สาขาวิชาศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แก้

ประวัติ แก้

ในการก่อตั้งวิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีรากฐานมาจากความคิดของกลุ่มประชาชน ภาคเอกชน ราชการ พ่อค้าในจังหวัดหนองคาย และความคิดในการขยายวิทยาเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไปยังจังหวัดหนองคาย ในปี 2534 สมัยรองศาสตราจารย์นายแพทย์นพดล ทองโสภิต เป็นอธิการบดี ปี 2536 – 2537 ในสมัยศาสตราจารย์นายแพทย์วันชัย วัฒนศัพท์ เป็นอธิการบดีได้สานต่อแนวคิดในเรื่องที่ดินในการก่อตั้งมาเป็นระยะๆ ปี 2538 รองศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ได้สานต่อโครงการจัดตั้งวิทยาเขตหนองคายจนเป็นรูปธรรม ปีงบประมาณ 2540 สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณให้แก่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสารสนเทศหนองคาย และเริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารบริหาร อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการ และปรับปรุงระบบสาธารณูปการในอาคาร และสิ่งก่อสร้างประกอบอื่น ๆ จนสิ่งก่อสร้างบางส่วนเสร็จสมบูรณ์ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้วิทยาเขตหนองคายเป็นโครงการที่ได้รับการบรรจุไว้ให้เป็นโครงการในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 8 ของทบวงมหาวิทยาลัย และแผนพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น ระยะที่ 8 (2540 - 2544) ดยความเห็นชอบของที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2541 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 เห็นชอบให้จัดตั้ง “วิทยาลัยหนองคาย” เป็นสถาบันการศึกษาสังกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเห็นควรให้เปิดรับนักศึกษาโดยเร็ว จึงเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2541 ระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร 2 สาขาวิชา คือ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน และปีการศึกษา 2542 รับนักศึกษาเพิ่มอีก 1 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว โดยฝากเรียนที่คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินการย้ายนักศึกษาและบุคลากรมาจัดการเรียนการสอน ณ สถานที่ตั้ง จังหวัดหนองคาย เลขที่ 112 หมู่ที่ 7 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองจังหวัดหนองคาย บนเนื้อที่ 516 ไร่ 2 งาน และเปิดรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต จำนวน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการประมง สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร ปัจจุบันใช้ชื่อ “มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย” โดยเปิดรับนักศึกษาเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2548 และได้เพิ่มหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิตเข้ามาในปี ปี พ.ศ. 2553

o มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีหนังสือขอใช้ที่สาธารณประโยชน์ตอนกลางหนองถิ่น ติดกับสถานีรถไฟ ตำบลมีชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เนื้อที่ 149 ไร่เศษ และที่สาธารณประโยชน์ที่ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคายเนื้อที่ 1,077 ไร่ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2534

o จังหวัดหนองคายตอบกลับมาให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น แจ้งงบประมาณ การก่อสร้างพร้อมแผนผัง ขอบเขตที่ดินที่จะขอใช้ประโยชน์ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2534 เป็นการก่อรูปแนวคิดของการขยายวิทยาเขตมาสู่จังหวัดหนองคาย

o ต่อมารัฐบาลเริ่มมีแนวคิดที่จะกระจายโอกาสทางการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาค โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ปฏิบัติตามกรอบนโยบายมาโดยลำดับ

o มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ขอยกเลิกการใช้ที่ดินทั้ง 2 แปลงที่เคยขอใช้ก่อนหน้านี้ เนื่องปัญหาข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่และระยะทางที่ห่างไกลจากตัวจังหวัดหนองคาย แต่มหาวิทยาลัยขอนแก่นยังมีเจตจำนงอันแน่วแน่ที่จะให้มีวิทยาเขตมายังจังหวัดหนองคาย โดยขอใช้ที่สาธารณประโยชน์สนามบินค่ายบกหวาน อำเภอเมืองจังหวัดหนองคาย ติดทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี-หนองคาย เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2534 ซึ่งจากการสำรวจพื้นที่ พบว่าที่ดินแปลงนี้ทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสม แต่มีราษฎรบุกรุกเข้าทำประโยชน์มานานร่วม 30 ปีอาจจะเกิดปัญหาการขัดแย้ง การร้องเรียน และปัญหาอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ปมประเด็นปัญหาเรื่องที่ดินจึงเป็นประเด็นหลักที่จังหวัดหนองคายพยายามแก้ไข (20 พฤศจิกายน 2534)

o จังหวัดหนองคายได้เสนอที่สาธารณประโยชน์และมีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง จำนวน 6 แห่ง เสนอให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเลือก (28 พฤศจิกายน 2534) ได้แก่

1. ที่ดินสาธารณะ ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย (1,077 ไร่)

2. ที่ดินสาธารณะบ้านบงตำบลหินโงมอำเภอเมืองหนองคาย (1,907 ไร่)

3. ที่ดินสาธารณะหมู่ที่ 7 บ้านฝ้าย ตำบลหาด คำอำเภอเมืองหนองคาย (1,800 ไร่)

4. ที่ดินสาธารณะหมู่ที่ 5 บ้านฝ้าย ตำบลหาด คำอำเภอเมืองหนองคาย (3,443 ไร่)

5. ทำเลเลี้ยงสัตว์ทุ่งใหญ่ บ้านไทรงาม ตำบลโซ่ อำเภอโซ่พิสัย (1347 ไร่)

6. ทำเลเลี้ยงสัตว์บ้านหนองตาไก้ ตำบลโซ่ อำเภอโซ่พิสัย (2,182 ไร่)

o ทั้งกรณีราษฎรบุกรุกเข้าใช้ประโยชน์เต็มพื้นที่ และกรณีพื้นที่อยู่ไกลแหล่งความเจริญ ส่งผลให้

ปมประเด็นปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาหลักมาโดยตลอด

พ.ศ. 2535

o เมื่อที่ดินทั้ง 6 แปลงดังกล่าวไม่สามารถใช้ในการตั้งวิทยาเขตได้ จึงเริ่มพิจารณาที่ดินแปลงใหม่คือที่สาธารณประโยชน์บริเวณทางเข้าบ้านคำโป้งเป้ง เนื้อที่ประมาณ 2,113 ไร่ (15 พ.ค. 2535) แต่ต่อมาเมื่อได้ทำการสำรวจพื้นที่อย่างจริงจังแล้วพบว่าที่ดินแปลงนี้ก็มีประเด็นปัญหาเหมือนกับที่ดินแปลงอื่นในช่วงที่ผ่านมา

o จังหวัดหนองคายได้พ่อเมืองคนใหม่ คือ นายอนันต์ แจ้งกลีบ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายผู้สานต่อเรื่องที่ดินมหาวิทยาลัยขอนแก่น  วิทยาเขตที่จังหวัดหนองคายอย่างแข็งขันในวาระต่อมาประจวบกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นเปลี่ยนแปลงอธิการบดีเป็น ศาสตราจารย์นายแพทย์วันชัย วัฒนศัพท์ อธิการบดีผู้สานต่อ ผู้ก่อเนื่องวิสัยทัศน์แห่งการขยายพรมแดนแห่งวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปสู่พรมแดนประเทศเพื่อนบ้านอินโดจีน

พ.ศ. 2536 – 2537

o จังหวัดหนองคายได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาพื้นที่เพื่อการจัดตั้งวิทยาเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนในหลายภาคส่วนในจังหวัดหนองคาย ทั้งภาคข้าราชการ ภาคเอกชน และตัวแทนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

o ปี พ.ศ. 2537 รัฐบาลซึ่งนำโดย นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาประเทศในนโยบายด้านการศึกษารัฐบาลจะมุ่งกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาค และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้น คือ นายสุเทพ อัตถากร ได้นำนโยบายรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยวางกรอบนโยบายที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัย ขึ้น 5 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยที่ได้รับมอบหมายพันธกิจในการขยายวิทยาเขตไปสู่ภูมิภาค ในตอนแรกประกอบด้วย 5 มหาวิทยาลัยคือ

1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขยายวิทยาเขตไปที่จังหวัดหนองคาย

2. มหาวิทยาลัยนเรศวร ขยายวิทยาเขตไปยังจังหวัดพะเยา

3. มหาวิทยาลัยบูรพา ขยายวิทยาเขตไปยังจังหวัดจันทบุรี

4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขยายวิทยาเขตไปยังจังหวัดนราธิวาส

5. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขยายวิทยาเขตไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานี

o ปลายปี พ.ศ. 2537 เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยคนใหม่ คือ นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ ได้สืบทอดนโยบายการขยายวิทยาเขตให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น  มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงได้ตั้งคณะกรรมการจัดตั้งวิทยาเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่จังหวัดหนองคาย (13 ธันวาคม 2537)

พ.ศ. 2538

o จังหวัดหนองคาย หอการค้าจังหวัดหนองคาย และมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ดำเนินการเรื่องวิทยาเขตก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่งและจัดประชุมเปิดตัวโครงการขยายวิทยาเขตมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่จังหวัดหนองคายในวันที่ 29 มกราคม 2538 สาระสำคัญในการประชุม คือ การกำหนดบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของจังหวัดหอการค้า และมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่าทั้ง 3 ฝ่ายจะดำเนินการเพื่อสนับสนุนโครงการขยายวิทยาเขตอย่างไรสาขาวิชาที่จะเปิดทำการเรียนการสอนที่หนองคาย และประเด็นสำคัญที่สุดในการประชุมวันนั้น คือ การนำเสนอที่ดินจำนวน 4 แปลง ให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นพิจารณาใช้เป็นสถานที่จัดตั้งวิทยาเขตหนองคายอีกครั้งที่ดิน 4 แปลง ได้แก่

1. ที่สาธารณประโยชน์โคกสูงหนองเดิ่น ตั้งอยู่ ณ บ้านหนองเดิ่นหมู่ที่ 7 ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เนื้อที่ 370 ไร่ 2 งาน (จากการรังวัดใหม่มีพื้นที่ 516 ไร่ 2 งาน 43 ตารางวา)

2. ที่สาธารณประโยชน์หนองกอมเกาะ พื้นที่มีอาณาเขตติดต่อกัน 4 ตำบล คือ ตำบลหนองกอมเกาะตำบลมีชัย ตำบลเมืองหมี ตำบลปะโค อำเภอเมืองจังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ประมาณ 3,059 ไร่ แต่มหาวิทยาลัยขอนแก่นขอใช้ 2,000 ไร่

3. ที่สาธารณประโยชน์โคกหนองโพธิ์ ตั้งอยู่ ณ บ้านยางคำตำบลสระใคร อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ประมาณ 325 ไร่

4. ที่สาธารณประโยชน์บ้านไชยา บ้านไชยา ตำบลสระใคร อำเภอ สระใคร จังหวัดหนองคายพื้นที่ประมาณ 718 ไร่

เพื่อให้การดำเนินการขยายวิทยาเขตตอบสนองนโยบายของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรมและเล็งเห็นว่าที่ดินทั้ง 4 แปลงมีความเหมาสมที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นวิทยาเขตได้ในระดับหนึ่ง โดยจะพัฒนาพื้นที่ แปลงที่ 1 และแปลงที่ 2 คือ ที่สาธารณประโยชน์โคกสูงหนองเดิ่นและที่สาธารณประโยชน์หนองกอมเกาะ และเร่งดำเนินการในการเพื่อเข้าใช้ประโยชน์จากที่ดินทั้ง 2 แปลงก่อน แต่ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ แต่เนื่องจากกระแสแห่งการเรียกร้องของประชาชนชาวหนองคายที่มีความปรารถนาจะให้มีวิทยาเขตมีค่อนข้างสูง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกอมเกาะ ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐในท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของพื้นที่บริเวณโคกสูงหนองเดิ่นและหนองกอมเกาะ ประชาชนในพื้นที่และชาวหนองคายได้ร่วมกันลงลายมือชื่อให้การสนับสนุน การจัดตั้งวิทยาเขตอย่างเต็มที่ พลังของประชาชนในพื้นที่นำไปสู่การผลักดัน สนับสนุนโครงการจัดตั้งวิทยาเขตที่สำคัญยิ่งในโอกาสต่อมา

o 20 มิถุนายน 2538 คณะรัฐมนตรี อันมี นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการให้มหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมขยายวิทยาเขตไปสู่ส่วนภูมิภาค 11 จังหวัด คือ จังหวัดหนองคาย พะเยา จันทบุรี แพร่ สุราษฎร์ธานี ตรัง สกลนคร กาญจนบุรี ราชบุรี ชุมพร และปราจีนบุรี ดังนั้นจึงถือได้ว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งวิทยาเขตที่จังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2538

o กันยายน 2538 รองศาสตราจารย์ ดร.ปริญญาจินดาประเสริฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นคนใหม่ได้เข้ามาสานต่อโครงการจัดตั้งวิทยาเขต พร้อมกันนี้ได้รับอนุมัติ งบประมาณจากสำนักงบประมาณเพื่อขยายวิทยาเขตมาสู่จังหวัดหนองคาย เป็นงบประมาณแผ่นดินปี 2539 ทั้งสิ้น 9,828,400 บาท

พ.ศ. 2539

o 30 เมษายน 2539 ทบวงมหาวิทยาลัย โดยนายบุญชู ตรีทอง รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดตั้งวิทยาลัยหนองคาย เพื่อจำแนกบทบาทของความร่วมมือ 3 ฝ่ายให้ชัดเจน คือ จังหวัดหนองคายดำเนินการเพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน หอการค้าจังหวัดหนองคายแสวงหาเงินทุนสนับสนุนการจัดตั้งวิทยาเขต   และมหาวิทยาลัยรับผิดชอบในการบริหารจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและความต้องการของท้องถิ่นเป็นสำคัญ

o มหาวิทยาลัยขอนแก่นแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่ทั้ง 4 แปลง ซึ่งทางจังหวัดหนองคายได้ขออนุมัติไปยังกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย โดยพบว่าพื้นที่ทั้ง 4 แปลงอยู่ห่างไกลกันทำให้มีปัญหาในการเข้าไปพัฒนาพื้นที่ จึงได้มีประชุมร่วมกันกับคณะกรรมการโครงการจัดตั้งวิทยาเขตหนองคาย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2539 สรุปประเด็นออกมา เพื่อเป็นทางเลือกในการดำเนินงานต่อไปดังนี้

1. เสนอจังหวัดหนองคายพิจารณาพื้นที่แห่งใหม่ โดยมีข้อกำหนดว่า พื้นที่ในการก่อตั้งวิทยาเขตนั้น ควรเป็นพื้นที่แปลงเดียวที่มีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 2,000-5,000 ไร่ ตามเงื่อนไขที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนดไว้

2. หากเป็นพื้นที่ที่ทางจังหวัดหนองคายเสนอที่ประชุมพิจารณาความเป็นไปได้ของการใช้ประโยชน์ใน 4 แปลงดังนี้

 ที่สาธารณประโยชน์โคกสูงหนองเดิ่นมีความเหมาะสมที่จะเป็นสำนักงานบริหารวิทยาเขต

 ที่สาธารณประโยชน์หนองกอมเกาะ มีความเหมาะสมที่จะเป็นสถานีประมง สถานีทดลอง

 ที่สาธารณประโยชน์บ้านไชยา มีความเหมาะสมที่จะเป็นสถานีฟาร์มฝึกงานของนักศึกษา

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติว่าหากใช้พื้นที่ที่ทางจังหวัดเสนอให้ทั้ง 4 แปลงเพื่อจัดตั้งวิทยาเขตหนองคาย จะมีข้อจำกัดในการพัฒนาระยะยาว อาจจะมีสถานะเป็นแค่วิทยาเขต หรือสำนักบริการวิชาการ / ฝึกอบรม ไม่สามารถที่จะพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคตได้ จากประเด็นดังกล่าว จึงได้มีการเสาะแสวงหาที่ดินแปลงอื่นแทน แต่ก็ประสบปัญหาอุปสรรคนานับประการเรื่องที่ดิน

o จังหวัดหนองคายได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ว่าราชการคนใหม่ โดยพ่อเมืองหนองคายคนใหม่ คือ นายสนิทวงศ์ อุเทศนันท์ ซึ่งได้มอบหมายให้หอการค้าจังหวัดหนองคายร่วมกับที่ดินจังหวัดหนองคาย เป็นคณะทำงานเพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับที่ดินเพื่อการจัดตั้งวิทยาเขตให้บังเกิดผล ในการนี้ได้รับการติดต่อจาก คุณเสาวนีย์ อักษรานุวัตร กรรมการบริษัท อักษรามหานคร จำกัด จะขอบริจาคที่ดินบริเวณถนนสายหนองคาย-เวียงจันทน์ โดยมีขนาดความกว้าง 30 เมตรยาว 480 เมตร ให้กับจังหวัดเพื่อมอบให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการจัดทำทางเชื่อมต่อกับที่สาธรณประโยชน์โคกสูงหนองเดิ่น ขณะเดียวกันก็ได้มีแนวคิดที่จะปรับแก้จุดด้อยในเรื่องที่ดินในการก่อตั้งวิทยาเขต โดยการเชื่อมต่อที่ดินแปลงที่ 1 (โคกสูงหนองเดิ่น) และที่ดินแปลงที่ 2 (หนองกอมเกาะ) เพื่อขยายขนาดพื้นที่ในการจะก่อตั้งวิทยาเขตให้มีความ   สง่างามและเป็นไปตามข้อกำหนดของทบวงมหาวิทยาลัย  กล่าวคือ การที่จะพัฒนาให้เป็นมหาวิทยาลัยในอนาคตได้นั้นต้องมีพื้นที่แปลงเดียวกันไม่ต่ำกว่า 2,000 ไร่ จึงได้มีการระดมเงินกองทุน เพื่อจัดตั้งวิทยาเขตและใช้กองทุนนี้ในการซื้อที่ดินจากประชาชนที่มีที่ดินอยู่ระหว่างทางเชื่อมทั้ง 2 แปลง  และได้รับการบริจาคจาก นางสุดา ชูกลิ่น  อีกจำนวน 10 ไร่ 35.1 ตารางวาเพื่อใช้ทำถนนเชื่อมต่อแปลงที่ดินทั้ง 2 แปลง

o วันที่ 8 เดือนตุลาคม พุทธศักราช 2539 ได้อนุมัติโครงการขยายโอกาส อุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาคอย่างมีคุณภาพ โดยโครงการจัดตั้งวิทยาเขตหนองคายได้บรรจุเป็นโครงการในแผนพัฒนาการศึกษา ระดับอุดมศึกษาระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) ตามนโยบายกระจายความเจริญและโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปสู่ส่วนภูมิภาคของรัฐบาล

พ.ศ. 2540

o จากที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ 2540 โดยได้รับจัดสรรงบดำเนินโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสารสนเทศหนองคาย จำนวนเงิน 13,722,000 บาท และได้รับการจัดสรรกรอบอัตรากำลังสำหรับวิทยาเขตหนองคายในปี 2540-2542 จำนวน 91 อัตรา  ภายใต้การประสานมือกันอย่างแน่นเหนียวระหว่างจังหวัดหนองคาย หอการค้าและมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำไปสู่การดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงานบริหาร 1 หลังมูลค่า 55 ล้านบาทและอาคารเรียนรวมและปฏิบัติการมูลค่า 99.5 ล้านบาท

พ.ศ. 2541

o สภามหาวิทยาลัยขอนแก่นมีมติที่ประชุมครั้งที่ 2/2541 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 ให้รับนักศึกษารุ่นแรก ดำเนินการบริหารจัดการในรูปแบบวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ จังหวัดหนองคาย ภายใต้ชื่อ “มหาวิทยาลัยขอนแก่น  วิทยาเขตหนองคาย” จึงถือเอาวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นวันสถาปนาวิทยาเขตหนองคาย โดยเริ่มรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร 2 สาขา โดยฝากเรียนที่คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ

1. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ จำนวน 20 คน

2. หลักสูตรบริหารบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน จำนวน 18 คน

พ.ศ. 2542

o เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว (หลักสูตรของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น) โดยฝากเรียนที่คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พ.ศ. 2543

o ย้ายนักศึกษาและบุคลากรจากจังหวัดขอนแก่นมาจัดการเรียนการสอน ณ สถานที่ตั้งจังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2543

o เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 3 สาขาวิชา คือ

1. สาขาวิชาประมง

2. สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร

3. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ปี

พ.ศ. 2544

o ผลิตบัณฑิตรุ่นแรกออกสู่ตลาดงานจำนวน 16 คน

พ.ศ. 2548

o เปิดรับนักศึกษาเพิ่มอีก 2 หลักสูตร 2 สาชาวิชา  ได้แก่

1. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชากิจระหว่างประเทศ

2. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์

พ.ศ. 2550

o เปิดรับนักศึกษาอีก 2 สาขาวิชา ได้แก่

1. หลักการบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี

2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารนเทศและการสื่อสาร

พ.ศ. 2551

o จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาโท 1 หลักสูตร คือ

1. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรอุตสาหกรรมและการจัดการโลจีสติกส์

พ.ศ. 2552

o เปิดรับนักศึกษาปริญญาตรีเพิ่มอีก 2 สาขาวิชา คือ

1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น

พ.ศ. 2555-2562

o มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานใหม่ตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่าด้วยการบริหารงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น                      วิทยาเขตหนองคาย พ.ศ. 2555 ประกอบกับมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยขอนแก่นเห็นชอบให้จัดคณะวิชาตามโครงสร้างใหม่ของวิทยาเขตหนองคายเป็น 4 คณะวิชา 1 สำนักงาน ประกอบด้วย

1. คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

2. คณะบริหารธุรกิจ เป็นส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

3. คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ เป็นส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

4. คณะศิลปศาสตร์ เป็นส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

5. สำนักงานวิทยาเขตหนองคาย เป็นส่วนราชการเทียบเท่าสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

o ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2555 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2555 ให้ออกประกาศสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับ 2/2555) เรื่องจัดตั้งส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย และบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 โดยมีการบริหารจัดการในรูปแบบของกรรมการประจำคณะ ประกอบด้วย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเป็นประธาน ผู้แทนมหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ และมีคณบดีเป็นกรรมการและเลขนุการ

พ.ศ. 2558

o มหาวิทยาลัยขอนแก่นเปลี่ยนรูปแบบหน่วยงานจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกํากับของรัฐ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2558  คณะศิลปศาสตร์  จึงเปลี่ยนสถานภาพจากหน่วยงานราชการเป็นส่วนงานอื่นของรัฐตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

o คณะศิลปศาสตร์เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกระดับปริญญาตรีในหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ มีนักศึกษารุ่นแรกรวม 19 คน

พ.ศ. 2560

o คณะศิลปศาสตร์ เปิดรับสมัครนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาในหลักสูตรศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา  มีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 4 คน

พ.ศ. 2562

o คณะศิลปะศาสตร์  เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรีปริญญาตรีในหลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิตสาขาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ มีนักศึกษารุ่นแรกของหลักสูตรจํานวน 19 คน

พ.ศ. 2563

o สภามหาวิทยาลัยได้มีมติเห็นชอบในการยุบรวมคณะวิชาตามโครงสร้างใหม่ของวิทยาเขตหนองคาย จาก 4 คณะวิชาเป็น 1 คณะวิชา คือ คณะสหวิทยาการ ( Faculty of Interdisciplinary Studies, Khon Kaen University)

o สภามหาวิทยาลัยได้ออกประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 635/2563) เรื่องการจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2563 ลงวันที่ 1 เมษายน 2563 และได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาในการจัดตั้งคณะสหวิทยาการเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 คณะสหวิทยาการได้มีการแบ่งส่วนงานภายในตามประกาศมหาวิทยาลัยของแก่น (ฉบับที่ 1365/2563) เรื่องการแบ่งหน่วยงานและหน่วยงานย่อยภายในคณะสหวิทยาการเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย

1. กองบริหารงานคณะสหวิทยาการ หน่วยงานย่อยประกอบด้วย

1.1 งานโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อม

1.2 งานบริหารและสารสนเทศ

1.3 งานยุทธศาสตร์และการคลัง

1.4 งานวิจัยนวัตกรรมและบริการวิชาการ

1.5 งานสนับสนุนวิชาการและพัฒนานักศึกษา

2. หน่วยงานประเภทวิสาหกิจของคณะสหวิทยาการ

2.1 พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดขอนแก่น

3. หน่วยงานประเภทสนับภารกิจและยุทธศาสตร์ของคณะสหวิทยาการ

3.1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย

4. การบริหารวิชาการ แบ่งเป็นสาขาวิชา 6 สาขาวิชาดังนี้

4.1        สาขาวิชาศิลปะศาสตร์และศึกษาศาสตร์

4.2 สาขาวิชาสังคมศาสตร์

4.3 สาขาวิชานิติศาสตร์

4.4 สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

4.5 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์

4.6 สาขาวิชาเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์

พ.ศ. 2564

ปัจจุบัน สาขาศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์

o จัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรีจํานวน 2 หลักสูตร ประกอบด้วย

1. ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ

2. ศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ

o จัดการศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาจํานวน 1 หลักสูตร ได้แก่  

1.  ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ปรัชญาเเละวัตถุประสงค์ของหลักสูตร แก้

ปรัชญา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563)มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง และเป็นระบบในการใช้ทักษะทางภาษาอังกฤษ ทั้งสี่ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ พร้อมสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหาและการพัฒนาความรู้  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการ/วิชาชีพ เข้าใจในสถานการณ์ของโลกและสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

วัตถุประสงค์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่ มีคุณสมบัติดังนี้

1) มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในระบบปรัชญาต่างๆ อย่างลึกซึ้งถูกต้อง

2) มีความสามารถในการวิจัย คิดวิเคราะห์สังเคราะห์ อย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านปรัชญาอัน จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาการทางปรัชญา

3) มีคุณธรรมและจริยธรรม จรรยาบรรณนักวิจัย มีความคิดสร้างสรรค์และสร้างความก้าวหน้าแก่ชีวิตในทิศทางที่ ถูกต้อง

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563)มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง และเป็นระบบในการใช้ทักษะทางภาษาอังกฤษ ทั้งสี่ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ พร้อมสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหาและการพัฒนาความรู้  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการ/วิชาชีพ เข้าใจในสถานการณ์ของโลกและสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

สถานที่ตั้ง แก้

สาขาศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นวิทยาเขตหนองคาย ตั้งอยู่ที่ อาคาร 1 (ชั้น 3) บ้านเลขที่ 112 หมู่ 7 บ้านหนองเดิ่น ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดหวัดหนองคาย 43000

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แก้

หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563) แก้

1.หลักสูตร

ศิลปศาสตร์บัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ) ค่าธรรมเนียมการศึกษา 10,000 บาท/ภาคการศึกษา

ศศ.บ. (ภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ)

1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 132 หน่วยกิต

1.2 โครงสร้างหลักสูตร

แผนปกติ (หน่วยกิต ) แผนสหกิจศึกษา (หน่วยกิต)

1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 30

2.หมวดวิชาเฉพาะ. 96 96

2.1 วิชาแกน 18 18

2.2 วิชาเฉพาะด้าน 57 57

2.2.1 กลุ่มวิชาทักษะภาษา 30 30

2.2.2 กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ 12 12

2.2.3 กลุ่มวิชาวรรณคดี 6 6

2.2.4 กลุ่มวิชาการแปล 9 9

2.3 วิชาเลือก (วิชาโท) 21 15

2.3.1 กลุ่มวิชาการจัดการการธุรกิจ 21 15

2.3.2 กลุ่มวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว 21 15

2.3.3 กลุ่มวิชานวัตกรรมการสื่อสารและสื่อสารมวลชน 21 15

2.4 กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา - 6

3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 6

รวม 132 132

4. ชื่อหลักสูตร

- ภาษาไทย : ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ

- ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in English for Business Management

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

- ชื่อเต็ม(ภาษาไทย) : ศิลปศาสตร์บัณฑิต(สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ)

- ชื่อย่อ(ภาษาไทย) : ศศ.บ.(สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ)

- ชื่อเต็ม(ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts(English for Business Management)

- ชื่อย่อ(ภาษาอังกฤษ) : B.A.(English for Business Management)

หลักสูตร ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ แก้

โครงสร้างหลักสูตร จํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 143 หน่วยกิต

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต

1.1 กลุ่มวิชาภาษา 12

1.2 กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 9

1.3 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 9

2) หมวดวิชาเฉพาะด้าน 107 หน่วยกิต

2.1 วิชาชีพครู 38 หน่วยกิต

2.1.1 กลุ่มสาระวิชาชีพครู 26

2.1.2 กลุ่มประสบการณ์วิชาชีพครู 12

2.2 วิชาเอกการสอนภาษาอังกฤษในฐานะ ภาษาต่างประเทศ 69 หน่วยกิต

2.2.1 กลุ่มวิชาเอกเดี่ยว 63

2.2.2 กลุ่มวิชาเลือกวิชาเอก 6

3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

แนวทางการประกอบอาชีพ

ทั้งในภาครัฐและเอกชนในวงการอุตสาหกรรม

• การอุตสาหกรรมธุรกิจ

• เจ้าหน้าที่ด้านการต่างประเทศที่เน้นการใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารของทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

• เจ้าหน้าที่งานธุรการของทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน  

• เลขานุการ  

• ล่าม

• นักแปล

• บรรณาธิการ

• นักข่าว

• นักประชาสัมพันธ์

• ครู อาจารย์ (โดยอาจต้องศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูเพิ่มเติม หลังสำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ)

• ธุรกิจนำเข้า ส่งออก

บุคลากรสาขาวิชาศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ แก้

หัวหน้าสาขาวิชา

อ.ดร.สิริกานต์ สุวรรณผู

Lecturer Sirikarn Suvannapoo

อาจารย์

รศ.ดร.พงศ์ศรัญ เมธากาญจนศักดิ์

Assoc. Prof. Phongsarun Methakanjanasak

รองศาสตราจารย์

รศ.ดร.วัลลภา อารีรัตน์

Assoc. Prof. Wallapha Ariratana

รองศาสตราจารย์

รศ.รักชนก แสงภักดีจิต

Assoc. Prof. Rakchanok Saengpakdeejit

รองศาสตราจารย์

ผศ.ดร.ปาริชาต ทุมนันท์

Asst. Prof. Parichart Toomnan

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ผศ.ดร.มัชฌิมา วีรศิลป์

Asst. Prof. Machima Weerasilp

อาจารย์

ผศ.ดร.มาลีรัตน์ กะการดี

Asst. Prof. Maleerat Ka-kan-dee

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ผศ.ดร.สิทธิชัย สอนสุภี

Asst. Prof. Sittichai Sonsupee

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

อ.ดร.วรินทิพย์ แก่นอินทร์ สีสะหมุด

Lecturer Warinthip Kaenin Sisamouth

อาจารย์

อ.ดร.อังศุอร ณ หนองคาย

Lecturer Angsu-orn Na nongkhai

อาจารย์

อ.Bruce Stewart Prenter

Mr. Bruce Stewart Prenter

อาจารย์

อ.กิตติชัย นิลอุบล

Mr. Kittichai Nilubol

อาจารย์

อ.ชญาชล เชื้อนนท์

Miss Chayachon Chuanon

อาจารย์

อ.ชาติภร เมืองโคตร มุงคุณแสน

Mrs. ChaatiporlMuangkote Mungkhunsan

อาจารย์

อ.ธีระพงษ์ บุบผาดา

Mr. Thirapong Bubphada

อาจารย์

อ.บุศยารัชต์ นิธีดีชัยวราโชค

Miss Bussayarat Nithideechaiwarachok

อาจารย์

อ.ภควดี ไชยศิริ

Miss Phakhawadee Chaisiri

อาจารย์

อ.อรภิยา มณีกานนท์

Miss Ornpiya Maneeganont

อาจารย์

นางสาวดิศราพร ผลาปรีย์

Miss Disaraporn Phalapree

อาจารย์

ปรัชญา

หลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563) มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวางและเป็นระบบในการใช้ทักษะทางภาษาอังกฤษ ทั้งสี่ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ พร้อมสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหาและการพัฒนาความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการ/วิชาชีพ เข้าใจในสถานการณ์ของโลกและสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

วัตถุประสงค์ แก้
  1. มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการ มีวินัย ซื่อสัตย์และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น สถาบัน และประเทศชาติ
  2. มีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ เหมาะสมกับกาลเทศะ และสอดคล้องตามวัฒนธรรมของภาษา สามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆ โดยใช้วิชาภาษาอังกฤษและวิชาเฉพาะด้านในการประกอบอาชีพได้เป็นอย่างดี
  3. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยนำความรู้ภาษาอังกฤษ ประสบการณ์ในสาขาวิชาภาษาอังกฤษและวิชาเฉพาะด้านไปประยุกต์ใช้และแก้ปัญหาการทำงานได้อย่างเหมาะสม เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมต่อองค์กร
  4. มีความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในทุกบทบาท มีความรับผิดชอบต่อองค์กรและสังคม มีทักษะความพร้อมด้านสังคม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กร และการใช้ชีวิตในอนาคต
  5. มีทักษะและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางภาษาในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นคว้าข้อมูล นำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา แก้
  1. เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558
  2. เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2562 หมวดที่ 9
  3. มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.0
  4. สอบผ่านเกณฑ์การสอบวัดความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตามประกาศของมหาวิทยาลัย   
  5. เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ตามประกาศของมหาวิทยาลัย


ช่องทางการติดตามข่าวสาร

  1. Facebook : EBM KKU ( https://www.facebook.com/ebmkku ) , สาขาวิชาศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ( https://www.facebook.com/nkc.la ) , การรับบุคคลเข้าศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ( https://www.facebook.com/KKUAdmissionsOfficial )
  2. Website : https://www.nkc.kku.ac.th/nkc2021/plan/documents/view?id=158 , https://th.kku.ac.th/

กิจกรรม แก้

โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการปฏิบัติงาน แก้

เมื่อวันที่ 3กันยายน 2565 ที่ผ่านมา สาขาวิชาศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ได้จัดโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการปฏิบัติงานสาขาวิชา ประจำปีงบประมาณ 2565 ที่ร้านอาหารเฮือนหาดคำ จังหวัดหนองคาย

 

โครงการเตรียมความพร้อมสู่อาชีพในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2565 แก้

มีการจัดโครงการให้แก่นักศึกษา EBM ชั้นปีที่ 4 เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้รับการเรียนรู้ประสบการณ์นอกห้องเรียนโดยได้เรียนรู้ด้วยตนเองและได้รับประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพนั้น พร้อมทั้ง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาในสาขาของตนและเพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาต่อวิชาชีพในอนาคต โดยคณะนักศึกษาได้เดินทางไปศึกษาดูงานด้านการนำเข้า - ส่งออก การประกอบธุรกิจทั้งในและระหว่างประเทศ ณ สถานประกอบการ 3 แห่ง ในจังหวัดหนองคาย ได้แก่ สำนักงานศุลกากรหนองคาย, โรงแรมบัวลินน์ และดราก้อนเรย์ อควาติค

 
NONGKHAI CUSTOMS HOUSE
 
โรงแรมบัวลินน์
 
DRAGONRAY AQUATIC

กิจกรรมโครงการพัฒนาความร่วมมือระหว่างสถาบันในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง แก้

โครงการพัฒนาความร่วมมือระหว่างสถาบันในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สาขาศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในระหว่างวันที่ 17-20 สิงหาคม 2565 ที่มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ ของคณะภาษาศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ และที่โรงเรียนรากแก้ว ( Haakkeo Secondary School ) ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประจำปีงบประมาณ 2565

 
มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
 
โรงเรียนรากแก้ว ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

กิจกรรม LEAd international day แก้

กิจกรรมต้อนรับนักศึกษาน้องใหม่ช่ออินทนิลรุ่นที่ 7,8 ของสาขาศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ที่จัดขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ภายในงานมีการแสดงของนักศึกษาชั้นปีที่ 1, 2 และกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อต่อแขนระหว่างอาจารย์และนักศึกษา

 
 

กิจกรรมอบรมE-learning แก้

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 สาขาศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้าร่วมอบรม E-learning ณ ห้องปฏิบัตรการคอมพิวเตอร์ อาคารเรียนรวม 2 อบรมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสอบวัดผลทางคอมพิวเตอร์เพื่อจบการศึกษา ซึ่งในงานอบรมมีการให้ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับทฤษฎี กับปฏิบัติเกี่ยวกับการสอบวัดผลทางคอมพิงเตอร์

 
ภาพบรรยากาศอบรมE-learning
 
ภาพบรรยากาศอบรมE-learning

กิจกรรมทัศนศึกษาของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ ชั้นปีที่ 3

 

ในวันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565 หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ (English for Business Management: EBM) นำโดย อาจารย์อรภิยา มณีกานนท์ ประธานหลักสูตร EBM อาจารย์ภควดี ไชยศิริ และ อาจารย์วริศรา บทมาตย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ ได้จัดโครงการเตรียมความพร้อมสู่อาชีพในศตวรรษที่ 21 เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา EBM ชั้นปีที่ 3 ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มสาขาวิชาโท ได้แก่ กลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจ, กลุ่มวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว และ กลุ่มวิชานวัตกรรมการสื่อสารและสื่อสารมวลชน ได้เข้าศึกษาดูงาน ณ "ท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านเดื่อ จ.หนองคาย”

กิจกรรมภายในโครงการ ได้แก่ การเยี่ยมชมสถานที่และเรียนรู้องค์ความรู้ทั้ง 3 ด้านของ 3 กลุ่มวิชาโท จากผู้นำชุมชน, กิจกรรมทำสบู่จากมะเดื่อ, รับประทานอาหารท้องถิ่นโดยเชฟชุมชน, การประชุมเชิงปฏิบัติโดยแบ่งกลุ่มตามกลุ่มสาขาวิชาโท เพื่อระดมความคิดในการผลิตชิ้นงานแก่ชุมชน และ กิจกรรมทำข้าวโหล่ง (ขนมประจำชุมชนบ้านเดื่อ)

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมนี้คือ เพื่อเปืดโอกาสให้นักศึกษาทั้ง 3 กลุ่มวิชาโทได้ศึกษาแนวคิด การจัดการตามหลักการการตลาด การท่องเที่ยววิถีชุมชน และการประชาสัมพันธ์ชุมชนต่อสาธารณะ โดยเป็นการบูรณาการรายวิชาประจำกลุ่มวิชาโท ได้แก่ English for Marketing (ภาษาอังกฤษเพื่อการตลาด), English for Tourism (ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว) และ ภาษาอังกฤษเพื่อการประชาสัมพันธ์ (English for Public Relations) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษานำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ มาคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอผลงานออกมาในรูปแบบของโปรเจ็กต์แต่ละรายวิขา และนำเสนอข้อเสนอแนะ หรือแนวทางให้ชุมชนมีโอกาสในการเข้าถึงของนักท่องเที่ยว และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงชุมชนที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองคาย

กิจกรรมอบรมเขียนแผนยุทธศาสตร์

 

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 สาขาวิชาศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ ได้เข้าทำกิจกรรมอบรมเเละเขียนแผนยุทธศาสตร์ร่วมกัน เพื่อที่จะนำมาพัฒนาและปรับปรุงกิจกรรมต่างๆภายในหลักสูตร

กิจกรรมทำเสื้อไปค่ายEnglish Camp

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 นักศึกษาสาขาศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ปีที่1,2และ3 ได้ร่วมกันเพ้นท์เสื้อเพื่อไปค่ายภาษาอังกฤษที่โรงเรียนบ้านสวยหลง ตำบลสองห้อง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ด้วยการตัดกระดาษแข็งเป็นแม่พิมพ์และใช้สีเพ้นท์เสื้อทำเสื้อของตัวเอง ด้วยการทำกิจกรรมนี้มีการเล่นดนตรีเปิดหมวกเพื่อหาเงินบริจาคไปค่าย English Camp อีกด้วย