พระเจ้าธรรมโศรกราช

พระธรรมาโศกราช (เขมร: ធម្មាសោករាជ; อักษรโรมัน: Thomma Saok) [1]พระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมรพระองค์ที่ 37 เป็นพระราชโอรสองค์สุดท้ายของพระบรมลำพงษ์ราชา และเป็นพระอนุชาของพระบรมรามา มีพระนามเดิมว่า เจ้าพญาแก้วฟ้า

พระธรรมาโศกราช
พระมหากษัตริย์เมืองนครหลวง
ครองราชย์พ.ศ. 1916-1936
รัชกาลก่อนหน้าพระบรมรามา
รัชกาลถัดไปพระอินทราชา (พระนครอินทร์)
สวรรคตพ.ศ. 1936
พระนามเต็ม
สมเด็จพระศรีธรรมาโศกราชธิราชรามาธิบดี
พระนามเดิม
เจ้าพระยาแก้วฟ้า
ราชวงศ์ราชวงศ์วรมัน
ราชสกุลราชสกุลตระซ็อกประแอม
พระราชบิดาพระบรมลำพงษ์ราชา

หลังจากพระบรมรามา พระเชษฐาถูกวางยาพิษปลงพระชนม์ และพระญาติวงศ์ เสนาบดีได้การถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว พระราชมารดาจึงให้ไปรับเจ้าพญาแก้วฟ้ามาครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีธรรมโศกราชธิราชรามาธิบดี (ปีเสด็จขึ้นครองราชย์ แต่ละหลักฐานระบุไว้ต่างกัน พระราชพงศาวดารพระมหากษัตริย์เสวยราชสมบัติในกรุงกัมพูชาธิบดีเป็นลำดับเรียงมา ระบุปี พ.ศ. 1913 ขณะที่พระราชพงศาวดารกรุงกัมพูชา [2]ฉบับออกญาวังวรเวียงชัย (ชวน) ได้เพิ่มกษัตริย์กัมพูชาอีก 2 พระองค์ก่อนถึงรัชกาลนี้ คือ พระธรรมโศกราชมหาราชาธิราช (พ.ศ. 1916–1936) และพระศรีสุริโยวงษ์ (พ.ศ. 1900–1906) จากนั้น จึงเป็นรัชกาลพระบรมอโศกราชมหาราชาธิราช ขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 1957 ส่วนเอกสารมหาบุรุษเขมร ระบุปี พ.ศ. 1917)

เมื่อพระองค์ขึ้นเสวยราชย์ ทรงปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรม และทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักจีน สมัยราชวงศ์หมิง และได้ส่งทูตไปยังเมืองจีนในปี พ.ศ. 1920 และ 1926 ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม "สมเด็จเจ้าพระยากัมพูชา”

อ้างอิง แก้

  1. Merz, Thomas (1998), "PDF in the Browser", Web Publishing with Acrobat/PDF, Springer Berlin Heidelberg, pp. 9–23, ISBN 978-3-540-63762-2, สืบค้นเมื่อ 2023-02-02
  2. Chroniques royales du Cambodge. Mak Phoeun. Paris: Ecole française d'Extrême-Orient. 1981–1988. ISBN 2-85539-537-2. OCLC 8762634.{{cite book}}: CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: others (ลิงก์)