พระยาชัยสุนทร (พั้ว)

พระยาชัยสุนทร (พั้ว) หรืออีกนามเรียกว่า “ท้าวพั้ว” เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 10 (พ.ศ. 2426–2433)[1] เป็นต้น

พระยาชัยสุนทร(พั้ว)
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2426 – พ.ศ. 2433
ก่อนหน้าพระยาชัยสุนทร(โคตร)
ถัดไปพระยาชัยสุนทร(เก)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดเมืองกาฬสินธุ์
เสียชีวิตพ.ศ. 2433
เมืองกาฬสินธุ์
ศาสนาศาสนาพุทธ

ชาติกำเนิด แก้

เกิดเมื่อราวปีใดไม่ปรากฏ บิดามารดาคือพระยาไชยสุนทร(กิ่ง) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 7 กับคุณหญิงสุวรรณ มีพี่น้องร่วมสายโลหิต ได้แก่ 1)นางแพงศรี 2)นางพา 3)ท้าวพั้ว 4)นางขำ เป็นต้น

การรับราชการ แก้

•ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นที่ “พระยาไชยสุนทร” เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2426

เหตุการณ์สำคัญ แก้

•ปี พ.ศ. 2426 พระยาไชยสุนทร(โคตร) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ได้ถึงแก่กรรมลง เมื่อได้รับสัญญาบัตรตราตั้งเป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์กับท้องตราขอเมืองกุดสิมนารายณ์ที่ไปขึ้นกับเมืองมุกดาหารกลับคืนมาขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ตามเดิม หลังกลับมาอัญเชิญสัญญาบัตรและท้องตรามาไว้ที่เมืองกาฬสินธุ์ก็ป่วยอยู่ได้ 3 เดือนก็ถึงแก่กรรม เมื่อวันศุกร์ขึ้น ๑๐ ค่ำเดือน ๗ เมื่อปีมะแม เบญจศก จ.ศ. ๑๒๔๕ ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2426 กรมการเมืองกาฬสินธุ์จึงว่างลงหลายตำแหน่ง พระพิชิตพลหาร ผู้ช่วยเจ้าเมืองและท้าวเพี้ย เมืองแสน เมืองจัน กรมกรารเมืองกาฬสินธุ์จึงปรึกษาหารือมีใบอกขอตัวท้าวพั้วบุตรพระยาไชยสุนทร(กิ่ง)เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ จึงโปรดเกล้าฯ มีท้องตราพระราชสีห์น้อย ขึ้นมาวาง ณ เมืองกาฬสินธุ์ใจความว่า”ให้ท้าวพั้วบุตรเจ้าเมืองคนเก่าเป็นว่าที่”พระยาไชยสุนทร”เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ท้าวหนูเป็นว่าที่”พระไชยสุนทร”อุปฮาด พระโพธิสาร(คำ)ผู้ช่วยเป็นว่าที่ราชวงศ์ ท้าวงวดเป็นว่าที่ราชบุตร ให้กรมการท้าวเพี้ยเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมกันรักษาราชการบ้านเมือง แลเร่งชำระเงินส่วยของหลวงส่งลงไปทูลเกล้าฯถวาย อย่าให้พระราชทรัพย์ของหลวงขาดค้างทบท่าวอยู่ได้”

•ปี พ.ศ.2427 พระสุวรรณภักดี เจ้าเมืองท่าขอนยาง ไม่พอใจจะทำราชการขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ จึงอพยพครอบออกจากเมืองท่าขอนยาง ไปสมัครทำราชการกับเมืองท่าอุเทน ส่วนเมืองท่าขอนยางยังคงเหลือแต่อุปฮาด(ทุม) ราชวงศ์และกรมการรักษาเมืองอยู่ ต่อมาอุปฮาด(ทุม) เมืองแซงบาดาล ถึงแก่กรรม ท้าวหงส์ได้ตำแหน่งอุปฮาดรักษาราชการเมืองต่อมา

•ปี พ.ศ.2428 พวกโจรอ้ายฮ่อยกกำลังปล้นเมืองตามชายพระราชอาณาเขต แถบแขวงเมืองหนองคาย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นแม่ทัพหนุนไปตั้งอยู่ที่เมืองหนองคาย ในครั้งนั้นพระยาไชยสุนทร(พั้ว)ผู้ว่าราชการเมืองกาฬสินธุ์พร้อมด้วพระพิชิตพลหาร ผู้ช่วยเจ้าเมือง ได้รับบัญชาให้เกณฑ์กองทัพเมืองกาฬสินธุ์ไปช่วยราชการศึกฮ่อครั้งนั้น เมืองกาฬสินธุ์จึงมีอุปฮาด(หนู)พร้อมด้วยราชวงศ์(คำ)ราชบุตร(งวด)และกรมการเมืองคอยรักษาราชการเมืองกาฬสินธุ์ต่อไป

•ปี พ.ศ.2429 เกิดทัพโจรอ้ายฮ่อมาบุกถึงเมืองเวียงจันทน์ พระยามหาอำมาตย์(หรุ่น)แต่งให้พระเจริญราชเดช(ฮึง) ผู้ว่าราชการเมืองมหาสารคามเป็นแม่ทัพหน้า ราชบุตร(เสือ)เมืองร้อยเอ็ด เป็นนายกองคุมไพร่พลไปเข้ากองทัพเจ้าพรหมเทวาฯ เมืองอุบลและพระยาไชยสุนทร(พั้ว) ผู้ว่าราชการเมืองกาฬสินธุ์ คุมไพร่พลไปร่วมทัพกันที่เมืองหนองคาย พร้อมคุมไพร่พลยกข้ามแม่น้ำโขง ข้ามน้ำแกว่ง ห้วยมะเลียว ไปตีทัพฮ่อซึ่งตั้งอยู่ ณ ค่ายสีถ่านค่ายโพนทา กำลังเข้ารบพุ่งกันอยู่ขณะนั้นอ้ายฮ่อแตกไปแต่ค่ายวัดจันและชิงเข้าค่ายสีถ่านค่ายโพนทา พระยาไชยสุนทร(พั้ว)ยกไปสะกัดรบอ้ายฮ่อ ณ ช่องประตูอ้ายฮ่อยกปืนยิงโดนพระยาไชยสุนทร(พั้ว)จนได้รับบาดเจ็บ ขณะราชบุตร(เสือ)เมืองร้อยเอ็ดถูกยิ่งที่มือขวาโลหิตไหล ไพร่พลเข้าพยุงเอาทั้ง 2 หนีพ้นครั้นอยู่ได้ 3 วัน อ้ายฮ่อก็แตกกระจัดกระจายออกจากค่ายหนีไป จับตัวได้บ้างหนีไปได้บ้าง

•ปี พ.ศ.2430 กรมการเมืองกาฬสินธุ์มีใบบอกแจ้งว่าพระไชยสุนทร(หนู)อุปฮาดและพระโพธิสาร(คำ)ราชวงศ์ ได้ถึงแก่กรรมลง ส่วนพระยาไชยสุนทร(พั้ว) ผู้ว่าราชการเมืองยังติดช่วยราชการศึกฮ่อที่เมืองหนองคาย พระยามหาอำมาตย์(หรุ่น) จึงได้เดินทางมาตรวจราชการที่เมืองกาฬสินธุ์ ยังคงเหลือราชบุตร(งวด)รักษาราชการเมืองกาฬสินธุ์อยู่ในขณะนั้น จึงไปกราบนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลองที่ริมน้ำปาวซึ่งเดิมวัดร้างแล้วได้บัญชาให้อัญเชิญมาไว้ที่เมืองแต่ก็ได้อัญมาไว้ไม่จนถึงพระยาไชยสุนทร(เก) ผู้ว่าราชการเมืองกาฬสินธุ์ลำดับถัดมาได้อัญเชิญรอยพระพุทธบาทจำลองไปไว้ที่วัดกลางในปัจจุบัน

•ปี พ.ศ.2431 อุปฮาด(หงส์)เมืองแซงบาดาลได้ถึงแก่กรรมลงแลอุปฮาด(หงส์)เมืองภูแล่นช้างก็ได้ถึงแก่กรรมลง ท้าวทองสุกได้เป็นว่าที่”พระพิไชยอุดมเดช” ได้เป็นผู้รักษาราชการเมืองต่อมา ส่วนเมืองเมืองสหัสขันธ์ พระประชาชนบาล(มุ่ง)และอุปฮาด(โพธิสาร) ก็ถึงแก่กรรม ยังคงเหลือราชบุตร(แสง)รักษาราชการเมือง กรมการเมืองสหัสขันธ์จึงพร้อมกันมีใบบอกบอกมายังพระยามหาอำมาตย์(หรุ่น)ขอราชบุตร(แสง)เป็นที่”พระประชาชนบาล”เจ้าเมือง ฝ่ายพระราษฎรบริหาร(ทอง) ผู้ว่าราชการเมืองกมลาไสยทราบดังนั้นจึงรีบมีใบบอกล่วงหน้าไปยังพระยามหาอำมาตย์(หรุ่น) ชิงขอให้อุปฮาด(บัว)เมืองกมลาไสยเป็นที่”พระประชาชนบาล” พระยามหาอำมาตย์(หรุ่น)จึงให้มีตราจุลราชสีห์ ตั้งให้อุปฮาด(บัว)เป็นที่”พระประชาชนบาล”ย้ายที่ว่าการเมืองสหัสขันธ์มาตั้งอยู่ที่บ้าโคกแทน แต่อยู่ได้ไม่นานราษฎรเมืองสหัสขันธ์พากันร้องทุกข์ไปถวายสมเด็จพระน้องยาเธอฯกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ณ เมืองหนองคายกล่าวโทษอุปฮาด(บัว)ผู้รักษาเมืองสหัสขันธ์ว่ากระทำการกดขี่ข่มเหงขูดรีดเอาเงินจากราษฎร จึงรีบสั่งให้ไต่สวนพิจารณาได้ความจริง จึงโปรดเกล้าฯ ให้คืนเงินแก่ราษฎรและให้ถอดอุปฮาด(บัว)ออกจากตำแหน่งผู้รักษาเมืองสหัสขันธ์กลับไปอยู่เมืองกมลาไสยตามเดิม

•ปี พ.ศ.2433 พระยาไชยสุนทร(พั้ว) ผู้ว่าราชการเมืองกาฬสินธุ์ได้ล้มป่วยลงจากอาการบาดเจ็บเมื่อครั้งรบพุ่งกับฮ่อที่เมืองเวียงจันทน์ ขณะนั้นยังติดช่วยราชการศึกฮ่อที่เมืองหนองคาย สมเด็จพระน้องยาเธอฯกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม จึงโปรดเกล้าฯให้พระยาไชยสุนทร(พั้ว)ผู้ว่าราชการเมืองกาฬสินธุ์ยกทัพไพร่พลเมืองกาฬสินธุ์กลับมายังเมืองกาฬสินธุ์ตามเดิม ซึ่งก่อนหน้านี้ราชบุตร(งวด)ผู้รักษาราชการเมืองกาฬสินธุ์ได้ถึงแก่กรรมลงก่อนหน้านี้แล้ว กรมการเมืองจึงว่างลงหลายตำแหน่งไม่นานพระยาไชยสุนทร(พั้ว)ก็ได้ถึงแก่กรรมลง กรมการเมืองกาฬสินธุ์จึงว่าลงหลายตำแหน่ง มีเพียงแต่พระสินธุประชาธรรม(เก)ผู้เป็นบุตรของราชบุตร(งวด)ที่ยังคงรักษาราชการเมืองกาฬสินธุ์ในเวลาต่อ

ถึงแก่กรรม แก้

•พระยาไชยสุนทร(พั้ว) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 10 ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการป่วยบาดเจ็บจากแผลที่ได้รับจากกระสุนปืนเมื่อครั้งไปช่วยราชการศึกฮ่อที่เมืองหนองคาย รับราชการเป็นเจ้าเมืองสนองพระเดชพระคุณ 8 ปี ที่โฮงเจ้าเมือง ในเมืองกาฬสินธุ์ สิ้นประวัติพระยาไชยสุนทร (พั้ว) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ลำดับที่ 10 เพียงเท่านี้

ทายาท แก้

พระยาไชยสุนทร(โคตร)สมรสกับ คุณหญิงพูลเงินมีบุตร 8 คน ได้แก่

1)นางสิงห์

2)ท้าวเบ้า

3)นางเต้า

4)ท้าวเฮือง

5)นางเชือง

6)นางเคือง

7)นางเหลื่อม

8)นางหล้า

สายตระกูล แก้

ก่อนหน้า พระยาชัยสุนทร (พั้ว) ถัดไป
พระยาชัยสุนทร (โคตร)    
เจ้าเมืองกาฬสินธุ์,
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

(พ.ศ. 2426 - 2433)
  พระยาชัยสุนทร (เก)

อ้างอิง แก้