สมดุลเคมี (Chemical equilibrium) แก้


ที่สภาวะสมดุลของปฏิกิริยาเคมีสมบัติของระบบจะคงที่ แต่จะมีปฏิกิริยาที่ดำเนินไปข้างหน้าและปฏิกิริยาที่เกิดย้อนกลับเกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งมีทั้งสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์อยู่ภายในระบบนั้น การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น ความดัน และอุณหภูมิ จะทำให้สมดุลของระบบเปลี่ยนระบบจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลใหม่ อธิบายได้ตามหลักเลอซาเตอลิเยร์

1. บทนำ แก้


ปฏิกิริยาเคมีเป็นการเปลี่ยนไป ของสารตั้งต้นเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ปฏิกิริยาการระเหยกลายเป็นไอ (vaporization) ของน้ำ การระเหิด (sublimation) ของแนพธาลีน ซึ่งทั้งสองปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ (complete reaction) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดในทิศทางเดียวกัน แต่บางปฏิกิริยาอาจพบว่ามีทั้งปฏิกิริยาที่เกิดไปข้างหน้าและปฏิกิริยาที่ย้อนกลับ เรียกปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนี้ว่า ปฏิกิริยาผันกลับได้ (reverse reaction) เช่น การสลายตัวของแก๊สไดไนโตรเจนเทธอกไซต์ (N2O4) ซึ่งไม่มีสี กลายเป็นแก๊สไนโตรเจน (NO2) ที่มีสีน้ำตาลแดง
ภาพที่1
การสลายตัวของ N2O4 กลายเป็น NO2 ที่ 21.2 º C N2O4(g) ↔ NO2 ที่ 21.2 º C ไม่มีสี สีน้ำตาลแดง [1]
จากรูป พบว่า 21.2 º C N2O4 จะมีการสลายตัวให้ NO2 เกิดขึ้นโดยที่ปฏิกิริยาเคมีสามารถเกิดการย้อนกลับหรือผันกลับได้ ทำให้ทิศทางของปฏิกิริยาดำเนินจากด้านขวาไปด้านซ้าย การเขียนสมการเคมีเพื่อแสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยาผันกลับได้ นิยมใช้ลูกศร↔ หรืออาจพบในสัญลักษณ์ = หรือ ⟺ ก็ได้เช่นกัน ดังตัวอย่าง
2NO (g) ↔ N2 (g) + O2(g)
2SO3(g) = 2SO2(g) + O2(g)
FeO(s) + H2(g) ↔ Fe(s) + H2O( g)
2IBr(g) ↔ I2(g) + Br2(g)
Na(s) + Ag+(aq) = Na+(aq) +Ag(s)

2. นิยามของสมดุล แก้

ไฟล์:Http://www.sci.nu.ac.th/chemistry/elearning/E-Learning2/Chapters/Kinetics/Rate o3.gif
ภาพที่ 1


ที่สภาวะสมดุลนั้น ความเข้มข้นของสารที่เข้าทำปฏิกิริยา ไม่จำเป็นต้องเท่ากับความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น แต่อัตราเร็วของปฏิกิริยาจะเท่ากันและยังคงดำเนินต่อไป


[2]
สมดุลไดนามิกส์ เป็นระบบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารที่เกิดจากปฏิกิริยา
จากรูปที่ 1 จะสังเกตเห็นว่าความเข้มข้นของสารตั้งต้นจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงช่วงหนึ่งจะคงที่ ในทำนองเดียวกันสารผลิตภัณฑ์ จะมีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงช่วงเวลาหนึ่งจะคงที่ ช่วงเวลาที่ความเข้มข้นของสารมีค่าคงที่จะเรียกว่า ช่วงเวลาที่เกิดสมดุล (teq :equilibrium time) เป็นช่วงที่อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้ามีค่าเท่ากับอัตราการปฏิกิริยาย้อนกลับเป็นสภาวะไดนามิกส์ (diamic state) โดยที่อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า และปฏิกิริยาผันกลับมีค่าเท่ากัน ดังรูปที่ 2

ไฟล์:Http://3.bp.blogspot.com/-3mp dUvx1X8/TzEpUORAdxI/AAAAAAAABkA/ZPWcGNeodxY/s1600/f1.JPG
ภาพที่ 2

[3]
รูปที่ 2 การเปลี่ยนแปลงอัตราการเกิดปฏิกิริยากับเวลา
ปฏิกิริยาไปข้างหน้า N2O4 → 2NO2 Ratef = kf[N2O4]
ปฏิกิริยาผันกลับ 2NO2 → N2O4 Ratef = kf[NO2]
เมื่อ kf และ kf เป็นค่าคงที่อัตรา สำหรับปฏิกิริยาไปข้างหน้าและปฏิกิริยาย้อนกลับตามลำดับ
ที่สภาวะสมดุล
อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า= อัตราการเกิดปฏิกิริยาผันกลับ
kf[A] = kf[B]

  = คงที่


3. ค่าคงที่สมดุล (equilibrium constant) แก้


ในปี ค.ศ. 1864 คาโต แมกซิมิเลียน กูลด์เบิร์ก (Cato Maximilian Guldberg) และปีเตอร เวกก์ (Peter Waage) ได้ใช้กฎทรงมวล (law of mass action) ในการหาความสัมพันธ์ของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ที่สภาวะสมดุลและสรุปได้ว่า
กฎทรงมวล: อัตราเร็วของปฏิกิริยาระหว่างสารสองตัวหรือมากกว่าที่ทำปฏิกิริยากันจะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับผลคูณของความเข้มข้นของสารที่ทำปฏิกิริยากันและยกกำลังความเข้มข้นเป็นตัวเลขเท่ากับจำนวนโมเลกุลของสารนี้ในสมการที่ดุลแล้ว
ในปฏิกิริยาเคมีที่ผันกลับได้ทั่วๆไปต่อไปนี้

 

ค่าคงที่สมดุลไดนามิกส์ (K )ถูกนิยามขึ้น โดย สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (IUPAC )[4][5] ดังนี้

 

เมื่อ {A} คือ แอกทิวิตี (activity)ของสาร A, {B} คือ แอกทิวิตีของสาร B, ... ทั้งนี้ การแสดงความสัมพันธ์ข้างต้น เป็นการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงพลังงานอิสระกิ๊บส์ (Gibbs free energy) แต่ในทางปฏิบัติแล้ว เรานิยมใช้ความเข้มข้นของสาร อาทิ [A], [B], ... มากกว่าการใช้แอกทิวิตี และใช้ ผลหารความเข้มข้น (concentration quotient, Kc) มากกว่า K  ดังสมการ


 

เมื่อ Kc เท่ากับค่าคงที่สมดุลทางเทอร์โมไดนามิกส์ หารด้วย ผลหารสัมประสิทธิ์แอกทิวิตี (quotient of activity coefficients) เมื่อมีค่าเท่ากับ 1 จะได้ว่า Kc = K 


ในการหาค่าคงที่สมดุลเมื่อสร้างสารตั้งต้น และสารผลิตภัณฑ์อยู่ในสถานะแก๊ส เรามักเขียนสัญลักษณ์ [ ] แทนความเข้มข้นของสารนั้นๆ ที่สภาวะสมดุล ดังตัวอย่างที่แสดงไว้ แต่ถ้าสารบางตัวอยู่ในสถานะของแข็ง (s) หรือของเหลวบริสุทธิ์ เช่น H2O (l) เราจะไม่นิยมเขียนความเข้มข้นของสารชนิดนั้น เนื่องจากความเข้มข้นของของแข็ง หรือของเหลวบริสุทธิ์ ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของสารที่ทำให้ความเข้มข้นมีค่าคงที่ จัดเป็นสมดุลแบบผสม เช่น
C (s) + H2O (g) CO (g) + H2 (g)

 


# ณ วะสมดุลในระบบใดๆ ที่มีของแข็งเกี่ยวข้องอยู่ด้วยความเข้มข้นของของแข็งได้คิดรวมอยู่ในค่าคงที่สมดุล (K) แล้ว # มวลของของแข็งต่อ หนึ่งหน่วยปริมาตรมีค่าคงที่

4. ชนิดของสมดุล แก้


สมดุลเคมีของปฏิกิริยามี 2 ชนิด คือ

4.1 สมดุลเชิงเดี่ยว (homogeneous equilibrium) แก้

เป็นสมดุลเคมีที่ทั้งสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์มีเฟส (phase) เดียวกันึ่งส่วนใหญ่จะพบว่าสารนั้นทุกตัวเป็นแก๊ส ตังตัวอย่าง


2SO3 (g) 2SO2 (g) + O2 (g)

# ปฏิกิริยาเชิงเดี่ยว = ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นใน phase เดียวหรือที่มีสารที่เกี่ยวข้องในสถานะเดียวกัน ปฎิกิริยาแบบนี้ความเร็วของปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารที่เข้าทำปฏิกิริยากัน

4.2 สมดุลแบบผสม (heterogeneous equilibrium) แก้

เป็นสมดุลเคมีที่สารตั้งต้น และสารผลิตภัณฑ์ที่มีเฟสต่างกัน จึงทำให้จุดสมดุลสารต่างๆ มีหลายเฟส อาจพบของแข็งกับของเหลวหรือของแข็งกับแก๊ส หรือของแข็งกับสารละลาย เป็นต้น ดังตัวอย่าง


NaOH (s) + CO2 (g) NaHCO3 (s)
CaCl2 (s) + H2O (g) CaCl2H2O (s)
AgI (s) Ag+ (aq) + I- (aq)
# ปฏิกิริยาแบบผสม = ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นใน phase ที่มากกว่าหนึ่ง มีสารที่เกี่ยวข้องอยู่ในสถานะที่ต่างกัน ทำให้ปฏิกิริยาแบบนี้มักขึ้นอยู่กับพื้นผิวที่สัมผัสระหว่าง phase

5. ความสัมพันธ์ระหว่างความดันและความเข้มข้น แก้


สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในสถานะแก๊สค่าคงที่ที่สมดุลอาจอยู่ในเทอมของความดันย่อยขอแก๊สแต่ละตัวจึงทำให้ค่าคงที่สมดุลสามารถแสดงในเทอมของความดัน (Kb)
aA + bB pP + qQ

 


เมื่อ PA , PB , PQ เป็นความดันของแก๊ส A , B , P และ Q ตามลำดับ

จาก เรื่องแก๊สในอุดมคติ PV = nRT [6]
P = ความดัน
V = ปริมาณ
R = ค่าคงที่ของแก๊ส (0.0821 L-atm/mol-K)
T = อุณหภูมิ (K)
 
เมื่อ   = ความเข้มข้นของแก๊สใดๆ = [แก๊ส]
จากสมการ  : 

  ×  
  ×  

Kp = Kc (RT)n
n ก็คือผลต่างจำนวนโมลของสารผลิตภัณฑ์และสารตั้งต้น และที่ ∆n = 0 จะทำให้ Kp = Kc

6. ค่าคงที่สมดุลและทิศทางของปฏิกิริยา แก้


ค่าคงที่สมดุลเป็นค่าบ่งบอกความเข้มข้นของสารที่สภาวะสมดุล ถ้ามี Keq มีค่าสูงย่อยแสดงถึงความเข้มข้นหรือความดันย่อยของสารผลิตภัณฑ์ที่มีค่าสูงหรือมีความเข้มข้นของสารตั้งต้นมีค่าต่ำ และถ้าค่ามี Keq มีค่าต่ำจะแสดงความเข้มข้นหรือความดันย่อยของผลิตภัณฑ์ที่มีค่าต่ำด้วย หรือกล่าวว่าความเข้มข้นของสารตั้งต้นมีค่าสูง จึงทำให้ค่า Keq สามารถกำหนดทิศทางใดเป็นปฏิกิริยาข้างหน้าหรือปฏิกิริยาผันกลับได้
ขนาดของค่าคงที่สมดุล

ค่าคงที่สมดุลจะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละปฏิกิริยาและขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ
การทราบค่า K มีความสำคัญดังนี้

  • ที่สมดุลสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์มีปริมาณสัมพัทธ์เป็นเท่าใด
  • ทราบว่าปฏิกิริยามีผลได้ ( yield ) สูงหรือต่ำอย่างไร


ค่า K กับปริมาณสารตั้งต้นกับผลิตภัณฑ์

  • K = 1 แสดงว่าที่สภาวะสมดุล ความเข้มข้นของสารตั้งต้นมีค่าเท่ากับความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์
  • K << 1แสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยาเกิดผันกลับ จึงทำให้โอกาสพบสารตั้งต้นมีมากกว่าสารผลิตภัณฑ์ที่จุดสมดุล
  • K >> 1 แสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยาไปข้างหน้าได้มากกว่าปฏิกิริยาผันกลับ สารผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นมากกว่าสารตั้งต้นที่เหลืออยู่ในปฏิกิริยา[7]


7. ค่าคงที่สมดุลสมการเคมี แก้


ค่าคงที่สมดุลจะเป็นค่าที่มีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาที่ดุลแล้ว กล่าวคือ
N2 (g)+ O2 (g) ↔ 2NO(g)
สมการที่ดุลแล้ว  : 
ถ้าปรับเปลี่ยนสมการโดยใช้   คูณตลอด
 N2 (g)+   O2 (g) ↔ NO(g)

 

จะพบว่าค่าคงที่สมดุล K1 และ K2 จะมีค่าความสัมพันธ์กันเป็น
K1 = K22

8. แฟกเตอร์ที่มีผลต่อสมดุลเคมี แก้


หลักของเลอซาเตอลิเยร์ (Le Chatelier’s Principle)[8] ได้กล่าวถึงสภวะสมดุลต่างๆ ว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาวะใดๆ เป็นการรบกวนสภาวะสมดุลของระบบ ระบบจะมีการปรับสมดุลใหม่ไปในทิศทางที่จะลดการเปลี่ยนแปลงให้น้อยลง” ซึ่งกลักนี้จะสามารถทำนายทิศทางของปฏิกิริยาได้ โดยอธิบายการปรับตัวของระบบเมื่อสมดุลของระบบถูกรบกวนการเปลี่ยนปัจจัยหรือสภาวะใดๆ ทำให้มีผลต่อสภาวะสมดุลของระบบ เพื่อให้ระบบเข้าสู่สภาวะสมดุลอีกครั้งหนึ่ง

สิ่งที่รบกวนสมดุล

  • ความดันเพิ่ม/ลด
  • ปริมาตรเพิ่ม/ลด
  • ความเข้มข้นสูง/ต่ำ
  • อุณหภูมิสูง/ต่ำ
  • เพิ่ม/ลดสารตั้งต้น
  • เพิ่ม/ลดสารผลิตภัณฑ์


8.1 ความเข้นข้นของสาร แก้

การเพิ่มความเข้นข้นของสารตั้งต้นสารใดสารหนึ่ง จะทำให้ระบบปรับตัวโดยการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าเพิ่มขึ้น และระบบจะเข้าสู่สมดุลอีกครั้งหนึ่ง เช่น สมดุลระหว่างไอออน (III) ไนเตรท ; Fe (NO3)3 กับแอมโมเนียไทโอไซยาเนต ; NH4SCN
Fe3+ (aq) + SCN- (aq) ↔ [Fe SCN]2+ (aq) สีเหลือง + ไม่มีสี ↔ สีแดง
Fe3+ ใน Fe (NO3)3 เมื่อทำปฏิกิริยากับ SCN- ใน NH4SCN จะได้สารละลายสีแดงของ [FeSCN-] เมื่อความเข้มของสีคงที่ แสดงว่าในขณะนั้นระบบอยู่ในสภาวะสมดุล แต่เมื่อเติมสารตั้งต้น Fe3+ หรือ SCN- ตัวใดตัวหนึ่งลงไป จะพบว่าสารตั้งต้นดังกล่าว จะมีความเข้มข้นของสารนั้นในระบบเพิ่มขึ้น สามารถสังเกตเห็นสารละลายผสมมีสีแดงเข้มขึ้น แสดงให้เห็นว่าระบบมีการปรับตัวเกิดสารผลิตภัณฑ์ [FeSCN]2+ เพิ่มขึ้นและในที่สุดสีจะคงที่อีกครั้ง แสดงว่าระบบเข้าสู่สมดุลอีกครั้งหนึ่ง ในทางตรงกันข้มเมื่อความเข้มข้นของสารตั้งต้นลดลง ระบบจะปรับตัวโดยเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับมากขึ้น และสุดท้ายระบบจะเข้าสู่สมดุลอีก โดยทำให้สารผลิตภัณฑ์มีปริมาณน้อยกว่าที่สมดุลเดิม
จากสมการ ถ้ามีการเติมไดโซเดียมไฮโดรเจนฟอสเฟต (Na2HPO4) ลงไปในระบบที่สมดุล HPO4-2 จะทำปฏิกิริยากับ Fe3+ เกิดตะกอน FePO4 ซึ่งไม่ละลายน้ำ จึงทำให้พบว่าการเพิ่ม HPO42- จะเป็นการลดความเข้มข้นของสารตั้งต้น สารละลายจึงมีสีจางลง แสดงว่าเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้ Fe3+ และ SCN- เพิ่มขึ้น หรือการเติม H2 C2 O4 ลงไปในระบบที่สมดุล C2O42- จะเกิดเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถทำปฏิกิริยากับ Fe3+ เกิด Fe(C2O4)3- เป็นการกำจัด Fe3+ ออกจากระบบ ทำให้ระบบต้องพยายามเพิ่ม Fe3+ เพื่อให้เข้าสู่สมดุลอีกครั้งหนึ่ง [FeSCN]2+ จะพยายามให้ Fe3+ ออกมา ทิศทางของปฏิกิริยาจะเกิดการย้อนกลับได้ Fe3+ และ SCN- เพิ่มขึ้น ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสาร ไม่มีผลต่อค่าคงที่สมดุล (K) จะมีผลตำแหน่งของสภาวะสมดุล โดยทำให้ทิศทางของระบบเปลี่ยนไป

8.2 ความดันหรือปริมาตร แก้

การเปลี่ยนแปลงความดันจะมีผลต่อสภาวะสมดุลเมื่อระบบเป็นแก๊สเท่านั้น เมื่อเพิ่มความดันให้แก่แก๊สในระบบจะพบว่าระบบพยายามปรับตัวในทิศทางที่จะลดความดันลง เพื่อให้เข้าสู่สมดุลอีกครั้งหนึ่ง แต่ในทางกลับกันถ้าลดความดันของแก๊ในระบบที่อยู่ในสภาวะสมดุล จะทำให้ระบบปรับตัวไปในทิศทางที่จะเพิ่มความดันแล้วเข้าสู่สมดุลอีกครั้งหนึ่ง

  1. การเพิ่มความดันในระบบ – ระบบปรับตัวไปในทิศทางที่มีจำนวนโมลรวมของแก๊สน้อยกว่า
  2. การลดความดันในระบบ – ระบบปรับตัวไปในทิศทางที่มีจำนวนโมลรวมของแก๊สมากกว่า

หลักการพิจารณาทิศทางของสมดุลเคมีของแก๊สจะสามารถดูจากจำนวนโมลรวมของสารตั้งต้นกับจำนวนโมลรวมของสารผลิตภัณฑ์ได้ดังต่อไปนี้

จำนวนโมลรวมของสารตั้งต้นเท่ากับจำนวนโมลรวมของสารผลิตภัณฑ์

N2 (g) + O2 (g) ↔ 2NO(g)

1 + 1 ↔ 2
การเปลี่ยนแปลงความดันจะไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสมดุล จำนวนโมลรวมของสารตั้งต้นมากกว่าจำนวนโมลรวมของสารผลิตภัณฑ์

3F2 (g) + Cl2 (g) ↔ 2ClF3 (g)

3 + 1 ↔ 2
จากปฏิกิริยา Fe2 3โมเลกุลกับ Cl2 1โมเลกุล รวมเป็น 4 โมเลกุล ทำปฏิกิริยาให้ ClF3 2โมเลกุล ซึ่งปฏิกิริยาไปข้างหน้าจะเป็นการลดจำนวนโมเลกุลและลดปริมาณจะต้องเพิ่มความดัน ส่วนปฏิกิริยย้อนกลับเป็นการเพิ่มจำนวนโมเลกุลและเพิ่มปริมาตร จะต้องลดความดันแก่ระบบ การเพิ่มความดันจะทำให้ทิศทางของปฏิกิริยาดำเนินจากซ้ายไปขวา สารผลิตภัณฑ์ (ClF3) เกิดมากขึ้น การลดความดันจะทำให้ทิศทางของปฏิกิริยาเกิดย้อนกลับ เกิดสารตั้งต้น (F2 และ Cl2) มากขึ้น จำนวนโมลของแก๊สของสารตั้งต้นน้อยกว่าจำนวนโมลรวมของแก๊สที่เป็นสารผลิตภัณฑ์

PCl5 (g) ↔ PCl3 (g) + Cl2 (g)

1 ↔ 1 + 1

การเพิ่มความดันจะทำให้สมดุลไปทางซ้ายมือ (ย้อนกลับ) พบว่าความเข้มข้นของ PCl3 และ Cl2 จะลดลงและความเข้มข้นของ PCl5 จะเพิ่มขึ้น การลดความดันจะทำให้สมดุลไปทางขวามือ (ไปข้างหน้า) พบว่าความเข้มข้นของ PCl3 และ Cl2 จะมากขึ้น และความเข้มข้นของ PCl5 จะลดลง ผลของปริมาตรจะสามารถพิจารณาจากความดันได้ เพราะปริมาตรเพิ่มจะทำให้ความดันลดลงหรือถ้าปริมาตรลดจะทำให้ความดันเพิ่มขึ้น

  1. เพิ่มปริมาตร (ลดความดัน) จะทำให้สมดุลมีทิศทางไปด้านที่มีจำนวนโมลรวมของแก๊สมากกว่า
  2. ลดปริมาตร (เพิ่มความดัน) จะทำให้สมดุลมีทิศทงไปทางด้านที่มีจำนวนโมลรวมขงแก๊สน้อยกว่า

8.3 อุณหภูมิ แก้

ในปฏิกิริยาย้อนกลับ ซึ่งมีทั้งการดูดและคายความร้อน ถ้าปฏิกิริยาไปข้างหน้าเป็นปฏิกิริยาคายความร้อนจะทำให้ปฏิกิริยาย้อนกลับเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน ที่สมดุลความร้อนที่ปล่อยออกมาโดยปฏิกิริยาไปข้างหน้าจะถูกดูดกลืนโดยปฏิกิริยาย้อนกลับ ทำให้อุณหภูมิของระบบคงที่ โดยที่ไม่ให้มีการถ่ายเทความร้อนจากสิ่งแวดล้อมภายนอกระบบด้วย ถ้าเพิ่มอุณหภูมิให้แก่ระบบที่มีปฏิกิริยาไปข้างหน้าเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน ระบบจะปรับตัวทำให้เกิดปฏิกิริยำปข้างหน้ามากขึ้น เกิดสารผลิตภัณฑ์มากในขณะที่สารตั้งต้นลดลง

N2 (g) + O2 (g) ↔ 2NO(g)

  • หมายเหตุ → = ดูดความร้อน / ← = คายความร้อน

ปฏิกิริยาจะปข้างหน้า เพราะ ปฏิกิริยาการเกิด NO เป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน

การเพิ่มอุณหภูมิให้แก่ระบบซึ่งมีปฏิกิริยาข้างหน้า เป็นปฏิกิริยาคายความร้อนระบบจะพยายามปรับตัวโดยให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับเพิ่มขึ้น สารผลิตภัณฑ์แยกสลายเป็นสารตั้งต้นมากขึ้น

2NO2 (g) ↔ N2O4 (g)

  • หมายเหตุ → = ดูดความร้อน / ← = คายความร้อน

อุณหภูมิจะเกิด NO2 มากขึ้น ทำให้ปฏิกิริยาเกิดย้อนกลับ แสดงว่าการเกิด N2O4 เป็นปฏิกิริยาคายความร้อน ส่วนการลดอุณหภูมิ ให้พิจารณาด้วยเหตุผลที่คล้ายกับการเพิ่มอุณหภูมิ ปฏิกิริยาดูดหรือคายความร้อนพิจารณาได้จากค่าเอนทัลบีที่เกิดจากปฏิกิริยา

  1. เอนทัลบี ; ∆H>0 ในปฏิกิริยาดูดความร้อน (เอนทัลบี จะให้ค่าบวก)
  2. เอนทาลบี ; ∆H<0 ในปฏิกิริยาคายความร้อน (เอนทาลบี จะให้ค่าลบ)

9. การคำนวณค่าคงที่สมดุล แก้


  • C2H4(g)+H2(g) ↔ C2H6(g) ΔH6 = 146 kJ/mol C2H4

ปฏิกิริยาไปข้างหน้าเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน

  • 2CO(g)+O2(g) ↔ CO2(g)+พลังงาน

ปฏิกิริยาไปข้างหน้าเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน

  • I2(g) ↔ 2I(g) ΔH9 = 150 kJ/mol I2

ปฏิกิริยาไปข้างหน้าเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน

  • PCl5(g)+พลังงาน ↔ PCl3(g)+Cl2(g)

ปฏิกิริยาไปข้างหน้าเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน
ตัวอย่าง

  • 2H2O(g) ↔ 2H2(g)+O2(g) ΔH=484kJ

ปฎิกิริยาไปข้างหน้าเป็นปฎิกิริยาดูดความร้อน การลดอุณหภูมิจะทำให้ปฏิกิริยาเกิดย้อนกลับ สารผลิตภัณฑ์ (H2 และ O2) เกิดขึ้นน้อยมีสารตั้งต้น (H2O)มากขึ้น การลดความดันจากภายนอก จะทำให้สารผลิตภัณฑ์เกิดมากขึ้น เพราะจำนวนโมลรวมของสารผลิตภัณฑ์มากกว่าจำนวนโมลรวมของสารตั้งต้น

  • N2(g)+O2(g) ↔ 2NO ΔH=181kJ

ปฎิกิริยาไปข้างหน้าเป็นปฎิกิริยาดูดความร้อน การลดอุณหภูมิจะทำให้ปฏิกิริยาเกิดย้อนกลับ การลดความดันจากภายนอกจะไม่มีผลต่อสมดุล เพราะจำนวนโมลรวมของสารตั้งต้นเท่ากับจำนวนโมล รวมของสารผลิตภัณฑ์

  • N2(g)+3H2(g) ↔ 2NH3(g) ΔH=-92.2kJ

ปฎิกิริยาไปข้างหน้าเป็นปฎิกิริยาคายความร้อน การลดอุณหภูมิจะทำให้ปฏิกิริยาไปข้างหน้าเพิ่มขึ้น สารผลิตภัณฑ์มีมากขึ้น การลดความดันจะทำให้เกิดปฎิกิริยาย้อนกลับ มีสารตั้งต้นมากขึ้น (ดูจากจำนวนโมลรวมของแก๊ส)

  • 2O3(g) ↔ 3O2(g) ΔH=-285kJ

ปฎิกิริยาไปข้างหน้าเป็นปฎิกิริยาคายความร้อน การลดอุณหภูมิจะทำให้ปฏิกิริยาไปข้างหน้าเพิ่มขึ้น สารผลิตภัณฑ์มีมากขึ้น การลดความดันจะทำให้เกิดปฎิกิริยาไปข้างหน้า สารผลิตภัณฑ์มีมากขึ้น

  • H2(g)+F2(g) ↔ 2HF(g) ΔH=154kJ

ปฎิกิริยาไปข้างหน้าเป็นปฎิกิริยาคายความร้อนการลดอุณหภูมิจะทำให้ปฏิกิริยาเกิดย้อนกลับการลดความดันไม่มีผลต่อสมดุลเคมี

หลักของเลอซาเตอลิเยร์ได้ถูกนำไปประยุกต์ไว้ในทางอุตสาหกรรม มีหลักการว่าจะต้องพยายามหาวิธีการที่จะเปลี่ยนวัตถุดิบ เพื่อทำให้เกิดสารผลิตภัณฑ์มากที่สุด เช่น ในกระบวนการผลิตแก๊สแอมโมเนีย และแยกแก๊สแอมโมเนียออกมาโดยการอัดแก๊สผสมภายในความดันสูงแล้วลดอุณหภูมิ จะได้แอมโมเนียเป็นของเหลวในขณะที่แก๊สไนโตรเจนและแก๊สไฮโดรเจนยังคงเป็นแก๊สอยู่ดังสมการ
N2(g)+3H2(g) ↔ 2NH3(g)
หรือการเตรียมแก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ จากสมการ
SO2(g)+O2(g) ↔ SO3(g)
เพื่อให้ได้ SO3 ในปริมาณที่สูงก็ทำการลดอุณหภูมิของระบบและจากการที่มี SO3 จะทำให้ความดันของระบบลดลง ซึ่งถ้าเพิ่มความดันให้แก่ระบบจะทำให้ SO3 มากขึ้นด้วย คืออุณหภูมิประมาณ 450ºC ความดัน 330 บรรยากาศ มีวาเนเดียมเพนตะออกไซด์ (V2O5) หรือ แพลทินัมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

ผลของคะตาลิสต์ เมื่อเติมคะตาลิสต์ลงไปในปฏิกิริยา จะช่วยทำให้ปฏิกิริยาเกิดได้เร็วขึ้น หรือทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น ปฏิกิริยาจะดำเนินไปสู่สภาวะสมดุลได้เร็วขึ้น แต่คะตาลิสต์ไม่มีผลต่อค่าคงที่สมดุลแต่อย่างใด

การคำนวณค่าคงที่สมดุล ค่าคงที่สมดุลเป็นสัดส่วนความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์กับความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่สภาวะสมดุล การคำนวณหาค่า Keq จึงกำหนดให้เป็นความเข้มข้นที่จุดสมดุลเท่านั้น การคำนวณที่กำหนดความเข้มข้นที่จุดสมดุลมาให้ การหาค่า Keqใช้วิธีแทนค่าความเข้มข้นแล้วจะได้คำตอบที่ต้องการ
ตัวอย่าง แก๊ส N2,H2,และ NH3 อยู่ในสมดุลที่ภาชนะ 1ลิตร ดังสมการ

N2+3H2 ↔ 2NH3

ณ สภาวะสมดุลพบความเข้มข้นของ N2=0.300โมล H2 =0.200โมล และ NH3 =0.800โมล ให้คำนวณหาค่าคงที่สมดุล Ke
วิธีทำ
  ที่จุดสมดุล
[N2]= 0.300 โมล /ลิตร
[H2 ] =0.200โมล/ลิตร
[NH3] =0.800โมล/ลิตร
แทนค่า   = 267

การคำนวณที่กำหนดความเข้มข้นที่จุดเริ่มต้นมาให้ ตัวอย่างให้คำนวณค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยา A+2B ↔ 2C
ถ้าสมการ A1 โมลกับสาร B1.5 โมล ในภาชนะขนาด 2 ลิตร เมื่อถึงจุดสมดุลได้ความเข้มข้นของC เท่ากับ0.35 โมลต่อลิตร
วิธีทำ
จากปฏิกิริยา A + 2B ↔ 2C
เริ่มต้น(โมล/ลิตร) ½ + 1.5/2 ↔ 0
เปลี่ยนแปลง(โมล/ลิตร) -0.175 + -0.35 ↔ 0.35
สมดุล(โมล/ลิตร) 0.325 + 0.40 ↔ 0.35
 
แทนค่า  
จะได้ K=2.36
การคำนวณโดยใช้หลักคณิตศาสตร์เข้ามาช่วย
ตัวอย่างถ้าค่าคงที่สมดุลของแก๊สสลายตัวของ HY ให้ H2 และ Y เท่ากับ 4.0×10-5 และ HY 1 โมล บรรจุในภาชนะ 1 ลิตร เมื่อถึงสมดุลจะมีความเข้มข้นของ Y เท่าใด
วิธีทำ
ปฏิกิริยา 2HY ↔ H2 + 2Y
เริ่มต้น 1 ↔ 0 + 0
เปลี่ยนแปลง -2X ↔ X + 2X
สมดุล 1-2X ↔ X + 2X
 
แทนค่า 
จากสูตรการถอดกรณฑ์สอง (square root)
 

เมื่อจัดสมการให้อยู่ในรูป ax2+bx+c=0
พบว่าจะได้ x= 1.0×10-5
ดังนั้น ที่สมดุล [H2] = 1.0×10-5 โมลต่อลิตร
[Y] = 2×1.0×10-5 โมลต่อลิตร
และ [HY] = 1-2.0×10-5 โมลต่อลิตร

อ้างอิง แก้

  • อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน, สรณ์นิรนทร์ บังเกิดผล และอาทิตย์ สกุลตันติเมธา. (2555).เคมีทั่วไปสำหรับวิศวกร
  • (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพมหานคร:ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
  • อินทิรา หาญพงษ์พันธ์ และบัญชา พูลโภคา.(2549).เคมีทั่วไป
  • (พิมพ์ครั้งที่ 8).กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • เคมีวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1).(2542).กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  1. (ที่มา: Fine and Beall 1990:338)
  2. (ที่มา:http://www.sci.nu.ac.th/chemistry/elearning/E-Learning2/Chapters/Kinetics/Rate%20o3.gif)
  3. (ที่มา: http://3.bp.blogspot.com/-3mp_dUvx1X8/TzEpUORAdxI/AAAAAAAABkA/ZPWcGNeodxY/s1600/f1.JPG)
  4. F.J,C. Rossotti and H. Rossotti, The Determination of Stability Constants, McGraw-Hill, 1961. p. 5
  5. IUPAC Green Book, 3rd edition, p58 pdf
  6. http://www.chemistry.mut.ac.th/9-chemical%20equilibrium.ppt
  7. http://www.rtna.ac.th/departments/physics/chemistry2/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5.pptx
  8. http://wiroty.blogspot.com/2011/08/principle-of-le-chatelier.html