ผู้ใช้:NewGenICDI/ทดลองเขียน

เสรินทร์ จิรคุปต์

ประวัติ:

ไฟล์:เสรินทร์ จิรคุปต์.png

นายเสรินทร์ จิรคุปต์ เกิด ณ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ บิดาชื่อ นายไต้เลี้ยง แซ่จิว มารดาชื่อ นางบุญชุม แซ่จิว เป็นบุตรคนที่ ๗ ในจำนวนพี่น้อง ๗ คน ได้แก่ ๑. นางจินดา เจนวัฒน์ ๒. นายซันไลท์ สมนาวรรณ ๓. นายเรวัตร แซ่จิว

ที่อยู่:

บ้านเลขที่ ๒๕ ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติการทำงาน:

พ.ศ.๒๕๑๓ – ๒๕๔๖ ครูสอนวิชาสังคมศึกษา โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ วิทยาลัย แผนกมัธยมศึกษา

พ.ศ.๒๕๔๖ – ปัจจุบัน ภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

ผลงาน:

     ผลงานของนายเสรินทร์ จิรคุปต์ เกิดจากแรงบันดาลใจในวิชาชีพครู ต้องเป็นผู้ที่อุทิศตน ฝึกฝนการเรียนรู้หลากหลายสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและรู้จักการสร้างสรรค์ผลงานหรือสื่อ รวมทั้งวิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ชุมชน สังคม ขยายเครือข่ายสู่สถาบันอื่น ๆ ซึ่งความรู้ที่จะนำมาสร้างผลงานเผยแพร่และถ่ายทอดที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน

     นายเสรินทร์รักในวิชาชีพครูและมีความตั้งใจเป็นครูตั้งแต่เด็ก เพราะมีบรมครูหมวก ไชยลังการณ์ เป็นครูในอุดมคติ ที่อบรมให้นายเสรินทร์มีน้ำใจและคุณธรรม สั่งสอนให้มีความรู้หลากหลายวิชาที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตในอนาคต เมื่อเข้าสู่คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นายเสรินทร์ ได้พบกับอาจารย์นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ ปราชญ์ชาวบ้าน และเป็นผู้จุดประกายให้นายเสรินทร์ สนใจในประวัติศาสตร์ และการวิพากษ์ประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ปัจจุบัน

     ในฐานะครูสอนวิชาประวัติศาสตร์ ทำให้นายเสรินทร์ จิรคุปต์ มีความตระหนักถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเหตุการณ์สำคัญที่มีส่วนสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของมนุษย์ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นองค์ความรู้ที่มนุษย์จะมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น สามารถอยุ่ร่วมกันได้อย่างสงบและมีความสุข

     นายเสรินทร์ จิรคุปต์ เป็นผู้ที่รักการเรียนรู้ ค้นคว้า และเขียนเรื่องราวประวัติศาสตร์ชุมชนในท้องถิ่นเมืองเชียงใหม่และเรื่องราวในอดีตของบุคคลสำคัญต่อประวัติศาสตร์เมือง และได้เขียนผลงานทางด้านประวัติศาสตร์ให้ความรู้แก่เยาวชนและชุมชนในท้องถิ่น จึงได้ดำเนินการในโครงการพัฒนาการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นหนังสือชุดล้านนาศึกษา ประกอบด้วย

ล้านนาศึกษา ๑ อาณาจักรล้านนา

ล้านนาศึกษา ๒ เงินตราล้านนา

ล้านนาศึกษา ๓ ประวัติโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

ล้านนาศึกษา ๔ บทบาทมิชชันนารีในนครเชียงใหม่

ล้านนาศึกษา ๕ ชุมชนสองฝั่งแม่น้ำปิงในรอบศตวรรษ

ล้านนาศึกษา ๖ ๘๐ ชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่

การเผยแพร่ผลงาน:

พ.ศ.๒๕๒๙ - เป็นสารนียกรสาร ส.น.ป.สารสมาคมนักเรียนเก่าปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ปีพ.ศ.๒๕๒๙

             - เป็นประธานกรรมการจัดทำหนังสือ ๘๐ ปี The Prince Royal’s College ปี ๑๙๐๖ – ๑๙๘๖/๒๔๔๘ – ๒๕๒๙ เพื่อรวบรวมประวัติศาสตร์โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ให้สมบูรณ์และเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสด็จฯ วางศิลาฤกษ์อาคารเรียน

พ.ศ.๒๕๓๐ - ประธานกรรมการจัดทำหนังสือที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารเพชรรัตน – สุวันนาเขียนบทความเรื่อง แนวคิดทิศทางสังคมไทยในอนาคต ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้ประกอบการเรียนภาควิชาปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

             - เขียนบทความเรื่อง การศึกษาและความเข้าใจประวัติศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

พ.ศ.๒๕๓๕ - ประธานการจัดทำหนังสือเปิดหอสมุดมาลามาศ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน แด่บรมครูหมอก ไชยลังการณ์

พ.ศ.๒๕๓๗ ร่วมเขียนสารานุกรมวัฒนธรรมไทยเรื่อง พระเครื่องเหมืองเหนือ ในปี พ.ศ.๒๕๓๗ – ๒๕๓๙

พ.ศ.๒๕๔๐ - เขียนเรื่อง มหกรรมรำโคมในนครเชียงใหม่

             - เป็นกรรมการเขียนบทความวิเคราะห์ข่าว “เหตุบ้าน การเมือง” ในหนังสือจุลสารมัธยมปลาย

พ.ศ.๒๕๔๑ - เขียนเครื่องคริสต์ศาสนาในประเทศไทย

พ.ศ.๒๕๔๓ - เขียนเรื่อง พันธกิจด้านการแพทย์ คอลัมน์ตำนานมิชชันนารี

พ.ศ.๒๕๔๔ - เขียนเรื่องบทบาทมิชชันนารีในเชียงใหม่ คอลัมน์ตำนานมิชชันนารี เขียนประวัติโรงเรียนชายวังสิงห์คำ สู่โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

พ.ศ.๒๕๔๖ - เขียนประวัติคริสตจักรที่ ๑ เชียงใหม่

พ.ศ.๒๕๔๗ - เป็นผู้รวบรวมและเขียนประวัติอาจารย์หมวก ไชยลังการณ์ ศจ.บุญมี รุ่งเรืองวงค์ และเจ้าแสงบุญ จันตา คำอ้าย อินทราวุฒิ

             - เขียนหนังสือเรื่องราวจาวกาด ลงในหนังสือเล่าเรื่องจาวกาด เล่ม ๑ – ๗ พ.ศ.๒๕๔๗ – ๒๕๕๔ ประกอบด้วย

เล่ม ๑ ประวัติกาดต้นลำไยในรอบศตวรรษ

เล่ม ๒ เล่าตำนานกาดบนฝั่งแม่น้ำปิงในรอบศตวรรษ

เล่ม ๓ บ้านเกาจาวกาดรอบหน้ากาดต้อนลำไย

เล่ม ๔ โอสถศาลา โฮงยาจาวกาด

เล่ม ๕ ของกิ๋นถูกปากจาวกาดลำไย

เล่ม ๖ สังคม เศรษฐกิจ จาวกาดในรอบศตวรรษ

เล่ม ๗ ตลาดวโรรส ในรอบศตวรรษ

พ.ศ.๒๕๕๑ - เขียนหนังสือบรรพชนสายสกุล “ณ  ลำพูน”

             - รวบรวมข้อมูลข้อมูลจัดทำหนังสือเงินตราล้านนา  เชียงใหม่ในอดีต

พ.ศ.๒๕๕๒ - เขียนหนังสือประวัติเอดา พิงเคอร์ตัน คอลลินส์ แม่ครูโรงเรียนชาย วังสิงห์คำ

พ.ศ.๒๕๕๓ - ได้รับทุนเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา “ตามรอยพ่อครูวิลเลียม แฮรีส จากปรินส์รอยแยลส์ฯ สู่ปรินส์ตัน” เพื่อค้นหาข้อมูลประวัติ พ่อครูแฮรีส และเยี่ยมเยือนอดีตมิชชันนารีอาวุโส และนักเรียนเก่าปรินส์รอยแยลส์ฯ ที่ลอสแองเจลิส

พ.ศ.๒๕๕๔ - เป็นบรรณาธิการจัดทำหนังสือ “ฉันพร้อมที่จะเดินฝ่ากำแพงหิน” บันทึกประวัติ ศจ.วิลเลียม แฮรีส ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร๑๐๐ ปี สถาบันแฮรีส

            - เขียนงานวิจัยเรื่อง พันธกิจแห่งศรัทธาและความภักดีต่อแผ่นดิน ของมิชชันนารี ดร.วิลเลียม แฮรีส เพื่อถ่ายทอดผลงานของท่าน และใช้บูรณาการเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ประกอบด้วย

บริบทที่ ๑ บทบาทด้านการวางรากฐานการศึกษา

บริบทที่ ๒ บทบาทด้านการพัฒนาโรงเรียน

บริบทที่ ๓ บทบาทด้านสาธารณสุขในนครเชียงใหม่

บริบทที่ ๔ บทบาทด้านการทูต

บริบทที่ ๕ บทบาทด้านการวางรากฐานคริสต์ศาสนา

บริบทที่ ๖ บทบาทด้านการพัฒนาอุปนิสัยศึกษา

พ.ศ.๒๕๕๕ - เขียนหนังสือ “บรรพชนตระกูลจิว” ซึ่งเป็นตระกูลหนึ่งของบรรพชนจาวกาด

เขียนอัตชีวประวัติ“บริบทชีวิต ซันไลท์ สมนาวรรณ ตะวันที่เคยส่องฟ้า”

เขียนสารคดีเรื่อง ตามรอยพ่อครูแฮรีส สู่คณะศาสนศาสตร์

มหาวิทยาลัยปรินส์ตัน สืบสานพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ องค์อุปถัมภ์โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

     โดยเผยแพร่สู่กลุ่มเป้าหมายด้วยการผลิตสื่อ เอกสาร ตำรา เข้าร่วมอบรม และเสวนาฯ ให้กับ

๑. คณะครูกลุ่มสาระสังคมและนักเรียนในสถานศึกษาต่างๆ ที่ต้องการเปิดวิชาประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นศึกษา

๒. ชุมชนต่างๆ ทั้งในและนอกเขตเทศบาลที่มีความสนใจในประวัติชุมชน

๓. ขยายเครือข่ายสู่สถานศึกษาระดับโรงเรียนทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล

๔. เป็นวิทยากรฝึกอบรมหรือกิจกรรมท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ทั้งทางบกและทางน้ำ แก่นักเรียนมัธยมปลาย พบปะสังสรรค์ผู้นำชุมชนสองฝั่งแม่น้ำปิง

๕. จัดทำเอกสารแผ่นพับ หนังสือ ตำรา หรือเขียนบทความ สกูปท์ข่าวให้สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เผยแพร่สู่สาธารณชน

     ในการถ่ายทอดคามรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสู่สาธารณะ นายเสรินทร์ จิรคุปต์ ได้ใช้วิธีการหลากหลาย อาทิ การเข้าร่วมอบรมเสวนา เขียนบทความ บันทึกเรื่องราว เขียนสารคดี ร่วมงานกับชุมชนสัมพันธ์ เพราะการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นตำรา หนังสือ อาจจัดเป็นกิจกรรมนำผู้เรียนท่องเที่ยวด้วยการเดินหรือล่องเรือ โดยมีครูเป็นผู้บรรยายประวัติสถานที่สำคัญให้เหล่ามัคคุเทศก์น้อยได้รับฟังเรื่องราวในอดีต และชมสถานที่จริงในประวัติศาสตร์

รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ:

พ.ศ.๒๕๓๐ เกียรติบัตรอาสาพิทักษ์วัฒนธรรม จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

คุณธรรม/จริยธรรมในการดำรงชีวิต:

ชีวิตปัจจุบัน:

     การดำเนินชีวิตปัจจุบันของนายเสรินทร์ จิรคุปต์ ยังความคงเป็นครูพิเศษ หลังเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ.๒๕๔๖ โดยได้รับมอบหมายจากอาจารย์พงษ์ ตนานนท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เป็นภัณฑารักษ์ เพื่อพัฒนาพิพิธภัณฑ์โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

     นอกจากนี้ นายเสรินทร์ จิรคุปต์ มีโครงการที่จะเผยแพร่และถ่ายทอดประวัติศาสตร์ท้องถิ่นออกสู่สาธารณะชน อาทิ โครงการจัดทำ Chronological Event of History หรือ Period of Time ของอาณาจักรล้านนา สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ สร้างห้องสมุดชุมชน ณ บ้านเสรินทร์ จิรคุปต์ เพื่อให้บริการเด็กๆ ได้เรียนรู้และฝึกฝนรักการอ่านหนังสือ