ผู้ใช้:WR008se/กระบะทราย

การเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษา

แก้

เหตุการณ์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมและ หรือ เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง ตั้งแต่ พศ 2475 จนถึง ปัจจุบัน

แก้

การแสดงออกทางการเมืองของนิสิต นักศึกษา เยาวชน คนหนุ่มสาว ปรากฏมีมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์การเมืองไทย 

อาทิเช่นสมัยยุคการเปลี่ยนแปลง พ.ศ. 2475 ของไทยเรานั้น จุดเริ่มต้นมาจาก กลุ่มนักเรียนไทยในกรุงปารีส ที่ประเทศฝรั่งเศษ มีความเห็นพ้องกันที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของไทย ให้ทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งต่อมาคือ คณะราษฏร นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ , นายร้อยโททัศนัย มิตรภักดี ,นายประยูร ภมรมนตรี และนายร้อยโทแปลก ขีตสังคะ

เหล่านี้คือ นักเรียนกฎหมายฝรั่งเศส ที่สนใจการเมืองตั้งแต่ยังวัยหนุ่มสาว ได้จัดการประชุมกันเพียง 7 คนที่มีอายุระหว่าง 26-29 ปี เพื่อวางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

 และได้ทำให้เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติประชาธิปไตยขึ้น เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ในเวลาต่อมา

[1]

เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 วันมหาวิปโยค

แก้

เหตุการณ์14 ตุลา 2516 หรือ วันมหาวิปโยค เมื่อนิสิต นักศึกษาและประชาชนกว่า 500,000 คนชุมนุมประท้วงเพื่อ เรียกร้องรัฐธรรมนูญ และ คัดค้านอำนาจรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร การเดินขบวนเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกไปตามถนนราชดำเนินสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า ก่อนจะปะทะระกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร กลายเป็นการจราจล และเกิดการนองเลือด มีนักศึกษาและประชาชนสูญเสียชีวิต 77 คนและบาทเจ็บ 857 คน เหตุการณ์สงบลงในค่ำวันที่ 15 ตุลาคม เวลา 19.15 น. ของวันนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสผ่านทางเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ พระองค์ทรงขอให้ทุกฝ่ายระงับเหตุแห่งความรุนแรง และทรงแต่งตั้ง ศาตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ องคมนตรีและนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นนายกรัฐมนตรีแทน [2]

เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ อย่างรวดเร็วและไม่มีใครคาดหมายล่วงหน้าได้ถูก แม้แต่กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ หรือศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนนท) ที่เข้ามาร่วมเคลื่อนไหว ไม่ได้มีแผนการที่สลับซับซ้อนอะไรมากไปกว่าการเรียกร้องรัฐธรรมนูญและสิทธิเสรีในระบอบประชาธิปไตยโดยสันติวิธี โดยหวังว่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้ประชาชนสนใจปัญหาและร่วมกันเป็นแรงผลักดันให้รัฐบาลต้องประนีประนอมหรือคล้อยตามข้อเรียกร้องทางใดทางหนึ่งเหตุการณ์ได้ผันแปรไปในทางที่ นอกจากฝ่ายนักศึกษาประชาชนจะได้รับสิ่งที่เรียกร้องต้องการแล้ว ยังเป็นการทำลายอำนาจเผด็จการของกลุ่มถนอม ประภาส ณรงค์ ลงด้วย มีนักวิชาการบางคนวิเคราะห์ว่า มันเป็นเพียง “อุบัติเหตุทางการเมือง” เนื่องมาจากปัจจัยที่เกื้อกูลหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะการแทรกแซงจากกลุ่มอำนาจอื่นที่จะได้ประโยชน์จากการโค่นกลุ่มถนอม ประภาส ณรงค์

ชนวนของเหตุการณ์ มาจากการเรียกร้องให้ปล่อยตัว 13 คนผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญที่ถูกจับกุมตัวในข้อหากบฏเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2516 ต่อเนื่องจากการประท้วงคำสั่งลบชื่อนักศึกษารามคำแหง 9 คน การประท้วงนี้ยังเสนอให้รัฐบาล ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายในเวลา 6 เดือน ในสมัยของรัฐบาล จอมพล ถนอม กิตติขจรก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจรัฐบาล เช่น เมื่อนักการเมืองระดับสูงใช้ยุทโธปกรณ์ลาสัตว์ที่ทุ่งใหญ่ เมื่อเดือนเมษายน 2516 จนเกิดเหตุ ฮ. ตก มีผู้เสียชีวิต และภาวะข้าวสาร ขาดแคลน ขณะที่บทบาททางการเมืองของนักศึกษาชัดเจนและเข้มแข็งขึ้น หลังจากที่ ประสบความสำเร็จ มาแล้วจาก การเป็นผู้นำสัปดาห์ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2515

ในวันที่ 9 ตุลาคม นักศึกษาจัดการประท้วงในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเรียกร้องให้ทางรัฐบาลปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทั้ง 13 คน มีนักเรียนนิสิตนักศึกษาประชาชนจากทั่วประเทศทยอยเดินทางมาร่วมชุมนุมเป็นจำนวนประมาณห้าแสนคน

เที่ยงตรงของวันที่ 13 ตุลาคม 2516 ตามเส้นตายที่ ศนนท. ประกาศ ฝูงชนเคลื่อนตัวออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและลานพระบรมรูปทรงม้า การเจรจาระหว่างนักศึกษากับฝ่ายรัฐบาลดำเนินไปจนถึงเวลาดึกของวันเดียวกัน

เช้ามืด วันที่ 14 ตุลาคม แกนนำบางส่วนได้รับข่าวมาจาก ศนนท. (ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย) ว่า " เราชนะแล้ว รัฐบาลได้ยอมปล่อยผู้ต้องหา และสัญญาจะให้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน ขอให้เลิกชุมนุม กลับบ้าน " [2] นักศึกษาอาชีวะที่เป็นการ์ด พากันขว้างระเบิดขวดทิ้งหน้าวัดเบญจมบพิตร เสียงดังสนั่น และทยอยกันกลับบ้าน

แต่แล้วเวลาประมาณ 7:30น. ได้เกิดเหตุการณ์เมื่อตำรวจคอมมานโดบุกเข้าตี นักศึกษาที่กำลังแยกย้ายกลับบ้าน บริเวณหน้าวัดเบญจมบพิตร ตรงข้ามวังสวนจิตลดา ข่าวการกระทำรุนแรงของตำรวจคอมมานโดแพร่ไปทั่วกรุงเทพมหานคร

นักเรียน นิสิตนักศึกษา ประชาชนที่มีแต่ระเบิดขวดที่ยังเหลือ ท่อนไม้ และ ก้อนหิน ปะทะกับทหารตำรวจอาวุธ ครบมือ เหตุการณ์ลุกลามไปทั่วบริเวณหน้ากรมประชาสัมพันธ์ หน้าวัด ชนะสงคราม สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถนนราชดำเนินกลางและถนนราชดำเนินนอก

ช่วงบ่ายของวันที่ 15 ตุลาคม ได้มีเฮลิคอปเตอร์ขึ้นบิน วนเหนือสนามฟุตบอลในธรรมศาสตร์ มีการกราดยิงปืนกลลงมาทำให้ นักศึกษาเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

เหตุการณ์ 14 ตุลาคมสิ้นสุดลงเมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร ,จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอก ณรงค์ กิตติขจร ได้เดินทางออกนอกประเทศ และถูกรัฐบาลใหม่ประกาศยึดทรัพย์จำนวนกว่า 366 ล้านบาทในสมัยนั้น [3]

หลังเหตุการณ์ มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่างรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด และจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ในเวลาต่อมา[4]

เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

แก้

เป็นเหตุการณ์ที่เป็นผลต่อเนื่องจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 หลังจากล้มล้างเผด็จการถนอมประพาสได้ และนายสัญญา ธรรมศักดิ์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยมากขึ้น แต่หลังจากนั้นมีความวุ่นวายในบ้านเมืองเนื่องจากมีการประท้วงหยุดงาน เรียกร้องสิทธิเสรีภาพจากคนกลุ่มต่างๆ เช่น คนใช้แรงงาน ชาวนา ผู้ยากไร้ที่โดนกดขี่ภายใต้ระบอบเผด็จการมานาน นักศึกษาในช่วงนั้นเข้ามามีบทบาทอย่างมากทางการเมือง คอยช่วยรณรงค์ให้เกืดการประท้วงนัดหยุดงานอยู่อย่างต่อเนื่อง จนอาจทำให้ประชาชนบางส่วนเบื่อหน่ายที่บ้านเมืองไม่เป็นระเบียบ พวกนักการเมืองรวมทั้งชนชั้นผู้ปกครองอื่น ทั้งเจ้าที่ดินใหญ่ ขุนนาง ข้าราชการ นายทหาร ที่เป็นพวกยึดมั่นในสถานะภาพเดิมที่จารีตนิยม ไม่ต้องการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม ที่จะลดอำนาจและผลประโยชน์ของตัวเอง จึงกลายเป็นกลุ่มที่ต่อต้านขบวนการนักศึกษา ด้วยวิธีการโจมตีให้ร้ายว่านักศึกษาเป็นพวกเป็นพวกหัวรุนแรง เป็นคอมมิวนิสต์ จนนำไปสู่การปราบปรามเข่นฆ่านักศึกษาครั้งใหญ่[5] ประกอบกับกลุ่มอำนาจเก่าที่เสียประโยชน์จากการหมดอำนาจของเผด็จการถนอม ประภาสก็รอคอยหาโอกาสจะกลับมามีอำนาจอีกครั้ง[4]

เหตุการณ์มาเลวร้ายลงเมื่อถนอมเดินทางกลับไทยในฐานะพระ เกิดความไม่พอใจในกลุ่มนักศึกษาและประชาชนบางส่วนอย่างรุนแรง มีการออกมาประท้วงครั้งใหญ่ และได้มีการรวมตัวของนักศึกษาที่ธรรมศาสตร์ เรื่องราวบานปลายเมื่อในคืนหนึ่งนั้นได้มีการเล่นละครล้อเลียนทางการเมืองและเกิดมีภาพออกมาเผยแพร่ทางสื่อมวลชนว่ามีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน กระทิงแดง นวมินทร์มารวมตัวประท้วงนักศึกษาที่ธรรมศาสตร์ และมีกลุ่มพลทหารเข้ามาปิดล้อมธรรมศาสตร์โดยอ้างว่ามีการซ่องสุมอาวุธ และมีพวกคอมมิวนิสตร์ปะปนอยู่กับพวกนักศึกษา ในที่สุดมีการบุกเข้าปราบปราม ธรรมศาสตร์ถูกเผาเสียหายบางส่วน นักศึกษาส่วนหนึ่งถูกจับ มีบางส่วนหนีเข้าป่าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสตร์ มีตัวเลขอย่างเป็นทางการบ่งว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คน และบาดเจ็บ 167 คน [6]

กลุ่ม 'นิสิต-นักศึกษา' เคลื่อนไหวการเมือง ในยุค คสช.

แก้

กลุ่มดาวดิน เกิดเหตุการณ์ขึ้นเมื่อ 5 นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มดาวดิน ทำการจุดชนวนชูสามนิ้วสวมเสื้อดำยืนหน้าเวทีที่พลเอกประยุทธ์ จัทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้า และคณะ คสช.และคณะ ลงพื้นที่ จ.ขอนแก่น และ กาฬสินธุ์ตรวจเยี่ยมเตรียมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง และติดตามการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมของจังหวัดภาคอีสาน ตามโครงการคืนความสุขให้คนไทยรวมใจสู้ภัยแล้ง ท่ามกลางมาตรการเข้มรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด พร้อมตัวอักษรสีขาวยืนเรียงกันว่า

 "ไม่-เอา-รัฐ-ประ-หาร" โดยนักศึกษาที่โดนจับทั้ง 5 คน ถูกย้ายตัวไปที่เรือนรับรองเพื่อไปปรับทัศนคติมณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร จ.ขอนแก่นจน กระทั่งล่าสุดได้ปล่อยตัวพร้อมไม่เอาผิดนักศึกษากลุ่มนั้น [7]

ขณะที่ความเคลื่อนไหวในกรุงเทพฯเอง ก็มีกลุ่มนักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ออกมาชูสามนิ้วกันพัลวัน  รวมถึงที่ผ่านมาก็มีกระแสต้านออกมาเป็นระยะทั้งกลุ่มคัดค้านเขื่อนแม่วงก์ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [8]

สิทธิ เสรีภาพ การแสดงออก และการเคลื่อนไหวทางการเมือง

แก้

เมื่อวิเคราะห์ตามรัฐธรรมนูญ จะเห็นชัดว่า ประชาชนมีสิทธิมีส่วนร่วม

๑. มีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ

๒. มีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบ

 ๓. มีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณา

 ๔. มีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน

 ๕. มีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันรวดเร็ว

  ๖. มีสิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐฯ

 ๗. มีสิทธิติดตามและร้องขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หน่วยงานของรัฐฯ

พลเมือง

แก้

พลเมือง คือ ประชาชนผู้เป็นกำลังของบ้านเมือง หรือกล่าวคือ พละกำลังของประเทศซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของประเทศ ทั้งในทางการทหาร ทางเศรษฐกิจ และมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะที่เป็นประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่ง ได้แก่ การเมืองภาคประชาชนหรือการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมือง

ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 บัญญัติไว้ในมาตรา 76 และ 79 ดังนี้

" มาตรา 76 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมิอง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และ การเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ "

" มาตรา 79 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล รวมทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริมบำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน "

การมีส่วนร่วมของพลเมืองเป็นการให้ประชาชนไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในลักษณะของการร่วมรับรู่ ร่วมทำ และร่วมคิดที่เกี่ยวกับการกระทำถูกและการกระทำผิดในสังคมทางการเมืองได้เมื่อเป็นสิ่งที่เป็นผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองหรือชุมชน และรัฐต้องมีกฎหมายยอมรับสิทธิในการดำเนินงานกิจกรรมทางการเมืองแบบสันติของประชาชน ไม่ว่าจะเป็น การชุมนุมการประท้วง การนัดหยุดงานและการปฎิเสธคำสั่งของรัฐ ความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตย กล่าวคือทำให้มีโอกาสได้ทราบความต้องการของกันและกันทำให้การดำเนินงานนโยบายของรัฐตอบสนองต่อเจ้าของประเทศทั้งในด้าน เศรษฐกิจ การเมืองและสังคม [9]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 

หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ 10 แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน 

กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังต่อไปนี้

- ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น

- ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการจัดทำบริการสาธารณะ

- ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับในรูปแบบองค์กรทางวิชาชีพหรือตามสาขา อาชีพที่หลากหลายหรือรูปแบบอื่น

- ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการ เมือง และจัดให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการ ดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน 

 รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่าย ทุกรูปแบบให้สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่

- ส่งเสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชนที่เกี่ยว กับการพัฒนาการเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข

 รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

หมวด 7 ให้อำนาจแก่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง 

 สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราช บัญญัติ (การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย)

- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภาถอดถอนบุคคลผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง (นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 

- ประธานศาลปกครอง หรืออัยการสูงสุด รวมถึง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาหรือตุลาการ 

พนักงานอัยการหรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง) ด้วยเหตุมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ

1.ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่

2.ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

3.ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม

4.ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างรุนแรง

- ผู้มีสิทธิเลือกตั้งย่อมมีสิทธิออกเสียง ประชามติ เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในกิจการตามที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ แบ่งเป็นกรณีดังต่อไปนี้

1.กรณีที่อาจกระทบถึงประโยชน์

2.ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน

3.กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ[10]

  1. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ,2475 การปฏิวัติสยาม,โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,24มิถุนายน 2543,พิมพ์ครั้งที่สอง
  2. 2.0 2.1 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ,บันทึกประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 2516 ,กรุงเทพ ,สำนักพิมพ์สายธาร,2546
  3. สมุดภาพเดือนตุลา,สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย พรรคแสงธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2531
  4. 4.0 4.1 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ,จาก 14 ถึง 16 ตุลา,มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,ตุลาคม 2551
  5. http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/534554
  6. เหตุการณ์ 6 ตุลา
  7. http://www.thairath.co.th/content/464761
  8. https://prachatai.com/journal/2015/10/62135
  9. ประมวล รุจนเสรี ,อำนาจของปวงชน, ฐานการพิมพ์ ,2549
  10. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครนายก http://www2.ect.go.th/about.php?Province=nakhonnayok&SiteMenuID=5610