พระยายะหริ่ง (นิยูโซฟ)
พระยายะหริ่ง (นิยูโซฟ หรือ รายาโต๊ะกี) (มลายู: Nik Yusuf หรือ Raja Tokki) ทางการสยามเรียกว่า ทองอยู่ เป็นเจ้าเมืองปัตตานีในช่วงปี พ.ศ. 2375-2381 โดยเป็นรายาปัตตานีคนที่ 6 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระยายะหริ่งคนที่ 3 ในช่วงปี พ.ศ. 2381-2396
พระยายะหริ่ง (นิยูโซฟ) | |
---|---|
เกิด | กรือเซะ อาณาจักรปตานี |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2396 |
สุสาน | กรือเซะ |
สัญชาติ | มลายู |
ตำแหน่ง | เจ้าเมืองปัตตานีและเจ้าเมืองยะหริ่ง |
บุตร | 7 คน |
บุพการี |
|
ประวัติ
แก้พระยายะหริ่ง (นิยูโซฟ) มีประวัติเล่าว่า รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปตานีเสียเมืองให้แก่สยาม นิยูโซฟอายุเพียง 6 ขวบ ถูกนำตัวไปยังกรุงเทพพร้อมบิดาที่ชื่อวันฟาตัน ต่อมาได้รับการอุปถัมภ์จากนายทหารท่านหนึ่งจนเมื่อเติบใหญ่มีโอกาสได้รับราชการอยู่ในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล จนกระทั่งเมื่อเข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หัวเมืองมลายูเกิดความวุ่นวาย และมีการสืบทราบว่า "นิยูโซฟ” มีเชื้อสายเจ้าผู้ครองเมืองปตานี จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็น "พระยาตานี”[1] ปกครองเมืองปัตตานี ตั้งวังที่ทำการ ณ กัวลาบือเก๊าะ บริเวณตำบลอาเนาะรูหรือโรงเรียนจ้องฮั้วในปัจจุบัน จนกระทั่งหลวงสวัสดิภักดี (ยิ้มซ้าย) รักษาราชการเมืองยะหริ่งถึงแก่อนิจกรรม เวลานั้นเมืองกลันตันเกิดความวุ่นวายระหว่างพระยากลันตัน (ตวนสนิปากแดง) และตนกูปะสา จึงได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตนกูปะสาเป็นพระยาตานี[2] และย้ายนิยูโซฟเป็นพระยายะหริ่ง ได้สร้างวังหลังใหม่ ที่ตำบลบ้านยามู ริมลำน้ำเมืองยือริงฟากทิศใต้ ครั้นพระยายะหริ่ง (นิยูโซฟ) ถึงแก่พิราลัย จึงได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สุลต่านเดวา เป็นพระยายะหริ่งแทน
การสืบเชื้อสาย
แก้นิยูโซฟ บุตรวันฟาตัน บุตรรัตนาดีรายา บุตรวันฟากิฮ์ อาลี มหารายาเลลา บุตรสุลต่านอับดุลฮามิดชาห์ (นิมุสตอฟา) ดาตูยามู-จามปา บุตรสุลต่านมุซอฟฟัร (วันมุซอฟฟัร) บุตรสุลต่านอับดุลลอฮ์ อุมดาตุดดีน (Wan Bo Tri Tri) เจ้าผู้ครองเมืองปัณฑุรังคะ แห่งอาณาจักรจามปา
บุตร-ธิดา
แก้พระยายะหริ่ง (นิยูโซฟ) มีบุตรธิดารวม 7 คน ทราบชื่อ 5 คน ได้รับแต่งตั้งเป็นพระยายะหริ่งมี 2 คน[3] ได้แก่
- พระยายะหริ่ง (นิตีมุง)
- พระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี (นิเมาะ)
- พระวิเศษวังษา (พึ่ง) ไม่ทราบชื่อถิ่นมลายู
- รายาสาบัน
- นิเซ็ง
อ้างอิง
แก้- ↑ ภูมิหลังสืบเชื้อสายวังยะหริ่ง (PDF).P.60.
- ↑ วังจะบังตีกอ[ลิงก์เสีย](PDF).34.
- ↑ การปกครองบริเวณ7หัวเมือง (PDF).P136.-137.