คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ 

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ[1] หรือ คอป. ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Truth for Reconciliation Commission of Thailand (TRCT) จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๖) และ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓

วัตถุประสงค์ แก้

คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติจัดตั้งขึ้นเพื่อทำการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ความไม่สงบ และความรุนแรงในประเทศในช่วงเวลาที่ผ่านมาโดยเฉพาะเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ อันนำมาซึ่งความสูญเสียและความเสียหายอย่างประมาณค่ามิได้สู่สังคมไทย โดยมีประเด็นข้อสงสัยที่ยังไม่สามารถค้นหาและทำความจริงให้ปรากฏเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นที่ยอมรับของผู้คนในสังคมไทยและนานาประเทศได้ จึงต้องมีการตรวจสอบและค้นหาความจริงและข้อเท็จจริงที่เป็นรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งและเหตุการณ์ความรุนแรงไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงในการชุมนุมทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต การบาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ความเสียหายของทรัพย์สิน และความเสียหายในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาให้ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ถึงสาเหตุของปัญหาความขัดแย้งที่สั่งสมจนทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม ความตึงเครียด และขัดแย้งทางการเมือง โดยมีเป้าหมายที่จะให้เกิดความเข้าใจร่วมกันและการเยียวยาในระยะสั้น และป้องกันมิให้เกิดเหตุความรุนแรงและความเสียหายซ้ำอีกในอนาคต ทั้งนี้ มุ่งเน้นการใช้มาตรการเชิงสมานฉันท์ รวมถึงความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และความยุติธรรมทางสังคม การฟื้นฟูและเยียวยาเหยื่อและผู้เสียหาย เพื่อสมานบาดแผลทางสังคมและเสริมสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ถ้อยทีถ้อยอาศัย และยอมรับความแตกต่างทางความคิด เพื่อส่งเสริมให้เกิดความปรองดองในประเทศไทยระยะยาวต่อไป เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว องค์ประกอบของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ จึงประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความอิสระและความเป็นกลางเพื่อให้เป็นผู้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ แนวทาง และกำหนดเวลา โดยมีกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานไว้เป็นเวลา ๒ ปี ตั้งแต่ระเบียบฯ มีผลใช้บังคับ (๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ – ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕)

องค์ประกอบคณะกรรมการ[2] แก้

๑. ศาสตราจารย์คณิต ณ นคร ประธานกรรมการ

๒. นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ กรรมการ

๓. รองศาสตราจารย์จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย กรรมการ

๔. รองศาสตราจารย์เดชา สังขวรรณ กรรมการ

๕. นายมานิจ สุขสมจิตร กรรมการ

๖. ศาสตราจารย์ นายแพทย์รณชัย คงสกนธ์ กรรมการ

๗. นายสมชาย หอมลออ กรรมการ

๘. นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ กรรมการ

๙. รองศาสตราจารย์สุรศักด์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล กรรมการ

๑๐. นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ เลขานุการ

๑๑. นายวิทยา สุริยะวงค์ ผู้ช่วยเลขานุการ

๑๒. นายพิรียุตม์ วรรณพฤกษ์ ผู้ช่วยเลขานุการ

อำนาจหน้าที่[3] แก้

๑. จัดทำรายงานความคืบหน้าของการทำงานทุกรอบหกเดือน รวมทั้งรายงานสรุปผลและข้อเสนอแนะเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและสาธารณชน

๒. จัดให้มีการศึกษาวิจัย ทำความกระจ่างกับรากเหง้าของปัญหา ทั้งในทางกฎหมาย การเมืองและประวัติศาสตร์ที่ส่งผลให้เกิดความแตกแยกและความรุนแรง

๓. จัดให้มีเวทีสาธารณะ การประชุม เพื่อรับฟังข้อมูลและความเห็น เสนอผลการตรวจสอบและศึกษา และให้การศึกษากับสังคมเป็นระยะ ๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของสาธารณชน

๔. เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ เพื่อคุ้มครองบุคคลผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งเยียวยาและชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น

๕. เชิญผู้แทนหน่วยงานของรัฐและผู้เกี่ยวข้อง มาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้จัดส่งเอกสาร วัตถุ หรือข้อมูลมาเพื่อประกอบการพิจารณา

๖. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน มอบหมายหรือจ้างองค์กร คณะบุคคลหรือบุคคลให้ดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

คณะอนุกรรมการ[4] แก้

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง[5]

คณะอนุกรรมการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความรุนแรง[6]

คณะอนุกรรมการศึกษาวิจัยและกิจกรรมทางวิชาการ[7]

คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปรองดอง[8]

คณะอนุกรรมการกำกับและติดตามการบริหารงาน คอป.[9]

ผลการดำเนินงาน[10] แก้

๑. Translation of TRCT Recommendations

๒. หนังสือเรียนนายกรัฐมนตรี เรื่องนโยบายปรองดอง

๓. หนังสือเรียนนายกรัฐมนตรี เรื่องรายงานความคืบหน้า ๖ เดือนแรก

๔. รายงานความคืบหน้า คอป ครั้งที่ ๑ ฉบับภาษาไทยและอังกฤษ

๕. ข้อเสนอแนะของ คอป. เกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาสืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรง

คำแถลงของคณะกรรมการ แก้

๑. สรุปคำแถลงศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร ประธาน คอป. เรื่องข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ต่อนโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย[11]

๒. ความคืบหน้าการดำเนินงานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)[12]

ประกาศ/คำสั่ง[13] แก้

๑. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓

๒. เรื่องแต่งตั้งกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ

๓. แต่งตั้งเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ

๔. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง

๕. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความรุนแรง

๖. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มเติมในคณะอนุกรรมการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความรุนแรง

๗. ปรับปรุงองค์ประกอบคณะอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง

๘. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตรวจสอบและค้นหาความจริงเฉพาะกรณี

๙. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการศึกษาวิจัยและกิจกรรมทางวิชาการ

๑๐. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความรุนแรงเฉพาะกรณี

สถานที่ทำการ แก้

อาคารจอดรถ ชั้น ๕ อาคาร B ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เลขที่ ๑๒๐ หมู่ที่ ๓ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท์ ๐๒-๑๔๑-๓๗๑๕ โทรสาร ๐๒-๑๔๓-๘๓๕๓ เว็บไซต์ http://www.thaitruthcommission.org