ฉบับร่าง:พระยาสุริยสุนทรบวรภักดี (หนิแปะ)

พระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหารายา มัตตาอับดุลวิบูลย์ขอบเขตประเทศมลายูวิเศษวังษา[1] (หนิแปะ หรือ ตนกูอับดุลย์กอเดร์) (มลายู : Nik Pah หรือ Tengku Abdul Kadir) เป็นเจ้าเมืองสายบุรีคนที่ 3 ต่อจากพระยาสายบุรี (หนิละไม หรือ ตนกูยาลาลุดดิน) ผู้เป็นบิดา

ประวัติ แก้

พระวิเศษวังษา (หนิแปะ หรือ ตนกูอับดุลย์กอเดร์) ผู้ช่วยราชการเมืองสายบุรี เป็นบุตรของพระยาสายบุรี (หนิละไม หรือ ตนกูยาลาลุดดิน) ครั้นผู้เป็นบิดาถึงแก่พิราลัย จึงได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หนิแปะ หรือ ตนกูอับดุลย์กอเดร์ เป็นพระยาสายบุรี โดยได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหารายา มัตตาอับดุลวิบูลย์ขอบเขตประเทศมลายูวิเศษวังษา เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองสายบุรีแล้ว หนิแปะ ได้ย้ายเมืองจากยี่งอ มาอยู่ที่บริเวณอำเภอไม้แก่น ตั้งวังอยู่ที่ริมแม่น้ำกอตอ ช่วงหลังแม่น้ำเกิดตื้นเขิน จึงได้ย้ายเมืองและตั้งวังใหม่อีกครั้งที่ สลินดงบายู ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี[2] ในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหารายา มัตตาอับดุลวิบูลย์ขอบเขตประเทศมลายูวิเศษวังษา (หนิแปะ) ถึงแก่พิราลัย จึงได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หนิวิตำนาเซร์ หรือ เต็งกูอับดุลมุฏฏอเล็บ ผู้เป็นบุตรชายเป็นเจ้าเมืองสายบุรีแทน

ปรากฏในบันทึกการเดินทางมายังเมืองสายบุรีของนายเฮนรี่ หลุยส์ (Henry Louise) ในปี 2437 ได้บันทึกไว้ว่า “Jeringo (Jeringa)” , which had at one time been the capital of the state of Sai (Saiburi / Taluban). There are here remains of an old brick – built palace, which must have had at one time a rather fine gateway. It is said to have been left by the present Rajah some twenty years ago. And is now in a state of extreme decay. แปลความหมายเป็นภาษาไทยได้ว่า “ยี่งอ” ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของเมืองสาย ยังคงมีร่องรอยหลงเหลือของวังเก่าที่สร้างด้วยอิฐ ครั้งหนึ่งทางเข้าค่อนข้างงดงาม กล่าวกันว่ามีการย้ายโดยเจ้าเมืองคนปัจจุบันเมื่อ 20 ปีที่แล้วมา และในปัจจุบันเป็นเมืองที่เสื่อมลง

อีกหลักฐานหนึ่งที่แสดงถึงการย้ายศูนย์อำนาจจากเมืองยี่งอไปยังเมืองใหม่ที่ตะลุบันหรือสายบุรี เป็นบันทึกของรัชกาลที่ 5 ครั้งเสด็จประพาสปักษ์ใต้ มีความว่า “ลำน้ำเมืองสายนี้มีทางแยกไปได้ 3 ทาง คือทางยี่งอเมืองเก่า ซึ่งอยู่สูงขึ้นไประยะทางวันหนึ่ง พระยาสายเห็นว่าฤดูแล้งน้ำแห้งเรือเดินไม่ตลอด จึงได้เลื่อนลงมาตั้งเสียที่เมืองใหม่ได้ 18 ปี มาแล้ว

อ้างอิง แก้

  1. บรรดาศักดิ์
  2. มูลนิธิ ประไพ วิริยะพันธ์ ราชนิกุลสายบุรี หนีราชภัยไปเมืองกลันตัน