ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน แก้

ความเป็นมา แก้

 
Research Station

ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน[1] (Tropical Vegetable Research Center หรือ TVRC) เริ่มต้นจาก โครงการพัฒนาพืชผักสู่ชนบท (Thailand outreach Program : TOP) ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2525 โดยความร่วมมือจาก 3 ฝ่ายคือ

  • รัฐบาลไทย
  • ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Delevelopment Bank หรือ ADB)
  • และศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย (Asian Vegetable Research and Development Center หรือ AVRDC) ประเทศไต้หวัน

ต่อมา ในปีพ.ศ. 2532 ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนได้รับอนุมัติให้จัดตั้งขึ้นภายใต้สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อขยายงานที่ร่วมกับ AVRDC ทั้งงานวิจัยและการประสานงานวิจัยระหว่างนักวิจัยภายในและภายนอกประเทศเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชผักให้ได้ผลดีและรวดเร็ว

ในปี พ.ศ. 2549 ศูนย์วิจัยและพัฒนาเพื่อผักเขตร้อนมีการเปลี่ยนแปลงจากที่เคยสังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปลี่ยนเป็นหน่วยงานในสังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสนและได้ดำเนินการเรื่อยมา

ในปี พ.ศ. 2556 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีคำสั่งให้ยุบเลิกสถาบันและพัฒนา กำแพงแสน และให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อนอยู่ภายใต้สังกัด ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

การดำเนินงาน แก้

 
Indigenous vegetable garden

ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการรวบรวมพันธุกรรม พืชผักชนิดต่างๆ และพักพื้นบ้านภายในประเทศ เพื่อรักษาพันธุ์ไม่ให้สูญหาย รวมทั้งมีการศึกษาลักษณะพันธุ์ บันทึกข้อมูล ขยายพันธุ์ และเก็บรักษาพันธุ์ ในรูปเมล็ดพืช ในห้องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ปัจจุบัน มีเชื้อพันธุกรรมที่เก็บรวบรวมไว้ประมาณ 13,000 accession จัดทำแปลงรวบรวมพันธุ์ผักพื้นบ้านกว่า 200 สายพันธุ์

  • เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และรักษาต้นพันธุ์
  • มีการประเมินลักษณะที่ดีลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจของเชื้อพันธุกรรมพืชผัก เพื่อใช้ประโยชน์ของเชื้อพันธุกรรมพืชผักที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
  • มีการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืชผักให้ใช้ผลประโยชน์ในทางในการวิจัยต่อยอดและใช้ประโยชน์โดยเกษตรกร
  • มีการศึกษาวิจัยระบบการผลิตผักที่เหมาะสมและปลอดภัยกับผู้บริโภค รวมทั้งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชผักให้มีคุณภาพดี
 
Inside Indigenous vegetable garden

ผลงานวิจัยการพัฒนาพันธุ์พืชที่สามารถเผยแพร่และมีการนำไปใช้ประโยชน์ และในนามของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาคือผักเขตร้อนมีหน้าที่ประสานงานและร่วมดำเนินการวิจัยและฝึกอบรมกับศูนย์ AVRDC - The World Vegetable Center for East and Southeast Asia (AVRDC-ESEA)

สถานที่ติดต่อ แก้

ที่ตั้ง : ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ. นครปฐม 73140

โทรศัพท์ : 034-281509,034-281389

โทรสาร : 034-351393

Facebook : <https://www.facebook.com/tvrcku/. />

วัตถุประสงค์[1] แก้

  1. เพื่อศึกษาวิจัยให้ได้พันธุ์พืชผักและระบบการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย
     
    Breeding
  2. เพื่อวิจัยและพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักให้ได้ผลผลิตและคุณภาพสูง
  3. เพื่อรวบรวม เก็บรักษา และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืชผักของประเทศไทย
  4. ประสานงานวิจัยและร่วมดำเนินการฝึกอบรมนานาชาติกับ ARC/AVRDC
  5. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชผักเขตร้อน

งานบริการ[1] แก้

 
Indigenous vegetable garden
  1. ให้คำแนะนำ เผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ด้านการปลูก ปฏิบัติดูแลรักษาพืชผักชนิดต่างๆ
  2. ดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นแก่นิสิต นักศึกษาและเจ้าหน้าที่ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเพิ่มพูนความรู้และความชำนาญเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับพืชผัก
  3. ให้บริการการปฏิบัติงานวิจัยในแปลงทดลองแก่อาจารย์ นักวิจัย ผู้ร่วมโครงการหรือนักวิจัยจากหน่วยอื่นๆ
  4. ให้บริการเมล็ดพันธุ์ผักที่มีคุณภาพดี เช่น มะเขือเทศ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วเหลืองฝักสด ถั่วฝักยาว แตงกวา เป็นต้น

งานวิจัย[1][2] แก้

 
Breeding
  1. พัฒนาพันธุ์ถั่วเขียวที่ให้ผลผลิตสูง และต้านทานโรค 2 พันธุ์ คือ กำแพงแสน1 และ กำแพงแสน2
  2. พัฒนาพันธุ์มะเขือเทศทนร้อนสำหรับรับประทานสด ผลเล็กสีชมพู และปลูกได้ตลอดทั้งปี คือ พันธุ์ “สีดาทิพย์” และพันธุ์ลูกผสม “สีดาทิพย์ 92” นอกจากนี้ยังมีมะเขือเทศเชอรี่คือพันธุ์ “สวีทเชอรี่” ซึ่งให้ผลผลิตสูงเป็นที่ต้องการของตลาด
  3. พัฒนาพันธุ์พริกเผ็ดและพริกหวานพันธุ์ต่างๆ คือ พริกชี้ฟ้าพันธุ์ TVRC 365,พริกขี้หนูพันธุ์ TVRC 398,พริกหวานพันธุ์ TVRC 500 และ TVRC 651
  4. พัฒนาพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสด “KPS 292” ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ปลูกได้ตอดปี ให้ผลผลิตสูง ขนาดฝักโต
  5. พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักชนิดต่างๆ ตลอดจนพัฒนาวิธีการเพิ่มคุณภาพของเมล็ดพันธุ์

การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์[3] แก้

เมล็ดพันธุ์ผักทุกชนิดที่ผลิตโดยศูนย์วิจัยพืชผักเขตร้อน จะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ตามมาตรฐานนานาชาติ (International Seed Testing Association) คือ ความชื้น ความบริสุทธิ์และความงอกก่อนเผยแพร่ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย ด้านการจัดหามาตรฐาน การตรวจสอบคุณภาพ เมล็ดพันธุ์ผักชนิดต่าง ๆ ที่ผลิตได้ในประเทศไทย

การปลูกพืชไม่ใช้ดิน[3] แก้

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเป็นวิธีการปลูกพืชที่มีการให้น้ำ อากาศ และธาตุอาหารแก่รากพืชโดยตรง ไม่ผ่านทางดิน จึงสามารถควบคุมปริมาณน้ำ และธาตุอาหารที่ให้แก่พืช ได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้พืชเจริญเติบโตรวดเร็ว ปลอดจากการรบกวนของศัตรูพืช ได้ดีกว่าระบบปลูกพืชปกติ จึงสามารถลดการใช้สารป้องกันกำจัดโรค และแมลงลงได้มาก

 
Entrance TVRC

ศูนย์วิจัยพืชผักเขตร้อนร่วมกับภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร ศึกษาหาเทคโนโลยีในการปลูกพืชผักโดยไม่ใช้ดินที่เหมาะสมสำหรับสภาพอากาศของไทย โดยศึกษาการปลูกักโดยไม่ใช้ดินในระบบต่าง ๆ เช่น การปลูกโดยใช้สารละลาย (Water culture) และการปลูกโดยใช้วัสดุปลูกที่ไม่ใช่ดิน (Substrate culture) รวมทั้งดัดแปลงวัสดุปลูกที่มีอยู่ในประเทศเพื่อลดการนำเข้า และหาวิธีการลดสารไนเตรทในพืชผักเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

 
Breeding

อ้างอิง แก้

 
Brochure
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ศูนย์วิจัยพืชผักเขตร้อน” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: <http://www.rdi.ku.ac.th/division/thai/tropical.html. />. (18 เมษายน 2559)
  2. axiom_solution. 2556. “งานวิจัยและงานบริการของศูนย์วิจัยพืชผักเขตร้อน” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: <http://www.oknation.net/blog/horti-asia/2013/04/11/entry-1. />. (18 เมษายน 2559)
  3. 3.0 3.1 #สำนักบริการคอมพิวเตอร์. “ศูนย์วิจัยพืชผักเขตร้อน” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: <http://www.ku.ac.th/e-magazine/october44/agri/plant_hot.html. />. (18 เมษายน 2559)