ผู้ใช้:Phattheera Kueatarn/กระบะทราย

ดไวท์ วอลโด

แก้

ดไวท์ วอลโด ( เกิด 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 ) ได้รับการยกย่องให้เป็นนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกา อีกทั้ง ดไวท์ วอลโด ยังเป็นผู้ที่ได้ให้คำนิยามการบริหารภาครัฐสมัยใหม่อีกด้วย ซึ่งเขาได้ต่อต้านแนวความคิดระบบราชการที่เน้นทางเทคนิคหรือวิทยาศาสตร์ และรัฐบาลที่เน้นการใช้คำว่าการจัดการภาครัฐแทนรัฐประศาสนศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้จัดทำหนังสือทีมีชื่อว่า Administrative state ขึ้นมา หรือที่เรียกว่า รัฐบริหาร นั่นเอง หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงปัญหาของแนวคิด ทัศนคติหรือปรัชญาทางทางการเมืองไว้ว่า มนุษย์ต้องการมีชีวิตที่ดีกว่า มีการตัดสินใจร่วมกันในการคิดหาวิธีการหรือแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ใครเป็นคนถือกฎ อำนาจรัฐควรแบ่งแยกกัน จะรวมอำนาจหรือกระจายอำนาจ เอกภาพแห่งรัฐและระบบสหพันรัฐมีคุณธรรมสอดคล้องอยู่หรือไม่[1]

ประวัติ

แก้

ดไวท์ วอลโด เกิดเมื่อปีพุทธศักราช 2456 วันที่ 28 พฤศจิกายน ณ เมืองดีวิท รัฐเนบราสก้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ครอบครัวเขาเป็นครอบครัวเกษตรกรรม มีพี่น้องร่วมกันทั้งหมด 5 คน วอลโดเคยบอกว่าความสำเร็จที่สำคัญที่สุดของเขาในวัยเด็กคือชนะเลิศอันดับสองในการประกวดทารกและชนะการแข่งขันเรียกหมู หลังจากที่เขาจบมัธยม เขาได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเนบราสก้าเวสเลยาน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนและมีลักษณะเป็นวิทยาลัยศิลปศึกษา ภายหลังได้ย้ายเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยครูเนบราสก้าสเตทในเปรูเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า วอลโดตั้งใจที่จะเป็นคุณครูสอนระดับชั้นมัธยมแต่ทว่าเมื่อเขาจบมากลับไม่มีตำแหน่งที่ว่างให้เขาเลย เขามักบอกว่าเส้นทางการดำเนินชีวิตของนั้นประสบความล้มเหลว ยกตัวอย่างเช่น เขาได้เป็นบัณฑิตผู้ช่วยอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเนบราสก้าลินคอร์นเพราะว่าเขาไม่ได้เป็นอาจารย์สอนมัธยมอย่างที่เขาตั้งใจไว้ และเมื่อเขาจบปริญญาโท ตลาดงานก็ยังไม่มีงานที่ว่างสำหรับเขา แล้วเขาก็รู้สึกว่าเขาล้มเหลวอีกครั้งจากการได้รับทุนให้ศึกษาที่มหาวิทยาลัยเยล และเนื่องจากการที่เขาได้รับทุนมันทำให้เขาไม่ได้ไปที่ไหน ไม่ได้ไปแถบตะวันออกที่ซึ่งดูเหมือนจะน่าตื่นเต้นมาก และนั่นทำให้เขาดูเหมือนว่าเขามีทางเลือกน้อย แต่นั่นเป็นโอกาสที่ทำให้วอลโดได้เดินทางมาเป็นนักรัฐศาสตร์นั่นเอง[2]

บทบาทและผลงานของดไวท์ วอลโด

แก้
ลักษณะของสาธารณบริหารศาสตร์และการบริหารสาธารณกิจ
แก้

ดไวท์ วอลโด ได้กล่าวถึงลักษณะของสาธารณบริหารศาสตร์และการบริหารสาธารณกิจ ซึ่งวอลโดได้ให้ความเห็นว่าทั้งศาสตร์และศิลป์นั้นล้วนแต่คุณสมบัติของการบริหารทั้งสิ้น โดยได้กล่าวไว้ว่า ทั้งนักบริหารและนักศึกษาต่างรู้สึกพึงพอใจและประทับใจในความสำเร็จของศาสตร์ธรรมชาติและกายภาพ ยังยืนยันว่าการศึกษาการบริหารงานสาธารณะนั้นก็ควรที่จะเป็นศาสตร์ได้ในบางแง่ ส่วนนักศึกษาและนักบริหารท่านอื่นๆ ก็มีความประทับใจในการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง และการมีความความคิดสร้างสรรค์ในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะที่มีการบริหารจริงๆ เช่น ภาวะความเป็นผู้นำ และการตัดสินใจ เป็นต้น อันเป็นการยืนยันได้ว่า การศึกษาการบริหารงานสาธารณะนั้นควรเป็นศาสตร์และศิลป์ของการบริหารงานของรัฐ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าการบริหารงานสาธารณะนั้นมีทั้งมุมที่ควรเป็นศาสตร์และมีมุมที่ควรเป็นศิลป์โดยมีความสำคัญเท่าๆกัน อย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นการสะท้อนให้เห็นความยากของการที่จะแก้ปัญหาเรื่องคำจำกัดความ ควรอาศัยการประนีประนอมยอมรับประเด็นทั้งสองฝ่าย โดยยอมรับว่าการบริหารงานของรัฐนั้นย่อมเป็นทั้งการศึกษาและเป็นทั้งการปฏิบัติ[3]

แนวความคิดการบริหารรัฐกิจใหม่
แก้

ในปี 2511 ได้มีการสร้างความแตกตื่นให้แวดวงวิชาการบริหารรัฐกิจขึ้นถึงการพัฒนาอีกก้าวหนึ่งที่เรียกว่า “บริหารรัฐกิจใหม่” หรือ “รัฐประศาสนศาตร์แนวใหม่” (The New Public Administration) เป็นความคิดสร้างสรรค์ทางวิชาการ ถึงแม้จะมีความคลุมเครือเข้าใจยากแต่ก็มีลีลาเชิงปฏิวัติครั้งสำคัญในวิชาการบริหารรัฐกิจซึ่งไม่ค่อยมีอะไรใหม่ๆให้พบเห็น ซึ่งในปีนั้น ดไวท์ วอลโด ได้สนับสนุนให้มีการประชุมสัมมนานักวิชาการบริหารรัฐกิจหนุ่ม โดยใช้หัวข้อเรื่องว่า “บริหารรัฐกิจใหม่” หรือ “รัฐประศาสนศาตร์แนวใหม่” จัดขึ้นที่ศูนย์สัมมนา มินนาวบรู๊ค มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ สหรัฐอเมริกา เพื่อแสวงหาและนำเสนอแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์และแก้ปัญหาสังคมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนั้นได้ตกอยู่ในช่วงของการทำสงครามเวียดนาม มีการเกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย อาทิเช่น ปัญหาชุมชนเมือง ปัญหาการการจลาจลทางเชื้อชาติ การประท้วงของคนหนุ่มสาว ปัญหาสิ่งหาของสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดความแปรปรวนไปทั่วทั้งสังคมอเมริกัน และจากการปรวนแปรของสหรัฐอเมริกาและความสลับซับซ้อนนั่นเอง จึงก่อให้เกิดความคิดแนวทางการบริหารรัฐกิจแบบเดิมที่เน้นทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้มีการสอดแทรกค่านิยมเข้าไปในการศึกษา มีความเห็นว่าการเมืองต้องแยกออกจาการบริหาร มีตัวกลางเป็นค่านิยม มีประสิทธิภาพ และไม่ยึดติดตัวบุคคล เป็นต้น ไม่สามารถตอบสนองหรือแก้ปัญหาสังคมในขณะนั้นได้ การประชุมที่เกิดขึ้น จึงเป็นการประชุมที่ได้เสนอแนวคิดที่แตกต่างจากการบริหารรัฐกิจแบบเดิม มุ่งศึกษาเกี่ยวกับความจริงทางสังคม ได้เสนอให้ใช้ค่านิยมเชิงบรรทัดฐาน ความคิดแนวมนุษยนิยมมาใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมต่างๆที่ได้เกิดขึ้น การบริหารรัฐกิจใหม่จึงเป็นแนวคิดที่มีลักษณะเชิงมนุษยนิยม สนใจทฤษฎีปทัสถาน ปรัชญา และปฏิบัตินิยม กล่าวโดยสรุปคือ มีการให้ความสนใจ ให้การศึกษาเกี่ยวกับค่านิยม ศีลธรรม และความเป็นมนุษย์มากขึ้น

ภายหลังการประชุมก็มีผลงานของนักวิชาการที่มีชื่อเสียงต่างๆตามมามากมาย โดยบทความที่เสนอได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มในปี 2514 โดย แฟรงค์ มารินี ผู้ซึ่งมีความสำคัญในการจัดงานประชุมครั้งนี้ หนังสือเล่มนี้ยังถือว่าเป็นงานชิ้นสำคัญของระยะแรกๆในการบุกเบิกวิชาการครั้งใหม่รวมกับผลงานรวบรวมบทความทางวิชาการอื่นเป็น 3 ชิ้นด้วยกัน ได้แก่

  1. แฟรงค์ มารินี เป็นบรรณาธิการรวมบทความจากการสัมมนามินนาวบรู๊ค เรื่อง Toward A New Public Administration ในปี 2514
  2. ดไวท์ วอลโด เป็นบรรณาธิการบทความนักวิชาการบรริหารรัฐกิจใหม่ เรื่อง Public Administration in a Time of Turbulence ในปี 2514
  3. วารสาร Public Management ฉบับหนึ่งในปี 2514 อีกเช่นกัน โดยมี จอร์จ เฟรเดอริคสัน เป็นบรรณาธิการในหัวข้อเรื่อง The New Public Administration[4]

โดยผลงานเหล่านี้จะประกอบไปด้วยความแตกต่างและความหลากหลายของความคิดเห็นของบรรดานักบริหารรัฐกิจใหม่ในการตีความหมายความพัฒนาต่างๆ ในวิชาสังคมศาสตร์ ตลอดจนได้นำเสนอแนวทางมาใช้ศึกษา มาใช้ทำความเข้าใจเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เป็นอยู่อีกด้วย

การบริหารรัฐกิจแนวใหม่
แก้

ดไวท์ วอลโด พร้อมทั้งนักวิชาการบริหารรัฐกิจ ได้เสนอแนวทางการบริหารรัฐกิจแนวใหม่ไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการบริหารรัฐกิจนั้นควรเน้น “เพื่อความยุติธรรมทางสังคม”

โดยมีเป้าหมายสำคัญของการบริหารรัฐกิจแนวใหม่ คือ

  1. การมุ่งเน้นความสนใจต่อประชาชนผู้รักบริการ
  2. การลดความเป็นระบบราชการ
  3. การวินิจฉัยสั่งการแบบประชาธิปไตย
  4. สนับสนุนการดำเนินนโยบายสาธารณะ
  5. การกระจายอำนาจการบริหาร[5]

วิชาการบริหารรัฐกิจนั้นได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตัวเองในศาสตร์สาขาวิชามาแล้วถึง 5 พาราไดม์ จนถึงปัจจุบัน นักวิชาการได้ลงความเห็นหันว่า แนวโน้มของการบริหารรัฐกิจในอนาคตอันใกล้นี้ อาจจะเป็นการถกเถียงกันระหว่างความเชื่อในแต่ละพาราไดม์ต่างๆ อย่างแน่นอน และการศึกษานโยบายสาธารณะ ก็จะสามารถช่วยให้การบริหารรัฐกิจนั้นมีเอกลักษณ์และเป็นการอุดช่องว่างระหว่างทฤษฎีและการนำไปปฏิบัติด้วย

กล่าวโดยสรุปคือ ดไวท์ วอลโด ได้ให้ความหมายของรัฐประศาสนศาตร์ไว้ 2 นัย คือ

  1. รัฐประศาสนศาสตร์ คือ องค์การจัดการคน (Man) และวัสดุ (Materials) เพื่อที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ ของรัฐ
  2. รัฐประศาสนศาตร์ คือ การนำเอาทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Art) ของการบริหารจัดการนั้น นำไปประยุกต์ใช้ในกิจการภาครัฐ
แนวความคิด Progressivism
แก้

และ ดไวท์ วอลโด ได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Administrative State เกี่ยวกับอิทธิพลของของแนวคิด Progressivism ที่มีผลต่อการพัฒนาแนวคิดการบริหารรัฐกิจในสหรัฐอเมริกา ในช่วงของปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งในสหรัฐอเมริกาขณะนั้น ความคิด ความนิยม ความศรัทธาของของชาวอเมริกันส่วนใหญ่มีผลต่อการดำเนินการปฏิรูปการบริหารภาครัฐ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทั้งหมดสามท่านในห้วงทศวรรษที่ 1900 จนถึง 1920 ขณะนั้น คือ ประธานาธิบดี Theodore Roosevelt ประธานาธิบดี Taft และประธานาธิบดี Woodrow Wilson ล้วนเป็นผู้นำประเทศในแนวทาง Progressivism โดยประธานาธิบดี Roosevelt ถึงกับนำเอาชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อพรรคการเมืองของตน โดยใช้ชื่อว่า Progressivism People’s Party ในการลงสมัครประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสมัยที่ 3 ของท่าน ส่วนบทความทางวิชาการซึ่งเป็นบทความที่มีชื่อเสียงของประธานาธิบดี Woodrow Wilson ที่มีชื่อว่า The study of Administration ก็เป็นบทความที่ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิด Progressive เช่นกัน[6]

  1. ดไวท์ วอลโด. (2556). (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://boonpengsaepua999.blogspot.com/2013/10/blog-post_27.html
  2. Dwight Waldo. (2544). (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bth&AN=4493762&site=eds-live&authtype=ip,uid
  3. สร้อยตระกูล อรรถมานะ. สาธารณบริหารศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3 (2540). 17.
  4. ชุมพร สังขปรีชา. บริหารรัฐกิจใหม่. (2529). 1.
  5. สันสิทธิ์ ชวลิตธำรง. หลักการบริหารรัฐกิจกับระบบราชการไทย. (2546). 22.
  6. เด่นพงษ์ เจริญสุข และเนาวรัตน์ บุตรเรียง. การบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ. (2552). 1.