พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเสนีเทพ

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเสนีเทพ (พ.ศ. 2326 — พ.ศ. 2378) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาขำ[1]

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอสุนี กรมหมื่นเสนีเทพ
กรมหมื่นเสนีเทพ
ประสูติพ.ศ. 2326
สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2378
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลอสุนี
พระบิดาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
พระมารดาเจ้าจอมมารดาขำ

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเสนีเทพ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอสุนี ประสูติเมื่อปีเถาะ เบญจศก จ.ศ. 1145 พ.ศ. 2326 ในรัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าหลานเธอ กรมหมื่นเสนีเทพ เมื่อวันพุธ เดือน 9 ขึ้น 5 ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1170 ตรงกับวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2351 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2378[2]

พระโอรสธิดา

แก้

พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุลอสุนี[3] มีพระโอรสและพระธิดา คือ

  1. หม่อมเจ้าพุ่ม อสุนี (พระราชทานเพลิง ณ วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2403)
  2. หม่อมเจ้าอ่ำ อสุนี (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2349 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2421 สิริชนมายุ 73 ปี)
  3. หม่อมเจ้าหญิงกลีบ อสุนี (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2357 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 7 ธันวาคมพ.ศ. 2430 สิริชนมายุ 74 ปี พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2430)
  4. หม่อมเจ้าหญิงงิ้ว อสุนี (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พ.ศ. 2410)
  5. หม่อมเจ้าหญิงลูกอิน อสุนี
  6. หม่อมเจ้าหญิงลูกจัน อสุนี
  7. หม่อมเจ้าหญิงอรุณ อสุนี
  8. หม่อมเจ้าหญิงหนูจีน อสุนี
  9. หม่อมเจ้าหญิงพลับ อสุนี
  10. หม่อมเจ้าหญิงงอบ อสุนี
  11. หม่อมเจ้าหญิงจั่น อสุนี
  12. หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (สิ้นชีพิตักษัยในสมัยรัชกาลที่ 3 พระราชทานเพลิง ณ วัดพรหมสุรินทร์ เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2382)
  13. หม่อมเจ้าเทศ อสุนี (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พ.ศ. 2409)
  14. หม่อมเจ้าแป้น อสุนี (สิ้นชีพิตักษัยราวปี พ.ศ. 2446)
  15. หม่อมเจ้าไผ่ อสุนี
  16. หม่อมเจ้ากุดั่น อสุนี
  17. หม่อมเจ้าหญิงหิ่งห้อย อสุนี (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2377 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2439 สิริชนมายุ 63 ปี)
  18. หม่อมเจ้ากัน อสุนี

พระกรณียกิจ

แก้

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอสุนี กรมหมื่นเสนีเทพ ทรงมีส่วนร่วมในกองทัพของวังหน้าเพื่อต้านกบฏเจ้าอนุวงศ์ โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพพระราชบัณฑูรให้กรมหมื่นเสนีเทพ เป็นยกกระบัตรทัพ สำหรับอยู่ในทัพหลวง[4]

อ้างอิง

แก้
  1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-23.
  2. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  3. กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหน้า-วังหลัง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2549. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-204-4
  4. บันทึกลับเจ้าพระยาบดินทร์เดชาฯ[ลิงก์เสีย] - Plungjai.com พลังใจ ดอตคอม