ตําบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม แก้

1. ด้านกายภาพ แก้

ที่ตั้ง แก้

อําเภอบางเลนตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2439 ที่ว่าการตั้งอยู่ที่บ้านบางไผ่นารถ ตําบลบางไทรป่า ริมฝั่ง ตะวันออกของแม่น้ําท่าจีนเรียกว่าอําเภอบางไผ่นารถ ต่อมาเห็นว่าที่ตั้งอําเภอไม่เหมาะสมเพราะพื้นที่คับแคบ ประกอบกับตลิ่งฝั่งแม่น้ําท่าจีนถูกน้ําเซาะดินพังเกิดความเสียหายอย่างมาก  จึงได้ย้ายที่ว่าการอําเภอไปตั้งอยู่ริมฝั่ง ตะวันตกของแม่น้ําท่าจีนในเขตตําบลบางปลาเรียกว่า “ อําเภอบางปลา ” ต่อมาอําเภอบางปลาได้ขยายและแบ่ง ออกเป็น  2  ตําบล  คือ ตําบลบางปลาและตําบลบางยุง แต่ที่ตั้งของอําเภออยู่ในเขตตําบลบางยุง จึงเปลี่ยนชื่อ มาเป็นตําบลบางเลนในปี พ.ศ.2479 และได้เปลี่ยนชื่อจากอําเภอบางปลา เป็นอําเภอบางเลน และในปี พ.ศ.2521  ได้ย้ายที่ทําการอําเภอจากริมฝั่งตะวันตกมาตั้งอยู่ริมถนนพลดําริจนถึงปัจจุปัน

   สําหรับเทศบาลตําบลบางเลน ได้เปลี่ยนฐานะมาจากสุขาภิบาลบางเลน ซึ่งสุขาภิบาลบางเลนได้ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ  2502 (ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย  เมื่อวันที่  17  มีนาคม  พ.ศ.  2502  และประกาศลง ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2502)  ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่บางส่วนในตําบลบางเลน และ ตําบลบางไทรป่า  ต่อมาเมื่อวันที่  2  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2526  กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเขต สุขาภิบาลบางเลน (ลงในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 7 มิถุนายน  2526)  ซึ่งประกอบไปด้วย  ชุมชนหมู่ที่  6,7,8,9 และ 10  ต.บางเลน  และชุมชนหมู่ที่  2,3, และ 10  ต.บางไทรป่า  และต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2542 สุขาภิบาลได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาล (ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล  พ.ศ.  2542)

ลักษณะที่ตั้ง อาณาเขต เขตการปกครอง เทศบาลตําบลบางเลน มีพื้นที่อยู่ ๒ ฝั่งของแม่น้ําท่าจีนในเขตตําบลบางเลน และตําบลบางไทรป่า  มีพื้นที่ รวม ๑๖.๑๓๙ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ   ๑๐,๐๘๖.๘๗๕ ไร่   โดยมีอาณาเขต ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับชุมชนหมู่ที่ ๓,๕  ของ  อบต.บางไทรป่า อ.บางเลน ทิศใต้ ติดต่อกับชุมชนหมู่ที่ ๓  ของ  อบต.บางเลน  อ.บางเลน ทิศตะวันออก ติดต่อกับชุมชนหมู่ที่ ๗,๑๐ ของ อบต.บางเลน  อ.บางเลน ทิศตะวันตก ติดต่อกับชุมชนหมู่ที่ ๑  ของ อบต.บางไทรป่า และหมู่ที่ ๑๑ ของ อบต.บางเลน เทศบาลตําบลบางเลนแบ่งเขตชุมชนในเขตการปกครอง  ดังนี้ 1.ชุมชนตลาดเก่า2.ชุมชนตลาดบางเลน3.ชุมชนบ้านต้นตาล4. ชุมชนบ้านกอง5.  ชุมชนคลองบางเลน6.  ชุมชนคลองประปาเหนือ7.  ชุมชนคลองประปาใต้8.ชุมชนหมู่ดอน9.ชุมชนคลองพระพิมล10.ชุมชนวัดบางเลน11.ชุมชนท่าช้าง12.ชุมชนจอมทอง13.ชุมชนบ้านอ่าว14.ชุมชนตลาดชมภูพงศ์15.ชุมชนบ้านร่มรื่น

ลักษณะภูมิประเทศ แก้

   ภูมิประเทศของเทศบาลตําบลบางเลน มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ํา ลาดเทจากเหนือลงมาทางใต้ เล็กน้อยเป็นที่ราบตะกอนดินเลน ไม่เป็นที่ราบสูงไม่มีภูเขา และพื้นที่ป่าไม้  มีความสูงจากระดับน้ําทะเลประมาณ 2 เมตร มีแม่น้ําท่าจีนไหลผ่าน มีคลองซอยที่เกิดขึ้งเองตามธรรมชาติ เช่น คลองบางเลน คลองพระพิมล คลอง หมู่ดอน และมีคลองชลประทานที่ขุดขึ้นใหม่ จากการที่สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม  ทําให้เกิดปัญหาน้ําท่วมขังในฤดู น้ําหลาก ทั้งในเขตพื้นที่ทําการเกษตรและบริเวณบ้านเรือนหรือชุมชน ส่วนลักษณะดินเป็นดินเลนดินตะกอนที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทําการเกษตรประชากรส่วนใหญ่ จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรม  แต่พอถึงฤดูแล้งสภาพดินจะมีความเค็มมากขึ้น  ซึ่งเป็นผลมาจากอิทธิพลของน้ํา ทะเลที่หนุนเข้ามาในพื้นที่น้ําจืด

ลักษณะภูมิอากาศ แก้

   ภูมิอากาศของเทศบาลตําบลบางเลนโดยทั่วไป  เป็นสภาพภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู (Tropical  Savannah : AW)  ซึ่งจัดอยู่ในเขตโซนร้อน  ลักษณะภูมิอากาศแบ่งได้เป็น  3  ฤดู  คือ

1. ฤดูหนาว  เริ่มเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์  เพราะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดพา เอาอากาศหนาวเย็นจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้ามาทําให้อากาศหนาวเย็น และแห้งแล้งอุณหภูมิในฤดู หนาวเฉลี่ยประมาณ  25  องศาเซลเซียส                                                                                2.  ฤดูฝน  เริ่มเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน  เพราะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพาความ ชุมชื้น จากบริเวณเขตศูนย์สูตรและแถบบริเวณมหาสมุทรอินเดีย  ทําให้มีฝนตกชุก  โดยมีปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยใน รอบปี  1,487.30  มิลลิลิตร  และมีจํานวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยในรอบปี  127  วัน 3. ฤดูร้อน  เริ่มเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน  มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าว  อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ  35  องศาเซลเซียส

2.   ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับกลุ่มภารกิจ แก้

โครงสร้างพื้นฐาน - บริการสาธารณูปโภค แก้

การคมนาคมทางบก (ถนนหนทาง) แก้

  ในอดีตประชาชนในเขตเทศบาลตําบลบางเลนจะเดินทางติดต่อค้าขายไปมาหาสู่กันโดยทางเรือ ทั้งนี้เป็นเพราะชุมชนดั้งเดิมนั้นปลูกบ้านพักอาศัยอยู่ริมน้ําโดยเฉพาะแม่น้ําท่าจีนและคลองสาขาต่างๆ  แต่ใน ปัจจุบันการคมนาคมได้เปลี่ยนมาเป็นทางบกโดยรถยนต์ เพราะปัจจุบันอาชีพของประชาชนเริ่มหลากหลายและ ประชาชนเริ่มนิยมปลูกบ้านเรือน  (ขยาย) พื้นที่สร้างบ้านออกไปตามริมถนน    ประกอบกับลําคลองเริ่มรกตื้นเขิน และความเร่งรีบในการประกอบอาชีพการค้า การบริการ  อุตสาหกรรม  ทําให้การคมนาคมทางน้ําลดน้อยลง  ซึ่ง เส้นทางคมนาคมทางบกที่สําคัญในเขตเทศบาลตําบลบางเลน  ได้แก่

   1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  346   (บางเลน – กําแพงแสน)              ใช้สําหรับเดินทางจากเทศบาลตําบลบางเลนไป  จังหวัดนครปฐมและกาญจนบุรี

   2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  346   (บางเลน – ลาดหลุมแก้ว)               ใช้สําหรับเดินทางติดต่อไปยังจังหวัดปทุมธานี  สุพรรณบุรี  กรุงเทพ ฯ   ฯลฯ                                      3. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  3296  (บางเลน – ดอนตูม)                ใช้เดินทางติดต่อไปยังจังหวัดนครปฐม  อําเภอนครชัยศรี  จังหวัดสมุทรสาคร ฯลฯ                      4. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  3296   (บางเลน – บางหลวง)                ใช้เดินทางติดต่อไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี                                   เส้นทางหลวงหมายเลขต่างๆ ที่มีศูนย์กลางตัดผ่านเทศบาลตําบลบางเลนนี้อยู่ในความควบคุมดูแล และรับผิดชอบโดยกรมทางหลวง แต่อย่างไรก็ตามสภาพผิวถนนของเส้นทางสายต่างๆ  ดังกล่าว  อยู่ในสภาพปาน กลาง  บางจุดชํารุดอย่างมาก  เช่น   บริเวณสี่แยกไฟแดงก่อนถึงบริเวณหน้าที่ว่าการอําเภอบางเลน   ส่วนเส้นทางคมนาคม  ระหว่างตําบล  ระหว่างชุมชน  และหมู่บ้านในเขตเทศบาลตําบลนั้นมีการ สร้างเส้นทางคมนาคมหรือถนนหนทางเชื่อมติดต่อกันทุกพื้นที่ หรือทุกชุมชนที่อยู่ในเขตการปกครอง  ถนนหนทาง

หลายสายที่เชื่อมต่อระหว่างชุมชนได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้เป็นเส้นทางคอนกรีตเสริมเหล็กที่ได้มาตรฐานมีความ ทนทานมากขึ้น  แต่ก็ยังเหลืออีกหลายเส้นทางที่ยังเป็นหลุมเป็นบ่อ  เช่น   ถนนในเขตชุมชนวัดบางเลน  ถนนลูกรัง เส้นหลังที่ว่าการอําเภอ  ถนนในชุมชนหมู่ต้นตาล ฯลฯ  ที่ต้องได้รับการพัฒนา และปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน  ทั้งด้าน ความกว้างของถนน  ความทนทาน  และการทําร่องระบายน้ําตามข้างถนนเพื่อแก้ไขปัญหาน้ําท่วม  ในชุมชนอัน เนื่องมาจากการยกพื้นถนนสูงปิดกั้นทางเดินของน้ําตามธรรมชาติ  เช่น  ตามถนนในเขตชุมชนท่าช้าง   นอกจากนั้น ก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการไม่ซ่อมแซมดูแลถนนในบริเวณ หรือจุดเชื่อมต่อเขตแดนระหว่างตําบลหรือ อบต. ซึ่งก็พบ เห็นกันอยู่เป็นประจําในหลายๆ พื้นที่  บางจุดเป็นสะพานที่ชํารุดไม่ได้รับการซ่อมแซม  เช่น  จุดที่เป็นสะพาน เชื่อมต่อกับตําบลอื่นในชุมชนคลองพระพิมล หรือสะพานที่เกี่ยวกับพื้นที่เอกชน  ในเขตชุมชนหมู่ต้นตาล  ซึ่งสร้าง ปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในการสัญจรไปมาอย่างมาก

การคมนาคมทางน้ํา แก้

ในอดีตประชาชนในเขตเทศบาลตําบลบางเลนจะเดินทางไปมาหาสู่กันโดยทางเรือ เนื่องจากมี วัฒนธรรมการดํารงชีวิตตามลุ่มแม่น้ํา  แต่ในปัจจุบันการคมนาคมได้เปลี่ยนมาเป็นการเดินทาง  ทางบก โดยรถยนต์  ด้วยเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงในการใช้ที่ดิน    และการเติบโตทางธุรกิจในภาคเมืองภาคอุตสาหกรรม การค้า การ บริการ  ที่ต้องใช้รถยนต์เพราะต้องการความสะดวกรวดเร็วในการดําเนินงานมากขึ้น

   อย่างไรก็ตามถึงแม้ประชาชนจะไม่นิยมสัญจรไปมาโดยเรือหรือทางน้ําแล้ว  แต่บริเวณใกล้เคียง  เช่น  ตลาดน้ําลําพญา  ก็ยังมีการขนถ่ายสินค้าผ่านทางเรือมาซื้อขายกันให้เห็นอยู่  หากแต่ยังจํากัดเฉพาะวันเสาร์ – อาทิตย์ เท่านั้น

   ดังนั้นการคมนาคมทางน้ํา  ก็ยังสามารถฟื้นฟูให้เกิดขึ้นมาได้โดยการส่งเสริม และการพัฒนา  ตลอดจนขุดลอกลําคลองต่างๆ ให้เหมาะแก่การเดินทางไปมาค้าขาย หรือประกอบอาชีพทางน้ําได้ อันจะเป็นการ ประหยัดพลังงานเพื่อสังคมอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน

สาธารณูปโภค    แก้

แหล่งน้ําอุปโภคบริโภค    แก้

   ประปา   เทศบาลตําบลบางเลนมีกิจการประปาพาณิชย์จํานวน 1  กิจการ คือ  กิจการประปาโดยมีบ่อ บาดาลจํานวน 19 บ่อ หอถังพักน้ําประปาจํานวน  17  แห่ง  สามารถให้บริการประชาชนได้ร้อยละ  64.65  กล่าวคือมีจํานวนผู้ใช้จํานวน  2,396 ครัวเรือน  จากครัวเรือน  3,795 ครัวเรือน  สําหรับผลการดําเนินงานที่ผ่านมา  กิจการประปาขาดทุน  เนื่องจากเทศบาลมีภาระที่จะต้องซ่อมแซมอุปกรณ์ประปาจํานวนมาก  จากท่อประปาใช้งาน มานานจึงชํารุดเสียหายเป็นประจํา แต่หลังจากปี พ.ศ.2544  เป็นต้นมามีผลกําไรเพิ่มขึ้นมาบ้างเล็กน้อย เนื่องจาก เทศบาลได้ออกเทศบัญญัติเพิ่มอัตราค่าจําหน่ายน้ําประปาแบบอัตราก้าวหน้า

   อย่างไรก็ตามในการให้บริการน้ําประปายังให้บริการแก่ครัวเรือนหรือชุมชนได้ไม่ทั้งหมด  เนื่องจาก ที่อยู่อาศัยของประชาชนบางส่วนอยู่ห่างไกลจากบ่อบาดาลมาก  จึงไม่สามารถวางท่อประปาเข้าไปถึงได้  จํานวนที่ เหลือจึงต้องใช้น้ําตามธรรมชาติ  บ่อบาดาล และบ่อประปาของ อบต. ใกล้เคียง  ส่วนปัญหาที่เกี่ยวกับน้ําประปาอีก อย่างคือ  ปริมาณน้ําที่ไหลตามท่อไม่ค่อยจะเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค  เช่น  มีปัญหาการไหลค่อยเกินไป  ไหล ไม่สะดวก  จึงจําเป็นที่จะต้องดําเนินการแก้ไข

แหล่งน้ําเพื่อการเกษตร แก้

   พื้นที่ทางการเกษตรในเขตเทศบาลตําบลบางเลน  และเขตใกล้เคียงจะมีแหล่งน้ําเพื่อการเกษตรที่ สําคัญ คือ  แม่น้ําท่าจีน  คลองพระพิมล  คลองบางเลน  คลองหมู่ดอน  และคลองซอยต่างๆ อีกมากมาย  ที่เกิด จากระบบชลประทาน โครงการส่งน้ําพระพิมลและคลองซอยตามธรรมชาติ  โดยมีระบบประตูเปิด-ปิดน้ําและระบบ เครื่องสูบน้ํา  เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ํา และปัญหาน้ําท่วมขัง  แต่อย่างไรก็ตามการจัดสรรหรือจัดการน้ําโดย การเปิด-ปิดน้ําและระบบสูบน้ํา พบว่าในระยะหลังมีปัญหาอย่างมากกล่าวคือ การจัดการเปิด-ปิดน้ําไม่สอดคล้องกับ

ฤดูกาล หรือความต้องการของประชาชน  ช่วงที่ต้องการน้ําเพื่อการเกษตรกับขาดแคลน  พอช่วงที่ไม่ต้องการกลับมี น้ํามากจนท่วมขัง  ทั้งนี้ ชาวบ้านได้ให้ความเห็นว่าการทําประตูน้ํา หรือการติดตั้งเครื่องสูบน้ําระหว่างคลองต่างๆกับ แม่น้ําท่าจีนมีวัตถุประสงค์  เพื่อแก้ปัญหาน้ําท่วมกรุงเทพฯมากกว่าการจัดสรรน้ํา  เพื่อการเกษตรให้กับเกษตรกรใน พื้นที่  จนทําให้เกษตรกรที่ทํานาเช่าหลายรายเดือดร้อน ต้องแย่งน้ํากัน หรือบางรายไม่มีน้ําที่จะสูบต้องใช้น้ําบ่อ บาดาลสาธารณะและบ่อบาดาลส่วนตัวในการเกษตรด้วย  นอกจากปัญหาในเรื่องปริมาณน้ําที่ไม่สอดคล้องกับความ ต้องการด้านการเกษตร ยังมีสาเหตุมาจากระบบการเปิด – ปิดประตูน้ํา   และการตั้งเครื่องสูบแล้ว  ปัญหาอีกอย่าง ที่สําคัญคือลําคลองตื้นเขิน  เช่น  คลองหมู่ดอน ซึ่งในปัจจุบันโดยเฉพาะช่วงก่อนฤดูฝนน้ําจะแห้งไม่พอเพียงที่จะสูบ เข้านา  และก็มีบางชุมชนที่น้ําจากคลองสาขา หรือคลองซอยแห้ง  เช่น  คลองซอยพิสมัยในชุมชนคลองพระพิมล  คลองซอยในชุมชนคลองบางเลนและหมู่ต้นตาลทําให้ขาดน้ําในการทําการเกษตรและประกอบอาชีพ อื่นๆ เช่น ทํา ปลาเค็มแดดเดียว ชุมชนได้เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบเข้ามาดําเนินการแก้ไขขุดลอกคลอง

ไฟฟ้า แก้

   ไฟฟ้าในเขตเทศบาลตําบลบางเลน ดําเนินการให้บริการโดยสํานักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบางเลน  ซึ่งครัวเรือนที่ได้รับการให้บริการมีจํานวน  ครบ 100 %  หากแต่ปัญหาที่แต่ละชุมชนมีเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้า คือ  ชุมชน ยังขาดไฟฟ้าสาธารณะตามถนน  ตามตรอก ซอกซอย  เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนที่สัญจรไปมา ยามค่ําคืน  บางพื้นที่  เช่น  ในชุมชนหมู่ต้นตาลบางส่วนยังไม่มีไฟฟ้าถาวรใช้บริการ  อันเนื่องมาจากชุมชนเป็นชุมชน แยกห่างจากชุมชนหลักมีจํานวนครัวเรือนอยู่ไม่มากไม่สามารถระดมทุนสมทบเพื่อติดตั้งได้ จึงต้องใช้ไฟฟ้าชั่วคราว ต้องเสียค่าไฟฟ้าแพงมาก   ส่งผลทําให้ขาดแคลนน้ําใช้  เพราะไม่มีไฟฟ้าจะปั่นดึงน้ําขึ้นมาอุปโภค – บริโภค  ส่งผลต่อ ปัญหาด้านการศึกษาของบุตรหลานที่ต้องใช้ไฟฟ้าในเวลาดูหนังสือ  ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องหรือเป็น อุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

การสื่อสารและโทรคมนาคม แก้

   ในเขตเทศบาลตําบลบางเลน  มีที่ทําการไปรษณีย์โทรเลขให้บริการประชาชนจํานวน  1  แห่ง  มี บริการโทรศัพท์จากองค์การโทรศัพท์บางเลน  ที่ทําการไปรษณีย์โทรเลขตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  346 (ถนนเทิดดําริ)  โดยให้บริการทั้งในเขตเทศบาลและในอําเภอบางเลน  ส่วนการสื่อสารด้านโทรศัพท์นั้น  ประชาชน ในเขตเทศบาลมีโทรศัพท์ใช้ตามบ้านประมาณ 80%    และมีโทรศัพท์สาธารณะติดตั้งอยู่ตามชุมชนต่างๆ นอกจากนี้ ประชาชนบางส่วนมีโทรศัพท์มือถือระบบต่างๆ อย่างแพร่หลาย  ทําให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างทั่วถึง  แต่ อย่างไรก็ตามระบบการสื่อสารในด้านการพัฒนาชุมชนระหว่างเทศบาล กับหน่วยงานผ่านทางโทรศัพท์  ระบบแฟกซ์ หรือระบบคอมพิวเตอร์นั้น  อาจจะสื่อสารได้ทั่วถึงในเฉพาะส่วนราชการหรือบริษัท ห้างร้าน  ผู้ประกอบการราย ใหญ่  เพราะมีความพร้อมในด้านเศรษฐกิจ  แต่สําหรับประชาชนในเขตพื้นที่ชุมชนที่เป็นชนบทอาจจะต้องเผชิญกับ ปัญหาด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์กับหน่วยงานต่างๆ อย่างมากเพราะไม่มีกลไกการสื่อสารที่เหมาะสมในชุมชน  เช่น  ยังขาดหอกระจ่ายข่าวหรือศูนย์สื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนา  ขาดผู้นําที่ชัดเจนที่จะเป็นตัวเชื่อมประสานข้อมูลระหว่างเทศบาลกับชุมชน  ซึ่งปัญหาดังกล่าวต้องมีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ชุมชน รับรู้ข่าวสารและทันสถานการณ์

สาธารณูปการอื่นๆ แก้

                   ตลาดในเทศบาลตําบลบางเลนมีตลาดสําหรับซื้อขายจับจ่ายแลกเปลี่ยนสินค้าให้บริการประชาชนในเขต ชุมชนตลาดเก่าและชุมชนบางเลน (ตลาดใหม่) ที่สําคัญอยู่ 2 ส่วน คือ ตลาดเทศบาล (แต่ปัจจุบันเทศบาลได้คืน ให้กับที่ราชพัสดุไปแล้ว)  และตลาดเอกชน (ตลาดชมพูพงศ์) นอกจากนั้นก็มีตลาดนัดตอนเย็น ตลาดซื้อขายปลา,กุ้ง หรือที่เรียกว่าแพปลาต่าง ๆ มากมายในพื้นที่เทศบาลกว่า  80  แพ  ก่อให้เกิดการขนถ่ายแลกเปลี่ยนและสร้าง เศรษฐกิจโดยรวมของเทศบาลตําบลบางเลนและสร้างรายได้ให้กับประชาชนได้เป็นอย่างดี  โดยเฉพาะกับกลุ่ม ประชาชนผู้ประกอบอาชีพค้าขาย

ผังเมือง/อาคารบ้านเรือน แก้

ในเขตเทศบาลตําบลบางเลนยังมีการจัดการเรื่องผังเมืองไม่ได้มาตรฐาน หน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยตรงเกี่ยวกับผังเมืองตั้งอยู่ที่จังหวัดนครปฐม ขณะที่การขยายตัวของเมือง การขยายตัวของอาคารบ้านเรือน  การถมที่ดินเพื่อการก่อสร้างปิดกั้นทางไหลของน้ําอย่างไม่มีขอบเขตแบบแผนกําลังขยายตัว  

การจัดโซนแผนการใช้ที่ดินยังขาดความชัดเจน มาตรการด้านภาษีของเทศบาล อาจจะไม่สามารถที่จะควบคุมดูแล การขยายตัวของเมือง ตลอดจนการใช้ที่ดินอย่างไม่เหมาะสมได้อย่างเพียงพอ  ทําให้การถมที่ การสร้างบ้านเรือนไม่ เป็นระเบียบ  ก่อให้เกิดปัญหาน้ําท่วมจากการถมที่ดินปิดกั้นทางเดินของน้ําตามธรรมชาติในหลายพื้นที่ ทั้งในเขต ชุมชนเมือง และในชุมชนชนบท  เช่นในพื้นที่ชุมชนท่าช้าง  อีกทั้งในเขตชุมชนที่หนาแน่นจะพบว่า มีอาคาร บ้านเรือนที่ทรุดโทรมไม่ได้มาตรฐานหรือไม่มีความมั่นคง  ภูมิทัศน์ความเป็นเมืองไม่ดี  ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็มีสาเหตุมา จากกลุ่มประชากรแฝงที่เข้ามาเช่าที่ดินและปลูกสร้างบ้านพักชั่วคราวขึ้นตามบริเวณต่างๆ ที่เป็นที่สาธารณะว่าง เปล่า  ข้างคูคลอง หรือตามที่ว่างเปล่าในย่านตลาดย่านชุมชน  ซึ่งสภาพดังกล่าวจะส่งผลต่อการพัฒนาเมืองใน อนาคตเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านคุณภาพชีวิตสิ่งแวดล้อม ความสงบเรียบร้อย ดังนั้นควรจะมีการศึกษาสํารวจ ประชากรแฝงการใช้ที่ดินแนวโน้มมีการขยายพื้นที่  การถมที่ดิน   การเช่าที่อยู่อาศัยในเขตชุมชนเมือง ชานเมือง เพื่อจัดทําฐานข้อมูล สําหรับการวางแผนพัฒนาผังเมืองให้เหมาะสม

คุณภาพชีวิตของประชาชน แก้

  เศรษฐกิจ/อาชีพ – รายได้ของประชาชน      เนื่องจากสภาพพื้นที่ของเทศบาลตําบลบางเลนเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ํา มีทรัพยากรดินน้ําที่อุดม สมบูรณ์  ทําให้ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70  ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  โดยเฉพาะการทํานา รองลงมา

ได้แก่การทําสวนผลไม้ , พืชผัก ,เลี้ยงสัตว์ (ฟาร์ม เป็ด ไก่)  บ่อปลา  บ่อกุ้ง  ส่วนที่เหลือจะประกอบอาชีพ  ค้าขาย  รับจ้าง

  อาชีพเกษตรกรรมที่สําคัญ  การทํานา   ในเขตเทศบาลตําบลบางเลน มีการใช้พื้นที่ทําการเกษตรอย่างน้อย  3,500  ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด  8,437.7  ไร่  ซึ่งในจํานวนนี้จะเป็นพื้นที่ที่ใช้ทํานามากที่สุด  รองลงมาได้แก่  การเลี้ยงสัตว์  การ ทําสวน (ไม้ผล – พืชผัก)  ในการทํานาเกษตรกรสามารถทํานาได้  5  ครั้งต่อ  2  ปี  โดยได้ผลผลิตในอัตราไร่ละ  70 – 80  ถัง  จากการสํารวจพบว่า  เกษตรกรที่ทํานาจะทําเพื่อขายอย่างเดียว  ส่วนมากจะทํานาประมาณ  50 – 60  ไร่  ต่อครัวเรือน  โดยการเช่าทําในพื้นที่หลายแปลงโดยเฉลี่ยแปลงละ  6 – 10  ไร่  ทําให้เกิดผลผลิตที่มีรายได้ เป็นตัวเงินที่ยังไม่ได้หักต้นทุนประมาณ  150,000–200,00  บาท     (หักแล้วเหลือประมาณ  18,000 – 20,000  บาท  )  แต่นาส่วนมากที่เกษตรกรใช้ทําประมาณ 80 – 90 %  เป็นที่นาเช่า (ราคาประมาณไร่ละ  400 – 1,000  บาท)  จะมีเพียงเกษตรกรบางพื้นที่  เช่น  ชุมชนหมู่ดอน เท่านั้นที่ยังทํานาในที่ดินของตนเองอยู่  แต่ก็เป็นเพียง จํานวนน้อย และขนาดการถือครองก็มีเพียง 5 –6 ไร่  จําเป็นที่จะต้องเช่าที่ดิน เพื่อทํานาเพิ่มเช่นกัน  ไม่เช่นนั้นก็คง จะไม่คุ้มทุนหรือไม่มีงานทํา  ดังนั้นที่แปลงนาใหญ่ๆ ที่เห็นตามบริเวณชุมชนชานเมืองล้วนแล้วแต่เป็นนาที่เกษตรกร ในพื้นที่ขอเช่าจากเจ้าของที่ดินทั้งในและต่างจังหวัดแทบทั้งสิ้น

การจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย        แก้

ลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคม   สภาพสังคม/ชุมชนของเทศบาลตําบลบางเลน แบ่งให้เป็น  2  ส่วน  คือสังคมเมืองที่เป็นเขตข่าย การค้า การบริการในชุมชนตลาดเก่าและชุมชนบางเลน(ตลาดใหม่) ส่วนที่เหลือเป็นชุมชนที่มีลักษณะเป็น ชุมชนชนบท (เกษตรกรรมก้าวหน้า) ภาคเมืองของบางเลนเป็นจุดศูนย์กลางเชื่อมโยงระบบการผลิต การจ้างแรงงาน และทรัพยากรจากภาคชนบทแล้วกระจายไปสู่ภูมิภาคต่างๆของสังคม ลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมของคนใน ชุมชนบางเลนก็จะมี 2 ลักษณะ  คือความสัมพันธ์แบบคนในสังคมชนบทที่ยังมีการไปมาหาสู่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่ บ้าง กับลักษณะความสัมพันธ์กันแบบสังคมเมืองที่ต่างคนต่างอยู่ ต่างทํามาหากินจะมีความสัมพันธ์กันบ้างก็ยังจํากัด อยู่ในกลุ่มเล็กๆเฉพาะพรรคพวกหรือเครือญาติที่ใกล้ชิดเท่านั้น

การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก้

   ทรัพยากรดิน    แก้

บางเลน เป็นพื้นที่ที่สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์   เหมาะต่อการทําเกษตรกรรมโดยเฉพาะการ เพาะปลูก  ข้าว  ไม้ผล  พืชผัก  แต่ปัจจุบันเริ่มจะประสบกับปัญหาคุณภาพดินเสื่อม  เพราะการใช้สารเคมีอย่าง เข้มข้น  อีกทั้งยังประสบปัญหาเรื่องน้ําทะเลหนุน อาจจะก่อให้เกิดภาวะดินเค็มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต

  ทรัพยากรน้ํา แก้

เทศบาลตําบลบางเลน มีแม่น้ําท่าจีนไหลผ่าน มีคลองบางเลน  คลองพระพิมล  คลองหมู่ดอน  เป็น แหล่งรงรับน้ําเสียจากชุมชนไหลลงสู่แม่น้ําท่าจีน ปัจจุบันคุณภาพน้ําของแม่น้ําท่าจีนมีคุณภาพต่ํากว่ามาตรฐาน อย่างมาก เกิดวิกฤตการณ์น้ําเสีย เพราะขาดระบบการป้องกัน  การอนรักษ์ฟื้นฟูบําบัดน้ําเสีย ส่งผลต่อการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ําและความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศน์ลุ่มน้ําท่าจีน     

การบริหารงานบุคคล แก้

      เทศบาลตําบลบางเลนมีการบริหารงานระบบสภา  กล่าวคือ มีคณะผู้บริหาร และสภาเทศบาล (สมาชิกสภาเทศบาล) ที่ทําหน้าที่ในการตรวจสอบการบริหารงานของคณะผู้บริหาร คณะผู้บริหารจะเป็นผู้กําหนด นโยบายให้แก่ข้าราชการนําไปปฏิบัติ  โดยมีการแบ่งส่วนการบริหารงานเป็น  5  กอง  คือ  สํานักปลัด  กองช่าง  กองคลัง  กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  และกองการศึกษา  โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงาน เทศบาล  ลูกจ้างประจํา   และพนักงานจ้าง พนักงานเทศบาลตําบลบางเลน  แบ่งออกเป็น  5  กอง  มีจํานวนบุคลากรทั้งสิ้น   จํานวน  105  คน