พอลิออกโซเมทัลเลต

พอลิออกโซเมทัลเลต (อังกฤษ: polyoxometalate สัญลักษณ์ย่อ POM) เป็นไอออนลบหลายอะตอม (polyatomic ion) ที่ประกอบด้วยอะตอมของโลหะสามอะตอมหรือมากกว่าสร้างพันธะเชื่อมกันโดยผ่านอะตอมออกซิเจนโดยเป็นโครงสร้างโดดเดี่ยวหรือโครงสร้างแบบ 0 มิติ [1],[2],[3]ส่วนมากจะเป็นไอออนลบออกซี (oxyanion) โลหะแทรนซิชัน โลหะที่เกิดเป็นพอลิออกโซเมทัลเลตมักจะเป็นธาตุหมู่ 5-6 ของตารางธาตุ (V, Nb, Mo, W) ที่มีสถานะออกซิเดชันสูงๆ ส่วนมากแล้วพอลิออกโซเมทัลเลตจะเป็นไอออนลบที่มีสมบัติทางแม่เหล็กเป็นไดอะแมกเนติก เมื่อเป็นสารประกอบหรืออยู่ในรูปสารละลายส่วนมากจะไม่มีสีหรือมีสีส้ม สามารถแบ่งกลุ่มพอลิออกโซเมทัลเลตได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามชนิดของธาตุองค์ประกอบ ได้แก่ ไอโซพอลิออกโซเมทัลเลต (isopolymetallates) ที่ประกอบด้วยโลหะเพียงชนิดเดียวในโครงสร้าง และ เฮเทอโรพอลิออกโซเมทัลเลต (heterpolymetalates)ที่ประกอบด้วยโลหะมากกว่า 1 ชนิดหรือมีธาตุอโลหะอื่นๆอยู่ในโครงสร้างด้วย

การเกิดพอลิออกโซเมทัลเลต

แก้

ไอออนลบออกซีของโลหะ d0 เช่น VO43-, MoO42-, WO42- อาจเกิดจากการละลายสารประกอบออกไซด์ ได้แก่ V2O5, MoO3, WO3 ในสารละลายเบสที่มี pH สูงๆ เมื่อปรับ pH ของสารละลายให้ต่ำลง จะมีการ โปรโตเนต (protonate) ออกซิเจน เกิดเป็น สารประกอบที่มี M-O-OH เช่น [W(OH)O3]- and V(OH)O3]2- ซึ่งจะรวมตัวกันผ่านกระบวนการที่เรียกว่า โอเลชัน (olation) และมีการสร้างพันธะ M-O-M เพื่อเชื่อมต่อกัน ตัวอย่างการเกิด พอลิออกโซวาเนเดต ดังต่อไปนี้[4]

VO43- + 8 H+ → [V4O12]4- + 4 H2O

2.5 [V4O12]4- + 6 H+ → [V10O26(OH)2]4- + 2 H2O

หากกระบวนการทำให้เป็นกรดนั้นมีไอออนลบฟอสเฟต หรือ ซิลิเคต อาจจะเกิดเป็นเฮเทอโรพอลิออกโซเมทัลได้ เช่น ไอออนลบฟอสฟอทังสเตต [PW12O40]3- ที่มีโครงสร้างแบบเคกกิน (Keggin structure)

โครงสร้าง

แก้

โครงสร้างของพอลิออกโซเมทัลเลตมีความหลายมากดังแสดงในตารางข้างล่างนี้ โครงสร้างแบบเค็กกินเป็นตัวอย่างของโมลิบเดตและทังสเตตอาจจะมีไอออนรูปทรงสี่หน้าที่แตกต่าง

       
ลินด์ควิสต์เฮกซะโมลิบเดต (Lindqvist hexamolybdate), Mo6O192− เดคะวาเนเดต (Decavanadate), V10O286− พาราทังสเตต บี (Paratungstate B), H2M12O4210− Mo36-พอลิโมลิบเดต (Mo36-polymolybdate), Mo36O112(H2O)168−
     
โครงสร้างแบบสแตรนด์เบิร์ก (Strandberg structure), HP2Mo5O234− โครงสร้างแบบเคกกิน (Keggin structure), XM12O40n− โครงสร้างแบบดอว์สัน (Dawson structure), X2M18O62n−
       
โครงสร้างแบบแอนเดอร์สัน (Anderson structure), XM6O24n− โครงสร้างแบบอัลล์แมน-วอฟ (Allman-Waugh structure), XM9O32n− โครงสร้างแบบวีกลีย์-เยเมส (Weakley-Yamase structure), XM10O36n− โครงสร้างแบบเดกซเทอร์-ซิลเวอร์ตัน (Dexter-Silverton structure), XM12O42n−

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Polyoxometalate-Based Molecular Materials., Eugenio Coronado and and Carlos J. Gómez-García Chemical Reviews 1998 98 (1), 273-296 DOI: 10.1021/cr970471c
  2. A Survey of Applications of Polyoxometalates., Dimitris E. Katsoulis Chemical Reviews 1998 98 (1), 359-388 DOI: 10.1021/cr960398a
  3. The Nomenclature of Polyoxometalates:  How To Connect a Name and a Structure., Yves P. Jeannin Chemical Reviews 1998 98 (1), 51-76 DOI: 10.1021/cr960397i
  4. Greenwood, N. N.; & Earnshaw, A. (1997). Chemistry of the Elements (2nd Edn.), Oxford:Butterworth-Heinemann. ISBN 0-7506-3365-4