ผู้ใช้:Phraprasit thanadhammo/กระบะทราย
นี่คือหน้าทดลองเขียนของ Phraprasit thanadhammo หน้าทดลองเขียนเป็นหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้มีไว้ทดลองเขียนหรือไว้พัฒนาหน้าต่าง ๆ แต่นี่ไม่ใช่หน้าบทความสารานุกรม ทดลองเขียนได้ที่นี่ หน้าทดลองเขียนอื่น ๆ: หน้าทดลองเขียนหลัก |
นิพพาน…. เริ่มต้น.. ประวัติย่อ ผู้ที่รับเป็นเจ้าอาวาส.. ในปัจจุบัน
ที่มา อย่าง รวบ รัด รวดเร็ว แต่ ได้ ใจความ สาระ อุดมประโยชน์ ..
จาก เริ่มต้น จนถึง นิพพาน
• ชื่อ เดิม ประสิทธิ์ แววศรี เป็นบุตรชาย คนที่ ๔ ใน จำนวนทั้งหมด ๙ คน ฤ ชาย ๔ หญิง ๔ ส่วน อีก ๑ เสียชีวิต เมื่อตอนเกิดใหม่ เพศอะไร ต้อง ถามโยมแม่ไสว
• บิดา ผู้ให้กำเนิด คือ นายจันดี แววศรี ( พ่อของพระประสิทธิ์ ) ซึ่งเป็นบุตร ปู่ สุด แววศรี ( ปู่ ) อดีต ผู้ใหญ่บ้าน และ ย่า มี ภูพวก ( ย่า ) เดิม ย่า มี ภูพวก เกิดที่บ้านแดงหม้อ
ส่วน ปู่สุด แววศรี นั้น มีเชื้อสายเดิมมาจาก บ้าน กุดตากล้า ต. สร้างถ่อ อ. เขื่องใน
จ. อุบลราชธานี ซึ่งตั้งอยู่ห่างไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของบ้านแดงหม้อ
ประมาณ สิบกว่า กิโลเมตร
• มารดา ผู้ให้สายเลือด คือนางไสว (นามสกุลเดิม พื้นผา) แววศรี (แววศรี คือ นามสกุลใหม่ ซึ่งเปลี่ยนตามสามี คือ นายจันดี แววศรี) .......... แม่ ( มารดา )ของพระประสิทธิ์ ซึ่งเป็น ธิดา นางพันธ์ ภูพวก ต่อมา นางพันธ์ ภูพวก เปลี่ยนนามสกุลตามสามี (คือนายเล็ด พื้นผา) เป็น พื้นผา ( ยายของพระประสิทธิ์ ) นางพันธ์ เป็นคนเชื้อสาย เดิมของบ้าน แดงหม้อ โดยตรง
และนาย เล็ด พื้นผา ( ตาของพระประสิทธิ์ ) อดีตคุณครู ร.ร. บ้านแดงหม้อ และ อดีตผู้ใหญ่บ้าน บ้านแดงหม้อ เชื้อสาย เดิมมาจาก บ้านนาคำใหญ่ ตำบลนาคำใหญ่ อ. เขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ๓๔๑๕๐ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจาก บ้านแดงหม้อไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามถนน ๒๔๐๘ ( ที่หลัก ก.ม. ๐ ) ประมาณ ๗ ก. ม.
• เกิดวันพุธ ที่ ๒๘ เดือน สิงหาคม พุทธศักราช คือ หลังจากที่พุทธเจ้าปรินิพพาน ไปแล้ว ๒๕๑๑ ปี เกิดเมื่อ ตอน เวลา ประมาณ พอดีกับที่นักเรียน กำลังเข้าแถวเคารพธงชาติไทย และไหว้พระสวดมนต์ในศาสนาพุทธ ก่อน ที่นักเรียน จะเข้าห้องเรียนในตอนเช้า เพราะบ้านที่เกิดนี้ อยู่ห่างจาก ร. ร. บ้านแดงหม้อ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๒๐๐ เมตร ( แม่ เล่าให้ฟัง ) เกิดที่บ้าน ( หลัง น้อย ) ในหมู่บ้านแดงหม้อ ส่วนบริเวณ และบ้านหลังที่พ่อ แม่ อยู่อาศัยในปัจจุบันนี้ ( บ้านเลขที่ ๕๑ หมู่ ๑ บ้านแดงหม้อ ต. แดงหม้อ อ. เขื่องใน จ. อุบลราชธานี ๓๔๑๕๐ ) ก็อยู่ห่างจากบ้านหลังเดิมที่เกิดไปทางทิศตะวันตกอีก ประมาณ ๑๐๐ เมตร ถ้าจะเริ่มมองจากทาง ทิศตะวันตก บ้านหลังที่อดีตนายประสิทธิ์เคยเกิดนั้น ก็จะอยู่ห่าง จากบ้านหลังปัจจุบัน ของ นายจันดี ไปทางทิศ ตะวันออก นับเป็นหลังที่ สอง ซึ่งก็คือ บริเวณบ้าน ของครู พิชัย ก้อนสิน ซึ่งอยู่ทางทิศ ตะวันออก ของบ้านนาย ทองนาค ภูพวก ผู้เป็นสามี นาง ทองเลี่ยน ภูพวก ..ซึ่ง ก็ เป็น โยม ที่ชอบมา รักษาศีล ภาวนา เพื่อพ้นจากทุกข์ ที่ วัดป่าดงใหญ่ เป็นประจำ นี่เอง นั่น แล…
• ผิว สี ดำ แดง ไม่อ้วน สูง ๑๗๕ เซนติเมตร น้ำหนัก ๕๘ กิโลกรัม ร่างกายมี อวัยวะครบ อาการ ๓๒ ส่วน รูปร่าง ดี
• นิสัย ดั้ง เดิม ๆ ไม่ กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน ไม่ชอบเอาเปรียบใครเลย ไม่ชอบเบียดเบียนใคร ไม่ขอ ชอบความยุติธรรม ไม่ค่อยพูด ซุกซน ตามประสาของเด็ก อดทนต่อความร้อน หิว หนาว คำยุแหย่ หยอก เย้า ….. ชีวิตการจะไป การจะอยู่ ความเป็นอยู่ ก็อยู่แบบง่าย อย่างไรก็ได้ ที่ดี ๆ กินง่าย อยู่ง่าย รักสงบ ไม่ชอบมีเรื่อง หาราวกับใคร อนุโลมตามเหตุการณ์ได้ดี มีความสุขกับการช่วยเหลือสังคม ชุมชน ส่วนรวม วัด กลุ่ม หมู่ เพื่อน น้อง ๆ ญาติ ๆ ชอบอยู่สงบ เงียบ
• ความหวัง อยากเป็นคนดี ที่สุด อยากมีความสุขในชีวิต ต้องการช่วยเหลือ คนมาก ๆ
• เริ่ม เรียน ระดับประถมศึกษา ( ป. ) ที่ ร. ร. บ้านแดงหม้อ บ้าน / ตำบล แดงหม้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ที่ บ้านเกิด อายุ ๗ ขวบ เริ่มเข้าเรียน ระดับ ชั้น ป.๑ จนถึง ชั้น ป. ๖ เป็นนักกีฬาฟุตบอลของโรงเรียนแดงหม้อ โดยเป็นตัวสำรอง ช่วงที่เรียน ใน ชั้น ป. ๑ – ป. ๒ นั้น โง่ มาก ถึงขนาด ได้ ร้องให้ในห้อง เพราะว่า ทำการบ้าน บวก เลข ไม่ถูก จนคุณครู ไม่ให้ไป กินข้าว เที่ยง … แต่ ก็ ไม่โกรธ ครู..ระลึก ถึง ตลอด …คุณ ครู ก็ นาม สกุล แววศรี เหมือนกันกับ นักเรียน ที่โง่ ๆ และ ก็ ยังมีคุณครู ที่นามสกุล อื่น เช่น ภูพวก ชมภูมาศ + นามสกุล อื่น ๆ ก็ เป็น ญาติ กัน เหมือนกัน .. เป็นญาติทางสายโลหิต กัน ด้วย…. .. ถือว่า ..ได้หลักการ อันนั้น แหละ มาสอน ตัวเอง จนบัดนี้ ว่า …. ครู ที่ดี นั้น จะ ต้องไม่ โอ๋ นักเรียน จนเกินไป …..พอ เรียน ถึง ชั้น ป. ๓ ก็ เริ่ม สอบได้ ที่ ๑ ที่ ๒ ของ ห้อง จนถึง ชั้น ป. ๖
• ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สอบเข้าเรียนต่อ ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ๓ คือ ม. ๑ – ม. ๓ ที่ ร. ร. นาคำวิทยา ตำบลแดงหม้อ ซึ่งอยู่ห่างจากบ้าน แดงหม้อไปทางทิศ ตะวันออก ประมาณ ๒ กิโลเมตร กว่า ๆ …ใน ปัจจุบัน เปิดสอน ตั้งแต่ ระดับ ม. ๑ ถึง ระดับ ม. ๖
• สอบเรียนต่อ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ ๑ ถึง ปีที่ ๓ ( ป. ว. ช. ๑ – ๓ ) สาขาวิชาช่างยนต์ ที่ วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี ( ชื่อขณะนั้น ) เกรดเฉลี่ยที่เคยได้สูงสุด ๓.๗๕ เคยได้รับทุนการศึกษาเรียนดี เมื่อจบการศึกษา ได้รับการคัดเลือกเป็นนักเรียนโควตา ส่งไปเรียนต่อ ในระดับ ป.ว.ส. ( ระดับ อนุปริญญา ) ใน ๒ สถานศึกษา
คือ ๑. ที่ วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน ถนนพระราม ๑ แขวงปทุมวัน ซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับสนามกีฬาแห่งชาติ ก. ท. ม.
และ ๒. ที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ฯ ซึ่งก็ตั้งอยู่ที่ ก.ท.ม. เหมือนกัน แต่ได้ตกลง เลือกเรียนที่ วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน (ชื่อในขณะนั้น)
• ระดับอนุปริญญา ประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง ( ป. ว. ส. )
• เรียน ที่ วิทยาลัย ช่างกลปทุมวัน ถนนพระราม ๑ เขตปทุมวัน หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ ในสาขาเทคนิคยานยนต์ ใช้เวลาเรียน ใน ๑ ปีแรก ในรอบเช้า ห้องเก้า ปวส. ๑๔ ชก. ๕๕ ในอีก ๒ ปีหลัง ได้ขอย้ายไปเรียนรอบค่ำ เพราะต้องทำงานที่กรมที่ดิน ( เนื่องจากพ่อที่เคยส่งลูก เรียน มาตลอด ทั้ง ๘ คน เริ่มป่วย ในปี ๒๕๓๐ จึงต้องหาทุนเรียนเอง )
( ช่วง หลัง ออกพรรษา แล้ว ( ปี ๒๕๓๖ ) ได้ เกิดอาการป่วย หนัก อาเจียน มาก ในวันพระ หายใจไม่ออก ดิ้นทุรนทุราย จน มีคน ไป แจ้งให้ หมอ ฝึกงาน (พยาบาล) จาก อนามัยบ้านแดงหม้อ ต้อง เข้ามาฉีดยา ถวายให้ ที่ใต้ถุนโบสถ์ ที่ ข้างหน้า โดยมีหลวงพ่อ แสวง คอย ดู อาการ ด้วย ความเป็นห่วง ต่อมา ไม่นาน เมื่ออาการ ยังไม่ดีขึ้น หลวงพ่อ ก็ พาไป ที่โรงพยาบาล เขื่องใน แล้ว ก็กลับ มา แล้ว หายป่วย .. พยาบาล ชุดนั้น ได้ช่วย พระองค์ นี้ รอด ในศาสนา มา จน ถึง ปัจจุบัน นี่ คือ คุณ ของ อนามัยบ้านแดงหม้อ ( โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแดงหม้อ ) ..อาจจะเป็นผล มาจาก ที่ เคยได้ มาช่วย สร้าง อนามัย ในงาน เล็ก ๆ น้อย ๆ ตั้ง แต่ สมัย ที่ ยัง เรียน ปวส. เทคนิคยานยนต์ ที่ วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน กทม. .)
และเนื่องจากได้เข้า สอบแข่งขันได้ในลำดับที่ ๙ จากการสอบเข้ารับราชการของคณะกรรมข้าราชการพลเรือน ( สอบ ก. พ. ) ซึ่งใช้วุฒิการศึกษาระดับ ป. ว. ช. ไปยื่นสอบ ในตำแน่ง ช่างเครื่องกล ๑ รวมเวลาที่ศึกษาระดับ ป. ว. ส. นี้ ประมาณ ๓ ปี ในปีสุดท้าย ปีที่ ๓ ได้ลงทะเบียน เรียน ๑ – ๒ วิชา เท่านั้น ช่วงที่เรียนที่ ช่างกลปทุมวันนี้ ก็ยังได้รับทุน นักเรียนเรียนดี จากทางวิทยาลัย ฯ ( ชื่อในขณะนั้น) โดยมีผู้ให้ทุน ก็คือบริษัทบุญผ่อง ซึ่งตั้งอยู่บนถนนเดียวกันกับ วิทยาลัยช่างกลปมทุมวัน คืออยู่ตรงกันข้างสนามกีฬานิมิบุตร. …………. พร้อมกับมีประสบการณ์ คือ การทำงานที่กองพัสดุ กรมที่ดิน ที่บริเวณ ริมคลองหลอด ก. ท. ม. , ได้ออกฝึกงานซ่อมรถยนต์ เครื่องยนต์ ช่วงล่าง ฯลฯ ที่บริษัท นิสสัน ในศูนย์ศรีจันทร์ ถนนสุขุมวิท ก.ท.ม. , ได้ ฝึกงาน ติดตั้งระบบเครื่องปรับอากาศ ( ตามที่เคยเรียนในระดับ ป.ว.ส. และ ในระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นวิชาบังคับ ก.ว. ) กับพี่ชายที่เป็นช่างซ่อมเครื่องปรับอากาศ (แอร์) อีกด้วย (ปัจจุบัน พี่ชายคนนี้ได้ คือ นายสุคล แววศรี ได้เปิดบริษัทฯ เป็นของตัวเอง)
• เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญา ตรี โดยสอบเข้าได้ ทั้ง สอง สถาบัน การศึกษา พร้อมกัน คือ
๑. ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเทเวศร์ ( ปัจจุบัน คือ สถาบันเทคโนโลยี่ราชมงคล วิทยาเขต เทวศร์ ) ซึ่งตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศตะวันออก เขตเทเวศร์ ก.ท.ม.
..แต่ ก็ได้เลือก สถานที่จะ เรียน ( เพราะ เทียบเคียง ข้อดี ข้อด้อย ใกล้ ไกล จาก ที่ทำงาน บ้านพัก ความสามารถ สมองของตัวเอง การยอมรับในสังคม บริษัทห้างร้าน ในราชการ ( ก. พ. ) ตลาดที่จะรองรับ โดยได้ปรึกษา อาจารย์ที่วิทยาลัยปทุมวัน ปรึกษากับผู้รู้ทั้งหลาย ปรึกษาหัวหน้า (นายประกิจ กนกอมรมาศ ซึ่งเคย จบ จาก ว. ปทุมวัน ทำงานอยู่ ที่กรมที่ดิน) และปรึกษาเจ้าหน้าที่ ที่อยู่ในกรมที่ดิน ซึ่งเคยเป็นศิษย์เก่าของวิทยาลัยช่างกลปทุมวันเหมือนกัน และ สุดท้าย ก็ ดูโอกาสในการศึกษาต่อ ดูโอกาสช่องทางในทางวิชาการ ดูเงินเดือนที่เอกชนเสนอให้ เมื่อเรียนจบ มาแล้ว )
๒. สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้า พระนครเหนือ ( ส. จ. พ. ) ถนนพระราม ๖ ก.ท.ม. สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม TTM22 ( ค. อ. บ. เครื่องกล ) ซึ่งขณะเรียน ก็ได้ทำงานที่กรมที่ดินไปด้วย โดยประจำอยู่ที่ กองพัสดุ กรมที่ดิน ตั้งอยู่ที่ ริมคลองหลอด ตำแหน่ง ช่างเครื่องกล ๑ ซึ่งเป็นวุฒิ ที่เคยใช้สอบได้เมื่อตอนเรียนอยู่ที่ วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน
ทั้งนี้ก็ด้วยความเมตตา ของ ท่าน ผ. อ. , หัวหน้าฝ่าย , หัวหน้างาน ( นายวิสิทธิ์ ซึ่ง เรียน จบ จาก ว. ปทุมวัน ) และ ความเมตตา ของ พ่อ แม่ พี่ ๆ ญาติ ๆ เพื่อน ๆ ที่ร่วมงาน ที่ได้ เมตตา ให้โอกาส เวลา กำลังใจ เพื่อเรียนต่อ และสอบเลื่อนตำแหน่ง ได้สอบเลื่อนตำแหน่งเป็นช่างเครื่องกล ๒ ที่กรมที่ดิน ได้ลำดับที่ ๑ ด้วย
• ต่อมา ได้ใช้วุฒิการศึกษา ระดับ ป. ว. ส. ที่จบจากวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน สอบแข่งขันเข้ารับราชการ ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( สอบ ก. พ. ) ตำแหน่งนายช่างเครื่องกล ๒ โดยสอบได้ในลำดับที่ ๑ อีก ก็เลยขอโอนย้ายจากกรมที่ดิน ปากคลองตลาด ใกล้ ๆ สนามหลวง เพื่อไปรับตำแหน่งใหม่ ที่ กองพัฒนาบ่อบาดาล กรมโยธาธิการ ซึ่งตั้งอยู่ ในซอย ด้านทิศใต้ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน ก. ท. ม. และในระหว่างที่ ทำงานที่กรมที่ดิน นั้น ก็ยังได้สอบเลื่อนตำแหน่ง เป็นช่างเครื่องกล ๒ และก็สอบได้ลำดับที่หนึ่งอีก
นอกจากนั้น ยังได้ใช้วุฒิ ป.ว.ส. ไปสอบเข้า ทำงานที่ ก.ท.ม. และ ไปสอบเข้าทำงานที่สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในคณะวิทยาศาสตร์ สอบได้ลำดับที่ ๑ จนมีชื่อ นายประสิทธิ์ แววศรี ลงใน วารสาร ของสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ว่าเป็นข้าราชการใหม่ ของสถาบัน แล้ว แต่ก็ได้ขอสละสิทธิ์ , ไปสอบเข้าทำงานได้ที่ ที่ ก. ท. ม. (ส่วนราชการ) และ สอบเข้าทำงานที่บริษัท ที. พี. ซี. ที่สมุทรปราการ สอบได้ แต่ได้ขอสละสิทธิ์ เอาบุญ
• ปี ๒๕๓๖ จบการศึกษาได้รับปริญญาตรี เกียรตินิยม ได้รับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ( ใบ ก. ว. ) ( สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ( Mechanical Engineering ) { ค.อ.บ. ย่อมาจาก ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต
ชื่อ ภาษาอังกฤษ B.S.Tech.Ed. Mechanical Engineering ( ย่อมาจาก Bachelor of Science in Technical Education Program in (…) ) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ( Faculty of Technical Education }
จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ กทม. ได้รับ ใบ กว. ( กว. ย่อมาจาก " คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม " ) เลขที่ใบอนุญาต ภก. 9958 ( ภาคีวิศวกร ) สาขา เครื่องกล หมายเลขสมาชิก 62249 ชื่อ - สกุล นายประสิทธิ์ แววศรี วันที่ เริ่มใช้ ๓๑ ม.ค. ๓๗ .. ( ชื่อ รุ่น , อักษร ย่อ ของ สาขาที่เรียน ที่ นิยม เรียก ใน พระนครเหนือ คือ TTM 22 ( สจพ. ต่อมาเปลี่ยน ไป เป็น มจพ. )
• ขณะจบ ปี ๒๕๓๖ ได้สมัคร เข้าทำงาน ที่บริษัท ที. พี. ไอ. ที่จังหวัดระยอง โดยใช้วุฒิปริญญาตรี ทาง บริษัท ก็เสนอให้ว่า จะได้รับ เงิน เดือนประมาณ หนึ่งหมื่นห้าพันบาท (ในสมัย ที่ ค่า ของเงิน คือ หนึ่งดอลลาร์ ประมาณ ๒๕ บาท ) เมื่อรวม ๆ ค่ารายได้ พิเศษ สวัสดิการ ต่าง ๆ ทั้งหมดแล้ว ก็จะได้ประมาณ สอง หมื่น บาท ต่อ เดือน ได้รับโบนัส ประมาณ ๖ เดือน พร้อมสวัสดิการ เช่น อาหารกลางวัน. และ ก็ยังได้มีบริษัท อื่น ๆ ที่ ดี ๆ ดัง ๆ ได้ แสดงความเมตตา มารับสมัครเอง ที่สถาบัน ฯ และยังมีอีกหลาย ๆ บริษัทที่สอบได้ และที่มีสิทธิ์ที่จะไปทำงาน เช่น บริษัท นิกอล ที่ทำงานเกี่ยวกับ กล้อง ที่ได้เชิญไปทำงาน ฯลฯ
• ปี ๒๕๓๖ ได้สมัครเข้าเรียนต่อ ในระดับปริญญาโท ที่สถาบัน เทคโนโลยี พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เขตลาดกระบัง ก. ท. ม. ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ผ่านการตรวจสอบ และได้เป็นนักศึกษาแล้ว รอไปเรียนตอนเปิดเทอม รับบัณฑิตใหม่
• ตกลง มีงาน ที่รออยู่ที่ บริษัท ที. พี. ไอ. .... นี่ ๑.
มี การทำงานที่เดิม คือ ที่กองพัฒนาบ่อบาดาล กรมโยธาธิการ ที่ได้เมตตาให้เวลา โอกาส กำลังใจ ส่งเสริม เป็นกัลยาณมิตร ให้ไปเรียนต่อจนจบ ปริญญาตรี มา ..... นี่ ๒.
ซึ่ง เป็นความหวังของท่าน ผู้อำนวยการ หัวหน้า, พี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ ฯลฯ ที่ จะได้ วิศวะ ฯ เครื่องกล ที่พึ่งจะจบใหม่ มาร่วมงาน โดย กำลังทำเรื่องปรับวุฒิการศึกษา จาก ตำแหน่งนายช่างเครื่องกล ๒ วุฒิ ป. ว. ส. จาก ระดับ ซี ๒ เลื่อนขึ้นมาเป็น ระดับ ซี ๓ ใช้วุฒิปริญญาตรี เงินเดือนที่ได้ก็จะอยู่ในราว ๆ ประมาณ สามพันกว่าบาท ก็อยู่ได้สบาย ๆ เพราะไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เที่ยว ไม่เล่นการพนัน ประหยัด อดทน ถ่อมตัว เป็นเด็กเรียน
บวช
• ได้ติดสินใจ บวช เพื่อตอบแทน บุญคุณ ของค่าน้ำนม ค่าเลี้ยงดู ค่าส่งเงิน เวลา อาหาร กำลังใจ ให้เล่าเรียนจนจบ โดยขอมอบบุญ กุศล จากการบวชนี้ให้แด่ แด่ ทวดทั้งหลาย ปู่ ย่า พ่อ แม่ แลปวงญาติ ๆ ทุก ๆ คน ผู้บังคับบัญชา คุณครู อาจารย์ หัวหน้า พี่ ๆ เพื่อน ๆ น้อง ๆ มิตรสหาย และที่สำคัญของการบวชก็ เพื่อจะแสวงหาความสุขที่สุดในชีวิต ของลูกผู้ชาย คือ สุขจาก การบรรลุ นิพพาน ให้ได้ แถมสิ่งที่มีในใจลึก ๆ คือ อยากได้สมาธิจากการบวชนี้ ไปเรียนต่อ ปริญญาโท อีกด้วย
ได้บวช เมื่อ วันที่ ๒ สิงหาคม หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน (สองพันห้าร้อยสามสิบหกปี) ๒๕๓๖ เมื่อ เวลาบ่าย สองโมงครึ่ง ณ พัทธสีมาวัดแดงหม้อ บ้านแดงหม้อ ( บ้านเกิด) อ. เขื่องใน จ. อุบลราชธานี ๓๔๑๕๐
โดยมี พระครูขันตยาธิคุณ ( บุญ ขนฺตโร (ขนฺตโร อ่านว่า ขัน – ตะ -โร) ) นามสกุลเดิม มีคุณ ท่านเป็นคนบ้านแสงน้อย ) เจ้าอาวาส วัดแสงน้อย เป็นพระอุปัชฌาย์ ….
พระครูอินทรวิสุทธิ์ ( หลวงปู่หนู อินฺทสโร (อินฺทสโร = อ่านว่า อิน- ทะ-สะ-โร ) ) นามสกุลเดิม มีคุณ ท่านเป็นคนบ้านแสงน้อย) เจ้าอาวาสวัดบ้านบุตร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ …
พร้อมด้วย พระครูสุนทรพัฒนากร (หลวงพ่อแสวง อชิโต นามสกุลเดิม ชมพูพื้น ท่านเป็นคนบ้านแดงหม้อ) เจ้าอาวาสวัดแดงหม้อ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้ ชื่อ และ ฉายาใหม่ ว่า พระประสิทธิ์ ฐานะธัมโม ฐานะธัมโม แปลว่า ผู้ที่มีธรรมเป็นฐาน เป็นที่ตั้ง ผู้ที่ตั้งอยู่บนธรรมเป็นธรรมดา
เมื่อ บวช แล้ว อยู่ศึกษากรรมฐานกับ หลวงพ่อแสวง
ปี พ. ศ. ๒๕๓๖ พรรษาที่ หนึ่ง ได้ จำพรรษากับหลวงพ่อ แสวง อชิโต ที่ วัดลือชัย บ้านลือชัย ( บ้านบาก เป็น บ้าน ที่ ชาวบ้าน แดงหม้อบางส่วน อพยพ หนี น้ำท่วม ไป อยู่ )
บวชวันที่ ๒ ส.ค. ๓๖ วันที่ สาม ส.ค. ก็ เดินทาง ออก จากบ้านแดงหม้อ ..หลังจากบวช แล้ว อยู่ วัดที่บ้านแดงหม้อ ๑ วัน ครึ่ง กับ ๑ คืน
จำพรรษา แรก พ.ศ. ๒๕๓๖ ที่ วัดลือชัย บ้านลือชัย ต. หนองหัวช้าง อ. กันทรารมย์ จ. ศรีสะเกษ (บวช แล้ว ค้างที่ วัดแดงหม้อ ๑ คืน )จำพรรษา ร่วมกับ หลวงพ่อแสวง อชิโต ( + เป็นอาจารย์ องค์แรก ที่ได้ สอนกรรมฐาน.. ให้แก่ พระประสิทธิ์) ท่าน พา ฉัน มื้อ เดียว..........................................หลัง ออกพรรษา สอบ นักธรรม ตรี เสร็จ
เมื่อ วันที่ ๒๕ ธ.ค. พ.ศ. ๒๕๓๖ เริ่ม เข้า สู่ วัดกรรมฐาน วัดป่า เป็น วัดป่าสาย วัดหนองป่าพง สาขาที่ ๑๓ .. ที่ วัดป่าศรีมงคล บ้านเปือย ต. โนกาเล็น อ. สำโรง จ. อุบล มี หลวงพ่อ สี สิริญาโณ เป็นประธานสงฆ์ + ( เป็น อาจารย์ กรรมฐานองค์ ที่สอง ที่ได้ สอน กรรมฐาน ให้ พระประสิทธิ์ ......
เข้า ใจ เรื่อง สมาธิ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ที่วัดหนองป่าพง อ. วารินชำราบ จ. อุบล
พรรษา ที่สอง พ.ศ. ๒๕๓๗ จำพรรษา ที่ วัดป่าโนนเก่า (สาขาที่ ๑๐๓ ของวัดหนองป่าพง ) บ้านโนนเก่า ต. ก่อเอ้ อ. เขื่องใน จ. อุบล ฯ ใน พรรษา นี้ ได้ เรียนปาฏิโมกข์ + นักธรรมโท + เรียน บาลีไวยกรณ์ + เรียน บุพพพสิกขาวณณา
พรรษาที่ สาม พ. ศ. ๒๕๓๘ จำพรรษา ที่ วัดป่านานาชาติ (สาขาที่ ๑๙ ของวัดหนองป่าพง ) บ้านบุ่งหวาย ต. บุ่งหวาย อ. วารินชำราบ จ.อุบล ฯ มี อาจารย์ ชยสาโร เป็น เจ้าอาวาส..... ช่วง ท้าย ของ พรรษา มี อ. ปสันโน มาช่วย
การศึกษาพระธรรมวินัย ธรรม กรรมฐาน
๑. เรื่อง ศีล ก็ได้พยายามฝึก หัดรักษาศีล ทุกข้อ ตามพระปาฏิโมกข์ ทุกข้อ เช่น ไม่จับเงิน ไม่ซื้อขาย แลกเปลี่ยนด้วยเงิน ทอง ไม่ขุดดิน ไม่ฟันต้นไม้ ไม่เรี่ยไร ไม่ฉัน นม โอวันตีน อาหารในตอนเย็น และ ได้รักษาศีลนอกปาฏิโมกข์ ก็ พยายามรักษาสุดชีวิต พยายามเป็นผู้ที่รักศีล รักระเบียบมาก นอกจากนั้น ก็ได้พยายาม ฝึกถือธุดงค์ ๑๓ เพิ่มเติม เพื่อฆ่ากิเลส เช่น การฉันมื้อเดียว เมื่อลุกแล้วไม่ฉันอีก การฉันในภาชนะเดียว การอยู่ป่า การอยู่ป่าช้า การอยู่ใต้ร่มไม้ การอยู่ที่แจ้ง การใช้ผ้า ๓ ผืน การใช้ผ้าบังสุกุล การบิณฑบาตทุกวัน การบิณฑบาตตามลำดับ ถ้าไม่ออกบิณฑบาต ก็จะไม่ฉัน การถือไม่นอนในวันพระ หรือในบางโอกาส เคยลอง อดนอนติดต่อกัน ๖ วัน และได้ทดลองอดอาหารบ้าง เช่น อดติดต่อกันรวดเดียว ๗ วัน บ้าง มีครั้งหนึ่งที่ได้ทดลองอดน้ำ พร้อมกับ อด อาหาร ๓ วันรวด และต่อจากนั้นได้ฉันน้ำอย่างเดียว แต่ยังอดอาหารต่อไป จนครบ ๗ วัน ถ้าจะ นับๆถึงปัจจุบัน ก็เคยอดอาหารมาแล้วประมาณ ๗๙ วัน เท่าที่นับได้ ส่วนที่นับไม่ได้ ไม่นับ ประมาณ ๘๓ วัน ( ถึง ๑๕ ก.พ. พ.ศ. ๒๕๕๖ )
ในเรื่องธุดงค์นั้น ถ้า ในฤดูหน้าแล้ง บางช่วง ก็จะ ถือได้เกือบ แทบจะครบ ทั้ง ๑๓ ข้อเลย
การฝึกสมาธิ
๒. เรื่อง สมาธิ การฝึกสมาธิ ก็ใช้การฝึกแบบ อานาปานะสติ คือ ให้เอา สติ มาเฝ้าดูลมหายใจที่กำลัง เข้า กำลัง ออก ที่บริเวณ ปลายจมูก หรือที่ริมฝีปากด้านบน อย่างพอดี ไม่กด ไม่เกร็งที่ส่วนใด ๆ ของร่างกายทุกอวัยวะ ลำตัวตั้งตรง ขาขวา ทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางมือทั้งสองหงายลงบนตัก หายใจเข้า + ออก ตามปกติ ไม่สั้น ไม่ยาว ไม่กลั้นใจ ไม่ทำลมให้ยาว ไม่กดลมให้สั้น หายใจพอดี ๆ หลับ ตา พอ ดี ๆ ไม่กดตา ไม่เกร็งที่คิ้ว ไม่เกร็ง หรืออาจจะลืมตา เพื่อ แก้ความง่วง หรือ อาจจะจ้องมองปลายจมูก ของตัวเอง ….
เอาสติ จ้อง ดูลม ที่ปลายจมูก หรือที่ริมฝีปากด้านบน ไม่ใช่ เอาสายตาจ้อง ดูลม ที่กำลังเข้าออก ไม่เกร็งใบหน้า ลำตัว ไม่เกร็งที่หน้าอก ที่หน้าท้อง ไม่เกร็งที่ลมหายใจ ทั้งตอนหายใจเข้า ตอนหายใจออก ตอนหยุดอยู่ ไม่เกร็ง กด ที่เข่า ที่ขา หน้าท้อง ไม่เกร็งที่ตา ไม่เกร็งทางใจ ไม่เผลอหลับ (แบบหลับ ที่ไม่รู้สึกตัว) ไม่ตื่นเต้น ไม่กลัว ไม่อยาก ไม่สงสัย ไม่เกร็งทางใจ หรือไม่ให้อ่อนแอเกินไป ไม่ปล่อยให้ร่างกายงอ ขด ก้มหน้า ไม่ให้กิเลส ตัณหามาล่อให้หยุด หรือกิเลสจะมาบอก ไม่ให้สนใจลมหายใจ ที่กำลังเข้า ออก หรือกิเลสจะมาล่อไม่ให้สนใจ พุทโธ ที่กำลังท่องอยู่
.. แต่.. จะสนใจ เฉพาะ ลมหายใจ และ คำว่า พุท + สนใจ คำว่า โธ ที่กำลังท่องอยู่.
สรุป ในการฝึกสมาธิ ก็ คือ ทำ พอดี ๆ
ใน บางครั้ง บางเวลาก็จะใช้ คำท่อง คำว่า พุท โธ จะใช้ คำท่อง คำว่า คำบริกรรม ภาวนา ในใจ แต่ไม่ได้ออกเสียง ดัง ๆ แต่จะท่อง จะว่า จะบริกรรม จะภาวนา ในใจ ว่า พุท พร้อมกับตอนที่กำลัง หายใจเข้า และใช้คำบริกรรมว่า โธ ในตอนที่กำลัง หายใจออก โดยหายใจ เข้า หายใจออก ตามปกติ ไม่สั้น ไม่ยาว หายใจพอดี ไม่อยากให้สงบ เฝ้าดูลมด้วยใจอย่างมีสติ ใจเย็น ไม่รีบ ไม่ด่วนอยากได้
ผลคือ คำว่า พุท ที่กำลังท่องอยู่พร้อมกับลมหายใจที่กำลังวิ่งเข้าไปในจมูก และ คำว่า โธ ที่ท่องอยู่กับลมหายใจที่กำลังวิ่งออกจากจมูก นั้น ได้ เบา ๆ ค่อย ๆ จาง ๆ แล้ว คำว่า พุทโธ ก็หายไปจาก การท่อง หายไปจากใจ โดยไม่ได้ตั้งใจจะท่อง คำว่า พุทโธ นั้น จะหายไป จะเหลือแต่ลมหายใจที่ กำลัง เข้า กำลัง ออก อย่าง เบา เย็น แต่ลมหายใจยังไม่หยุด ส่วนในใจนั้นเริ่มมีความสงบ เยือกเย็น สบาย แบบไม่เคยได้รับมาก่อน ยังมีสติไม่ตกใจ ไม่หลงดีใจ
หลังจากนั้นได้ทำต่อไป คือ เมื่อ พุท โธ หายไปจากการท่องในใจ
ก็มาเอาสติมาเฝ้าดูลมหายใจ ที่กำลังเข้า กำลังออก ที่ เย็น เบา ๆ ที่บริเวณปลายจมูกนั้น ต่อๆไป จนกระทั่ง ลมหายใจ ที่กำลังเข้าออก อยู่นั้น เริ่ม แผ่ว และเริ่ม สะดุด ๆ เบา และในที่สุด ลมหายใจเข้า ออก นั้น ก็หมดไปจากใจ ยังเหลือแต่ผู้รู้ที่ นิ่ง สงบ รู้อยู่ภายในใจ ส่วนร่างกาย แขน ขา หน้า ตา ลำตัวทุกอวัยวะได้หายไปจากความรู้สึกทั้งหมด มี อาการเบา ไม่หนัก สบายทางร่างกายมากที่สุด แม้ว่าจะพยายาม มองหาด้วยตาเปล่า หรือจะพยายามคิดทางใจ ถึงร่างกาย แต่.. ร่างกายก็ไม่มี (ในความรู้สึก) แต่ยังมีสติอยู่ ไม่หลับ ไม่หลง มีความสงบ สุข เหนือความสุขใดๆ ทุกสิ่งที่เคยได้รับมาในชีวิต ตลอด ประมาณ ๒๕ ปีย้อนหลัง และอาการที่ ไม่ต้องท่อง พุท โธ และ การที่ จับลมหายใจไม่ได้นั้น (เหมือนกับไม่หายใจ) ก็เป็นอยู่ทุก ๆ ท่า ทั้งในท่ายืน ท่าเดิน ก้ม เหลียว ไปไหน มาไหน คุย นิ่ง เหนื่อย หิว ร้อน หนาว ก็จะมีอาการลมหมดจากความรู้สึก อยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ตาย สบายดีมาก ซึ่งในตอนแรก อาการที่ ลมหมด พุท โธ หมดนั้น จะไม่จะเป็นเฉพาะในตอนที่กำลังนั่งสมาธิ เท่านั้น จะเป็นตลอด คือ ครั้นพอหยุดนั่งสมาธิ แล้วลุกออกจากสมาธิ ไปเดิน ไปบิณฑบาต ทำข้อวัตร จะอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ จะทำวัตร สวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ อ่านพระไตรปิฎก ก็จะยังมีอาการที่ พุทโธ หาย ไปจากความรู้สึก มีอาการที่ พุทโธ หายไป จากการท่อง อยู่ แต่ มีความสุข มาก
การฝึกสมาธิ ในเวลา ต่อ ๆ มา ส่วนมาก ก็จะฝึก โดยไม่ต้องท่อง พุท โธ ไม่ต้องคิดถึงคำว่า พุท โธ อีก และ จะเอาสติมาจับลมหายใจที่บริเวณปลายจมูกก็ไม่ค่อยจะได้ จะตั้งใจเอาสติจับลมหายใจที่กำลังเข้า ออก จะกำหนดอย่างไร ก็หาไม่ค่อยเจอลม แต่ ก็มี อาการสงบ มีผู้รู้เด่น อยู่ในใจ ตลอด สงบ สบาย เหมือนได้นิพพาน ที่คาดเดาเอาเอง เป็นอยู่ประมา ๒ ปี กว่า ๆ
ปัญญา หลังจากนั้นได้ทดลอง ??
เนื่องจาก ได้สังเกตเห็นว่า ( เพราะว่า ช่วงนี้ ได้พยายาม ดูจิตตัวเอง มาตลอด) ไม่มีกามราคะมารบกวน ในอารมณ์ปกติ ยกเว้นในฝัน อารมณ์โกรธ ก็หาแทบจะไม่เจอ แต่ว่าการภาวนาก็ยังไม่หลุดพ้น (ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ยังไม่บรรลุนิพพาน) สักที
การพิจารณา รูป หรือ ร่างกาย
แลแล้ว … วันนั้น ( วันที่ ๑๕ ก. ค. ๓๙ ) ได้ เกิดความน้อยใจ ว่า การภาวนาของตัวเอง ไม่ก้าวหน้า ก็เลย คิดว่า “ ตายเป็นตาย ถ้าไม่บรรลุนิพพาน จะไม่ยอม ” …. และได้ยอมให้มีความกำหนัด ยินดี กระสัน เงี่ยน ขึ้นมาในใจ ในขณะที่เดินจงกรมอยู่ ทั้งนี้ก็จะต้องอาศัยความมั่นใจ ในการฝึกสมาธิที่ตัวเองได้เคยฝึกมา ว่า คงจะไม่มีอันตรายจากการคิดถึง สุภะ หรือ ความงาม เพราะปกติเป็นคนรักศีลมาก โดยส่วนมากแล้วจะไม่กล้าคิดถึง ความงาม (สุภะ) แต่จะพิจารณา คิดถึงอาการ ๓๒ ของอวัยวะในร่างกาย ว่า สกปรก มีข้อเสีย (อสุภะ) และมีความกลัวอาบัติ คือความผิด มากยิ่งกว่า กลัว ผี ซะอีก
ที่กล้าคิดถึงความงาม ก็เพราะว่า มีความ มั่นใจในพลังของสมาธินั่นเอง
ถ้า ยังไม่ได้ ฝึกสมาธิ ก็คงไม่กล้าที่จะคิดถึง ความงาม เลย… นี่ สำคัญ
และก็เป็นการทำเพื่อ จะ ฆ่ากิเลส ไม่ใช่ทำเพื่อ จะ เพิ่มกิเลส
ดัง นั้น วันนี้ ( ประมาณ วันที่ ๑๕ ก.ค. พ.ศ. ๒๕๓๙ เวลา ประมาณ ๖ โมง เย็น ที่สำนักสงฆ์ เต่าดำ ซึ่งเป็นสำนักสงฆ์ สาขาของของวัดป่านานาชาติ ( วัดป่านานาชาติ เป็นสาขาที่ ๑๙ ของวัดหนองป่าพง ) ขณะ ที่ กำลังเดินจงกรม ที่ทางจงกรม หน้าศาลา บนภูเขา จึงได้ ได้ทดลอง ใช้สัญญาเก่ามา ระลึกถึง ความ ดี งาม สวย คือ คิดถึง สุภะอารมณ์ ( อารมณ์ที่ สวย งาม ) ของสิ่งของ เครื่องใช้ ของเพศตรงกันข้าม โดยคิด อารมณ์สุภะ
โดยการ ทำบ่อย ๆ คิดบ่อย ๆ
เมื่ออารมณ์ สุภะ หรือ ความงาม หายไป ก็กำหนด ระลึก สุภะ ขึ้นมาใหม่อีก ครั้น หายไปก็ทำใหม่ คือ กำหนด คิด สุภะ ขึ้นมาอีก เรื่อย ๆ เพื่อจะฆ่า เพื่อจะดูว่า ราคะคืออะไร มาจากไหน มีเวทนา ร่วมกับ ราคะ ไหม??
ผลปรากฏ ว่า ใจเกิดความกำหนัดก่อน แล้วจะส่งผลไปที่ร่างกาย เช่น ลมหายใจจะหยาบ แรง เจ็บที่หน้าอก หน้าท้อง ที่อวัยวะเพศ แต่ก็ทน เพราะว่า เป็นการทดลองทำเพื่อการฆ่ากิเลส ไม่ใช่ทำเพื่อจะให้เกิดกิเลส จากอาการที่กำหนัดนี้เอง ทำให้
ใจเริ่มรู้จัก อย่างเป็นจริง (วิปัสสนา) กับ อารมณ์ ของการวิปัสสนา คือ ร่างกาย (รูป) + คือ นาม (ความรู้สึกนึกคิด) หรือ เรียกว่า ชีวิต หรือเรียกว่า รูปนาม หรือเรียกว่า มนุษย์
รูป คือ ร่างกาย แขน ใบหน้า ท้องที่เกร็ง ลมหายใจที่สะดุด อวัยวะเพศที่เกร็ง หด แข็ง อ่อน เย็น ร้อน กระตุก สยิว ทนได้ยาก ยาก ยาก… จัดเป็น รูป
ใจ เริ่มรู้จัก เวทนา ที่มีอาการ สุข ทุกข์ เฉยจริง ๆ ….จัดเป็น นาม
ใจ เริ่ม รู้จัก สัญญา ที่จำเรื่อง เก่า ๆ มา จริง ๆ….. จัดเป็น นาม
ใจ รู้จักกับ สังขารที่ ปรุงแต่งไปทางดี ทางชั่ว ทาง กลางๆจริง ๆ… จัดเป็น นาม
ใจรู้จัก วิญญาณ ทั้งวิญญาณที่รู้ทางอวัยวะทางร่างกาย และ ทั้งวิญญาณที่รู้ทางใจอยู่ ในขณะที่กำลังเจอกับความกำหนัดนั้นๆ… จัดเป็น นาม
โดยรู้ ขันธ์ ๕ ใน ขันธ์ ๕ อย่างจริง ๆ ไม่ใช่จำมาจากตำราเรียน ไม่ใช่ จำมาจากพระไตรปิฎก เพราะว่า
เคยอ่านพระไตรปิฎกชุด ๔๕ เล่ม จนจบทุกเล่มมาก่อนแล้ว ( ใน ช่วง หลัง จากวัน มาฆบูชา ของ ปี ๒๕๓๙ )
ก่อนที่จะมาเจอความจริง ๆ มาสัมผัสอาการของขันธ์ ทั้ง ๕ อย่าง แบบจริง ๆ จะ จะ แจ่ม แจ้ง ในวันนี้
และ มารู้ว่า การรู้จากการอ่านพระไตรปิฎก กับ การเจอในความจริง ในจิต นั้น ต่างกัน……. แต่ก็ ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน
คือได้ รู้ว่า ขันธ์ ๕ มีอาการที่ อนิจจัง คือ ไม่แน่ ชั่วคราว แปรเปลี่ยนไปมา ตรงกันข้ามกับ ความเที่ยง
ได้ รู้ว่า เกิดความทุกข์ในขันธ์ทั้ง ๕ คือ ทุกข์ นั้น จะ มีอาการที่ ทนได้ยาก ขัดแย้ง บีบคั้น ทรมาน ไม่มีสุข ตรงกันข้ามกับ ความสุข (เช่น ความทุกข์ นั้น จะมีอาการที่ตรงกันข้ามกับ ความสุข ที่เคยเจอในการฝึกสมาธิ)
แต่ตอนนี้จิตก็ยังไม่มีอาการรู้ ว่า หลุดพ้น ยังคลุมเครือ ในใจ ตัวเอง
ก็เลยคิดเหมาเอาเองว่า เอ… พระอริยะ มรรค ผล นิพพาน
และ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ จะหมดแล้ว มั้ง ?
แต่ก็ไม่ถอย ยังได้ ฝืน คิด ระลึก กำหนด สุภะ คือ ความงามขึ้นมาอีก อย่างอดทน ใจเย็น มีสติ
ในช่วงนี้ ถ้า เกิดมี กิเลส เกิดความกำหนัดมาก ๆ จนจะทนไม่ไหว สั่น สยิวมาก ร้อนไปทั่วร่างกาย
ก็จะหา วิธีการที่จะ บรรเทา ป้องกัน กามกิเลส กันราคะ ก็คือ
เรื่องท่าทางในการเป็นอยู่ของร่างกาย
( ตามปกติ ในการเดินจงกรมนั้น จะใช้มือขวากำหลวม ๆทับที่มือซ้าย ลำตัวตั้งตรง ไม่ก้มหน้า มอหน้าตรง สายตาทอดลง ห่าง จาก ลำตัวไปข้างหน้าประมาณ ๙ คืบ เดินไม่ช้า ไม่เร็ว มีสติ ไม่มองโน่น มองนี่ ….. นี่เป็นหลักในการเดินจงกรม ทั่วไปๆ
แต่วันนี้ ก็ถึงกับ ต้องใช้มือ ทั้งสอง กอดที่อกในบางช่วงเวลา ในขณะที่กำลังเดินจงกรมเพื่อ ฆ่า กิเลส อยู่นั้น ทั้งนี้ ก็ เพื่อป้องกัน มือทั้งสอง ให้ปลอดภัย จากสิ่งที่ไม่ดีทาง วินัย ( นี่ คือ เรื่องท่าทางของร่างกาย ) )
การพูดน้อย การนอนน้อย การกินน้อย การสำรวม ก็จะช่วยแก้ ความกำหนัดได้
และ ก็ยังมี อีก หลาย วิธี ที่จะแก้ อาการความกำหนัด ขอ ยกตัวอย่าง เช่น
ก. ก็จะใช้ อสุภะ มา แก้ กิเลส คือ ความกำหนัด (อุบายหลัก ๆ แก้ กาม) เช่น คิดถึง เลือดประจำเดือน ความสกปรก อ้วน แก่ เจ็บ ตาย จะใช้ อสุภะ หรือความสกปรก ของวัยวะทั้ง ๓๒ อย่าง เช่น ความสกปรก ของเนื้อ น้ำเหลือง ความสกปรกของเหงื่อ เลือด ความสกปรกสิ่งที่อยู่ในร่างกาย ของเสียที่ออกจากร่างกาย แล้วนำคิด ทบทวนไปมา เพื่อ แก้ ความกำหนัด
ผล ก็คือ ความกำหนัด ก็จะค่อย ๆ หายไป จะค่อย ๆ เบาลง โดยเริ่มเบาที่ ทางใจ ก่อน แล้ว จะส่งผลไปที่ ทางร่างกาย ทำให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เริ่ม อ่อนตัวลง ร่างกายจะไม่แผ่วร้อน ไม่สั่น ไม่กระตุก ไม่เกร็ง ผ่อนคลาย ลมหายใจจะละเอียดขึ้น จะเริ่ม สบาย เริ่มมีกำลังใจ พอที่จะสู้กับราคะได้อีกรอบ ตามกำลังของ สมาธิภายในจิต ที่มีอยู่ บวกกับอาศัย ความศรัทธา มีสติ ความอดทน ความเพียร เพื่อความหลุดพ้น
ข. บางครั้ง ก็ใช้การ วางเฉย ไม่ต้องไปสนใจ ไม่ให้ความสำคัญ ทำเป็นไม่รู้ ไม่ชี้ ต่ออาการ ต่าง ๆ ที่เกิดความกำหนัด ขึ้น ทั้งทางร่างกาย ที่มีอาการ ทุกข์ ทรมาน ทนได้ยาก กระวนกระวาย
และ ก็ไม่สนใจ ไม่ให้ความสำคัญ ต่ออาการ ที่ปรากฏขึ้นในทางใจ ที่กำลัง ทุกข์ ๆ ทรมาน บีบคั้น หรือเฉย ๆ อยู่ นั้น
แต่รับรู้อยู่ อย่างมีสติ อดทน
เรียกว่า วาง อุเบกขา นี่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่สามารถ บรรเทา ความกำหนัด ได้
มีสุขเต็มที่ เข้าใจธรรม เห็นธรรม บรรลุธรรม หายสงสัย จบการภาวนา การศึกษา เสร็จงาน เสร็จกิจ
ณ วันที่ ๑๕ ก. ค. พ.ศ. ๒๕๓๙ ก็ ได้รู้ว่า ถึงเป้าหมายของนักบวชที่ต้องการแล้ว นั่น คือการทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ได้พบกับความสุข ที่เที่ยง แน่นอน ยั่งยืน ถาวร สุขตลอดกาล ไม่มีงานที่จะต้องทำอีกแล้ว ไม่เกิดอีกแล้วใน ๓๑ ภูมิ นี้ อาการที่ว่า เห็นธรรมนี้ เกิดบนทางจงกรม บนภูเขา หน้าศาลา เวลาก็ประมาณ ๑ ทุ่ม หลังจากที่ได้ เกิดอาการเห็นธรรม เกิดการ บรรลุธรรม แล้ว ก็ เกิด ปีติ จนน้ำตาไหล หลั่ง ริน ไหล อาบแก้ม พร้อมกับเห็นว่า พุทธ ธัม สงฆ์ ได้ มารวมอยู่ในใจที่เดียวกัน ได้กราบพระพุทธเจ้า กราบพระธรรม คือมรรค ผล นิพพาน กราบพระสงฆ์ คือ พระสารีบุตร พระอานนท์ และพระอรหันต์ทุกรูป ทุกองค์ บัดนี้ข้าพเจ้า ได้รู้แล้ว เห็นแล้ว เป็นแล้ว เข้าใจแล้ว บรรลุแล้ว กราบแล้ว ก็กราบอีก กราบลงกับพื้นดิน ณ ที่ข้าง ๆ ทางจงกรมพร้อมน้ำตาที่ร่วงริน อย่างยินดี ที่สุด ๆ ในโลก หมด พ้นจากทุกข์แล้ว เสร็จสิ้นกันที ได้บรรลุธรรม
จะ มีอาการอยู่ภายในใจ นี้ ( จะมี ๑. นิพพาน ๒. จะมี ขันธ์ ทั้ง ๕ )
คือ จะมี อาการที่รู้ว่า ไม่เกิด ที่หลุดพ้น ที่ไม่ทุกข์ ที่ว่าง …
แต่.. ว่า.. มีอยู่ ๆ ไม่ใช่ ไม่มี …..
มี ( นิพพาน ) อยู่ในหัวใจนี้มาตลอดเวลาจนเดี๋ยวนี้ บัดนี้ ตลอดกาล
พิจารณาร่างกาย (รูป ) แล้วเห็น เวทนา พร้อมกับจิต (นาม) ที่เกิด ความกำหนัดยินดี และไม่กำหนัด
สาเหตุ ที่เกิดอาการ หลุดพ้น ที่อยู่ในใจตลอด นี้ ก็เป็นผลมาจากการพิจารณา คือการระลึก การคิดค้น ตรวจสอบ ทบทวน ในเรื่อง เรื่อง สุภะ …สุภะ คือ ข้อดี งาม ….เมื่อเห็นว่า ตัวเอง จะทนต่อกามราคะ กำหนัด ไม่ไหว ก็เอา อสุภะ มาคิด ระลึก ใน อสุภะ… อสุภะ ก็ คือ ข้อเสีย สกปรก ของร่างกายตัวเอง และร่างกายของผู้อื่น ของเพศตรงกันข้าม และสิ่งของทุกอย่าง ทำอย่างต่อเนื่อง บ่อย ๆ ถี่ ๆ ไม่หยุด เมื่อหายไป ก็ปลุกมันขึ้นมาทั้งสองอย่างทั้งข้อดีหรือ สุภะ และข้อเสียหรือ อสุภะ ……………. คิด ..สลับกันไปมาอย่างอดทน มีสติ
แต่ต้องระวัง … ก็ต้องมีสมาธิ ในใจ ที่เพียงพอด้วย
( ถ้า สมาธิ ยังไม่พอก็ยังไม่ต้อง ฝืน ให้ ฝึก แบบใช้ อสุภะ ไปก่อน.. อย่า ลืม )
และได้ สละชีวิต ว่า
“ ถ้าไม่ดี ให้มันตาย แต่ถ้าไม่ตาย ก็ให้มันดี ให้หลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน ให้ ถึงนิพพานบรมสุข ให้ เป็น อรหันต์ ไปเลย ”
เมื่อ ได้เห็นความ ทุกข์ + อนิจจัง จากการดู สุภะ สลับกับ อสุภะ แล้ว … แต่…จิตก็ยังไม่หลุดพ้น
ก็เลยได้ทดลองอีกวิธี หนึ่ง โดยได้ ทดลอง ฝืน เอาดื้อ ๆ ทางร่างกาย เพราะว่า ตามปกติแล้ว เมื่อเราคิด ( เหตุ ) ถึงข้อดี มันก็อยาก ( ผล ) ได้ทาง ใจ ก่อน แล้ว ใจนั้น ก็ส่งผล( ผล ) มาที่ ร่างกาย ทั้งอยากมอง ทั้งอยาก ดู จับ สัมผัส อยากมี เป็นอาทิ แล้ว จะส่งไป ที่ร่างกาย ให้ร่างกาย คือ ตามอง ให้ดู ให้ก้มดู ให้ หู ฟัง ให้ แสวงหา
และ เมื่อตอนที่ ใจ คิด ( เหตุ ) ถึงข้อเสีย …….
ใจ ( ผล ) มันก็จะไม่เอา ไม่ต้องการ ก่อนร่างกาย แล้ว..ใจ จะส่งผลมาที่ ร่างกาย ไม่ให้ร่างกาย เอา ไม่ให้ตา หรือไม่ให้ร่างกายไปมอง ไปสนใจที่จะ จับต้อง อีกต่อไป
ทีนี้ก็เลย ทดลองฝืน ๆ เอาเลย โดยไม่ได้ใส่ เหตุ ทั้งที่เป็น สุภะ และ อสุภะ ที่จะ เป็น เหตุ ใน ทางร่างกาย ทั้งร่างกายที่เป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต ใกล้ ไกล หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ….
ทดลองฝืน ๆ เอาเลย โดยไม่ได้ใส่ เหตุ ทั้งที่เป็น สุภะ และ อสุภะ ทั้งที่ร่างกาย มี แขน ขา หน้า ตา หู ปาก ลิ้น ที่ได้รับความเย็น บ้าง ร้อน อ่อน แข็ง สั่น กระตุก เสียว คัน เฉย มึน ชา ๆ สุข ทุกข์ หนัก เบา ตึง หย่อน สะเหม่น ขาด ๆ เต็ม ๆ หลุด เพิ่ม งอก หด เหี่ยว เปลี่ยนสี เปลี่ยนขนาด ย่อ ขยาย ของร่างกายทั้งหมด ฯลฯ
การทดลอง ฝืน ก็ อย่างเช่น ร่างกาย มันแข็ง ก็ฝืนให้ร่างกาย อ่อน
พอร่างกาย มันอ่อน ก็ฝืนให้มันแข็ง มันเฉย ๆ ก็ฝืนให้มันแข็ง บ้าง ให้มันอ่อนบ้าง
ร่าง กาย มันเย็น ก็ฝืนให้มันร้อน โดยไม่ใส่ความร้อน ไม่ตากแดด พอมันร้อน ก็ฝืนให้ร่างกายเย็น ๆ โดยไม่ใส่ความเย็น ไม่เปิดพัดลม ฝืน ดัน บังคับ ให้เย็น เอาดื้อๆ แต่มันก็ไม่ได้ดั่งใจอยากหรอก รู้ อยู่ เริ่มรู้ ฝืนทางใจเฉย ๆ ไม่ใส่สาเหตุ ไม่กระตุ้นมัน ไม่ใส่เหตุ ฝืนเอาดื้อๆ
จาก การที่ทดลองฝืนนี้ จนในที่สุดก็รู้ว่า ยังไง ๆ …. ร่างกาย ก็ไม่เชื่อฟังเราเลย ร่างกายจะ เป็นไปตามเหตุของสิ่งที่มากระทบ มาสัมผัส มาแตะต้อง เช่น สัมผัสกับอากาศ น้ำ ความร้อน ของแข็ง กาซ ความคิด เสียง แสง กลิ่น รส ฯลฯ จริง ๆ ไม่เป็นไปตามที่เราจะมาบังคับเอาดื้อ ๆ เลย จนกระทั่ง เบื่อ ๆ ๆ ปล่อยวางร่างกาย ( รูป ) เพราะร่างกายที่กำลังถูก ไตรลักษณ์ ( ลักษณะ อาการ ๓ อย่าง ) ควบคุม ครอบหัวอยู่ ไตรลักษณ์ นั้น ก็ได้แก่
ความ ไม่แน่นอน มีเกิด ๆ มีดับ ๆ ไม่ใช่เกิดตลอดไป ไม่ใช่ดับตลอดไป จะมีอาการชั่วคราวๆ จะมีการเกิดขึ้นๆ ตั้งอยู่นานบ้าง ช้าบ้าง เร็วบ้าง ๆ มีอาการที่แปรปรวนๆ ตรงกันข้ามกับความเที่ยง แน่นอน ที่เรียกว่า อนิจจัง นี่อย่างที่ ๑
ร่างกายที่กำลังถูก ความทุกข์ ๆ ทรมาน ทนได้ยากจริงๆ บีบคั้นจริง ๆ ตรงกันข้ามกับความสุข ที่เรียกว่า ทุกขัง นี่อย่างที่ ๒
และ การที่ร่างกายนั้น จะไม่ได้ดั่งใจสั่ง ถึงแม้ว่า บางที ก็ดูเหมือน ๆ กับ ว่าเราจะสั่งได้ บังคับได้ดั่งใจ เช่น เมื่อเรากิน ก็อิ่ม เมื่อทำดี ก็จะดี เมื่อเราขยันทำดี ก็จะสำเร็จ แต่คำว่า เรา ของเรา หรือ อาการที่ว่า เราสั่งได้ ก็ไม่ใช่ เรา อีกละ เพราะ คำว่า เรา เรา นั้น เป็นนามธรรม เป็นนาม เป็นแค่ สัญญา และ สัญญา = อนัตตา หรือคำว่า เรา นั้น จริง ๆ ก็เป็น อนัตตา …….อนัตตา ที่แปลว่า ไม่ใช่เราอย่างแท้จริง … ร่างกาย จะขึ้นอยู่กับเหตุ ร่างกายจะเป็นของที่ว่างจากการยึดถือว่า ของเรา อย่างแท้จริง จะว่า ของเรา ก็แค่เพียงสมมุติ ……. แต่ว่า ร่างกาย ก็ยัง มีอยู่ ไม่ใช่เมื่อกล่าวว่า ไม่ใช่ของเรา ว่างแล้ว ร่างกายของเรา จะหายไป ร่างกายนี้ จะไม่สามารถทำคุณงามความดีได้ ไม่ใช่อย่างนั้น
แต่…จะ ใช้ร่างกายนี้ ทำดีได้อย่าง สบาย ๆ ด้วย เรา ก็ รักษาความสะอาด ได้ ก็เพราะ การที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ของร่างกายอย่างแท้จริง นั่นแหละ จะทำให้เราพัฒนาตัวเองได้อย่างอิสระ ไม่ต้องเป็นทาสใคร ร่างกาย และใจ นี้ ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ ของ เรา แล้ว เป็นอะไรล่ะ? ตอบว่า เป็น แค่ รูป นาม ซึ่งรูป นาม นี้ ก็ไม่ใช่ ของเรา เรียกว่า เป็นอนัตตา …. อนัตตา นี้ ซึ่งเป็นสูตรที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวไว้เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้วก่อนใคร ๆ การที่ว่ากล่าวว่า ไม่ใช่ เรา กล่าวว่า ไม่ใช่ เขา นั้น ก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ ของเรา เลย ……
ยกเว้น ที่สมมุติ เอา ว่า เรา ว่า เขา ว่า รถ สัตว์ ว่า ธรรมชาติ ว่า เทวดา ฯลฯ
แต่…จริง ๆ แล้ว รูป นาม ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ของเรา แต่มี… อยู่น่ะ ไม่ใช่ ไม่มี
ร่าง กายนี้จะมีอาการที่ตรงกันข้ามกับการบังคับได้หรือตรงกันข้ามกับอัตตา (บังคับได้) ที่เราเรียกอาการทั้งที่เกิดในขณะที่ ไม่เที่ยง ๆ ………………………ทั้งในขณะที่ ทุกข์ ๆ นั้นว่า อนัตตา นี่อย่างที่ ๓
ซึ่ง ทั้ง ๓ อาการนี้ จะเหยียบ กด ข่ม อยู่เหนือร่างกายของตัวเอง จนโงหัวไม่ขึ้น เมื่อเห็นว่า ๆๆ ร่างกายไม่เชื่อฟังเรา จากการพิจารณา สุภะ สลับกับ อสุภะ อย่างต่อเนื่อง แล้ว ถึงจะยังไง ๆ ทางร่างกายนี้ เราก็ ไม่เอาแล้ว ๆ ไม่สน ไม่ติดใจ ไม่ยึดว่าเป็นของเรา แต่ว่า … ก็ยังมีร่างกายครบทุกอวัยวะอยู่ ไม่ถึงขนาดว่าจะต้องตัดแขน ขา ตาบอด ลิ้นจืด ร่างกายพิการ หูหนวก ร่างกาย มึน ชา ตายด้าน ไร้ความร้อน ไม่รู้สึกหนาว เย็น นิ่ม สาก เรียบ ไม่ คัน ก็หาไม่ ก็ยังอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน รับประทานอาหาร บริหารร่างกาย ตัดผม โกนผม โกนหนวด ตามสุขลัษณะที่พระพุทธเจ้า สอนให้รักษาความสะอาด ของร่างกาย อยู่ เหมือนเดิม
แต่… ว่า จะไม่ได้ทำด้วยความอยาก ไม่ได้มีกิเลส ไม่มีอุปาทานที่จะไปยึด ( อุปาทาน เป็นกิเลสที่จะเราจะต้องละ ต้อง ฆ่า ..แล้วจึงจะมีความสุข ) เหมา มั่ว เอาว่า ร่างกาย เป็นของตัวเอง ทั้งที่จะยึดในส่วนที่ของร่างกายที่เป็น สมมุติ ว่า เรา ว่า ของเรา ( เพราะว่า เป็นแค่ สัญญา ว่า เรา ของเรา แล้ว เจ้า สัญญา นั้น ก็เป็นอนัตตา ๆ ๆ อยู่แล้ว …วาง… ไม่ยึด ) ก็ไม่ยึดถือ และร่างกายที่มีอยู่จริง ๆ ไม่ใช่ ไม่มี ..มีอยู่ ทุกอวัยวะ ที่เป็น ปรมัตถ์ นี้ ก็ไม่ยึด ไม่เหมา เอามาเป็นของตัวเอง เลย เรา ก็ใช้ร่างกายตามสมมุติ ที่ไม่ผิดศีล สำรวม ระวัง มีวินัย มีกฎหมาย ไม่เบียดเบียนใคร และใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ ศาสนา เพื่อร่วมโลก สัตว์อื่น ๆ ฯลฯ ให้มีความสุข แต่ไม่ใช่ สุขตามกิเลส นะ เป็นสุขที่เกิดจากความรู้จริง เกิดจาก ศีล สมาธิ ปัญญา
เริ่ม... พิจารณา นาม หรือ จิต หรือ ผู้รู้
เพ่งพิจารณาจิตให้เห็น ไตรลักษณ์ ต่อจากนั้นก็ได้ใช้สติปัญญา เพ่ง จดจ่อเข้ามาที่จิตทันที ๆ เพราะว่าทางร่างกาย (รูป) นั้นไม่สนใจที่จะพิจารณา อีกแล้ว วางได้แล้ว เสร็จแล้ว สำเร็จแล้ว ( ตามหลักการในพระไตรปิฎก ก็ว่า เป็น พระอนาคามี ) และก็ได้เห็นจิต หรือ นามธรรม ทั้งนามที่เป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต ใกล้ ไกล หยาบ ละเอียด เลว ประณีต อันมีอยู่ใน นาม หรือใจ สำหรับรายละเอียดของนาม ที่ใหญ่ ๆ ก็ได้แก่
เวทนา = ความรู้สึกที่มีต่ออารมณ์ต่าง ๆ เมื่อได้เจออารมณ์ต่าง ๆ เวทนา ก็ มีสุข ๑ ทุกข์ ๑ อุเบกขา ๑
สัญญา = คือความจำ ทั้งจำรูปธรรม นามธรรม ที่ดี ที่ชั่ว ที่กลาง ๆ
สังขาร = คือ การคิด การเพิ่ม การเติม การปรุง การแต่ง เสริม ในรูปธรรม และนามธรรม ทั้ง ปรุงในทางที่ดี ๑ ปรุงในทาง ที่ชั่ว ๑ ปรุง แบบ กลาง ๆ ๑
วิญญาณ = การรับ การรู้ทางตาที่รู้ว่า มีรูป เห็นรูป สวย ขี้เหล่ เท่ห์ การรับ การรู้ทางหูที่รู้ว่าได้ยินเสียง หรือเงียบ ฯ การ รับ การรู้ทางจมูกที่รู้ กลิ่น หอม อับ ฉุน เหม็น ฯ การรับ การรู้ทางลิ้น ที่รู้ว่า มี รส หวาน เค็ม ฝาด จืด ฯลฯ การรับ การรู้ร่างกายทุกอวัยวะ ที่มีการเย็น ขยับ ร้อน อ่อน แข็ง กระตุก สั่น ขนลุก สยิว เสียวฟัน วูบ ๆ วาบ ๆ ชา ๆ ยืด หด สั้น ยาว ขาด เกิด เปลี่ยน รูปร่าง สี ขนาด รส อาการมึน น้ำตาไหล สะอึก สะอื้น ไอ จาม ปัสสาวะ อุจจาระ มีน้ำเหงื่อ น้ำลาย น้ำมูก น้ำที่สกปรกไหลออก เข้าทางร่างกาย ตามรูขุมขน ฯ และการรับ การรู้ทางใจ ที่มีการรู้ในใจ ที่รู้ว่า ดี ชั่ว ถูก ผิด ใช่ ไม่ใช่ ฯ
นาม ใหญ่ ๆ ทั้ง ๔ ( เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ) หรือ ใจ นี้ นั้นจะมีอาการ ลักษณะ ที่ กำลังถูกไตรลักษณ์ควบคุม ครอบหัวอยู่ อันได้แก่ ความไม่แน่นอน มีเกิด ๆ มีดับ ๆ ไม่ใช่เกิดตลอดไป ไม่ใช่ดับตลอดไป ชั่วคราว จะมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่นานบ้าง ช้าบ้าง เร็วบ้าง มีอาการที่แปรปรวน ตรงกันข้ามกับความเที่ยง แน่นอน ที่เรียกว่า อนิจจัง
ใจที่ถูก ความทุกข์ ทรมาน ทนได้ยาก บีบคั้น ตรงกันข้ามกับความสุข ที่เรียกว่า ทุกขัง
และ การที่ใจนั้น จะไม่ได้ดั่งใจ บางทีก็เหมือนกับว่าบังคับได้ตามใจ แต่ไม่ใช่… เพราะใจไม่ใช่ของเรา คือ เป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่เรา ใจจะขึ้นอยู่กับเหตุ การเป็นของที่ว่าง แต่ว่า… มีอยู่ ไม่ใช่ไม่มีอะไร ไม่ใช่ขาดสูญ การที่ใจไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง ยกเว้น สมมุติเอา ตรงกันข้ามกับการบังคับได้ หรืออัตตาที่บังคับได้ ที่เรียกอาการทั้งที่เกิดในขณะที่ไม่เที่ยง ทั้งในขณะที่ทุกข์ ในใจนั้น ว่า อนัตตา
ซึ่งจะเหยียบหัว ใจเรา อยู่อย่างโงหัวไม่ขึ้น จากการที่ได้พิจารณา คือการระลึก คิดค้น ตรวจสอบ ทบทวน ในเรื่อง สุภะ ( ข้อดี สวย งาม ) สลับ กับ อสุภะ ( ข้อเสีย สกปรก ) โดยทำบ่อย ๆ ถี่ ๆ
ถ้า สุภะ อสุภะ หายไป หยุดไป ก็ปลุกขึ้นมาอีก อย่างมีสติ ปัญญา... การปลุก ก็ คือ ได้ทดลองฝืน ในทางใจ แต่ก็ไม่ได้ ดั่งใจ ๆ .... แต่ ใจนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับเหตุ ขึ้นอยู่กับสิ่งกระตุ้น ถ้ากระตุ้นดี ก็จะดี ถ้ากระตุ้นชั่ว ๆ ก็เลว ห้ามไม่ได้ ดังนั้น เรากระตุ้นดี จะดีกว่า ส่วนไอ้ที่ เลว ๆ นั้น ก็เลิกกระตุ้นทันที จนเห็น อนัตตา ที่ปรากฏอยู่ในใจ ทีนี้ รู้สึกว่า ความอยาก ( ตัณหา ) ทั้ง ๓ มี
๑. ความอยากในกาม มีอยากในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง การสัมผัสทางร่างกาย ฯ
๒. ความอยากจะมี อยากจะเป็น อยากยั่งยืน อยากถาวร อยากมั่นคง ฯ และ
๓. ความอยากที่จะไม่ให้มี อยากหนี ไม่อยากแก่ เจ็บ ไม่อยากผิดหวัง ไม่อยากทำงาน ฯ ซึ่งความอยากทั้ง ๓ ตัวนี้ นี้จะอยู่ ที่อยู่ในบริเวณหน้าอก ที่แถว ๆบริเวณ หัวใจ อาการของความอยากทั้ง ๓ จะมีอาการที่ เล็ก ๆ ลง จากที่ใหญ่ ๆ โตๆ เต็ม ๆ คับ ๆ แน่น ๆ ในอก ก็จะ ค่อย ๆ ลีบ ๆ เล็ก ๆ มีขนาดที่ เล็ก ย่อตัว ลง ไม่อัดแน่น จะคลี่คลายความอัดแน่น มีลักษณะหลวม ๆ เหมือน ๆ กับเกลียวเชือกที่ตอนแรก ยุ่ง ติด พันกันแน่น เป็นก้อนโต ๆ แต่พอได้คลายเชือกออก ๆ แก้ปมออก เรื่อย ๆ จนก้อนเชือกที่ยุ่งๆ นั้น มีอาการที่หลวม ๆ เริ่มคลาย ออก ใกล้ ๆ จะคลายออกหมด แล้ว เชือกก็จะเริ่ม เบา ไม่หนัก ไม่ยุ่ง และความอยากทั้งสาม จะมีอาการที่สั่น ระรัว พร้อมกับลดขนาดของรูปร่างที่โต เป็น เล็ก ๆ ตัณหาทั้ง สาม จะลดความรุนแรง ความหนัก ความดิ้น ความสั่น ส่าย กระตุก ลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งความอยาก หรือตัณหาทั้ง ๓ ก็ได้ หมด ไปจากใจ………
ต่อจากนั้นอีกไม่กี่ วินาที ณ ที่กึ่งกลางทางจงกรมระหว่าง หัวกับท้ายที่ทอดระหว่างทิศเหนือกับทางทิศใต้ ร่างกาย และใจ หรือผู้รู้ ก็ได้ระเบิด บรึ๊ม ??.. ๑ ครั้ง
แล้ว ก็ เงียบสนิท แต่ว่า ยังไม่ตาย ยังเดินต่อไปทางทิศใต้ ต่อไปได้ โดยไม่ตกทางจงกรม มีอาการที่ ร่างกาย และใจไม่มี จะมีแต่ความ ว่าง ที่ไม่ต้องมีใครเป็นผู้บรรยายว่า เป็นผู้รู้ เห็น เลย ว่าง……..
ว่าง….. ร่างกายได้เดินต่อไปจนถึงสุดทางจงกรม ด้านทิศใต้ แล้วก็หันขวา แล้วเดินกลับมาช้า ๆ จนกระทั่งถึงที่กึ่งกลาง..ณ ที่เดิม ที่เกิด อาการที่จิต ระเบิด
ฉับพลัน ก็เกิดความคิด ขึ้นมาในใจทันที แทนความว่าง นั้น
การตรวจสอบ มรรค ผล นิพพาน
เป็นปัญหา
แรก ที่ ถาม ตัวเอง ว่า “ เอ..? เราเป็นอะไรไปนะ..เมื่อกี้นี้ ”
. .. ตอบ… เอ้อ………..
ใช่ ใช่ เป้าหมายที่นักบวชเรา ๆ ต้องการปรารถนา แล้ว ?
รู้ว่าใช่ ถูกแล้ว ตรงแล้ว จะ จะ แล้ว แจ่มแจ้งแล้ว ชัดแล้ว ใช่พระนิพพาน แล้ว ใช่พระนิพพานแน่แล้ว โดยไม่มีคำบรรยาย ไม่ต้องรู้จักชื่อ ไม่ต้องไปเทียบ ไปเปรียบ ว่าชื่อ อะไร เพราะภายในใจ จะมีแต่ อาการ จะมีแต่ภาวะของนิพพาน เท่านั้น ….ไม่มีชื่อ ว่านิพพาน แล้วก็ ไม่มีเสียงของคำว่านิพพาน เลย มีแต่อาการที่ประจักษ์แจ้ง ชัด ๆ โต้ง ๆ เต็ม ๆ อยู่ในใจ …. ณ ช่วงนี้ เจ้าน้ำตา ก็ เริ่มไหล อาบแก้ม สะอึก สะอื้น ด้วยความปีติ ดีใจ สุขใจ เป็นที่สุด เพราะว่าในใจมีอาการที่ ไม่เกิด ไม่มีทุกข์ สบาย ว่าง แต่ ยังไม่รู้ว่า ชื่ออะไร ไม่มีชื่อ แต่ว่าจะมี อาการ ที่ สุขที่สุดในโลก แล้วก็ ไม่ใช่อาการสมาธิ ตั้งแต่ ฌาน ๑ – ๘ แน่นอน เพราะว่าอาการของสมาธินั้น ได้เข้าใจ เห็น ทราบ รู้มาหมดแล้ว ซึ่งถือได้ว่า เป็นอาการใหม่ที่สุด ที่ไม่เคยพบ เจอ เห็น รู้ ทราบ มาก่อน เลยในชีวิต ทั้งในชาตินี้ และใน ตั้ง หลาย ล้าน ๆ ๆ ๆ ชาติ ที่เคยเกิด ๆ ๆ ๆ มาก่อน
ปัญหา
ที่ สอง ก็ ถาม ในขณะที่เดินจงกรมไปทางทิศเหนือ เคล้าน้ำตา ตัวเองต่อไปอีกว่า
“ เป็นไปได้อย่างไร ? หนอ? ฮือ ? ท่าน ผู้อื่น ท่านภาวนาตั้งนาน หลายเดือน หลายปี จึงจะได้ จึงจะสามารถบรรลุถึงขั้นนิพพาน อรหันต์นี้ได้ ถึงขนาดนี้ได้ สำหรับเราก็ แค่นี้ พรรษา ก็น้อย ๆ ตั้งแต่… บวชมา รวมทั้งหมด ก็ ๒ ปี กับ ๑๑ เดือน กับอีกประมาณ ๑๕ วัน ก็ เพิ่งจะบวชมาตั้ง แต่ ๒ ส. ค. ๓๖ รวมแล้วก็ ได้สามพรรษาผ่านมาแล้ว ยังเหลือเวลา อีกไม่กี่วัน ก็จะถึงวัน เข้าพรรษา ครบเต็มในพรรษาที่ ๔ นี่ แล้ว จะเป็นไปได้อย่างไร จะบรรลุอรหันต์ได้เพราะอะไร จะได้ เร็วเกินไป มิใช่หรือ ? ”..
ตอบ ว่า…… เอาน่า เราก็พยายามภาวนา ได้ละ ได้เลิก อด กลั้นต่อกิเลส กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย สำรวม ระวัง ขยัน อดทน ตั้งใจดี ปรารถนาที่จะเป็นคนดี ๆ ได้ทำตามที่ครูบาอาจารย์ท่าน แนะ นำ สั่ง สอน ตัก เตือนทุกอย่าง มีการทำวัตร สวดมนต์ เจริญพระปริตร นั่งสมาธิ เดินจงกรม ผึกสติ ( ความรู้สึกตัว รู้ตลอด ทั้งทางร่างกาย ทางใจ ในสิ่งที่ดี ๆ จะทำให้สุด ๆ … ส่วน สิ่งที่ชั่ว ๆ จะพยายามที่จะไม่ทำเด็ดขาด ) ทุก ๆ ท่า ทุก ๆ วินาที บางครั้งถ้าได้เผลอทำผิดโดยขาดสติ สะเพร่าเกินไป ก็จะอดข้าวไม่ทานอาหารไปเลย เพื่อเป็นการชดเชย และถือโอกาสฝึกฝน อดทน ทดลองตัวเอง ไปในตัว เป็นอุบายที่ช่วยให้จดจำความผิด และแก้ไขตัวเองได้ดีมาก ๆ เท่าที่ได้ เคยอดอาหาร ตั้งแต่บวชมา จนถึงวันนี้ ก็ประมาณ ๓๕ วัน แล้ว แต่ไม่ใช่อดรวดเดียว ที่อดรวดเดียว ติดต่อกัน อย่างมากก็ ๗ วัน อดนอน ก็เคยอดติดต่อกันตลอด ก็ ๖ เป็นอย่างมาก แล้วก็อดนอน ๕ ๔ ๓ ๑ วัน ก็ตามเหตุการณ์
แต่… วันนี้ วันที่ ๑๕ ก.ค. ๓๙ ก็ไม่ได้อดอาหาร
ส่วนในเรื่อง ศีล ระเบียบ วินัย เราก็ได้พยายามรักษาศีลทุกข้อ ทั้งในปาฏิโมกข์ ที่มีจำนวน ๒๒๗ ข้อ สำหรับให้พระรักษา มีความผิด ปรับความผิด ระวางโทษ หรือปรับอาบัติ ตั้งแต่ระดับความผิดต่ำสุด ไปหาสูงสุด คือจาก อาบัติทุพพาสิต ทุกกฎ ปาจิตตีย์ ถุลลัจจัย อาบัติสังฆาทิเสส ปาราชิก ….และศีล ระเบียบที่อยู่นอกปาฏิโมก์จำนวน ๒๒๗ ข้อ ที่มีอีกเป็นจำนวนมาก ก็พยายามรักษาแบบเอาชีวิตเข้าแลกแล้วไงล่ะ? จะเป็นไปไม่ จะบรรลุไม่ได้ ได้ไง ตามหลักการแล้ว ผู้ที่จะบรรลุก็ต้อง มีศีล สมาธิ ปัญญา นี่เราเริ่มมี ศีล ดีแล้ว? เราก็อุตส่าห์ รัก ชอบ ติดใจ ใน ศีล มากเป็นที่สุด แล้ว นี่ ทำไม่จะเป็นไปไม่ได้ จะบรรลุ ไม่ได้รึ?
ถือธุดงค์ เพิ่ม เพื่อ ข่ม ฆ่า ละ เลิก กิเลส อีกด้วย
เรื่อง ธุดงค์ทั้ง ๑๓ ข้อ ก็พยายามถือแทบจะได้ครบทุกข้อ มาตลอดนับตั้งแต่วันที่ได้บวช และได้เข้าสู่วัดป่า เป็นต้น มา เช่น การออกรับบิณฑบาตทุกวัน ไม่ออกบิณ ฯ ก็ไม่ฉัน ไม่กิน ไม่ทาน … ๑ การออกบิณ ฯ ไปตามลำดับที่โยมรอใส่บาตรพระ….. ๑ ฉันอาหารที่จากโยมใส่ลงในบาตรไม่ได้เลือกว่าจะ ดี เลว เพราะถึงอย่างไร โยมกินได้ พระก็ต้องรับได้ แต่ต้องไม่ผิดธรรม วินัยของพระ เช่น ไม่ใช่เนื้อ หรืออาหารที่ดิน เช่น ปลาร้า ปลาจ่อม ปลาเค็ม ที่ดิบ ที่ยังไม่ได้ต้ม ทอด ให้สุก ไม่ใช่เนื้อดิบ เช่น ลาบดิน ซกเล็กดิบ เนื้อย่างที่ดิบ น้ำตกที่ดิบ ไม่ใช่เนื้อต้องห้ามทั้ง ๑๐ เช่น เนื้อช้าง ม้า เสือดาว เหลืองเหลือง เสือโคร่ง งู ( หรือสัตว์ที่รูปร่างคล้าย ๆ กับ งู เช่น ปลาไหล ) เนื้อหมี ราชสีห์ เนื้อคน เนื้อหมา หรือสุนัขบ้าน เนื้อทั้ง ๑๐ นี้ ถึงจะทำให้สุก พระก็จะรับ และจะฉัน ไม่ได้ ส่วนเนื้ออย่างอื่นที่สุกแล้ว ไม่ดิบ พระไม่ได้ขอ นอกจากเจ็บป่วย ….หรือพระจะขอให้พระองค์อื่นที่เจ็บป่วย ก็จะฉันได้ เพราะว่า พระที่ดี ๆ นั้น จะรักษา จะเคารพ จะเกรงกลัว จะไม่กล้าทำผิดพระวินัย เลย……. ๑ มีการฉันมื้อเดียว ถ้าได้ลุกแล้วไม่ฉันอีก… ๑ มีการใช้ผ้าไตรจีวร คือ ผ้าสามผืน ไตร= สาม และทั้งสามผืนนั้นก็ เป็นผ้าบังสุกุลที่ตัด เย็บ ย้อมด้วยน้ำย้อมจากการต้มแก่นต้นขนุนทั้ง ๓ ผืน อีกด้วย ไม่ใช้ผ้าผืนที่สี่ ยกเว้น ผ้าอังสะ ( อังสะ กว้าง ๑ คืบ ยาว ๓ ศอก ) … ๑ การอยู่ป่า… ๑ การอยู่โคนไม้ ที่ได้ปัก แขวนกลดในหน้าแล้ง หน้าหนาว และหน้าร้อนชอบไปอยู่กลดในป่า หรือในป่าช้า ไม่ได้อยู่กุฏิ… ๑ การอยู่ป่าช้า … ๑ การอยู่ที่แจ้ง…๑ การอยู่ตามที่ท่านจัดกุฎี จัดที่อยู่ให้ ที่พัก จัดห้องให้… ๑ เฉพาะในวันพระก็สมาทานตั้งใจจะไม่นอนตลอดคืน มาตลอด… ๑ เป็นต้น นี่การฝึกถือธุดงค์ที่ได้เคยฝึก เรียน ทำปฏิบัติมาจริง ๆ ไม่ใช่ท่องได้อย่างเดียว
ถือวัตร ๑๔ เพิ่ม อีก ด้วย
อีกทั้งในเรื่อง วัตรทั้ง ๑๔ อีกเล่า ก็ มีการช่วยเหลือคณะสงฆ์ ครูบาอาจารย์ ทำกิจวัตร ปัดกวาด เช็ด ถู การต้อนรับ กราบไหว้ รับบาตร จีวร ถวายน้ำดื่ม น้ำใช้ ล้างเท้า การกราบ ไหว้กันตามพรรษา ( อายุปีที่บวช… ผู้ที่บวช ทีหลัง จะต้องกราบ ผู้ที่บวชก่อน ) การ แจ้งกฎ กติกา ระเบียบ ประเพณี ให้ผู้ที่มาใหม่ได้ทราบ ….. การหาสถานที่อยู่ให้แก่ผู้ที่มาเยือน ทั้งที่เป็นพระภิกษุ สามเณร และที่เป็นโยมมาเยี่ยม มาพัก ให้ได้พัก ได้อาศัย หาน้ำดื่ม ที่หลับที่นอน ห้องพัก บอกห้องน้ำ ว่าอยู่ที่ไหน ชาย หญิง ห้องน้ำของพระ ของโยมอยู่ที่ไหน ทิศไหน ก็บอก? แจ้งกฎ กติกา ระเบียบ ประเพณี ให้แก่ผู้ที่จะมาพัก ให้โยมทราบ…. ๑ การไปที่วัดอื่น บ้านอื่น จะทำตัวอย่างไร ? หลักการ เมื่อเราอยู่ในวัด ในที่พัก ในบ้านท่านแล้ว เราจะดูแล ที่อยู่ สิ่งของ ให้สะอาด เรียบร้อย ไม่รก รุงรัง ปัดกวาด ปิดประตู หน้าต่าง ลั่นกุญแจ หรือไม่ ? คว่ำถัง คืนสิ่งของ คืนกุฎี กล่าวลา กล่าว ขอบคุณ แด่ เจ้าของสถานที่อย่างไร? … ๑ เรื่องทำความสะอาดสถานที่อยู่ บริเวณ ศาลา โบสถ์ ลานวัด ฯลฯ ก็ได้ทำในตอนเวลาประมาณบ่ายสามโมงเย็น และทำในตอนหลังทำวัตรเช้า ทุกวัน….. ๑ การล้างบาตร ซัก จีวร อุปัฏฐากช่วยเหลือครูบาอาจารย์ หรือพระอุปัชฌาย์ ทำความสะอาดสถานที่อยู่ กุฏิ ห้องน้ำ ส้วม ศาลา โบสถ์ ที่พระอาจารย์ หรือสถานที่พระอุปัชฌาย์ท่านอยู่ประจำ … นี่มีแยกเป็น ๒ คือทำให้พระอุปัชฌาย์ ๑ และทำให้พระอาจารย์ เจ้าอาวาส อีก ๑ ….. วิธีการทำตัว ปฏิบัติตัวในโรงฉัน หรือโรงอาหาร… ๑ วิธีการเข้าบ้าน เช่น ไปบิณฑบาต ไปฉันในบ้าน … ๑ การให้พรอนุโมทนา ยถา สัพพี ฯ … ๑ วิธีการอยู่ป่าที่จะต้องศึกษาเรื่องดวงดาว ทิศทาง ฤดู ภูมิศาสตร์… ๑ การใช้ห้องอบกาย ที่เติมยาสมุนไพร หรือสปา เพื่อรักษาโรค ที่เสนอโดยหมอชีวกโสดาบัน นี่ก็เคยทำมาในฤดู ฝน + หนาวมาแล้ว … ๑ การออกรับบิณฑบาตที่จะต้องห่มจีวรและสังฆาฏิซ้อนกัน ( ยกเว้น ถ้า สังเกตเห็นว่าฝนจะตก หรือป่วย..ก็ อาจจะห่ม ผืนเดียวได้ นุ่งสบง ตลอด ) ติดรังดุมที่คอ และที่ข้างล่างทั้งสองผืนก็ทำมาตลอด… ๑ การอยู่ป่าเหรอ? นี่เราก็อยู่วัดป่า วัดกรรมฐานอยู่แล้ว และมีการฝึกอยู่ทุก ๆๆ วัน ไม่มีปัญหา… ๑ เป็นต้น ก็พยายามฝึกอยู่เสมอ
การ ฝึก สมาธิ ก็ฝึกมาตลอด จนลมหายใจดับ มาตลอด รักษาสมาธิ ไม่คลุกคลี อยู่สงบ ฝึกสมถะ มาตลอดนี่ พระไตรปิฎก ( หลักการ ทฤษฎีที่พระจะต้องเรียน )
อ่านพระไตรปิฎก จบ รอบแรก ๔๕ เล่ม
ก็อ่านจบทุก ๆ เล่ม จำนวน ๔๕ เล่ม จบ ๑ รอบ ไปแล้ว เมื่อหน้าแล้ง ใน ปี ๒๕๓๙ นี้ ที่อ่านได้ก็ ด้วยการอาศัยที่ว่า ได้เคยเรียนหนังสือมา ประมาณ ๑๘ ปี ก็เลยมีความชำนาญ มีทักษะ เทคนิค วิธีการ ในการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ทั้งวิชาการ และวิธีปฏิบัติ คือเรียนทางช่าง ทางวิศวกรรม ที่เป็นเรื่องทางโลก ที่รวดเร็ว จนได้เกียรตินิยม มาแล้ว แล้ว ก็ได้ดัดแปลงเอาความรู้ ชำนาญนั้น ๆ มาใช้กับวิชาการ และวิธีการปฏิบัติในทางธรรม มาใช้กับพระไตรปิฎก หลังจากที่ได้ทดลองตามวิธีที่ครูบาอาจารย์บอกทุกอย่างแล้ว ก็เลยลอง ๆ เอาวิธีการเก่า ๆ ตามที่ตัวเองชำนาญมาใช้ช่วยในการภาวนา ซึ่ง ผลก็คือ ก็ได้ผลดีเลิศ ไม่สงสัยในหลักการ ปริยัติ หรือ ทฤษฎี ขั้นตอน ลำดับวิธีการ การแก้ไข ข้อดี ต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา ที่สามารถที่จะพาพ้นทุกข์ได้ แน่นอน
ปาฏิโมกข์คือศีลทั้ง ๒๒๗ ข้อ ของพระ ก็สวด ท่องจำ ท่องปากเปล่า โดยไม่ดูหนังสือก็สวดได้แล้ว หลักสูตรการเรียนของพระ มีนักธรรมตรี และโท ก็เรียน และสอบได้แล้ว ฟังเทศน์ก็ฟังไม่เคยเว้น เลย การฝึกกรรมฐาน สมถะภาวนา ก็ได้ทำทุก ๆ วินาที ทุกท่า ทุกองศาของการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทุกวัน ทุกท่า ตลอดปี ไม่มีเว้นแม้แต่วันเดียว ได้ฝึกกรรมฐานมาตลอด ไม่ใช่จะ ทำเฉพาะ ที่ทำเป็นช่วง ระยะ ๒ วัน ๕ ๗ ๘ ระยะ ๙ วัน หรือถือเฉพาะในตอนที่ฝึกกรรมฐาน ถือธุดงค์ เป็นบางวัน บางอาทิตย์เท่านั้น หรือถือเฉพาะในช่วงเข้าปริวาสกรรม เท่านั้น (พระไม่เคยต้องอาบัติสังฆาทิเสส ก็เลยไม่เคยเข้าปริวาสกรรม แต่เคยไปศึกษา ช่วยงานบ้าง) ………. ตามหลักการแล้ว ผู้ที่จะบรรลุก็ต้อง มีศีล สมาธิ ปัญญา นี่เรามี ศีล + สมาธิ ดีแล้ว? แล้ว ทำไม เรา จะบรรลุ มิได้ล่ะ?
ส่วน ปัญญา ก็มาฝึกพิจารณา สุภะ สลับกับ อสุภสะ นี่ ไง เห็น อนิจจัง กับทุกข์ ก็ยังไม่เท่าไร มีแต่ทุกข์เพิ่มขึ้น ต่อมาเห็น อนัตตา ในรูป ในตอนแรก แล้ว ก็เริ่มที่เบื่อร่างกาย ก่อน แล้วก็ทั้งร่าง แล้วต่อมา ก็เพ่งเข้ามาที่ใน จิต ที่ใจ ที่ ผู้รู้ ที่นาม และเห็น อนัตตา ในจิต ในใจ ในผู้รู้ ในนาม แล้วต่อมา ก็เบื่อจิต เบื่อใจ เบื่อผู้รู้ เบื่อ ( นิพพิทา) นาม ที่เป็นอนัตตา นี่ ไง ? แล้ว เมื่อตะกี้ ตัณหาทั้งสาม ก็หมดไปจากใจ แล้วต่อจากนั้น ก็
ทั้ง ร่างกาย และจิต หรือใจ หรือผู้รู้ หรือนาม ก็ระเบิด พร้อมกันไป แล้ว ณ ที่นี่ ๆ ๆ เมื่อตะกี้นี้ ไม่ใช่รึ? จะไม่ให้เป็น……ไปได้ยังไง
แล้วก็อาการนั้น ที่ว่าง ๆ นั้น ( นิพพาน ) ก็อยู่ในใจนี้ ๆ แล้ว เดี๋ยวนี้ นี่ไง ตามหลักการแล้ว ผู้ที่จะบรรลุก็ต้อง มีศีล สมาธิ ปัญญา นิพพาน มีความรู้ความเห็นเรื่องพระนิพพาน นี่เรา ก็มีครบ ทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา นิพพาน มีความรู้ความเห็นเรื่องพระนิพพาน แล้ว นี่ ? จะให้ทำอย่างไรอีกล่ะ จะไม่ให้เชื่อได้ไง คงต้องยอมรับความจริงแล้วล่ะ เป็นไปแล้ว ….ยอม ๆ ๆ นี่ พยาน ก็คือ มีอาการที่ไม่เกิด ที่อยู่อยู่ ในใจ แล้ว นี่ไง ยอม ๆ …. พร้อมกับน้ำตาไหล ๆ ๆ ในขณะที่กำลังเดินตามทางจงกรมไปทางทิศเหนือช้า ๆ
ต่อมาปัญหา
ที่ สาม
ก็ ถาม : …อีก ว่า
“ แล้ว เราจะทำอะไรต่อไปอีกละ ในเมื่อใจของเราเป็นอย่างนี้ ใจที่หากิเลสไม่มีกิเลส แล้ว ? ”
ตอบ : … แต่ก่อน… ในขณะที่เรายังมีกิเลสอยู่ในใจ ไม่ใช่กิเลสจะอยู่ในร่างกาย เราจะมีความอยากได้เพื่อน อยากได้ตำแหน่ง อยากได้สิ่งของ อยากนั่น ๆ นี่ ๆ โน่น ๆ และความอยากทางใจก็มีมากมาย อยากให้คนรู้จัก อยากให้คนยกย่อง อยากเป็นหัวหน้า อยากได้สิ่งของ อยาก ๆ ๆ ๆ ๆ อยากหลุดพ้นก็มี อยากพ้นทุกข์ อยากได้นิพพานก็มี
แต่ มาบัดนี้ เรากลับไม่มีความอยาก ทั้งทางร่างกาย และทางจิตใจ เลย อยากเป็นพระอรหันต์ก็ไม่อยาก อยากได้นิพพานก็ไม่อยาก เพราะว่า มีสิ่งนั้น ( นิพพาน ) นั้น ก็มีอยู่ในใจของเราอยู่แล้ว หมดความอยาก ไม่มีตัณหา แล้ว
แต่.. ก็ยังรับประทานอาหาร กิน อยู่ หลับนอน ต่อไป แต่ไม่กินมาก นอนมากเหมือนเดิม จะกินน้อย นอนน้อย และมีความสุขมากที่สุด แล้ว …………….ทีนี้ ต่อไปนี้ เรา จะมาเดินจงกรม จะมานั่งสมาธิ จะทำวัตร จะรักษาศีล จะต้องถือธุดงค์ จำเป็นที่จะต้องมาอ่านหนังสือธรรม อ่านพระไตรปิฎก ไปอีกหรือไม่ ? จะ อ่านไปทำไม?
เพราะว่า เราก็รู้ว่า ตอนนี้ ไม่มีงานที่จะทำอีกแล้ว เสร็จกิจ จบการศึกษา จบหลักสูตร สอบผ่านหมดแล้ว ทำได้หมด เรียนจบหลักสูตร จบความรู้ที่ครูจะต้องสอนแล้ว ถึงที่สุดทาง แล้ว ถึงที่สุดทางความคิด แล้ว ตัน ไม่มีที่จะไปอีกแล้ว ไม่เกิดอีกแล้ว ไม่มีสิ่งที่จะต้องเรียน ฝึก ศึกษาในธรรม อีกแล้ว ไม่มีความอยากที่จะอ่าน จะค้น ไม่มีความอยากที่จะคิด ไม่มีความมอยากที่จะไปรู้ จะไปคิด ไปค้น ไม่มีจิตที่อยากจะไปวิปัสสนาอีกแล้ว เหมือน ๆ กับว่า เราทำงานของเรา เสร็จแล้ว จะทำอะไรต่อ…… จริง ๆ แล้ว ถึง เราจะทำการภาวนา จะคิดค้น อีก จะทำอีก ก็ได้ แต่ ก็ไม่มี งาน ฆ่ากิเลสที่ จะต้อง ฆ่า จะต้องทำ เพราะไม่มีกิเลส ที่ จะฆ่า ก็ต้องวางมือ ......... เอาเถอะ ๆ น่า เมื่อเรารู้ว่าไม่มีงานอะไร ที่จะต้องคิดค้น ต้องภาวนาอีกแล้ว …………….
ตอบ ว่า ก็สุดแล้วแต่ครูบาอาจารย์ ท่านจะสั่ง จะ แนะนำ เถิด เพราะว่า เราสบาย สุขที่สุด สมปรารถนาแล้ว เราก็จะรักษาศีล ถือธุดงค์ต่อไป วิปัสสนา ศึกษาพระไตรปิฎก ภาวนาต่อไป แต่ รู้อยู่ในใจ อยู่นา ….
ว่าไม่ใช่ทำ เพื่อจะฆ่ากิเลส เพราะว่า ในตอนนี้ หากิเลสไม่เจอ ไม่มีกิเลสในใจ แล้ว หมดเกลี้ยงสนิทเลย ถ้าเจอกิเลสเมื่อไหร่ ก็เป็นได้เรื่องล่ะ ต้องหวนกลับมาภาวนาใหม่อีก เราก็จะทำตามข้อวัตร ระเบียบที่ครูบาอาจารย์ท่านพาทำมา และจะต้องเป็นสิ่งที่ถูก ๆ ส่วนที่ท่านพาทำผิดจะไม่ทำตาม จะพยายามทำตามในเรื่อง ในสิ่ง ในเหตุการณ์ ที่ไม่ผิด ธรรม วินัย ที่เป็นประโยชน์แก่ตน และแก่ผู้อื่น สุดความสามารถต่อไป…….
ในช่วงที่กำลังคิดอยู่นี้ ขณะที่กำลัง คิดอยู่นี้ น้ำตาไหลอาบแก้มมาตลอดเวลา
ตั้งแต่ปัญหาที่ ๑ แล้ว
นอกจากนั้น ก็ได้ลอง ๆ กะ ๆ ไว้ว่า ประมาณ พรรษาที่ ๑๔ – ๑๕ คือประมาณ ใน ปี พ. ศ. ๒๕๕๔ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๕
จึงจะเริ่มสอน จะเริ่มรับพระภิกษุสามเณร โดยจะเน้นการสอนลงที่ พระ + เณร ชี เป็นอันดับแรก รองลงมาก็คือ สอนชาวบ้าน ญาติ โยม ส่วนช่วงจาก ๑๐ ปีที่ผ่านมา นี้ ก็ขออยู่แบบสบาย ๆ ไปก่อน
หลัง จากนั้น ก็ได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มองเห็นภูเขา ที่เต็มไปด้วยป่า ภูเขา ลำเนาไพร ที่มากมาย หลาย ลูก ที่แสนจะปลื้ม ปีติ เป็นล้นพ้น แล้วก็มาระลึกถึง คุณงาม ความดี บุญคุณของครูบาอาจารย์ พระสงฆ์ ทุกรูป ทุกองค์ ทั้งชาวไทย และต่างประเทศ ทั้งทางวัดในบ้าน ทางวัดป่า ทั้งทางฝ่ายบริหาร ทั้งจากครูบาอาจารย์ที่ตัวเองได้เคยอ่าน ศึกษา เรียน ฟัง จากหนังสือ เทป ผลงานของท่าน ทั้งที่ได้ร่วมดู ร่วมปฏิบัติธรรมกรรมฐานกับท่าน ทางด้านปริยัติการศึกษาเล่าเรียน ก็ดี ทางฝ่ายกรรมฐานฝ่ายปฏิบัติภาวนา ก็ดี แหม… ทุก ๆ ท่านเหล่านั้นช่างมีคุณ มีความน่าเคารพ กราบไหว้ อีกทั้งท่านก็ยังได้ให้โอกาส ให้เวลาที่ไม่ต้องให้เราก่อสร้างมาก ให้สถานที่ในการภาวนาที่สงบ แก่เรา ไม่ต้องมาวุ่นวายกับมหรสพ การพนัน กับ เสียง กับงานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่งาน ภาวนา ท่านเหล่านั้น ช่างทำกับเรา ดีเหลือเกิน
นอกจากนั้น ญาติโยม ชาวบ้าน ทุก ๆ คน ทั้ง ชาวไทย และต่างประเทศ อีกเล่า จะลืมมิได้เลย บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ก็ล้วนแต่มีคุณกับเรามาก ๆ ๆ ๆ ที่ได้ช่วยสนับสนุน ส่งเสริม ทางด้านปัจจัย ทั้ง ๔ และการเดินทาง ไป ๆ มา ๆ ให้ความสะดวกในด้านอุปกรณ์ฟังเทปธรรมมะ ถ่านไฟฉายเพื่อเปิดฟังเทป หนังสือพระไตรปิฎก หนังสือธรรม หนังสือทำวัตรสวดมนต์ หนังสือหลักสูตรนักธรรม ม้วนเทป สื่อการเรียนธรรมมะอื่น ๆ ครูบาอาจารย์ และญาติโยม ที่ได้ให้กำลังใจ ให้โอกาส ให้เวลา ให้อภัย อดทนในยามที่เรา ผู้เป็นศิษย์ ยังผิด พลาด ยังหลงอยู่…
เหมือน ปู่ ย่า ตา ยาย ป้า น้า อา ลุง พ่อ แม่ พี่ ที่ยอมอดทน รอเวลา เฝ้า ดู แล ลูก ๆ หลาน ๆ หรือคุณครู ที่อดทน กับนักเรียนที่ตนสอนมา จนนักเรียนนั้นได้ ดิบ ได้ดี ก็รอได้
ในเวลา ต่อมา ก็ได้เกิดความคิดถึง พระพุทธเจ้า ที่อยู่ที่เมืองอินเดีย ก็เลย หันหน้าจากที่ทิศตะวันออก หมุนกลับหลังทางขวาตามเข็มนาฬิกาไปทางทิศตะวันตก เพื่อจะกราบพระพุทธเจ้า ณ ที่ประเทศอินเดีย อันเป็นบ้านเกิดของพระพุทธเจ้า เป็นสถานที่ท่านตรัสรู้ ที่ท่านได้แสดงธรรม เป็นสถานที่ท่านประกาศ หลักการ ทฤษฎี
เรื่อง อริยสัจจ์ ๔ อรหันต์ นิพพาน และเป็นสถานที่ท่านปรินิพพาน หรือตายของพระพุทธเจ้า ก็พอดีกับตัวเองได้เกิดอาการ เข่าอ่อน ทรุดฮวบลงจากที่กำลังระลึกถึงครูบาอาจารย์ที่อยู่ทางทิศตะวันออก เสร็จแล้ว …..
เข่าอ่อนแบบยอมรับพระพุทธเจ้า แบบสุดที่สุด … ไม่มีข้อแม้ใด ๆ ไม่ใช่จะหมดแรง แต่ ก้มลง ทรุดตัวลง ด้วยความเคารพ เป็นที่สุดในโลก น้ำตาก็ไหลลงที่หัวเข่า รดลงที่ตักที่กำลังก้มลงกราบพระพุทธเจ้า กราบพระธรรม กราบพระสงฆ์ กราบลง ณ ที่พื้นดินที่เปียก ๆ เพราะฝนตกพรำ ๆ มาหลายวัน แต่ขณะที่กำลังเกิดอาการนี้ ฝนได้หยุดไปชั่วคราว ได้ก้มลงกราบ ณ ที่สุดข้างทางจงกรมด้านทิศเหนือ พร้อมกับ รำพึง รำพัน ถึงพระรัตนตรัย ด้วยความสุข เป็นที่สุด
ต่อมาก็หวนมาระลึก นึกถึง พระพุทธเจ้า หรืออดีตเจ้าชายสิทธัตถะ ที่ท่านได้เป็นบุคคลแรกที่ได้ค้นพบพระนิพพาน จนได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระอรหันต์องค์แรกของโลก ท่านช่างฉลาด เลิศเลอกว่านักวิชาการ ฉลาดกว่านักวิจัย เก่งกว่านักวิทยาศาสตร์ เก่งกว่าหมอ ทุก ๆ คนในโลกนี้ เพราะในโลกนี้ไม่มีใครที่บรรลุนิพพานได้เอง โดยไม่ต้องไปขอเรียนมาจากผู้อื่น เหมือนท่านเลย ยกเว้นพระปัจเจกอรหันต์เท่านั้น ที่บรรลุอรหันต์ได้เอง แต่พระปัจเจกท่านไม่ได้ประกาศ ไม่ได้ตั้งศาสนา ไม่ได้สั่งสอนผู้คนมาก ส่วน พระอรหันต์รูปอื่นคนอื่นนั้นจะต้องไปเรียนจากท่าน พุทโธ จากพระพุทธเจ้า หรือจากที่อื่น ก่อนแล้วจึงจะบรรลุอรหันต์ตาม พุทโธ ได้ ระลึกถึงพระคุณของพุทโธ ที่ท่านอุตส่าห์สั่งสอนธรรมมะ แก่ชาวโลกนั้นดีนักหนา
ถ้าท่านไม่สอน เราก็คงจะไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เป็น เหมือนท่าน รู้สึก เข้าอก เข้าใจ เห็นคุณค่า ยอมรับ สงสารในความลำบากที่พุทโธท่านจะต้องตรากตรำ อุตส่าห์ พยายาม อดทน พร่ำบอก แนะนำ สั่งสอน ธรรม ที่ดีเลิศกว่า ทุกวิชาในโลก สอนธรรมให้แก่ชาวโลก ด้วยความเมตตา กรุณา โดยที่ท่านจะคิดไม่คิดค่าตอบแทนแม้จะนิดหนึ่ง ก็หามิได้ จนชาวโลกได้เห็นผล ได้รับผล มีความสุข สบาย พ้นทุกข์ ตามกำลัง ความสามารถกันถ้วนหน้าอ้อ ….. ในใจนี่ ข้าพเจ้าขอยอม เคารพ เทิดทูล กราบไหว้ มอบกายถวายชีวิตต่อพระพุทธเจ้า จะเชื่อฟัง ยอมเป็นทาส ยอมทำตามพระพุทธเจ้า สุดเศียรเกล้า ตลอดชีวิตไป
ต่อมาก็คิดถึง พระธรรม แหม พระธรรม คือความจริง คือหลักการที่พระพุทธเจ้าได้ ทรงนำมาเปิดเผย สั่งสอน พระธรรม เป็นสิ่ง เป็นผลงานวิจัย เป็นหลักสูตร ทฤษฎี ของพระพุทธเจ้า พระธรรม เป็นเรื่องที่น่า อัศจรรย์มากที่สุดในโลก ยิ่งกว่า วิชาวิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เทคโนโลยี่ ยิ่งกว่า วิชาครู วิชาช่าง วิชาการคำนวณ วิชาทางการทหาร ตำรวจ วิชาลูกเสือ วิชารักษาดินแดน แลยิ่งกว่า เลิศกว่า… …วิชาการ มากว่าความรู้ อื่น ๆ อีกมากมาย ทุก ๆ วิชา ตามที่ได้เคยเรียนมา ที่มีสอนอยู่ในโลกมนุษย์ สมัยนี้ และอีก สองพันกว่าปี ตามหลักสูตรที่ทางโรงเรียนของรัฐบาลได้จัดมีให้เรียน ตั้ง แต่ระดับการศึกษา ชั้น ป ๑ จนถึง ระดับ ชั้นปริญญา ตรี ที่เคยได้ร่ำเรียนมา โดยเฉพาะ เรื่อง ศีล หรือระเบียบวินัย นี่ ก็เลิศที่สุด ไม่มีสถาบันใดในโลกที่จะมี ระเบียบ วินัย ข้อกติกา ข้อตกลง ที่ละเอียด ลออ มาก เท่า ธรรมมะ ช่างยอดเยี่ยม ปลอดภัย มั่นใจ วางใจได้ พึ่งได้ ที่สูงส่งเกินกว่า วิชา ธรรมมะ หรือสถาบันธรรมมะ นี้ แล้วยิ่งในเรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา นิพพาน อาการของนิพพาน ความสุข ความเบา ความสบาย อิสระ และสิ่งที่ ดี ๆ ไม่มีความชั่วเลย ฯลฯ ที่อยู่ในใจขณะนี้ ก็ยิ่งเป็นพยานประจัก ชัดเจนในเรื่องธรรม ข้าพาเจ้า ขอ ยอม เคารพต่อพระธรรม จะขอเทิดทูล กราบไหว้ มอบกายถวายชีวิต เชื่อฟัง ยอมทำตามทุก ๆ ตารางมิล ทุก ๆ กระเบียดนิ้ว จะยอมเป็นทาส ของพระธรรมที่มีหลักการ วิธีการปฏิบัติ อันประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เมตตา กรุณา อริยสัจจ์ ๔ อิทธิบาท ๔ ขยัน อดทน ประหยัด เป็นคนดี และธรรมอื่น ๆ อีกมากมาย
รวม ๘๔, ๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ซึ่งอยู่ในประไตรปิฎก สุดเศียรเกล้า ตลอดชีวิตไป
ต่อมาก็มาหวนระลึก นึกถึง พระอรหันต์เจ้า ( พระสงฆ์ ) ทั้งหลาย อาทิ เช่น ท่านพระอรหันต์มหากัสสะปะ ที่เป็นยอดทางการถือธุดงค์ ที่เราก็ได้พยายามทำตามท่าน พระอรหันต์สารีบุตรที่เป็นเลิศทางปัญญา ที่เราก็พยายามศึกษา อ่านเพื่อเลียนแบบท่านท่านอรหันต์พระโมคคัลลานะ ท่านอรหันต์อนุรุทธะ ท่านอรหันต์พระอานนท์ ที่เป็นเลิศทาง พหูสูต อุปัฏฐาก มีสติ คติที่จะไปดี ที่ตัวเราเอง ก็ได้พยายาม ฝึก เหมือน ๆ ท่าน ท่านพระอานนท์ได้รวบรวมพระสูตรปิฎก ท่านพระอุบาลีอรหันต์ที่ได้รวบรวมพระวินัย หรือศีลให้พวกเราเรียน ที่เรียกว่า พระวินัยไตรปิฎก จนส่งผลมาให้พวกเราได้เรียนได้รู้ตาม ถ้าไม่มีท่านอรหันต์อุบาลี…… แล้ว เรา.. คงจะไม่มีวันนี้แน่.. ๆ และอีกองค์อื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวนาม อีกมากมาย แต่ท่านมีคุณ เก่ง เป็นบุคคลที่ยอดเยี่ยมที่สุดของมนุษย์ จริง ๆ
ข้าพเจ้าขอยอม เคารพ เทิดทูล กราบไหว้ มอบกายถวายชีวิต ยอมทำตาม เชื่อฟัง จะเคารพต่อพระสงฆ์ พระอริยสงฆ์ สุดเศียรเกล้า ตลอดชีวิตไป
และ ที่ น่า ทึ่ง ก็ ทำไม พระพุทธเจ้า ๑ พระธรรมอีก ๑ และพระสงฆ์อีก ๑ จึงได้เกิดมารวมกันอยู่ในใจของเรา ณ ที่แห่งเดียว ไม่ได้แยกเหมือนแต่ก่อน เป็นที่เดียว อันเดียวกัน จากเดิม ที่มี อยู่ ๓ อย่าง
หลังจากนั้น ก็ได้ขึ้นไปบนศาลา หน้าพระพุทธรูป กราบสวย ๆ แบบเบญจางค์ประดิษฐ์ แบบ ห้า อย่าง ติด พื้น คือ หน้าผาก ๑ เข่า ๒ ข้าง และ ฝ่ามือ อีก ๒ กราบลง ที่ด้านหน้าพระพุทธเจ้า ๓ ครั้ง แล้วก็ก้มลง กราบรูปถ่ายของพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ มีรูป ของหลวงปู่มั่น หลวงปู่ชา ที่ตั้งอยู่ที่ที่แท่นพระ อีก ๓ ครั้ง แล้วก็ได้นั่งสมาธิ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามทิศเดียวกับที่พระพุทธรูปที่อยู่บนศาลาหันไป
กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ แบบ พุทโธ จน พุท โธ ดับ ลมหายใจดับ ดับไปทุกอย่าง ลมดับไปได้เวลา เพียงไม่กี่ ชั่ว นาที เร็วมาก เร็วกว่าแต่ก่อน ไม่หลับ มีสติตลอด รู้ตลอด แต่ สุขที่สุด สบายที่สุด เงียบ สงบ
ประมาณได้ ชั่วโมง กว่าๆ
แล้ว ก็ได้ถอยจิตออกมา สวดปาฏิโมกข์ปากเปล่า เป็นภาษาบาลี โดยไม่ได้ดูหนังสือ ซึ่งในบทที่สวดก็จะประกอบด้วย บุพกิจบุพพกรณ์ ( คือขั้นตอน วิธีการเตรียม ก่อนที่จะสวดปาฏิโมกข์ เช่น การเตรียมที่นั่ง ทำความสะอาด เตรียมน้ำใช้ น้ำฉัน สถานที่ เตรียมอุปกรณ์ แสงสว่าง หัวข้อประชุม นับจำนวนผู้ที่เข้าประชุม บอก วัน เดือน ฤดู บอกจำนวนพระที่มาร่วม จำนวนพระที่ป่วย การมอบฉันทะ วิธีการสวด ว่า ถ้า ผู้สวด หรือผู้ประกาศ สวดว่า อย่างนี้จะ หมายความว่า อย่างนี้ การที่ผู้สวดได้ถามรวม ๆ พร้อม ๆ กัน ๓ รอบ ก็หมายถึง คือการถามไปที่แต่ละท่าน ๆ แต่ละรูป แต่ละองค์ ว่า ผิดหรือไม่ แต่ละองค์ ผิด หรือไม่ ถ้า ไม่ผิด ถ้า ถูก แล้ว ผู้ที่ถูกถาม ก็จะนิ่ง ฯลฯ
………..เป็นการเตรียม ที่มี มาแล้ว กว่า สองพันกว่า ปี และจะมีอีกต่อ ๆ ไปจนกว่า จะครบ ห้าพันปีเต็ม …น่าทึ่งมาก เป็นหลักการของพระพุทธเจ้าที่ทรงค้นพบ) และในการสวดทบทวนปาฏิโมกข์ ก็จะมีศีล จำนวน ๒๒๗ ข้อ จนจบทุกตัวอักษร
( การสวดปาฏิโมกข์ในวัน นี้ เป็นการสวดทบทวน เพื่อป้องกันการลืม เป็นการทำวัตร ไปในตัว ….. ไม่ใช่เป็นการลงปาฏิโมกข์จริง ๆ เหมือนที่จะต้องทำ เมื่อมีพระตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไป อยู่รวมกัน )
เพื่อเป็นการ เฉลิม ฉลอง ( ใช้ ) ความสุข ความดีใจ ที่ไม่เคย ประสบ พบเจอ เคยเห็น เคยเป็น มิเคยมีมาก่อน ในชีวิต และความสุขนั้น ก็ได้อยู่ในใจของพระประสิทธิ์ ตลอดเวลา จนถึง ณ บัดนี้ ๑๗ พ.ย.. พ.ศ. ๕๕๗
ปี พ. ศ. ๒๕๓๙ พรรษาที่ สี่ จำพรรษาที่ สำนักสงฆ์ เต่าดำ อ. ไทรโยก จ. กาญจนบุรี
ต่อมาอีกไม่กี่วันก็เข้าพรรษา ก็พอดีกับ มีพระชาวต่างประเทศเดินทางด้วยเท้า เข้ามาร่วมจำพรรษาอีก ๑ รวม กับจากเดิมที่มีพระอยู่แล้ว ๒ รวมพระทั้งหมด ก็เป็นมีพระ ๓ รูป และนอกจากนั้น ก็ยังมีโยมหมอ ดอกเตอร์ เสริมทรัพย์ (เรียน จบมา ได้ตั้ง สามปริญญา ) อดีตข้าราชการหมอ ที่ลาออกมาปฏิบัติธรรม เพื่อหาทางพ้นทุกข์เร็ว ๆ ที่เคยเป็นศิษย์ของท่านพุทธทาส ที่เดินทางมาจากสวนโมกข์ มาปฏิบัติธรรมจำพรรษา ที่วัดป่านานาชาติ อ. วาริชำราบ จ. อุบล ฯ เมื่อปี ๒๕๓๘ ได้เดินทางร่วมมาด้วย การเดินทางเข้ามาสู่สำนักสงฆ์ เต่าดำ นั้น ลำบากมาก จนพระท่านต้องอดอาหาร เพราะไม่มีอาหาร ..เสียสละไป เพราะว่า รถที่พระนั่งเข้ามาได้เกิดไปติดหล่ม ที่ถนนทางเข้า ซึ่งโดนพัดบ้าง เพราะอยู่ในป่าลึก ลึกจริง ๆ นี่ขนาดว่าเอารถแทรกเตอร์ของโยมทิวาพรซึ่งเป็นโยมอุปัฏฐาก ที่สำนักสงฆ์ เต่าดำ ไปช่วย ดึง รถขึ้นจากหล่ม ก็ยังต้องใช้เวลามาก ขนาดนี้ ถ้า…ไม่มี ก็ไม่ต้องคิด สาหัส…..มาก
ในพรรษาที่ ๔ นี้ ก็ได้ขอโอกาสจากท่านประธานสงฆ์ เพื่องดพูดกับคนอื่น ยกเว้นที่จะเป็นจริง ๆ เช่น บอกปาริสุทธิในวันอุโบสถสังฆกรรม เป็นเวลา ประมาณ ๒ เดือนครึ่ง เพื่อจะได้ตรวจดูกิเลส ผล ก็จะเห็นความคิด ต่าง ๆ ตาม รูป สัญญา สังขาร วิญญาณ ของตัวเอง แต่ก็จะมีอาการที่ค้นพบเมื่อก่อนเข้าพรรษา เมื่อวันที่ ๑๕ ก.ค. ๓๙ อยู่ในใจตลอดเวลา นอกจากนั้น ก็จะมีความคิดเห็น ทั้ง ดี ถูก ผิด ช้า เร็ว เป็นอุบายที่น่าลอง แต่ไม่ได้ยึดถือ จนเป็นอุปาทานให้ทุกข์ ทดลองเฉย ๆ
นอกจากนั้น ก็ได้อ่าน หนังสือ อุปะละมะณี ( อุบลมณี = เพชรประจำเมืองอุบล ซึ่งหมายถึงว่า พระอรหันต์ คือหลวงปู่ชา ประจำเมืองอุบล แห่งเมืองอุบล ฯ ) ของหลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง ( ถ้า สนใจก็ดูใน อินเทอร์เน็ ต กดค้นหา คำว่า หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง มีมากมายเลย )
อ่านหนังสือพุทธธรรม ของท่านเจ้าคุณพระยุทธ์ อ่าน หนังสือ หลักของใจ ของหลวงปู่มหาบัว และอื่น ๆ ที่มีอยู่ในวัด จนจบภายในไม่กี่วัน ทั้งนี้ ก็เพื่อต้องการจะทราบ จะเทียบเคียง ว่า อาการ ที่เราได้เจอเมื่อวันที่ ๑๕ นั้น คืออะไร? ตามที่ได้พิจารณา สุภะ สลับกับ อสุภะ ตามที่ตัวเองได้ทำไปตามเหตุ ตามปัจจัยที่ต้องการฆ่ากิเลสนั้น ก็เกิดไป ตรง ไปเหมือน ๆ กับที่ หลวงปู่มหาบัว วัดป่าบ้านตาด ที่ท่านได้เคยทดลองทำมาก่อน แล้ว และท่านก็ได้เป็นพระอนาคามี เมื่อท่านได้พิจารณา ภาวนา วิปัสสนาจนผ่าน จนแก้ จนสำเร็จ หายสงสัยใน สุภะ กับ อสุภะ คือไม่มี อุปาทาน ในทั้งสองอย่าง คือทั้ง สุภะ และอสุภะ เพราะว่าเป็น แค่ สัญญา และสัญญา ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องปล่อยวาง จริง ๆ นี่ ขั้นพระอนาคามี และหลังจากนั้น ท่านหลวงปู่มหาบัวก็ได้ภาวนา ต่อ จนละ วาง อวิชชาได้ วางนาม วางจิต วางผู้รู้ ได้ แล้ว หลวงปู่มหาบัว ก็จึงได้อรหันต์ เมื่อ ประมาณ ปี พ. ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งก็กินเวลาห่างกันหลายเดือน เมื่อลองนับเวลาที่ใช้ในการภาวนา จากตอนที่ท่านหลวงปู่มหาบัวได้อนาคามี แล้ว ท่านก็จึงภาวนา ต่อ จน ได้ อรหันต์
( รายละเอียด ถ้าสนใจก็หาอ่านดูในหนังสือ หยดน้ำบนใบบัว ของหลวงปู่มหาบัวได้ หรือ เปิด www laungta . com. มีมากมาย นอกจากนั้น ก็ยังมี ประวัติการบรรลุธรรม ของหลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง ก็มี กดค้นหา คำว่า “ หลวงปู่ชา ” จะมี? )
เรื่อง พระอริยะ ขั้น ต่าง ๆ นี้ ถ้า ….เราก็อาจจะเทียบ ง่าย ๆ แต่จะไม่ตรง ๆ กันอย่างแม่นยำ มากนัก ว่า พระโสดาบัน คือ ระดับ อนุปริญญา พระสกิทาคามี คือ ระดับปริญญาตรี พระอนาคามี คือ ระดับปริญญาโท พระอรหันต์ คือ ระดับปริญญา เอก
ใน พรรษาที่ ๔ ณ สำนักสงฆ์เต่าดำนี้ งานของพระประสิทธิ์ ก็จะมีแต่ งานในการทดลองหากิเลส แต่ก็หาไม่เจอ เพราะว่า กิเลสตายไปเมื่อในช่วงก่อนที่จะเข้าพรรษา แล้ว และเมื่อกิเลสตายอย่างสนิทแล้ว ก็จะไม่มีการกบฏคืนของกิเลสอีก ได้ทดลองอดอาการรวด เดียว ๗ วัน ติดต่อกันรวดเดียวในพรรษานี้ เนื่องจาก น้ำป่าไหลหลาก ทั้งโยมลำบากในการส่งเสบียงอาหารมาถวายพระ ๓ รูป + โยมหมอดอกเตอร์ ๓ ปริญญา ( เสริมทรัพย์ ) อีก ๑ รวม ๔ ชีวิต นอกจากนี้ ก็จะมีโยมอีก ๔ – ๕ คน ที่มาคอยช่วยเหลือทำบุญกับพระอีก โดยมาช่วยทำอาหาร ทำทางจงกรม ดูแลทางเดินของพระ พิจารณาต้นไม้ที่ขวางทางเดิน เมื่อน้ำป่ามา ก็จะช่วยทำสะพานให้พระได้มีทางเดินข้ามคลองซึ่งต้องเดินผ่านสะพานหลายที่ โดยมีคลอง ๆ เดียว นั้นแหละ แต่ว่าคลองนั้น จะคดไป ๆ งอมา ผ่านทางที่จะเดินขึ้นบนภูเขาที่ใช้เวลาในการเดินประมาณ ครึ่งชั่วโมง ก็ยาวประมาณ ๑ – ๒ ก. ม. จึงจะต้องมีสะพานข้ามหลายที่ เพราะว่าพระจะตัดต้นไม้ที่ยังเป็น ๆไม่ได้ ต้องมีโยมช่วยทำให้
ในปี ๓๙ ในพรรษาคือตั้งแต่ แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ อาหารที่ วัด เต่าดำ ก็เกิดขาดแคลนในช่วงหนึ่ง เพราะน้ำป่ามาถึงขนาดว่า ทหารต้องเอาเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ไปส่งเสบียงที่หมู่บ้านที่โยมทิวาพร ( ผู้ซึ่งได้ให้การสนับสนุนพระภิกษุ ที่สำนักสงฆ์เต่าดำ ) และสามี พร้อมลูก ครอบครัว และลูกจ้างของโยมทิวาพร ที่ได้ทำเหมืองแร่อยู่ ......ใกล้ ๆ บริเวณ นั้น ซึ่งอยู่ห่างจากวัดเต่าดำ มาก ถ้าเดินทางตรงก็ใช้เวลาเป็นชั่วโมง แต่ว่า ถ้าเดินทางอ้อมก็กินเวลา มากโขเหมือนกัน อีกอย่างพระประสิทธิ์ ก็ตั้งใจจะอดอาหาร ในแต่ละปี อยู่แล้ว จะอดประมาณ ไปเรื่อย ๆ จนถึงประมาณ ๕ ปี โดยกะว่าจะอดอาหาร ปีละอย่างมากที่สุดก็ประมาณ ๗ วัน รวดเดียว อยู่ แล้ว การอดในปีนี้ จะ ไม่ทุกข์เหมือนการอดอาหารแต่ตั้งครั้ง ก่อน ๆ …….. เหมือน ๆ ทำเล่น เหมือนเล่นกับเด็ก ๆ
ในพรรษานี้ ก็เลยได้เขียนจดหมายจำนวน ๓ ฉบับ โดยเล่าย่อ ๆ ว่า
“ ตั้งแต่ได้ภาวนามา จนถึงบัดนี้ บัดนี้ได้ มีอาการ มีความสุขที่สุด เหมือน ๆ กับว่า เราจะเอามือจะคว้าเอานิพพาน ( ความสุข ) ที่อยู่ต่อหน้าเรา มาเสวย มาเชยชม มาอธิบาย มาพูด มากิน มาใช้ เมื่อไหร่ก็ได้ ”
โดย จม. ฉบับแรกได้ส่ง ไปที่สำนักอนุรักษ์ป่าดงใหญ่ ก็คือสถานที่ แห่งที่อยู่ในปัจจุบัน ( ปัจจุบันเป็นวัดป่าดงใหญ่ ) นี้ โดยถวายให้แด่หลวงพ่อ แสวง อชิโต และลูกศิษย์ท่าน ได้รับทราบ
จม. ฉบับที่สอง ได้ส่งไปกราบเรียนถวายแด่หลวงพ่อสี สิริญาโณ ที่วัดป่าศรีมงคล ซึ่งเป็นพระอาจารย์ที่รับเข้าสู่วงการกรมฐานในสายหลวงปู่ชา ครั้งแรก
จม. ฉบับที่สาม ส่งไปที่วัดป่าโนนเก่า เพื่อแจ้งให้ครูบาอาจารย์ที่ได้เคยส่งให้พระประสิทธิ์ได้เข้ามาศึกษาธรรม ภาวนา ณ วัดป่านานาชาติได้ทราบความก้าวหน้า แต่ว่า ก็ไม่ได้บรรยายละเอียดมากมาย นับตั้งแต่บวชมา ก็ไม่ค่อยถนัดที่จะเขียนจดหมาย ชอบที่ภาวนา ดูจิต พัฒนาตัวเองอยู่สมเอ มากกว่า นอกจากจำเป็นจริงๆ ก็มีคราวนี้ แหละ ที่ได้เขียน
และในพรรษา ที่ ๔ ของชีวิตในของการบวชนี้ ท่านพระอาจารย์ปสันโน ก็ได้สัตตาหะ ( การที่พระจะเดินทางไปพักค้างที่อื่น ภายในระหว่างที่จำพรรษา ๓ เดือน ซึ่งจะไปได้ภายในระยะเวลาที่ไม่เกิน ๗ วัน แล้วจะต้องเดินทางกลับวัด ที่พระ เคย จำพรรษา อยู่ ) จากวัดป่านานาชาติ จ. อุบล มาเยี่ยมเพื่อเป็นการให้กำลังใจแก่พระที่จำพรรษา ณ สำนักสงฆ์เต่าดำ ทั้ง ๓ รูป พระประสิทธิ์ก็ได้ อุปัฏฐากท่าน อ. ปสันโน ( ท่านบวช พ.ศ. ๒๕๑๗ ) อยู่กับท่าน ท่านจะพาทำวัตร สวดมนต์ นั่งสมาธิ เทศน์บอกในเรื่องกรรมฐาน เพื่อให้พ้นจากทุกข์ เร็ว ๆ ก็ได้อยู่กับท่าน เกือบ ห้าทุ่ม แทบทุกวัน แต่ไม่มีคำถามที่จะกราบเรียนถามท่านอาจารย์ เพราะว่า
พูดไม่ออก
พูด อย่างอื่น น่ะ พูดได้คล่อง แต่ถ้าจะให้พูดถึงอาการ ถึงเรื่องที่ได้หลุดพ้นนั้น จะไม่มีอาการที่อยากจะพูด จิตจะไม่มีนาม ที่จะคิด จะ มีแต่อาการที่ สบาย ๆ ๆ ๆ ในใจที่สุดในโลก สามารถทำหน้าที่ตามพระวินัย ข้อวัตร ระเบียบ ทุกอย่างได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว มี อิสระทางใจ ไม่ติด แต่จะมีความรับผิดชอบดีมาก
เมื่อ ออกพรรษาก็ได้แวะไปร่วม และช่วยงานปฏิบัติธรรม อบรมอานาปานนะสติ ๙ วัน และช่วยเดินไฟฟ้า บางวันก็ทำโต้รุ่ง ขึ้นสวดปิฏิโมกข์ ตอน เที่ยงคืน ๑ ครั้ง ข้อวัตร จะ ตื่น ตอน ตี สอง ทำวัตร ตีสี่ ที่ วัดป่าสุนันทะวนาราม บ้านท่าเตียน หมู่ที่ ๘ ต. ไทรโยค อ. ไทรโยก จ. กาญจนบุรี และก็ได้เดินทางกลับไปที่วัดป่านานาชาติ ที่ จ. อุบลฯ พร้อม ๆ กับท่าน อาจารย์ ชยสาโร ( ซึ่งอดีต ท่าน อ. ชยสาโร เป็นชาวอังกฤษ บวชกับหลวงปู่ชา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ และเป็น อาจารย์สอน ธรรมให้พระประสิทธิ์ในพรรษาที่ ๓ ใน ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เมื่อครั้งที่ได้จำพรรษาที่วัดป่านานาชาติร่วมกับท่าน )
ไปวิเวก อ่านพระไตรปิฎก ในรอบ ที่สอง จบ
เพื่อค้นหา ชื่อ อาการ ลักษณะ ของนิพพาน
หลังวัน มาฆปูชา ปี ๒๕๔๐ พระภิกษุ สามเณร ผ้าขาว โยม ที่วัดป่านานาชาติ ก็จะไปวิเวกที่สำนักสงฆ์ เต่าดำอีก แต่พระประสิทธิ์ได้ขอโอกาสจากท่านอาจารย์ ชยสาโร เพื่อจะไปอ่านพระไตรปิฎกที่วัดภูจ้อมก้อม ซึ่งเป็นวัดสาขาของวัดป่านานาชาติ ที่อยู่ที่บนภูเขาใกล้ ๆ กับ บ้านทุ่งนาเมือง อ. โขงเจียม จ. อุบล ใกล้ ๆ แม่น้ำโขง ติดชายแดนลาว ตามปกติหน้าแล้ง ไม่ค่อยจะมีพระอยู่ พระจะไปวิเวกที่สำนักสงฆ์เต่าดำเกือบหมด ที่ภูจ้อมก้อม นี่ อากาศค่อนข้างจะร้อน ๆ ๆ ในหน้าร้อน ส่วน ใน หน้าหนาว ในหน้าฝน อากาศจะดี
เพราะมีเวลาว่าง ก็ได้อ่านพระไตรปิฎก ชุด ๙๑ เล่ม ทุกเล่ม ทุกตัวอักษร ที่มีอรรถกถา (คือคำอธิบายจากพระไตรปิฎก เดิม ถ้าไม่มีอรรถกถา ไม่มีคำอธิบาย ก็จะนิยมพิมพ์พระไตรปิฎก เป็นชุด ๔๕ เล่ม บ้าง ชุด ๘๐ เล่ม บ้าง) ด้วย จนจบทุกเล่ม ใช้เทียนอ่านที่ถ้ำ เพระตอนนั้นยังมีไฟฟ้าในวัด
ทั้งนี้ ก็เพื่อจะหา จะดู ว่า อาการ ชื่อ คำอธิบาย ของสิ่งที่เรามีอยู่ในใจที่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิด แต่ได้สร้างเหตุ คือ เดินมรรค ทั้ง ๘ เพื่อฆ่ากิเลส เต็มที่ แล้ว ได้เกิดอาการที่อยู่ในใจ ณ ที่เต่าดำ เมื่อวันที่ ๑๕ ก. ค. พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่ผ่านมา และเป็นอาการที่มีอยู่ในใจตลอดเวลา แล้ว นั้น คืออะไร ชื่ออะไร???
ก็เลยได้อ่านพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นการอ่านที่สนุกที่สุด สบายที่สุด ได้กะ ๆ ประมาณ วางแผนเอา ไว้ว่า ในตอนกลางวัน จะอ่านพระไตรปิฎก เพื่อแก้ง่วง ฝึกธัมมะวิจัย หา ค้นคว้า ศึกษา การเว้นสิ่งที่ผิด จะทำสิ่งที่ถูก จะค้นคว้าธรรมมะ เพราะมีแสงจากดวงอาทิตย์ ไม่ต้องใช้แสงสว่างจากเทียนในการอ่าน ส่วนในตอนกลางคืนก็ภาวนา อาจจะนั่งสมาธิ ไม่ต้องอ่านหนังสือ หรือโดยจะเดินจงกรมที่ทางจงกรมที่มีอยู่แล้ว และเดินจงกรม ณ จงกรม ที่ได้ทำขึ้นเองใหม่ ณ ที่บริเวณที่ว่าง ๆ ที่ทางก่อนจะถึงถ้ำที่พัก ถ้าเดินมาจากศาลาของวัดภูจ้อมก้อม ใช้เวลาเดินประมาณ สิบกว่า นาที จากศาลาก็จะถึงถ้ำที่พัก ก็ทำทางจงกรมแบบที่พระไม่ต้องตัดต้นไม้ ไม่ต้องขุดดินให้ผิดพระวินัย เนื่องจากตอนนั้น ก็มีพระอยู่รูปเดียว ไม่มีพระที่จะแสดงอาบัติ จึงต้องระวังมาก ตามปกติพระก็จะพยายามไม่ให้ต้องอาบัติใด ๆ ทั้งสิ้นอยู่แล้ว เพราะว่าตามวินัยของพระจะห้ามพระขุดดิน และ ฟันต้นไม้ ไม่ได้ ( มี อาจารย์ เขมสิริ ท่านไปอยู่วิเวก ที่บ้านปากลา ทางทิศเหนือบ้านทุ่งนาเมือง ซึ่งอยู่ไม่ห่างนัก จะ ต้อง นั่งเรือหางยาว ทวน แม่น้ำโขง ขึ้นไป... เคยไป เยี่ยมท่าน ไป รับท่านกลับ มาที่วัดภูจ้องก้อม )
กะว่า จะแบ่ง ๑๒ ชั่วโมง เท่า ๆ กัน ระหว่าง อ่านตำรา กับ ภาวนา เดินจงกรม นั่งสมาธิ แต่พอเอาเข้าจริง ๆ ตอนอ่านไปถึงเล่มที่ ๖๐ ที่ ๗๐ ก็เริ่มจะติดพัน จนต้องได้จุดเทียนอ่านที่ถ้ำ นอกถ้ำ ก็อ่านกลางแสงจันทร์ และบริเวณ ใกล้ ๆ ตามก้อนหินที่โต ๆ ตามโขดหิน ริมคลองที่ไหล ผ่านหน้าถ้ำ ในเวลากลางคืนจนได้ บางทีไปสรงน้ำที่ริมฝั่งแม่น้ำโขงตอนบ่าย สี่ ห้าโมงเย็น ก็ถือพระไตรปิฎกใส่ย่ามไปนั่งอ่านพระไตรปิฎกที่ก้อนหินใหญ่ ริมแม่น้ำโขง…
…อ่านเรื่อง จีวร ความสันโดษในปัจจัย ๔ อาบัติที่เกิดจากการใช้จีวร ชนิด ลักษณะ การพินทุ อธิฐานจีวร ฯลฯ สถานที่อ่าน ก็คือ ณ ก้อนหินก้อนโต ๆ ริมฝั่งโขง อ่านจนแสงอาทิตย์ลับขอบฟ้าหมดแสงที่จะอ่าน ก็จึงสรง ( อาบ ) น้ำ ณ ที่หน้า บริเวณ ท่าลงเรือของชาวบ้านทุ่งนาเมือง แต่ว่าหมู่บ้านนี้ จะอยู่ห่างจากแม่น้ำโขง ไม่มากนัก ไม่ติดริมฝั่งโขง สามารถที่จะ เดินไป มา ก็เดิน ถึง ได้
ก็ทั้ง ยืน ทั้งเดิน ทั่งนั่ง ทั่งนอนอ่าน กลางคืน ก็ อ่าน ๆ ๆๆ ๆ ๆ จนจบพระไตรปิฎกทั้ง ๙๑ เล่ม รวมๆ ก็ใช้ เวลาอ่านอยู่ประมาณ ๒ เดือนกว่า จบก่อนวันเพ็ญเดือน ๖ พอดี พอวันวิสาขะ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๐ ก็ได้ พาชาวบ้านทุ่งนาเมือง มาเวียนเทียน ทำวัตร สวดมนต์ ฟังเทศน์ ภาวนา ฆ่ากิเลส ร่วมกับญาติโยมที่วัดป่านานาชาติ อ. วารินชำราบ ด้วย จำนวน ๑ คัน เป็นรถโดยสาร ๖ ล้อ ใช้เดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมง
ปี พ. ศ. ๒๕๔๐ พรรษาที่ ห้า ได้ จำพรรษา กับ หลวงพ่อสี สิริญาโณ ที่วัดป่าศรีมงคล บ้านเปือย ต. โนนกาเล็น อ. สำโรง จ. อุบล ฯ ซึ่งเคยได้ ฝึกกับท่านมาก่อนแล้ว ( ใน ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๗) โดยรับหน้าที่ เป็นผู้ที่นั่งต่อจากหลวงพ่อ ( ทำหน้าที่ คล้าย ๆ เป็นรองเจ้าอาวาส ) ต้องพาพระเณรทำวัตรสวดมนต์ เช้า เย็น พาทำข้อวัตร อ่านบุพพสิกขาวรรณนา พร้อมที่มาของวินัยแต่ละข้อ จากพระไตรปิฎก ขึ้นสวด ปาฏิโมกข์ ในบางอุโบสถ์ ……….ดังนั้น ในพรรษานี้ ก็สบาย มากที่สุด ใน หน้าแล้ง ก็ ขอท่านไป วิเวก
ปี พ. ศ. ๒๕๔๑ พรรษาที่ หก ก็จำพรรษที่ วัดป่าศรีมงคล อีก ………ปีนี้ ก็สบายอีก ยังหากิเลสที่จะฆ่าไม่เจอ ใน หน้าแล้ง ก็ ขอท่านหลวงพ่อสี ไป วิเวก
ปี พ. ศ. ๒๕๔๒ – ถึง ปี พ. ศ. ๒๕๔๓ พรรษาที่ เจ็ด ถึง ที่แปด จำพรรษา ที่ วัดป่าห้วยไทร บ้านห้วยไทร ต. ช่องไม้แก้ว อ. ทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร คือ เดิมที นั้น ไปแขวนกลด ภาวนา วิเวก อยู่ที่วัดป่าศรีอุบล อ. หนองหิน จ. เลย ( ที่วัด อ. สมพงษ์ ) ใกล้ ๆ กับ ภูกระดึง ที่โด่งดัง ก็พอดี ช่วงเมื่อประมาณเดือน ม. ค. ๔๒ วันที่ ๑๗ ที่ วัดป่าห้วยไทร มีงาน ฉลองศาลาใหม่ ก็กะว่าจะไปอยู่วิเวก ประมาณ เดือน สองเดือน ไม่ได้ตั้งใจจะอยู่ประจำ แต่ว่า ก็ได้รับการขอร้องจาก ท่าน อ. สุฤทธิ์ ว่า ...ไม่มีพระที่พอจะช่วยท่านได้ ท่าน ขอให้พระประสิทธิ์ช่วยอยู่จำพรรษาที่วัดป่าห้วยไทร เพื่อช่วย ครูบาอาจารย์ ช่วยญาติโยม นักภาวนา ช่วยสืบอายุพระพุทธศาสนาด้วย ก็เลยเชื่อฟังครูบาอาจารย์ ในช่วง ๒ ปีนี้ ก็ได้ มีโยมมาจำศีล ภาวนาที่วัดป่าห้วยไทร เป็นคู่ ๆ ผัวเมีย หลายคู่ ประมาณ ๘ คู่ หรือมากกว่า เพราะว่าผัว เมีย เหล่านั้น ต้องการพบ เจอ กันทุก ๆชาติ ตามที่พระประสิทธิ์ ได้แนะนำ และ นอกจากนั้น ก็ยัง มีโยมที่ได้มาภาวนา จำศีล แบบเดี่ยว ๆ โสด ๆ หม้าย อย่าร้าง ก็มีอีก พระก็ ได้พยายามแนะนำผู้ที่มาภาวนาในเรื่อง วิเวก อดทน การศึกษาธรรม ความเพียร วิธีการถือธุดงค์ ทั้ง ๑๓ ข้อ เรื่องวัตร ๑๔ การทำบุญที่ถูกต้อง การช่วยพระในเรื่องปัจจัย ๔ การอุปัฏฐาก ทำทางจงกรม มุงหลังคาที่ทางจงกรม เพราะว่าฝนตกบ่อย มาก บางครั้งห่างกัน สิบห้านาที ก็ตก อีกแล้ว เดินจงกรมไม่ได้ โยมมา ช่วยส่งอาหาร ช่วยสะพายบาตรให้พระ ช่วยทำความสะอาด ไล่มด ที่โรงครัว และศาลา การที่โยม ๆ ช่วยกันยกพื้นโรงครัวขึ้นจาก ๑ ชั้นครึ่ง เป็น ๒ ชั้นเต็มภายใน เวลา ไม่กี่วัน โดยที่พระไม่ได้มาลำบากเลย โยมมาถวายน้ำปานะ ประเคนอาหาร ดูแลต้นไม้ ที่รกให้สะอาดเรียบร้อย
นับว่า ถือว่า เป็นการทำบุญ ทางร่างกาย
และ เรื่อง การช่วยประกาศศาสนา ก็ถือว่าเป็นการ ทำบุญทางวาจา
การที่โยม คิดว่า ขอให้มี โยมใส่บาตรให้พระ คิดด้วยความเมตตา คิดจะช่วยพระ ก็ถือว่าเป็นการทำบุญทางใจ
พระ ได้ สอนโยมในเรื่องศีล ๕ ๘ แบบมีองค์ประกอบว่า อย่างไรจึงผิด? สอนเรื่องสมาธิ ทั้ง ๔๐ วิธี พาฝึก พานั่งด้วย และสอนให้ฝึกสมาธิทุก ๆ ท่า ด้วย สอนปัญญา โดยการถามตอบ การให้คิด การปรึกษา การหาวิธีการเอง หาทางหลุดพ้นจากทุกข์ อย่างเต็มที่ นำความรู้จากพระไตรปิฎกมาใช้อย่างเต็มที่ ทั้งภาคปริยัติ หรือทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และภาคปฏิเวธ คือผลสำเร็จ ในพรรษาแรกปีแรกก็มีพระ ร่วมจำพรรษาอยู่ ๒ รูป ก็ได้วิเวก ดีมากที่สุด และในปีที่ ๒ มีพระร่วมจำพรรษา ๕ รูป
มีการถวายกฐินที่วัดป่าห้วยไทรเป็นครั้งแรกด้วย นับตั้งแต่สร้างวัดมา ตั้งแต่ ปี ๒๕๓๖
โดย พระอาจารย์หัด ปนาโท (ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำผาปล่อง หรือวัดบ้านดงนกกก อ. เอราวัณ จ. เลย ) และท่านพระอาจารย์สุฤทธิ์ ติกฺขปัญฺโญ (ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเขาสัก บ้านเขาสัก ต. ตระกุดไร ต. ชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์) เป็นผู้เริ่มก่อสร้างวัดป่าห้วยไทร แห่งนี้
อ่านพระไตรปิฎก จบ รอบที่ สาม ๙๑ เล่ม
ส่วนพระประสิทธิ์ ก็อยู่แบบสบาย ๆ และนอกจากนั้นใน ๒ พรรษา ในหน้าแล้ง ปี ๒๕๔๒ ที่ วัดป่าห้วยไทร นี้ ก็ได้อ่านพระไตรปิฎก ชุด ๙๑ เล่ม จนจบในรอบที่ ๓ อีกด้วย รวมพระไตรปิฎกได้ที่ได้อ่านจบ ๓ รอบ ก็ คิดจาก ๔๕ + ๙๑ + ๙๑ = ๒๒๗ เล่ม เท่ากับ จำนวนศีล ๒๒๗ ข้อ ของพระในปาฎิโมกข์ พอดี เนื้อหาในแต่ละเล่ม ก็หนา อย่างน้อย ๔๑๔ หน้า เช่น ในเล่มที่ ๑๔ เรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ …ใน บางเล่ม ก็หนาประมาณ พัน หน้า ก็มี เช่น เล่มที่หนาที่สุด คือเล่มที่ ๙๑ เป็นเล่มสุดท้าย หนา ๑๕๒๖ หน้า หนักเป็นกิโล ( ยังไม่มีเครื่องชั่งน้ำหนัก ) ส่วนหนังสืออื่น ๆ ที่ได้อ่าน ก็ยังมีอีก นอกจากนั้นก็ได้พยายามแสวงหาหนังสือธรรมที่จำเป็น เช่น วิมุตติมรรค วิสุทธิมรรค มิลินทปัญหา ทำวัตรสวดมนต์ ได้เดินทางไปขอถ่ายเอกสารเรื่องบาลี ที่เกี่ยวกับ อาบัติสังฆาทิเสส จากวัดสวนโมกข์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นวัดของท่านพุทธทาส มาเก็บไว้ศึกษาในภาษาบาลี จัดหาหนังสือบาลีไวยากรณ์ เพราะว่ามีโยมที่มาภาวนาที่วัด ที่ได้เคยเรียนบาลีมา ก่อน ช่วยหาให้ ก็ได้หนังสือ มาไว้ที่วัดหลาย ครั้ง หลายเล่ม
ปี พ. ศ. ๒๕๔๔ พรรษาที่ เก้า วันที่ ๑๙ มิ. ย. ได้เริ่มเข้ามาอยู่ ณ วัดป่าดงใหญ่ แห่งนี้ จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ได้เริ่ม ทำหน้าที่ แนะนำ บอก ตักเตือน นำเอาคำสอนของครูบาอาจารย์ที่ดี ๆ มาปฏิบัติ
ในส่วนที่ไม่ดี ของครูบาอาจารย์ ก็บอกว่า อย่าเอามาปฏิบัติ ให้ทิ้งเลย ส่วนการอ่านพระไตรปิฎก ก็ยังอ่านอีก แต่จะหยิบเฉพาะเล่มที่ตรงกับความต้องการ เข้ากับ เหตุการณ์มาอ่าน มาสอน เลย ด้านหนังสื่ออื่น ๆ ก็อ่านมาตลอด เหมือนเดิม ดีจริง ๆ
จากการประเมิน ผล ก็ปรากฏว่า ได้มีนักภาวนา ทั้ง พระภิกษุ สามเณร ชี จากทั้งคณะ มหานิกาย และคณะธรรมยุติ ในฝ่ายเถรวาท และทางฝ่ายมหายาน ทั้งฝ่าย คามวาสี ( วัดที่ตั้งอยู่ในบ้าน ) และ อรัญญวาสี (วัดที่ตั้งอยู่ในป่า ) ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ ประกาศศาสนา ในด้าน ศีล สมาธิ ปัญญา ให้เจริญ ได้มีผล จนกระทั่งสามารถแสดงพลังออกมาอย่างจริงจัง และมีข้อวัตร มีการศึกษาทั้งทางด้านทฤษฎี หลักการทางพระพุทธศาสนา มีการลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริง วิธีปฏิบัติก็นิยมนำเอาการถือธุดงค์ทั้ง ๑๓ ข้อ มาทำอย่างจริงจัง นำเอาวัตร ทั้ง ๑๔ ในเรื่อง ศีล และนำเอาข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่อยู่นอกพระปาฏิโมกข์ จากพระไตรปิฎก และนำเอา ศีลที่อยู่ในพระปาฏิโมกข์ นำเอาสมาธิวิธีการฝึกทั้ง ๔๐ วิธี นำเอาการสร้างปัญญา วิมุติ นิพพาน วิมุตติญาณทัสสนะ ฯลฯ ทั้งหมดมาปฏิบัติอย่างจริงจัง
ทางด้าน ประชาชน ชาวบ้าน ก็ได้มีผู้ที่สนใจในวิธีการแก้ปัญหา แบบพุทธะ ที่น่าลองกว่าทุก ๆ วิธี โดยมีทุกอาชีพที่สนใจ เข้ามาสอบถาม ขอคำปรึกษา ร่วมกันพัฒนาทางจิตใจ ระเบียบ วินัย มีการฝึกสมาธิ การฝึกวิปัสสนา การหาวิธีการพ้นทุกข์ การแสวงหาวิธีที่จะอยู่ในโลกอย่างมีความสุข มีอาชีพที่สุจริต ให้มีความสุทางใจ โดยจะอยู่ในฐานะของนักภาวนา นักปฏิบัติธรรม เป็นผู้จำศีลรักษาสมาธิวิปัสสนา ที่มาจากสถานที่ต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ใกล้ ๆ วัดป่าดงใหญ่ คือบริเวณ หมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ ต่าง ๆ ใน จังหวัดอุบล มาจากหมู่บ้าน อำเภอเมือง และอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดศรีสะเกษ และที่มากจากที่ไกล ๆ ต่าง ที่จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาก ก็มีจากจังหวัด กรุงเทพ ฯ นครนายก ยโสธร สุรินทร์ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ จากจังหวัดขอนแก่น ฯลฯ อันได้แก่ ชาวบ้าน ญาติโยม ซึ่งประกอบไปด้วย หลายอาชีพ เช่น ชาวนา เกษตรกร ชาวสวน เลี้ยงสัตว์ แม่บ้าน พ่อค้า นักธุรกิจ ข้าราชการ ครูที่เกษียนแล้ว และครู อาจารย์ในราชการจากโรงเรียน วิทยาลัย จากมหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริการ วิศวกร ช่าง หมอ พยาบาลจากทางโรงพยาบาล และจากอนามัยต่าง ๆ ตำรวจ ทหาร ข้าราชการทางฝ่ายศาลตุลาการ อ. บ. ต. ผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายคลัง หัวหน้าฝ่ายโยธา เจ้าหน้าที่ อ. บ. ต. นักเรียน ป. ๑ – ป. ๖ ระดับ ม ๑. – ม. ๖ ทั้งในระบบ และนอกระบบ เช่น ก. ศ. น. นิสิตนักศึกษาทางฝ่ายหมอ อาจารย์ด้านการเกษตร ด้านเภสัชกรรม ด้านการศึกษา ด้านการบริหาร ด้านวิศวกร ในระดับปริญญาเอก โท ตรี นักศึกษาพยาบาล นางพยาบาล วิศวกรในระดับปริญญาตรี และโท นักเรียนในสาขาช่าง เครื่องกล โยธา กฎหมาย คอมพิวเตอร์ สาขาบริหาร การจัดการ ทั้งเพศหญิง และชาย ทั้งที่มาฝึกแบบ มืออาชีพ มือสมัครเล่น มาทดลอง มาจริง ๆ ก็มี ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ และได้เกิดมี ผู้ที่บรรลุธรรม ในขั้น ต่าง ๆ จากระดับ โสดาบัน สกิทาคามี และกำลังจะบรรลุในขั้น อนาคามี และอรหันต์ ต่อ ๆ ในไม่ช้านี้ คอย ตาม ติดตาม ฟังข่าว เถิด ……..นะ
(ช่วงนี้ นับ ตั้ง แต่ วันที่ ๑๙ มิ.ย. พ.ศ. ๒๕๔๔ จน ถึง ปัจจุบัน ๑๗ พ.ย. . ๒๕๕๗ ได้ เริ่มกลับ มา ช่วย พัฒนา วัดป่าดงใหญ่ วัดแดงหม้อ ช่วยหลวง พ่อ แสวง สอนกรรฐาน พัฒนา หมู่บ้าน ชุมชน ตามกำลัง ร่วม กับ ทาง อนามัย. โรงเรียน. อบต. แดงหม้อ
วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ วันพระ หลังฉัน ใน พรรษา ที่ ๒๐
ตั้ง สถานีวิทยุพุทธวัดป่าดงใหญ่ บ้านแดงหม้อ ความถี่ ๑๐๑.๕๐ เมกะเฮิรตซ์ เพื่อ เผยแผ่ธรรม ให้ แก่ ทุก รูป นาม เพื่อความสุข เพื่อความพ้นจากทุกข์
วันที่ ๑๗ พ.ย. พ.ศ. ๒๕๕๗ พรรษา ที่ ๒๒... บวช ๒ ส.ค. ๒๕๓๖
เปิด วิทยุวิทยุพุทธวัดป่าดงใหญ่ บ้านแดงหม้อ ความถี่ ๑๐๑.๕๐ เมกะเฮิรตซ์ ส่งออก ทางอินเทอร์เน็ต
จงมีสุข พ้นจากทุกข์ บรรลุนิพพานบรมสุข เร็ว ๆ ไว ไว เทอญ.
จาก พระประสิทธิ์ ( แววศรี ) ฐานะธัมโม วัดป่าดงใหญ่
( ๑๗ พ.ย... พ.ศ. ๒๕๕๗ .....ครบ รอบ สิบแปดปี กับ ..... วัน ที่ได้ รู้ ได้เห็นธรรม ได้สบายมา นับจาก วันที่ ๑๕ ก.ค. พ.ศ. ๒๕๓๙ )