พระยายะหริ่ง (นิตีมุง)
พระยายะหริ่ง (นิตีมุง) (มลายู: Nik Timun) ทางการสยามเรียกว่า แตง เป็นเจ้าเมืองยะหริ่งคนที่ 5 ในช่วงปี พ.ศ. 2397-2427 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งปกครองเมืองยะหริ่งต่อจากพระยายะหริ่ง (สุลต่านเดวา) และแต่งตั้งนิเมาะ น้องชายต่างมารดาเป็น "รายามุดา" โดยเมืองยะหริ่งในสมัยนั้นเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองประเทศราชมลายูปัตตานีของสยาม[1]
พระยายะหริ่ง (นิตีมุง) | |
---|---|
เกิด | วังยะหริ่ง(นิยูโซฟ) |
สุสาน | ป่าหลวง ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
สัญชาติ | มลายู |
ตำแหน่ง | เจ้าเมืองยะหริ่ง |
บุตร | 4 คน |
บิดามารดา |
|
ประวัติ
แก้พระยายะหริ่ง (นิตีมุง) เป็นบุตรคนโตของพระยายะหริ่ง (นิยูโซฟ) อดีตเจ้าเมืองปัตตานีและเจ้าเมืองยะหริ่ง เมื่อได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นพระยาเมืองแล้ว ได้ว่าราชการเมืองอยู่ที่วังของพระยายะหริ่ง(นิยูโซฟ) ผู้เป็นบิดา ครั้นพระยายะหริ่ง (นิตีมุง) ถึงแก่พิราลัย จึงได้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนิเมาะ น้องชายต่างมารดาเป็นพระยายะหริ่งแทน[2] โดยได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสงคราม เจ้าเมืองยะหริ่ง ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี (นิเมาะ) ในตำแหน่งจางวางกำกับราชการเมืองยะหริ่ง
บุตร-ธิดา
แก้พระยายะหริ่ง (นิตีมุง) มีบุตรธิดา 4 คน ได้แก่
- 1. พระวิเศษวังษา (นิกูวง) ในสมัยพระวิเศษวังษาได้ร่วมกับรายาสาบันบริจาคที่ดินเพื่อสร้างที่ว่าการอำเภอยะหริ่ง
- 1.1.นิสกรูว อับดุลบุตร
- 1.1.1.นิมะ
- 1.1.2.นินะฮ
- 1.1.3.นิเมาะ
- 1.2.นิตีมุง สนิบุตร
- 1.3.นิเนาะ สนิบุตร
- 1.3.1.ตูแวซง สะดี
- 1.3.2.ตูแวแย
- 1.1.นิสกรูว อับดุลบุตร
- 2. ตวนเซาะ อัลยุฟรี
- 2.1.ซัยยิดอุมา อัลยุฟรี
- 3. กูบอซู สนิบุตร
- 3.1.ตวนสปีเย๊าะ สนิบุตร
- 3.1.1.ตวนกรือเมาะ หะยีนิเยะ
- 3.1.2.ตวนกูตง อัลอาตัส
- 3.1.2.1 ตวน ชารีฟะห์ สะรีเปาะฮ อัลอาตัส
- 3.1.2.2 ตวน ชารีฟะห์ เซาะ อัลอาตัส
- 3.2.ตวนตือเงาะห์
- 3.3.ตวนกือจิ แสแร
- 3.1.ตวนสปีเย๊าะ สนิบุตร
- 4. ไม่ทราบชื่อ
อ้างอิง
แก้- ↑ การปกครองบริเวณ7หัวเมือง (PDF). p. 136.
- ↑ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปกครองบริเวณ7หัวเมือง (PDF). p.15.