การปกครองท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น ความเป็นมา หลังจากที่มีการเปลี่ยนยุคสมัยในประเทศญี่ปุ่นประชาชนได้มีการเรียกร้องให้มีการกระจายอำนาจมากขึ้นในการมีส่วนร่วมในการปฏิรูปการเมืองการปกครองและบริหารบ้านเมืองหลักจากมีการนำเสนอกฎหมายส่งเสริมการกระจายอำนาจเข้าสู่สภา สภาได้เห็นชอบกับกฎหมายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทำให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่นขึ้นมา

บทบาทและหน้าที่ของการปกครองท้องถิ่น การปกครองท้องถิ่นของญี่ปุ่นในปัจจุบันมีรากฐานมาจากรัฐธรรมนูญปี 1946 ซึ่งถือว่าการปกครองท้องถิ่นเป็นส่วนสำคัญในการเป็นประชาธิปไตย หน่วยการปกครองท้องถิ่นควรมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการอย่างกว้างขวางและการออกกฎหมายพิเศษเพื่อใช้ในท้องถิ่นหนึ่ง การปกครองท้องถิ่นนั้นมีหน้าที่ให้บริการแก่ชุมชนและมีหน้าที่ดำเนินงานที่ทำให้ท้องถิ่นนั้นอยู่ได้และบริการสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชน หน้าที่ของท้องถิ่นไม่ได้มีแค่ในการให้บริการเท่านั้นยังมีการออกกฎระเบียบในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยการดูแลควบคุมเยาวชน นอกจากนี้ท้องถิ่นยังทำหน้าที่แทนรัฐบาลกลางในการดำเนินกิจกรรมต่างๆอีกด้วย ท้องถิ่นทำหน้าที่ทุกอย่างยกเว้นเรื่องการทูต ความมั่นคงของชาติและการพิจารณาคดี

การแบ่งหน้าที่ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นจัดให้มีการแบ่งหน้าที่และการบริหารกาจัดการของแต่ละองค์กรส่วนท้องถิ่นค่อนข้างชัดเจน โดยที่ว่ารัฐบาลกลางนั้นคอยควบคุมดูแลกิจการระดับรัฐจังหวัดดูแและพื้นที่ที่ครอบคลุมทั่วกว้างกว่าหนึ่งเทศบาลและดูแลเรื่องที่ต้องการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวหรือความสงบสุขในระดับชาติและรับดับจังหวัดและยังมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในเรื่องเดียวกันบ้าง

แนวโน้มของการปกครองท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น การปกครองท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นถูกเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เช่น ประชากรอายุเพิ่มมากขึ้น เศรษฐกิจและสังคมโลกเป็นระบบสากล และแต่ละชุมชนมีความต้องการที่แตกต่างกันประชาชนออกมาเรียกร้องมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยทิศทางการเปลี่ยนแปลงมีลักษณะดังนี้ 1.มีความเป็นอิสระมากขึ้น มีการกระจายอำนาจและลดการแทรกแซงจากส่วนกลางหรือรัฐบาลมากขึ้นส่วนกลางจะทำเฉพาะหน้าที่ของตนเองจริงๆ องค์กรปกครองท้องถิ่นสามารถดูแลตัวเองได้และสามารถกำหนดนโยบายท้องถิ่นได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น 2.มีความครอบคลุมมากขึ้น โดยส่งเสริมให้มีนโยบายท้องถิ่นที่สร้างสรรค์มีการกระจายค่าใช้จ่ายให้ระบบท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญที่ท้องถิ่นและเพิ่มการสนับสนุนโครงการช่วยเหลือแก่ท้องถิ่นเร็วขึ้น 3.มีความเป็นเอกภาพน้อยลง โดยเปิดโอกาสให้จัดการท้องถิ่นที่หลากหลาย มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครอบคลุมพื้นที่กว้างและประชาชนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นหรือริเริ่มเสนอให้รวมท้องถิ่น [1] [2] [3] [4]

  1. ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์
  2. เจอรัลด์ แอล. เคอร์ติส
  3. ธีระวิทย์
  4. อ.อรนงค์ วัจนะพุกกะ