พระยาชัยสุนทร (หมาแพง)

พระยาชัยสุนทร (หมาแพง) หรืออีกนามเรียกว่า “ท้าวหมาแพง” เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 2 (พ.ศ. 2349–2369)[1] เป็นต้นเชื้อสายตระกูลเช่น บริหารและเกษทอง เป็นต้นซึ่งผู้ใช้นามสกุลส่วนใหญ่ตั้งรกรากและอาศัยอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์และลพบุรีในปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]

พระยาชัยสุนทร
(หมาแพง)
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2349 – พ.ศ. 2369
ก่อนหน้าพระยาชัยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร)
ถัดไปพระยาชัยสุนทร(เจียม)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบปีเกิด
เมืองกาฬสินธุ์
เสียชีวิตพ.ศ. 2369
เมืองกาฬสินธุ์
ศาสนาศาสนาพุทธ

ชาติกำเนิด

แก้

เกิดเมื่อราวปี พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ บิดาคือท้าวอุปชา อุปฮาดเมืองสกลนคร ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม มีพี่น้องร่วมสายโลหิตเท่าที่ปรากฏ 1 คนคือ นางฮาด เป็นต้นและต่อมาพระยาไชยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 1 ได้ขออุปการะท้าวหมาแพงไปเป็นบุตรบุญธรรมเพราะภรรยาของเจ้าโสมพะมิตรมีเชื้อสายเป็นพี่สาวของท้าวอุปชาและมีพี่น้องบุญธรรมร่วมกัน 4 คนได้แก่ 1)ท้าวหมาแพง 2)ท้าวหมาป้อง 3)ท้าวหมาสุย 4)ท้าวหมาฟอง เป็นต้น

การรับราชการ

แก้

• เมื่อเติบโตขึ้นได้เข้ารับราชการในกรมการเมืองกาฬสินธุ์และรักษาราชการแทนเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ภายหลังพระยาไชยสุนทร(เจ้าโสมพะมิตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 1 ได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา ใน ปี พ.ศ. 2349 กรมการเมืองกาฬสินธุ์ได้มีใบบอกกราบบังคมทูลให้โปรดเกล้าฯ พระทานสัญญาบัตรตั้งท้าวหมาแพง เป็นที่พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และท้าวหมาสุย เป็นที่อุปฮาด ท้าวหมาฟองเป็นที่ราชวงศ์ ส่วนราชบุตรไม่ได้กล่าวถึงและส่วนท้าวหมาป้องพี่ชายคนโตไม่ได้รับตำแหน่งใดในกรมการเมือง และทั้ง 3 คนเป็นบุตรเจ้าโสมพะมิตร ซึ่งตรงกับปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

•โปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องยศแก่กรมการเมืองประกอบบรรดาศักดิ์ดังนี้

เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ “พานเงินเครื่องในถมสำรับหนึ่ง คนโทเงินถมยาดำหนึ่ง ลูกประคำทองหนึ่ง กระบี่บั้งเงินหนึ่ง สัปทนปัศตูหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง แพรทับทิมติดขลิบผืนหนึ่ง ชวานปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง” - พร้อมตราประทับประจำตำแหน่งเจ้าเมืองกาฬสินธุ์คือ “เทวดานั่งแท่นถือพระขรรค์และดอกบัว”

อุปฮาด “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบริ้วดีตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

ราชวงศ์ “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบลายก้านแย่งตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

ราชบุตร “เสื้ออัตลัตดอกถี่ตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพรขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

เหตุการณ์สำคัญ

แก้

•ปี พ.ศ. 2350 โปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงขึ้นไปสักเลกที่เมืองกาฬสินธุ์ ในครั้งนั้นเลขเมืองกาฬสินธุ์มีจำนวน 4,000 คน

•ปี พ.ศ. 2352 ตรงกับ วันแรม ๑๐ ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑ มีใบบอกบอกจากกรุงเทพมหานครมายังเมืองกาฬสินธุ์แจ้งข่าวว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ได้ประชวรเสด็จสวรรคตแล้ว ดังความที่ว่า “หนังสือเจ้าพระยาจักรีมาถึงเจ้าเมืองกรมการด้วยทรงพระกรุณาเหนือเกล้าฯ สั่งว่าสมเด็จพระพุทธิเจ้าหลวงผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐทรงพระประชวรเสด็จสวรรคตแล้ว เชิญพระบรมศพเข้าพระโกศทองคำประดับพลอยสถิตไว้ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ต้องการผ้าขาวขนาดสบง สีผึ้ง ขมิ้นซักย้อมผ้าสบงสดับพระกรณ์แลป่านใบกระดาษขาว สำหรับใช้การเบ็ดเสร็จเป็นอันมาก เกณฑ์แบ่งเฉลี่ยมาให้เจ้าเมืองกรมการ จัดผ้าขาว สีผึ้ง ขมิ้น ป่านใบ ส่งลงมา ให้เจ้าเมืองกรมการ ปลงใจฉลองพระเดชพระคุณ เร่งรัดจัดผ้าขาว ขี้ผึ้ง ป่านกระดาษ ขมิ้น ส่งลงไปให้ถึงกรุงเทพ แต่ในเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ ปีมะเส็ง เอกศกนี้ให้ครบตามเกณ์ จะได้เย็บเป็นสบงย้อมให้ทันสดับพระกรณ์ แต่ผ้าขาวนั้นจะคิดเงินตราราคาพระราชทานให้ตามอย่างแน่นอน หนังสือมา ณ วันที่ ๑ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๑ ปีมะเส็ง เอกศก”

•ปี พ.ศ. 2353 ตรงกับวันที่ ๗ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๒ ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๑๗๒ ใบบอกบอกจากกรุงเทพมหานครมายังเมืองกาฬสินธุ์แจ้งข่าวให้เจ้าเมืองและกรมการเมืองไปร่วมงานพระราชพิธีออกพระเมรุพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ดังความที่ว่า “หนังสือเจ้าพระยาจักรีมาถึง กรมการเมืองนครราชสีมา เมืองแปะ เมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆ เมืองศรีสะเกต เมืองรัตนบุรี เมืองอุบล เมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองมุกดาหาร เมืองนครพนม เมืองขอนแก่น เมืองพุทไธสง เมืองชนบท เมืองเชียงแตง เมืองภูเขียว เมืองแสนปาง เมืองอัตปี เมืองล่มสัก เปลี่ยน ๑๙ ใหม่ ๒ รวม ๒๒ เมือง ตามโบราณราชประเพณีพระมหากษัตราธิราชเจ้าสืบๆ มาแต่ก่อนแลบรรดาเจ้าเมืองกรมการ ซึ่งมิได้ส่งไปนั้น หาได้ถวายสัตยานุสัจต่อใต้ฝ่าละอองฯ สมเด็จพระพุทธิเจ้าอยู่หัวไม่ จึงให้ลอกคำสาบานส่งขึ้นมา ให้เจ้าเมือง กรมการ ท้าวเพียลาว มีชื่อ ถวายสัตยานุสัจรับพระราชทานน้ำพระพิพัทสัจจานั้นให้นิมนต์พระสงฆ์ไปนั่งเป็นประธาน ณ อุโบสถ พระวิหารที่เคยถือน้ำแต่ก่อน แล้วให้เจ้าเมือง กรมการ ท้าวเพีย มีชื่อ พร้อมกันกราบถวายบังคมสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว แล้วอ่านคำสาบาน ถวายสัตยานุสัจรับพระราชทานน้ำพิพัทสัจจาจำเพราะพระพักตร์พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เจ้าจงทุกคน อย่าให้หลงฟังอยู่แค่คนหนึ่งคนใดเป็นอันขาดทีเดียว แล้วให้เจ้าเมืองกรมการกำชับกำชาตรวจตราพิทักษ์รักษาบ้านเมืองตามประเพณีแต่ก่อนสืบไป แลกำหนดจะได้ถวายพระเพลิงเมื่อใด ให้เจ้าเมือง กรมการ ท้าวเพียผู้ใหญ่ลงไปทูลละอองฯ ให้พร้อมกันจงทุกเมือง อนึ่งจะต้องการผ้าขาวขนาดสบง สีผึ้ง สดับพระกรณ์ แล ชัน ป่านใบ กระดาษขาว เชือกหนัง หนังเคี่ยวกาว สำหรับใช้การเบ็ดเสร็จเป็นอันมาก เกณฑ์แบ่งเฉลี่ยขึ้นมาให้เจ้าเมือง กรมการ จัดผ้าขาว สีผึ้ง ป่าน ชัน หนังเคี่ยวกาว เชือกหนัง กระดาษส่งลงมา (เมืองกาฬสินธุ์ สีผึ้งหนัก ๒ บาท ป่าน ๒ บาท กระดาษ ๑,๐๐๐ แผ่น) แลกองทัพหัวเมืองซึ่งยกลงไปถึงก่อนนั้น ได้ให้ช่วยระดมตัดชักลากเสาไม้เครื่องพระเมรุ อยู่ ณ เมืองสระบุรี ถ้ากองตะเวนกลับมาข่าวราชการสงบอยู่จะให้กลับขึ้นบ้านเมืองแต่ทวายังหาสิ้นเทศกาลศึกไม่ จะไว้ใจแก่ราชการมิได้ แลกองทัพซึ่งยังมิได้ยกลงไปนั้นให้งดไว้อย่าให้ยกลงไปเลย ให้เกณฑ์กองทัพสรรพด้วยเครื่องศัตราวุธเสบียงอาหาร กระสุนดินดำ เตรียมไว้กับเมืองให้พร้อม อย่าให้ไปทางไกล มีราชการทุกค่ำคืนมาทางใดจึงจะมีตราบอกกำหนดขึ้นมาให้ยกไปทันท่วงทีการ ถ้าเกณฑ์กองทัพเตรียมไว้เป็นขุนนาย ไพร่ เครื่องศาสตราวุธมากน้อยเพียงเทาใด ให้บอกลงไปให้แจ้ง หนังสือมา ณ วันที่ ๗ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๒ ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๑๗๒”

ในปี พ.ศ. 2365 ท้าวหมาสุยที่อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ และท้าวหมาฟองที่ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ ไม่พอใจที่จะทำราชการกับพระยาไชยสุนทร(หมาแพง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์เกิดวิวาทบาดหมางกัน ในที่สุดท้าวหมาฟองที่ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ จึงสมคบคิดกับท้าวหมาป้องและพระยาบ้าเว่อ(ไม่ทราบว่าอยู่เมืองใด) พาครัวและไพร่พลพรรคพวกไปตั้งชุมชนอยู่ที่บ้านเชิงชุม บริเวณหนองหาร สกลนครเมืองเก่า พระยาบ้าเว่อเป็นที่ “พระธานี” เจ้าเมืองสกลนคร แล้วให้ท้าวหมาป้องเป็นทีอุปฮาดเมืองสกลนครและท้าวหมาฟองที่ราชวงศ์เมืองสกลนคร ส่วนราชบุตรไม่ได้กล่าวถึงแต่อย่างใด และทำราชการขึ้นต่อเมืองเวียงจันทน์

•ปี พ.ศ. 2366 พระยาไชยสุนทร(หมาแพง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ จึงมีใบบอกฟ้องมายังกรุงเทพมหานครว่าท้าวหมาฟองและสมัครพรรคพวกเอาใจออกห่างไปอยู่เมืองเวียงจันทน์กับขอพระราชทานโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวเซียงโคตรเป็นที่ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์(บุตรบุญธรรม) และขอท้าวเจียมเป็นที่ราชบุตร(หลานเจ้าเมือง) ส่วนท้าวหมาสุยที่อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ที่ไม่ได้ติดตามไปอยู่เมืองสกลนครนั้นยังคงอยู่ในตำแหน่งเดิม จึงโปรดเกล้าฯพระราชทานเครื่องยศแก่กรมการเมืองประกอบบรรดาศักดิ์ดังนี้ ราชวงศ์ “ถาดหมากเงินคนโทเงินสำรับหนึ่ง สัปทนแพรคันหนึ่ง เสื้อเข้มขาบลายก้านแย่งตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพร่ขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง” ราชบุตร “เสื้ออัตลัตดอกถี่ตัวหนึ่ง ผ้าโพกขลิบผืนหนึ่ง ผ้าดำปักทองผืนหนึ่ง แพร่ขาวผืนหนึ่ง ผ้าปูมผืนหนึ่ง”

•ปี พ.ศ. 2367 ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ทางกรุงเทพได้มีใบบอกมายังเมืองกาฬสินธุ์แจ้งข่าวว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ได้ประชวรเสด็จสวรรคตแล้ว จึงเจ้าเมืองและกรมการเมืองไปร่วมงานพระราชพิธีออกพระเมรุพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์และงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์และภายหลังเสด็จขึ้นครองราย์ โปรดเกล้าฯให้ข้าหลวงแยกย้ายกันขึ้นไปตรวจตราสำมะโนครัวและตั้งกองสักเลกอยู่ตามหัวเมืองอีสานบางเมือง อันมีเมืองกาฬสินธุ์ เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองร้อยเอ็ด เป็นต้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนพิทักษ์และหมื่นภักดีไปควบคุมตั้งกองสักเลกที่เมืองกาฬสินธุ์ เพื่อกำหนดการเกณฑ์ส่วย เนื่องจากพระคลักสินค้าต้องการผลิตผลจากป่าเพื่อนำไปเป็นสินค้าในการค้าสำเภากับจีน สำหรับเมืองกาฬสินธุ์นั้นกำหนดให้ผูกส่วยผลเร่ว(หมากเหน่ง) เงิน กระวาน และสีผึ้งต่อราชสำนัก แต่ถ้าเลขหาสิ่งของส่งส่วยดังกล่าวไม่ได้ก็ต้องชำระค่าส่วยคนละ ๔ บาท ต่อปีแทน

•ปี พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งนครหลวงเวียงจันทน์ ได้ประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นตรงต่อราชสำนักกรุงเทพมหานคร จึงมีการเกณฑ์ไพร่พลตามหัวเมืองในภาคอีสานและซ่องสุมกำลังพลเพื่อเตรียมรับมีศึกสงครามกับสยาม โดยได้ตั้งแต่งตั้งเจ้าอุปราช(ติสสะ)มาเกณฑ์ไพร่พลที่เมืองกาฬสินธุ์แต่เจ้าเมืองย่อมไม่ร่วมเข้ากับกับเจ้าอนุวงศ์แห่งนครหลวงเวียงจันทน์จึงเหตุการณ์สำคัญที่เมืองกาฬสินธุ์ได้แตกพ่ายนำไปสู่สงครามระหว่างไทย-ลาวในเวลาต่อมา ดังมีความในคำให้การของอ้ายเชียงมันต่อการพิจารณาความกล่าวโทษราชวงศ์หมาฟอง ในการจัดการหัวเมืองหลังสิ้นสุดสงครามไทย-ลาว โดยมีพระยาสุภาวดีภายหลังได้รับการโปรดเกล้าฯเป็นที่เจ้าพระยาบดินทร์เดชา ว่าที่สมุหนายก ดังนี้ “อ้ายเชียงมั่นซึ่งเป็นคนรับใช้ใกล้ชิดเจ้าเมือง มีหน้าที่ถิอคนโทน้ำตามเจ้าเมืองว่า ....อ้ายอุปราชยกทัพไปตั้งอยู่นอกเมืองกาลสินประมาณ ๕ เส้น คนประมาณ ๓,๐๐๐ คน แล้วอ้ายอุปราชให้หาเจ้าเมืองกาลสินออกไปค่าย เจ้าเมืองกาลสินก็ออกไปหาอ้ายอุปราช ถามเจ้าเมืองกาลสินว่าจะไปเมืองเวียงจันด้วยอ้ายอุปราชหรือไม่ไป เจ้าเมืองกาลสินว่าจะไม่ไปขออยู่ อ้ายอุปราชว่าเจ้าจะอยู่ก็ให้อยู่ไปไม่เอาไปดอก อ้ายอุปราชก็ให้เจ้าเมืองกาลสินกลับไปเมืองกาลสิน อยู่มาวันหนึ่งอ้ายอุปราชให้หาเจ้าเมืองกาลสินออกไปค่ายอีก ข้าพเจ้าก็ไปด้วยกันตามไปกับเจ้าเมืองกาลสินประมาณ ๕๐ คน มีหอกดาบไปด้วยครบมือกัน ครั้นไปถึงประตูค่ายอ้ายอุปราช ให้อ้ายอุปราชเก็บหอกดาบและห้ามคนเสียมิให้ตามเจ้าเมืองเข้าไปในค่าย ๒ คน ข้าพเจ้าได้ยินอ้ายอุปราชถามเจ้าเมืองกาลสินว่า เจ้าไม่ไปแน่แล้วหรือ เจ้าเมืองกาลสินว่าไม่ไปแน่แล้ว อ้ายอุปราชก็ให้จับเจ้าเมืองกาลสินมัดข้อมือจูงออกไปหลังค่าย.....อ้ายอุปราชมาถึงเมืองกาลสินมาถึงเมืองกาลสินได้ ๓ วัน หนึ่งเพลานองเพลข้าพเจ้ากับนายหมวดไปเที่ยวต่อนกริมน้ำเปา เห็นอ้ายลาวเวียงจันทน์พวกอ้ายอุปราชประมาณ ๒๐ คน ถือหอกดาบ แล้วมัดเอาเจ้าเมืองกรมการเมืองกาลสิน ๕ คน ใส่อูหามลุยข้ามแม่น้ำเปามาฝั่งตะวันตกแล้วตัดศีรษะเสียบไว้ทั้ง ๕ คน ข้าพเจ้ารู้จักจำหน้าได้แต่เจ้าเมืองกาลสินหนึ่ง เมืองแสนหนึ่ง เมืองจันหนึ่ง เมืองแพนหนึ่ง แต่อีกคนนึ่งนั้นข้าพเจ้าหารู้ไม่ หลักจากอ้ายอุปราชประหารเจ้าเมืองกาลสิน ได้ริบเอาทรัพย์สินไพร่พล กวาดต้อนกลับไปเมืองเวียงจันทน์ ข้าพเจ้าพร้อมบริวารเจ้าเมืองกาลสินและกรมการเมืองบางส่วนหลบหนีทัพอ้ายอุปราช ไปซ่อนตัวในป่า.....” แต่อีกคนที่อ้างเชียงมั่นไม่รู้คือ ราชวงศ์เซียงโคตร บุตรบุญธรรมท้าวหมาแพงนั้นเอง ส่วนอุปฮาดหมาสุยอุปราช(ติสสะ)ได้ปรึกษาบรรดาแม่ทัพเวียงจันทน์เห็นว่าเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย จึงสั่งให้ประหารชีวิตเช่นเดียวกัน แม้ว่าราชวงศ์หมาฟองเมืองสกลนครผู้น้อง จะพยายามขอชีวิตไว้ แต่แม่ทัพเวียงจันทน์ก็หาได้ยินยอมและกรมการเมืองบางส่วนหลบหนีคือ ท้าววรบุตรเจียมหลบหนีไปยังบ้านขามเปี้ยและท้าวหล้าได้หลบหนีไปยังบ้านผ้าขาวพันนาเมืองเก่าเขตเมืองสกลนคร พอทัพพระยาสุภาวดีเคลื่อนผ่านเมืองสกลนครท้าวรบุตรเจียมและท้าวหล้าได้นำไพร่พลและพี่น้องเข้าหาทัพพระยาสุภาวดีเพื่อช่วยในราชการสงคราม

ถึงแก่กรรม

แก้

• พระยาไชยสุนทร(หมาแพง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 2 ได้ถึงแก่กรรมด้วยต้องอาญาศึกต้องโทษถูกประหารชีวิตตัดศีรษะเสียบประจานที่บริเวณทุ่งหนองหอยด้านตะวันตกวัดสว่างคงคา เมืองกาฬสินธุ์ และได้ทำราชการเป็นเจ้าเมืองสนองพระเดชพระคุณ 20 ปี ครั้น ปีจอ สัปตศก จ.ศ. ๑๑๘๘ ตรงกับปี พ.ศ. 2369 สิ้นประวัติพระยาไชยสุนทร (หมาแพง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 2 เพียงเท่านี้

ทายาท

แก้

พระยาไชยสุนทร(หมาแพง) สมรสกับใครไม่ปรากฏและไม่มีบุตรด้วยกัน แต่ได้ขอบุตรชายของเจ้านางหวดพี่สาวกับราชวงศ์เมืองจำปาศักดิ์ (ฮวด) มาเป็นบุตรบุญธรรม 1 ท่านคือ

1) ท้าวเซียงโคตร ราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2365-2369 มีบุตร 1 คน คือ

1.1. ท้าวเกษ เป็นที่”พระราษฎรบริหาร” เจ้าเมืองกมลาไสย คนแรกและอดีตราชบุตรเมืองสกลนคร(พ.ศ. 2383-2389)และราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์(พ.ศ. 2389-2400) และได้สมรสกับ อัญญางแพงศรี บุตรีคนที่ 1 ของพระยาไชยสุนทร(กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 6 มีบุตร 5 คน ได้แก่

1)พระราษฎรบริหาร(ทอง) เจ้าเมืองกมลาไสย ลำดับที่ 2 สมรสกับ อัญญานางอ่อน มีบุตร 5 คน ได้แก่

1.1)นางเหลี่ยม สมรสกับ พระยาขัติยะวงษา(สุวรรณเหลา ณ ร้อยเอ็ด) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด

1.2)หลวงชาญวิชัยยุทธ(เหม็น เกษทอง)

1.3)นางเพชร สมรสกับ หลวงไสยศาสตร์(แดง พลวิจิตร) นายอำเภอประจิมกมลาไสย

1.4)หลวงกมลาพิพัฒน์(เทศ บริหาร)

1.5)นางทองคำ(เกิดกับนางทรัพย์) สมรสกับ นายเกิด มงคลศิลป์ เป็นต้น

2)พระประชาชนบาล(บัว) อดีตเจ้าเมืองสหัสขันธ์และอุปฮาดเมืองกมลาไสย สมรสกับ อัญญานางอ่วม มีบุตร 2 คน ได้แก่

2.1)ด.ญ.ดวงใจ (ถึงแก่กรรมในวัยเยาว์)

2.2)นางคำหมื่น สมรสกับ นายดี คุณอุดม เป็นต้น

3)พระประชาชนบาล(คำแสน) เจ้าเมืองสหัสขันธ์และอดีตราชวงศ์เมืองกมลาไสย สมรสกับใครสืบไม่ได้ มีบุตร 4 คน ได้แก่

3.1)นางตั่น

3.2)นางเคียม

3.3)นางน้อย

3.4)นางเพ็ง เป็นต้น

4)หลวงชาญวิชัยยุทธ(นวน) ราชวงศ์เมืองกมลาไสยและอดีตผู้ช่วยเจ้าเมืองกมลาไสย

5)หลวงกมเรศ(ธรรม) อดีตราชบุตรเมืองกมลาไสยและราชวงศ์เมืองกมลาไสย

สายสกุลทายาทและเครือญาติ

แก้
  • บริหาร ต้นสกุลคือ หลวงกมลาพิพัฒน์(เทศ บริหาร) บุตรคนที่ 5 ของพระราษฎรบริหาร (ทอง) เจ้าเมืองกมลาไสย ลำดับที่ 2 กับอัญญานางอ่อน มีบุตร 6 คน ได้แก่

เกิดกับนางคำอา

1)นางคำกอง สมรสกับ ขุนอาจเอาธุระ(เลื่อม วงษ์กาไสย) อดีตนายอำเภอมหาชนะชัย จ.ยโสธร

เกิดกับนางบุญนาค

2)นายทองบ่อ สมรสกับ นางไกรและสีใคร

3)นายสมบูรณ์ สมรสกับ นางอ่ำ

เกิดกับนางอินทรา

4)นางเล็ก (เป็นโสดไม่มีทายาท)

5)นายบุญเหลือ สมรสกับ นางประยูร

เกิดกับนางจันทร์แดง

6)นายไว(เจริญ) บริหาร สมรสกับ นางบัวศรี เป็นต้น

ท่านเหล่านี้คือผู้ใช้นามสกุล”บริหาร”รุ่นแรกโดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในอำเภอกมลาไสยของจังหวัดกาฬสินธุ์

  • เกษทอง ต้นสกุลคือ หลวงชาญวิชัยยุทธ(เหม็น เกษทอง) บุตรคนที่ 2 ของพระราษฎรบริหาร (ทอง) เจ้าเมืองกมลาไสย ลำดับที่ 2 กับอัญญานางอ่อน มีบุตร 15 คนได้แก่

เกิดกับนางศักดิ์

1)นางมั่น สมรสกับ นายใหญ่ กัลยาณรุจ

2)นางพัน สมรสกับ ร้อยตรีเมฆ จันทรกุญชร

3)นางเกาะ สมรสกับ นายอินทร์

เกิดกับนางขวัญ

4)นายธน บริหาร สมรสกับ นางจันดี

5)นางละมุด (เป็นโสดไม่มีทายาท)

เกิดกับนางจวง

6)นางแก้ว สมรสกับ นายตั๊กมั่ว แซ่ตั้ง

ต่อมาหลวงชาญวิชัยยุทธ (เหม็น) อพยพพาภรรยาลำดับสุดท้าย คือนางขาว ชาญวิชัยยุทธ (บิดามารดาชื่อนายบุญและนางคำภา) พร้อมบุตรธิดาข้าทาสย้ายถิ่นฐานตั้งบ้านเรือนถาวรอยู่ ณ บ้านหนองขี้เบ้า หรือบ้านโคกเบ้า ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หลวงชาญวิชัยยุทธมีบุตรกับนางขาว 9 คน ได้แก่

7) นางพิฆาตเศิกสงบ (ทองหล่อ โกมลจันทร์) (เดิมชื่อคำเบ้า เกษทอง) สมรสกับพันตรี หลวงพิฆาตเศิกสงบ (เจิม โกมลจันทร์)

8) นางทองใบ สงวนชาติ สมรส นายโรเบิร์ต ชวิษฐ์ สงวนชาติ

9) นางทองดี พัดทอง

10) นายทองอินทร์ เกษทอง

11) นายสุบิน เกษทอง (อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง)

12) นางประหยัด จันทรเกษม

13) นางประยูร ตุลเตมีย์ สมรสกับ นายจำลอง ตุลเตมีย์ (อดีตรองวิศวกรรถไฟไทย)

14) นางมณี จันทรเกษม

15) นางผะอบ วัจนะพุกกะ สมรสกับ นายสัตวแพทย์จินดา วัจนะพุกกะ เป็นต้น

หลวงชาญวิชัยยุทธ (เหม็น) ถึงแก่กรรมเมื่อ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2474 ลูกหลานที่เกิดจากภรรยาแรกๆบางท่านยังใช้นามสกุล”บริหาร”โดยยังอาศัยอยู่ในอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ในส่วนของลูกหลานที่ใช้นามสกุล”เกษทอง”หลายท่านอาศัยอยู่จังหวัดลพบุรี

สายตระกูล

แก้
ก่อนหน้า พระยาชัยสุนทร (หมาแพง) ถัดไป
พระยาชัยสุนทร (เจ้าโสมพะมิตร)    
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์,
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

(พ.ศ. 2349 - 2469)
  พระยาชัยสุนทร (เจียม)
  1. http://www.kalasinpit.ac.th/elearning/kroosert/data/kalasin.htm[ลิงก์เสีย]