ผู้ใช้:Neworderp/ปาโมชช์ ถาวรฉันท์

พลเอก ปาโมชช์ ถาวรฉันท์ (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2552) อดีตเสนาธิการทหารบก อดีตเสนาธิการทหาร อดีตวุฒิสมาชิก และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พลเอก ปาโมชช์ ถาวรฉันท์ รับตำแหน่งราชการพิเศษอื่นๆ ที่สำคัญเช่น ราชองครักษ์พิเศษ, นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์, กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์, กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์, กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์, และกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์

ประวัติ

แก้

พลเอก ปาโมชช์ ถาวรฉันท์ เกิดที่ตำบล ท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรชายคนโตจากจำนวน 5 คน ของนายฉันท์ และนางเยื้อน ถาวรฉันท์ สำเร็จการศึกษาระดับประถมจาก โรงเรียนวัดสระเกศ ใน พ.ศ. 2479 ระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนอำนวยศิลป์ ใน พ.ศ. 2482 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารบก ใน พ.ศ. 2484 และสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก รุ่นที่ 3 ใน พ.ศ. 2487 ได้รับการศึกษาต่างประเทศหลายแห่งเช่น หลักสูตรการปฎิบัติการปราบปรามกบฏศึก ณ ฟอร์ท แบลก สหรัฐอเมริกา และหลักสูตรนายทหารข่าวชั้นสูง ฟอร์ดโฮลาเบิร์ด สหรัฐอเมริกา

พลเอก ปาโมชช์ฯ ได้เข้ารบในสงครามเกาหลีภายใต้ร่มธงสหประชาชาติ และปฎิบัติการสู้รบกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ต่อมาได้รับพระบรมราชโองการเป็น ผู้ช่วยทูตทหารบกประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ใน พ.ศ. 2511 รองแม่ทัพภาคที่ 3 ใน พ.ศ. 2520 เสนาธิการทหารบก ใน พ.ศ. 2524 และตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษีนณอายุราชการเป็น เสนาธิการทหาร ใน พ.ศ.2526

ตำแหน่งงานอื่นๆ

แก้

พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2532 นายกสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2527 วุฒิสมาชิก

พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2526 กรรมการธนาคารทหารไทย

พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2527 กรรมการสภาทหารผ่านศึก ประเภทประจำการ

พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2538 ที่ปรึกษาบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์

พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2529 กรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2530 ประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2531 กรรมการบริษัทน้ำตาลวังขนาย

พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2533 กรรมการสภาทหารผ่านศึก ประเภทนอกประจำการ


เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พ.ศ. 2527 เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า

พ.ศ. 2526 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก

พ.ศ. 2524 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ

เหรียญเกียรติยศ และเครื่องหมายแสดงความสามารถต่างๆ เช่น เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1, เหรียญราชการชายแดน, เหรียญชัยสมรภูมิ (เกาหลี), เครื่องอิสริยาภรณ์ ชุงมู ประดับดาวเงิน มอบโดบรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีใต้, และ เหรียญกล้าหาญชั้นที่ 1 (กิตติมศักดิ์) มอบโดยกองทัพบกมาเลเซีย

อ้างอิง

แก้
  1. ฝ่ายข่าว ททบ.5 http://www1.tv5.co.th/newss/searchtape3.php?transid=113437
  1. ข่าวช่อง 7 http://www.ch7.com/news/news_royal_detail.aspx?c=1&p=1&d=35564