พันธุ์กล้วย

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

กล้วยที่เรานิยมรับประทานกันทั่วไปเป็นพันธุ์กล้วย (banana cultivars) ที่มีต้นกำเนิดจากกล้วยชนิดป่า (wild banana species) ในวงศ์กล้วย Musaceae และสกุลกล้วย Musa

ในภาษาอังกฤษ บางครั้งเรียกพันธุ์กล้วยที่นำมารับประทานเป็นผลไม้ว่า dessert banana และเรียกพันธุ์กล้วยที่มีแป้งมาก ซึ่งนิยมทำให้สุกด้วยความร้อนก่อนรับประทานว่า cooking banana ในบางแห่งเรียกกล้วย 2 กลุ่มพันธุ์ที่มีลักษณะต่างกันว่า กล้วย (bananas) และกล้าย (plantains) สำหรับการใช้คำว่า กล้วยรับประทานได้ (edible banana) อาจไม่ถูกต้องนัก เนื่องจากกล้วยทั้งหมดรับประทานได้ ทั้งต้นและผล เพียงแต่กล้วยป่าอาจมียางมาก ส่วนต่างๆ ของต้นอาจมีรสขม ผลมีเปลือกหนา ฝาด เนื้อน้อย และเมล็ดมาก จึงไม่นิยมนำมารับประทาน

กล้วยพันธุ์ต่างๆ ที่คนนำมาปลูก ให้ผลมีเนื้อ และไม่มีเมล็ด เนื่องมาจากการเกิดผลลม (parthenocarpy) การเป็นโพลิพลอยด์ (polyploid) และเป็นลูกผสม (hybridity) ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นลูกผสมข้ามชนิดหรือชนิดย่อย (interspecific or intersubspecific hybrids) ทำให้ไม่ติดเมล็ด หรือเมล็ดฝ่อ กล้วยไม่มีเมล็ดมีทั้งที่มีโครโมโซม 2 ชุด (diploids) เช่น กล้วยไข่ กล้วยเล็บมือนาง และที่มีโครโมโซม 3 ชุด เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม

เชื่อกันว่ากล้วยป่าที่เป็นพ่อแม่ของพันธุ์กล้วยไม่มีเมล็ดเกือบทั้งหมดมี 2 ชนิด ได้แก่ กล้วยป่า Musa acuminata และกล้วยตานี Musa balbisiana กล้วยป่ากระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ทางใต้ของจีน จนถึงบอร์เนียว[1] และกล้วยตานีพบตามธรรมชาติทางตะวันออกของอินเดีย ตอนใต้ของจีน และทางเหนือของไทย[2] และมีการนำไปปลูกในหมู่เกาะแปซิฟิกโดยนักเดินเรือ ตั้งแต่สมัยหินใหม่ เมื่อหลายพันปีที่แล้ว การผสมตามธรรมชาติน่าจะเกิดขึ้นในหมู่เกาะแปซิฟิก และมีการนำลูกผสมกลับเข้ามาปลูกแพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย รวมทั้งในอัฟริกาในภายหลัง รวมทั้งเกิดการกลายเพิ่ม ทำให้เกิดพันธุ์กล้วยหลากหลาย กล้วยพันธุ์ปลูกทั้งหมด ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ เนื่องจากไม่มีเมล็ด[3]

การจัดกลุ่มโดยใช้ระบบจีโนม คิดค้นโดย เออเนสต์ อี. ชีสแมน (Ernest E. Cheesman), นอร์แมน ซิมมอนด์ (Norman Simmonds), และ เคนเน็ต เชปเฟิร์ด (Kenneth Shepherd) เมื่อปี ค.ศ. 1955[4] และมีการปรับปรุงการจัดกลุ่มโดย ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา และ ศาสตราจารย์เบญจมาศ ศิลาย้อย ในปี ค.ศ. 1984[5]

ในการจำแนกกลุ่มพันธุ์กล้วยเป็น A หรือ B ใช้การนับจำนวนชุดโครโมโซม ร่วมกับลักษณะสัณฐานวิทยา 15 ลักษณะ เช่น ฐานใบ รูปร่างปลี หากมีลักษณะคล้ายกับกล้วยป่า Musa acuminata เรียกว่ากลุ่มจีโนม A หากคล้ายกล้วยตานี Musa balbisiana เรียกว่ากลุ่มจีโนม B[4][5][6][7][8][9]

สำหรับกล้วยในประเทศไทย คาดว่ามีมากกว่า 100 พันธุ์[10] แต่เนื่องจากมีความหลากหลายจากการกลายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในแปลงปลูกของเกษตรกร จึงอาจมีชื่อเรียกแตกต่างไปตามพื้นที่

กลุ่ม AA

แก้

กล้วยในกลุ่มนี้มีโครโมโซม 2 ชุด มีขนาดเล็ก รสหวาน กลิ่นหอม รับประทานสด ได้แก่

  • กล้วยไข่
  • กล้วยเล็บมือนาง
  • กล้วยหอมจันทร์
  • กล้วยไข่ทองร่วง
  • กล้วยไข่จีน
  • กล้วยน้ำนม
  • กล้วยไล
  • กล้วยสา
  • กล้วยหอมจำปา
  • กล้วยทองกาบดำ[11]

กลุ่ม AAA

แก้

กล้วยกลุ่มนี้มีจำนวนโครโมโซม 3 ชุด ผลจึงมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มแรก รูปร่างผลเรียวยาว มีเนื้อนุ่ม รสหวาน กลิ่นหอม รับประทานสด ได้แก่

กลุ่ม AAAA

แก้
  • Musa acuminata โครโมโซม 4 ชุด
  • Bodles Altafort banana
  • Golden Beauty banana

กลุ่ม AAAB

แก้
  • Atan banana
  • Goldfinger banana

กลุ่ม AAB

แก้

กล้วยกลุ่มนี้มีความหลากหลาย กลุ่มกล้วย AAB dessert banana เมื่อผลสุกมีรสหวาน แป้งน้อยกว่ากลุ่ม ABB ได้แก่

  • กล้วยน้ำ
  • กล้วยน้ำฝาด
  • กล้วยนมสวรรค์
  • กล้วยนิ้วมือนาง
  • กล้วยไข่โบราณ
  • กล้วยทองเดช
  • กล้วยศรีนวล
  • กล้วยขม
  • กล้วยนมสาว

แต่มีกล้วยกลุ่ม AAB บางพันธุ์ที่มีความคล้ายกับ ABB กล่าวคือ เนื้อจะค่อนข้างแข็ง มีแป้งมาก เมื่อสุกเนื้อไม่นุ่ม ทั้งนี้อาจได้รับเชื้อพันธุกรรมของกล้วยป่าที่ต่างชนิดย่อยกัน จึงทำให้ลักษณะต่างกัน กล้วยในกลุ่มนี้เรียกว่า plantain หรือ กลุ่มย่อยกล้าย หรือกล้ายแท้ ซึ่งเมื่อทำให้สุกโดยการต้ม ปิ้ง เผา แป้งจะเป็นน้ำตาล กลายเป็นน้ำหวานภายในผล ได้แก่

กลุ่ม AABB

แก้

กล้วยกลุ่มนี้มีจำนวนโครโมโซมเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า ผลจึงมีขนาดใหญ่

  • Kalamagol banana
  • Pisang Awak (Ducasse banana)

กลุ่ม AB

แก้
  • Ney Poovan banana

กลุ่ม ABB

แก้

กล้วยกลุ่มนี้มีแป้งมาก ขนาดผลใหญ่ ไม่นิยมรับประทานสด เพราะเมื่อสุกรสไม่หวานมาก บางครั้งมีรสฝาด เมื่อนำมาต้ม ปิ้ง ย่าง และเชื่อม จะทำให้รสชาติดีขึ้น ได้แก่

  • กล้วยหักมุกเขียว
  • กล้วยหักมุกนวล
  • กล้วยเปลือกหนา
  • กล้วยส้ม
  • กล้วยนางพญา
  • กล้วยนมหมี
  • กล้วยน้ำว้า[11]

กลุ่ม ABBB

แก้

กล้วยในกลุ่มนี้มีแป้งมาก และมีอยู่พันธุ์เดียวคือ กล้วยเทพรส หรือกล้วยทิพรส ผลมีขนาดใหญ่มาก บางครั้งมีดอกเพศผู้หรือปลี หากไม่มีดอกเพศผู้ จะไม่เห็นปลี และมีผลขนาดใหญ่ ถ้ามีดอกเพศผู้ ผลจะมีขนาดเล็กกว่า มีหลายหวีและหลายผล การมีปลีและไม่มีปลีนี้เกิดจากการกลายพันธุ์แบบกลับไปกลับมาได้ ดังนั้นจะเห็นว่าในกอเดียวกันอาจมีทั้งกล้วยเทพรสมีปลี และไม่มีปลี หรือบางครั้งมี 2 - 3 ปลี ในสมัยโบราณเรียกกล้วยเทพรสที่มีปลีว่า กล้วยทิพรส กล้วยเทพรสที่สุกงอมจะหวาน เมื่อนำไปต้มมีรสฝาด[11] อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบจำนวนโครโมโซมโดยใช้วิธี Flow Cytometry พบว่ากล้วยเทพรส หรือทิพรส มีจำนวนโครโมโซม 3 ชุด และจัดเป็นกลุ่ม ABB[12]

กลุ่ม BB

แก้

กล้วยตานีที่มีโครโมโซม 2 ชุด รับประทานผลอ่อนได้ โดยนำมาใส่แกงเผ็ด ทำส้มตำ ไม่นิยมรับประทานผลแก่ เพราะมีเมล็ดมาก ส่วนใหญ่รับประทานปลีและหยวก[11]

กลุ่ม BBB

แก้

กล้วยในกลุ่มนี้เกิดจากกล้วยตานีมีโครโมโซม 3 ชุด เนื้อไม่ค่อยนุ่ม ประกอบด้วยแป้งมาก เมื่อสุกก็ยังมีแป้งมาก ไม่ค่อยหวาน ขนาดผลใหญ่ เมื่อนำมาทำให้สุกด้วยความร้อน จะทำให้รสชาติดีขึ้น เนื้อเหนียวนุ่ม เช่น

  • กล้วยเล็บช้างกุด[11]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Musa acuminata Colla | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  2. "Musa balbisiana Colla | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  3. Simmonds, N. W. (1956). "Botanical Results of the Banana Collecting Expedition, 1954-5". Kew Bulletin. 11 (3): 463–489. doi:10.2307/4109131. ISSN 0075-5974.
  4. 4.0 4.1 Simmonds, N. W.; Shepherd, K. (December 1955). "The taxonomy and origins of the cultivated bananas". Journal of the Linnean Society of London, Botany. 55 (359): 302–312. doi:10.1111/j.1095-8339.1955.tb00015.x. ISSN 0368-2927.
  5. 5.0 5.1 Narong Chomchalow และ Benchamas Silayoi. (2527). Newsletter - Regional Committee for Southeast Asia (IBPGR), 8(4), 23-28.
  6. Banana cultivar names and synonyms in Southeast Asia by Ramón V. Valmayor ที่กูเกิล หนังสือ
  7. Michel H. Porcher; Prof. Snow Barlow (19 June 2002). "Sorting Musa names". The University of Melbourne. สืบค้นเมื่อ 11 January 2011.
  8. "Musa paradisiaca". users.globalnet.co.uk.
  9. Michel H. Porcher; Prof. Snow Barlow. "Sorting Musa names". ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2010. สืบค้นเมื่อ 2011-11-21.
  10. "108 พันธุ์กล้วยไทย – MUSC Synergy" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2022. สืบค้นเมื่อ 12 December 2022.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 พันธุ์กล้วยในประเทศไทย, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30
  12. Doležel, J., Doleželová, M. & Novák, F.J. Flow cytometric estimation of nuclear DNA amount in diploid bananas (Musa acuminata andM. balbisiana). Biol Plant 36, 351 (1994). https://doi.org/10.1007/BF02920930