อุตรดิตถ์ ชื่อที่เก่าแก่ที่สุดคือ ทุ่งยั้ง มีกล่าวในพระไตรปิฎก คัมภีร์สุตตันตปิฎกเรื่องทุยังคนิทาน กล่าวว่าเมื่อพระเจ้าเสด็จไปยังทุ่งยั้งนั้น พระเจ้าจึงให้พระอานนท์กับสงฆ์ทั้งหลายหยุดยังทุ่งยั้ง แต่ตถาคตเข้าไปสู่อาฬวกยักษ์เพื่อเทศนาโปรด    ใน พ.ศ. 500 ฤาษีสัชชนาไลยและฤาษีสิทธิมงคล ได้สร้างบ้านแปลงเมืองสวรรคโลกให้พระยาธรรมราชาเป็นผู้ครองนคร บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง พระยาธรรมราชา จึงโปรดให้สร้างนครลูกหลวงโดยให้พระโอรสเจ้าธรรมกุมารยกทุ่งยั้งเป็นกัมโพชนครแล้วให้ครองเมือง พระโอรสเจ้าโลกกุมารเป็นพระยาศรีธรรมาโศกราชครองเมืองหริภุญชัย และเจ้าสีหกุมารครองนครพิชัยเชียงแสนทั้งสี่นครร่วมมือกันยกเป็นอาณาจักรสยามสุโขทัย นอกจากนี้ยังปรากฏชื่ออีกว่าเป็นนครแสนหวี บันทึกจากราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นว่าเสียม(เป็นคำที่จีนใช้เรียกสยามสุโขทัย)ได้พาทูตโรมันมาติดต่อกับจีน ทางพระราชสำนักจีนได้พระราชทานของตอบแทนเป็นอันมากมีร่องรอยของนครแสนหวีที่จังหวัดอุตรดิตถ์บ้านป้าของผู้เขียนที่สวนผักคลองโพปรับพื้นดินหน้าบ้านได้เจอดาบจีนและกาน้ำชาที่มีลักษณะเก่ามากไม่เคยเห็นดาบและกาน้ำชาแบบนี้มาก่อนที่ดาบมีตัวอักษรจีนแบบโบราณเรียงเป็นแถวสิบกว่าตัวก็นำของสองชิ้นนี้ไปให้กรมศิลปากร กรมศิลป์มีหนังสือตอบมาว่าเป็นของพระราชทานจากราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นตรงกับบันทึกของจีนและผู้เขียนไปอ่านหนังสือประวัติศาสตร์พม่าของอาจารย์ไพโรจน์ โพธิ์ไทรว่าเสียมหรือสยามส่งฑูตไปจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นไปจากเมืองแสนหวี(รัฐฉานในพม่า)แต่ในรัฐฉานนั้นไม่มีหลักฐานใดๆเลยกลับพบหลักฐานของใช้ที่เป็นของพระราชทานในราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นที่คลองโพและที่นี้ก็ได้เคยขุดพบกลองมโหรทึกปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ที่ตั้งของคลองโพอยู่ติดเมืองทุ่งยั้งชื่อทุ่งยั้งนี้ปรากฏในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยที่นี่จึงเป็นสถานที่สยามสุโขทัย(เสียม)ที่เป็นศูนย์กลางการค้าโบราณมีเส้นทางการค้าจากอินเดียผ่านทางมะละแหม่งเข้าแม่สอดสุโขทัยอุตรดิตถ์(คลองโพ)ออกลาวทางด้านแขวงไชยบุรีขนส่งสินค้าลงเรือใช้แม่น้ำโขงพาสินค้าขึ้นไปตอนใต้ของจีนเมืองหลวงของจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นก็อยู่ทางตอนใต้ของจีน การค้าในสมัยพุทธศตวรรษที่6 นี้การเดินเรือจากอินเดียมาค้าขายเป็นเรือสำเภาลำเล็กๆเดินเลาะเลียบชายฝั่งมหาสมุทรการใช้เส้นทางการค้าตามที่กล่าวมานี้จึงเป็นเส้นทางที่ดีที่สุดทำให้คลองโพเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองเป็นถึงมหานคร เมืองเก่าแก่ที่สุดของที่นี่คือทุ่งยั้งหรือกัมโพชนครถูกสร้างในปีพศ.ห้าร้อยกว่าๆโดยเจ้าธรรมกุมารอายุของเมืองก็เก่าพอๆกันกับเมืองแสนหวีตามบันทึกราชสำนักจีนและที่เมืองแสนหวีนี้ชาวเมืองก็ถูกเรียกว่าชาวสยามด้วยผู้เขียนจึงไปค้นว่าเมืองแสนหวีมีชื่อเต็มว่าศิริรัตน์มหากัมพูชาโกสัมพีเรียกอีกชื่อหนึ่งว่านครโพธิ์ ดาบจีนและกาน้ำชาที่เราพบนี้อยู่ที่นี่คลองโพหรือนครโพธิ์และทุ่งยั้งนั้นชื่อกัมโพชคล้องชื่อกับมหากัมพูชา สถานที่นี่ที่แท้จริงก็น่าจะเป็นเมืองแสนหวีในสมัยโบราณ         ถ้าเป็นเมืองแสนหวีจริง     กล่าวกันว่าจะพบเมืองเชียงแสนอยู่ทางทิศใต้ในระยะทางไม่ไกลนักผู้เขียนก็ไปค้นดูอีกว่าเมืองที่สร้างในรุ่นราวคราวเดียวกับทุ่งยั้งและอยู่ทางใต้ก็พบว่าคือเมืองบริบูรณ์นครสร้างโดยเจ้าสีหกุมารถ้าดูพิกัดแล้วตรงกับเมืองพิชัยพอดีแล้วค้นต่อไปพบหลักฐานอีกว่าเมืองพิชัยนี้เรียกว่าเมืองพิชัยเชียงแสนในพงศาวดารเหนือตอนสร้างเมืองพิษณุโลก(กรมศิลปากร,2506 ก : 29)และในตำนานนครปฐมฉบับนายอ่องไวกำลัง กล่าวว่าพระเจ้าพิชัยเชียงแสนมีโอรสชื่อท้าวอู่ทอง(สุจิตต์ วงศ์เทศ,2545 : 59)ในเร็วๆนี้ผู้เขียนค้นการขอพระราชทานนามสกุลวิชัยขัคคะในสมัยรัชกาลที่6. พบว่าพระยาพิชัยเชียงแสนเป็นบุตรของพระยาพิชัยดาบหักเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรถึงสามแหล่งยืนยันเมืองพิชัยคือเมืองเชียงแสนที่สร้างโดยเจ้าสีหกุมารแล้วนำไปขยายเป็นตำนานพงศาวดารโยนกเป็นเมืองที่พระเจ้าสิงหนวัติสร้างขึ้น ชื่อผู้สร้างจึงคล้องกันแล้วถามว่ากษัตริย์พระองค์ใดที่ส่งฑูตไปจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นพศ.637มีหลักฐานจากพงศาวดารโยนกว่าพระเจ้าอชุตราชครองราชย์เป็นองค์ที่3ต่อจากพระเจ้าสิงหนวัติได้มีพระมหากัสปะเถระจากอินเดียนำกระดูกข้อพระกรและกระดูกไหปลาร้าหรือพระรากขวัญของพระพุทธเจ้ามาถวายปรากฏหลักฐานพระรากขวัญได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองฝางหรือสวางคบุรี(กรมศิลปากร,2506 : 26)แสดงว่าราชวงศ์พิชัยเชียงแสนได้แผ่อำนาจมาครองเมืองทุ่งยั้งหรือแสนหวีแล้วกระดูกข้อพระกรจะอยู่ที่ไหนผู้เขียนสันนิษฐานว่าอยู่ในพระบรมธาตุทุ่งยั้ง การติดต่อกับอินเดียในสมัยนั้นก็อาจมีชาวโรมันมาด้วยและคงได้พาฑูตชาวโรมันไปติดต่อกับราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นตามที่บอกเล่ามาแล้วดังนั้นในสมัยพระเจ้าอชุตราชนี้เองที่ทำให้การค้าที่ทุ่งยั้งนี้เจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งทุ่งยั้งหรือกัมโพชนครหรือเมืองแสนหวีจึงได้ถูกยกเป็นมหานครดังเรียกเมืองแสนหวีว่ามหากัมพูชาซึ่งก็คือกัมโพชมหานครนั่นเองและที่ตั้งมหานครนั้นก็คือคลองโพถ้าดูจากภาพถ่ายทางอากาศคลองโพเป็นเมืองโบราณทั่มีขนาดใหญ่มากคลองโพจะเชื่อมต่อกับคลองแม่พร่องไปถึงลับแลและคลองโพจะมีคลองแยกที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ออกทางหลังวัดอรัญไปจนถึงลับแลต่อกับคลองแม่พร่องพอดีรูปเมืองเป็นวงรีขนาดของเมืองประมาณ 15 ตารางกิโลเมตรเป็นเมืองโบราณที่ใหญ่มากเมืองที่เป็นที่ตั้งคลองโพก็คือทุ่งยั้งหรือเมืองแสนหวีนั่นเอง จากหลักฐานที่กล่าวมานี้ยืนยันอย่างหนักแน่นทั้งด้านโบราณคดีและลายลักษณ์อักษรว่าเมืองเชียงแสนและเมืองแสนหวีอยู่ที่ตรงนี้จึงได้ทำให้ที่นี่มีความเจริญรุ่งเรืองได้เป็นถึงเมืองมหานคร แต่ความเจริญเมื่อรุ่งเรืองถึงขีดสุดก็ตกต่ำลงเมืองเสื่อมสลายเพราะได้มีการค้นพบลมมรสุมทำให้เดินเรือจากอินเดียตรงไปแหลมมาลายูข้ามช่องแคบมะละกาไปค้าขายกับจีนได้โดยตรงเร็วกว่าและบรรทุกสินค้าได้มากกว่าทำให้แหลมมาลายูรุ่งเรืองทางการค้าบ้านเมืองที่นั่นมีความเจริญชาติอาหรับและอินเดียจึงขนานนามแหลมมาลายูว่าแหลมทองเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในคัมภีร์มหานิเทสกล่าวว่าใครอยากร่ำรวยให้มาค้าขายที่แหลมทองหรือสุวรรณภูมิแล้วเมืองเชียงแสนและเมืองแสนหวีที่เสื่อมโทรมจนกล่าวว่าถูกทำลายเป็นเมืองล่มจะเจริญรุ่งเรืองมาได้อีกหรือไม่ผู้เขียนจะนำมาบอกกล่าวต่อไป

                                แหลมทองหรือสุวรรณภูมิเป็นแหล่งขุดทองของพ่อค้าชาวอินเดีย ทำให้สุวรรณภูมิเป็นที่หมายปองของมหาอำนาจในขณะนั้นพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 มหาราชราชวงศ์คุปตะได้แผ่อำนาจเข้าครองอินเดียใต้และได้ขยายอิทธิพลมาสุวรรณภูมิเพื่อจะได้ครอบครองแบบเบ็ดเสร็จจึงต้องสร้างกองทัพม้าที่เคลื่อนที่เร็วเพื่อเข้าปราบปรามเจ้าเมืองเล็กๆและกษัตริย์แห่งสุวรรณภูมิ  สงครามครั้งนี้ใหญ่มากเรียกว่าสงครามม้า ทำความเดือดร้อนแก่พ่อค้าประชาชนชาวสุวรรณภูมิยืดเยื้อมาหลายสิบปี ทำให้พ่อค้าประชาชนจำนวนมากอพยพขึ้นเหนือมาพึ่งใบบุญกัมโพชมหานครซึ่งเดิมทีเป็นนครใหญ่อยู่แล้วก็ยิ่งทำให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นไปอีก ทุ่งยั้งหรือกัมโพชมหานครจึงเป็นศูนย์กลางการค้าแทนสุวรรณภูมิติดต่อกับจีนผ่านทางแม่น้ำโขง(แขวงไชยบุรี)หรือเดินเท้าผ่านเมืองหลวงพระบางเข้าธัญหัว(ญวณ)ลงเรือเข้าจีนและติดต่อกับอินเดียผ่านทางอ่าวเมาะตะมะ ทุ่งยั้งหรือกัมโพชมหานครจึงเป็นแหล่งรวมสรรพวิชาการทั้งหลายจึงได้สมญานามใหม่ว่าตักศิลามหานคร มหากษัตริย์ที่ครองนครนี้พระเจ้าสักรดำได้รับการยกย่องเป็นมหาราช (กรมศิลปากร,2506 : 3-7)เมืองตักศิลามหานครอยู่ที่ทุ่งยั้งจริงมีหลักฐานจากคำให้การชาวกรุงเก่า เมืองซึ่งพระมหากษัตริย์ประทัปอยู่มีเมืองชื่อตักกลงปูมีวงเล็บลายพระหัตถ์ว่าอยู่ที่ด่านนางพูน (คำให้การชาวกรุงเก่า,2544 :191)ที่เมืองทุ่งยั้งมีด่านที่เป็นช่องเขาเทือกเขาเดียวกับน้ำตกแม่พูนเป็นช่องทางที่จะติดต่อกับเมืองศรีสัชชนาลัย เมืองตักกลงปูจึงน่าจะเป็นทุ่งยั้งหรือกัมโพชมหานครซึ่งเป็นเมืองที่มีกษัตริย์ครองเมือง และมีหลักฐานอีกว่าในสมัยรัชกาลที่ 5.หลังจากพระยาไชยบูรณ์ถูกเงี้ยวฆ่าตายที่จวนเมืองแพร่ ร.5ได้แต่งตั้งน้องชายพระยาไชยบูรณ์ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองทุ่งยั้งบางโพให้เป็นพระยาวิชิตรักษาตักศิลาบุรินทร์นั่นคืออุตรดิตถ์มีอีกชื่อว่าตักศิลาบุรี พระเจ้าสักรดำมีเชื้อสายจากราชวงศ์ศรีลังกาทางสายพระมารดา มีพระอนุชาที่มีชื่อเสียงคือพระเจ้ามเหนทรวรมัน พระเจ้าสักรดำได้บวชเรียนจากสำนักสงฆ์โปลนวะ ศรีลังกากลับมาได้ถูกสถาปนาเป็นสมเด็จบุพโสหันภวาสังฆราชเจ้า      พระเจ้ากรุงสุวรรณภูมิที่เป็นพระญาติอัญเชิญไปกรุงสุวรรณภูมิได้ตั้งสำนักเพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนามีผู้ศรัทธามาแปลงบวชเป็นอันมาก พระเจ้ากรุงสุวรรณภูมิเสด็จสวรรคตไม่มีรัชทายาทเหลือเพียงพระธิดาองค์เดียว ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน มหาอำมาตย์จึงขอให้ลาสิกขามาอภิเศกกับพระธิดาและยกเมืองให้ครองมีพระนามว่าพระเจ้าภววรมันโดยนำพยางค์ท้ายบุพโสหันภวา มาตั้งเป็นพระนาม แต่ผู้คนทั่วไปนิยมเรียกว่าพระเจ้าสักรดำมหาราช พระองค์ได้แผ่แสนยานุภาพลงไปครอบครองแหลมทองจนถึงเกาะสุมาตราโดยอาจได้รับการสนับสนุนจากศรีลังกา(ตำนานสุวรรณปุรวงศ์)

                                พระเจ้าสักรดำมหาราชมีพระโอรสองค์โตพระนามว่าพระมหินทรได้ครองเมืองศรีโพธิ์(ไชยา)ในฐานะพระยุพราช (ธรรมทาส พานิช 2542: 65)พระองค์ได้สร้างเมืองศรีโพธิ์ให้เป็นศูนย์กลางอำนาจที่ยิ่งใหญ่ ราชสำนักจีนได้เปลี่ยนราชวงศ์เหลียงเป็นราชวงศ์สุย  พระเจ้าเฮี้ยงตี๋ ขึ้นเสวยราชย์ก็ได้ฟื้นฟูสัมพันธไมตรี ได้ส่งท่านฑูตจางชุ่น และท่านวังซุ่นเซ็ง เป็นหัวหน้าฑูตมายังเมืองศรีโพธิ์ ได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่ง ได้มีการส่งฑูตติดต่อกันไปมาหลายครั้ง ราชสำนักจีนได้บันทึกพระนามว่าพระเจ้า โห-มิ-โต ในรัชกาลของพระองค์นี้ ในปี พ.ศ.1234 หลวงจีนอีจิงได้ลงเรือสำเภาจากท่ากวางตุ้งมาแวะพักที่เมืองศรีโพธิ์เพื่อศึกษาวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ก่อนไปอินเดีย หลังจากกลับมาจากอินเดียก็ได้มาแวะพักเพื่อจัดการแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาจีน ในบันทึกของท่านกล่าวถึงพระเจ้า โห-มิ-โต ร่ำรวยด้วยการค้าสำเภาบ้านเมืองจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นกว่านครอื่นๆ ทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นมหาราช พระเจ้าสักรดำมีพระโอรสองค์เล็กคือพระยากาฬวรรณดิส ไปอภิเษกกับพระนางกุลประภาวดีพระธิดาของพระเจ้าหรรษาวรมันเจ้าเมืองอู่ทองจึงได้ไปสร้างบ้านแปลงเมืองอยู่ใกล้ๆเมืองอู่ทองพระยากาฬวรรณดิศจึงให้พราหมณ์ทั้งหลายยกพลไปสร้างเมืองละโว้ 9 ปีจึงแล้วเสร็จ

                                พระยากาฬวรรณดิศได้ปกครองบ้านเมืองละโว้ร่มเย็นเป็นสุขพสกนิกรหลั่งไหลมาพึ่งพระบารมี พระองค์ไม่มีพระโอรสพระนางกุลประภาวดีให้กำเนิดพระธิดามาหนึ่งองค์พระธิดามีผิวพรรณผุดผ่องสวยสะอาดงามเหมือนพระมารดา พระยากาฬวรรณดิศนึกถึงดอกจำปาที่เป็นสื่อสัมพันธ์ได้ชิดใกล้พระนางกุลประภาวดีจึงตั้งพระนามว่าพระนางจำปา คนทั่วไปจะเรียกว่าพระนางจาม ครั้นพระนางจามเติบใหญ่รูปโฉมโนมพรรณสวยดั่งพระมารดา มีจิตใจที่ใฝ่ในบุญกุศลกริยาก็สมดั่งกุลสตรี เป็นที่เลื่องลือไปแดนไกลพระรามเป็นพระโอรสของเจ้าเมืองมโหสถ (ปราจีณบุรี) มีความองอาจฉลาดเลิศล้ำเหนือกว่าพระโอรสองค์ใดๆทั้งสิ้น พระยากาฬวรรณดิศจึงยกพระธิดาจามเทวีให้อภิเศกด้วย พระรามได้ตั้งใจทุ่มเทปฏิบัติราชการถวายอย่างสุดความสามารถ ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจพระยากาฬวรรณดิศจึงยกให้เป็นพระยุพราช ด้วยความช่วยเหลือของพระรามพระโอรสของเจ้าเมืองมโหสถทำให้พระยากาฬวรรณดิศแผ่ขยายอำนาจเข้าครองเมืองยโสธรปุระ(เขมร)และได้พระนามใหม่ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่1นักประวัติศาสตร์ยอมรับว่าพระเจ้าชัยวรมันที่1 เป็นพระโอรสของพระเจ้าภววรมันหรือเป็นพระองค์เดียวกับพระเจ้าสักรดำมหาราช  ได้พบศิลาจารึกที่จังหวัดตาแก้ว(เขมร) กล่าวถึงพระนางกุลประภาวดีเป็นมเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่1 ภายหลังคงเกิดความยุ่งยากขึ้น เกิดจราจลแบ่งดินแดนเป็นสองส่วน เป็นเหตุให้พระนางจามเทวีนำผู้คนอพยพขึ้นไปเมืองหริภุญชัย ซึ่งก็คืออาณาจักรสยามสุโขทัยตามที่กล่าวไว้ข้างต้น สอดคล้องกับจารึกวัดขนัตจารึกที่พบที่สระบาราย กล่าวถึงปีพ.ศ. 1256 พระนางชัยเทวีได้ครอบครองดินแดนตอนเหนือ ที่ฝ่ายจีนเรียกว่าเจลละบก(มจ.สุภัทรดิศดิศกุล2535 :160-161) อาณาจักรเจลละบก จีนเรียกนครหลวงนี้ว่าเหวินถาน (Wen Tan=เวียงตักหรือตักศิลา)หรือเรียกอีกชื่อว่านครโฟชิ (Po-lou=นครโพธิ์)ซึ่งก็คือชื่อของทุ่งยั้งกัมโพชมหานครหรือนครแสนหวี อาณาจักรเจลละบกคืออาณาจักรสยามสุโขทัย พระนางจามเทวีเป็นพระธิดาของพระยากาฬวรรณดิศ ได้ขึ้นไปครองหริภุญชัย(สมัยสร้างเมืองมี สวรรคโลก นครหริภุญชัย ทุ่งยั้งกัมโพชนคร บริบูรณ์นคร รวมเรียกว่าสุโขทัย)และพระนางชัยเทวีก็ได้ขึ้นไปครองสุโขทัยด้วย พระยากาฬวรรณดิศคือพระเจ้าชัยวรมันที่1เป็นพระโอรสของพระเจ้าภววรมันหรือพระเจ้าสักรดำมหาราช พระนางจามเทวีจึงมีพระนามจริงในจารึกว่าพระนางชัยเทวีจึงเป็นพระธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่1 และได้ขึ้นไปครองสุโขทัยอาณาจักรดั้งเดิมของบรรพชน

                                พระเจ้าสักรดำมหาราชมีพระขนิษฐาคือพระนางโสมเทวีซึ่งได้อภิเษกกับฤาษีโสมสูตรมีผู้สืบเชื้อสายคือพระเจ้าปฤถิวีณวรมัน ผู้เป็นพระบิดาของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ซึ่งสืบราชวงศ์ต่อจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ผู้สร้างราชอาณาจักรกัมพูชายุคเมืองพระนคร จากหลักฐานที่กล่าวมาแล้วได้แสดงถึงสายสัมพันธ์ที่สืบเนื่องจากพิชัยเชียงแสนและทุ่งยั้งนครแสนหวี มาถึงละโว้และข้ามมาที่นครยโสธรปุระ เอกสารโบราณจึงได้กล่าวความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่าง สุโขทัย(พิชัยเชียงแสน-ทุ่งยั้งแสนหวี)ละโว้และกรุงยโสธร สืบเนื่องมาจนถึงสมัยสุโขทัยในรัชกาลพ่อขุนผาเมืองที่มีพระมเหสีเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์กรุงยโสธร  ที่แปลกมากแสนหวีมีชื่อเต็มว่า มหากัมพูชา เขมรก็นำไปเรียกในจารึกว่ากัมพุชเทศหรือประเทศกัมพูชา แสนหวีมีเมืองหลวงเรียกยโสธร เขมรก็นำไปเรียกนครหลวงว่าเมืองยโสธร ในคราวร.6 ได้เสด็จประพาสเมืองทุ่งยั้งทรงแปลกใจมากที่ข้าราชบริพารไม่ป่วยเจ็บไข้เลย ร.6 ทรงพระสุบินว่ามียักษ์ได้ติดตามรับใช้มาตั้งแต่เมืองทุ่งยั้งและยักษ์นี้มีชื่อว่าท้าวหิรัญ ร.6 จึงได้หล่อรูปแล้วประดิษฐานที่วังพญาไทมาจนถึงปัจจุบัน แสดงว่าท้าวหิรัญเป็นอาฬวกยักษ์ที่ยึดมั่นในพุทธศาสนาตรงกับเรื่องทุยังคนิทานที่เขียนมาในตอนต้น ผู้เขียน ผศ.วิชิต ดาราบถ

ธรรมทาส พานิช.(2542).ประวัติพุทธศาสนา สมัยศรีวิชัย.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์อรุณวิทยา.

สุจิตต์ วงษ์เทศ.(2545).พระปฐมเจดีย์ไม่ใช่เจดียแห่งแรก.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มติชน

สุภัทรดิศ ดิศกุล.มจ.(2535).ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึงพ.ศ.2000.กรุงเทพฯ:สมาคมประวัติศาสตร                                                  ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนสุดาสยามบรมราชกุมารี.

ศิลปากร,กรม.(2506).”พงศาวดารเหนือ”ประชุมพงศาวดาร เล่ม 1 .กรุงเทพฯ:องค์การค้าคุรุสภา.

อนันต์ อมรตัย.(2544).คำให้การชาวกรุงเก่า.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จดหมายเหตุ.