'ถะ 塔 เป็นคำเรียกสถูป เจดีย์แบบจีน ถะมีลักษณะคล้ายอาคารแปดเหลี่ยม ซึ่งหมายทิศ 8 ทิศ ทำซ้อนขึ้นไปหลายชั้น ชั้นบนสุดหลังคามีลักษณะแหลม ตรงฐานล่างอาจทำซุ้มไว้พระทั้ง 8 ทิศ สถูป Stupa เป็นสถาปัตยกรรมของอินเดียที่มีมาก่อนพุทธกาล โดยชาวอารยันจะมีการเผาศพแล้วเอากระดูกมาฝัง ถ้าเป็นศพบุคคลสำคัญ จะมีการก่อเนินดินให้สูงขึ้น มีการตั้งแท่นบูชาและฉัตรไว้ ส่วนบริเวณที่สร้าง ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางสี่แพร่ง พัฒนาเช่นว่านี้ ก่อให้เกิดสถูปขึ้นในเวลาต่อมา เมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าไปยังประเทศจีน สถาปัตยกรรมและความเชื่อแขนงนี้ก็ได้เผยแผ่ไปยังจีนด้วย วิวัฒนาการมาเป็น ถะ塔โดยการนำเอาพื้นฐานคติความเชื่อของลัทธิเต๋าของมาผสมผสาน ก่อให้เกิดเป็นเอกลักษณะของสถาปัตยกรรม เช่น รูปทรงโดยทั่วไปจะเป็นแปดเหลี่ยม ตำแหน่งแห่งที่ในการสร้างก็นำเอาศาสตร์ทางด้านฮวงจุ้ยมาประสม เช่น จะจัดวางไว้ในตำแหน่งการเรียนรู้ หรือ วิสัยทัศน์ ตำนาน ที่มาของความเชื่อ บ้างว่าสืบเนื่องมาจากในคราวกษัตริย์บู่อ๋อง แห่งราชวงศ์จิว ยกทัพไปตีกษัตริย์ติ๋ว (ก่อน พ.ศ.591) ในระหว่างทางได้มีเทพเจ้า 4 พระองค์มาขออาสาช่วยรบ กษัตริย์บู่อ๋องได้กล่าวขอบใจและขอให้ช่วยปกปักษ์รักษาให้ “ฮวง” (ลม) “เที้ยว” (ถูกต้อง) “โหว” (ฝน) “สุง” (ราบรื่น) คือ ให้ดินฟ้าอากาศเป็นไปโดยราบรื่นตามฤดูกาล ให้ราษฎรเป็นอยู่โดยปกติสุขก็เพียงพอ ไม่ต้องช่วยออกรบ ครั้นการยกทัพไปตีกษัตริย์ติ๋วเป็นผลสำเร็จ กษัตริย์บู่อ๋องจึงรับสั่งให้ตั้งศาลเจ้าบูชาเทพเจ้าทั้ง 4 พระองค์ และให้มีเครื่องหมายดังนี้ คือ องค์หนึ่งถือดาบ หมายถึงลม เพราะเวลาฟันดาบจะเกิดเป็นเสียงลม องค์หนึ่งถือพิณ เพราะการดีดพิณตามภาษาจีนออกเสียงว่า “เที้ยว”องค์หนึ่งถือร่ม หมายถึง ฝน และองค์หนึ่งถืองู เพราะคำว่า งูทะเล ออกเสียงว่า “สุง” แต่ต่อมาเนื่องจากงูไม่เป็นที่นิยมของสาธุชน จึงเปลี่ยนเป็นอุ้มเจดีย์แทน ความคิด คติความเชื่อเช่นว่าที่ก่อให้เกิดการสร้างถะ 塔 ขึ้นบริเวณศาสนสถานของชาวจีนสืบมา นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่า เจดีย์เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองในด้านทรัพย์สินเงินทอง ยศตำแหน่ง ส่วนใหญ่จะมี 7 หรือ 9 ชั้น https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%96%E0%B8%B0&espv=2&biw=1366&bih=662&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwj0kJq3pNXPAhXMro8KHV5NBYAQ_AUIBygC#imgrc=r-7MBOoWSy_D0M%3A