ข้อความตัวหนา

    บึงทุ่งกะโล่ เป็นทรัยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่าของจังหวัดอุตรดิตถ์ของเราชาวอุตรดิตถ์และของชาติของคนไทย  โดยสภาพธรรมชาติเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ เนื้อที่ประมาณ ๗๕๐๐ ไร่ ปัจจุบันตื้นเขิน สภาพเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และคุณค่าเอนกอนันต์ทางระบบนิเวศวิทยา ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่นาข้าวของ 2 ตำบล คือ ต.ป่าเซ่า และ ต.คุ้งตะเภา เป็นพื้นที่ภาคเกษตรกรรม เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ที่ พ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดินฯ กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ทางเกษตรกรรม  สปก.มีหน้าที่ตามกฏหมายให้มีหน้าที่ช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนการทำอาชีพเกษตรของเกษตรกร ทั้งด้านการสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต เช่นการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อมีน้ำใช้ทำนาอย่างเพียงพอ และช่วยจัดหาช่วยเหลือทางด้านการตลาด เป็นต้น โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2535 ในยุคนายชัยวัฒน์ อรุโณทัยวิวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ในสมัยนั้น และได้รับงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลสนับสนุนโครงการมาแล้ว เมื่อประมาณปี 2537 ผลงานรุดหน้าไปมากแล้ว  คันบึงขนาดใหญ่เพื่อทำหน้าที่เป็นผนังกักเก็บน้ำไว้ในบึง  ความยาวรอบบึงประมาณ 17 กิโลเมตร สำเร็จแล้ว และเพราะเหตุแห่งการขุดลอกนำดินขึ้นมาก่อทำเป็นผนังคันบึงดังกล่าว จึงทำให้พื้นที่ที่ถูกขุดลอกซึ่งอยู่ชิดติดขอบคันบึงจึงมีสภาพเป็นท้องคลอง  เมื่อถึงหน้าฤดูฝน น้ำฝนที่ตกลงมาตามธรรมชาติจากทุกทิศทางรอบๆตัวบึง ได้ไหลลงสูที่ต่ำเข้าสู่บึงทุ่งกะโล่ที่มีสภาพเหมือนเป็นแอ่งกะทะยักษ์ โดยไหลผ่านเข้าบึงทางประตูเปิดปิดรับน้ำที่ได้สร้างไว้แล้วในช่วงงานทำคันบึงตามแผนของโครงการ ซึ่งจะมีประตูรับน้ำห่างกันเป็นระยะ ตลอดรอบตัวบึง จึงทำให้สภาพที่ถูกขุดเมื่อน้ำไหลเข้าท่วม จึงกลายสภาพเป็นลำคลองน้ำขนาดใหญ่ ทอดตัวยาวคู่ขนานไปกับแนวคันบึงไปตลอดรอบบึงทุ่งกะโล่  ดังที่เห็นประจักษ์แก่สายตาผู้คนอยู่จนทุกวันนี้  ซึ่งเกษตรกรชาวนาที่ที่นาของตนอยู่ติดขอบบึงด้านนอกทั้งรอบบึง ได้อาศัยสูปน้ำจากคลองนี้เพื่อใช้ทำนามาตั้งแต่นั้นมา ซึ่งชาวบ้านท้องถิ่นนี้จะเรียก คันบึงนี้ว่า... ถนนพระเทพฯ  และ เรียกคลองนี้ว่า...  คลองพระเทพฯ

เพราะสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้ทรงเคยเสด็จมาที่บึงทุ่งกะโล่นี้ และทรงปล่อยนกที่บึงนี้ พร้อมมีรับสั่งกับประชาชนที่เฝ้ารับเสด็จ ถึงคุณค่าของบึงทุ่งกะโล่นี้ว่าสามารถอำนวยประโยชน์อยางยิ่งต่อการเกษตรกรรมได้ถ้ามีการพัฒนาที่ดี ที่ผ่านมา โครงการพัฒนาเป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรได้เริ่มดำเนินการรุดหน้าไปมากแล้วตั้งแต่ปี 2535 ตรงตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญฯ ตามมาตรา ๘๕, เป็นไปตามกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม, สอดคล้องตามหลักการจัดวางผังเมืองที่ดีมีประสิทธิภาพ, ตรงตามความต้องการของท้องถิ่นที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม, เป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน, ปัจจุบันจังหวัดอุตรดิตถ์ไม่เพียงไม่สานต่องานโครงการเดิมที่ดีมีคุณค่าและประโยชน์มหาศาล แต่กลับดำเนินการสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ รวมทั้งส่วนราชการต่างๆร่วมยี่สิบกว่าหน่วยงาน เข้าใช้พื้นที่บึงทุ่งกะโล่เป็นที่ก่อสร้างที่ทำการของตน ท่านผู้ร่วมแผ่นดินไทยที่รักทุกท่าน ท่านมีความเห็นประการใดต่อกรณีปัญหาบึงทุ่งกะโล่ จะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อทิศทางการพัฒนาที่ดีได้ เชิญครับ.