สถาปัตยกรรมเครือข่าย

แก้
Layer Name Data Unit Device Group
7 Application Data Gateway User Support
6 Presentation Data - User Support
5 Session Data - User Support
4 Transport Segment - Transport Support
3 Network Packet Router Network Support
2 Date Link Frame Switch Network Support
1 Physical Bit HUB Network Support

ส่วนประกอบของเครือข่าย

แก้

คอมพิวเตอร์

แก้
         คอมพิวเตอร์ มาจากภาษาละติน หมายถึง การนับ การคำนวณ ซึ่งพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้แก้ปัญหาต่างๆ โดยวิธีการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่่ใช้ในปัจจุบันนี้ถูกพัฒนามาจากลูกคิดของชาวจีนที่ในสมัยก่อนที่ใช้ลูกคิดในการคำนวณ และได้ถูกพัฒนาเป็นเครื่องคำนวณแบบกลไกที่สามารถบวกลบได้ แต่ไม่สามารถคูณ หาร รวมไปถึงการคำนวณสูตรทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้ 
         จนกระทั่งในปี ค.ศ 1945 ดร. จอห์น ฟอร์น นอยแมนน์ ได้ออกแบบหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ จนปัจจุบันนี้ได้พัฒนามาเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดและการประมวลผลต่างๆ ให้มีความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Network Interface Card (NIC)

แก้
         การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card:NIC) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การ์ดแลน เป็นแผนวงจรที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเครื่องลูกข่าย ทำหน้าที่ แปลงสัญญาณและเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายเคเบิลเครือข่าย ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้

Operating System

แก้
          ระบบปฏิบัติการ เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ในการควบคุมและจัดสรรทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ นอกจากระบบปฏิบติการจะมีอยู่ในคอมพิวเตอร์แล้ว ระบบปฏิบัติการยังมีอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยควบคุมการทำงานต่างๆ บนโปรแกรมประยุกต์หรือเรียกอีกอย่างว่า แอพพลิเคชั่น เช่น Windows Phone,ios หรือ Android เป็นต้น ซึ่งระบบปฏิบัติการนอกจากจะเป็นตัวกลางและควบคุมการทำงานแล้ว ระบบปฏิบัติการยังมีหน้าที่อีกมากมายหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
          - ติดต่อกับผู้ใช้
          - ควบคุมดูแลอุปกรณ์
          - จัดสรรทรัพยากรของระบบ
          - ติดตามสถานะของแต่ละทรัพยากร
          - การเรียกทรัพยากรกลับคืนสู่ระบบ เมื่อผู้ใช้ใช้ทรัพยากรเสร็จแล้ว

Network Device

แก้

HUB

          HUB (ฮับ) หรือเรียกอีกอย่างว่า รีพีทเตอร์ (Repeater)เป็นอุปกรณ์สื่อกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ โดยฮับจะมีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุกๆ พอร์ตที่เหลือ โดยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฮับแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ Active Hubs และ Passive Hubs

Switch

         Switch (สวิตซ์) เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาต่อจากฮับและมีความสามารถมากกว่าฮับ โดยการทำงานของ Switch จะส่งข้อมูลออกไปเฉพาะพอร์ตที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีปลายทางเท่านั้น ไม่ส่งกระจายข้อมูลไปยังทุกพอร์ต ทำให้สวิตซ์ไม่มีปัญหาการชนกันของข้อมูล สวิตซ์จะทำงานอยู่ในชั้นดาต้าลิงค์เลเยอร์ โดยจะรับผิดชอบในการเชื่อมโยงข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากการติดต่อจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดหนึ่งและความสมบูรณ์ของการรับส่งข้อมูล

Router

         Router (เราน์เตอร์) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่าย ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้มากกว่า 1 เครื่องในเวลาเดียวกัน ซึ่งหน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุดและยังเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น แต่หากเส้นทางที่จะเชื่อมต่อเกิดขัดข้อง Router จะทำการหาเส้นทางส่งข้อมูลใหม่ทันที

Gateway

         Gateway (เก็ตเวย์) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน และใช้สื่อส่งข้อมูลต่างชนิดกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด

Firewall

          Firewall (ไฟร์วอล) เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ให้ถูกโจมตีจากผู้ไม่หวังดีหรือการสื่อสารที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รวมถึงเครือข่าย LAN  ซึ่งในปัจจุบันนี้ Firewall จะมีทั้งอุปกรณ์ที่เป็น Hardware และ Software โดย Firewall จะมีหน้าที่เป็นกำแพงและตัวกรองข้อมูล ตรวจสอบการเชื่อมต่อต่างๆ เพื่อไม่ให้ข้อมูลที่ไม่ปลอดภัยเข้าไปได้ อีกทั้ง Firewall จะช่วยป้องกันแฮกเกอร์หรือซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายเข้าถึงคอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและยังสามารถหยุดคอมพิวเตอร์ไม่ให้ส่งซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้อีกด้วย

สายสัญญาณ

แก้

สายโคแอกเชียล

แก้
           สายโคแอกเชียล มักเรียกสั้นๆ ว่า สายโคแอกช์ จะมีแบนด์วิดธ์ที่สูงกว่าสายคู่บิดเกลียว โครงสร้างของสายโคแอกเชียลจะมีตัวนำที่มักทำด้วยทองแดงอยู่แกนกลาง ซึ่งสายทองแดงจะถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติกและจะมีชีลด์ที่เป็นเส้นใยโลหะถักห่อหุ้มอีกชั้นนึง ก่อนจะหุ้มด้วยเปลือกนอก สายโคแอกเชียลเป็นสายที่ป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี 

ข้อดีของสายโคแอกเชียล

           ข้อดี
           - สามารถเชื่อมต่อได้ในระยะไกล
           - สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
           ข้อเสีย
           - มีราคาแพง
           - สายสัญญาณมีขนาดใหญ่
           - การติดตั้งหัวเชื่อมต่อ มีความยุ่งยาก

สายคู่บิดเกลียวและการเข้าสาย

แก้
           สายคู่บิดเกลียว เป็นสายที่นำมาใช้งานบนเครือข่ายแลน ซึ่งภายในสายจะประกอบไปด้วยสายทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนป้องกันที่มีหลากสีและนำมาถักกันเป็นเกลียวคู่ โดยจำนวนรอบของการถักเป็นเกลียวต่อหนึ่งหน่วยจะยาว 1 เมตร หรือ 1 ฟุต โดยที่รอบถักเกลียวแน่นมากเท่าไร จะยิ่งสามารถช่วยลดสัญญาณรบกวนได้ดียิ่งขึ้น ทำให้การส่งข้อมูลมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับสายคู่บิดเกลียวจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ
          1. สาย UTP เป็นสายที่ถูกห่อหุ้มด้วยเปลือกพลาสติก ไม่มีชีลด์ห่อหุ้มสายสัญญาณ จึงส่งผลให้สายชนิดนี้ถูกรบกวนได้ง่าย แต่ก็เป็นสายที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด โดยระดับคุณภาพของสาย UTP จะมีด้วยกัน 7 ประเภท โดยใช้คำย่อว่า CAT แล้วตามด้วยหมายเลขที่แสดงถึงระดับคุณภาพของสาย
          2. สาย STP เป็นสายที่ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท IBM ด้วยการนำมาใช้บนเครือข่ายไอบีเอ็มโทเค็นริง ซึ่งทางบริษัทมีการกำหนดเกรดของสายเป็นชนิด Type 1 - Type 9 

ข้อดีและข้อเสียของสายคู่บิดเกลียว

          ข้อดี
          - มีราคาถูก
          - ง่ายต่อการนำไปใช้งาน
          ข้อเสีย
          - มีความเร็วจำกัด
          - สามารถใช้ได้แค่ระยะทางสั้นๆ
          - ถ้าเป็นสายแบบไม่มีชีลด์ จะไวต่อการถูกสัญญาณรบกวนจากภายนอก

การเข้าสาย

          แบบตรง
          1.ขาว-ส้ม  2.ส้ม  3.ขาว-เขียว  4.น้ำเงิน  5.ขาว-น้ำเงิน  6.เขียว  7.ขาว-น้ำตาล  8.น้ำตาล
          แบบไขว้
          1.ขาว-เขียว  2.เขียว  3.ขาว-ส้ม  4.น้ำเงิน  5.ขาว-น้ำเงิน  6.ส้ม  7.ขาว-น้ำตาล  8.น้ำตาล

สายใยแก้วนำแสง

แก้
          สายใยแก้วนำแสง หรือเรียกอีกอย่างว่า สายไฟเบอร์ออปติก เป็นสายที่มีลักษณะโปร่งแสง มีรูปทรงกระบอก ภายในตันมีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์แต่มีขนาดเล็กกว่า เป็นสายสัญญาณที่เดินทางด้วยความเร็วแสง 

ข้อดีและข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง

          ข้อดี
          - มีการลดทอนของสัญญาณต่ำ
          - ไม่มีการรบกวนและเป็นอิสระของสัญญาณไฟฟ้า
          - มีแบนด์วิดธ์สูง
          - มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา
          - มีความทนทาน ปลอดภัย และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
          ข้อเสีย
          - เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย
          - การเดินสายต้องมีความระมัดระวัง
          - มีราคาสูง
          - การติดตั้งต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญ

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย

แก้

รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Peer-to-Peer

          Peer-to-Peer (เพียร์ ทู เพียร์)  เป็นเครือข่ายแบบเสมอภาค โดยไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องศูนย์กลางบริการโฑดยเฉพาะ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีสิทธิ์เท่าเทียมกันหมด

ข้อดีและข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer

          ข้อดี
          - ลงทุนต่ำ
          - เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็ก
          - ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ดูแลระบบ
          - สามารถติดตั้งได้โดยง่าย
          ข้อเสีย
          - ระบบรักษาความปลอดภัยค่อนข้างต่ำ
          - การสำรองข้อมูลเป็นไปได้ยาก
          - มีข้อจำกัดในด้านการขยายเครือข่าย
          - การจัดการบัญชีผู้ใช้ค่อนข้างยาก

รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Client / Server

          การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไคล์เอนต์เซิร์ฟเวอร์ เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นเครื่องศูนย์กลางบริการข้อมูลโดยเฉพาะ

ข้อดีและข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ Client / Server

          ข้อดี
          - มีระบบความปลอดภัยสูง
          - มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ
          - สามารถสำรองข้อมูลได้โดยง่าย
          - มีอุปกรณ์ เครื่องมือ และยูทิลิตี้โปรแกรม สนันสนุนการใช้งานค่อนข้างมาก
          ข้อเสีย
          - ต้องมีผู้ดูเชี่ยวชาญในการจัดการดูแลระบบทั้งหมด
          - การลงทุนสูง

LAN Technology

แก้

BUS TOPOLOGY

แก้
          เป็นเครือข่ายที่มีการจัดรูปแบบง่าย จะมีสายเคเบิลเส้นหนึ่งที่นำมาใช้เป็นสายแกนหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นกระดูกสันหลัง โดยทุกๆ โหนดบนเครือข่ายจะต้องเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับสายเส้นนี้

ข้อดีและข้อเสียของ BUS TOPOLOGY

          ข้อดี
          - มีรูปแบบโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ติดตั้งง่าย
          - สามารถเพิ่มจำนวนโหนดได้โดยง่าย
          - ประหยัดสายสื่อสาร เนื่องจากมีสายหลักเพียงเส้นเดียว
          ข้อเสีย
          - หากสายเคเบิลที่เป็นสายแกนหลักเกิดชำรุด จะส่งผลให้เครือข่ายหยุดชะงักทันที
          - หากเกิดข้อผิดพลาดจะค้นหาข้อผิดพลาดได้ยาก
          - โหนดแต่ละโหนดบนเครือข่ายมีระยะห่างตามที่กำหนด

STAR TOPOLOGY

แก้
          เป็นเครือข่ายที่มีอุปกรณ์ฮับเป็นเครื่องศูนย์กลางความคุมสายสื่อสารทั้งหมด โดยทุกๆ โหนดบนเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงสายสื่อสารผ่านฮับ

ข้อดีและข้อเสียของ STAR TOPOLOGY

          ข้อดี
          - มีความคงทนสูงมาก
          - การจัดการดูแลง่ายและสะดวก
          ข้อเสีย
          - สิ้นเปลืองสายเคเบิล เนื่องจากต้องใช้สายเท่ากับจำนวนเครื่อง
          - การเพิ่มโหนด เนื่องจากจะต้องดูว่ามีพอร์ตว่างให้เชื่อมต่อไปยังเครื่องปลายทางได้
          - หากฮับเกิดการชำรุดจะส่งผลต่อระบบทั้งหมด

RING TOPOLOGY

แก้
          เป็นเครือข่ายที่โหนดต่างๆ จะมีการเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดหนึ่งตามลำดับ จนกระทั่งโหนดแรกและโหนดสุดท้ายเชื่อมโยงถึงกัน

ข้อดีและข้อเสียของ RING TOPOLOGY

          ข้อดี
          - โอกาสในการส่งข้อมูลมีความเท่าเทียมกัน
          - ประหยัดสายสัญญาณ
          - ง่ายต่อการติดตั้ง เพิ่ม และ ลดจำนวนโหนด
          ข้อเสีย
          - หากวงแหวนเกิดชำรุดจะส่งผลต่อระบบทั้งหมด
          - หากเกิดการขัดข้องจะตรวจสอบได้ยาก

METH TOPOLOGY

แก้
          เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันแบบจุดต่อจุด ซึ่งแต่ละโหนดมีลิงก์สื่อสารเป็นของตัวเอง

ข้อดีและข้อเสียของ METH TOPOLOGY

          ข้อดี
          - ไม่มีโหนดใดมาแชร์ใช้งาน
          - มีความปลอดภัย
          - ระบบมีความทนทานต่อความผิดพลาด
          ข้อเสีย
          - เป็นเครือข่ายที่สิ้นเปลืองสายสัญญาณมากที่สุด

WAN Technology

แก้
          Circuit Switching เป็นเทคนิคในการสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เมื่อมีการเชื่อมต่อกันจะสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้อื่นจะไม่สามารถแทรกเข้ามาได้เลย จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปลดวงจรออก
         
          Packet switching เป็นเทคนิคในการแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม (Packet) โดยที่แต่ละกลุ่มจะมีความยาวเท่ากัน (ปกติ 100บิต) และข้อมูลจะหาทิศทางเดินไปได้เอง โดยที่สายหนึ่งๆ จะสามารถใช้กันได้หลายคน เมื่อถึงที่ปลายทางข้อมูลก็จะกลับ ไปรวมกัน

IP ADDRESS

แก้

คลาสของหมายเลขไอพี

           ไอพีแอดเดรส จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ NetID ที่ทำหน้าที่คอยชี้ระบุเครือข่ายที่คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ และ HostID จะชี้ระบุตำแหน่งอุปกรณ์ ซึ่งไอพีแอดเดรสเป็นเพียงลอจิคัลแอดเดรสที่ไม่ใช่หมายเลขที่ใช้อ้างอิงโฮสต์ใดดฮสต์หนึ่ง แต่เป็นการอ้างอิงถึงตำแหน่งของโฮสต์และเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ จึงมีการแทนเครื่องหมายในรูปแบบของเลขฐานสิบและใช้จุดทศนิยมคั่น ซึ่งรูปแบบของคลาสที่ใช้งานมีอยู่ 5 รูปแบบ ดังนี้
            คลาส A มีจำนวนเครือข่าย 126 เครือข่ายและมีจำนวนโฮสต์ที่เชื่อมต่อมากถึง 16,777,214 โฮสต์ ซึ่งคลาส A จะมีจำนวนเครือข่ายน้อย แต่จำนวนโฮสต์จะมีมาก
            คลาส B มีจำนวนเครือข่าย 16,382 เครือข่ายและมีจำนวนโฮสต์ที่เชื่อมต่อ 65,634 โฮสต์ โดยคลาส B จะมีจำนวนเครือข่ายปานกลาง และจำนวนโฮสต์ปานกลางเช่นกัน
            คลาส C มีจำนวนเครือข่าย 2,097,150 เครือข่ายและมีจำนวนโฮสต์ที่เชื่อมต่อ 254 โฮสต์ โดยคลาส C จะมีจำนวนเครือข่ายมาก และจำนวนโฮสต์ที่เชื่อมต่อน้อย ซึ่งในปัจจุบันคลาส C เป็นคลาสที่นิยมใช้มากที่สุด
            คลาส D เป็นคลาสที่ไม่มีการกำหนดหมายเลขเครือข่าย และถูกสงวนไว้สำหรับเป็นมัลติคาสต์
            คลาส E เป็นคลาสที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานแต่จะถูกสงวนไว้ใช้งานในอนาคต

Subnet

            เป็นการแบ่งส่วนเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อยๆ เพื่อให้ใช้งานแอดเดรสได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยทั่วไปซับเน็ตมาสก์จะมีขนาด 32 บิต ซึ่งการออกแบบเครือข่ายจำเป็นจะต้องระบุซับเน็ตมาสก์ เพื่อให้รู้ว่าแอดเดรสนี้มีการแบ่งส่วนหมายเลขเครือข่ายและส่วนของหมายเลขโฮสต์อย่่งไร 

Private IP

            หมายเลข IP Address"Private IP" คือหมายเลขไอพีเครื่อง แต่ละเครื่อง ในองค์กร หน่วยงาน โดยกำหนด ขึ้นมาเองเพื่อใช้ในองค์กรนั้นๆ เพื่อการสื่อสารภายใน ระบบเครือข่ายแลน หรือ อินทราเน็ต ภายในเท่านั้นโดยสามารถกำหนดได้ 2 รูปแบบคือ
            1. กำหนดแบบ Dynamic วิธีนี้คอมพิวเตอร์ หรือ DHCP Server จะทำหน้าทีกำหนดหมายเลข IP และจ่ายเลขIPให้กับระบบคอมพิวเตอร์ในกรุ๊ปนั้นหรือเรียกการจ่ายไอพีแบบนี้ว่า (Automatic Private IP Address)
            2. กำหนดแบบ Static เป็นวิธีการกำหนดไอพีแอดแดรสแบบคงที่ โดยผู้ติดตั้งระบบ ทำหน้าที่กำหนด หมายเลข IP Address ให้แต่ละเครื่อง โดยห้ามกำหนด IP ซ้ำกัน หรือนอกเหนือจาก Work Group

Public and Private IP Address

            ความหมายของ Public IP คือ ทุกครั้งที่เราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เครื่องของเราจะถูกกำหนดหมายเลข IP Address จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่เราใช้งานอยู่ โดยแต่ละครั้งที่เชื่อมต่อจะได้หมายเลข IP ไม่ซ้ำกัน เช่นเมื่อเชื่อมต่อครั้งแรกอาจได้หมายเลข IP เป็น 203.113.40.130 แต่เมื่อสายหลุด แล้วทำการเชื่อมต่อใหม่จะได้รับหมายเลข IP เป็น 203.113.50.159 ซึ่งหมายเลข IP ที่ได้รับจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต จะถุกเรียกว่าเป็น Public IP หรือเรียกง่ายๆ ว่า IP จริง
            ความหมายของ Private IP คือคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย LAN เพื่อใช้งานตามบ้านหรือบริษัท ต่างๆ จะถูกกำหนดหมายเลข IP โดย ผู้ดูแลระบบนั้นๆ(ADMIN)เช่นหากต้องการนคอมพิวเตอร์ 5 เครื่องมาเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเล็กๆ เราก้ต้องกำหนดหมายเลข IP ให้คอมพิวเตอร์ทั้ง5เครื่อง โดยแต่ละเครื่องต้องได้รับหมายเลขไอพีไม่ซ้ำกัน ซึ่งการกำหนดหมายเลข IP ในแต่ละเครื่องในเครือข่ายเราหมายเลข IP นี้จะถูกเรียกว่า Private IP หรืออย่างง่ายๆว่า IP ปลอม

Routing Protocol

แก้

หลักการทำงานของเราท์เตอร์

            เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่าบริดจ์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันคล้ายกับสวิตช์แต่จะมีส่วนเพิ่มเติมขึ้นมาคือ เราเตอร์สามารเชื่อมต่อ LAN ที่ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน แต่ใช้สื่อส่งข้อมูลหรือสายส่งต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้รับส่งข้อมูลแบบ UTP เข้ากับ Ethernet อีกเครือข่ายหนึ่งที่ใช้สายข้อมูลแบบ coaxial cable ได้

Routing Table

            เป็นตารางข้อมูลของเส้นทางการส่งผ่านข้อมูลเพื่อใช้พิจารณาการส่งผ่านข้อมูลซึ่งในการได้มาของ Routing table มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ

Static Route

            คือ การเพิ่มเส้นทางใน Routing Table ด้วยผู้ดูแลเนตเวิร์คเพื่อบอกให้เราเตอร์ทราบว่าถ้าต้องการจะส่งข้อมูล ไปที่ Subnet Address ใดจะต้องส่งผ่าน Router ตัวไหน ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้ดูแลเนตเวิร์ค เข้ามาจัดการทั้งหมดซึ่งเหมาะสาหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก รักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่าข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้นและช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก

Dynamic Route

            เป็นการใช้ ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมากับ Router เพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการเลือกเส้นทางระหว่างRouter หลักการทำงานคือ  router จะส่ง routing table ที่สมบูรณ์ของตัวเอง ให้กับ Router เพื่อนบ้าน เรียกว่ามี Routing Protocol ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ใน router เลย เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่เพราะRouter สามารถจัดการหาเส้นทางเองหากมีการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายเกิดขึ้น โดย Routing Protocol จะมี  Distance Vector และ Link State ซึ่ง routing protocol ทั้งสองประเภทจะมีจุดประสงค์ที่เหมือนกันก็คือ การทำให้เราเตอร์ปัจจุบันมีตาราง routing table ที่ประกอบด้วยเส้นทางที่ดีที่สุดที่สามารถส่งข้อมูลไปถึงซับเนตแอดเดรสปลายทางทั้งหมดได้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือวิธีการที่จะทำให้จุดประสงค์ข้างต้นลุล่วงไปได้

อ้างอิง

แก้

[1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12]

  1. http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page11.htm
  2. http://www.krumontree.com/ebook4/files/chap3-1.htm
  3. https://sites.google.com/site/wiparat0001/bth-thi-hnung
  4. http://data32042010.tripod.com/b3.htm
  5. http://narisa2203.blogspot.com/2012/12/nic-network-interface-card-lan-lan-2-8.html
  6. https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89:Yu%27u_Yupapan&action=submit
  7. https://sites.google.com/site/kangtan75/mk-pants/habelea-switch-1
  8. http://www.med.cmu.ac.th/eiu/informatics/COMM/Life/Net%20work/hub.htm
  9. https://yyweb123.wordpress.com/2011/09/03/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%8B%E0%B9%8C-switch/
  10. http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan9.htm
  11. http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/firewall/
  12. http://nooplemonic.exteen.com/20090706/circuit-switching-packet-switching