ความรู้เรื่อง "กล้องจุลทรรศน์ มัธยมศึกษาปีที่ 1 กล้องจุลทรรศน์ เนื่องจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ เป็นหน่วยที่เล็กที่สุด และมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นลักษณะ รูปร่าง และโครงสร้างภายในเซลล์ด้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน จึงมีการคิดค้นอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าโครงสร้าง และ ส่วนประกอบ ของเซลล์สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า "กล้องจุลทรรศน์" [ Microscope]

     กล้องจุลทรรศน์ทั่วไป มี 2 แบบ คือ

1.กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง 2.กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

     กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
  กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง [ Light Microscope] จำแนกได้ 2 ชนิด

1.กล้องจุลทรรศน์อย่างง่าย นั่นก็คือแว่นขยาย ใช้เลนส์นูนเป็นตัวช่วยในการขายให้วัตถุมีขนาดใหญ่ขึ้น * ภาพที่ได้เป็นภาพเสมือน * 2.กล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อน มีระบบเลนส์ทำหน้าที่ขยายภาพทั้งหมด 2 ชุด คือ เลนส์ใกล้วัตถุ และ เลนส์ใกล้ตา

  กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน [ Electron Microscope ] ที่ใช้กันอยู่มี 2 ชนิด คือ 1.กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่งผ่าน [ TEM ] ใช้ศึกษาโครงสร้างภายในของเซลล์โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องผ่านเข้าไปในเซลล์ที่เตรียมไว้ 2.กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด [ SEM ] ใช้ศึกษาโครงสร้างภายในของผิวเซลล์ หรือ ของผิววัตถุ โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องกระทบของผิววัตถุ

เติมความรู้ 1

  เลนส์ใกล้ตา คือเลนส์ที่อยู่ใกล้ตาเมื่อเราส่องวัตถุ
  เลนส์ใกล้วัตถุ คือเลนส์ที่อยู่ใกล้ผิวของวัตถุ

เติมความรู้ 2

  -ภาพที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะให้รายละเอียดมากกว่ากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
  -ภาพที่เกิดจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านจะช่วยทำให้ภาพมองเห็นรายละเอียดภายในโครงสร้างต่างๆได้ดี
  -กล้งจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด จะทำให้มองเห็นโครสร้างด้านนอกของวัตถุเป็นภาพ 3 มิติ

เติมความรู้ 3

  กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดจะทำให้เห็นโครงสร้างด้านนอกของวัตถุเป็นภาพ 3 มิติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม FACEBOOK : Pairat Nimnoi