จิรายุทธ รุ่งศรีทอง


ครม. ประทับตรา 3G-HSPA สัยญากสท.- ทรูมูฟไม่ผิด สรุปรัฐได้ประโยชน์เพิ่ม อดีต CEO และบอร์ด ของกสท. พ้นมลทิล

	สัญญาที่ทำไว้ตั้งแต่สมัยนาย "จิรายุทธ รุ่งศรีทอง" อดีต CEO ของกสท. ตามแผนพลิกฟื้นสถานะ กสทช . 2556-2560  ด้วยการทำ 3 จี รูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี HSPA บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)  ที่เคยเป็นเรื่องอื้อฉาว เพราะถูกชี้มูลความผิดว่าเป็นการฮั๋วกับกลุ่มทรู เนื่องจากการตั้งวงเงินเช่าโคงข่ายจากกลุ่มทรู คอเปอร์เรชั่น  14 ปี ( 2554 -2568) สูงกว่า 2 แสนล้านบาท (201,503 ล้านบาท) อันเป็นการผิด พรบ. ร่วมทุน กสทช. มาตรา 46  ด้วยแรงกดดันในขณะนั้น ส่งผลให้อดีต CEO กสท. นายจิรายุทธ รุ่งศรีทองต้องแสดงสปีริตด้วยการลาออก
	แต่ในเดือนมิถุนายน 2556 นี้ผลสอบสวนสัญญาเจ้าปัญหานี้ผลิกกลับ โดยะมีบทสรุปในท้ายที่สุดว่า ไม่ผิดกฎหมาย  เนื่องจากข้อกำหนดในสัญญายังกำหนดให้ กสท ได้รับค่าบริการและค่าตอบแทนในอัตราที่แน่นอนตายตัว โดยไม่มีการแบ่งปันรายได้ กำไร หรือผลประโยชน์ใดๆ หรือร่วมรับผลกำไรหรือขาดทุนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม รวมทั้งมิได้กำหนดให้กลุ่มบริษัท ทรู รับสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ฉะนั้นจึงไม่มีลักษณะเป็นการร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ
      
      และเมื่อการแก้ไขสัญญาเป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรา 46 ของ พ.ร.บ.กสทช. โดยในข้อสัญญาได้กำหนดให้ กสท เป็นผู้ดูแลควบคุมเครื่องอุปกรณ์ เสาโทรคมนาคม และระบบสื่อสัญญาณ (Transmission) ที่เช่า และบริหารจัดการคลื่นความถี่ รวมทั้งกำหนดเทคโนโลยี การดูแลควบคุมการบริหารจัดการ Configuration รวมทั้งดูแลคุณภาพการให้บริการเองทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ คณะกรรมการกฤษฎีกาฯ จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว โดยก่อนหน้านี้  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)  เคยแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบ เรื่องนี้ โดยระบุว่า สัญญามีพิรุธใน 5 ประเด็น รวมทั้งประเด็นที่ว่า สัญญาดังกล่วต้องเข้าพรบ.ร่วมทุนฯหรือไม่ ซึ่งหากเข้าข่ายอาจทำให้บริการ3G HSPA ทั้ง กสท และ ทรู อาจสะดุดลง จนล่าสุดคณะกรรมการกฤษฎีกาฯ ได้สรุปผลการตีความออกมาว่าไม่เข้าข่าย

แค่ให้บริษัท กสท โทรคมนาคมไปดำเนินการเจรจาแก้ไขสัญญากับบริษัทเอกชนให้ถูกต้องตามมติของคณะกรรมการโทรคมนาคม (กทค.) ใน กสทช.เท่านั้น

ล่าสุด เมื่อ 9 ตุลาคม ครม มีมติให้ใช้ระบบ 3G  HSPA  และยกเลิก CDMA และ

ตามสัญญาเดิมของนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีต CEO ที่ถุกชี้มูลความผิดทำไว้ และนอกจากนั้นยังเชื่อว่าการลงทุน และการทำสัญญา3Gครั้งนี้ จะทำให้กสท มีรายได้จากการทำสัญญาดังกล่าวปีละ 25,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้กสท มีฐานะการเงินที่ดีขึ้น แม้จะไม่มีรายได้จากสัญญาสัมปทานอีกต่อไป อันเป็นการทำให้รัฐได้ผลประโยชน์ที่มากขึ้นนั่นเอง