todsapon

Personal Information แก้

Todsapon Chorpsungnoen
[94/5 Sema,Sungnoen,Nakhonratchasima,Thailand 30170
[todsapon.2537@hotmail.com]
[www.facebook.com/todsapon.2537]


Objectives
   System Analyst

Education

   Rajamangala University of Technology Isan,Nakhonratchasima
   Sungnoen School,Nakhonratchasima

experience

   S.C.S Foot ware,Nakhonratchasima,Store Managemant 2013-2014


skills

   Network Device Testing
   System Maintenance
   Computer Repairing
   IT Support


Personal information

   Age : 22 
   Health : Excellent
   Marital Status : Single
   Nationality : Thai
   Interest : Technology Research,IT NEWS


reference

   Asst.Prof.Chuchi T.Siriwatana
   Asst.Prof.Dr.Raveprapha Sitirop

หัวข้อทางด้านเทคโนโลยี (Technological topics) แก้

Introduction to Software Defined Networking (SDN) แก้

ไฟล์:ภาพที่ 1.jpg
หัวข้อที่ 1

Cisco ได้มี concept สำหรับการควบคุมและจัดการระบบ Network ในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า “Software Defined Networking” ที่ได้รับความสนใจและติดตามจากผู้ที่อยู่ในวงการ Network เป็นอย่างมาก


คำว่า Software Defined Network หรือ SDN ถ้าเราไปค้นใน Wikipedia จะนิยามไว้ว่า “Software defined networking (SDN) is an approach to building computer networks that separates and abstracts elements of these systems” เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น SDN เป็นการแยก elements ที่ใช้ในการประมวลผล (Control/Process) ของอุปกรณ์ Network ซึ่งก็คือ Control Plane ออกมา โดยที่ยังคงเก็บ elements ที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งคือ Data plane อยู่ในตัวอุปกรณ์เหมือนเดิม คล้ายกับ concept ของ Wireless Controller ที่ทำหน้าที่ Control/Process และ Access Point ที่เป็น Data Plane


โดย SDN มีวิธีการสื่อสารระหว่าง Control Plane ไปยัง Data Plane วิธีแรกสุดที่มีออกมา เป็นงานวิจัยของมหาลัย Stanford เรียกว่า “Openflow” โดยจะมี component สำคัญอยู่ 2 อย่าง คือ


1. Openflow Controller ซึ่งเป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่ในกา รบริหารจัดการและควบคุมสำหรับ Network elements ต่างๆ นอกจากนี้ ยังเป็นตัวกลางที่มี Application Programming Interface (API) เชื่อมต่อไปยัง Application ทำให้ Application สามารถร้องขอ network service ต่างๆ จาก network elements ได้โดยตรง


2. Openflow Device Agent เป็นตัวที่ฝังอยู่ใน Network device ซึ่งทำหน้าที่ในการรับฟังคำสั่งหรือ request จาก Openflow Controller หรือ Application ผ่านทาง API เพื่อทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลต่อไป (Forwarding)


ดังนั้น เราจึงสามารถใช้ Openflow controller ควบคุมและบริหารจัดการทำงานทั้งหมด รวมไปถึงเรื่องของการคิดวิธีการ flow ของ traffic ว่าแต่ละ Hop ควรจะรับส่งข้อมูลกันอย่างไร จากนั้นก็ส่งคำสั่งผ่านไปยัง Openflow agent ที่อยู่ใน Network device แต่ละตัวให้ทำงานตามคำสั่งของ Controller โดยอุปกรณ์ Network สามารถเป็นยี่ห้ออะไรก็ได้ ที่รองรับการทำงานร่วมกับ Openflow controller ได้


Cisco ONE คืออะไร

ไฟล์:ภาพที่ 2.jpg
หัวข้อที่ 1

สำหรับทาง Cisco เองนั้น ได้มีการวาง roadmap เพื่อรองรับ SDN เอาไว้แล้ว โดยใช้ชื่อว่า Cisco Open Network Environment หรือ Cisco ONE ซึ่งทางเราได้มีการประกาศตัว Cisco ONE controller และ ONE agent ออกมาแล้ว โดยสามารถรองรับทั้งในส่วนของ standard Openflow protocol และ Cisco ONE Platform Kit (PK) ได้ สำหรับ enhance function ต่าง ๆ ครับ และนอกจากนี้อุปกรณ์หลายๆตัวก็สามารถรองรับ แล้วเช่น อุปกรณ์ในตระกูล ASR/Nexus/Catalyst CISCO System Inc,www.cisco.com/go/one

Reference:CISCO System Inc.[1] แก้

RFID (Radio Frequency Identification) แก้

ไฟล์:Tecno rfid.jpg
หัวข้อที่ 2

เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) ซึ่งเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการจัดเก็บและแสดงผลรายละเอียดของวัตถุ โดยใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อกลางในการส่งผ่านข้อมูล โดยเริ่มมีการใช้มาช้านานตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้ในการแยกแยะเครื่องบินที่บินอยู่เหนือน่านฟ้าว่าเป็นเครื่องบินของฝ่ายใด เพื่อป้องกันปัญหาการโจมตีผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น จนกระทั่งปัจจุบันเทคโนโลยี RFID เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการจัดการของธุรกิจต่าง ๆ ทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม รวมถึงด้านโลจิสติกส์ สำหรับการประกอบธุรกิจของไทยซึ่งปัจจุบันเผชิญกับการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรง การนำเทคโนโลยี RFID เข้ามาช่วยในการจัดการภายในกระบวนการต่าง ๆ ในการประกอบธุรกิจ นับเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้การประกอบธุรกิจของเราสามารถแข่งขันกับ คู่แข่งทางธุรกิจได้ อย่างไรก็ตาม มิใช่ว่าทุกธุรกิจจะสามารถนำ RFID มาใช้ได้ เพราะขั้นตอนการดำเนินงานของบางธุรกิจอาจไม่เหมาะต่อการนำ RFID มาใช้ อาทิ การผลิตที่มีขั้นตอนที่ต้องใช้ความร้อนสูงกับตัวสินค้า ซึ่งจะทำให้ฉลาก RFID ที่ติดอยู่บนตัวสินค้าได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการพิจารณาแล้วว่าต้องการนำ RFID มาใช้

ควรเลือกใช้ผู้ให้บริการ RFID ที่มีความเข้าใจในเทคโนโลยีอย่างแท้จริง เพื่อที่จะสามารถแนะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมและพัฒนาระบบที่สอดคล้องกับการดำเนินงานของธุรกิจ

อุตสาหกรรมการผลิต ในกระบวนการติดตามการผลิต สิ่งที่สำคัญที่ท่านต้องการทราบอย่างมากก็คือ ในแต่ละกระบวนการผลิตใช้เวลาในการทำงานและได้จำนวนการผลิตในแต่ละขึ้นตอนเท่าไหร่ เพื่อนำไปคำนวนถึงต้นทุนการดำเนินงานต่าง ๆ บางแห่งอาจใช้การจับเวลาโดยมีการใช้คนเข้ามาช่วยในการจับเวลา แต่จะเห็นว่าไม่สามารถจับเวลาได้ตลอด RFID เข้ามามีส่วนช่วยในขั้นตอนนี้นี่เอง โดยจะนำมาประยุกต์โดยใช้ Production Line Automation ซึ่งจะสามารถช่วยให้ท่านสามารถรับทราบข้อมูลการผลิตได้ตลอดเวลา ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ สามารถคืนทุนจากต้นทุนที่ลงไปได้ทันที, ลดเวลาในแต่ละขั้นตอนการผลิต, เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต, ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่นระบบการผลิตกุ้งเพื่อการส่งออกสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ไปยืนยันว่ามีขั้นตอนการผลิตและคุณภาพของสินค้า

ธุรกิจการค้า ในธุรกิจการค้าปลีกและ Super Store นั้นสิ่งที่ท่านอยากทราบก็คือภายใน 1 วันสินค้าสามารถขายออกไปได้วันละเท่าไหร่ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็มีเพียงพออยู่แล้ว แต่สิ่งที่อยากทราบลงไปอีกก็คือ สินค้าที่วางที่ชั้นถูกหยิบไปเท่าไหร่ ควรจะนำสินค้ามาวางเพิ่มที่ชั้นสินค้าหรือไม่ RFID มาช่วยตรงนี้นี่เอง ยกตัวอย่างบริษัทที่นำ RFID มาใช้แล้วก็ เช่น

Wall Mart ร้านค้าปลีกชื่อดังของสหรัฐฯ ซึ่งมียอดขายปีละกว่า 250,000 ล้านดอลลาร์ ได้ออก ระเบียบ กำหนดให้ Suppliers รายใหญ่ 100 ราย เช่น Gillette, Nestle, Johnsons & Johnsons และ Kimberly Clark ติด RFID Chip บนหีบห่อ และกล่องบรรจุสินค้าให้เรียบร้อยก่อนส่งมาถึง ห้าง ส่วน Suppliers รายเล็กๆ จะต้องติดชิปในรถส่งสินค้าให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2549 WallMart มองว่า เมื่อระบบดังกล่าวเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์จะช่วยให้บริษัททราบถึงการเดินทางของสินค้าได้ทุกระยะ ตั้งแต่โรงงานของ Suppliers จนถึงศูนย์กระจายสินค้าของห้าง และเมื่อใดที่สินค้าถูกหยิบออกจากชั้นไป RFID ก็จะส่งสัญญาณเตือนไปยังพนักงานให้นำสินค้ามาเติมใหม่ทำให้ Wall Mart ไม่จำเป็นต้องเก็บสต็อกสินค้า แต่สามารถสั่งให้ Suppliers มาส่งของได้ทันทีรวมทั้งจะช่วย guarantee ว่าสินค้ามีวางจำหน่วยตลอดเวลา และประโยชน์ที่สำคัญอีกประการ หนึ่งก็คือ จะช่วยลดปัญหาการโจรกรรมสินค้า และปลอมแปลงสินค้าได้อีกด้วย

ประโยชน์ของ FRID ต่อธุรกิจค้าปลีกนั้น ได้แก่ มีสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการตลอดเวลา, ไม่ต้องสต๊อคสินค้า, ลดการขโมยสินค้า, นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมลูกค้า

ธุรกิจบริการ ในธุรกิจบริการที่ยกตัวอย่างมาก็คือธุรกิจสายการบินและธุรกิจทางการแพทย์

ธุรกิจสายการบินที่นำ RFID มาใช้ก็ได้แก่ระบบการติดตามสัมภาระของผู้โดยสารระบบนี้สามารถลดการสูญหายหรือส่งสัมภาระไปผิดเครื่อง

ธุรกิจทางการแพทย์ ข้อมูลจาก The United States of Food and Drug Administration (USFDA) พบว่า ปัจจุบันโรงพยาบาล บางแห่งในสหรัฐฯ ได้ฝัง RFID Chip ไว้ใต้ผิวหนังบริเวณท่อนแขน ตรงส่วนกล้ามเนื้อ Triceps ของคนไข้ เพื่อความสะดวกในการตรวจรักษาและติดตามข้อมูลการรักษาของผู้ป่วย เมื่ออวัยวะที่ได้รับการฝังชิปไว้ภายในถูกสแกนด้วย RFID Reader ระบบจะแสดงข้อมูลการรักษาของคนไข้รายนั้นออกมา ทำให้แพทย์ที่ถูกเปลี่ยนให้มาดูแลรักษาคนไข้รายดังกล่าวได้รับทราบประวัติการรักษาโดยแพทย์คนก่อนหน้านั้นได้อย่างถูก ต้องและรวดเร็ว

การนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ ในอุตสาหกรรมบริการคือบ่อนกาสิโน (CASINO) โดยนำแผ่น RFID ฝังลงในชิพส์ (CHIPS) แทนเงิน ซึ่งจะมีประโยชน์ ดังนี้คือ ป้องกันการนำแผ่นชิพส์ (แทนเงิน) ปลอมมาใช้ ซึ่งทำให้บ่อนเสียประโยชน์อย่างมาก และเป็นปัญหาสำคัญของบ่อนกาสิโนทั่วโลก นอกจากนั้นแล้ว ยังมีประโยชน์ในการศึกษา พฤติกรรมของนักพนัน เพื่อจะนำไปวิเคราะห์ศึกษา เหมือนกับการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ทางบ่อนจะได้หาทางเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการต่อไป

ประโยชน์ของ RFID ต่อธุรกิจบริการ ได้แก่ สามารถรับทราบข้อมูลของลูกค้าอย่างรวดเร็ว, ลดต้นทุนในการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเอกสาร

ธุรกิจการควบคุมสินค้าคงคลัง และการจัดส่งสินค้า การควบคุมสินค้าคงคลังและจัดส่งสินค้าถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญต่อ RFID เป็นอย่างมากเนื่องจากสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานในด้านนี้เป็นอย่างมาก ปัจจุบันกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย กรมศุลกากร การท่าเรือแห่งประเทศไทย และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ดำเนินโครงการยกระดับท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นท่าขนส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Port) เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ

e-Port เป็นโครงการสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในระดับประเทศ โดยมีเป้าหมายให้ การปฏิบัติงาน ณ ท่าเรือ เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกทางการค้าและธุรกิจ รวมทั้งเสริมความมั่นคงปลอดภัยในการค้าระหว่างประเทศ โดยระยะแรกนี้จะใช้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือนำร่องของโครงการนี้ ประโยชน์ของ RFID ต่อ Logistic & Supply Chain ได้แก่การลดต้นทุนในการดำเนินงาน, สามารถรับทราบถึงข้อมูลสินค้าในขณะนั้น, นำข้อมูลไปใช้อ้างอิงในการทำธุรกรรมต่างๆ ได้

การบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย การบริหารและการจัดการ สิ่งที่ RFID จะสามารถนำไปประยุกต์ได้ก็คือระบบบริหารงานบุคคล โดยสามารถติดตามเวลาการทำงานของพนักงานรวมถึงสามารถดูได้ว่าพนักงานอยู่ในส่วนไหนของโรงงาน แต่ประเด็นนี้ยังมีปัญหาในส่วนของสิทธิส่วนบุคคล

ระบบรักษาความปลอดภัย นำ RFID ไปประยุกต์โดยทำงานคล้ายๆ กับระบบบริหารงานบุคคลโดยนำข้อมูลการเข้าถึงระบบต่างๆ บรรจุไว้ใน RFID เพื่อสามารถเข้าไปทำงานในส่วนต่างๆ ได้ ประโยชน์ของ RFID ต่อ ระบบ Management and Security ได้แก่การตรวจสอบเวลาทำงานรวมถึงการเข้าถึงส่วนต่างๆ, นำข้อมูลไปใช้ร่วมกับระบบอื่นๆ เช่นระบบเงินเดือน

การเกษตร การนำ RFID มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงเกษตรกรรม คือ วงการปศุสัตว์ และกำลังทดลองนำแผ่น RFID มาติดกับใบหูของวัว จะทำให้ผู้เลี้ยงวัวและทางราชการ สามารถติดตามการเดินทางหรือตำแหน่งได้เป็นอย่างดี และจะมีประโยชน์ในการติดตามโรค ไม่ให้เกิดการกระจายของโรคภายในสัตว์เลี้ยง อีกทั้งยังใช้ในการติดตามการเลี้ยงกุ้งซึ่งที่ทำอยู่ก็ได้แก่การบันทึกข้อมูลว่าให้อาหารอะไรแก่กุ้งบ้าง, ใช้ยาอะไรในการเลี้ยงกุ้ง โดยข้อมูลนี้จะถูกส่งต่อไปยังโรงงานที่ทำการส่งออกกุ้งไปยังต่างประเทศ

RFID at Library ขณะนี้ได้มีห้องสมุดของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของไทยได้ลองนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาใช้นำร่องกับระบบห้องสมุด เพียงติดชิพอาร์เอฟไอดีไว้ที่หนังสือในห้องสมุด แล้วใส่ข้อมูลต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้นๆ ไว้ในชิพ อย่างเช่น ข้อมูลชื่อหนังสือ ประเภทหนังสือ ชั้นที่เก็บหนังสือ และติดเครื่องอ่านไว้ตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งการนำเอาอาร์เอฟไอดีมาใช้กับระบบห้องสมุดนี้ โดยอาร์เอฟไอดี จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ดูแลและผู้ที่มาใช้บริการห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็น การยืมหรือคืนหนังสือ ที่สามารถทำได้ในคราวเดียว ไม่ต้องมานั่งคีย์ข้อมูลของหนังสือแต่ละเล่มแบบทีละเล่ม หรือไม่ต้องมานั่งยิงบาร์โค้ดไปทีละเล่ม เมื่อผู้ใช้บริการเดินผ่านเครื่องอ่าน เครื่องจะรับส่งสัญญาณวิทยุกับตัวชิพที่ติดในหนังสือ เพิ่มความรวดเร็วในการยืม-คืน เมื่อนำมาใช้ร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด จะช่วยตรวจสอบให้ด้วยว่า หนังสือเล่มที่นักศึกษาต้องการได้ถูกยืมไปหรือยัง กับการใช้เพียงระบบคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูลแบบเก่า ถึงในฐานข้อมูลจะบอกไว้ว่าหนังสือเล่มนี้ๆ ยังไม่มีใครยืมไป ทว่าเมื่อเดินหายังชั้นหนังสือแล้วกลับปรากฏว่า หนังสือได้หายตัวไปเสียแล้ว แต่กับห้องสมุดที่นำ RFID มาใช้ เพียงเครื่องอ่านที่บริเวณชั้นหนังสือได้รับสัญญาณจากชิพว่าหนังสือถูกเก็บไว้ผิดที่ผิดทาง ก็จะระบุออกมาได้ว่าหนังสือเล่มนี้ๆ ขณะนี้ไปปรากฏตัวที่ชั้นหนังสือนี้ๆ เป็นการป้องกันการซ่อนหนังสือห้องสมุด แม้แต่ปัญหาการขโมยหนังสือของห้องสมุดก็สามารถป้องกันได้ เพราะชิพที่ติดที่หนังสือนี้เมื่อเดินทางผ่านเข้ามาในบริเวณพื้นที่รัศมีการอ่านของเครื่องอ่าน ก็จะได้รับและส่งสัญญาณวิทยุคุยกับเครื่องทันที และด้วยความเป็นคลื่นวิทยุนี้จึงช่วยให้สามารถส่งสัญญาณทะลวงออกมาจากกระเป๋าที่จะใช้ซ่อนหนังสือได้

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า RFID สามารถนำไปประยุกต์ได้กับธุรกิจรวมถึงบริการในหลายๆ ประเภทท่านสามารถนำวิธีการประยุกต์ต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจของท่านสามารถลดต้นทุนรวมถึงได้ข้อมูลต่างๆ ไว้ใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจเพื่อการดำเนินธุรกิจอีกด้วย

Reference:RFID Solution.[2] แก้

เทคโนโลยี LTE แก้

ไฟล์:4g.png
หัวข้อที่ 3

ตามความหมายทางวิศวกรรมแล้ว LTE น่าจะถือเป็นยุค 3.9G แต่ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ-โอเปอเรเตอร์ในต่างประเทศต่างโฆษณาในเชิงพาณิชย์ว่า LTE เป็น 4G กันเรียบร้อยแล้ว เพื่อหวังผลทางการตลาดให้รู้สึกว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่กว่า 3G

LTE เป็นหนึ่งมาตรฐานจากกลุ่ม the Third Generation Partnership Project (3GPP) เพื่อกำหนด การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความ เร็วสูง บนระบบโมบายไปสู่ระบบโมบายยุคต่อไป ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นยุคที่ 4 (4G) ทางเทคนิค LTE ถูกสร้างอยู่บนพื้นฐานของ GSM, GPRS,EDGE และ WCDMA รวมถึง HSPA อีกด้วย ในที่สุดแล้วเราคงจะต้องเรียกเทคโนโลยี LTE ว่าเป็น 4G อย่างแน่นอน เพราะพลังแห่งการประชาสัมพันธ์ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า LTE คือ 4G กันอย่างแพร่หลาย ข้อดีของ LTE ก็คือมันเร็วขึ้นกว่า 3G ในปัจจุบันอีกหลายเท่า ซึ่งจะช่วยให้เราใช้งานมือถือในรูปแบบ

 
ไฟล์:Content4G.jpg
หัวข้อที่ 3

LTE จึงถูกเรียกแทนด้วย 4G หรือจะเรียกรวมๆ ว่า 4G LTE ก็ได้ครับ สำหรับเครือข่าย 4G LTE นั้นจะกระจายสัญญาณบนความถี่ 1800 MHz และ 2300 MHz (20 ช่องสัญญาณ)สำหรับในประเทศไทย กทช ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการออกใบอณุญาต 3G เป็น 3.9G เพื่อให้ทัดเทียมต่างประเทศ ตามกำหนดการคาดว่าจะสิ้นสุดการประมูล และสามารถออกใบอณุญาตได้ในปลายเดือนกันยายน โดยจะเริ่มใช้ได้ปลายปี 2553 ซึ่งหลังจากสิ้นสุดการประมูล และออกใบอณุญาติได้สำเร็จ ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกๆในเอเซียที่ใช้เทคโนโลยี LTE พร้อมๆกับประเทศญี่ปุ่น soucre:wikipedia;,htcsociety

Reference:Wikipeia.[3] แก้

LAN Technology แก้

Topology
รายละเอียด
1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น 

สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้


ข้อดี- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้


2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป


ข้อดี- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง


3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป


ข้อดี- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ


4.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
5.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

Reference:TEERUK2.[4] แก้

WAN (wireless wide area network)
WAN (wireless wide area network)เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายงานที่อยู่ห่างไกลกันมาก อาจจะอยู่ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานสาขาย่อยเข้ากับเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ที่อยู่ห่างกันไกล อาจจะอยู่กันคนละที่หรือคนละเมืองกัน แต่ติดต่อกันด้วยระบบการสื่อสารทางไกลความเร็วสูง หรือโดยการใช้การส่งสัญญาณ ผ่านดาวเทียมเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อถึงกันได้ ข่ายงานแต่ละข่ายงานจะอยู่ห่างกันประมาณ 2 ไมล์ซึ่งไกลกว่า ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ แลน ที่อาจอยู่ภายในอาคารหรือบริเวณมหาวิทยาลัยเดียวกัน แวนไร้สาย (wireless wide area network) ข่ายงานบริเวณกว้างไร้สาย
ผู้รับผิดชอบทางด้านเครือข่ายขององค์การต้องขอใช้บริการต่างๆ เช่น บริการเชื่อมต่อผ่านทางเฟรมรีเลย์ (Frame Relay) คู่สายวงจรเช่า (Leased Line) หรือ ISDN ผู้ให้บริการในประเทศไทยก็มีอยู่หลายที่เหมือนกันที่สามารถให้บริการได้เช่น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), ดาต้าเน็ด, องค์การโทรศัพท์, บริษัทคอม, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
ประเภทเครือข่าย WAN
ประเภท
รายละเอียด
1 . เครือข่ายส่วนตัว (private network) เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์กร เช่น องค์กรที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น


การจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของข้อมูล สามารถควบคุมดูแลเครือข่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการ ส่วนข้อเสียคือในกรณีที่ไม่ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ และหากมีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่างๆ จะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วย ซึ่งอาจจะไม่สามารถจัดช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้


2. เครือข่ายสาธารณะ (PDN: public data network) หรือบางครั้งเรียกว่าเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (VAN: Value Added Network) เป็นเครือข่าย WAN ที่จะมีองค์กรหนึ่ง (third party) เป็นผู้ทำหน้าที่ในการเดินระบบเครือข่าย และให้เช่าช่องทางการสื่อสารให้กับ บริษัทต่างๆ ที่ต้องการสร้างระบบเครือข่าย ซึ่งบริษัทจะลดค่าใช้จ่ายของตนลงได้ เนื่องจากมีบุคคลอื่นมาช่วยแบ่งปันค่าใช้จ่ายไป ซึ่งจะนิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่ รวมทั้งมีบริการให้เลือกอย่าง หลากหลาย ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งในส่วนของราคา ความเร็ว ขอบเขตพื้นที่บริการ และความเหมาะสมกับงานแบบต่าง ๆ


ยกตัวอย่าง ในสหรัฐอเมริกามีการใช้ระบบในรูปแบบนี้ภายใต้การบริการของ GE (General Electric) ตั้งระบบชื่อ GEIS (GE Information Services Company) สำหรับประเทศไทย เริ่มมีแนวความคิดในการใช้ระบบนี้ในเครือข่าย GINET (Government Information Network) โดยทางเนคเทคจะตั้งเครือข่ายเพื่อการบริการ และให้หน่วยงานต่าง ๆ มาเชื่อมสัญญาณเข้าที่ระบบนี้


เทคโนโลยีแวน มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
ชื่อประเภท
รายละเอียด
1.ระบบส่งสัญญาณ (Transmission Facility) ระบบส่งสัญญาณ (Transmission Facility) วงจรสวิตซ์ (Circuit Switching) นั้นมีหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูล มันจะสร้างสถานีรับข้อมูลและสถานีส่งข้อมูลก่อนจากนั้นมันก็จะทำการส่งข้อมูลออกไป พอมันสร้างทั้ง 2 สถานีเสร็จ มันก็จะสามารภใช้ส่งหรือรับข้อมูลได้แค่ 2 สถานีนี้เท่านั้นเช่น ระบบโทรศัพท์ ปกติโทรศัพท์ทุกหมายเลขจะมีสายสัญญาณเชื่อมมายังชุมสายโทรศัพท์ส่วนกลางมีสวิตซ์ติดตั้งอยู่ ระหว่างชุมสายโทรศัพท์นั้นมันจะมีการเชื่อมต่อกัน สามารถโทรไปเบอร์อื่นๆได้ เวลาที่เราใช้โทรศัพท์ จะมีเส้นทางเสั นทางสัญญาณจะถูกจองไว้สำหรับใช้ในการสนทนา แต่พอเวลาที่วางสายไปหรือเลิกใช้โทรศัพท์ เส้นทางนี้ก็จะถูกยกเลิกไปด้วย สัญญาณมันก็จะรอให้สายอื่นมาใช้งานต่อไป


ระบบส่งสัญญาณแบบวงจรสวิตซ์ที่ใช้ในเครื่อข่าย Wan มีดังนี้ - สายคู่เช่า (Leased Line)


สายคู่เช่า (Leased Line) สายคู่เช่าเป็นระบบส่งสัญญาณแบบวงจรสวิตซ์ที่ยืดหยุ่นและทนทาน ทีเราเรียกกันว่า สายคู่เช่า ก็เพราะว่าเป็นการเช่าสัญญาณจากบริษัทหรือองค์กรที่ให้บริการเช่น องค์การโทรศัพท์ เป็นต้นสายคู่เช่านั้นทำหน้าที่ส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลแทนอะนาล็อก มันสามารถช่วยลดทอนสัญญาณ และสามารถส่งสัญญาณได้หลายช่องสัญญาณในเวลาเดียวกันได้เทคนิคการมัลติเพล็กซ์สัญญาณ สายคู่เช่าถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถรวมการสื่อสารหลายๆ การสื่อสารให้สามารถแชร์สัญญาณหรือลิงก์เดียวกันได้ ดังนั้นจึงรวมเอาหลายๆสัญญาณมารวมกันเป็นสัญญาณเดียวกันแล้วก็ส่งไปที่ช่องสัญญาณ พอถึงปลายทางก็ทำการแยกสัญญาณออก เพื่อส่งต่อไปปลายทางการรวมสัญญาณเราเรียกว่า "การมัลติเพล็กซ์ (Multiplexing)" ส่วนการแยกสัญญาณเราเรียกว่า "การดีมัลติเพล็กซ์ (DeMultiplexing)"


การทำมัลติเพล็กซ์ทำได้ 2 วิธี คือ1) TDM (Time Division Multiplexing) คือการแชร์แบนด์วิธแบบช่องเวลา2) FDM (Frequency Division Multiplexing) คือการแชร์แบนวิธแบบช่องความถี่Time Division Multiplexingแบบนี้จะเป็นการแบ่งใช้แบนด์วิธของช่องสัญญาณออกเป็นช่วงเวลา แต่ละสถานีจะแชร์ช่องสัญญาณสลับกับการส่งข้อมูล โดยส่งได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ช่วงเวลานี้จะถูกแชร์กัน ขึ้นอยู่กับอัลกอริทึมที่เราใช้ การแชร์แบนด์วิธแบบ TDM ก็มีโอเวอร์เฮด หรือการแบนด์วิธที่ต้องใช้ในการควบคุมการมัลติเพล็กซ์หรือที่ใช้ในการซิงโครไนเซชันสัญญาณการซิงโครไนเซชันก็คือ การทำให้เครื่องที่รับและเครื่องที่ส่งเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับเรื่องของเวลาในการรับส่งข้อมูล ถ้าไม่มีการซิงโครไนเซชันอาจจะทำให้ข้อมูลเดินทางไปถึงสถานีปลายทางเกิดข้อผิดพลาดได้Frequency Division Multiplexing FDM เป็นเทคนิคในการแบ่งแบนด์วิธออกเป็นหลายช่องของความถี่ ซึ่งแต่ละช่องจะถูกกำหนดให้ใช้ในการรับส่งข้อมูลได้ เฉพาะสถานีใดสถานีหนึ่งเท่านั้น ส่วนใหญ่นิยมใช้การแชร์แบนด์วิธแบบ TDM มากกว่าแบบ FDMมาตรฐานสัญญาณดิจิตอลที่นิยมใช้ก็มี   1) Digital Signal Hierarchy (DSH)   2) ITU's Digital Signal Hierarchy   3) SONET's Optical Carrier System   4) SONET's Synchronous Transport Signal Sysytem


- โมเด็มและระบบโทรศัพท์ (Modem and Telephone System)


โมเด็มทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) ไปเป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) หรือสัญญาณเสียงแล้วส่งสัญญาณนี้ผ่านไปทางระบบโทรศัพท์ทำให้เราสามารถคุยกันทางโทรศัพท์แล้วได้ยินเสียง ฝั่งที่ทำหน้าที่รับก็จะมีโมเด็มที่คอยทำหน้าที่แปลงสัญญาณอะนาล็อก ไปเป็นสัญญาณดิจิตอลเหมือนเดิมเพื่อให้คอมพิเตอร์นั้นประมวลผลข้อมูลได้ คอมพิวเตอร์มันรู้สัญญาณดิจิตอลเป็น 0 กับ 1 เท่านั้น ส่วนระบบโทรศัพท์มันรู้จักสัญญาณอะนาล็อกเป็นเสียงเท่านั้น ความแตกต่างที่สำคัญของ Lan กับ Wan ก็คือระยะความห่างระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายการส่งข้อมูลไปบนสายโทรศัพท์ระยะที่มันส่งจะไกลกว่าการใช้ UTP ที่ใช้ในระบบ Lan ประเภทของการแปลงสัญญาณ (Modulation Type)  1) การแปลงความถี่ของคลื่น (Freguency Modulation)  2) การแปลงกำลังของคลื่น (Amplitude Modulation)  3) การแปลงเฟสของคลื่น (Phase Modulation)

- ISDN (Integrated Services Digital Network)


บริการเชื่อมต่อผ่านทางเฟรมรีเลย์ (Frame Relay)คู่สายวงจรเช่า (Leased Line) หรือ ISDN ผู้ให้บริการในประเทศไทยก็มีอยู่หลายที่เหมือนกันที่สามารถให้บริการได้เช่นบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), ดาต้าเน็ด, องค์การโทรศัพท์, บริษัทคอม, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

- DSL (Digital Subscriber Line)


DSL ย่อมาจาก Digital Subscriber Line หมายถึงเทคโนโลยีโมเด็ม ที่ใช้คู่สายทองแดงธรรมดา ปรับให้กลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิตอลความเร็วสูง โดยมีการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล (Modulation) ในย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไป ทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ในขณะที่ใช้งานโทรศัพท์ สำหรับเทคโนโลยีในตระกูล DSL อยู่หลายประเภท เช่น


* ADSL: Asymmetric Digital Subscriber Line
  • HDSL: High bit rate Digital Subscriber Line
  • IDSL: ISDN Digital Subscriber Line
  • RADSL: Rate Adaptive Digital Subscriber Line
  • SDSL: Symmetric Digital Subscriber Line
  • VDSL: Very high bit rate Digital Subscriber Line



- เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)


Cable Modem คือ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (HFC Network : Hybird Fiber - Coaxial) เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยตรง โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ แต่ไม่ต้องมีการหมุนโทรศัพท์ (dial-up) ออกไป สำหรับ Cable Modem สามารถแบ่งออกได้ 2 แบบ คือ แบบ One way และ แบบ Two way



2.อุปกรณ์เครือข่าย เช่น Switch, Router, CSU/DSU (Channel Dervice Unit/Data Service Unit) อุปกรณ์เครือข่าย (Channel Dervice Unit/Data Ser ce Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทำหน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย ใช้สำหรับทวนสัญญาณ เพื่อให้การรับส่งข้อมูลที่อยู่ห่างไกลกันมีประสิทธิภาพที่ดี อุปกรณ์เครือข่ายก็เช่น Hub, switch , Router CSU/DSU เป็นต้น--Tangmo1728 14:17, 23 พฤศจิกายน 2007 (ICT)
3.ระบบจัดการที่อยู่ (Internet work Addressing)
4.โพรโทคอลจัดเส้นทาง (Routing Protocol)

Reference:กูเกิลกูรู .[5] แก้

OSI Model แก้

OSI Model ประกอบด้วย รายละเอียด
Physical layer (layer 1) ชั้นกายภาพเป็นชั้นระดับล่างสุดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆทำหน้าที่ในการกำหนดวิธีควบคุมการรับและการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับบิต
Data Link layer (layer 2) ชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูลหน้าที่หลักของชั้นเชื่อมต่อข้อมูลคือ ทำการรวบรวมข้อมูลจากชั้นกายภาพตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
Network layer (layer 3) มีหน้าที่รับผิดชอบใน การควบคุมการติดต่อรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์(เรียกว่าโหนด)ต่างๆ ในระบบเครือข่ายให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
Transport layer (layer 4) โปรแกรมในชั้นนำส่งข้อมูลมีหน้าที่หลักในการรับข้อมูลจากชั้นควบคุมหน้าต่างสื่อสาร(session layer) ซึ่งอาจต้องแบ่งข้อมูลออกเป็นแพกเก็ตขนาดย่อม(ในกรณีข้อมูลมีปริมาณมากๆ) หลายๆแพกเก็ต แล้วจึงส่งข้อมูลทั้งชุดต่อไปให้โปรแกรมในชั้นควบคุมเครือข่าย
Session layer (layer 5) เป็นผู้กำหนดวิธีการควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างผู้รับ-ส่งข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นการสื่อสารไปจนยุติการสื่อสาร
Presentation layer (layer6) โปรแกรมในชั้นนี้จะมองข้อมูลว่าเป็นสิ่งที่มีรูปแบบ(syntax) และความหมาย(semantics)มากกว่ากระแสของบิตหรือไบต์
Application layer (layer 7) บทบาทที่สำคัญคือ
    1.การเป็นตัวกลางหรือส่วนติดต่อระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับโปรแกรมใน 6 ชั้นที่เหลือ     
    2.การกำหนดมาตรฐานของจอ
    การกำหนดมาตรฐานของจอนั้นไม่ได้เป็นการกำหนดวิธีสร้างจอเทอร์มินัลให้เหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อให้ทำให้จอเทอร์มินัลทุกชนิดในโลกมีความเข้าใจตรงกัน   


TCP/IP Model แก้

TCP/IP Layer รายละเอียด
Network Access จะประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารเข้ากับเครือข่ายหน้าที่ของโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้นนี้คือจัดหาเส้นทางของข้อมูลให้ระหว่าง Host กับ Host ควบคุมการไหล ของข้อมูล และควบคุมความผิดพลาดของข้อมูล
Internet ประกอบด้วยขั้นตอนการอนุญาตให้ข้อมูลไหลผ่านไปมาระหว่าง Host ของ

เครือข่าย 2 เครือข่ายหรือมากกว่า ดังนั้นโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้น Internet นอกจากจะมีหน้าที่จัดเส้นทาง ของข้อมูลแล้ว ยังต้องทำหน้าที่เป็นเกตเวย์สำหรับการติดต่อกับเครือข่ายอื่นอีกด้วย

Host-to-Host ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ส่งผ่านแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเอนทิตี้ของ Host ต่างเครื่องกัน นอกจากนั้นโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้นนี้ยังมีหน้าที่ในการควบคุมการไหลของ ข้อมูลและควบคุมความผิดพลาดของข้อมุลด้วย
Process/Application ประกอบด้วยโปรโตคอลที่ทำหน้าที่แชร์แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินัลที่อยู่ไกลออกไป

เปรียบเทียบ OSI กับ TCP/IP Model แก้

OSI Model
TCP/IP
APPLICATION
PROCESS/APPLICATION
PRESENTATION
PROCESS/APPLICATION
SESSION
PROCESS/APPLICATION
TRANSPORT
HOST TO HOST
NETWORK
INTERNET
DATALINK
NETWORK ACCESS
PHYSICAL
NETWORK ACCESS


Reference:คุณทวีศักดิ์ แก้วเปี้ยและคุณณัฐกิจ ทองอยู่.[6] แก้

  1. [www.cisco.com/go/one ], Introduction to Software Defined Networking (SDN).
  2. [office.cpu.ac.th/bba/file/02-rfid.doc ], RFID Solution โดย สุวัฒน์ ใจคำ.
  3. [1], เทคโนโลยี LTE.
  4. [2],LAN Technology.
  5. [3],WAN Technology.
  6. [4],OSI Modeling.