ผู้ใช้:PKS46/หน้าทดลอง

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดีย! หน้านี้เป็นหน้าทดลอง พื้นที่ให้คุณสามารถทดสอบได้อย่างเต็มที่ มีตัวอย่างง่าย ๆ เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ที่คุณจะพบต่อไปเมื่อเขียนวิกิพีเดีย

ประวัติการจัดตั้งหน่วย

แก้
 
นี่เป็นคำบรรยายภาพ

ประวัติการจัดตั้งหน่วย สืบเนื่องมาจากการก่อกำเนิดเหล่าทหารสื่อสารขึ้นในกองทัพบก กล่าวคือ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ กองพันทหารสื่อสารที่ ๒ ได้แปรสภาพมาจากกองพันที่ ๒ กรมช่างทหารบกที่ ๒ และได้จัดตั้งกองทหารสื่อสารประจำมณฑลทหารบกต่าง ๆ ขึ้น และกองทหารสื่อสารที่ ๓ มณฑลทหารบกที่ ๓ ก็ได้ก่อกำเนิดขึ้นมาจากกองร้อยที่ ๒ กองพันทหารสื่อสารที่ ๒ ซึ่งได้ย้ายมาจากบางซื่อ พระนคร บริเวณที่ตั้งกรมช่างอากาศปัจจุบัน มาตั้งที่ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยมี ร.อ.ขุนสายสุรยุทธ (สาย   เชนยะวนิช) เป็นผู้บังคับกองทหารสื่อสาร ร.ท.เล็ก   ทองวิวัฒน์ และ ร.ท.ชัยนันท์   จิตรบุญ เป็นผู้บังคับหมวด พร้อมด้วยนายสิบ ๗ นาย และพลทหาร ๒๖ นาย ตั้งแต่ ๑๘ ธันวาคม ๒๔๗๗ จนถึงปัจจุบัน

                  ต่อมาในระหว่างเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ – ๒๔๘๔ หน่วยนี้ได้จัดกำลังออกไปปฏิบัติราชการสนาม โดยแยกเป็นหน่วยดังนี้.-

                  กองทหารสื่อสาร กองทัพอีสาน    มี ร.อ.อร่าม   เทพานนท์   เป็นผู้บังคับหน่วย

                  กองทหารสื่อสาร กองพลอุบล      มี ร.อ.อชิต  โกมารทัต     เป็นผู้บังคับหน่วย

                  กองทหารสื่อสาร กองพลสุรินทร์   มี ร.ท.เฉลิม  สาริกบุตร   เป็นผู้บังคับหน่วย

                  ต่อมาได้เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา หน่วยได้เปลี่ยนสภาพเป็นกองทหารสื่อสาร กองพลที่ ๓ และกองพันทหารสื่อสารที่ ๓ ตามลำดับ และในขณะเดียวกันก็ได้ขยายกำลังเพิ่มกองทหารสื่อสารประจำกรมทหารราบด้วย จนกระทั้ง พ.ศ.๒๔๘๙ สิ้นสงคราม กองทัพบกจึงยุบเลิกหน่วยที่ขยายอัตราออกไป คงเหลือเพียงกองทหารสื่อสาร กองพลที่ ๓ หน่วยเดียว

                  เมื่อ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ กองทหารสื่อสารกองพลที่ ๓ แปรสภาพและได้โอนการบังคับบัญชาเป็น กองทหารสื่อสารกองทัพที่ ๒ ตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๒๙๘/๒๕๐๑๘ ลง ๒๒ พ.ย.๙๗

                  เมื่อ ๙ กรกฎาคม ๒๔๙๙ กองทหารสื่อสารกองทัพที่ ๒ ได้แปรสภาพและได้โอนการบังคับบัญชากลับมาเป็น กองทหารสื่อสารกองพลที่ ๓ ตามเดิม ตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๑๖๗/๑๓๔๔๔ ลง ๙ ก.ค.๙๙ และได้เปลี่ยนตำแหน่งผู้บังคับกองทหารสื่อสาร เป็นผู้บังคับทหารสื่อสาร กองทหารสื่อสาร

                  จนถึง พ.ศ.๒๕๒๑ จึงได้แปรสภาพเป็น กองพันทหารสื่อสารที่ ๓ สังกัด กองพลทหารราบที่ ๓ ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ ๗๓/๒๑ ลง ๒๙ มิ.ย.๒๑

ภารกิจและการจัดหน่วย

                  กองทหารสื่อสารกองพลที่ ๓ ใช้ อจย.๑๑-๗(๑๑ ม.ค.๐๖) ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ ๖๕/๐๖ ลง ๑๗ ธ.ค.๐๖

                  กองพันทหารสื่อสารที่ ๓ ใช้ อจย.๑๑-๓๕(๒๕ ก.ค.๒๗) ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ ๔๒/๔๓ ลง ๕ เม.ย.๔๓

                  หน่วยนี้มีภารกิจในการจัดการสื่อสาร ให้แก่กองบัญชาการกองพลทหารราบที่ ๓ รวมทั้งการสื่อสารไปยังหน่วยต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานภายใต้การบังคับบัญชาของกองพล กับการจัดบริการการภาพ การส่งกำลังและซ่อมบำรุงสายสื่อสารแก่เครื่องสื่อสารของกองพล[1]

นี่เป็นแม่แบบสำหรับข้อความที่ขาดแหล่งที่มา[ต้องการอ้างอิง]

จิมมี เวลส์ ← นี่เป็นลิงก์ไปยังผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย ข้อความที่แสดงสำหรับลิงก์สามารถปรับได้อย่างนี้ ถ้าลิงก์ชี้ไปหน้าที่ยังไม่มีคนสร้าง จะเห็นเป็นสีแดง แบบนี้

รายนามผู้บังคับหน่วย

แก้
  • ๑. ร.อ.ขุนสายสุรยุทธ (สาย   เชนยะวนิช)       พ.ศ.๒๔๗๗ – ๒๔๗๘                  
  • ๒. ร.อ.ขุนไสวแสนยากร (ไสว   อุ่นคำ)           พ.ศ.๒๔๗๘ – ๒๔๘๐                  
  • ๓. ร.อ.อร่าม   เทพานนท์                              พ.ศ.๒๔๘๐ – ๒๔๘๙                  
  • ๔. พ.ท.พิพิธ   แก้วกูร                                 พ.ศ.๒๔๘๙ – ๒๔๙๑                  
  • ๕. พ.ท.เคลื่อน   อาชวะอำรุง                        พ.ศ.๒๔๙๑ – ๒๔๙๖                  
  • ๖. พ.ท.จำนวน   จันเจือมาศ                          พ.ศ.๒๔๙๖ – ๒๔๙๘                  
  • ๗. พ.ท.พัฒน์   ศรีกังวาลย์                            พ.ศ.๒๔๙๘ – ๒๕๐๐                  
  • ๘. พ.ท.วัฒน์   กัจฉปานันท์                           พ.ศ.๒๕๐๐ – ๒๕๐๒                  
  • ๙. พ.ท.ไพบูลย์   ศิริสัมพัมธ์                          มิ.ย.- ก.ค. พ.ศ.๒๕๐๒                  
  • ๑๐. พ.ท.ประทิน   ทองทาบ                          พ.ศ.๒๕๐๒ – ๒๕๐๖                  
  • ๑๑. พ.ท.ประทีป   ศิลาลาย                           พ.ศ.๒๕๐๗ – ๒๕๑๓                  
  • ๑๒. พ.ท.จำลอง   พรรคเจริญ                        พ.ศ.๒๕๑๓ – ๒๕๑๙                  
  • ๑๓. พ.ท.ศิวะวงศ์   เทศนธรรม                       พ.ศ.๒๕๑๙ – ๒๕๒๕                  
  • ๑๔. พ.ท.นิพนธ์   ธีระพงษ์                            พ.ศ.๒๕๒๕ – ๒๕๓๒                  
  • ๑๕. พ.ท.ชะเลียง   รุ่นเจริญ                           พ.ศ.๒๕๓๒ – ๒๕๓๔                  
  • ๑๖. พ.ท.สมเดช   พรหมรุ่งเรือง                     พ.ศ.๒๕๓๔ – ๒๕๓๗                  
  • ๑๗. พ.ท.ศิริวิทย์   เจริญวงษ์                          พ.ศ.๒๕๓๗ – ๒๕๔๒                  
  • ๑๘. พ.ท.มณฑล   ปราการสมุทร                    พ.ศ.๒๕๔๒ – ๒๕๔๔                  
  • ๑๙. พ.ท.วัชรพล   คันธา                              พ.ศ.๒๕๔๔ – ๒๕๔๗                  
  • ๒๐. พ.ท.เชษฐา   ทานกระโทก                     พ.ศ.๒๕๔๗ – ๒๕๕๒                  
  • ๒๑. พ.ท.ยุทธศิลป์  ผาสุกมูล                         พ.ศ.๒๕๕๒ – ๒๕๕๘                  
  • ๒๒. พ.ท.ญาณพล  บุบผามาลา                     พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๒                  
  • ๒๓. พ.ท.สนิท  หอมหวน                              พ.ศ.๒๕๖๒ – ๒๕๖๓                   
  • ๒๔. พ.ท.ธนาพัฒน์ ธุระพันธ์                          พ.ศ.๒๕๖๓ – ปัจจุบัน

ทำให้ข้อความเป็น ตัวเส้นหนา หรือ ตัวเอน ได้เมื่อต้องการ

  1. รายการเลขนำ 1
  2. รายการเลขนำ 2

ส่วนอ้างอิง

แก้
  1. Jones, Bob (7 April 2020). "Sample headline". The Sample Times. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2020.

ส่วนแหล่งข้อมูลอื่น

แก้

แหล่งข้อมูลเว็บไซต์ตัวอย่าง


กลับหน้าสอนการใช้งาน