วัดกลางวรวิหาร (วัดตะโกทอง) แก้

 






วัดกลางเดิมชื่อว่า "วัดตะโกทอง" เพราะ มีการขุดพบแหวนทองคำใต้ต้นตะโก ชาวบ้าน แถบนั้นเรียกกัน ต่อมาเรียกว่า "วัด กลาง" เพราะตั้งอยู่ท่ามกลางระหว่างวัดนอกคือวัด พิชัยสงคราม กับวัดในคือวัดในเดิมสองวิหาร วัดกลางเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นวัด ที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวบรมโกศ วัดกลางตั้งเป็นวัดเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๒๙๙ ส่วนผู้สร้างนั้นเล่ากัน ว่ามีหญิงหม้าย ๓ คน แต่ไม่ปรากฏนามและ ผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างวัดถวายแก่พระ อาจารย์ชู ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร ซึ่ง ลอยเรือมาจอดอยู่ที่นั่น หญิงหม้าย ๓ คน จึงปรึกษาและลงความเห็นว่าสวนจากข้างคลอง บางฆ้องทั้งสองฝั่งเป็นที่เหมาะสม เพราะหมู่ บ้านข้างในมีวัด (วัดใน) แล้วหมู่ บ้านข้างนอกก็มีวัดโพอยู่แล้ว (วัด นอก) แต่ส่วนตำบลย่านกลางไม่มีวัด ชาว บ้านย่านกลางนี้จะไปประกอบการกุศลก็ลำบาก ฉะนั้นที่สวนจากบริเวณแห่งนี้ควรจะเป็นที่ สร้างวัดได้ ที่สวนจากแห่งนี้ข้างทิศตะวันตกมีคลองเซาะถึงสามแยกคลองปากน้ำ ด้าน เหนือจดสวนจากของเจ้าของอื่น ด้านใต้จด คลองใหญ่ปากน้ำ ที่สวนจากแห่งนี้มีลำ คลองบางฆ้องไหลผ่านขึ้นมาแต่แม่น้ำใหญ่ (เจ้าพระยา) ฝั่งเหนือนั้นเป็นที่ดอน สมควร จะสร้างพระอารามเหมาะยิ่ง การก่อสร้างดำเนินไป ประมาณ ๔-๕ ปี รูปร่าง กุฏิสงฆ์ เสนาสนะ ศาลา บำเพ็ญกุศล ตลอดจนเว็จกุฏี อาศัยเงินทุนจากประชาชนร่วมกันบริจาค มีการทำบุญทำพิธี มอบตามพุทธศาสนา โดยมีพระอาจารย์ชู เป็นประธาน สงฆ์ในฐานะเป็นพระอธิการรักษาการดูแลวัด ต่อไป พระอารามหลังสร้างสำเร็จเมื่อพุทธศสานา กาลล่วงไปได้ ๒๒๙๙ จุลศักราช ๑๑๑๘ แผ่นดินสมเด็จ พระบรมราชาธิราชที่ ๑ (พระเจ้าอยู่หัวบรม โกศ) กรุงทราวาวดี และยังมีเรื่องเล่า อีกว่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ จุลศักราช ๑๑๒๙ ปีที่เสียกรุงศรีอยุธยา พม่ายกกองทัพกวาด ต้อนครอบครัวผู้คน พระสงฆ์หนีเอาตัวรอด พระอาจารย์ชี ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่เวลานั้นหนี ไปอยู่ที่ใดไม่ทราบได้ส่วนพระอาจารย์ดา มหาอินทโชติ ผู้เป็นน้องอาจารย์ชี พร้อมกับญาติ พากันอพยพไปอยู่ที่บ้านคานรูด อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จนบ้านเมืองสงบเรียบร้อย สมเด็จพระเจ้า ตกสินกรุงธนบุรีได้มาตั้งกรุงธนบุรี พระอาจารย์ดา กับพวกญาติทราบข่าวจึงได้รวบ รวมทองเหลืองหล่อพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง มี ขนาดหน้าตักกว้าง ๒๑ นิ้ว เป็นที่ระลึกในคราว หนีพม่าไป แล้วอาราธนาพระพุทธรูปองค์นี้มา ไว้ยังวัดกลาง ส่วนพระอาจารย์ชีนั้นหายสาบสูญ พระอาจารย์ดา จึงได้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด แต่นั้นมา ครั้นสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเก ล่าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงปฏิสังขรณ์ทั่ว ทั้งพระอารามหลวงและยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง ในรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๐๑ เสด็จ ถวายผ้าพระกฐินที่วัดนี้และโปรดให้สร้าง พระเจดีย์แบบล้อมฟางครอบพระสมุทรเจดีย์องค์เดิม ต่อมารัชกาลที่ ๕ โปรดให้ฟื้นฟูการ ศึกษาและศาสนาขึ้นใหม่ วัดกลางจึงเป็นศูนย์กลาง การศึกษาและศาสนาสืบต่อมาโดยลำดับ สมัยรัชกาลที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๕๗ ยกฐานะเป็น พระอารามหลวงซ้ำกับรัชกาลที่ ๓

ทรัพย์สิน แก้

 
บริเวณวัดกว้างขวาง ร่มรื่น ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้าง ที่น่าสนใจมากมายและสวยงาม อาทิเช่นพระอุโบสถที่ได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 หน้าบันมีลายปูนปั้นประดับเครื่องลายคราม ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังปฐมสมโพธิกถา

วัดกลางมีเนื้อที่ประมาณ ๒๕ ไร่ มีธรณีสงฆ์ ๔๕ ไร่ จัดเป็นที่สาธารสงเคราะห์เป็นที่จัด ทำผลประโยชน์ที่มีตลาด อาคารพาณิชย์ และบ้านพัก อาศัย เป็นที่ตั้งโรงเรียนเทศบาล ๕ โรงเรียน เฉลิมวิทยา เป็นที่มาอยู่ของตำบลสามแพรก

ปูชนียวัตถุ และถาวรวัตถุของวัด แก้

พระอุโบสถหลังเก่า สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๕ ศิลปะรัชกาลที่ ๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เริ่มสร้างพระอุโบสถหลังใหม่โดยไม่รื้อหลัง เดิม พระประธานในพระอุโบสถปางมารวิชัย หน้าตัก กว้าง ๒๐๕ ซม.สร้างด้วยศิลาแลงหุ้มปูนปิด ทอง อัญเชิญมาจากวัดร้างกลางป่า อำเภอพนัสนิคม อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรีภายในวิหารประดิษฐานหล่ออดีต เจ้าอาวาสตั้งแต่รูปที่ ๑-๑๑ พระมณฑป พระพุทธบาทจำลองภายในประดิษฐานพระพุทธบาทสี วอยจำลอง หอประชุมสงฆ์จังหวัดสมุทรปราการ ตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทยมีช่อฟ้าใบระกาสร้างเมื่อ พ.ศ . ๒๕๑๖ เป็นที่ตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมและสถาน ที่ประชุมปฏิบัติศาสนกิจต่างๆหน้าหอประชุมสงฆ์ นี้มีพระพุทธมงคลนวฤทธิ์ ปานประทานทวงประทับ ยืน หอระฆัง - กลอง - นาฬิกา สร้างเมื่อ พ. ศ. ๒๕๒๐ กุฏิสงฆ์ ๙ คณะ จำนวน ๔๑ หลัง และ ยังมีพระปรางค์ พระพุทธเจดีย์ พระธรรมเจดีย์ พระ วิหาร ศาลาการเปรียญ และศาลาบำเพ็ญกุศล พระพุทธรูป ประจำเมืองสมุทรปราการ พระพุทธรูปองค์นี้พระศาสนาโสภณ (อ่อน) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม พระ นคร เมื่อยังเป็นที่พระธรรมไตวโลกาจารย์หล่อ ถวายไว้ ๑ องค์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ นอกจากนี้ยังมีของที่พระราชทานและผู้ ให้อีกด้วย

  • พระบรมรูปสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
  • ธรรมาสน์บุษบกลงรักปิดทองของพระราชทาน ๑ ธรรมาสน์
  • พระไตรปิฎก ฉบับภาษาบาลี ๑ ชุด
  • พระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย ๑ ชุด
  • ตู้ใส่ของประดับมุก ๑ ตู้
  • โต๊ะหมู่ประดับมุก ๖ หมู่
  • ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ ๑๕ ตู้
  • ธรรมาสน์เทศน์แบบซุ้ม ๑ ธรรมาสน์
  • ธรรมาสน์เทศน์ ๒ ชั้น ลงรักปิดทอง ๓ ชุด
  • ธรรมาสน์ปาฏิโมกข์ลงรกปิดทอง ๒ ชุด
 
หลวงพ่อพระพุทธโสธร สถิตสถานในพระวิหารมณฑป ณ วัดกลางวรวิหาร

ประวัติเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน แก้

พระเทพสมุทรมุนี (บุญสม  ชาตวิสุทฺธิ) แก้

น.ธ.เอก ป.ธ.9 แก้

เจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ แก้

เจ้าอาวาสวัดกลางวรวิหาร แก้

ชาติภูมิ แก้

  • นามเดิม  บุญสม
  • นามสกุล  อินทร์จันทร์
  • เกิดวันอังคารที่ 1 เดือนเมษายน พ.ศ.2495 ปีมะโรง  ณ ตำบลบางครุ  อำเภอพระประแดง  จังหวัดสมุทรปราการ
  • เป็นบุตรของคุณพ่อสาย  คุณแม่สังเวียน  อินทร์จันทร์
  • มีพี่น้อง 6 คน  ได้แก่  1.  นายธนัช  อินทร์จันทร์  2.  พระราชธรรมาภรณ์  3. นายสวง  อินทร์จันทร์  4. นายสวัสดิ์  อินทร์จันทร์ (ถึงแก่กรรม)  5.  นายสะอาด  อินทร์จันทร์  6.  นางนงเยาว์  แสงพิสิทธิ์

บรรพชา แก้

  • บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2506  ณ วัดไพชยนต์พลเสพย์  ตำบลบางพึ่ง  อำเภอพระประแดง  จังหวัดสมุทรปราการ  โดยมีพระราชวิริยาภรณ์  (สวัสดิ์  ฐิตาโภ ป.ธ.4)  วัดไพชยนต์พลเสพย์  เป็นอุปัชฌาย์

อุปสมบท แก้

  • อุปสมบทเป็นพระภิกษุ  เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2515  ณ พุทธสีมา  วัดไพชยนต์พลเสพย์  ดดยมีพระราชวิริยาภรณ์ (สวัสดิ์) เป็นพระอุปัชฌาย์  พระราชมงคลญาณ (เปลี่ยน)  เป็นพระกรรมวาจาจารย์  พระราชมงคลมุนี (ทองอยู่) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

วิทยฐานะ แก้

  • เมื่อเรียนจบประถมศึกษาแล้ว  ได้บรรพชาเป็นสามเณร
  • พ.ศ.2508  สอบได้นักธรรมชั้นตรี  สำนักศาสนศึกษาวัดไพชยนต์ฯ
  • พ.ศ.2509  สอบได้นักธรรมชั้นโท  สำนักศาสนศึกษาวัดไพชยนต์ฯ
  • พ.ศ.2510  สอบได้นักธรรมชั้นเอก  สำนักศาสนศึกษาวัดไพชยนต์ฯ
  • พ.ศ.2517  ได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์  ณ สำนักศาสนศึกษา วัดไพยนต์พลเสพย์  โดยมีพระราชมงคลญาณเป็นพระอาจารย์สอน
  • พ.ศ.2518  สอบได้ประโยค 1.-2  สำนักเรียนวัดไพชยนต์พลเสพย์
  • พ.ศ.2519  สอบได้ประโยค ป.ธ.3  สำนักเรียนวัดชนะสงคราม  กทม.
  • พ.ศ.2520  สอบได้ประโยค ป.ธ.4  สำนักเรียนวัดชนะสงคราม  กทม.
  • พ.ศ.2521  สอบได้ประโยค ป.ธ.5  สำนักเรียนวัดชนะสงคราม  กทม.
  • พ.ศ.2522  สอบได้ประโยค ป.ธ.6  สำนักเรียนวัดชนะสงคราม  กทม.
  • พ.ศ.2524  สอบได้ประโยค ป.ธ.7  สำนักเรียนวัดชนะสงคราม  กทม.
  • พ.ศ.2526  สอบได้ประโยค ป.ธ.8  สำนักเรียนวัดไพชยนต์พลเสพย์
  • พ.ศ.2531  สอบได้ประโยค ป.ธ.9  สำนักเรียนวัดไพชยนต์พลเสพย์
  • หมายหตุ  พ.ศ.2528-2530  หยุดเรียนหยุดสอบ 3 ปี  สอบประโยค ป.ธ.9 ได้รูปแรกของสำนักเรียน  คณะจังหวัดสมุทรปราการ

ย้ายสังกัด แก้

  • วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2533  หลวงพ่อพระเทพวิสุทธาภรณ์ (ศรี)  ได้ทำหนังสือขอตัว  พระมหาบุญสม  ป.ธ.9  วัดไพชยนต์พลเสพย์  มาเป็นอาจารย์ใหญ่  สำนักเรียนวัดกลางวรวิหาร  และต่อมา พ.ศ.2534  ได้รับการแต่งคั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่สำนักเรียนคณะจังหวัดสมุทรปราการ  เป็นรูปแรกของจังหวัด

งานปกครอง แก้

  • พ.ศ.2533  เป็นเจ้าคณะ 1 ภายในวัดกลางวรวิหาร
  • พ.ศ.2534  เป็นผู้ช่วยพระอารามหลวง  วัดกลางวรวิหาร
  • พ.ศ.2534  เป็นพระกรรมวาจาจารย์
  • พ.ศ.2542  เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองสมุทรปราการ
  • พ.ศ.2544  เป็นพระอุปัชฌาย์วิสามัญ
  • พ.ศ.2546  เป็นผู้รักษาการแทนวัดกลางวรวิหาร
  • พ.ศ.2547  เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง  วัดกลางวรวิหาร
  • พ.ศ.2549  เป็นประธานพระวินยาธิการอำเภอเมืองสมุทรปราการ
  • พ.ศ.2554  เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ
  • พ.ศ.2554  เป็นเจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ

สมณศักดิ์ แก้

  • พ.ศ. 2531  เป็นเปรียญธรรม 9 ประโยค
  • พ.ศ.2540  เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศรีรัตนเมธี
  • พ.ศ.2548  เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชธรรมาภรณ์
  • พ.ศ.2557 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพสมุทรมุนี

ผลงานท้างด้านคณะสงฆ์ แก้

พ.ศ.2554-ปัจจุบัน พระเดชพระคุณท่าน ได้มีการจัดถวายทุนการศึกษา แก่พระภิกษุสามเณร ผู้ที่สอบบาลีได้ ตั้งแต่ชั้นประ โยค ป.ธ.๑-๒ ถึง ป.ธ.๙


ลำดับอดีตเจ้าอาวาสวัดกลางวรวิหาร อดีตถึง ปัจจุบัน แก้

รูปที่ ชื่อ ปีพ.ศ. ถึงพ.ศ. หมายเหตุ
ระยะเวลาที่เป็น
ไม่ทราบชื่อ
ไม่ทราบชื่อ
ไม่ทราบชื่อ
ไม่ทราบชื่อ
พระครูสุนทรสมุทร (อวด ธมฺมธีโร ป.ธ.๓ ) ๒๓๗๔ ๒๓๙๓ ๑๙ ปี
พระครูสุนทรสมุทร ( เงิน ) ๒๓๙๔ ๒๔๒๒ ๒๘ ปี
พระครูสุนทรสมุทร น้อย

(อดีตเจ้าคณะเจ้าจังหวัด)

๒๔๒๕ ๒๔๒๘ ๓ ปี
พระครูสุนทรสมุทร (บุญ ป.ธ.๔ )

(อดีตเจ้าคณะจังหวัด )

๒๔๓๒ ๒๔๔๔ ๑๒ปี
พระครูสุนทรสมุทร ( จ้อย สุวณฺณสโร )

(อดีตเจ้าคณะจังหวัด )

๒๔๔๕ ๒๓๖๑ ๑๖ ปี
๑o พระครูสุนทรสมุทร (เล็ก คงฺคสุวณฺโณ )

(อดีตเจ้าคณะจัหงวัด )

๒๓๖๑ ๒๔๙o ๓o ปี
๑๑ พระครูสุนทรสมทุร ( ปลั่ง สุภธมฺมิโก ) ๒๔๙๑ ๒๔๙๗
๑๒ พระเทพวิสุทธาภรณ์ ( ศรี ปุญฺญสิริ ป.ธ.๓)

(อดีตเจ้าคณะจังหวัด)

เป็นเจ้าคณะจังหวัด ๓๓ ปี

๒๕o๙ ๒๕๔๖ (อายุ ๙๗ ปี )

๓๓ปี

๑๓. พระเทพสมุทรมุนี ศรีปริยัติดิลก ตรีปิฏกบัณฑิต

มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามาวสี

(บุญสม ชาตวิสุทฺธิ น.ธ.เอกก ป.ธ.๙ )

เจ้าคณะจังหวัด

๒๕๔๗ ถึงปัจจุบัน
-หมาายเหตุ พระครูวิจิตรธรรมบาล (แจ่ม ) รักษาการเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๔๙๗ ถึง ๒๕o๑
พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ไสว ป.ธ.๗ ) รักษาการเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๕o๑ ถึง ๒๕o๘

พระสังฆาธิการ ในวัดกลางวรวิหาร แก้

รูปที่ ชื่่อ ตำแหน่ง
๑. พระเทพสมุทรมุนี (บุญสม ชาตวิสุทฺธฺ ) ป.ธ.๙ เจ้าอาวาส-เจ้าคณะจังหวัด
พระสมุทรมังคลาจารย์ (บุญสืบ วุฒิสาโร) นธ.เอก ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ฝ่ายสาธรณูปการ
๓. พระครูสุพัฒนกิจจาทร (เทพ ชนาสโภ ) นธ.เอก ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ฝ่ายสาธรณูปการ
๔. พระครูปัญญาสุตานุกูล (นิพนธ์ ปญฺญาปสุโต ) นธ.เอก ป.ธ.๓ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ฝ่ายเผยแพ่
๕. พระมหาประเสริฐ มหานาโค ป.ธ.๗ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ฝ่ายการศึกษา

เลขานุการเจ้าคณะจังหวัด

เจ้าคณะตำบลปากน้ำ

๖. พระครูปลัดสวย( ฐิตธมฺโม) นธ.เอก พธ.ม ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ฝ่ายปกครอง
๗. พระครูสมุทรวีรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
๘. พระครูปลัดสัมพันธ์ นิติสาโร นธ.เอก ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ฝ่ายสาธรณูปกร
๙. พระครูวินัยธรสมชาย ปญฺญาสิริ นธ.เอก ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ฝ่ายปกครอง

เลขานุการเจ้าอาวาสวัดกลางวรวิหาร