ผู้ใช้:Pingpong1990/ทดลองเขียน

กรมทหารราบที่ ๖

ประวัติหน่วย และการรบในสมรภูมิต่างๆ

1. ประวัติหน่วย

   ความเป็นมา

      พุทธศักราช ๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เกิดกรณีพิพาทไทย - ฝรั่งเศส  และเป็นผลทำให้  ไทยต้องเสียดินแดน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส   เพื่อความมั่นคงตามแนวชายแดน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์ ประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี จัดตั้งกองทหารขึ้นเพื่อใช้ในการป้องกันประเทศ ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศาลากลาง จังหวัดอุบลราชธานี  

      พุทธศักราช ๒๔๔๔ – ๒๔๔๕ ได้เกิดกบฏ ผีบาป  ผีบุญ ขึ้นกำลังทหารที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติการปราบปราม กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ จึงได้ขอกำลังทหารจากเมืองนครราชสีมา เพื่อมาช่วยปราบกบฏดังกล่าว จนสำเร็จ

พุทธศักราช  ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงมีพระราชประสงค์จะให้มีการเปลี่ยนแปลงกิจการทหารในมณฑลต่าง ๆ  จึงได้ยุบกองบัญชาการกองพลที่ ๑๐ ประจำมณฑลอุบลราชธานี และให้ไปรวมกับ กองบัญชาการ กองพลที่ ๕ มณฑลราชสีมา พร้อมกันนั้น ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนฐานะกองพลที่ ๑๐ ที่  จังหวัดอุบลราชธานี  เป็น กองพันทหารราบที่ ๓ กองพลที่ ๓ ในปลาย พุทธศักราช  ๒๔๗๐

      พุทธศักราช ๒๔๗๑ บริเวณทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  ได้มีประชาชนเข้ามาอยู่อาศัย บริเวณรอบ ๆ ที่ตั้งของหน่วยทหารมากขึ้น ทำให้ความเหมาะสมทางด้านยุทธศาสตร์ลดลง จึงได้ย้ายหน่วยทหารกองพันทหารราบที่ ๓ ได้ย้ายจากทุ่งศรีเมืองมาอยู่ที่ อำเภอวารินชำราบ  เรียกชื่อสมัยนั้นว่า ค่ายทหารวาริน

       การจัดหน่วย

          ก. การจัดตั้ง  พุทธศักราช ๒๔๘๔   หลังจากกรณีพิพาทอินโดจีนของประเทศฝรั่งเศสได้ยุติลง ทางราชการขยายกำลังเพื่อให้พร้อมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น  โดยได้จัดตั้งกรมทหารราบที่ ๙   ขึ้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของ กองพันทหารม้าที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๓ มิ.ย. ๒๔๘๔ ประกอบด้วยหน่วยขึ้นตรง จำนวน ๓ กองพัน คือ กองพันทหารราบที่ ๒๕,๒๖,๒๗

   ข. ด้านกำลังพล  กำลังพลของกรมทหารราบที่ ๙ ได้มาจากการเฉลี่ยกำลังของหน่วยปกติที่จังหวัดนครราชสีมา และกำลังพลกองหนุนที่เรียกระดมพล ส่วนพลทหารเฉลี่ยจากหน่วยต่างๆ และ เรียกเกณฑ์เพิ่มเติมจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดอุดรธานี การจัดใช้อัตราการจัดปี  พุทธศักราช ๒๔๘๔ เรียกว่า อัตรา ๘๔ และต่อมาได้ปรับปรุงอัตราการจัดปี พุทธศักราช ๒๔๘๖ เรียกว่า อัตรา ๘๖

ค. ด้านที่พัก     สร้างที่พักครั้งแรกอาคารชั่วคราว หลังคามุงแฝก ฝาใช้ไม้ไผ่ขัดแตะ โรงทหารจุทหารได้ โรงละ ๑ กองร้อย ไม่มีเตียงนอน ต้องนอนกับพื้น โดยใช้ฟางปูรองนอน  

       การเปลี่ยนชื่อนามหน่วย

          เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา กรมทหารราบที่ ๙ ได้จัดกำลังเข้าร่วมปฏิบัติราชการสนามในพื้นที่ภาคเหนือในเขตเมืองมะ, เมืองยาง  นครเชียงตุง ตั้งแต่   ๒๕ มกราคม  ๒๔๘๕ – ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๘ ทำการเข้าตี ดอยเหมย และเมืองเชียงตุง สามารถยึดเมืองเชียงตุง เมืองมะ   ในรัฐฉานได้จนสงคราม สงบลงจึงได้เคลื่อนย้ายกลับที่ตั้งที่ จังหวัดอุบลราชธานี เว้นกองพันทหารราบที่ ๒๗  กลับเข้าที่ตั้ง จังหวัดสุรินทร์   

      ครั้งที่ ๑   พุทธศักราช๒๔๘๙  เปลี่ยนชื่อจาก กรมทหารราบที่ ๙ เป็น กรมทหารราบที่ ๒๓

          ครั้งที่ ๒  พุทธศักราช๒๔๙๓  กองทัพบก จัดตั้ง กองพลที่ ๖ ที่จังหวัดอุบลราชธานี กรมทหารราบ  ที่ ๒๓ เปลี่ยนชื่อเป็น  กรมทหารราบที่ ๖  ใช้อัตราการจัด อัตรา ๘๖.๙๑ และอัตรา ๙๕ พิเศษ

         ครั้งที่ ๓  พุทธศักราช ๒๔๙๘  เปลี่ยนจาก กรมทหารราบที่ ๖ เป็น กรมผสมที่ ๖  ขึ้นตรงต่อ กองพลที่ ๓ จังหวัดนครราชสีมา ตามคำสั่ง กองทัพบกที่ ๓๒๑/๒๓๗๖๐  ลง ๑๐ พฤศจิกายน  ๒๔๙๘ กรมผสมที่ ๖ ประกอบด้วย – กองบังคับการ และ กองร้อยกองบังคับการกรมผสม

                     - กองร้อยเครื่องยิงหนัก

                     - ร้อยฝึกเบื้องต้น

                     - กองร้อยเสนารักษ์ (ต่อมาลดเป็นหมวดเสนารักษ์)

                     - กองร้อยบริการกรมผสม (ต่อมายุบ)

                     - หมวดรถสายพานลำเลียงพล (ต่อมาเพิ่มเป็น กองร้อยรถสายพานลำเลียงพล และเปลี่ยนจากเหล่าขนส่งเป็นเหล่าทหารราบ)

                     - กองพันทหารราบที่ ๑,๒,๓

                     - กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๖

          ครั้งที่ ๔  พุทธศักราช ๒๕๒๒  เปลี่ยนจาก กรมผสมที่ ๖ เป็น กรมทหารราบที่ ๖ ตามคำสั่งกองทัพบกที่ ๑/๒๕๒๒ ลง ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๒ ใช้อัตราการจัด  ๗ – ๑๗ ลง ๒ สิงหาคม ๒๕๒๒ โดยเปลี่ยนแปลงหน่วยขึ้นสมทบคือ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๖ กลับไปขึ้นการบังคับบัญชากับ กองบังคับบัญชาการปืนใหญ่กองพลที่ ๓  กองร้อยรถถังที่ ๖ กองพันทหารม้าที่ ๘ กลับไปขึ้นการบังคับบัญชากับ กองพันทหารม้าที่ ๘ และกองร้อยทหารช่างที่ ๒ กลับไปขึ้นการบังคับบัญชากับ กองพันทหารช่างที่ ๓  คงเหลือหน่วยสมทบคือ หมวดซ่อมบำรุงส่วนหน้าที่  ๒ กองสรรพาวุธเบา กองพลทหารราบที่ ๓   และได้จัดตั้งหน่วย กองพันทหารราบ อีก ๑ กองพัน คือ  กองพันทหารราบที่ ๔ กรมทหารราบที่ ๖ เมื่อ ๑๑ มกราคม ๒๒ และจัดตั้ง กองพันทหารราบที่ ๕ กรมทหารราบที่ ๖  อีก ๑ กองพัน (หย่อนกำลัง) ซึ่งต่อมาย้ายที่ตั้งไปที่ บ้านเดิด อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร และเปลี่ยนนามหน่วยเป็น กรมทหารราบที่  ๑๖ ในปัจจุบัน

   ที่ตั้งและการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งหน่วย

              ที่ตั้งหน่วยปัจจุบัน กรมทหารราบที่ ๖ มีที่ตั้งอยู่ในค่ายสรรพสิทธิประสงค์ ตำบลแสนสุข (เดิมขึ้นกับตำบลธาตุ) อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ ๓๔๑๙๐

              การเปลี่ยนแปลงที่ตั้งหน่วย

              เมื่อ พุทธศักราช  ๒๕๑๓ กองพันทหารราบที่ ๓ กรมผสมที่ ๖  ได้รับคำสั่งไปเข้าที่ตั้งแห่งใหม่ที่บ้านนาโพธิ์ ตำบลกุลคุ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม  ต่อมาเมื่อปี พุทธศักราช  ๒๕๑๘  ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองพันทหารราบที่ ๓ กรมผสมที่ ๓ หรือ กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๓ ตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๓/๒๕๑๘  ลง ๕ กันยายน  ๒๕๑๘

              เมื่อ พุทธศักราช ๒๕๑๔  กองทัพบกได้จัดตั้ง กรมผสมที่ ๒๓ ตามคำสั่ง กองทัพบกที่ ๖๔/๑๔ ลง ๓๐ เมษายน ๒๕๑๔  โดยมี กองพันทหารราบที่ ๓ กรมผสมที่ ๒๓ ตั้งอยู่ในพื้นที่ และอาคารของกองพันทหารราบที่ ๓ กรมผสมที่ ๖ ซึ่งได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดนครพนม โดยใช้กำลังพลบางส่วนจาก กรมผสมที่ ๖ และเปลี่ยนจาก กองพันทหารราบที่ ๓ กรมผสมที่ ๒๓ เป็น กองพันทหารราบที่ ๓ กรมผสมที่ ๖   เมื่อปี พุทธศักราช  ๒๕๑๘  ตามคำสั่งกองทัพบกที่ ๓/๒๕๑๘  ลง ๕ กันยายน ๒๕๑๘  และเปลี่ยนเป็น กองพันทหารราบที่ ๓ กรมผสมที่ ๖ ตามคำสั่งกองทัพบกที่ ๑/๒๕๒๒ ลง ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๒

       การปฏิบัติภารกิจที่สำคัญ

          เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๔๘๕ – ๔ กรกฎาคม ๒๔๘๘  (ขณะเป็นกรมทหารราบที่ ๙) ได้ไปปฏิบัติราชการสงครามมหาเอเชียบูรพาในเขตเมืองมะ  เมืองยม นครเชียงตุง

          พุทธศักราช ๒๔๙๖ กรมทหารราบที่ ๖ ได้ส่ง กองพันทหารราบที่ ๒ ไปประจำอยู่ที่อำเภอมุกดาหาร  จังหวัดนครพนม เพื่อเป็นการบำรุงขวัญประชาชน กับอีก ๑ กองร้อย จากกองพันทหารราบที่ ๑   ไปประจำที่ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

           พุทธศักราช ๒๔๙๘  กรมผสมที่ ๖ ได้ส่ง กองพันทหารราบที่ ๑ ไปประจำที่อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนมเพื่อผลัดเปลี่ยนกำลังกับ กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๒๑  และส่งอีก ๑ กองร้อย จาก กองพันทหารราบที่ ๓ ไปประจำที่ อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นจังหวัดมุกดาหาร)

       กรณีปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

          เมื่อ  พุทธศักราช ๒๕๐๒  ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เริ่มมีทีท่าว่าจะปฏิบัติการคุกคามในประเทศไทย

          พุทธศักราช ๒๕๐๔  กรมผสมที่ ๖ ได้รับคำสั่งให้จัด ๑ กองร้อย เพื่อป้องกันพื้นที่สำคัญตามแนวชายแดน ไทย - ลาว   ด้านอำเภอมุกดาหาร  จังหวัดนครพนม

          พุทธศักราช ๒๕๐๕ เกิดการรบกันขึ้นในลาว ระหว่างลาวฝ่ายขวา กับ ลาวฝ่ายซ้าย ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์  เปลี่ยนกลยุทธ จากการรุกรานตามแบบ เป็นการรบนอกแบบ ทำการแทรกซึมบ่อนทำลาย   

และเข้าปฏิบัติ การในประเทศไทยตามพื้นที่แนวชายแดนไทย – ลาว

          เมื่อ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๕ – ๑๕ มีนาคม  ๒๕๐๖ กรมผสมที่ ๖ ได้ส่งกำลัง ๑ กองร้อย จาก กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๖ ไปประจำที่ จังหวัดนครพนม

           เมื่อ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๐๕ – ๑๕ มีนาคม ๒๕๐๖  กรมผสมที่ ๖ ได้ส่งกำลัง ๑ กองร้อย จาก กองพันทหารราบที่ ๒ กรมผสมที่ ๖   ประจำที่ อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ

          พุทธศักราช ๒๕๐๗   ลาวฝ่ายขวาได้ร่นเข้ามาในพื้นที่ประเทศไทยตามแนวชายแดน ไทย - ลาว ตั้งแต่ด้าน จังหวัดนครพนม  ถึง จังหวัดอุบลราชธานี

         พุทธศักราช ๒๕๐๘    กรมผสมที่ ๖  จัดกำลังออกปฏิบัติการปราบปราม  ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และคุ้มกันการก่อ-สร้างเส้นทางบนเทือกเขาภูพาน พื้นที่ จังหวัด สกลนคร ภายใต้การควบคุมทาง ยุทธการของ กองบัญชาการทัพภาคที่ ๒ ( ส่วนหน้า )   ซึ่งตั้งอยู่ที่   อำเภอมุกดาหาร   และหมุนเวียนสับเปลี่ยนกำลังในการปฏิบัติการโดยตลอด

         เมื่อ ๑๘ สิงหาคม ๒๙๐๙    กรมผสมที่ ๖ ได้ส่งกำลัง ๑ กองร้อยทหารราบ  จาก กองพันทหารราบที่ ๒ กรมผสมที่ ๖  ไปสมทบให้กับหน่วย กองบัญชาการผสมพลเรือนตำรวจทหารที่ ๑   โดยตั้งฐานปฏิบัติการที่ บ้านจอมสีขัน อำเภอมุกดาหาร  จังหวัดอุบลราชธานี  

          เมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๐๙   กรมผสมที่ ๖ ได้ส่งกำลัง ๑ กองร้อยทหารราบ จาก กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๖  ไปประจำที่ บ้านนาไร่ใหญ่ อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี

           โดยการจัดกำลังเข้าปฏิบัติการในพื้นที่   และปิดล้อม บ้านด่าน, บ้านนาขาม และเข้าทำการกวาดล้าง ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เขตติดต่อ  อำเภอมุกดาหาร กับ อำเภอเลิงนกทา สามารถ จับ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์และยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ ได้จำนวนหนึ่ง   จากนั้นก็ได้รับภารกิจให้เข้าปฏิบัติการในพื้นที่ อำเภอเลิงนกทา ต่อมาอย่างต่อเนื่อง

         เมื่อ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๑๐ กรมผสมที่ ๖ ได้ส่งกำลัง ๑ กองพัน จัดจาก กองพันทหารราบที่ ๓  กรมผสมที่ ๖ ไปผลัดเปลี่ยนกำลังกับ  กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๓ ที่ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เพื่อทำการปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

        เมื่อ ๒๑ เมษายน ๒๕๑๑ กรมผสมที่ ๖ ออกปฏิบัติภารกิจปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่เทือกเขาภูพาน โดยเข้าที่รวมพลขั้นต้นที่ บ้านหนองบัว อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม

        เมื่อ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๐๕ – ๓๐ เมษายน ๒๕๑๕   กรมผสมที่ ๖ จัดกำลัง ๑ กองพัน จัดจาก กองพันทหารราบที่ ๑ กรมผสมที่ ๖   ไปสมทบกับ กองพลทหารราบที่ ๑ ส่วนหน้า  ที่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์บริเวณรอยต่อ ๓ จังหวัด ตามแผนยุทธการภูขวาง

          พุทธศักราช ๒๕๑๒ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เริ่มปฏิบัติการรุนแรงขึ้น และมุ่งเน้นจัดตั้ง  เขตปลดปล่อยแห่งแรกที่ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม และ บริเวณหุบอีเลศ บนเทือกเขาภูพานพร้อมจัดตั้งศูนย์ บัญชาการ และที่ฝึกอบรมทางยุทธวิธีและเกี่ยวกับด้านพยาบาล    กรมผสมที่ ๖ จัดตั้ง หน่วยเฉพาะกิจกองพันทหารราบที่ ๖๐๓   และตั้งฐานปฏิบัติการที่ภูพานน้อย อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม     โดยผลัดเปลี่ยน หมุนเวียนกำลังเพื่อออกปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง เพื่อ ทำการปราบปรามกำลัง ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ดังกล่าว  และยังส่งผลให้กำลังของฝ่ายเราต้องได้รับความสูญเสียจำนวนหนึ่ง

          พุทธศักราช ๒๕๑๓    ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เริ่มมีอิทธิพลมากในลาว  และขยายเขตมาถึงแขวงจำปาสักใกล้ชายแดนไทยด้าน อำเภอบุณฑริก บริเวณช่องห้วยผึ้ง,ช่องโปร่งแดง และช่องบก กองพลทหารรราบที่  ได้จัดกำลัง เข้าปฏิบัติการในลาว เพื่อลาดตระเวนหาข่าว

          พุทธศักราช ๒๕๑๔ –  พุทธศักราช ๒๕๑๖  กรมผสมที่ ๖ จัด ๑ กองร้อยทหารราบ ตั้งฐานปฏิบัติการที่ บ้านหนองส้มโฮง  และ บ้านดอนสวรรค์ อำเภอมุกดาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อตรวจค้นพิสูจน์ทราบและปราบปราม  ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

        เมื่อ ๑๐ เมษายน ๒๕๑๕  กรมผสมที่ ๖ จัดกำลัง ๑ กองร้อย และ กองบังคับการควบคุม จัดจาก กองพันทหารราบที่ ๒ กรมผสมที่ ๖  ออกปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในเขต อำเภอน้ำยืน,อำเภอเดชอุดม,อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

          พุทธศักราช ๒๕๑๕ – พุทธศักราช ๒๕๑๗  กองพลทหารราบที่ ๖   ตั้ง กองบัญชาการควบคุมที่ บ้านหนองแปน   อำเภอบุณฑริก และ กองบังคับการควบคุม จัดจาก กรมผสมที่ ๖ ที่ บ้านหนองขอน  อำเภอบุณฑริก  จังหวัดอุบลราชธานี

         เมื่อ มกราคม ๒๕๑๗ – ตุลาคม ๒๕๒๒ กรมผสมที่ ๖ จัดกำลัง ๒ กองร้อยทหารราบที่ และ  กองบังคับการควบคุม   เข้าปฏิบัติการป้องกันชายแดนและปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่ อำเภอดอนตาล จังหวัดนครพนม

          เมื่อ มิถุนายน ๒๕๑๘ กรมผสมที่ ๖ จัดกำลัง ๑ กองร้อยทหารราบที่ และ  กองบังคับการควบคุม  เข้าปฏิบัติการป้องกันชายแดนและปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในเขต อำเภอน้ำยืน,อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี

              เมื่อ ๘ มีนาคม ๒๕๒๑  กรมผสมที่ ๖ จัดตั้ง กองกำลังรบร่วม กรมผสมที่ ๖ ปฏิบัติการที่ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และจัดตั้ง  กองบัญชาการผสมพลเรือนตำรวจทหารที่ ๒๑๒๒ เมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๕๒๑ และย้ายฐานปฏิบัติการไปตั้งที่ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาภายหลังเปลี่ยนนามหน่วยเป็น กองกำลังรบร่วม กรมผสมที่ ๖ และเปลี่ยนเป็น หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ ๖        

          เมื่อ ๙ ตุลาคม ๒๕๒๒ กรมทหารราบที่ ๖ จัดกำลัง ๒ กองร้อยทหารราบ จัดจาก กองพันทหารราบที่ ๔ กรมทหารราบที่ ๖ ไปปฏิบัติการปราบ -ปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่ จังหวัดสกลนคร

          สรุปตั้งแต่  พุทธศักราช ๒๕๐๓ – พุทธศักราช ๒๕๒๓  หน่วยได้รับมอบภารกิจในการปราบปรามผู้ก่อการร้าย -คอมมิวนิสต์ในพื้นที่ภาคอีสานตอนเหนือ คือ    จังหวัดหนองคาย, อุดรธานี, สกลนคร,นครพนม,กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี โดยเข้าปฏิบัติการ ณ  ภูพานน้อย อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม สามารถยึด

ภูสิงห์ ในพื้นที่ จังหวัดหนองคาย  ทำให้การปฏิบัติการของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ลดลงจนเกือบไม่มีการเคลื่อนไหว และทำให้ผู้ก่อการร้ายในเขตงานต่างๆ   สลายตัวไปในที่สุด โดยกำลังบางส่วนได้

ส่งเข้าไปปฏิบัติภารกิจในเขตภาคเหนือตอนล่างเขต อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

       กรณีปราบปรามการจลาจลในประเทศ

          เมื่อ ๑ – ๓ เมษายน ๒๕๒๔ หน่วยได้รับภารกิจในการจัดกำลังเข้าปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ   ณ  กรุงเทพมหานคร จนสามารถควบคุมสถานการณ์ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ

       กรณีผลักดันทหารต่างชาติรุกล้ำอธิปไตย

          เมื่อ  พุทธศักราช ๒๕๒๒ บริเวณชายแดนด้านไทย - กัมพูชา ซึ่งขณะนั้นภายในกัมพูชามีปัญหา

เรื่องผู้นำประเทศแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย และทหารเวียดนามมีอิทธิพลเหนือกัมพูชา ทำให้เขมรแดง ซึ่งถูกปราบปรามอย่างหนักได้อพยพมาอยู่ตามแนวชายแดนไทยและได้รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ประเทศไทย พร้อมกับสร้างความเดือดร้อนให้กับราษฎรไทย ที่อยู่ ตามแนวชายแดนเป็นอย่างมาก  ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน   กรมทหารราบที่ ๖    ได้จัดกำลัง ๑ กองร้อยทหารราบ เข้าปฏิบัติการผลักดันกองกำลังดังกล่าวจนล่าถอยออกนอกประเทศไป และเฝ้าตรวจระวังป้องกันการปฏิบัติการดังกล่าวของกองกำลังต่างชาติอย่างต่อเนื่อง

            พุทธศักราช ๒๕๒๗   เดือนมีนาคม ทหารเวียดนาม ได้ใช้กำลัง ๑ กรมทหารราบ  สนับสนุนด้วยอาวุธหนัก และปืนใหญ่เข้าทำการโจมตี และกวาดล้างกำลังเขมร ๓ ฝ่าย ตามแนวชาวแดนไทย - กัมพูชา และได้รุกล้ำเข้ามาในเขตไทย ประมาณ ๕ กม. บริเวณ ช่องพระพะลัย เนิน ๖๔๒  เขต อำเภอขุนหาญ 

จังหวัดศรีสะเกษ  กรมทหารราบที่ ๖    ได้รับคำสั่งจาก กองกำลังสุรนารี ให้เข้าปฏิบัติการผลักดันและขับไล่ข้าศึกเหล่านี้ด้วยความกล้าหาญ เสียสละ จนฝ่ายเราได้รับบาดเจ็บ และสูญเสียจำนวนหนึ่ง แต่ก็สามารถขับไล่ข้าศึกให้ออกจากชายแดนไปได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อ ๘ เมษายน ๒๕๒๗

          พุทธศักราช ๒๕๒๗ เดือนธันวาคม  ทหารเวียดนาม ได้รุกล้ำอธิปไตย เข้ามาบริเวณ ช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี  พร้อมกับยึดและรักษาพื้นที่ไว้ มีกำลัง ๘๐ - ๑๐๐ คน กองกำลังรบร่วม กรมทหารราบที่ ๖ จึงได้จัดกำลังเข้าผลักดันกำลังข้าศึกส่วนนี้ จนต้องถอนตัวหนีกลับเข้าไปในเขตกัมพูชา

          พุทธศักราช ๒๕๒๘     เดือนมกราคม ทหารเวียดนาม จัดจาก กรมทหารราบที่ ๗๓๓  ได้รุกล้ำเข้ามาในเขตแดนไทย ๕ กิโลเมตร บริเวณช่องบก และเข้ายึดเนิน ๓๗๖, ๓๘๒, ๔๐๘, ๕๐๐, และ ๕๖๕  ได้ยิงปืนใหญ่เข้ามาตกในบริเวณหมู่บ้านในเขตไทย  กรมทหารราบที่ ๖ จึงเข้าทำการปฏิบัติการผลักดัน ขับไล่ ทำให้ข้าศึกถอยไปตั้งรับที่ เนิน ๓๘๒ และ ๔๐๘  ซึ่งลึกเข้ามาในเขตไทย ประมาณ ๒ - ๓ กิโลเมตร และได้ทำการดัดแปลง ที่มั่นอย่างแข็งแรงถาวร  พุทธศักราช ๒๕๒๙

          ในเดือน ก.พ.๒๕๒๘  กองทัพภาคที่ ๒ ได้สั่งการให้ กรมทหารราบที่ ๖  จัดกำลังเข้าทำการผลักดันทหารเวียดนามที่ยึดพื้นที่อยู่โดยใช้อำนาจกำลังรบที่มีอยู่   และที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพภาคที่ ๒  เข้ากดดันและสามารถขับไล่กำลังข้าศึกออกจากพื้นที่ได้เป็นบางส่วน

          พุทธศักราช ๒๕๓๐    เดือน เมษายน  กรมทหารราบที่ ๖ ได้เข้าร่วมปฏิบัติการตามแผน    "ยุทธการเผด็จศึก" เพื่อผลักดันขับไล่กำลังทหาร เวียดนามที่ยึดภูมิประเทศสำคัญ บริเวณช่องบกโดยจัดและปรับรูปแบบการรบจากที่ใช้กำลังส่วนใหญ่เข้าปฏิบัติการมาเป็นการใช้ชุดปฏิบัติการขนาดเล็กเข้าปฏิบัติการแทนเพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติการซึ่งจัดจาก กองพันทหารราบ  ละ ๑ ชป. ๆ ละ ๑๒ นาย    เข้าปฏิบัติการต่อข้าศึกจากการปฏิบัติการดังกล่าวสามารถยึดเนิน ๓๘๒, ๔๐๘, และ ๕๐๐  กลับคืนมาได้ และสามารถผลักดันกำลังข้าศึกให้ถอนตัวออกจากประเทศไทยได้อย่างสิ้นเชิงใน กรกฎาคม ๒๕๓๐ ซึ่งกำลังฝ่ายเราได้รับการสูญเสียจำนวนหนึ่ง แต่ก็ลด น้อยลงกว่าการปฏิบัติการในครั้งแรก ๆ

          พุทธศักราช ๒๕๓๙   เมื่อ มกราคม จากสถานการณ์สู้รบภายในประเทศกัมพูชาที่มีผลกระทบต่อ การรุกล้ำอธิปไตยตามแนวชายแดนของไทย ทหารกัมพูชา ประมาณ ๒๐๐ คน ได้นำกำลังอ้อมเข้ามาในเขตไทยเพื่อกวาดล้างกองกำลังเขมรแดง บริเวณช่องอานม้า อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี กรมทหารราบ เฉพาะกิจที่ ๖ ได้จัดกำลังเข้า ยับยั้งและผลักดันกำลังส่วนนี้ให้ถอน ออกไปอย่างรวดเร็ว   เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อความมั่นคงบริเวณแนวชายแดน จนได้รับคำชมเชยในการปฏิบัติหน้าที่จาก กองทัพภาคที่ ๒

       กรณีปัญหาชายแดนใน ๓ จชต.

          พุทธศักราช ๒๕๔๗ จากสถานการณ์ปัญหาชายแดนทางภาคใต้ใน  ๓ จังหวัดชายแดนใต้ กรมทหารราบที่ ๖  ได้รับมอบภารกิจให้จัดกำลังเข้าปฏิบัติภารกิจและแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จชต. ดังนี้

              ครั้งที่ ๑  ห้วง พฤษภาคม ๒๕๔๗ – มีนาคม ๒๕๔๘ จัด ๑ กองพันทหารราบ จัดจาก  กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๖  เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี โดยมี พันโท ธเนศ  วงศ์ชะอุ่ม เป็น ผู้บังคับกองพัน   ปรับเปลี่ยน ผู้บังคับกองพัน  เป็น พันโทเฉลิมพล   จินารัตน์

              ครั้งที่ ๒ ห้วง เมษายน ๒๕๔๘ – มีนาคม ๒๕๔๙ จัด ๑ กองพันทหารราบ จัดจาก  กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๖  เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ จังหวัดนราธิวาส  โดยมี พันโท พิศิษฐ์  ศรีสังข์ เป็น ผู้บังคับกองพัน

              ครั้งที่ ๓  ห้วง เมษายน ๒๕๔๙ – มีนาคม ๒๕๕๐ จัด ๑ กองพันทหารราบ จัดจาก  กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๖ เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ จังหวัดนราธิวาส โดยมี พ.ท.เฉลิมพล  จินารัตน์ เป็น ผู้บังคับกองพัน

              ครั้งที่ ๔  ห้วง เมษายน ๒๕๕๑ – ตุลาคม ๒๕๕๒ จัด ๑ กองพันทหารราบ จัดจาก  กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๖  เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี จัดตั้งเป็น หน่วยเฉพาะกิจปัตตานีที่ ๒๓ โดยมี พันโทประเวศสุทธิ  สุทธิประภา เป็น ผู้บังคับกองพัน

              ครั้งที่ ๕  ห้วง ตุลาคม  ๒๕๕๒  – เมษายน ๒๕๕๔ จัด ๑ กองพันทหารราบ จัดจาก  กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๖  เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี     จัดตั้งเป็น หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี ๒๓ โดยมี พันโทสฤษดิ์   สิงหโยธิน   เป็น ผู้บังคับกองพัน

       กรณีพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร

            พุทธศักราช ๒๕๒๒   บริเวณชายแดนด้านไทย - กัมพูชา ซึ่งขณะนั้นภายในกัมพูชามีปัญหาเรื่องผู้นำประเทศแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย และทหารเวียดนามมีอิทธิพลเหนือกัมพูชา ทำให้เขมรแดง ซึ่งถูกปราบปรามอย่างหนักได้อพยพมาอยู่ตามแนวชายแดนไทยและได้รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ประเทศไทย พร้อมกับสร้างความเดือดร้อนให้กับราษฎรไทย ที่อยู่ ตามแนวชายแดนเป็นอย่างมาก  ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน   กรมทหารราบที่ ๖  ได้จัดกำลัง ๑ กองร้อยทหารราบ เข้าปฏิบัติการผลักดันกองกำลังดังกล่าวจนล่าถอยออกนอกประเทศไป และเฝ้าตรวจระวังป้องกันการปฏิบัติการดังกล่าวของกองกำลังนี้อย่างต่อเนื่อง

            พุทธศักราช ๒๕๕๑ จากกรณีพิพาทบริเวณปราสาทเขาพระวิหารชายแดนไทย – กัมพูชา  กรมทหารราบที่ ๖ ได้รับมอบภารกิจเข้าป้องกันประเทศ โดยจัดกำลัง ๑ กองร้อยทหารราบ  เตรียมพร้อม จาก กองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๖    เข้าปฏิบัติภารกิจตามแผนปฏิบัติการ ๕๑๒ – กองทัพภาคที่ ๒ ในขั้นที่ ๒ (ขั้นตอบโต้) เข้าปฏิบัติภารกิจตั้งแต่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป โดยมี ร้อยเอกทัศนัย  แก้วตูมกา เป็น ผู้บังคับกองร้อย 

            เมื่อ ๖ เมษายน ๒๕๕๒ จัดกำลัง ๑ กองร้อยสนับสนุน จัดจาก กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๖ เข้าปฏิบัติภารกิจในพื้นที่บริเวณน้ำตกภูพิกัด  VA ๓๖๘๙๗๖  ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมี ร้อยเอกสกล  มหาลีวีรัศมี เป็น ผู้บังคับกองร้อย 

           เมื่อ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ กรมทหารราบที่ ๖ จัด ๑ หมวดเครื่องยิงหนัก ขนาด ๑๒๐ มิลลิเมตร ขึ้นสมทบกับ กองทหารทหารราบที่ ๑๖๓ โดยมี ร้อยโทชัยพล  เพชรพลอย  เป็น ผู้บังคับหมวด

เมื่อ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕  กรมทหารราบที่ ๖     จัดกำลังปฏิบัติภารกิจ

พื้นที่ช่องสะงำ  โดย พันเอก ธเนศ   วงศ์ชะอุ่ม  เป็น ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจที่ ๓   ควบคุมอำนวยการยุทธพื้นที่ช่องพระพะลัย อำเภอขุนหาญ  ถึง  ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์  จังหวัดศรีสะเกษ

           ปี ๒๕๕๕ – ๒๕๖๒ กรมทหารราบที่ ๖  จัดกำลังปฏิบัติภารกิจพื้นที่เขาพระวิหาร ๑ รับผิดชอบตั้งแต่ ช่องโปร่งแดง  ถึง ช่องทับอู   อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ 

       เกียรติประวัติในต่างประเทศ

        พุทธศักราช ๒๕๑๑ – ๒๕๑๓   จัดกำลังเป็นส่วนหนึ่งของกองพลอาสาสมัคร ของกองทัพบกไทย  ณ ประเทศเวียดนามใต้ ภายใต้ชื่อหน่วยว่า “กองพลเสือดำ” และ “กองพลจงอางศึก”ในการปราบปราม ผู้ก่อการร้ายจากประเทศเวียดนามเหนือ 

           พุทธศักราช ๒๕๑๔ – ๒๕๑๖ จัดกำลังอาสาสมัครในนามกองทัพ บกไทย ณ ประเทศลาว ภายใต้ชื่อหน่วยว่า “กองพันอาสาสมัครเสือพราน” ร่วมกับสหประชาชาติ

        พุทธศักราช ๒๕๔๓    จัดตั้ง กองบัญชาการภาคตะวันออก ,กองกำลังรักษาสันติภาพ ๙๗๒ ไทย – ติมอร์ตะวันออก ( ผลัดที่ ๒ ) และ ๑ กองพันทหารราบ เข้าปฏิบัติภารกิจรักษา สันติภาพ ณ ประเทศติมอร์ตะวันออก โดยเป็นกำลังส่วนหนึ่งของกองกำลังสหประชาชาติ  มี พันเอก พิเชษฐ์  วิสัยจร ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๖  เป็น ผู้บัญชาการภาคตะวันออก  หน่วยกำลังรบหลักจัดจาก กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๖ ประกอบด้วย กองบังการกองพัน,กองร้อยสนับสนุน และ ๒ กองร้อยอาวุธเบา  โดยมี พันโทธเนศ  วงศ์ชะอุ่ม เป็น ผู้บังคับกองพัน   จากการปฏิบัติภารกิจดังกล่าว  ได้สร้างความเลื่อมใสและความศรัทธาต่อประชาชน ชาวติมอร์ตะวันออกและนานาประเทศเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะการที่ กองกำลัง ๙๗๒ ผลัดที่ ๒   ได้น้อมนำเอาโครงการพระราช ดำริ " เศรษฐกิจแบบพอเพียง " ไปสู่ชาวติมอร์ จนได้ผลเป็นอย่างดี

ภารกิจหน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว ทบ. ในส่วนของ ทภ.๒

          ตามนโยบายและสั่งการของ พล.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์  ผบ.ทบ. ได้กรุณาสั่งการในการประชุมมอบนโยบายการเสริมสร้างหน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว (RDF) ของ ทบ. เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๗ พ.ย. ๖๒ โดยให้  ร.๖ และ ร.๖ พัน.๑ จัดตั้งเป็นหน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็วกองทัพบก ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 

การประกอบกำลังเป็นหน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็วของกองทัพบก ตามอัตราการจัดเฉพาะกิจที่กองทัพบกกำหนด (หนังสือ ยก.ทบ. ลับมาก-ด่วนมาก ที่ กห ๐๔๐๓/๕๐ ลง ๓๑ ม.ค.๖๓)

   รายนามผู้บังคับการ

      ๑. พันเอก หลวงราชเสนีย์           พุทธศักราช ๒๔๘๔ – พุทธศักราช ๒๔๘๗          ผบ.ร.๙

      ๒. พันโท พร้อม   ทองพรต          พุทธศักราช ๒๔๘๗ – พุทธศักราช ๒๔๘๙         ผบ.ร.๙

      ๓. พันเอก นิ่ม     ชโยดม           พุทธศักราช ๒๔๘๙ – พุทธศักราช ๒๔๙๓         ผบ.ร.๒๓

      ๔. พันโทหม่องราชวงศ์ สนั่น ศุภดิษฐ  พุทธศักราช ๒๔๙๓ – พุทธศักราช ๒๔๙๔     ผบ.ร.๒๓

      ๕. พันเอก อรุณ  จิตรบุตร           พุทธศักราช ๒๔๙๔ – พุทธศักราช ๒๔๙๖          ผบ.ร.๖

      ๖. พันเอก สวัสดิ์  โสตอำรุง         พุทธศักราช ๒๔๙๖ – พุทธศักราช ๒๔๙๘         ผบ.ร.๖

      ๗. พันเอก อยู่รบ   กรเพชร         พุทธศักราช ๒๔๙๘ – พุทธศักราช ๒๕๐๐         ผบ.ผส.๖

      ๘. พลจัตวา ชุมศักดิ์  ปานใจ        พุทธศักราช ๒๕๐๐ – พุทธศักราช ๒๕๐๑         ผบ.ผส.๖

      ๙. พลจัตวา เลื่อน  ดิษยุวรรนะ   พุทธศักราช ๒๕๐๑ – พุทธศักราช ๒๕๐๒          ผบ.ผส.๖

     ๑๐. พันเอก สวัสดิ์  มักการุณ        พุทธศักราช ๒๕๐๒ – พุทธศักราช ๒๕๐๗          ผบ.ผส.๖

     ๑๑. พันเอก วุฒิ   บิณฑวนิช        พุทธศักราช ๒๕๐๗ – พุทธศักราช ๒๕๑๔          ผบ.ผส.๖

     ๑๒. พันเอก ยงยุทธ   ดิษฐบรรจง    พุทธศักราช ๒๕๑๔ – พุทธศักราช ๒๕๑๖         ผบ.ผส.๖

     ๑๓. พันเอก ดัมพ์  ประยูรศร         พุทธศักราช ๒๕๑๖ – พุทธศักราช ๒๕๑๗         ผบ.ผส.๖

     ๑๔. พันเอก ประทีป  ทินกร        พุทธศักราช ๒๕๑๗ – พุทธศักราช ๒๕๑๙          ผบ.ผส.๖

     ๑๕. พันเอก ปัญญา  สนธิสง่า       พุทธศักราช ๒๕๑๙ –  พุทธศักราช ๒๕๒๐         ผบ.ผส.๖

     ๑๖. พันเอก ประเทือง  พิณโปน      พุทธศักราช ๒๕๒๐ – พุทธศักราช ๒๕๒๒         ผบ.ร.๖

     ๑๗. พันเอก วิมล  วงศ์วานิช          พุทธศักราช ๒๕๒๒ – พุทธศักราช ๒๕๒๓       ผบ.ร.๖

     ๑๘. พันเอก บรรเทา   ใยเกตุ         พุทธศักราช ๒๕๒๓ –  พุทธศักราช ๒๕๒๕           ผบ.ร.๖

     ๑๙. พันเอก ดำรง   ทัศนศร          พุทธศักราช ๒๕๒๖ –  พุทธศักราช ๒๕๓๑          ผบ.ร.๖

     ๒๐. พันเอก นิคม  ยศสุนทร         พุทธศักราช ๒๕๓๑ –  พุทธศักราช ๒๕๓๕        ผบ.ร.๖

     ๒๑. พันเอก สุชาติ  ภักดีพินิจ        พุทธศักราช ๒๕๓๕ –  พุทธศักราช ๒๕๓๗           ผบ.ร.๖

     ๒๒. พันเอก นิพนธ์  ศิริพร           พุทธศักราช ๒๕๓๗ –  พุทธศักราช ๒๕๓๙         ผบ.ร.๖

     ๒๓. พันเอก พิเชษฐ์  วิสัยจร         พุทธศักราช ๒๕๓๙ –  พุทธศักราช ๒๕๔๓         ผบ.ร.๖

     ๒๔. พันเอก สุรนาท  สุวรรณนาคร   พุทธศักราช ๒๕๔๓ –  พุทธศักราช ๒๕๔๗          ผบ.ร.๖

     ๒๕. พันเอก จุลเดช  จิตถวิล         พุทธศักราช ๒๕๔๗ –  พุทธศักราช ๒๕๕๑         ผบ.ร.๖

     ๒๖. พันเอก ไชยอนันต์   คำชุ่ม     พุทธศักราช ๒๕๕๑ –   พุทธศักราช ๒๕๕๓        ผบ.ร.๖

     ๒๗. พันเอก ธเนศ    วงศ์ชะอุ่ม      พุทธศักราช ๒๕๕๓ – พุทธศักราช ๒๕๕๖        ผบ.ร.๖

     ๒๘. พันเอก ธนศักดิ์ มิตรภานนท์    พุทธศักราช ๒๕๕๖ –   พุทธศักราช ๒๕๕๘         ผบ.ร.๖

     ๒๙. พันเอก จักรพงศ์ จันทน์สุทธิประภา พุทธศักราช ๒๕๕๙ –  พุทธศักราช ๒๕๖๑  ผบ.ร.๖

      ๓๐. พันเอก วิชิต  มักการุณ          พุทธศักราช ๒๕๖๑ –  พุทธศักราช ๒๕๖๓         ผบ.ร.๖

      ๓๑. พันเอก โถมวัฒน์   สว่างวิทย์     พุทธศักราช ๒๕๖๓ –  ปัจจุบัน                   ผบ.ร.๖

           ท่านที่มีตำแหน่ง สูงสุดในกองทัพบก คือ พลเอก วิมล วงศ์วานิช ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๖ ท่านที่ ๑๗ ห้วงพุทธศักราช ๒๕๒๒ – ๒๕๒๓ ดำรงตำแหน่งสุดท้ายคือ ผบ.ทบ. คนที่ ๒๗ ตั้งแต่ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๕ -  ๓๐ กันยายน ๒๕๓๘

       ปัจจุบัน กรมทหารราบที่ ๖ ยังคงปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศอย่างต่อเนื่องโดยมีพื้นที่รับผิดชอบ  ในเขต จังหวัดอุบลราชธานี, จังหวัดอำนาจเจริญ รวมความยาวตลอดพื้นที่รับผิดชอบตามแนวชายแดน ทั้งสิ้น ๔๕๓ กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังได้ปฏิบัติงานตามโครงการ ต่างๆ ตามที่หน่วยเหนือมอบหมายให้ เช่น โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ป่าดงนาทาม, โครงการพระราชดำริตามแนวชายแดนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง วันสถาปนาหน่วย ตรงกับวันที่ ๑๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๔ โดยหน่วยได้จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาใน วันที่ ๑๓ มิถุนายน ของทุกปี  

       โครงสร้างและอัตราการจัดหน่วย

              **กรมทหารราบที่ 6 จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ 143/22 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2522จัดตามอัตราการจัด กรมมาตรฐาน อจย.7–11 (ลง 25 มิ.ย. 22)   มีที่ตั้งปกติอยู่ที่ ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี มีกองพันหน่วยขึ้นตรง 3 กองพัน ได้แก่

               - กองพันทหารราบที่ 1

               - กองพันทหารราบที่ 2

               - กองพันทหารราบที่ 3

              ตามการจัดกองพันมาตรฐาน โดยกองพันทหารราบที่1 และกองพันทหารราบที่ 2 จัดตาม อจย.7-15

ลง 25 มิ.ย.22 กองพันทหารราบที่ 3 จัดตาม อจย.7-15 ลง 25 ก.พ.52