ผู้ใช้:Thawin2503/ทดลองเขียน

[1]</ref> แก้

ประวัติส่วนตัว ดร.ถวิล อรัญเวศ

ชื่อ-สกุล นายถวิล อรัญเวศ อายุตัว ๖๑ วัน เดือน ปี เกิด ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๓ เกิดที่บ้านดอนหวาย ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ ๔๖๑๓๐ โทรศัพท์มือถือ ๐๘๑-๗๙๐๕๓๐๔ เริ่มรับราชการ อาจารย์ ๑ ระดับ ๓ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๙ ที่โรงเรียนบ้านเมืองรัง สปอ.ห้วยแถลง สปจ.นครราชสีมา กรมสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) เกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ รวมอายุราชการ ๓๔ ปี ประสบการณ์การดำรงตำแหน่ง ดังนี้

ครูผู้สอน อาจารย์ ๑ โรงเรียนบ้านเมืองรัง ระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๙ ถึงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗

รวม ๗ ปี ๔ เดือน ๑๙ วัน

ครูใหญ่ โรงเรียนบ้านหนองแจง สปอ.โนนไทย สปจ.นครราชสีมา ระหว่างวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ ถึงวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ รวม ๓ ปี ๑๑ เดือน ๓๐ วัน อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนชายพะเนาว์หนองโพธิ์ ระหว่างวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๓ รวม ๒ ปี ๑ เดือน ๑๘ วัน

ผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอวังน้ำเขียว ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๓ ถึงวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๕ รวม ๒ ปี ๒ เดือน ๔ วัน

ผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอสูงเนิน ระหว่างวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๕ ถึงวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๖ รวม ๑ ปี ๑ เดือน

เจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพท.นครราชสีมา เขต ๔ ระหว่างวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ถึงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๘ รวม ๑ ปี ๑๑ เดือน ๑๖ วัน

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกุดจิก (รัชชุศิริอนุกูล) สพท.นครราชสีมา เขต ๔ ระหว่างวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๘ ถึงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ รวม ๓ ปี ๔ เดือน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต ๔ ระหว่างวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๓ รวม ๒ ปี ๑ เดือน ๒๓ วัน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๔ ระหว่างวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓ รวม ๑๐ ปี รวมระยะเวลาดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ๑๒ ปี ภูมิลำเนา บ้านเลขที่ ๕๐๙ หมู่ที่ ๑๓ ซอยสุรนารายณ์ ๑/๑ ถนน สุรนารายณ์ ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ ๓๐๓๑๐ โทรศัพท์ ๐๘๑-๗๙๐๕๓๐๔

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ E – mail thawin09@gmail.com ชีวิตและผลงาน ดร. ถวิล อรัญเวศ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4


ประวัติส่วนตัว นายถวิล นามสกุล อรัญเวศ เกิดวันที่ 9 เดือน เมษายน พ.ศ. 2503 อายุ 61 ปี ข้าราชการบำนาญ เงินเดือน ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 อันดับ ค.ศ.4 (3) ขั้น 69,040 บาท วิทยฐานะรองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชำนาญการพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2551

เกษียณอายุราชการ 1 ตุลาคม 2563 เงินเดือนก่อนเกษียณ 69,040 ที่อยู่ปัจจุบันเลขที่ 509 ชุมชนพฤกษ์พนา หมู่ที่ 13 ถนน สุรนารายณ์ 1/1 ตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัด.นครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30310 โทร.มือถือ 081 7905304

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ประเภท บริหารการศึกษา ประเภท บริหารการศึกษา เลขที่ 57330531750630 ประวัติการศึกษา ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) วิชาเอก แขนง มัธยม-ภาษาไทย ปี 2528 จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศาสนศาสตร์บัณฑิต (ศน.บ.) สาขาศึกษาศาสตร์ ปี 2559 จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กทม.

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.) วิชาเอก การประถมศึกษา ปี 2534 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) วิขาเอก การบริหารการศึกษา ปี 2555 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศษ.ด.) วิขาเอก การบริหารการศึกษา จากหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2559

ทางธรรม น.ธ.เอก เปรียญธรรม 5 ประโยค จากสำนักเรียนวัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร

ประวัติการรับราชการ บรรจุเข้ารับราชการครู อาจารย์ 1 ระดับ 3 ที่โรงเรียนบ้านเมืองรัง สปอ. ห้วยแถลง สปจ.นครราชสีมา เมื่อ 1 ตุลาคม 2529 ดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองแจง สปอ. โนนไทย สปจ.นครราชสีมา เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2537

อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนชายพะเนาหนองโพธิ์ สปก. พระทองคำ สปจ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2541

ผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษา อำเภอวังน้ำเขียว เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2543

ผู้ช่วยหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอสูงเนิน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2545

เจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพท.นม.เขต 4 เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกุดจิก (รัชชุศิริอนุกูล) สพท.นครราชสีมา เขต 4 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2548 (ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 วิทยฐานะรองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชำนาญการพิเศษ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสูงสุด ท.ช. เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2550 จากนั้น ก็ไม่ได้เสนอขออีก เพราะตันแล้ว รางวัลดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จ เป็นที่ีประจักษ์ ในการบริหาร ระดับชาติ

1. รางวัลเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ (คุรุสดุดี) จากคุรุสภา เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563 มอบโดย นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่น ประเภท ผู้สนับสนุน จากสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

3. พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนนักศึกษาดีทีเด่นจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561


4. เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการคุ้มครอง เด็กนักเรียนดีเด่น ปี 2559



5. MOE AWARDS ประเภทบุคคล สาขาการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จากกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560 มอบโดย หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

6. รางวัล เสมา ปปส.ดีเด่น โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข จากกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 มอบโดย นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 7. รางวัล เสมา ปปส.ดีเด่น โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข จากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558 มอบโดย พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

8. รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการศึกษา ฯ จาก สกสค. เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2553

รางวัลจากคุรุสภา 1. รางวัลหนึ่งแสนครูดี จากคุรุสภา เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 2. ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบและปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูดีเด่น จากคุรุสภา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2558 3. เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” จากคุรุสภา เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2563 มอบโดย นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รางวัลระดับภาค 1. เกียรติบัตร ระดับเหรียญทอง กิจกรรมการประกวดรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) จากสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาชั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม, พ.ศ. 2554

ระดับเขตพื้นที่การศึกษา 1. ครูดีมีคุณธรรม ระดับดีเยี่ยม ประเภทผู้บริหารการศึกษา จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563 2. ครูดีมีคุณธรรม ระดับดีเยี่ยม ประเภทผู้บริหารการศึกษา จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562 3. ครูดีมีคุณธรรม ระดับดีเยี่ยม ประเภทผู้บริหารการศึกษา จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560


4. ครูดีมีคุณธรรม ระดับดีเยี่ยม ประเภทผู้บริหารการศึกษา จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558 5. ครูดีมีคุณธรรม ระดับดีเยี่ยม ประเภทผู้บริหารการศึกษา จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557 6. ครูดีมีคุณธรรม ระดับดีเยี่ยม ประเภทผู้บริหารการศึกษา จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

7. ครูดีมีคุณธรรม ระดับดีเยี่ยม ประเภทผู้บริหารการศึกษา จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554 จากภาคเอกชน 1. รางวัลเพชรแผ่นดิน สาขาผู้บริหารการศึกษา ผู้มีคุณธรรมดีเด่น จากหนังสือพิมพ์ทำเนียบธุรกิจนิตยสารผู้นำนักบริหาร เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2545 2. รางวัลเพชรแผ่นดิน สาขาผู้บริหารการศึกษา ผู้มีคุณธรรมดีเด่น จากหนังสือพิมพ์ทำเนียบธุรกิจนิตยสารผู้นำนักบริหาร เมื่อวันที่ 1 สิหาคม พ.ศ.2545 คติธรรมยึดเหนี่ยว ครองตน ครองคน ครองงาน ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน



ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนนักศึกษาไม่ก่อการทะเลาะวิวาท

ดร.ถวิล  อรัญเวศ


        การก่อการทะเลาะวิวาทของนักเรียนหรือนักศึกษาโดยอ้างเกียรติและศักดิ์ศรีของสถาบันเป็นพฤติกรรมที่มักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ ตามที่ได้ทราบจากข่าวหนังสือพิมพ์ และข่าวจากวิทยุโทรทัศน์ โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นเนื่องจากอาจจะคึกคะนองตามประสาวัยรุ่น หรือจากการมีค่านิยมที่ไม่เหมาะสม เรื่องการรักศักดิ์ศรี หรือการไม่ยอมกันหรือบาดหมางใจกันมาก่อน

       จากประสบการณ์ที่เคยพบเห็นสมัยเป็นเด็กวัยรุ่นที่ไปชมการแสดงหมอลำ ลำวงก็มีเรื่องทะเลาะและทำร้ายกันจนบาดเจ็บและเสียชีวิตก็มีซึ่งอาจจะเป็นเรื่องความไม่พอใจกันในบางอย่าง บางครั้งเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความคึกคะนองตามประสาวัยรุ่นแต่เมื่อพอโตเป็นผู้ใหญ่จึงจะนึกได้และคิดว่าถ้าย้อนอดีตไปคงคิดว่าไม่น่าทำเลย บาดเจ็บกันเปล่า ๆเช่นเดียวกับการอ้างเกียรติและศักดิ์ศรีอะไรบางอย่างของวัยรุ่น เช่น สถาบัน ถ้าพิจารณาจากการที่พวกเขาได้ให้ถ้อยคำจากการสัมภาษณ์ข่าว ก็จะพบว่าเป็นเรื่องการขาดวุฒิภาวะทางด้านอารมณ์ นั้นคือขาดความฉลาดทางอารมณ์ และความเฉียบคมทางปัญญา ซึ่งเป็นธรรมดาของพฤติกรรมวัยรุ่นซึ่งอาจจะชอบความรุนแรง โดยไม่กลัวว่าจะได้รับอันตรายหรือบาดเจ็บ เป็นพฤติกรรมของการคึกคะนอง แต่เมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่มากกว่านี้จะคิดได้ภายหลังว่า เราไม่น่าทำเลย

        อย่างไรก็ตามตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา ปัญหาเหล่านี้ ถ้าจะพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้วคือ การขาดคุณธรรมจริยธรรมนั้นเอง โดยเฉพาะเมตตาธรรม กรุณาธรรม ขันติ ความอดทน ทมะ การรู้จักข่มใจ ยับยั้งใจเอาไว้ได้  การไม่ลุอำนาจโทสะเมื่อเกิดโทสะแล้วไม่คิดจะห้ามปรามใจตนเอง ทำตามอำนาจโทสะที่เกิดขึ้นจนลืมว่าสิ่งที่กระทำลงไปจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนเอง คนอื่น และสังคม

           การก่อการทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่น มองอีกในแง่หนึ่ง เป็นเรื่องธรรมดาของวัยนี้ เพราะเป็นวัยที่รุ่นแรง รักความเป็นเพื่อน รักศักดิ์ศรีไม่อยากให้ใครมาหยามศักดิ์ศรีตนเอง และเพื่อน ๆ การทะเลาะวิวาทบางครั้ง มักจะเกิดจากการลืมสติ ขาดสติเพราะเสพของมึนเมาก็มี ทำให้ขาดการยังยั้งใจตนเองไปชั่วขณะก็มี

         การก่อการทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นในสังคมไทย มักจะพบหรือเกิดขึ้นประจำในกรณีการละเล่นต่าง ๆ ตามเทศกาลประเพณี มักจะพบพฤติกรรมการทะเลาะวิวาท สาเหตุเป็นคู่อริกัน หรือไม่ชอบพอกันขัดเคืองใจกันมาก่อน จะพบเห็นตามข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ซึ่งในแต่ละครั้งจะมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจนถึงปางตายก็มีทำให้สร้างความเดือดร้อนกับตัวผู้ก่อเหตุเองและผู้ปกครองของกลุ่มเด็กวัยรุ่น ซึ่งที่ผ่านมาทางหน่วยงานต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง ก็ได้มีการหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอดเพื่อลดและป้องกันทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น ปัญหานี้ได้สร้างความเสียหายทั้งกับตัวนักศึกษาเองและชื่อเสียงของสถาบันอีกด้วย

             ปัจจุบัน นักเรียน นักศึกษา (โดยเฉพาะอาชีวศึกษา) มักจะมีการประกาศสงครามกันผ่านทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงใช้ถ้อยคำยั่วยุรุนแรงว่าจะ “เด็ดหัว” นักศึกษาสถาบันคู่อริ ซึ่งยิ่งจะรุนแรง ยังลามเข้าไปถึงการทะเลาะวิวาทกันข้ามสถาบันก็มี การทะเลาะวิวาท ปะทะ ต่อสู้ เพื่อ "ศักดิ์ศรีสถาบัน" ของ "นักศึกษาอาชีวะ" หรือ ไม่ใช่อาชีวะ แต่เป็นวัยรุ่นที่กำลังอยู่ในวงสุราเสพของมึนเมา ได้กลายเป็น "ธรรมเนียมปฏิบัติ" ถ้าไม่พอใจกันหรือสบตากันแล้วหาเรื่อง ทำให้ก่อการทะเลาะวิวาทกันและเป็นสิ่งที่ยากที่จะแก้ไข แต่ก็จำเป็นต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หมาดสิ้นไปเนื่องจากปัญหาดังกล่าวนอกจากจะสร้างค่านิยมที่ไม่ดี ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้ว ยังสร้างความเสื่อมเสียและทำลายความน่าเชื่อถือให้กับสถาบันการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็น "เสาหลัก" ของการสร้างทรัพยากรมนุษย์อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอีกด้วย

         เหตุการณ์การทะเลาะวิวาท ระหว่างนักศึกษาต่างสถาบันที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดกรณีการใช้อาวุธปืนไล่ยิงกันจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น ถือเป็น"ปัญหาที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือเรื้อรังที่สังคมจำต้องการหาทางป้องกัน แก้ไขอย่างเร่งด่วนต่อไป

 

ผลกระทบต่อสังคม

         ก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ร่างกาย จิตใจ ชีวิต ทรัพย์สินไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเองแล้ว ยังทำให้พ่อแม่ญาติสนิทมิตรสหาย ต้องทุกข์ใจที่เห็นบุตรหลานตนเองจะต้องเสียอนาคต และยังทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียงไปอีกด้วยและที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือเป็นปัญหาให้กับสังคมและคนรอบข้างเพราะนอกจากนักเรียนโรงเรียนคู่อริจะได้รับบาดเจ็บแล้ว คนส่วนหนึ่งที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือคนบริสุทธิ์ต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วยเพราะโดนลูกหลงของกลุ่มวัยรุ่นที่ก่อการทะเลาะวิวาทนั้นเอง


แนวทางการเสริมสร้างและการเฝ้าระวังป้องกัน

       ปัญหาเรื่องการทะเลาะวิวาทของเด็กวันรุ่นจะไม่จบลงได้

ง่าย ๆ ถ้าคิดว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องธรรมดาของเด็กวัยรุ่นซึ่ง

ชอบความรุนแรง หรือหลงผิดในค่านิยม หรือเกียรติและศักดิ์ศรี

โดยการอ้างสถาบันการศึกษาบ้าง การไม่สบอารมณ์กันเพราะ

การมองหน้ากันบ้าง

       แนวทางการป้องกันปัญหา เพื่อไม่ให้เกิดซ้ำซากหรือเกิดแล้ว

เกิดอีกนั้น ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องร่วมด้วยช่วยกันโดยเฉพาะ

ครู อาจารย์ และผู้ปกครอง จะต้องเข้ามามีส่วนรับรู้รับทราบปัญหาและ

ช่วยกันเฝ้าระวังโดยปลูกฝังตั้งแต่เยาว์วับ และก็นำหลักธรรมทาง

ศาสนามาอบรมบ่มเพาะ คือ  

         1.   สร้างความตระหนักถึงความเสียหายที่จะเกิดจากการทะเลาะวิวาท

     เมื่อมีการทะเลาะวิวาทกันแล้ว แน่นอนสิ่งที่จะเกิดคือ การได้รับบาดเจ็บการเสียชีวิต การเสียอนาคตเสียประวัติ เพราะวัยรุ่น ถือว่าเป็นวัยที่จะเป็นกำลังของชาติในปัจจุบันและอนาคต สถานศึกษา สถาบันการศึกษาทุกแห่งต้องมีกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องนี้ ทำจนเป็นวิถีชีวิตของวัยรุ่นเช่น กิจกรรมแนะแนวตั้งแต่อนุบาลเป็นต้นไป การให้คำปรึกษาการอบรมวันศุกร์ เป็นต้น

       2. เปิดโอกาสให้เด็กวัยรุ่นได้ทำกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์

          การทำกิจกรรมสร้างสรรค์ของเด็กเยาวชน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น กิจกรรมเพื่อนรักเพื่อนกิจกรรมผูกเสี่ยวเยาวชนคนเมตตา ร่วมด้วยช่วยกันไม่มีการทะเลาะวิวาทการนำหลักธรรมเรื่องเมตตาธรรม กรุณาธรรมการฝึกจิตใจเองของนักเรียนนักศึกษาให้มีความฉลาดทางอารมณ์และเฉียบคมทางปัญญา

      3. การใช้หลักธรรมในการอบรมบ่มเพาะป้องกัน

          มีหลายคนคิดว่า การอบรมจิตใจ เป็นเรื่องของพระสงฆ์ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะครู อาจารย์ และผู้ปกครองนี้แหละเป็นผู้อยู่ใกล้ชิดเด็กเยาวชนกว่า และควรร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครองนักเรียน คอยสอดส่องพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของบุตรหลานตนเองหลักธรรมที่ควรปลูกฝัง เช่น เมตตาธรรมกรุณาธรรม การรู้จักข่มใจตนเองให้มีความอึดความทนไม่ลุอำนาจโทสะ ไม่ผูกความอาฆาตพยาบาทต่อกันและกันให้ความรัก ความเป็นพี่เป็นน้อง ความเป็นเพื่อนคอยช่วยเหลือกันในยามคับขันนอกจากนี้แล้ว ควรให้นักเรียน นักศึกษาได้วิเคราะห์ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 หรือความจริงอันประเสริฐโดยประยุกต์ให้เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน เช่น การรับรู้ปัญหาการวิเคราะห์สาเหตุแห่งปัญหาการหาทางแก้ปัญหาร่วมกันถ้ามีกรณีเช่นนั้นเกิดขึ้น จะร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหาอย่างไรและร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาอย่างถาวรต่อไป

       4. สรรสร้างค่านิยมที่ดีงามมาอบรมบ่มเพาะขัดเกลา

           ครู อาจารย์ รวมทั้งผู้ปกครอง ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี และยังไม่พอต้องร่วมด้วยช่วยกันในการรับรู้ปัญหาและป้องกันปัญหาการทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่น ปลูกฝังความมีเมตตาธรรม มีกรุณาธรรม ความฉลาดทางอารมณ์และความเฉียบคมทางทางปัญญารวมทั้งปลูกฝังความรู้คู่กับคุณธรรมไม่เพียงส่งเสริมความเป็นคนเก่งเพียงอย่างเดียว

        5. เฝ้าระวังอยู่เสมอในการทำกิจกรรมพัฒนาจิตใจให้แก่เด็กและเยาวชน

            ต้องมีการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ จนเป็นสุขนิสัย หรือเป็นวิถีชีวิตของเด็ก ปลูกฝังภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการทะเลาะวิวาทกันไม่ว่าจะใช้กำลังกายหรือกำลังอาวุธก็ตาม จนทำให้เด็กเยาวชนเข้าใจอย่างถ่องแท้และเกลียดในการก่อการทะเลาะวิวาท ใครทำถือว่าเป็นเรื่องเลวร้าย สังคมเพื่อนด้วยกันประณาม


สรุป

          การก่อการทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่น เกิดจากการคึกคะนองในการทำตามใจตนเองเมื่อมีอารมณ์โกรธ อารมณ์โทสะไม่คิดห้ามใจตนเอง เอาไว้ ทำตามอำนาจโทสะ ขาดสติสัมปชัญญะ ขาดการอดทนอดกลั้น ขาดเมตตาธรรมกรุณาธรรม มีค่านิยมไม่ดี รักศักดิ์ศรีอย่างไร้เหตุผลจำต้องปลูกฝังเยาชนให้มีความอึดความทนในด้านจิตใจ สร้างภูมิคุ้มกันด้านจิตใจ โดยใช้หลักเมตตาธรรม กรุณาธรรม มุทิตาธรรม เบญจศีล เบญจธรรมการให้รู้จักฝึกข่มใจตนเองไม่ให้ลุอำนาจโทสะที่เกิดขึ้น ฝึกทำสมาธิ ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ทำจนเป็นสุขนิสัย หรือวิถีชีวิตของเด็ก ซึ่งจุดหมายปลายทางเด็กเยาวชนจะได้วิถีชีวิตที่งดงาม เข้าใจตระหนักและรับรู้ในปัญหาที่จะเกิด และไม่คิดอยากจะก่อการทะเลาะวิวาทกันอีกต่อไปนั้นเอง............


-----------------------------










เว็บไซต์ผลงาน https://www.facebook.com/Thawil2503, http://thawin09.blogspot.com/ https://www.gotoknow.org/dashboard/home#!/, https://plus.google.com/112650210367558426779

  1. <ref>