ผู้ใช้:Watnumjan/กระบะทราย

วัดน้ำจั้น

วัดน้ำจั้น ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๗ บ้านน้ำจั้น หมู่ที่ ๒ ตำบล เขาสามยอด อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๖ ไร่ ๑ งาน ๔๒ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือยาว ๓ เส้น ติดต่อกับหมู่บ้านทิศใต้ยาว ๓ เส้น ติดต่อกับหมู่บ้าน ทิศตะวันออกยาว ๑ เส้น ๗ วา ติดต่อกับหมู่บ้าน ทิศใต้ยาว ๓ เส้น ติดต่อกับหมู่บ้าน ทิศตะวันออกยาว ๒ เส้น ๗ วา ติดต่อกับหมู่บ้านพื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบสูง สภาพแวดล้อมเป็นภูเขา อาคารเสนาสนะต่างๆ มีอุโบสถกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สร้าง พ.ศ.๒๕๑๗ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญกวาง ๑๔ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สร้าง พ.ศ.๒๔๙๕ เป็นอาคารไม้ หลังใหม่เป็นอาคารคอนกรีต กุฏิสงฆ์ จำนวน ๔ หลัง เป็นอาคารไม้และครึ่งตึกครึ่งไม้ สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถ

หมู่บ้านแต่ล่ะหมู่บ้านล้วนมีประวัติความเป็นที่มาที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ว่าจะมีเรื่องราวเล่าขานต่อกันมาอย่างไร จนสุดท้ายกลายเป็นตำนานของหมู่บ้านนั้นๆ หมู่บ้านมานานตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษที่เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านน้ำจั้นตั้งแต่เริ่มแรกเล่ากันว่า ก่อนที่จะเป็นหมู่บ้านน้ำจั้นนั้น เดิมเป็นพื้นที่ไม่มีเจ้าของบรรพบุรุษชาวบ้านน้ำจั้นเดินทางมาเรื่อยๆ ก็เข้าจับจองเนื้อที่ประมาณ 200 - 300 ไร่ พื้นที่เดิมนั้นมีน้ำเจิ่งนอง ผู้คนในสมัยนั้นกลัวว่าน้ำท่วมจึงเดินทางไปเรื่อยๆ จนมาถึงบริเวณใกล้กับภูเขาซึ้งน้ำไม่สามารถมาถึงได้ จึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า น้ำจั้น น้ำจั้นเข้าใจความหมายว่าน้ำใกล้หมด ซึ่งเรียกสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน

นอกจากการตั้งถิ่นฐานดังกล่าวแล้วยังมีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่าหลังจาก พ.ศ.2310 สมเด็จพระยามกษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพไทย ได้ยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ เมืองศรีสัตนาคนหุต และเมืองหลวงพระบางได้กวาดต้อนชาวเมืองลงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามท้องถิ่นที่จังหวัดชั้นนอกและจังหวัดชั้นใน กลุ่มอพยพเข้ามาในเมืองชั้นในคือพวกที่มาจากหลวงพระบางได้แก่ลาวพวนบนนพบุรุษของชาวน้ำจั้น ประมาณ 7 – 8 ครอบครัว กลุ่มที่อพยพเข้ามากลัวคนไทยจะทำร้ายจึงหลบหนีเข้าไปในป่า ข้ามเขาเพื่อมาอยู่ห่างไกลผู้คนจนเข้ามาอยู่ในเขตอำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี และอพยพเข้ามาอยู่ในเขตอำเภอเมืองลพบุรีในปัจจุบัน

กล่าวกันว่าบรรพบุรุษชาวน้ำจั้น แต่เดิมนั้นกลัวคนไทยมาก จึงมักจะขู่เด็กๆ โดยใช้คำปรามเด็กที่ร้องไห้ว่า อย่าร้องไห้นะไทยมาแล้ว หรือตอนที่เด็กๆ จะไปเที่ยวก็ปรามว่า อย่าไปนะไทยจะจับ ในสมัยนั้นคำปรามเหล่านี้ใช้ได้ผลสำหรับเด็ก แต่คำปรามเหล่านี้ไม่ได้ยินและใช้ไม่ได้ผลมากกว่า 30 – 40 ปีแล้ว เพราะชาวน้ำจั้น ทุกๆคนอยู่อย่างเป็นสุขตลอดมาโดยตลอด ไม่เคยถูกรังแกจากคนไทย จนกลายเป็นคนไทย เชื่อชาติไทย สัญชาติไทยโดยสมบูรณ์ ความแตกต่างระหว่างคนไทยกับตนเองหายไปโดยไม่รู้ตัว แม้ตำนานที่เล่าจะแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างคนไทยดั้งเดิมกับชาวพวน แต่เดี๋ยวนี้ เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงตำนานที่คนรุ่นหลังนึกไม่ออก

วัดน้ำจั้น ศูนย์ร่วมใจชาวบ้าน

วัดเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนา เป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธ เป็นศาสนาสถานในการปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ และที่สำคัญไปกว่านั้นคือเป็นสถานที่พักพิงใจ ช่วยให้จิตของเราสงบสุข สุขุมเยือกเย็น และมีสมาธินอกจากวัดจะเป็นสถานที่เคารพสักการะของชาวพุทธแล้ว วัดยังเป็นแหล่งศึกษาความรู้ต่างๆ อีกมากมาย และเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้านอีกด้วย

สังคมไทยของเรานั้นนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยให้รู้จักบาปบุญ คุณโทษ รู้ถูกรู้ผิด รู้จักให้อภัย ไม่เอารักเอาเปรียบ แก่งแย่งชิงดีซึ่งกันและกัน ทำให้หมู่บ้าน และสังคมมีความสุข

หมู่บ้านน้ำจั้น ก็เช่นเดียวกัน ชาวบ้านยังเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดโดยมี วัดน้ำจั้น เป็นศูนย์รวมจิตใจ วัดน้ำจั้นตั้งอยู่หมู่ที่ 2 – 3 ต.เขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรีเป็นวัดที่อยู่ในสังกัดนิกายมหายานอาจารย์คำพัน เหมหอม ได้เล่าให้ฟังว่า พอชาวบ้านน้ำจั้น มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี้ ก็มีคนมาอาศัยอยู่มากมาย สาเหตุของการมีวัดน้ำจั้น มาเกิดขึ้นก็เพราะว่าลุงคำมีซึ้งเป็นคนในหมู่บ้านนี้ อาศัยอยู่กับภรรยา พอภรรยาเสียชีวิต ท่านก็มาบวชเป็นพระภิกษุ ชาวบ้านจึงช่วยกันสร้างกุฏิ ถวายและกันเขตวัดให้ แล้วก็ให้หลวงพ่อคำมีเป็นเจ้าอาวาสวัดน้ำจั้น หัวเรี่ยวหัวแรงที่ช่วยกันสร้าง วัดน้ำจั้น ขึ้นก็คือปู่เหลือก พ่อทิม พ่อทวน พ่อสอน บุคคลเหล่านี้ช่วยกันทำนุบำรุงวัด และมีบรรดาลูกหลานสืบทอดดูแลต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันวัด น้ำจั้น มีอาณาเขตบริเวณทั้งหมด 6 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา พื้นที่ล้อมรอบด้วยหมู่บ้าน ส่วนทางด้านทิศตะวันออก ติดกับถนนพิบูลสงคราม ลุงเฉลิม บุญส่ง กล่าวเพิ่มเติมว่าปัจจุบันวัดแห่งนี้มีพระภิกษุ ๙ รูป แม่ชี ๑ รูป หลังจากที่หลวงพ่อจันทร์ เจ้าอาวาสรูปสุดท้ายมรณภาพแล้ว พระครูสุวัฒน์ กิติสาร เจ้าอาวาสวัดสระมะเกลือ ได้มารักษาการเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน

วัดน้ำจั้นแห่งนี้มีเจ้าอาวาสมีเจ้าอาวาสหลายรูป แต่จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่กับข้อมูลประวัติวัดที่เคยมีผู้รวบรวมไว้ 2 แห่ง ไม่ตรงกัน จึงขอนำรายละเอียดจากทั้ง 2 แหล่งที่มา นำเสนอในภาคผนวกท้ายเรื่องนี้ วัดน้ำจั้น เป็นวัดของคนไทยเชื้อสายพวนที่มีความแตกต่างไปจากที่อื่น เพราะวัดพวนของหมู่บ้านน้ำจั้นนั้น มีโบสถ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร เนื่องจากสร้างด้วยหินโบสถ์หลังนี้สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2426 มีการผูกพัทธสีมาในปี พ.ศ.2458 พระครูปลัดอ่ำ ภัทราวุโธ เกิด พ.ศ.2419 มรณภาพ พ.ศ.2511 อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาพระงาม วัดมณีชลขันฑ์ เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี สระบุรี อ่างทอง ธรรมยุต ได้รับสมณศักดิ์เป็นที่พระเทพวรคุณ ได้มาสร้างพระประธานในโบสถ์ให้ และได้สร้างฝาผนังโบสถ์จนแล้วเสร็จด้วยในปี พ.ศ.2462 งบประมาณที่ใช้ในการสร้างฝาผนังโบสถ์จนแล้วเสร็จด้วยในปี พ.ศ.2462 งบประมาณที่ใช้สร้างโบสถ์หลังนี้มาจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านที่ช่วยกันบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธา และร่วมแรงช่วยกันสร้างโบสถ์หลังนี้ขึ้นมาจนสำเร็จเรียบร้อย

โบสถ์ของวัด น้ำจั้น นั้นเป็นโบสถ์พวนมีเอกลักษณ์โดดเด่น เพราะมีการสร้างด้วยหินทั้งหลัง อาจารย์คำพัน เหมหอม กล่าวว่าสาเหตุของการใช้หินสร้างก็เพราะสมัยก่อนนั้นการก่อสร้างด้วยปูนนั้นทำยาก และใช้งปประมาณในการสร้างสูง ชาวบ้านจึงพากันไปเก็บหินจากบนเขามาสร้างโบสถ์ วิธีการทำนั้นก็ก็ไม่ได้ยากอะไรหนัก พอเก็บหินได้มากพอตามที่ต้องการแล้ว ก็จะนำทรายมาผสมกับน้ำผึ้งเพื่อให้เกิดการก่อตัว แล้วนำหินมาวางก่อขึ้นเป็นชั้นๆ จนได้รูปร่างของโบสถ์ และลุงเฉลิม บุญส่ง เล่าเสริมต่อว่า เมื่อก่อนนั้นหลังคาโบสถ์เป็นไม้ แต่เนื่องจากโบสถ์หลังนี้มีอายุหลายสิบปีจึงผุพังและทรุดโทรมตามกาลเวลา จึงได้เปลี่ยนหลังคาไม้เป็นหลังคากระเบื้องแต่ยังคงรูปเดิมของโบสถ์ไว้ บรรยากาศภายในร่มเย็นข้างในมีพระประธานให้เราได้กราบไหว้บูชา ส่วนด้านนอกก็มีลานโพธิ์กว้างไว้สำหรับนั่งพักผ่อน รอบๆ ลานโพธิ์ก้จะมีพระประจำวันเกิดให้สักการบูชาด้วย แต่ส่วนใหญ่จะนิยมไหว้กันในช่วงสงกรานต์

ปัจจุบันโบสถ์หลังนี้ไม่ได้ใช้งานแล้ว เพราะได้สร้างโบสถ์หลังใหม่ขึ้นมาแทน จึงได้ใช้โบสถ์หลังเก่าเป็นวิหาร และจะเปิดให้ชาวบ้านเข้าไปสักการบูชาในช่ววงวันสำคัญและเทศกาลต่างๆ สาเหตุที่สร้างโบสถ์หลังใหม่นี้ก็เพราะว่าโบสถ์เก่ามันทรุดโทรมลงมาก ผู้ที่สร้างโบสถ์หลังใหม่ก็คือ นายพัด ลาสกุล และชาวบ้านร่วมสร้าง

หมู่บ้านน้ำจั้นแห่งนี้นอกจากจะมีวัดน้ำจั้นอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพบูชาแล้ว ก็ยังมีศาลเจ้าอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านมากราบไหว้สักการบูชาให้ความเคารพนับถือ ศาลเจ้าแห่งนี้มาตั้งแต่โบราณ เกิดขึ้นจากการร่วมมือร่วมใจของชาววัดน้ำจั้น เพื่อให้เป็นศูนย์รวมใจเป็นที่สักการบูชาของชาวบ้านด้วย

ชาวบ้านน้ำจั้น จะเรียกศาลเจ้าแห่งนี้ว่า ศาลเจ้าปู่บ้าน ศาลเจ้าปู่บ้านนี้เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก ใครที่มาบนบานขออะไรก็มักจะได้ที่ขอนอกจากนี้ชาวบ้านยังเชื่อว่าท่านจะคอยปกปักรักษา และคุ้มครองชาวน้ำจั้น ให้อยู่รอดปลอดภัยจากภยันตรายต่างๆ เวลาที่ประกอบกิจกรรมหรือพิธีกรรมอะไรก็ตามจะต้องมีการมากราบไหว้ขอพรจากเจ้าปู่บ้านเสมอ แม้กระทั่ง งานบวช งานแต่งในช่วงหน้าฝน ชาวบ้านก็จะมาขอไม่ให้ฝนตกเวลาจัดงาน จนงานเสร็จสิ้นพ้นผ่านไปด้วยความเรียบร้อย

ในแต่ล่ะปีนั้นจะมีการเลี้ยงเจ้าปู่บ้าน 2 ครั้ง คือในเดือน 6 แรม 11 ค่ำ และเดือน 12 แรม 11 ค่ำ การทำนั้นจะกระทำในตอนเย็น เพราะชาวบ้านมีความเชื่อ เจ้าปู่จะลงมากินตอนเย็น การเลี้ยงเจ้าปู่บ้านนั้นกระทำกันมาแต่โบราณและต้องทำทุกปี ทุกบ้าน เพราะทุกคนที่นี้ถือศาลเจ้าเป็นศูนย์ร่วมใจของหมู่บ้าน พอได้เวลาประมาณ 3 โมงเย็น ก็จะมีการให้สัญญาณโดยการตีกอง ตีระฆัง ชาวบ้านก็จะพากันถือซ้า (ตะกร้า) ออกมาจากบ้านของตนเอง หากใครที่มีธุระ ไม่ได้อยู่บ้านก็ต้องฝากเพื่อนบ้านมา

สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชาวน้ำจั้น ก็คือ โรงเจ โรงเจแห่งนี้สร้างขึ้นที่หลังวัด สาเหตุที่สร้างโรงเจแห่งนี้ขึ้น เพราะมีคนจีนที่มีความเลื่อมใสศรัทธามาสร้างไว้ โดยมาขอซื้อที่ดินของชาวบ้านในหมู่บ้าน สาเหตุที่เลือกซื้อที่ของน้ำจั้น เพราะว่ามีราคาถูกกว่าที่อื่นหลังจากที่สร้างโรงเจเสร็จก็ไม่มีใครมาดูแล คนที่สร้างและเกี่ยวข้องก็สูญหายไป ปัจจุบันมีมูลนิธิมาดูแลคือ มูลนิธิคุณธรรมสถานไต่ฮงกงจีลีเกาะ โรงเจแห่งนี้สร้างได้ประมาณ 20 แล้วเนื่องจากว่าโรงเจแห่งนี้ตั้งอยู่ในอาณาบริเวณของวัดน้ำจั้น ดังนั้นทางมูลนิธิจึงยกโรงเจให้วัดดูแล

หมู่บ้านน้ำจั้น แห่งนี้นอกจากจะมีศาสนาสถาน มีพิธีกรรมและความเชื่อต่างๆ ที่น่าสนใจไว้อวดใครต่อใครอย่างภาคภูมิใจแล้ว สิ่งหนึ่งที่ชาวน้ำจั้น ภาคภูมิใจมากที่สุดก็คือผลงานน้ำพักน้ำแรก มาจากความสามัคคีของคนในหมู่บ้านนั้นคือพระอุโบสถที่สร้างด้วยหินมีอายุร้อยปี

ทำบุญกลางบ้าน

           เมื่อกล่าวถึงประเพณีของไทยก็อดที่จะนึกถึงการทำบุญกลางบ้านไม่ได้เพราะเป็นประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าประเพณีอื่นๆ และในปัจจุบันประเพณีนี้ก็ยังคงอยู่เพื่อให้ประชาชนรุ่นหลังรู้สึกผูกพันและร่วมกันอนุรักษ์ต่อไป ประเพณีทำบุญกลางบ้านในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อม วิถีชีวิต ตลอดจนความเชื่อของคนในหมู่บ้านที่นับถือกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่นเดียวกับประเพณีการทำบุญกลางบ้านของชาวบ้านน้ำจั้น ซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวไทยพวนที่ทำกันมาเป็นประจำทุกปี การทำบุญกลางบ้านจะจัดตรงกับวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ไม่ได้กำหนดว่าจะตรงกับข้างขึ้นหรือข้างแรม สาเหตุที่จัดประเพณีทำบุญกลางบ้านนี้ เมื่อก่อนมีไฟไหม้หมู่บ้านซึ้งสร้างความเสียหายให้แก่ชาวบ้านเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันจัดงานทำบุญกลางบ้าน ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยให้ล้างอาถรรพ์หรือสิ่งชั่วร้ายในหมู่บ้านออกไป ทำให้คนในหมู่บ้านอยู่กันอย่างสงบ

ปัจจุบันประเพณีไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา อิทธิพลของต่างชาติมีบทบาทมากขึ้น หากไม่ช่วยอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิม นับวันก็จะสูญหายไป รวมทั้งประเพณีการทำบุญกลางบ้านของชาวบ้านน้ำจั้น จึงควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้สืบทอด เป็นประเพณีที่ช่วยสร้างสมานฉันทร์ สร้างความรักความผูกพันของคนในหมู่บ้าน สร้างขวัญกำลังใจให้แก่ทุกคน และเป็นการสร้างบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล รวมทั้งช่วยสังคมไทยพวนดำรงวิถีชีวิตอย่างมีความสุข