พระพิธีธรรม

แก้

พระพิธีธรรม หมายถึง พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ในประเทศไทย ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสวดในพิธีกรรมต่าง ๆ อันเนื่องด้วยกิจของพระมหากษัตริย์ เช่น การสวดพระอภิธรรมในพิธีศพบุคคลที่ได้รับพระราชทานรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ การสวดจตุรเวทที่หอศาสตราคมในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น กล่าวคือ พระพิธีธรรมนั้นเป็นพระสงฆ์ที่มีความสามารถด้านการสวดเป็นพิเศษทั้งอักขระวิธีและทำนอง จะมีเฉพาะพระอารามหลวงชั้นเอกในกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 วัดเท่านั้น ซึ่งจะมีการสรรหาโดยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอกของแต่ละวัด เพื่อส่งรายชือพระสงฆ์ในสังกัดจำนวน 4 รูป หรือ 1 สำรับ ไปยังกรมการศาสนาเพื่อนำเสนอขอพระราชทานแต่งตั้ง พระพิธีธรรม นับเป็นตำแหน่งที่จัดขึ้นเป็นพิเศษไม่อยู่ในระบบสมณศักดิ์ทั่วไป โดยจะได้รับพระราชทานนิตยภัตเป็นประจำทุกเดือน และมีพัดยศเฉพาะเพื่อใช้ในการสวดอภิธรรมเท่านั้น

ประวัติ

แก้

พระพิธีธรรม ได้ปรากฏใช้คำว่า "พระพิธีธรรม" เป็นครั้งแรกเมื่อราวรัชกาลที่ 5 แห่งราชอาณาจักรไทย เดิมเรียกว่า "พระคู่สวด" ซึ่งทำหน้าที่สวดในพระราชพิธีตรุษ สวดพระอภิธรรมในงานพระศพและพระบรมศพ