ผู้ใช้:Watroipi/ทดลองเขียน

วัดป่าร้อยปีหลวงพ่อวิริยังค์ ต.หินกอง อ.เมืองฯ จ.ราชบุรี

1. มูลเหตุการสร้างวัด

         เดิมที่ดินที่ได้ถวายเป็นวัดผืนนี้ นายประสิทธิ์ อุดมสถาผล ซื้อไว้เมื่อ พ.ศ.2538 เพื่อสร้างเป็นที่พักอาศัยในวัยเกษียณ เมื่อนายประสิทธิ์ถึงแก่อนิจกรรม กรรมสิทธิ์ที่ดินได้ตกเป็นของนางอังคณา อุดมสถาผล ภรรยา แต่ก็ไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินผืนนี้ จนถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ.2559 กรรมสิทธิ์ที่ดินจึงตกเป็นของบุตรชายทั้ง 5 คน

         นายองอาจ (บุตรคนโต) ได้เข้าเรียนหลักสูตรครูสมาธิ รุ่น ๔๐ สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขา ม.เอเชียฯ หนองแขม กรุงเทพ (ก.พ. ๖๐ ถึง ส.ค.๖๐) ขณะนั้นมีความศรัทธาในพระอาจารย์หลวงพ่อและหลวงปู่มั่นฯ มาก จึงได้เดินทางไปตามรอยพระสายวิปัสสนากรรมฐานสายหลวงปู่มั่นฯ พร้อมภรรยา ในวัดต่างๆ ในจังหวัดอุดรธานี - สกลนคร - นครพนม ได้พบเห็นและสัมผัสทั้งสถานที่หลวงปู่มั่น, พระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ รวมถึงพระสายวัดป่ากรรมฐาน เคยพำนัก และปฏิบัติ ก็ยิ่งเกิดความเลื่อมใส และได้คิดว่าหากชาตินี้มีโอกาสที่จะสร้างวัด ก็อยากจะสร้างวัดป่า สายหลวงปู่มั่นเท่านั้น

         ขณะที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับ นศ.ครูสมาธิ รุ่น ๔๑ (ซึ่งคุณปวีณาก็เรียนครูสมาธิ ที่ ม.เอเชีย ในรุ่นนี้ด้วย) ในขณะนั้น ก็อยู่ในช่วงรับมรดกพอดี โดยพี่น้องทั้ง ๔ คนก็ได้รับที่ดินแปลง จ.ราชบุรี นี้ด้วย. โดยคุณองอาจเห็นว่าสถานที่นี้มีความใกล้เคียงกับการจะสร้างวัดสักแห่งหนึ่ง. จึงเกิดความคิดว่าอยากจะถวายที่ดินแปลงนี้แก่พระอาจารย์หลวงพ่อ เพื่อสร้างวัดป่าฯ และอุทิศส่วนบุญนี้ให้แก่บิดา และมารดา.

ทั้งนี้จึงได้ตัดสินใจซื้อที่ดินแปลงนี้จากน้องๆ ทั้ง ๓ คนมาเป็นของตน และติดต่อขอบริจาคที่ดินแปลงนี้ให้พระอาจารย์หลวงพ่อฯ โดยมี อ.แม่วิยะดา แย้มสรวล และ อ.มาลัย บุนนาค ที่วัดธรรมมงคล แนะนำและพาไปพบพระครูปลัดมงคลวัฒน์ฯ ซึ่งพระครูปลัดฯ ท่านก็ได้รับที่ดินไว้พิจารณา ในวันที่ ๒๙ พ.ค.๒๕๖๑ (วันวิสาขบูชา)

วันที่ ๓๐ เม.ย.๒๕๖๒ พระครูปลัดมงคลวัฒน์, พระครูธรรมธรก้องนภา สุเมธโก และ พระมหาอภิชัย อภิชโย. ได้เดินทางมาสำรวจที่ดินพร้อมกับเจ้าของที่ดิน

วันที่ ๑ พ.ค. ๒๕๖๒ พระครูปลัดมงคลวัฒน์ และพระครูธรรมธรก้องนภาฯ  ได้เข้ากราบพระพรหมมงคลญาณ และถวายรายงานเรื่องที่ดินเพื่อสร้างวัด โดยพระอาจารย์หลวงพ่อฯ ได้พิจารณาแล้วก็ได้เมตตารับไว้ โดยตั้งชื่อว่า “วัดป่าร้อยปี หลวงพ่อวิริยังค์” และได้มอบหมายให้ครูบาก้องนภาฯ เป็นเจ้าอาวาส เพื่อสร้างและพัฒนาวัดฯ ต่อไป

พระครูธรรมธรก้องนภาฯ ได้เดินทางเข้าพำนักในที่ดินแปลงนี้ ในวันอาทิตย์ที่ ๕ พ.ค. ๒๕๖๒ พร้อมพระสงฆ์ อีก ๒ รูป โดยเข้ามาปักกรด และเริ่มปฏิบัติกิจสงฆ์ ได้แก่การออกบิณฑบาต  ทำวัตรสวดมนต์ อีกทั้งเริ่มค่อยๆ สร้างกุฏิสงฆ์ และเสนาสนะตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประกาศตั้งวัดป่าร้อยปีหลวงพ่อวิริยังค์ เป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563

2. ลักษณะทางกายภาพ/การจัดผังบริเวณวัดการแบ่งสัดส่วนการใช้พื้นที่ภายในวัด

         แนวคิดการแบ่งสัดส่วนพื้นที่

         วัดป่าร้อยปีหลวงพ่อวิริยังค์ มีพื้นที่ทั้งสิ้น 31 ไร่ เศษ มีแผนในการจัดการพื้นที่ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ เขตสังฆาวาส เขตพุทธาวาส และเขตที่พักผู้ปฏิบัติธรรมให้แยกออกจากกันชัดเจน เพื่อให้เกิดความเป็นสัปปายะ ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน

เขตสังฆาวาส

         อยู่ด้านหลังของวัดติดแนวเขา มีแนวคิดจะสร้างเป็นเสนาสนะป่า โดยแยกกุฏิสงฆ์ออกเป็นกุฏิเดี่ยว มีลานเดินจงกรมอยู่ภายในกุฏิ และปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่นเต็มพื้นที่ ปัจจุบันกำลังดำเนินการปลูกต้นไม้ด้วยวิธีปลูกต้นไม้ล้อม

         เขตพุทธาวาส

         เป็นเขตทำสังฆกรรมและปฏิบัติธรรม ประกอบไปด้วย อุโบสถ ศาลาปฏิบัติธรรม โรงครัว เป็นต้น โดยเสนาสนะที่สร้างแล้วเสร็จแล้วคือศาลา 100 ปี พระพรหมมงคลญาณ วิ. , โรงครัว

         เขตที่พักผู้ปฏิบัติธรรม

         เป็นเขตที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรม โดยจะสร้างเป็นห้องพัก มีห้องน้ำในตัว อยู่บริเวณมุมส่วนหน้าของวัด ซึ่งอยู่ด้านตรงกันข้ามกับเขตสังฆาวาส ทำให้การพักผ่อนของฆราวาสกับพระสงฆ์ไม่ปะปนกัน ปัจจุบันยังไม่ได้ร่างแบบก่อสร้าง

        


2. อุโบสถ

ด้วยวัดป่าร้อยปีหลวงพ่อวิริยังค์ เป็นวัดที่พระอาจารย์หลวงพ่อพระพรหมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เมตตาตั้งชื่อ คณะเจ้าภาพตลอดจนคณะสงฆ์มีความเห็นว่ารูปแบบของอุโบสถควรจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับวัดในเครือของพระอาจารย์หลวงพ่อ จึงได้สร้างอุโบสถให้มีรูปแบบเหมือนวัดศรีรัตนธรรมาราม จ.สมุทรปราการ เพียงแต่ย่อขนาดให้พอเหมาะกับการใช้งาน

โดยมีขนาดภายนอก    กว้าง 11 เมตร          ยาว 21 เมตร สูง 12.5 เมตร

ข­­นาดภายใน             กว้าง 7 เมตร            ยาว 14.6 เมตร

ซึ่งเป็นขนาดตามแบบมาตรฐานอุโบสถขนาดกลางของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 ชั้น

3. พระประธานประจำอุโบสถ

         พระประธานประจำอุโบสถวัดป่าร้อยปีหลวงพ่อวิริยังค์ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีขนาดหน้าตัก 2.89 เมตร สูงประมาณ 4 เมตร มีน้ำหนักโดยประมาณ 1,400 กิโลกรัม

         โดยพระประธานองค์นี้จะมีพุทธลักษณะและต้นแบบเดียวกันกับพระประธานในอุโบสถวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ และวัดศรีรัตนธรรมาราม จ.สมุทรปราการ

3. พระประธานประจำศาลา 100 ปี พระพรหมมงคลญาณ วิ.

         พระประธานประจำศาลา 100 ปี พระพรหมมงคลญาณ วิ. เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก 1.2 เมตร สูง 2.25 เมตร มีน้ำหนักโดยประมาณ 500 กิโลกรัม

         โดยพระประธานองค์นี้มีพุทธลักษณะและต้นแบบองค์เดียวกันกับองค์ที่ประดิษฐานอยู่ในพระมหาเจดีย์เกศแก้วจุฬามณี วัดศรีรัตนธรรมาราม จ.สมุทรปราการ