้นของอำนาจทางทะเลของเยอรมันที่รู้จักกันในชื่อแผนเทอร์ปิตซ์ ซึ่งเป็นแผนการสร้างกองเรือของเยอรมันเพื่อท้าทายกองทัพเรือของสหราชอาณาจักร โดยตีพิมพ์บทความชุดหนึ่งในปี 1898 รวมพิมพ์ในชื่อ A Fleet in Being ในการเยือนสหรัฐอเมริกาในปี1899 คิปลิงและโจเซฟินลูกสาวของเขาล้มป่วยเป็นโรคปอดบวม และทำให้โจเซฟินต้องเสียชีวิต
 
[[File:"Kim's Gun" in 1903 detail, from- Leisure and gossip by the old Zamzamah gun that roared in the Battle of Puniput (cropped).jpg|alt=|thumb|(“ปืนของคิม” อย่างที่เห็นกันในปี 1903) “เขานั่งประท้วงคำสั่งเทศบาล ระหว่างล้อบรรทุกของปืนแซม-แซมเมห์ บนฐานเก่า ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์ละฮอร์ ซึ่งชาวพื้นถิ่นเรียกว่า อาจาอิบเกอร์ ที่แปลว่าบ้านมหัศจรรย์”]]
 
หลังฟื้นตัวจากการเสียชีวิตของลูกสาว คิปลิงจดจ่ออยู่กับการรวบรวมเนื้อหาสำหรับสิ่งที่กลายเป็น Just So Stories for Little Children ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1902 หนึ่งปีหลังจากนิยายเรื่อง Kim นักวิชาการวรรณกรรมชาวอเมริกันชื่อ เดวิด สก็อตต์ ได้ยกนิยายเรื่อง Kim มาหักล้างคำกล่าวอ้างของ เอ็ดเวิร์ด ซาอิด ที่ว่าคิปลิงเป็นหนึ่งในผู้ส่งเสริมลัทธิตะวันออกนิยมของจักรวรรดิตะวันตก เพราะแง่มุมในนิยายชี้ว่าคิปลิง – ผู้สนใจพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง – ได้กล่าวถึงพุทธศาสนาในทิเบตว่าอยู่ในแสงแห่งเมตตาธรรม และสะท้อนถึงความเข้าใจของชาวพุทธในเรื่องของจักรวาล คิปลิงรู้สึกขุ่นเคือง Hun speech (Hunnenrede) ของจักรพรรดิเยอรมันไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 เมื่อปี 1900 ซึ่งกระตุ้นกองทัพเยอรมันที่ส่งไปยังประเทศจีนให้บดขยี้กบฏนักมวยให้สิ้นซากตามแบบอย่างของ “ชาวฮั่น” โดยไม่ให้เหลือกบฏเอาไว้เป็นเชลย
 
ในบทกวีปี 1902 The Rowers คิปลิงโจมตีไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 ในฐานะภัยคุกคามต่ออังกฤษ และคำว่า “ฮั่น” ได้ถูกนำมาใช้เป็นคำดูหมิ่นต่อต้านชาวเยอรมันเป็นครั้งแรก โดยเป็นคำมาจากคำพูดของวิลเฮล์มเองและการกระทำของกองทหารเยอรมันในจีนก็ถูกนำมาพรรณนาถึงความเป็นอนารยชนของชาวเยอรมันได้อย่างถึงแก่น ในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เลอฟิกาโรของฝรั่งเศส คิปลิงเรียกเยอรมนีว่าเป็นภัยคุกคาม และเรียกร้องให้พันธมิตรแองโกล-ฝรั่งเศสยุติเรื่องนี้ ในจดหมายอีกฉบับหนึ่งในเวลาเดียวกัน คิปลิงบรรยายถึง “คนที่ไม่ปล่อยวางในยุโรปกลาง” ว่าอาศัยอยู่ใน “ยุคกลางที่มีปืนกล”
 
====จินตนิยาย====
[[File:William Strang The author Rudyard Kipling.jpg|thumb|upright|ภาพคิปลิง ปี 1901ในจินตนาการของ วิลเลียม สแตรง]]
 
คิปลิงเขียนเรื่องสั้นแนวจินตนิยายหลายเรื่อง รวมถึง “The Army of a Dream” ซึ่งเขาพยายามแสดงภาพกองทัพที่มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบมากกว่ากองทัพที่สืบทอดระบบราชการของอังกฤษในขณะนั้น และเรื่องราวในนิยายวิทยาศาสตร์สองเรื่อง: “With the Night Mail” (1905) และ “As Easy As A.B.C.” (1912) นิยายทั้งสองเรื่องมีท้องเรื่องอยู่ในศตวรรษที่ 21 ที่มีคณะกรรมการควบคุมการจราจรอากาศยานจักรวาลของคิปลิง ทั้งสองเหมือนอ่านบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์สุดขั้วสมัยใหม่ และยังแนะนำเทคนิคทางวรรณกรรมที่เรียกว่าการอธิบายทางอ้อม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหนึ่งในจุดเด่นของ โรเบิร์ต เฮนเลน นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่คิปลิงหยิบขึ้นมาในอินเดีย และใช้เพื่อแก้ปัญหาผู้อ่านภาษาอังกฤษของเขาที่ไม่เข้าใจสังคมอินเดียมากนักเมื่อเขียน The Jungle Book
 
====ผู้ได้รับรางวัลโนเบลและอื่นๆ====
 
ในปี 1907 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม โดยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในปีนั้นโดย ชาร์ลส์ โอมาน ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด[62] คำอ้างอิงรางวัลกล่าวว่า “โดยพิจารณาถึงพลังของการสังเกต ความคิดริเริ่มของจินตนาการ ความสมบูรณ์ของความคิดและความสามารถที่โดดเด่นในการเล่าเรื่องซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการสร้างสรรค์ของนักเขียนที่มีชื่อเสียงระดับโลกคนนี้” รางวัลโนเบลก่อตั้งขึ้นในปี 1901 และคิปลิงเป็นผู้รับคนแรกที่เขียนงานเป็นภาษาอังกฤษ ในพิธีมอบรางวัลที่กรุงสตอกโฮล์มเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1907 ปลัดสถาบันการศึกษาแห่งสวีเดน คาร์ล ดาวิด ออฟ วีร์เซน กล่าวยกย่องคิปลิงและวรรณคดีอังกฤษที่สร้างสรรค์ขึ้นมาตลอดช่วงสามศตวรรษ:
 
<blockquote>สถาบันการศึกษาแห่งสวีเดน ในโอกาสมอบรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปีนี้ให้กับ รัดยาร์ด คิปลิง ปรารถนาที่จะยกย่องเชิดชูวรรณกรรมอังกฤษ อันอุดมด้วยรัศมีภาพ และต่ออัจฉริยะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาณาจักรแห่งการเล่าเรื่องที่ประเทศนั้นรังสรรค์ขึ้นในสมัยของเรา</blockquote>
 
“ฉาก” แห่งความสำเร็จนี้ปิดลงด้วยการตีพิมพ์ผลงานที่รวมบทกวีและนวนิยายไว้ในเล่มเดียวกันสองชุด: Puck of Pook's Hill (1906) และ Rewards and Fairies (1910) ชุดหลังมีบทกวี “If —” ในแบบสำรวจความคิดเห็นของบีบีซีในปี 1995 “If —” ได้รับการโหวตให้เป็นบทกวีโปรดปรานของสหราชอาณาจักร การแนะนำเพื่อการควบคุมตนเองและจริยธรรมส่วนบุคคลนี้เป็นบทกวีที่โด่งดังที่สุดของคิปลิง
 
ความโด่งดังของคิปลิง ทำให้เพื่อนของเขา แม็กซ์ ไอท์เคน ขอให้เข้าไปแทรกแซงการเลือกตั้งของแคนาดาในปี 1911 ของพรรคอนุรักษ์นิยม ปัญหาสำคัญในแคนาดาคือสนธิสัญญาแลกเปลี่ยนกับสหรัฐอเมริกาที่ลงนามโดยนายกรัฐมนตรีพรรคเสรีนิยม เซอร์ วิลฟริด ลอเรียร์ ซึ่งถูกต่อต้านอย่างรุนแรงโดยพรรคอนุรักษ์นิยมภายใต้ เซอร์ โรเบิร์ต บอร์เดน เมื่อวันที่ 7 กันยายน 1911 หน้าแรกของ หนังสือพิมพ์มอนทรีออลเดลี่สตาร์ ได้ตีพิมพ์คำอุทธรณ์ที่คัดค้านข้อตกลงซึ่งเขียนโดยคิปลิง: “วันนี้แคนาดาต้องเสี่ยงภัยที่จะเกิดขึ้นกับจิตวิญญาณของเธอเอง เมื่อวิญญาณนั้นถูกจำนำโดยการพิจารณาใดๆ แคนาดาจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานทางการค้า กฎหมาย การเงิน สังคม และจริยธรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งจะถูกกำหนดโดยน้ำหนักที่ยอมรับได้อย่างแท้จริงของสหรัฐอเมริกา” ในขณะนั้น หนังสือพิมพ์มอนทรีออลเดลี่สตาร์ เป็นหนังสือพิมพ์ที่มีคนอ่านมากที่สุดของแคนาดา ในสัปดาห์ถัดมา คำอุทธรณ์ของคิปลิงได้รับการตีพิมพ์ซ้ำในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษทุกฉบับในแคนาดา และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ช่วยในการเปลี่ยนความคิดเห็นของประชาชนชาวแคนาดาให้ต่อต้านรัฐบาลเสรีนิยม
 
คิปลิงเห็นอกเห็นใจกับท่าทีต่อต้านกฎบ้านของสหภาพต่างๆของไอริชซึ่งต่อต้านการปกครองตนเองของไอร์แลนด์ เขาเป็นเพื่อนกับผู้นำสหภาพอัลสเตอร์ซึ่งเกิดในดับลินชื่อ เอ็ดเวิร์ด คาร์สัน ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มอาสาสมัครอัลสเตอร์เพื่อป้องกันการเข้ามาของกฎบ้านในไอร์แลนด์ คิปลิงเขียนจดหมายถึงเพื่อนคนหนึ่งว่าไอร์แลนด์ไม่ใช่ชาติ และก่อนที่อังกฤษจะมาถึงในปี 1169 ชาวไอริชเป็นเพียงพวกโจรลักวัวลักควายที่ใช้ชีวิตป่าเถื่อนเข่นฆ่ากันเอง ในขณะที่ “เขียนบทกวีที่น่าสยดสยอง” เกี่ยวกับชาติไอร์แลนด์ขึ้นเองทั้งหมด เขาเห็นว่า มีเพียงการปกครองของอังกฤษเท่านั้นที่จะทำให้ไอร์แลนด์ก้าวหน้า การไปเยือนไอร์แลนด์ในปี 1911 ยืนยันอคติของคิปลิง เขาเขียนว่าชนบทของไอร์แลนด์นั้นสวยงาม แต่ถูกบ่อนทำลายโดยสิ่งที่เขาเรียกว่าบ้านที่น่าเกลียดของชาวไร่ชาวไอริช และเสริมว่าพระเจ้าได้ทรงทำให้ชาวไอริชเป็นกวีที่ “ถูกกีดกันจากความรักในแนวเส้นหรือความรู้เรื่องสี” ในทางตรงกันข้าม คิปลิงมีแต่คำยกย่องให้กับชนกลุ่มน้อยโปรเตสแตนต์และสหภาพอัลสเตอร์ว่าเป็น “ชาวบ้านที่ดี” ซึ่งเป็นอิสระจากการครอบงำของ “กลุ่มหัวรุนแรง”
 
คิปลิงเขียนบทกวี “Ulster” ในปี 1912 สะท้อนความเห็นของเขาในเรื่องการเมืองแบบสหภาพ คิปลิงมักเรียกสหภาพไอริชว่าเป็น “พรรคของเรา” คิปลิงไม่มีความเห็นอกเห็นใจหรือความเข้าใจในลัทธิชาตินิยมไอริช โดยมองว่ากฎบ้านเป็นการกระทำที่เป็นการทรยศโดยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีพรรคเสรีนิยม เอช. เอช. แอสควิท ซึ่งนำไอร์แลนด์เข้าสู่ยุคมืดและอนุญาตให้ชาวไอริชคาทอลิกส่วนใหญ่กดขี่ชนกลุ่มน้อยโปรเตสแตนต์ นักวิชาการ เดวิด กิลเมอร์ เขียนว่าการขาดความเข้าใจของคิปลิงเกี่ยวกับไอร์แลนด์สามารถเห็นได้ในการโจมตี จอห์น เรดมอนด์ – ผู้นำแองโกลฟิลของพรรครัฐสภาไอริชที่ต้องการกฎบ้านเพราะเชื่อว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาสหราชอาณาจักรไว้ด้วยกัน – ว่าเป็นคนทรยศที่ทำงานเพื่อสลายสหราชอาณาจักร บทกวี Ulster ถูกอ่านต่อสาธารณะครั้งแรกที่การชุมนุมของสหภาพในเบลฟัสต์ และมีการคลี่ธงสหภาพผืนใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีออกมา คิปลิงยอมรับว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อ “โจมตีอย่างหนัก” ต่อร่างกฎหมายกฎบ้านของรัฐบาลแอสควิท:
 
<blockquote><poem>จลาจล ปล้นชิง เกลียด, กดขี่
ผิด, ละโมบ ประมาณนี้ กระนั้นหรือ
ชะตาเรา เขาขย้ำ ในกำมือ
ด้วยคาขื่อ กฎอังกฤษ ลิขิตคุม
 
—''Ulster''
</poem></blockquote>
 
บทกวี Ulster ทำให้เกิดกระแสวิวาทะระหว่างฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ ส.ส. เซอร์ มาร์ก ไซกส์ พรรคอนุรักษ์นิยม – สาวกสหภาพผู้คัดค้านกฎหมายกฎบ้าน – โดยฝ่ายนั้นกล่าวหาว่าบทกวี Ulster ใน เดอะมอร์นิงโพสต์ เป็น “การอุทธรณ์โดยตรงต่อสิ่งที่ไม่รู้ และเป็นความพยายามโดยเจตนาที่จะส่งเสริมความเกลียดชังทางศาสนา”
 
คิปลิงเป็นศัตรูตัวฉกาจของลัทธิบอลเชวิก บนจุดยืนเดียวกันกับ เฮนรี ไรเดอร์ แฮกการ์ด เพื่อนของเขา ทั้งสองได้ผูกพันกันเรื่อยมาตั้งแต่คิปลิงมาถึงลอนดอนในปี 1899 โดยส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากการที่มีความคิดเห็นร่วมกัน และทั้งสองยังคงเป็นเพื่อนกันตลอดชีวิต
 
===องค์กรฟรีเมสัน===
 
อ้างอิงจากนิตยสารภาษาอังกฤษ มาโซนิก อิลลัสเตรเต็ด คิปลิงเป็นสมาชิกองค์กรฟรีเมสันในราวปี 1885 ก่อนอายุขั้นต่ำปกติที่กำหนดว่าผู้เป็นสมาชิกต้องมีอายุอย่างน้อย 21 ปี โดยเข้าร่วมองค์กรในบ้าน โฮป แอนด์ เพอร์เซเวอแรนซ์ หมายเลข 782 ในเมืองละฮอร์ หลังจากนั้นเขาเขียนจดหมายถึงเดอะไทมส์ว่า “ฉันเป็นเลขาของบ้านหลายปี...ซึ่งในบ้านมีพี่น้องที่มาจากลัทธิต่างๆอย่างน้อยสี่ลัทธิ ฉันได้รับการแนะนำให้เข้าร่วมองค์กร (ในฐานะช่างฝึกหัด) โดยสมาชิกจากพราหมณ์มาจ ซึ่งเป็นชาวฮินดู ผ่าน (ถึงระดับช่างฝีมือ) โดยสาวกของมูฮัมหมัด และเลื่อนขั้น (ถึงระดับนายช่าง) โดยชาวอังกฤษ ผู้พิทักษ์ของเราเป็นชาวอินเดียที่นับถือศาสนายิว” คิปลิงไม่เพียงได้รับการพิจารณาให้ผ่านการเป็นช่างหินทั้งสามระดับ แต่ยังได้รับประกาศนียบัตรเสริม คือ มาร์ก มาสเตอร์ เมสัน และ รอยัล อาร์ก มาริเนอร์ ด้วย
 
คิปลิงรักประสบการณ์ในองค์กรฟรีเมสันมากจนทำให้เขาเขียนรำลึกถึงอุดมคติขององค์กรไว้ในบทกวี “The Mother Lodge” และใช้ความเป็นภราดรภาพและสัญลักษณ์ไม้ฉากและวงเวียนขององค์กรเป็นเค้าโครงเรื่องที่สำคัญในนวนิยายขนาดสั้น The Man Who would Be King
 
==สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (1914–1918)==
 
ในตอนต้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เช่นเดียวกับนักเขียนคนอื่นๆอีกหลายคน คิปลิงเขียนแผ่นพับและบทกวีอย่างกระตือรือร้นสนับสนุนเป้าหมายสงครามของสหราชอาณาจักรในการฟื้นฟูเบลเยียม หลังจากที่ถูกเยอรมนียึดครอง พร้อมกับข้อความทั่วไปว่าสหราชอาณาจักรยืนอยู่บนเหตุผลที่ชอบธรรม ในเดือนกันยายน 1914 รัฐบาลขอให้คิปลิงเขียนโฆษณาชวนเชื่อ และเขายอมรับข้อเสนอนั้น แผ่นพับและเรื่องราวของคิปลิงได้รับความนิยมจากชาวอังกฤษในช่วงสงคราม โดยเนื้อหาหลักคือการเชิดชูกองทัพอังกฤษให้เป็นสถานที่สำหรับวีรบุรุษผู้กล้า ในขณะที่กล่าวถึงความโหดร้ายที่เยอรมันกระทำต่อพลเรือนชาวเบลเยียม และเรื่องราวของผู้หญิงที่ผลจากสงครามอันน่าสยดสยองทำให้พวกเธอกลายเป็นนางเสือร้าย หลังจากเยอรมันปล่อยตัวออกมา พวกเธอไม่เพียงรอดชีวิตแต่ยังสู้กลับจนมีชัย แทนที่จะจมปลักอยู่ในความเจ็บปวดรวดร้าว
 
คิปลิงรู้สึกโกรธเคืองจากรายงานการข่มขืนในเบลเยียมและการจมเรือเดินสมุทร อาร์เอ็มเอส ลูซิตาเนีย ในปี 1915 ซึ่งเขามองว่าเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอย่างสุดซึ้ง และทำให้เขามองว่าสงครามนี้คือสงครามครูเสดเพื่อต่อต้านความป่าเถื่อน ในสุนทรพจน์ในปี 1915 คิปลิงประกาศว่า “ไม่มีอาชญากรรม ไม่มีความโหดร้าย ไม่มีสิ่งที่น่ารังเกียจใดที่จิตใจของมนุษย์สามารถเข้าใจได้ หากชาวเยอรมันยังไม่กระทำความผิด ไม่ได้กำลังกระทำความผิด และจะไม่กระทำความผิดหากยังปล่อยให้พวกเขาดำเนินการต่อไป.... วันนี้ มีเพียงสองฝ่ายในโลกนี้... มนุษย์และชาวเยอรมัน”
 
นอกจากความเกลียดชังที่เขามีต่อเยอรมนีแล้ว คิปลิงยังวิพากษ์วิจารณ์อย่างเป็นส่วนตัวถึงการสู้รบของกองทัพอังกฤษ โดยบ่นในต้นเดือนตุลาคม 1919 ว่าถึงตอนนั้นเยอรมนีน่าจะพ่ายแพ้ไปแล้ว และต้องมีบางอย่างผิดปกติกับกองทัพอังกฤษ คิปลิง ซึ่งตกตะลึงกับความสูญเสียอย่างหนักของกองกำลังสำรวจของอังกฤษในฤดูใบไม้ร่วงปี 1914 ตำหนินักการเมืองอังกฤษรุ่นก่อนสงครามทั้งหมดผู้ที่ เขายืนยันว่า ล้มเหลวในการเรียนรู้บทเรียนของสงครามบัวร์ ทหารอังกฤษหลายพันคนต้องสละชีวิตสำหรับความล้มเหลวในทุ่งนาของฝรั่งเศสและเบลเยียม
 
คิปลิงดูถูกผู้ชายที่หลบหน้าในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ใน “The New Army in Training” (1915) คิปลิงกล่าวสรุปว่า:
 
<blockquote>เราสามารถรับรู้ได้มากขนาดนี้ ว่าแม้ชัยชนะและความปีติยินดีจะอยู่ใกล้แค่เอื้อม แต่สัญชาตญาณการเอาตัวรอดแบบเก่าได้กีดกันเราออกไปจากมันเสียแล้ว แต่ในอีกหลายปีต่อจากนี้ ชายหนุ่มผู้จงใจเลือกที่จะหลบหนีไปจากอ้อมกอดของเหล่าพี่น้องจะเป็นอย่างไร ครอบครัวของเขา และ เหนือสิ่งอื่นใด ลูกหลานของเขาจะเป็นอย่างไร เมื่อหนังสือถูกปิดลงและปรากฏยอดสุดท้ายของการเสียสละและความเศร้าโศกในทุกหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด แว่นแคว้น และตลอดทั่วทั้งอาณาจักร</blockquote>
 
ในปี 1914 คิปลิงเป็นหนึ่งในนักเขียนชั้นนำของอังกฤษ 53 คน – รวมถึง เอช. จี. เวลส์, อาเทอร์ โคนัน ดอยล์ และ โทมัส ฮาร์ดี – ที่ลงนามใน “ปฏิญญานักเขียน” ปฏิญญานี้ประกาศว่าการบุกครองเบลเยียมของเยอรมนีเป็นอาชญากรรมที่โหดร้าย และอังกฤษ “ไม่สามารถปฏิเสธ โดยปราศจากความอัปยศ ว่ามีส่วนร่วมในอาชญากรรมของสงครามนี้”
 
===ความตายของจอห์น คิปลิง ===
[[File:My Boy Jack John Kipling.jpg|thumb|upright|ร.ท. จอห์น คิปลิง ที่ 2]]
[[File:Memorial to John Kipling at Burwash Church - geograph.org.uk - 1573481.jpg|thumb|upright|คำไว้อาลัย ร.ท. จอห์น คิปลิง ที่ 2 ในโบส์ถเบอร์วอช พาริช ซัสเซ็กส์ ประเทศอังกฤษ]]
 
จอห์น ลูกชายของคิปลิงถูกสังหารในสมรภูมิลูสในเดือนกันยายน 1915 เมื่ออายุได้ 18 ปี ตอนแรกจอห์นต้องการเข้าร่วมราชนาวี แต่หลังจากที่ไม่ผ่านการตรวจสุขภาพเนื่องจากสายตาไม่ดี เขาจึงเลือกที่จะสมัครรับราชการทหารเป็นนายทหาร อีกครั้ง สายตาของเขาเป็นปัญหาระหว่างการตรวจสุขภาพ เขาพยายามจะเกณฑ์ทหารสองครั้ง แต่ถูกปฏิเสธทั้งสองครั้ง พ่อของเขาเป็นเพื่อนตลอดชีวิตกับ ลอร์ดโรเบิร์ตส์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพอังกฤษ และผู้บังคับบัญชาของกองพันไอริชการ์ด และตามคำร้องขอของรัดยาร์ด จอห์นก็ได้เข้ารับราชการในกองพันไอริชการ์ด
 
จอห์นถูกส่งไปที่ลูสสองวันเพื่อร่วมในการสู้รบของกองหนุน ครั้งสุดท้ายมีคนเห็นเขาสะดุดล้มลงในโคลน โดยอาจมีอาการบาดเจ็บที่ใบหน้า ศพที่ระบุว่าเป็นเขาถูกพบในปี 1992 แต่การระบุตัวตนครั้งนั้นยังไม่ได้รับการยืนยันแน่ชัด ในปี 2015 คณะกรรมาธิการหลุมฝังศพของเครือจักรภพยืนยันว่าสามารถระบุสถานที่ฝังศพของ จอห์น คิปลิง ได้อย่างถูกต้องแล้ว; พวกเขาบันทึกวันที่เขาเสียชีวิตเป็นวันที่ 27 กันยายน 1915 และเขาถูกฝังไว้ที่สุสาน เซนต์แมรีส์ เอ.ดี.เอส. ไฮส์เนส
 
หลังจากลูกชายเสียชีวิต ในบทกวีชื่อ “Epitaphs of the War” คิปลิงเขียนว่า “ถ้ามีคำถามว่าทำไมเราถึงตาย / บอกพวกเขา เพราะพ่อของพวกเราโกหก” นักวิจารณ์คาดการณ์ว่าคำพูดเหล่านี้อาจแสดงถึงความรู้สึกผิดของคิปลิงต่อบทบาทของเขาในการจัดการที่ผิดระเบียบเพื่อให้จอห์นได้เข้ารับราชการทหาร ศาสตราจารย์ เทรซี บิลซิง โต้แย้งว่าแนวความคิดนี้หมายถึงความรังเกียจของคิปลิงที่ผู้นำอังกฤษล้มเหลวในการเรียนรู้บทเรียนเกี่ยวกับสงครามบัวร์ และไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการต่อสู้กับเยอรมนีในปี 1914 โดยที่ “คำโกหก” ของ “พ่อ” ก็คือคำกล่าวที่ว่ากองทัพอังกฤษได้ถูกเตรียมไว้พร้อมแล้วสำหรับการทำสงครามซึ่งไม่ใช่ความจริง
 
การเสียชีวิตของจอห์นถูกเชื่อมโยงกับบทกวี “My Boy Jack” ของคิปลิงในปี 1916 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถูกนำมาทำเป็นละครเวที My Boy Jack และดัดแปลงมาเป็นละครโทรทัศน์ในเวลาต่อมา และกับสารคดี Rudyard Kipling: A Remembrance Tale อย่างไรก็ตาม บทกวีนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกที่หัวเรื่องเกี่ยวกับยุทธการที่จัตแลนด์และดูเหมือนจะหมายถึงความตายนั้นเกิดขึ้นในทะเล; และ “แจ็ก” ที่อ้างถึงอาจเป็นเด็กชายผู้ได้รับเหรียญกล้าหาญวิกตอเรียนครอสส์ชื่อ แจ็ก คอร์นเวลล์ หรืออาจเป็น “Jack Tar” ที่ไม่ประสงค์จะระบุว่าเป็นใคร ในครอบครัวคิปลิง แจ็กเป็นชื่อของสุนัขประจำครอบครัว ในขณะที่ จอห์น คิปลิง มักจะเรียกกันว่าจอห์นเสมอ ซึ่งทำให้การระบุว่าตัวเอกของ “My Boy Jack” คือ จอห์น คิปลิง ค่อนข้างจะน่าสงสัย อย่างไรก็ตาม คิปลิงเสียใจอย่างมากจากการเสียชีวิตของลูกชายของเขา กล่าวกันว่าเขาระงับความเศร้าโศกด้วยการอ่านออกเสียงนวนิยายของ เจน ออสเตน ให้ภรรยาและลูกสาวฟัง ระหว่างสงคราม เขาเขียนหนังสือเล่มเล็ก The Fringes of the Fleet ที่มีบทความและบทกวีเกี่ยวกับการสู้รบในทะเล บางส่วนของหนังสือได้รับการประพันธ์เป็นบทเพลงโดยนักแต่งเพลงชาวอังกฤษ Edward Elgar
 
คิปลิงได้เพื่อนเป็นทหารฝรั่งเศสชื่อ มอริซ แฮมโมโน ซึ่งรอดชีวิตในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยหนังสือ Kim ซึ่งเก็บไว้ในกระเป๋าอกเสื้อด้านซ้าย ช่วยหยุดกระสุนเอาไว้ แฮมโมโนมอบหนังสือ ที่มีกระสุนฝังอยู่ และเหรียญกล้าหาญครัวเดอแกร์ของเขาให้กับคิปลิงเป็นสัญลักษณ์แห่งความกตัญญู ทั้งคู่ยังคงติดต่อกันอยู่ และเมื่อแฮมโมโนมีลูกชาย คิปลิงก็ยืนกรานที่จะคืนหนังสือและเหรียญ
 
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1918 บทกวี “The Old Volunteer” ที่มีชื่อเขากำกับอยู่ด้านล่างก็ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดอะไทมส์ วันรุ่งขึ้น เขาเขียนจดหมายถึงหนังสือพิมพ์เพื่อปฏิเสธการประพันธ์และการแก้ไขก็ปรากฏขึ้น แม้ว่าทางเดอะไทมส์จะจ้างนักสืบเอกชนมาสืบสวน ดูเหมือนนักสืบจะสงสัยว่าคิปลิงเองเป็นผู้เขียน แต่ก็ไม่เคยมีการระบุตัวตนของผู้หลอกลวง
 
==หลังสงคราม (1918–1936)==
 
[[File:Kipling TIME cover 19260927.jpg|thumb|upright|คิปลิง อายุ 60 ปี บนปกนิตยสารไทม์ 27 กันยายน 1926]]
 
ส่วนหนึ่งในการตอบสนองต่อการเสียชีวิตของลูกชาย คิปลิงได้เข้าร่วมคณะกรรมาธิการหลุมฝังศพสงครามจักรวรรดิของเซอร์เฟเบียนแวร์ (ปัจจุบันคือคณะกรรมาธิการหลุมฝังศพของเครือจักรภพ) กลุ่มที่รับผิดชอบหลุมฝังศพสงครามของประเทศอังกฤษที่มีรูปลักษณ์คล้ายสวนซึ่งสามารถพบได้จนถึงทุกวันนี้ตามแนวรบด้านตะวันตกในอดีตและที่อื่นๆในโลกที่ฝังกองทหารของจักรวรรดิอังกฤษ ผลงานหลักของเขาในโครงการนี้คือการเลือกวลีในพระคัมภีร์ไบเบิล “ชื่อของพวกเขาจะมีชีวิตอยู่ตลอดไป” (Ecclesiasticus 44.14, KJV) ซึ่งพบบนศิลาแห่งความทรงจำในสุสานสงครามขนาดใหญ่ และข้อเสนอแนะของเขาเกี่ยวกับวลี “รับรู้โดยพระผู้เป็นเจ้า” สำหรับหลุมศพของทหารที่ไม่ปรากฏชื่อ นอกจากนี้ เขายังเลือกจารึก “ความตายอันรุ่งโรจน์” บนอนุสาวรีย์ซีโนแทพ ไวต์ฮอลล์ ลอนดอน นอกจากนี้ เขายังเขียนประวัติศาสตร์ของไอริชการ์ด กองทหารของลูกชาย ได้รับการตีพิมพ์เป็นชุดสองเล่มในปี 1923 และถือว่าเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีที่สุดของประวัติศาสตร์กองร้อย
 
เรื่องสั้นของคิปลิงเรื่อง “The Gardener” และบทกวี “The King's Pilgrimage” (1922) บรรยายถึงการเดินทางของพระเจ้าจอร์จที่ 5 ที่ทรงเสด็จเที่ยวชมสุสานและอนุสรณ์สถานที่กำลังก่อสร้างโดยคณะกรรมาธิการหลุมฝังศพของจักรวรรดิ ด้วยความนิยมรถยนต์ที่มีเพิ่มมากขึ้น คิปลิงจึงกลายเป็นนักข่าวด้านยานยนต์ให้กับสื่อมวลชนอังกฤษ โดยเขียนบทความเกี่ยวกับการเดินทางไปทั่วอังกฤษและต่างประเทศอย่างกระตือรือร้น แม้ว่าปกติแล้วเขาจะนั่งโดยสารบนรถยนต์ที่มีพนักงานขับรถก็ตาม
 
หลังสงคราม, คิปลิงไม่เชื่อใน สิบสี่ประเด็น และ สันนิบาตแห่งชาติ, แต่มีความหวังว่าสหรัฐฯจะละทิ้งลัทธิโดดเดี่ยวและโลกหลังสงครามจะได้รับการปกป้องโดยพันธมิตรแองโกล-ฝรั่งเศส-อเมริกัน เขาหวังว่าสหรัฐฯจะได้รับมอบอำนาจจากสันนิบาตแห่งชาติให้เป็นผู้สั่งการอาร์เมเนีย ซึ่งจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการแยกตัวออกจากกัน และหวังว่าทีโอดอร์ รูสเวลต์ ซึ่งคิปลิงชื่นชม จะได้เป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง คิปลิงเสียใจกับการเสียชีวิตของรูสเวลต์ในปี 1919 โดยเชื่อว่าเขาเป็นนักการเมืองชาวอเมริกันเพียงคนเดียวที่สามารถรักษาสหรัฐอเมริกาให้อยู่ใน “เกม” ของการเมืองโลกได้
 
คิปลิงเป็นปฏิปักษ์ต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเขียนถึงการยึดครองของบอลเชวิกในปี 1917 ว่าหนึ่งในหกของโลก “ได้หลุดพ้นไปจากอารยธรรมแล้ว” ในบทกวีปี 1918 คิปลิงเขียนถึงโซเวียตรัสเซียว่าทุกสิ่งที่ดีในรัสเซียถูกทำลายโดยพวกบอลเชวิก – สิ่งที่เหลืออยู่ก็คือ “เสียงร้องไห้และภาพไฟไหม้ และเงาของคนที่เหยียบย่ำลงไปในหล่มโคลน”
 
ในปี 1920 คิปลิงได้ร่วมก่อตั้งองค์กรเสรีภาพร่วมกับ แฮกการ์ด และ ลอร์ดไซเดนแฮม องค์กรอายุสั้นนี้มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมอุดมการณ์เสรีนิยมแบบคลาสสิกเพื่อตอบสนองต่อแนวโน้มของอำนาจที่เพิ่มขึ้นของลัทธิคอมมิวนิสต์ในบริเตนใหญ่ หรืออย่างที่คิปลิงกล่าว “เพื่อต่อสู้กับความก้าวหน้าของลัทธิบอลเชวิก”
 
[[File:Rudyard Kipling at St Andrews 1923.jpg|thumb|left|คิปลิง (คนที่สองจากซ้าย) ขณะดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์ สก็อตแลนด์ ในปี 1923]]
 
ในปี 1922 คิปลิง ผู้ถูกกล่าวถึงว่ามีผลงานที่เกี่ยวกับวิศวกรในบทกวีบางบท เช่น “The Sons of Martha”, “Sappers” และ “McAndrew's Hymn” และในงานเขียนอื่นๆ รวมทั้งกวีนิพนธ์ที่เขียนเป็นเรื่องสั้นๆเช่น The Day's Work ได้รับการร้องขอจากศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมโยธาแห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโต เฮอร์เบิร์ต อี.ที. ฮอลเทน ให้ช่วยพัฒนาพิธีส่งมอบภาระหน้าที่อันมีเกียรติและพิธีเฉลิมฉลองสำหรับนักศึกษาวิศวกรรมที่สำเร็จการศึกษา คิปลิงกระตือรือร้นในการตอบสนองคำร้องขอนี้และได้สร้างนวัตกรรมสำหรับพิธีทั้งสองขึ้นมาในเวลาไม่นาน โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า “พิธีกรรมแห่งการได้รับการเรียกขานว่าวิศวกร” ทุกวันนี้ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมจากทั่วแคนาดาได้รับมอบแหวนเหล็กในพิธีเพื่อเตือนพวกเขาถึงภาระหน้าที่ที่มีต่อสังคม ในปี 1922 คิปลิงได้รับตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัย เซนต์ แอนดรูวส์ในสกอตแลนด์เป็นเวลาสามปี
 
คิปลิง ในฐานะผู้คลั่งไคล้ในวัฒนธรรมฝรั่งเศส ได้โต้เถียงกันอย่างหนักเพื่อให้พันธมิตรแองโกล-ฝรั่งเศสรักษาสันติภาพ โดยเรียกอังกฤษและฝรั่งเศสในปี 1920 ว่าเป็น “ป้อมปราการแฝดของอารยธรรมยุโรป” ในทำนองเดียวกัน คิปลิงเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่ให้แก้ไขสนธิสัญญาแวร์ซายเพื่อประโยชน์ของเยอรมนี ซึ่งเขาคาดการณ์ว่าจะนำไปสู่สงครามโลกครั้งใหม่ คิปลิงเป็นแฟนตัวยงของ เรย์ม็องด์ ปวงกาเร เขาคือหนึ่งในปัญญาชนชาวอังกฤษไม่กี่คนที่สนับสนุนการที่ฝรั่งเศสยึดครองแคว้นรูห์ในปี 1923 ขณะที่รัฐบาลอังกฤษและความคิดเห็นของสาธารณชนส่วนใหญ่คัดค้านการกระทำของฝรั่งเศส คิปลิงมีความเห็นตรงกันข้ามกับมุมมองที่ได้รับความนิยมจากชาวอังกฤษที่เห็นว่าปวงกาเรเป็นพวกอันธพาลที่โหดร้ายในการทำให้เยอรมนียากจนด้วยการชดใช้ที่ไร้เหตุผล โดยคิปลิงยืนกรานว่าปวงกาเรทำถูกแล้วที่พยายามคงสภาพฝรั่งเศสให้เป็นมหาอำนาจเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวย คิปลิงกล่าวต่อว่าก่อนปี 1914 เศรษฐกิจที่ใหญ่กว่าของเยอรมนีและอัตราการเกิดที่สูงกว่าทำให้ประเทศนั้นแข็งแกร่งกว่าฝรั่งเศส; และฝรั่งเศสส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสงครามมากกว่า และชาวฝรั่งเศสที่ต้องล้มหายตายจากก็มีจำนวนมากกว่า สะท้อนถึงอัตราการเกิดที่ต่ำจะยิ่งทำให้เกิดปัญหา ในขณะที่เยอรมนีส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเสียหาย และยังคงมีอัตราการเกิดที่สูงขึ้น ดังนั้นเขาจึงให้เหตุผลว่าอนาคตจะนำมาซึ่งการครอบงำของเยอรมันหากสนธิสัญญาแวร์ซายได้รับการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของเยอรมนี และอังกฤษก็บ้าพอที่จะกดดันฝรั่งเศสให้ทำเช่นนั้น
 
[[File:Rudyard Kipling, by Elliott & Fry (cropped).jpg|thumb|upright|ภาพวาดคิปลิงในบั้นปลายชีวิต โดยศิลปินอีเลียตแอนด์ฟราย]]
 
ในปี 1924 คิปลิงเปรียบเปรยรัฐบาลพรรคแรงงานของ แรมเซย์ แม็กโดนัลด์ ว่าเป็น “พวกบอลเชวิกที่ไม่ใช้กระสุน” เขาเชื่อว่าพรรคแรงงานเป็นองค์กรแนวหน้าคอมมิวนิสต์ และ “คำสั่งและคำแนะนำอันน่าตื่นเต้นจากมอสโก” จะเปิดโปงธาตุแท้เช่นนั้นของพรรคแรงงานต่อชาวอังกฤษ มุมมองของคิปลิงอยู่ทางขวา แม้ว่าเขาจะเคยชื่นชม เบนิโต มุสโสลินี ในช่วงทศวรรษที่ 1920 แต่เขาก็ต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์ โดยเรียก ออสวัลด์ มอสลีย์ ว่าเป็น “บุคคลผู้น่าอัปยศอดสูและไต่เต้าขึ้นมาเพราะความทะเยอทะยาน” เมื่อถึงปี 1935 เขาเรียกมุสโสลินีว่าเป็นคนเห็นแก่ตัวที่บ้าคลั่งและอันตราย และในปี 1933 ก็ให้ฉายาว่าเป็น “พวกฮิตเลอร์กระหายเลือด”
 
แม้ว่าเขาจะต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่การแปลที่สำคัญครั้งแรกของคิปลิงเป็นภาษารัสเซียก็เกิดขึ้นภายใต้การปกครองของเลนินในช่วงต้นทศวรรษที่ 1920 และผลงานของคิปลิงก็ได้รับความนิยมจากผู้อ่านชาวรัสเซียในช่วงระหว่างสงคราม กวีและนักเขียนชาวรัสเซียที่อายุน้อยกว่าหลายคน เช่น คอนสแตนติน ซิโมนอฟ ได้รับอิทธิพลจากเขา สไตล์ที่ชัดเจนของคิปลิง การใช้ภาษาพูดและการใช้จังหวะและสัมผัสถูกมองว่าเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในกวีนิพนธ์ที่ดึงดูดกวีชาวรัสเซียที่อายุน้อยกว่าหลายคน วารสารโซเวียตจำเป็นต้องเริ่มการแปลผลงานของคิปลิงแม้ว่าจะมีกระแสโจมตีว่าเขาเป็นพวก “ฟาสซิสต์” และ “ลัทธิจักรวรรดินิยม” เหล่านี้สะท้อนถึงความนิยมของผู้อ่านชาวรัสเซียที่มีต่อผลงานของคิปลิง จนกระทั่งงานของเขาถูกห้ามพิมพ์เผยแพร่ในสหภาพโซเวียตในปี 1939 ด้วยการลงนามในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอป คำสั่งห้ามถูกยกเลิกในปี 1941 หลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา เมื่ออังกฤษกลายเป็นพันธมิตรของสหภาพโซเวียต แต่ถูกนำมาบังคับใช้อีกครั้งจากผลของสงครามเย็นในปี 1946
 
[[File:Kipling swastika.svg|left|upright|สวัสดิกะสัญลักษณ์แห่งโชคดีของชาวอินเดียที่หมุนซ้าย พิมพ์ในปี 1911 |thumb]]
[[File:Kipling cover art.jpg|thumb|สัญลักษณ์บนปกหนังสือสองปกของคิปลิงเล่มซ้าย พิมพ์ในปี 1919 ส่วนเล่มขวาที่พิมพ์ในปี 1930 แสดงการตัดเครื่องหมายสวัสดิกะออกไป]]
 
หนังสือของรัดยาร์ด คิปลิงรุ่นเก่าหลายเล่มมีเครื่องหมายสวัสดิกะบนหน้าปก ร่วมกับภาพช้างถือดอกบัว ซึ่งสะท้อนถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดีย การใช้เครื่องหมายสวัสดิกะของคิปลิงมาจากสัญลักษณ์ดวงอาทิตย์ของอินเดียที่แสดงถึงความโชคดีและคำภาษาสันสกฤตหมายถึง “โชคดี” หรือ “ความเป็นอยู่ที่ดี” เขาใช้สัญลักษณ์สวัสดิกะทั้งในรูปแบบที่หมุนขวาและหมุนซ้าย และในขณะนั้นคนอื่นๆก็ใช้สัญลักษณ์นี้โดยทั่วไป
 
ในบันทึกถึงบรรณาธิการ เอ็ดเวิร์ด บ็อก หลังจากการเสียชีวิตของ ล็อกวูด คิปลิง ในปี 1911 รัดยาร์ด กล่าวว่า: “ฉันส่งภาพต้นฉบับของหนึ่งในตราสัญลักษณ์ที่พ่อทำให้ฉันเพื่อให้คุณยอมรับ ในฐานะความทรงจำเล็กน้อยถึงพ่อของฉันผู้ที่คุณเคยให้ความเมตตาต่อท่านเป็นอย่างมาก ฉันคิดว่ามันคือสวัสดิกะที่เหมาะจะเป็นสวัสดิกะของคุณ ขอให้โชคดียิ่งขึ้นไปอีก” เมื่อ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และพวกนาซีขึ้นสู่อำนาจและแย่งชิงเครื่องหมายสวัสดิกะไปใช้ คิปลิงสั่งว่าไม่ควรนำสัญลักษณ์นี้มาประดับหนังสือของเขาอีกต่อไป น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิต คิปลิงกล่าวสุนทรพจน์ (ชื่อ “เกาะที่ไม่มีการป้องกัน”) ต่อราชสมาคมแห่งเซนต์จอร์จเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 1935 เพื่อเตือนถึงอันตรายของนาซีเยอรมนีต่อสหราชอาณาจักร
 
คิปลิงคือผู้ร่าง Royal Christmas Message ฉบับแรกถวายแด่พระเจ้าจอร์จที่สี่ ซึ่งได้เผยแพร่โดย บีบีซีส์ เอ็มไพร์ เซอร์วิส ในปี 1932 ในปี 1934 เขาตีพิมพ์เรื่องสั้น “Proofs of Holy Writ” ลงในนิตยสารเดอะสแตรนด์ โดยตั้งสมมติฐานว่า วิลเลียม เชกสเปียร์ คือผู้ที่ช่วยขัดเกลาร้อยแก้ว King James Bible
 
==ความตาย==
 
{{multiple image
| align = right
| direction = vertical
| header =
| width = 250
| image1 = Kipling's grave in Poets Corner.png
| width1 =
| alt1 =
| caption1 = สถานที่ฝังอัฐิของคิปลิง (ขวา) ในมุมกวี สุสานเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน
| image2 = Kipling plaque at Fitzrovia Chapel.jpg
| width2 =
| alt2 =
| caption2 = ข้อความที่โบสถ์ฟิตซ์โรเวีย ระบุตำแหน่งที่วางร่างของคิปลิง หลังจากเสียชีวิต
}}
 
คิปลิงยังคงเขียนหนังสือจนถึงต้นทศวรรษที่ 1930 แต่การเขียนดำเนินไปอย่างเชื่องช้าและประสบความสำเร็จน้อยกว่าเมื่อก่อน ในคืนวันที่ 12 มกราคม 1936 เขามีอาการตกเลือดในลำไส้เล็ก เขาเข้ารับการผ่าตัด แต่เสียชีวิตที่โรงพยาบาลมิดเดิลเซ็กซ์น้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์ต่อมาในวันที่ 18 มกราคม 1936 เมื่ออายุได้ 70 ปี ด้วยแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นที่มีรูพรุน หลังเสียชีวิต ร่างของเขาถูกนำไปไว้ที่โบสถ์ฟิตซ์โรเวีย ซึ่งอยู่ในอาณาบริเวณของโรงพยาบาลมิดเดิลเซ็กซ์ โดยมีป้ายเชิดชูเกียรติประดับอยู่ใกล้กับแท่นบูชา ก่อนหน้านี้เขาถูกประกาศข่าวมรณกรรมอย่างไม่ถูกต้องในนิตยสารฉบับหนึ่ง ซึ่งเขาเขียนตอบไปว่า “ฉันเพิ่งอ่านมาว่าฉันตายแล้ว อย่าลืมลบฉันออกจากรายชื่อสมาชิกของคุณ”
 
ผู้ขนสัมภาระที่งานศพ ได้แก่ นายกรัฐมนตรีสแตนลีย์ บอลด์วิน ผู้เป็นญาติของคิปลิง และโลงศพหินอ่อนถูกปกคลุมด้วยธงยูเนียนแจ็ก คิปลิงถูกเผาที่ฌาปนสถาน โกลเดอรส์ กรีน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของลอนดอน และอัฐิของเขาฝังอยู่ที่มุมกวี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปีกทางด้านทิศใต้ของสุสานเวสต์มินสเตอร์ ถัดจากหลุมศพของ ชารลส์ ดิกเกนส์ และ โทมัส ฮาร์ดี พินัยกรรมของคิปลิง ได้รับการพิสูจน์เมื่อวันที่ 6 เมษายน โดยทรัพย์สินของเขามีมูลค่าประมาณ 8 ล้านบาท (ประมาณ 530 ล้านบาทในปี 2021
 
==มรดก==
 
ในปี 2002 สหราชอาณาจักรได้จัดพิมพ์แสตมป์ที่ระลึก เพื่อฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปีการจัดพิมพ์หนังสือ Just So Stories ของคิปลิง
 
ในปี 2010 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้อนุมัติการตั้งชื่อหลุมอุกาบาตบนดาวพุธตามชื่อคิปลิง – หนึ่งในสิบหลุมอุกาบาตที่เพิ่งค้นพบใหม่ที่ยานอวกาศเมสเซนเจอร์สังเกตเห็นในปี 2008-2009
 
ในปี 2012 จระเข้ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว Goniopolis kiplingi ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา “เพื่อเป็นการยอมรับถึงความกระตือรือร้นของเขาในด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ”
 
บทกวีที่ไม่ได้ตีพิมพ์มากกว่า 50 บทโดยคิปลิง ค้นพบโดย โทมัส พินนีย์ นักวิชาการชาวอเมริกัน ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2013
 
งานเขียนของคิปลิงมีอิทธิพลอย่างมากต่องานเขียนของผู้อื่น เรื่องราวสำหรับผู้ใหญ่ของเขายังคงอยู่ในการพิมพ์และได้รับการยกย่องอย่างสูงจากนักเขียนหลากหลาย อย่าง พอล แอนเดอร์สัน, จอร์จ ลูอิส บอร์เจส และ แรนดาลล์ จาร์เรลล์ ผู้เขียนว่า: “หลังจากที่คุณได้อ่านเรื่องราวที่ดีที่สุดห้าสิบหรือเจ็ดสิบห้าเรื่องของคิปลิงแล้วจะพบว่ามีนักเขียนเพียงไม่กี่คนที่เขียนเรื่องราวได้มากมายและเขียนได้ดีเหลือเกินเช่นนี้ และน้อยคนนักที่จะเขียนเรื่องราวได้มากกว่าและดีกว่านี้”
 
เรื่องราวสำหรับเด็กของเขายังคงได้รับความนิยมและ Jungle Book ก็ได้รับการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้ง ครั้งแรกอำนวยการสร้างโดย อเล็กซานเดอร์ คอร์ดา อีกหลายครั้งอำนวยการสร้างโดยโดยวอลต์ ดิสนีย์
 
บทกวีของเขาจำนวนหนึ่งได้รับการประพันธ์เป็นบทเพลงโดย เพอร์ซี เกรนเจอร์ ภาพยนตร์สั้นชุดหนึ่งที่สร้างจากเรื่องราวของเขาบางเรื่องได้รับการนำมาออกอากาศโดย บีบีซี ในปี 1964 ผลงานของคิปลิงยังคงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
 
กวี ที.เอส. เอเลียต นำ A Choice of Kipling's Verse (1941) มาตีพิมพ์พร้อมความเรียงที่เขาเขียนขึ้นเป็นบทนำ เอเลียตรับรู้ถึงข้อครหาที่ต่อต้านคิปลิงและเขาปฏิเสธทีละข้อ: ข้อครหาที่มีมาคือคิปลิงเป็น “พวกอนุรักษ์นิยม” โดยใช้บทกวีของเขาเพื่อถ่ายทอดมุมมองทางการเมืองของฝ่ายขวา หรือเป็น “นักข่าว” ที่มุ่งแต่เพ้อเจ้อไปตามกระแสนิยม; ข้อโต้แย้งของเอเลียตคือ: “ฉันไม่พบเหตุผลใดสำหรับข้อกล่าวหาที่เขามีหลักคำสอนเรื่องความเหนือกว่าทางเชื้อชาติ” และแทนที่จะพบสิ่งใดที่สนับสนุนข้อครหาดังกล่าว สิ่งที่เอเลียตค้นพบจากผลงานของคิปลิงคือ:
 
พรสวรรค์อันยิ่งใหญ่ในการใช้คำ ความอยากรู้อยากเห็นและพลังของการสังเกตที่น่าอัศจรรย์ที่เกิดจากความคิดและประสาทสัมผัสทั้งหมดของเขา หน้ากากของผู้ให้ความบันเทิง และยิ่งกว่านั้นคือพรสวรรค์แปลกๆที่เห็นหนทางที่สอง ในการส่งข้อความมาจากที่อื่น พรสวรรค์ที่ชวนระแวงที่เมื่อเราถูกเตือนให้ตระหนักว่าจะมีข้อความเช่นนั้นส่งมา แล้วนับจากนั้นเราจะไม่สามารถแน่ใจได้เลยว่าเมื่อไรข้อความเช่นนั้นจะไม่ถูกส่งมาอีก: ทั้งหมดนี้ทำให้คิปลิงเป็นนักเขียนที่เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะเข้าใจได้ทั้งหมดและแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ใครจะมาดูถูกได้
— ที.เอส. เอเลียต
 
จากบทกวีของคิปลิง เช่น Barrack-Room Ballads เอเลียตเขียนว่า “ในบรรดากวีที่เขียนบทกวีได้ยอดเยี่ยม มีเพียง... น้อยรายยิ่งนักที่ฉันควรเรียกว่ากวีผู้ยิ่งใหญ่ และเว้นแต่ฉันจะเข้าใจผิด ตำแหน่งของคิปลิงในกลุ่มนี้ไม่เพียงแต่อยู่ในระดับสูงเยี่ยมเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนใครอีกด้วย”
 
เพื่อสนับสนุนเอเลียต จอร์จ ออร์เวลล์ ได้เขียนจากการพิจารณางานของคิปลิงมาเป็นเวลานานลงในนิตยสารฮอไรซอนในปี 1942 ให้ข้อสังเกตว่าแม้คิปลิงจะเป็น “จักรพรรดินิยมผู้รักชาติสุดโต่ง” ที่ “ไร้ศีลธรรมและน่าขยะแขยง” แต่ผลงานที่มีคุณภาพมากมายของเขายืนยันว่าในขณะที่ “เหล่าผู้รู้แจ้ง” พากันดูถูกเขา... เก้าในสิบของผู้รู้แจ้งเหล่านั้นกลับถูกลืมเลือนและคิปลิงที่เรารับรู้ได้โดยประสาทสัมผัสบางอย่างยังอยู่ตรงนั้น”:
 
{{quote|เหตุผลหนึ่งสำหรับอำนาจของคิปลิง (คือ) สำนึกในความรับผิดชอบ ซึ่งทำให้เขามีความเป็นไปได้ที่จะมีมุมมองที่เป็นมุมมองของโลก แม้อาจปรากฏในภายหลังว่าเป็นมุมมองที่ผิด คิปลิงไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับพรรคการเมืองใดๆ แต่ถือได้ว่าเขาสังกัดพรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นพรรคที่ไม่มีอยู่จริงในทุกวันนี้ พวกที่เรียกตัวเองว่าเป็นพรรคอนุรักษ์นิยมนั้นมีทั้งพวกเสรีนิยม พวกฟาสซิสต์ หรือผู้ที่สมรู้ร่วมคิดกับฟาสซิสต์ คิปลิงระบุตัวเองด้วยอำนาจปกครองไม่ใช่ความเป็นพรรคฝ่ายค้าน ในฐานะนักเขียนที่มีพรสวรรค์ ดูเหมือนเราจะรู้สึกว่าการระบุตัวเองเช่นนี้เป็นเรื่องแปลกและอาจจะถึงกับน่าขยะแขยง แต่ประโยชน์ของมันคือมันให้ความสามารถในการยึดมั่นอยู่บนความเป็นจริงแก่คิปลิง อำนาจปกครองมักเผชิญกับคำถามว่า “ในสถานการณ์เช่นนั้น คุณจะทำอย่างไร” ในขณะที่พรรคฝ่ายค้านไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบหรือตัดสินใจใดๆอย่างแท้จริง ในกรณีที่เป็นฝ่ายค้านถาวรและมีบำเหน็จบำนาญ ดังเช่นในประเทศอังกฤษ คุณภาพของความคิดก็เสื่อมลงตามไปด้วย ยิ่งกว่านั้น ใครก็ตามที่เริ่มต้นด้วยการมองโลกในแง่ร้าย มุมมองต่อชีวิตมักจะโน้มเอียงไปตามกระแส เพราะยูโทเปียไม่เคยมาถึงและ “เทพเจ้าแห่งหนังสือลอกเลียนแบบ” อย่างที่คิปลิงกล่าวไว้ จะกลับมาเสมอ คิปลิงขายทั้งหมดให้กับชนชั้นปกครองของอังกฤษ ไม่ใช่เรื่องเงินทองแต่คือเรื่องความรู้สึก เรื่องนี้ทำให้การตัดสินทางการเมืองของเขาถูกบิดเบือน เพราะชนชั้นปกครองของอังกฤษไม่ใช่อย่างที่เขาคิด และมันนำเขาไปเผชิญกับก้นบึ้งของความเขลาและความเย่อหยิ่ง แต่เขาก็ได้รับประโยชน์ที่ติดตามมาคืออย่างน้อยเขาก็ได้พยายามจินตนาการแล้วว่าการกระทำและความรับผิดชอบนั้นมีลักษณะเช่นไร เป็นสิ่งที่ดีสำหรับเขาที่เขาไม่มีไหวพริบ ไม่ “กล้า” และไม่มีความปรารถนาที่จะสร้างความประทับใจให้ชนชั้นนายทุน เขาจัดการกับความซ้ำซากเป็นส่วนใหญ่ และเนื่องจากเราอยู่ในโลกแห่งความซ้ำซาก สิ่งที่เขาพูดจึงมักจะตรงกับความจริง แม้แต่ความโง่เขลาที่สุดของเขาก็ยังดูตื้นเขินน้อยกว่าและน่ารำคาญน้อยกว่าคำพูดที่ “รู้แจ้ง” ที่เอ่ยออกมาในช่วงเวลาเดียวกัน เช่นคำคมของไวลด์หรือการรวบรวมคำขวัญโอ้อวดในตอนท้ายของละครชุดเรื่อง Man and Superman
- จอร์จ ออร์เวลล์
}}
 
Iในปี 1939 กวี ดับเบิลยู.เอช. ออเดน ได้เฉลิมฉลองให้กับคิปลิงโดยใช้การเขียนในลักษณะที่คลุมเครือในทำนองเดียวกันกับคิปลิงในบทกวีไว้อาลัยแด่ วิลเลียม บัตเลอร์ เยตส์ ออเดนลบส่วนนี้ออกจากบทกวีนี้ฉบับพิมพ์ใหม่กว่าของเขา
 
<blockquote><poem>
เวลาอัน เที่ยงธรรม ไม่อดทน
ต่อวีรชน หาญสู้ ผู้บริสุทธิ์
หนึ่งอึดใจ ใต้ตม ที่จมมุด
เพื่อโผล่ผุด เป็นบุปผา มาลาตี
 
เสียงชื่นชู บูชา ราวห่าฝน
ตกท่วมท้น ธรณิน ทุกถิ่นที่
คำมุสา ปรามาส อาจเคยมี
หากวันนี้ จมแนบ ลงแทบเท้า
 
เมื่อเวลา อันเที่ยงธรรม ดำเนินกิจ
คิปลิงผู้ ถูกป้ายผิด มาแผดเผา
คลอเดลผู้ ถูกใคร ใครดูเบา
โปรดรับเอา คำขอโทษ ที่เขียนดี
</poem></blockquote>
 
กวี อลิสัน แบรกเคนบิวรี เขียนว่า “คิปลิงเป็นกวีนิพนธ์ของดิกเกนส์ คนนอกและนักข่าวที่มีหูที่ยอดเยี่ยมสำหรับเสียงและคำพูด”
 
นักร้องลูกทุ่งชาวอังกฤษ ปีเตอร์ เบลลามี เป็นคนรักกวีนิพนธ์ของคิปลิง ซึ่งส่วนใหญ่เขาเชื่อว่าได้รับอิทธิพลจากรูปแบบพื้นบ้านดั้งเดิมของอังกฤษ เขาบันทึกเสียงบทเพลงที่ประพันธ์จากบทกวีของคิปลิงหลายชุดในทำนองเพลงดั้งเดิมหรือเพลงที่แต่งขึ้นเองในสไตล์ดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม ในกรณีของเพลงลูกทุ่งลามก “The Bastard King of England” ซึ่งมักอ้างว่ามาจากบทประพันธ์ของคิปลิง เชื่อกันว่าเป็นการอ้างมั่วๆ
 
คิปลิงมักถูกอ้างถึงในการอภิปรายประเด็นทางการเมืองและสังคมร่วมสมัยของอังกฤษในปัจจุบัน ในปี 1911 คิปลิงเขียนบทกวี “The Reeds of Runnymede” ที่เฉลิมฉลองกฎบัตร Magna Carta และเรียกหาวิสัยทัศน์ของ “อังกฤษที่ดื้อรั้น” เพื่อปกป้องสิทธิของพวกเขา ในปี 1966 อดีตนายกรัฐมนตรีมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ได้ยกบทกวีด้านล่างเพื่อกล่าวเตือนถึงการรุกล้ำอธิปไตยของชาติจากสหภาพยุโรป:
 
<blockquote><poem>ที่รันนีมีด ที่รันนีมีด
ยินอ้อ อออีด
ว่าสิทธิ เสรี เสรีชน!
ห้ามขาย ถ่วงขัด ปัดพ้น
ย้ำความ หัวแข็ง อย่างคน
อังกฤษ ฤทธิกล
ผู้ปลุกตน ตื่นที่ รันนีมีด!
...
ตราบเสียงประชา หรือราชันย์ ยังมั่นสถิตย์
หากวิถี อย่างอังกฤษ ถูกกลั่นแกล้ง
เสียงกระซิบ และการสั่น จะพลันแสดง
ถ้วนทุกกอ อ้อแห่ง แหล่งพยาน
เทมส์ที่รู้ อารมณ์ ของราชา
และมหา ชนและพระ ผู้อาจหาญ
จะม้วนคลื่น ครืนบ่า มาประทาน
เสียงขับขาน เตือนคำมั่น จากรันนีมีด!
</poem></blockquote>
 
นักร้อง-นักแต่งเพลงการเมือง บิลลี แบร็กก์ ผู้ซึ่งพยายามสร้างชาตินิยมอังกฤษฝ่ายซ้ายซึ่งตรงกันข้ามกับลัทธิชาตินิยมอังกฤษฝ่ายขวา ได้พยายามที่จะ “เรียกเอา” คิปลิงกลับคืนมาเพื่อให้เกิดสำนึกร่วมของความเป็นอังกฤษ ความเกี่ยวข้องที่ยั่งยืนของคิปลิงได้ถูกกล่าวถึงในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากประเทศนั้นได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในอัฟกานิสถานและพื้นที่อื่นๆที่คิปลิงเคยเขียนถึงเอาไว้
 
===เชื่อมต่อกับการสร้างค่ายและกิจกรรมลูกเสือ===
 
ในปี 1903 คิปลิงอนุญาตให้ เอลิซาเบท ฟอร์ด โฮลต์ ยืมเค้าโครงจากหนังสือ Jungle Book ไปสร้างค่ายเมาคลี ค่ายฤดูร้อนสำหรับเด็กชายบนชายฝั่งทะเลสาบนิวฟาวนด์ในรัฐนิวแฮมป์เชียร์ ตลอดชีวิตที่เหลือของพวกเขา คิปลิงและแครีภรรยาของเขายังคงให้ความสนใจในค่ายเมาคลี ซึ่งยังคงสานต่อประเพณีที่คิปลิงเป็นแรงบันดาลใจ อาคารที่ค่ายเมาคลีตั้งชื่อตามตัวละคร เช่น อากีลา ทูไม บาลู และเสือดำ ชาวค่ายถูกเรียกว่าฝูงหมาป่า “เดอะแพ็ก” และมีสมาชิกตั้งแต่ลูกหมาป่า “คับ” ไปจนถึงผู้อาวุโสสูงสุดในถ้ำหมาป่า “เดน”
 
การเชื่อมโยงของคิปลิงกับกิจกรรมลูกเสือก็แข็งแกร่งเช่นกัน โรเบิร์ต บาเดน-พาวเวลล์ ผู้ก่อตั้งองค์กรลูกเสือใช้เค้าโครงมากมายจากเรื่อง Jungle Book และ Kim ในการจัดตั้งองค์กรลูกเสือสำรอง ความผูกพันเหล่านี้ยังคงมีอยู่ เช่น ความนิยมใน “เกมของคิม” การเคลื่อนไหวนี้ได้รับการตั้งชื่อตามครอบครัวบุญธรรมของเมาคลี และผู้ช่วยที่เป็นผู้ใหญ่ของฝูงลูกหมาป่าที่ใช้ชื่อจาก Jungle Book โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวหน้าผู้ใหญ่ที่ใช้ชื่ออากีลา เหมือนชื่อจ่าฝูงของฝูงหมาป่าแห่งเทือกเขาซีโอนี
 
===บ้านที่เบอร์วอชของคิปลิง===
 
[[File:Bateman's.jpg|thumb|เบตแมนส์ บ้านสุดที่รักของคิปลิง – ซึ่งเขากล่าวถึงว่าเป็น “สถานที่ที่ดีและสงบสุข” – ในเบอร์วอช ซัสเซ็กซ์ตะวันออก ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์สาธารณะที่อุทิศให้แก่นักเขียนผู้นี้]]
 
หลังจากการเสียชีวิตของภรรยาของคิปลิงในปี 1939 บ้านเบตแมนส์ในเบอร์วอช ซัสเซ็กซ์ตะวันออก ซึ่งคิปลิงอาศัยอยู่ตั้งแต่ปี 1902 ถึง 1936 ถูกยกให้เนชั่นแนลทรัสต์ ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์สาธารณะที่อุทิศให้แก่ผู้เขียนผู้นี้ เอลซี แบมบริดจ์ ลูกสาวคนเดียวของเขาที่มีชีวิตอยู่จนเป็นผู้ใหญ่ เสียชีวิตโดยไม่มีบุตรในปี 1976 และมอบมรดกลิขสิทธิ์ของเธอให้กับเนชั่นแนลทรัสต์ ซึ่งต่อมาได้บริจาคให้กับมหาวิทยาลัยซัสเซ็กส์เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้มากขึ้น
 
นักประพันธ์และกวี เซอร์ คิงสลีย์ อามิส เขียนบทกวี “Kipling at Bateman's” หลังจากเยี่ยมชมเบอร์วอช (ที่ซึ่งพ่อของอามิสอาศัยอยู่ช่วงสั้นๆในทศวรรษ 1960) โดยเป็นส่วนหนึ่งของสารคดีชุดทางโทรทัศน์ของบีบีซีเกี่ยวกับนักเขียนและบ้านของพวกเขา
 
ในปี 2003 นักแสดงชื่อ ราล์ฟ ฟียองเนส อ่านข้อความที่ตัดตอนมาจาก “ผลงานของคิปลิงจากการศึกษาในบ้านเบตแมนส์” รวมถึง The Jungle Book, Something of Myself, Kim และ The Just So Stories และบทกวีรวมถึง “If ...” และ “My Boy Jack” บันทึกเป็นแผ่นซีดีที่จัดทำโดยเนชั่นแนลทรัสต์
 
===ชื่อเสียงในอินเดีย===
 
ในอินเดียยุคใหม่ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งวัตถุดิบส่วนใหญ่ของเขา ชื่อเสียงของคิปลิงยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาตินิยมสมัยใหม่และนักวิจารณ์หลังยุคอาณานิคมบางคน รัดยาร์ด คิปลิง ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญของพันเอก เรจินาลด์ ไดเยอร์ ซึ่งรับผิดชอบเหตุการณ์สังหารหมู่ จัลเลียนวาลา แบกห์ ในเมือง อัมริตสาร์ (ในจังหวัดปัญจาบ) และเป็นผู้ที่เรียกไดเยอร์ว่า “ชายผู้ช่วยอินเดีย” และเป็นผู้ริเริ่มการสะสมของรางวัลเพื่อการกลับบ้านให้แก่ไดเยอร์ คิม วากเนอร์ อาจารย์อาวุโสด้านประวัติศาสตร์จักรวรรดิอังกฤษที่มหาวิทยาลัยควีนแมรีแห่งกรุงลอนดอน กล่าวว่าในขณะที่คิปลิงบริจาคเงิน 10 ปอนด์ เขาไม่ได้แสดงเจตนาทำนองนั้น ในทำนองเดียวกัน ในบทความ BRITISH REACTION TO THE AMRITSAR MASSACRE 1919-1920 ผู้เขียนบทความคือ ดีเรก เซเยอร์ ระบุว่าไดเยอร์ “ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้กอบกู้เมืองปัญจาบ” และกล่าวว่าคิปลิงไม่มีส่วนในการจัดตั้งกองทุนเดอะมอร์นิงโพสต์ และกล่าวว่าคิปลิงส่งเงินเพียง 10 ปอนด์ไปให้ และให้ข้อสังเกตสั้นๆแค่ว่า “เขาทำหน้าที่ของเขา ไปตามสิ่งที่เขาเห็น” สุพัช โชปรา เขียนไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ Kipling Sahib – the Raj Patriot ด้วยว่ากองทุนนี้ก่อตั้งโดยหนังสือพิมพ์เดอะมอร์นิงโพสต์ ไม่ใช่โดยคิปลิง หนังสือพิมพ์เดอะอีโคโนมิกไทม์ก็ตีพิมพ์วลี “ชายผู้ช่วยชีวิตอินเดีย” พร้อมกับระบุว่ากองทุนสนับสนุนไดเยอร์มาจากเดอะมอร์นิงโพสต์เช่นกัน
 
ปัญญาชนชาวอินเดียร่วมสมัยหลายคนเช่น อาชิส แนนดี มีมุมมองที่เหมาะสมยิ่งกว่าเกี่ยวกับมรดกตกทอดของคิปลิง ชวาหราล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดียอิสระ มักกล่าวถึงนวนิยายของคิปลิงว่า Kim เป็นหนังสือเล่มโปรดเล่มหนึ่งของเขา
 
จี.วี. เดอซานี นักเขียนนวนิยายชาวอินเดียมีความคิดเห็นเชิงลบต่อคิปลิงมากกว่า เขาพาดพิงถึงคิปลิงในนวนิยายเรื่อง All About H. Hatterr:
{{Quote|ฉันบังเอิญหยิบอัตชีวประวัติ Kim ของ อาร์. คิปลิงขึ้นมา
 
ในเล่ม เชอร์ปาผู้แต่งตั้งตัวเองให้เป็นผู้แบกภาระของชายผิวขาวตามข้อสังเกตของคนตัดไม้ มุ่งไปในทางตะวันออก ย่ำไปบนถนนโดยไม่คิดอะไรเป็นพันไมล์เพื่อค้นหาบางสิ่งบางอย่าง}}
 
คุชวันต์ ซิงห์ นักเขียนชาวอินเดียเขียนในปี 2001 ว่าเขาคิดว่า “If—” ของคิปลิงเป็น “แก่นแท้ของข้อความในพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ในภาษาอังกฤษ” ซึ่งเขาหมายถึงภควัทคีตา ซึ่งเป็นคัมภีร์อินเดียโบราณ อาร์.เค. นารายัน นักเขียนชาวอินเดียกล่าวว่า “คิปลิง นักเขียนผู้เชี่ยวชาญเรื่องอินเดีย แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในจิตใจของสัตว์ในป่าดีกว่าผู้คนในบ้านหรือในตลาดของอินเดีย” ซาชิ ทารูร์ นักการเมืองและนักเขียนชาวอินเดียให้ความเห็นว่า “คิปลิง เสียงที่โอดครวญของจักรวรรดินิยมวิกตอเรีย จะเปล่งวาทศิลป์ในหน้าที่อันสูงส่งที่จะนำกฎหมายมาสู่ผู้ที่ไม่มีกฎหมาย”
 
ในเดือนพฤศจิกายน 2007 มีการประกาศว่าบ้านเกิดของคิปลิงในวิทยาเขตของโรงเรียนศิลปะเจ.เจ.ในมุมไบจะกลายเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อเฉลิมฉลองให้กับผู้เขียนและผลงานของเขา
 
==ศิลปะ==
แม้ว่าจะเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะนักเขียน แต่คิปลิงก็เป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จเช่นกัน คิปลิงผู้ได้รับอิทธิพลจากภาพเขียนด้วยหมึกดำของ ออแบรย์ เบียรดส์ลีย์ ได้สร้างภาพประกอบมากมายสำหรับเรื่องราวของเขา เช่นใน Just So Stories ฉบับที่พิมพ์ในปี 1919
 
==ผู้รับบทเป็น รัดยาร์ด คิปลิง ในภาพยนตร์==
* เรจินาลด์ เชฟฟิลด์ รับบทเป็น รัดยาร์ด คิปลิง ใน Gunga Din (1939)
* พอล สการ์ดอน รับบทเป็น รัดยาร์ด คิปลิง ใน The Adventures of Mark Twain (1944)
* คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ รับบทเป็น รัดยาร์ด คิปลิง ใน The Man Who would Be King (1975)
*เดวิด เฮก รับบทเป็น รัดยาร์ด คิปลิงใน My Boy Jack (2007)
* เดวิด วัตสัน รับบทเป็น รัดยาร์ด คิปลิงใน The Time Tunnel, S1 E14, Night of the Long Knives (1966)
 
==หมายเหตุ==