ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZeroSixTwo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล นักดนตรี
| ชื่อ = บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง
| color =
| ประเภท = นักร้อง/นักแสดง
| ภาพ = Banyat-Suwannawaenthong-Dec-5-2019.jpg
| คำบรรยายภาพ =
| ขนาดภาพ =
| ภาพแนวนอน =
| ชื่อเกิด = บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง
| ชื่อเล่น = เดียว
| ชื่ออื่น =
| วันเกิด = พ.ศ. 2531<br/>[[จังหวัดพัทลุง]] [[ประเทศไทย]]
| น้ำหนัก =
| ส่วนสูง =
| แหล่งกำเนิด =
| คู่สมรส = สุนิสา สุวรรณแว่นทอง (หย่าร้าง)​
| เครื่องดนตรี =
| แนวเพลง = [[ลูกทุ่ง]]
| อาชีพ = [[นักร้อง]] / นักแสดง[[หนังตะลุง]]
| ช่วงปี = พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน
| ค่าย = ลูกทุ่งวัฒนธรรม Channel
| name =
}}
'''บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง''' หรือ '''เดียว''' (เกิด พ.ศ. 2531<ref>[1]ปานช่วย, รวีวัชร์ (27 มีนาคม 2564). "สัมภาษณ์ บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง นายหนังตะลุงร่วมสมัย"</ref>)<ref name="sil">{{cite web |url=https://www.silpa-mag.com/culture/article_37457 |title=“หนังตะลุง” ศิลปะที่สอนจริยธรรมนอกกรอบศาสนา กรณีศึกษาจากหนังตะลุง “น้องเดียว” |last=บัวบาล |first=เจษฎา |date=20 สิงหาคม 2562 |work=ศิลปวัฒนธรรม |publisher=[[มติชน]] |accessdate=12 มิถุนายน 2563}}</ref> เป็น[[นักร้อง]][[เพลงลูกทุ่ง]] นักแสดง[[หนังตะลุง]]และศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ มีชื่อเสียงจากแสดงหนังตะลุงล้อเลียนเหตุการณ์บ้านเมืองได้อย่างมีอรรถรสแม้[[ตาบอด|พิการทางสายตา]]ตั้งแต่กำเนิด โดยเริ่มแสดงหนังตะลุงตั้งแต่ยังเป็น[[วัยรุ่น]]และทำเป็นอาชีพจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังร้องเพลงด้วยน้ำเสียงอันเป็นเอกลักษณ์จนมีผู้นิยมชมชอบอย่างมาก
 
นอกจากนี้ บัญญัติได้เริ่มทำการแสดงจากการเป็นลูกคู่ประกบ[[ศิลปิน]]ท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงในเวลานั้น เช่น [[เอกชัย ศรีวิชัย]] ต่อมาได้รับโอกาสจากค่ายดนตรีท้องถิ่นในการออกอัลบั้มเป็นของตนเองจนมีชื่อเสียงควบคู่กับการแสดงหนังตะลุง ในเวลาต่อมาบัญญัติตั้งคณะ "ลูกทุ่งวัฒนธรรม" เพื่อออกผลงานทางศิลปวัฒนธรรมภาคใต้โดยประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมสมัยใหม่ เช่น ออกเพลงล้อเลียนเพลงที่โด่งดังใน[[ภาคใต้ของประเทศไทย|ภาคใต้]]และเสียดสีเหตุการณ์ในปัจจุบัน โดยเผยแพร่ทาง[[ยูทูบ]]ของคณะและตามงานการแสดงต่าง ๆ
เส้น 40 ⟶ 17:
|video1 = [https://www.youtube.com/watch?v=5Dfd4M8_Xn4 การแสดงหนังตะลุง]ของบัญญัติ ที่มีตัวหนังตะลุงที่ทำเป็นรูป[[พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] นายกรัฐมนตรี
}}
ส่วนหนังตะลุงบัญญัติเริ่มเล่นอย่างจริงจังเมื่ออายุได้ 15 ปี โดยในครั้งแรกเขาได้แสดงบนเพิงขายขนมจีนหน้าบ้าน โดยมีชาวบ้านมาชื่นชมในความสามารถในการพากย์เสียงและมุกตลก จนต่อมาบัญญัติได้ก่อตั้งคณะ "ลูกทุ่งวัฒนธรรม"<ref name="psu">{{cite magazine |last=นิลปัทม์ |first=สมัชชา |date= |title=สื่อสันนิวาส : ลมหายใจปลายด้ามขวาน 'ตาใน' ของ 'น้องเดียว' |url=http://kaekae.oas.psu.ac.th/ojs/rlej/include/getdoc.php?id=4981&article=1760&mode=pdf |magazine=รูสมิแล |volume=34 |number=2 |location=[[ปัตตานี]] |publisher=[[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี]] |access-date=12 มิถุนายน 2563}}</ref> เพื่อทำการแสดงเมื่ออายุได้ 18 ปี ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากจากเอกลักษณ์ของการแสดงหนังตะลุง นอกจากนี้คณะของบัญญัติยังมี[[มโนราห์ (รำ)|มโนราห์]] เพลงบอก และเพลงลูกทุ่งอีกด้วย<ref name="kom" /> บัญญัติกล่าวว่าที่สามารถเล่นหนังตะลุงได้ดีแม้พิการเพราะฝึกฝนและสร้างความคุ้นเคยกับตัวหนังตะลุง อีกทั้งมีการดูสถานการณ์ในขณะที่กำลังทำการแสดงด้วย ไม่เพียงแสดงไปตามบท และแสดงอย่างสุดความสามารถ<ref name="psu"/> โดยการแสดงหนังตะลุงของบัญญัตินั้นหากพื้นที่อำนวยจะใช้จอขนาดใหญ่กว้างคล้ายเวทีแสดงคอนเสิร์ตขนาดใหญ่และมีการฉายภาพด้วย[[เครื่องฉายภาพ]]เป็นฉากพื้นหลังระหว่างการแสดงอีกด้วย ทำให้ขนาดของจอจึงต้องให้ตัวหนังตะลุงขนาดใหญ่และต้องมีผู้ช่วยอีก 1 คน เนื้อหาการแสดงจะสอดแทรกเหตุการณ์ปัจจุบันลงไปในการแสดง ยกตัวอย่าง การแสดงหนังตะลุงโดยใช้ตัวหนังตะลุงรูป[[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]และเลียนแบบเสียง รูปหนังตะลุงบุคคลสำคัญในสมัยใหม่และอิริยาบถสมัยใหม่ เช่น ตัวหนังตะลุงเล่น[[ไอแพด]] ขี่[[เฮลิคอปเตอร์]]หรือ[[รถยนต์]] [[การ์ตูน|ตัวการ์ตูน]] ใช้ภาษาตามพื้นที่และสถานการณ์ นอกจากนี้ยังได้บันทึกการแสดงเป็น[[แผ่นซีดี]]ออกขายด้วย<ref name="sil">{{cite web|last=บัวบาล|first=เจษฎา|date=20 สิงหาคม 2562|title=“หนังตะลุง” ศิลปะที่สอนจริยธรรมนอกกรอบศาสนา กรณีศึกษาจากหนังตะลุง “น้องเดียว”|url=https://www.silpa-mag.com/culture/article_37457|work=ศิลปวัฒนธรรม|publisher=[[มติชน]]|accessdate=12 มิถุนายน 2563}}</ref><ref name="mcot">{{cite web |url=https://www.youtube.com/watch?v=FsXaDhUduk8 |title=Share ชีวิต (9 ก.ค.59) นายหนังตะลุงลูกทุ่งวัฒนธรรม บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง |author=[[ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี]] |date=10 กรกฎาคม 2559 |accessdate=12 มิถุนายน 2563}}</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2558 ได้รับการว่าจ้างจากไพฑูรย์ อินทศิลา ผู้สื่อข่าว[[เดลินิวส์]]ประจำ[[จังหวัดนครศรีธรรมราช]] ให้ไปแสดงในงานบุญสารทเดือนสิบจังหวัดนครศรีธรรมราชและมีการลงข่าวในสื่อต่าง ๆ จนเป็นที่รู้จักอย่างมาก และมีตารางการแสดงสดยาวข้ามเดือนข้ามปี<ref>{{cite web |url=https://www.facebook.com/profile.php?id=100000770139657&sk=media_set&set=a.822330684469262&type=3 |title=ฮือฮา.!คอนเสิร์ตหนังตะลุง“น้องเดียว "ตาบอดยอดอัจฉริยะ |last=อินทศิลา |first=ไพฑูรย์ |date=29 มีนาคม 2558 |accessdate=12 มิถุนายน 2563}}</ref>