วัดจันทรสโมสร แก้

 
วัดจันทรสโมสร
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ วัดจันทรสโมสร
ที่ตั้ง 799 ถนนสามเสน ซอยสามเสน25 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ประเภท เถรวาทมหานิกาย

วัดจันทรสโมสร เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายตั้งอยู่เลขที่ 799 ถนนสามเสน ซอยสามเสน25 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัด จำนวน 9 ไร่ 3 งาน 95 ตารางวา ตั้งอยู่ในโฉนดเลขที่ 621 โดยมีอาณาเขตดังนี้

ทิศตะวันออก ติดที่ดินเลขที่650 จดถนนสามเสน

ทิศตะวันตก ติดที่ดินเลขที่448 จดแม่น้ำเจ้าพระยา

ทิศเหนือ ติดที่ดินเลขที่447,451 จดบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่

ทิศใต้ ติดที่ดินเลขที่450,652,448 จดแม็คโครสามเสน

ประวัติ แก้

วัดจันทรสโมสร สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2368 ไม่ปรากฏนามและประวัติผู้สร้างแน่ชัด เดิมนั้นมีชื่อว่า วัดสโมสรสุวรรณราม กาลต่อมามีการบูรณะวัดเมื่อประมาณ พ.ศ.2473 จากหลักฐานที่ปรากฏบนแผ่นจารึก ซึ่งติดอยู่บนผนังด้านหน้าภายในอุโบสถว่า คุณท้าววรคณานันต์(มาลัย) เป็นผู้สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 แต่ไม่มีรายละเอียด วัน เดือน ปี ที่สร้าง สร้างวัดจันทรสโมสรเมื่อในสมัยรัชกาลที่ 5 อาสน์สงฆ์นี้ "ข้าพเจ้าเสงี่ยม โชดึกราชเศรษฐีได้สร้างไว้ ณ วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2473 โดยเป็นการสร้างอุทิศให้แก่บุพการี คือ คุณท้าววรคณานันต์ (มาลัย) กับเจ้าคุณชัยสุรินทร์(เจียม) และคุณหญิงสมบุญ" และต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 เป็นต้นมาได้บรการบูรณะและพัฒนาวัดอย่างต่อเนื่อง อาคารเสนาสนะต่างๆ ได้ถูกบูรณะซ่อมแซมให้ดีขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2545 วัดได้รับคัดเลือกจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ(ปัจจุบัน สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม) ให้เป็นอุทยานการศึกษาภายในวัดประจำปี พ.ศ.2545 ตามโครงการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน

อาคารเสนาสนะต่างๆ มีดังต่อไปนี้ แก้

  1. อุโบสถ
  2. กุฏิสงฆ์ 1 หลัง 28 ห้อง
  3. ศาลาการเปรียญทรงไทยไม้สัก 1 หลัง
  4. หอสวดมนต์ 1 หลัง
  5. ศาลาอเนกประสงค์ 1 หลัง
  6. ศาลาประดิษฐ์เจ้าแม่กวนอิม
  7. ศาลาประดิษฐ์หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อวัดเขาตะเครา หลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่
  8. ศาลาประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5
  9. ศาลาบำเพ็ญกุศลศพ 3 หลัง
  10. ฌาปนสถาน
  11. หอระฆัง
  12. วิหารคต 2 หลัง
  13. ศาลาท่าน้ำ 2 หลัง (สถานที่อภัยทาน ให้อาหารปลา)


ประกาศและระเบียบการ มีดังต่อไปนี้ แก้

1.ประกาศตั้งวัดในพระพุทธศาสนา พ.ศ.2386 เป็นวัดที่สร้างขึ้นก่อนพระราชบัญญัติ ลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 มีผลบังคับใช้และมีสภาพเป็นวัดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่2) พ.ศ.2535

2.ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานวิสุงครามสีมาวันที่ 16 เดือนตุลาคม พ.ศ2528

3.ประกาศกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการให้เป็นวัดอุทยานการศึกษาภายในวัด ประจำปี พ.ศ. 2545(ปัจจุบันขึ้นต่อกระทรวงวัฒนธรรม)

ลำดับเจ้าอาวาสวัดจันทรสโมสร แก้

  1. พระอธิการทิพย์ (ไม่ปรากฏฉายา) พ.ศ.(ไม่ปรากฏชัด)
  2. พระอธิการทอง (ไม่ปรากฏฉายา) พ.ศ.(ไม่ปรากฏชัด)
  3. พระอธิการเปรม (ไม่ปรากฏฉายา) พ.ศ.2455 (สมัย ร.ศ.131)
  4. พระครูปลัดจุ้ย ปุญฺญปญฺโญ พ.ศ.(ไม่ปรากฏชัด)
  5. พระครูวิบูลย์โชติวัฒน์ (นวน) พ.ศ.2507-2535
  6. พระวิมลมุนี (มุนี มุนินฺทโร) พ.ศ.2540-2540
  7. พระมหาหอม จรณธมฺโม รก. พ.ศ.2550-2551
  8. พระปลัดสมศักดิ์ อคฺควํโส พ.ศ.2552-2556
  9. พระใบฎีกาอารีย์ วลฺลโภ รก. พ.ศ.2556-2556
  10. พระมุนี มุนินฺทโร รก. พ.ศ.2557-2557
  11. พระมุนีอโนมคุณ รก. พ.ศ.2557-2558
  12. พระมหาสุชาติ ธมฺมรโต พ.ศ.2558-ปัจจุบัน


อ้างอิง แก้

  1. คู่มือสวดมนต์แปลฉบับอุบาสก-อุบาสิกา วัดจันทรสโมสร
  2. แผ่นจารึกผนังด้านหน้าภายในอุโบสถวัดจันทรสโมสร