พายุโซนร้อนเมกี (พ.ศ. 2565)

พายุโซนร้อนเมกีหรือที่รู้จักในฟิลิปปินส์ในชื่อพายุโซนร้อน อากาโตน เป็น พายุหมุนเขตร้อน ที่พัดแรงแต่ส่งผลกระทบร้ายแรงที่ส่งผลกระทบกับฟิลิปปินส์ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่สาม และเป็นพายุโซนร้อนลูกที่สองของฤดูไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 เมกีมีต้นกำเนิดมาจากพื้นที่พาความร้อนในทะเลฟิลิปปินส์ โดยเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้าๆ สู่อ่าวเลย์เตโดยที่มันเกือบจะนิ่งและค่อยๆ เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก เมกีได้ได้ขึ้นฝั่งสองแห่ง แห่งหนึ่งในเกาะ CalicoanในGuiuanและอีกแห่งในBaseyเมืองSamar มันยังคงเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงใต้และกลับเข้าสู่ทะเลฟิลิปปินส์ก่อนที่จะสลายไป

พายุโซนร้อนเมกี
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
พายุโซนร้อนเมกีบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเช้าวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565
พายุโซนร้อนเมกีบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเช้าวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565
พายุโซนร้อนเมกีบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเช้าวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565
ก่อตัว 8 เมษายน 2565
สลายตัว 13 เมษายน 2565
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต 214 ราย สูญหาย 132 ราย
ความเสียหาย 90.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2565)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565

เกิดฝนตกหนักและลมกรรโชกแรงทำให้เรือล่ม 2 ลำ เกิดดินถล่มในเลย์เต กระทบบ้านเรือน 210 หลัง เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565 National Disaster Risk Reduction and Management Council (NDRRMC) ได้รายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 214 ราย สูญหาย 132 ราย , และผู้บาดเจ็บ 8 ราย , ขณะนี้ตัวเลขผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่างรายงาน The Department of Agriculture[ลิงก์เสีย] ประเมินความเสียหายทางการเกษตร 1.45 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ , the Department of Public Works and Highways ประเมินความเสียหายด้านโครงสร้างพื้นฐานประมาณ 3.27 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ รวมเป็น 4.72 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์(90.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) [1]. ซึ่งขณะนี้รายงานแตกต่างกันไป โดย NDRRMC, รายงานความเสียหาย 2.27 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ (43.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

เส้นทางพายุ แก้

 
ภาพการเคลื่อนที่ของพายุโซนร้อนเมกี

เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2565 JTWC สังเกตเห็นการคงอยู่ของบริเวณการพาความร้อน 359 ไมล์ทะเล (665 กม.; 413 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของปาเลา[2]เนื่องจากสภาพของพายุเอื้ออำนวยต่อการพัฒนา JMA จึงประกาศเป็นพายุดีเปรสชันนอกชายฝั่งตะวันออกของวิซายัสในวันนั้น [3][4] ในช่วงเวลาเดียวกัน PAGASA ประกาศว่าบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำได้ทวีความรุนแรงเป็นพายุดีเปรสชันและได้ตั้งชื่อว่าอากาโตน(Agaton)[5] โดยหน่วยงาน PAGASA เริ่มออก Tropical Cyclone Bulletins (TCBs) สำหรับพายุในวันนั้น[6] ในวันรุ่งขึ้น JTWC ได้ออก TCFA สำหรับพายุในภายหลัง[7] เวลา 03:00 UTC และJTWC ได้อัปเกรดเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และกำหนดตัวระบุ 03W[8]เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565 JMA ได้อัปเกรดเป็นพายุโซนร้อน โดยกำหนดให้ชื่อ เมกี (Megi) 메기 เสนอชื่อโดยประเทศเกาหลีใต้ แปลว่า ปลาดุก,ปลาดุกอามูร์ [9]

ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน ถึง 10 เมษายน พายุได้เคลื่อนตัวไปตามภูมิภาควิซายัสตะวันออก ส่งผลให้มีฝนตกหนักในภูมิภาค [10] PAGASA ยกสัญญาณพายุขึ้นเป็นสัญญาณหมายเลข 2 เมื่อพายุเข้าใกล้ฝั่ง[11][12] และพายุโซนร้อนเมกีได้ขึ้นฝั่งครั้งแรก ในเกาะ Calicoan , Guiuanเวลา 07:30 PHT (23:30 UTC)[13] เมืองเซบูตกอยู่ภายใต้สภาวะภัยพิบัติหลังฝนตกหนัก[14] พายุโซนร้อนเมกี ได้คร่าชีวิตผู้คนไป 214 ราย[15]เหลือผู้สูญหาย 132 ราย บาดเจ็บ 8 ราย และพลิกคว่ำเรือสินค้าในออร์มอคหลังเกิดฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง และน้ำท่วมฉับพลัน ส่งผลให้ประชาชนกว่า 775,846 คนต้องพลัดถิ่น[16][17][18][19] [20]ผู้ว่าราชการเมืองดาเวา เดอ โอโรประเมินความเสียหายทางการเกษตรในจังหวัดที่ 3.27 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ [21] จากข้อมูลของ PAGASA พายุโซนร้อนเมกี หยุดนิ่งอยู่ในอ่าวเลย์เตเป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนที่จะขึ้นฝั่งครั้งที่สองในบาซีย์ซามาร์[22] จากนั้นโซนร้อน เมกี ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน หลังจากนั้นเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ อยู่เหนือเกาะSamarและLeyteและPAGASA ได้ยกเลิกสัญญาณเตือนทั้งหมดออกขณะที่มันอ่อนกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในเที่ยงคืนของวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2565[23]

การเตรียมการ แก้

 
พายุโซนร้อนมาลากัสที่ทวีความรุนแรงขึ้นทางตะวันออกของแยปขณะที่พายุโซนร้อนเมกี (อากาโตน)ใกล้ภูมิภาควิซายัสและต่อมาหยุดนิ่งในอ่าวเลย์เตทำให้เกิดน้ำท่วมและดินถล่มครั้งใหญ่ในฟิลิปปินส์

เมื่อพายุกำลังพัฒนาเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน PAGASA ก็เริ่มออกคำเตือนสัญญาณหมายเลข 1 ทันที ซามาร์เหนือและตะวันออก ซูริเกาและหมู่เกาะ Bucas Grande และ Dinagat Islands.[24]หน่วยงานยังได้เริ่มเพิ่มคำเตือนสัญญาณหมายเลข 2 และและเพิ่มพื้นที่คำเตือนสัญญาณหมายเลข 1 หลังจากที่พัฒนาเป็นพายุโซนร้อน[25]มีการหยุดทำการเรียนและการทำงานในเมือง Danao, Cebu เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565[26]

เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2565 มีการหยุดทำการเรียนใน Cebu City, Lapu-Lapu City, Mandaue, Talisay, Carcar,และ Tacloban [27]การเรียนมีการหยุดในจังหวัด Leyte ใต้ ทั้งหมด และในส่วนของ Negros Occidental [28]เมืองเซบูและตักโลบันยังหยุดทำงานทั้งภาครัฐและเอกชน และเริ่มอพยพผู้อยู่อาศัยใกล้แม่น้ำและชายฝั่ง [29][30][31]กระทรวงการต่างประเทศระงับการดำเนินงานของ consular offices สองแห่งในพื้นที่ได้รับผลกระทบ[32][33]จากข้อมูลของ NDRRMC ประชาชน 35,381 คนถูกอพยพออกไป[34]

PLDTและ Globe Telecom ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมของฟิลิปปินส์ทั้งคู่ ได้เตรียมสถานีโทรและชาร์จฟรีก่อนเกิดพายุ [35][36][37]

เมื่อวันที่ 12 เมษายน Department of Social Welfare and Development(DSWD) ประกาศว่าได้เตรียมอาหารชุดสำหรับครอบครัวมูลค่า 13.2 ล้านเปโซฟิลิปปินส์(254,049 ดอลลาร์สหรัฐ) และเพิ่มอีก 26.7 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (513,462 ดอลลาร์สหรัฐ) ) มูลค่าของที่ไม่ใช่อาหาร[38]

ผลกระทบ แก้

 
ภาพดินถล่มในเมืองเบย์เบย์ จังหวัดเลย์เต ประเทศฟิลิปปินส์

ความเสียหายส่วนใหญ่ของพายุโซนร้อนเมกีส่วนใหญ่อยู่ที่ ภูมิภาค วิซายัสเป็นที่พายุโซนร้อนเมกีพัดถล่มทำให้ ฝนตกหนักต่อเนื่องน้ำท่วมฉับพลันและลมแรง ทำให้เกิดน้ำท่วมและดินถล่มเป็นวงกว้างทั่วทั้งสองภูมิภาค พื้นที่บางแห่งที่ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อนเมกีเพิ่งโดนไต้ฝุ่นราอีเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 และเพิ่งเริ่มฟื้นตัวก่อนที่ได้รับผลกระทบของพายุโซนร้อนเมกี[39]

เมื่อวันที่ 10 เมษายน คลื่นหนักซัดทับเรือขนส่งสินค้าแบบRoll-on/roll-offในซานฟรานซิสโก เมืองเซบูทำให้มันจม และยังคว่ำเรือบรรทุกสินค้าในเมืองOrmoc [40][41][42] นักเดินทางที่เดินทางกลับบ้านในช่วงHoly Week in the Philippinesในวิซายัสตะวันออกและตอนกลางติดอยู่ที่ท่าเรือเนื่องจากสภาพอากาศเลวร้าย [43]ผู้โดยสารประมาณ 8,769 คนติดอยู่ในภูมิภาคตะวันตกของฟิลิปปินส์ [44]มีรายงานไฟฟ้าดับใน 75 เมืองและเขตเทศบาล [45]ไฟฟ้าดับยังส่งผลกระทบต่อบริการของบริษัทโทรคมนาคมในพื้นที่ [46]ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565 ยังคงมีน้ำท่วมอย่างน้อย 261 พื้นที่ทั่วเมืองวิซายัสและมินดาเนา [47]

NDRRMC รายงานว่ามีผู้ได้รับผลกระทบ 2,298,780 คน โดย 886,822 คนต้องพลัดถิ่นจากบ้านของพวกเขา หน่วยงานยังรายงานผู้เสียชีวิต 214 ราย สูญหาย 132 ราย และบาดเจ็บ 8 ราย ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565[48]ในเบย์เบย์เมืองรายงานผู้เสียชีวิตทั้งหมด 101 ราย สูญหาย 102 ราย และบาดเจ็บ 103 ราย โดยมีดินถล่มครอบคลุมพื้นที่ 210 ครัวเรือนในbarangay[49][50]ในเมือง Pilar, Abuyogมีผู้เสียชีวิต 26 ราย บาดเจ็บ 96 ราย สูญหาย 150 ราย และบ้านเรือน 80 % ถูกดินถล่ม The Ministry of Social Services and Development in the Bangsamoro รายงานผู้ได้รับผลกระทบอย่างน้อย 136,000 คนใน Bangsamoro Special Geographic Area (geographically in Cotabato)[51]

NDRRMC ประเมินความเสียหายทางการเกษตรที่ 2.27 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์โดยความเสียหายโครงสร้างพื้นฐานประมาณ 6.95 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ บ้านเรือนเสียหาย 16,382 หลัง (โดยบ้านถูกทำลายทั้งหมด 2,258 หลัง) ทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติมประมาณ 709,500 เปโซฟิลิปปินส์ โดยรวมแล้ว NDRRMC ประเมินความเสียหายอย่างน้อย 4.72 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ (90.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ผลมาจากพายุโซนร้อนเมกี[52]

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-19.
  2. https://wiki.chlod.net/jtwc/text/2022-04-08-0340-abpwweb.txt
  3. https://wiki.chlod.net/jtwc/text/2022-04-08-0340-abpwweb.txt
  4. https://archive.today/20220408210901/https://tgftp.nws.noaa.gov/data/raw/ww/wwjp27.rjtd..txt
  5. https://twitter.com/dost_pagasa/status/1512513418808291330
  6. https://archive.org/download/pagasa-22-TC01/PAGASA_22-TC01_Agaton_TCB%2301.pdf
  7. https://wiki.chlod.net/jtwc/text/2022-04-09-0210-wp9422web.txt
  8. https://wiki.chlod.net/jtwc/text/2022-04-09-0350-wp0322web.txt
  9. https://archive.today/2022.04.10-083103/https://www.wis-jma.go.jp/d/o/RJTD/Alphanumeric/Warning/Tropical_cyclone/20220410/000000/A_WTPQ51RJTD100000_C_RJTD_20220410012116_15.txt
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-11. สืบค้นเมื่อ 2022-04-11.
  11. https://archive.org/download/pagasa-22-TC01/PAGASA_22-TC01_Agaton_TCB%2309.pdf
  12. https://ghostarchive.org/archive/yP5Oa
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-11. สืบค้นเมื่อ 2022-04-11.
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-10. สืบค้นเมื่อ 2022-04-16.
  15. https://www.reuters.com/business/environment/philippines-reports-21-dead-landslides-after-tropical-storm-megi-2022-04-11/
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-10. สืบค้นเมื่อ 2022-04-16.
  17. https://newsinfo.inquirer.net/1581147/cargo-vessel-capsizes-off-ormoc-city-amid-agaton-onslaught
  18. https://www.bulgaronline.com/amp/3-patay-1-nawawala-2-nasaktan-dahil-sa-bagyong-agaton-ndrrmc
  19. https://web.archive.org/web/20220410111840/https://ndrrmc.gov.ph/attachments/article/4184/SitRep_No_1_for_Tropical_Storm_AGATON__2022.pdf
  20. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-19.
  21. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-10. สืบค้นเมื่อ 2022-04-16.
  22. https://twitter.com/dost_pagasa/status/1513443939512045568
  23. https://newsinfo.inquirer.net/1582222/agaton-weakens-into-low-pressure-area-to-continue-bringing-heavy-rainfall-pagasa
  24. "Tropical Cyclone Bulletin #1 for Tropical Depression 'Agaton'"
  25. https://archive.org/download/pagasa-22-TC01/PAGASA_22-TC01_Agaton_TCB%2309.pdf
  26. https://www.sunstar.com.ph/article/1926140/cebu/local-news/classes-work-in-danao-city-suspended-due-to-typhoon-agaton
  27. "No classes in tri-cities, Cebu Province due to 'Agaton'"
  28. https://mb.com.ph/2022/04/10/government-works-classes-at-all-levels-suspended-at-e-visayas-due-to-agaton/
  29. https://www.sunstar.com.ph/article/1926174/cebu/local-news/no-classes-in-tri-cities-cebu-province-due-to-agaton
  30. https://news.abs-cbn.com/video/news/04/11/22/klase-trabaho-sa-tacloban-kanselado-dahil-kay-agaton
  31. https://cebudailynews.inquirer.net/?p=434843
  32. https://www.gmanetwork.com/news/topstories/nation/828146/dfa-suspends-operations-at-two-consular-offices-due-to-agaton/story/
  33. https://newsinfo.inquirer.net/1581383/fwd-consular-office-in-tacloban-city-closed-monday-due-to-agaton
  34. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-14. สืบค้นเมื่อ 2022-04-16.
  35. https://news.abs-cbn.com/business/04/11/22/pldt-readies-equipment-personnel-as-agaton-barrels-visayas-mindanao
  36. https://businessmirror.com.ph/2022/04/11/globe-reports-service-interruption-in-agaton-affected-towns-pldts-free-calls-free-charging-stations-on-standby/
  37. https://www.gmanetwork.com/news/topstories/regions/828171/agaton-power-cuts-cause-outage-of-telco-services-in-visayas/story/
  38. https://www.pna.gov.ph/articles/1171937
  39. https://www.rappler.com/nation/cebu-city-mayor-mike-rama-preemptive-evacuation-agaton/
  40. https://cebudailynews.inquirer.net/?p=434824
  41. https://newsinfo.inquirer.net/1581172/passenger-vessel-sinks-while-docked-at-cebu-port-due-to-agaton
  42. https://newsinfo.inquirer.net/1581147/cargo-vessel-capsizes-off-ormoc-city-amid-agaton-onslaught
  43. https://newsinfo.inquirer.net/1581212/tropical-strom-agaton-strands-holy-week-travelers
  44. https://ndrrmc.gov.ph/attachments/article/4184/SitRep_No_9_for_TC_AGATON_2022_Update.pdf
  45. https://ndrrmc.gov.ph/attachments/article/4184/SitRep_No_9_for_TC_AGATON_2022_Update.pdf
  46. https://www.sunstar.com.ph/article/1926212/cebu/local-news/power-failure-causes-service-outage-in-selected-areas-hit-by-agaton
  47. https://ndrrmc.gov.ph/attachments/article/4184/SitRep_No_9_for_TC_AGATON_2022_Update.pdf
  48. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-19.
  49. https://www.philstar.com/headlines/2022/04/12/2174098/search-survivors-provinces-hit-landslides
  50. https://www.gmanetwork.com/news/topstories/nation/828621/101-dead-102-missing-103-injured-in-leyte-s-baybay-city-due-to-agaton-cdrrmo/story/
  51. https://www.pna.gov.ph/articles/1172078
  52. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-19.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น(JMA)ข้อมูลทั่วไปของพายุโซนร้อนเมกี (2202) จากไต้ฝุ่นดิจิทัล

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น(JMA) เส้นทางพายุของพายุโซนร้อนเมกี (2202)

ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม(JTWC) เส้นทางพายุของพายุโซนร้อนเมกี (03W)

พายุโซนร้อนเมกี (03W)จากห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพเรือสหรัฐ