เพลงอีแซว
แก้

* ประวัติของเพลงอีแซว
สำหรับเพลงอีแซว เป็นเพลงที่มีความยาวนานกว่า ๑๐๐ ปี เป็นเพลงประจำถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี ดังนั้นในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี และบริเวณใกล้เคียงจึงมีการเล่นเพลงอีแซวกันอย่างแพร่หลาย แต่เดิมนั้นเป็นเพลงทื่เล่นกันในลักษณะที่มีการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง มีการยั่วเย้ากันโดยใช้ภาษาง่าย จากนั้น ประมาณ ๓๐-๖๐ ผ่านมาจึงเริ่มมีการพัฒนามาเป็นเพลงปฏิพากย์ที่มีการร้องโต้ตอบกัน โดยมีขนาดที่ยาวมากขึ้น มีการปรับแปลงทำนอง การร้อง รวมไปถึงเสื้อผ้าที่ใช้สำหรับสวมใส่

สำหรับฝ่ายหญิงมักจะใส่เสื้อคอกลมหรือคอเหลี่ยมกว้าง สำหรับฝ่ายชายมักจะใส่เสื้อคอกลมที่มีสีสันฉูดฉาด สะดุดตา และเป็นการสร้างสีสันอีกด้วย

* โอกาสในการเล่นเพลงอีแซว
ด้วยความสนุกสนานในเนื้อหาของเพลงอีแซว ผสมผสานกับความนิยมในเพลงอีแซว ทำให้สามารถเล่นได้ทุกที่และทุกโอกาส เพราะสามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหาได้ตามความเหมาะสมโดยส่วนใหญ่แล้วนิยมเล่นกันในวันสำคัญต่างๆ
* จำนวนผู้เล่นเพลงอีแซว
การเล่นเพลงอีแซวไม่มีการกำหนดจำนวนผู้แสดงอย่างชัดเจน หากแต่มีการกำหนดหน้าที่ของแต่ละคน โดยในหนึ่งวงนั้นจะประกอบไปด้วย

พ่อเพลง (ผู้ร้องนำฝ่ายชาย)

แม่เพลง (ผู้ร้องนำฝ่ายหญิง)

คอต้น (ผู้ร้องนำคนแรก)

คอสองและคอสาม (ผู้ร้องคนที่สองและสาม)

ลูกคู่ (ไม่จำกัดจำนวนคน มีหน้าที่ร้องรับ แทรก เพื่อความสนุกสนาน)

* ลำดับการเล่นเพลงอีแซว
มีการรร้องที่เริ่มต้นบทไหว้ครู บทเกริ่ม และบทจากหรือบทลา
  1. บทไหว้ครู
    เป็นการกราบไว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวง ทั้งพระรัตนไตร เทวดา ภูตผี พ่อแม่ และครูเพลง (ซึ่งมีสองแบบคือ ครูเพลงที่เป็นจิตวิญญาณ เช่นพระนารายณ์ ฤๅษี และครูเพลงที่เป็นคน ได้แก่ คนที่สอนเพลงแก่ผู้ร้อง)โดยจะต้องนั่งกับพื้น และมีพานกำนลถือไว้ขณะร้อง โดยเริ่มร้องที่พ่อเพลงจากนั้นจึงเป็นส่วนของแม่เพลง
  2. บทเกริ่น
    เป็นบทร้องของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ก่อนที่จะออกมาพบกัน โดยจะร้องสลับกันไป หลังจากไหว้ครู นักแสดงจะต้องลุกเพื่อร้องเพลงออกตัว ที่ทักทายและแนะนำตัวกันรวมถึงการฝากเนื้อฝากตัวด้วย จากนั้นจึงร้องเพลงปลอบซึงเป็นการชักชวนให้ฝ่ายหญิงออกมาร้องโต้ตอบกัน
  3. เพลงปะ
    เป็นเพลงที่ทั้งสองฝ่ายชายและหญิงร้องโต้ตอบกันไปมา ส่วนใหญ่จะเป็นการปะทะคารม มีทั้งในเรื่องราวของความรัก การประลอง หรือเป็นการชำลองนิยายกรือวรรณกรรม
  4. บทจากหรือบทลา
    เป็นเพลงที่ร้องเพื่อแสดงความอาลัยกับคู่ร้องและคนดู เนื่องจากใกล้หมดเวลาในการเล่นแล้ว
  5. การอวยพร
    เป็นการร้องขอบคุณผู้จ้าง คนดู และผู้ร่วมแสดง
* อุปกรณ์การเล่นเพลงอีแซว
พ่อเพลงและแม่เพลงเริ่มต้นจากบทไหว้ครู ฝ่ายชายจะร้องบทปลอบ จากนั้นฝ่ายหญิงก็จะร้องบทรับแขก ผู้ชายจึงเริ่มการเกี้ยวพาราศี ผู้หญิงอาจจะปะทะอารมณ์ หรือเล่นตัว ฝ่ายชายจึงว่าบทออด ฝ่ายหญิงจึงที่ไม่รับรัก และขอให้ฝ่ายชายมาสู่ขอตนจบด้วยฝ่ายชายขอพาหนี เมื่อหนีแล้วก็เป็นบทชมนกชมไม้