พระอริยานุวัตร เขมจารี กับค้นคว้าคัมภีร์ใบลาน ภาษาและวรรณคดีอีสาน

รวบรวมโดย ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ โครงการอนุรักษ์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เมื่อบริบททางสังคมและวัฒนธรรม เปลี่ยนไป ส่งผลให้การศึกษาอบรมสั่งสอนเปลี่ยนแปลงไปตามด้วย มีวิธีการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอันทันสมัยเข้ามาแทนที่ มีการพัฒนาอย่างเป็นพลวัต เป็นเหตุให้ชุดความรู้จากคัมภีร์ใบลานต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบไปจากกรรมวิธีการจารึกขีดเขียน (จาร) ลงในใบลานที่ต้องใช้เขม่าหม้อ น้ำมันยางลบเพื่อให้ซึมลงในรอยจารจนปรากฏเป็นตัวหนังสือนั้น ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเป็นการปริวรรตจากอักษรโบราณเป็นอักษรไทย แล้วพิมพ์วรรณกรรมเหล่านั้นลงในใบลาน ซึ่งมีความนิยมอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งและมีการพิมพ์ในรูปแบบของหนังสืออย่างปัจจุบันในระยะเวลาต่อมา จากการสร้างคัมภีร์ใบลานด้วยศรัทธาเพื่อวัตถุประสงค์อันหลากหลายที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องนั้น กลับกลายเป็นการทำบุญเพื่อหวังผลประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หาใช่เพื่อศรัทธาปสาทะหรือเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ดังเช่นเดิม แม้กระทั่งอักขระ ตัวอักษรโบราณยังถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบจากอดีตซึ่งใช้วิธีการจารลงในใบลาน นำมาสร้างเป็นอักขระในคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับการบันทึกในสมัยใหม่ อย่างไรก็ดี ยังมีผู้ที่เล็งเห็นคุณค่าของคัมภีร์ใบลานขึ้นมาอย่างจริงจัง เนื่องจากสามารถอ่านออกและรับรู้ถึงภูมิปัญญาของบรรพชนที่กำลังจะสูญสลายไปโดยจัดเก็บและรวบรวม อย่างเช่นพระอริยานุวัตร เขมจารี เจ้าอาวาสวัดมหาชัย ในช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ ท่านได้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูคัมภีร์ใบลาน กล่าวคือ ท่านได้เก็บรวบรวม นำมาชำระถอดแปลเป็นตัวอักษรปัจจุบัน พิมพ์เผยแพร่รวมถึงการเป็นอาจารย์พิเศษเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ท่านได้จากวรรณคดีอีสานจากคัมภีร์ใบลานให้กับนิสิตนักศึกษา ครู อาจารย์และผู้สนใจ การที่ปราชญ์ท้องถิ่นอย่างพระอริยานุวัตร ให้ความสนใจและใส่ใจในการอนุรักษ์ฟื้นฟูคัมภีร์ใบลาน ซึ่งขณะนั้นเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่มีการนำเอาองค์ความรู้ภายในคัมภีร์ใบลานออกมาถ่ายทอดในรูปแบบวิชาการ โดยได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจาก นักวิชาการ อาจารย์ ผู้สนใจ ของสถาบันต่าง ๆ ทำให้วัดมหาชัยเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตและเป็นสังคมของนักวิชาการท้องถิ่นที่มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสถาบันการศึกษาเหล่านั้นได้เล็งเห็นความ สำคัญของท่านและถวายรางวัลเกียรติคุณต่าง ๆ เช่น ได้รับถวายพระราชทานปริญญา “ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์” สาขาภาษาศาสตร์และวรรณคดีไทย จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พุทธศักราช 2532ได้รับถวายพระราชทาน โล่เกียรติคุณผู้สนับสนุนดีเด่นในการอนุรักษ์มรดกไทย จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ต่อมาในปีพุทธศักราช 2533 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ถวายรางวัลพระราชทาน “พระเกี้ยวทองคำ” พร้อมด้วยโล่เกียรติคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีอีกครั้งหนึ่ง เป็นต้น เกียรติคุณเหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งยืนยันคุณประโยชน์ที่ท่านมอบให้กับวงการวิชาการ กระทั่งเหล่าศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันจัดพิธีพิธีเถราภิเษก ฮดสรงขึ้น เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณแด่พระอริยานุวัตร รวมถึงการร่วมกันจัดพิธีศพแบบนกหัสดีลิงค์ขึ้น ซึ่งเป็นการเผาศพตามประเพณีโบราณแสดงให้เห็นถึงการเทิดทูนพระเถระผู้มีความเป็นเลิศทางด้านการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานได้เป็นอย่างดี หลังจากพระอริยานุวัตร เขมจารี ได้มรณภาพลง ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2534 ส่งผลให้การอนุรักษ์ฟื้นฟูจากที่เคยดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องนั้นต้องหยุดชะงักลง ทั้งพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมท้องถิ่นวัดมหาชัย ศูนย์อนุรักษ์วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนผลงานต่าง ๆ ที่ท่านได้เพียรพยายามปริวรรตถอดแปล เป็นต้น แม้จะมีผู้สนใจศึกษาองค์ความรู้ในเวลาต่อมาก็ต้องประสบอุปสรรคข้อขัดข้องหลายประการ จากปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงคัมภีร์ใบลานบางส่วนได้เกิดชำรุดเสียหาย เนื่องจากขาดบุคลากรเอาใจใส่อย่างจริงจัง ขาดการดูแลทำความสะอาด ทำให้เกิดความชื้นหรือไม่ก็โดนสัตว์กัดแทะ เสื่อมสลายไปเป็นจำนวนมาก

1. ประวัติพระอริยานุวัตร

               สถานะเดิมชื่อ อารีย์   นามสกุล  โยธิมาตย์   เกิดวันที่  24  กันยายน  2458  เวลา  16.00  น.   บิดาชื่อ นายหัด  โยธิมาตย์   มารดาชื่อ นางตู้  โยธิมาตย์  อยู่คุ้มดอนบม  หมู่ที่  5  เลขที่  10  ตำบลหนองแสง  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม

2. บรรพชาและอุปสมบท บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2471 ณ วัดโสมนัสประดิษฐ์ ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

    อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่  19  พฤษภาคม  2478  ณ  พัทธสีมาวัดโสมนัสประดิษฐ์ ตำบลหนองแสง  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม โดยมี
    พระครูวาปีคณานุรักษ์ (พิน) วัดโสมนัสประดิษฐ์  เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระใบฎีกาชุย  วัดสุวรรณพัตร์  เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระสมุห์เสาร์  วัดสุวรรณพัตร์  เป็นพระอนุสาวนาจารย์


ไฟล์:ARIYA01 พระอริยานุวัตร ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2483 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 5 ประโยค สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตร พระนคร


3. การศึกษาและวิทยฐานะ

    พ.ศ. 2472  	สอบชั้นประถมปีที่ 3  ได้ในโรงเรียนประชาบาลประจำอำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม
    พ.ศ. 2474  สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี  วัดโสมนัสประดิษฐ์
    พ.ศ. 2476  สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท  วัดโสมนัสประดิษฐ์
    พ.ศ. 2478  สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก  สำนักเรียนวัดสามพระยา  พระนคร
    พ.ศ. 2479  สอบไล่ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค  สำนักเรียนวัดสามพระยา  พระนคร
    พ.ศ. 2481  สอบไล่ได้เปรียญธรรม 4 ประโยคสำนักเรียนวัดสามพระยา  พระนคร
    พ.ศ. 2483  สอบไล่ได้เปรียญธรรม 5 ประโยค  สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตร  พระนคร
    พ.ศ. 2490  ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร  พระราชทินนามว่า 
                 พระอริยานุวัตรได้เรียนรู้การอ่านตัวอักษรในใบลานมาตั้งแต่บวชเป็นสามเณร  เพราะไม่ได้เรียนในโรงเรียนประชาบาลขณะนั้น  จึงหันมาเรียนพระพุทธศาสนาที่วัดเพียงอย่างเดียว  โดยอ่านจากใบลานซึ่งมีอยู่ตามวัด  ซึ่งเก็บไว้เป็นมัด ๆ ประมาณ  10  ตู้   ได้เรียนตัวอักษรขอม  อักษรธรรม  (ไทยใหญ่)  อักษรลาว  (ไทยน้อย)  อักษรกาพย์  อักษรเจือง  อักษรสร้อย  เลขหางหมา ฯ  ทำให้มีความสามารถด้านการอ่านอักษรโบราณมาตั้งแต่นั้น
                    พ.ศ. 2507  เมื่อหมดภาระรับผิดชอบในหน้าที่รักษาการเจ้าคณะจังหวัดแล้ว  ได้ค้นคว้ารวบรวมใบลาน  สมุดข่อย  ศิลาจารึก  ใบเสมา  วัตถุโบราณต่างๆที่ทิ้งกระจัดกระจายอยู่ตามวัด ตามป่า  ท้องนาและขอบิณฑบาตมาไว้ที่วัดมหาชัย  ซึ่งได้มาบางส่วนและปริวรรตชำระข้อความในใบลานให้เป็นอักษรไทยปัจจุบัน   โดยเริ่มถอดสำนวน  เรื่อง  พระเจ้าสิบชาติ  (ทศชาติ)  เรื่องเตมีย์กุมาร จนถึงเรื่องพระเวสสันดร
                    พระอริยานุวัตร (อารีย์ เขมจารี) ได้พากเพียรศึกษาอักษร ภาษา และวรรณคดีท้องถิ่นอีสานจนเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์แขนงนี้อย่างไม่มีผู้ใดเทียมได้  เมื่อมีความรู้แล้ว ท่านมิได้เก็บความรู้ไว้เฉพาะตัว หากได้เพียรพยายามถ่ายทอดความรู้นั้นให้แก่ศิษย์ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปอย่างมิเห็นแก่เหน็ดเหนื่อย การที่ท่านได้รับการนิมนต์เป็นอาจารย์และวิทยากรผู้บรรยายวิชาภาษาถิ่น วรรณคดีอีสาน ประวัติศาสตร์อีสานและประเพณีอีสานในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ได้ช่วยให้วัฒนธรรม ประเพณี วรรณคดี และประวัติศาสตร์อีสานได้แพร่หลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ท่านได้รวบรวมเอกสารจาก     ใบลาน สมุดข่อย สมุดไทย ทั้งที่เขียนด้วยอักษรธรรม อักษรขอม และอักษรไทยน้อย มาปริวรรตเป็นอักษรไทยปัจจุบันแล้วจัดพิมพ์เผยแพร่ นับได้ว่า งานของพระอริยานุวัตร (อารีย์ เขมจารี)ได้ทำให้ภาษาและวรรณคดีท้องถิ่นของไทยสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน และควรจะคงอยู่ต่อไปจนถึงอนุชนรุ่นหลัง เป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติอีกทางหนึ่งด้วย
      พระอริยานุวัตร  (อารีย์ เขมจารี)  เป็นผู้ที่ได้อุทิศเวลา  อุทิศสติปัญญา ความสามารถเพื่อทำให้ภาษาและวรรณคดีท้องถิ่นอีสาน  ซึ่งเป็นสมบัติที่มีค่าส่วนหนึ่งของชาติไทย ให้ยืนยงมั่นคงแพร่หลาย  และจะได้สืบต่อมาจนถึงอนุชนรุ่นหลานอีกนานเท่านาน  นอกจากผลงานการปริวรรตวรรณคดีท้องถิ่นอีสานแล้ว  ท่านยังได้กระทำสิ่งที่มีคุณค่าต่อการศึกษาอีสานคดีไว้อย่างมาก  อาทิเช่น
ในปี พ.ศ. 2513 จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น

ที่วัดมหาชัย โดยรวบรวมหนังสือใบลานซึ่งอยู่ตามวัดต่างๆทั้งในจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าพระคัมภีร์ในทางพุทธศาสนา และวรรณกรรมท้องถิ่น ในปี พ.ศ.2525 ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นที่วัดมหาชัย โดยได้รวบรวมศิลปวัตถุและโบราณวัตถุของภาคอีสานทุกประเภทดังกล่าวมาแล้ว เพื่อให้สะดวกแก่การศึกษาวิจัยและทำให้ศิลปวัตถุเหล่านั้นคงอยู่ ไม่ปล่อยให้ถูกทอดทิ้ง แตกหักเสียหาย นอกจากวรรณคดีท้องถิ่นอีสานแล้ว พระอริยานุวัตร (อารีย์ เขมจารี) ยังได้ศึกษาและเผยแพร่วัฒนธรรมและประเพณีของชนชาวอีสาน ทั้งด้วยการบรรยายแก่นักศึกษา ณ สถาบันการศึกษา ต่าง ๆ และด้วยการเขียนเป็นบทความและตำราให้ผู้สนใจได้ศึกษาอีกด้วย งานสำคัญทางด้านภาษาอีกอย่างหนึ่งของพระอริยานุวัตร (อารีย์ เขมจารี) คือ เป็นที่ปรึกษาและร่วมทำพจนานุกรมภาษาท้องถิ่นอีสานและภาษาเหนือ นับได้ว่าพระอริยานุวัตร (อารีย์ เขมจารี) เป็นบุคคลสำคัญผู้เปิดประตูวัฒนธรรมอีสานให้กว้างขวางขึ้นและเผยแพร่ไปยังภาคต่าง ๆ

 4.  เกียรติคุณพิเศษที่ได้รับ
               ด้วยเกียรติคุณด้านภาษาและอักษรโบราณ  ประเพณี  วัฒนธรรมดังกล่าว  ทำให้หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ   ถวายเกียรติคุณต่าง ๆ  ดังนี้

พ.ศ. 2523 ได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาศาสตร์และวรรณคดีไทย จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม พ.ศ. 2524 ได้รับโล่เกียรติคุณในฐานะบุคคลดีเด่นในด้านวรรณกรรม ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ 17 จังหวัด จากกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2524 ได้รับเชิดชูเกียรติคุณ “นักปราชญ์อีสาน” โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2532 ได้รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2533 ได้รับพระราชทานพระเกี้ยวทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่น โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ไฟล์:ARIYA02 พระอริยานุวัตร รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ พ.ศ. 2523

5.การรวบรวมคัมภีร์ใบลาน

จากบัญชีสังเขปเอกสารใบลานวัดมหาชัย สำรวจวันที่ 11-12 พฤษภาคม 2522 สำรวจโดยเจ้าหน้าที่หอสมุด พบว่า มีคัมภีร์ใบลาน 574 รายการ จำนวน 4,355 ผูก โดยได้ทำการรวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ หรือมีผู้นำมาถวาย ซึ่งจะกล่าวถึงชื่อคัมภีร์ใบลาน สถานที่ วันเดือนปีที่ได้รวบรวมพอสังเขป ดังตาราง 1 ดังนี้

ตาราง 1 ตารางแสดงวันเดือนปี สถานที่ บุคคลถวายคัมภีร์ใบลานให้กับพระอริยานุวัตร

ลำดับที่ วัน เดือน ปี ชื่อคัมภีร์ใบลาน ชื่อสถานที่/บุคคล ที่ถวาย 1 2 กุมภาพันธ์ 2509 ลำเสียวสวาสดิ์ บ้านขอนแก่น ตำบลแกดำ จังหวัดมหาสารคาม 2 8 พฤศจิกายน 2513 มโหสถ บ้านเป้า อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 3 8 พฤศจิกายน 2513 หงส์หิน, อัฏฐปุละ บ้านเป้า ตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 4 29 มกราคม 2514 สังฮอมธาตุ, สุพรหมโมกขา,มูลนิพพาน,พื้นธาตุพนม,อุรังคธาตุ,สารากาวิชาสูตร, นิพพานสูตร, สุนันทราช, โควินทสูตร, วัดบ้านโพนสว่าง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 5 28 เมษายน 2514 ปฐมสมโพธิ,มูลกัจจายน์,โลกนยะ, วัดขามเปี้ย อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม 6 29 พฤษภาคม 2514 สิริมหามายา, มูลนิพพาน, อภิธรรม วัดบ้านโพนสว่าง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 7 27 เมษายน 2515 ลำไก่แก้ว วัดบ้านแกดำ ตำบลแกดำ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 8 8 พฤษภาคม 2515 อภิธรรม 7 คัมภีร์,ปราภวสูตร บ้านศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 9 18 ธันวาคม 2516 เมตไตยสูตร ปริสากุมาร ลำสุริยวงศ์ วัดเกษรเจริญผล ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 10 20 ธันวาคม 2516 ตำนานเป็งจาลนครราช, พญาคำกอง วัดน้อย บ้านมะค่า ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม พระน้อยถวายวัดมหาชัย

ตาราง 1 (ต่อ)

ลำดับที่ วัน เดือน ปี ชื่อคัมภีร์ใบลาน ชื่อสถานที่/บุคคล ที่ถวาย 11 28 ธันวาคม 2516 วินัยรวม, สูตรมนต์กลาง, สูตรมนต์น้อย, เทวทูตรสูตร, ศัพท์ปราชิกกัณฑ์, ฎีกาสนธิ, ฎีกามูลตันไตร, ปทุมมา วัดโพธิรังสี ตำบลหัวเรือ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พระอธิการอ้วยถวายวัดมหาชัย 12 6 กุมภาพันธ์ 2519 อภิธรรม 7 คัมภีร์ 7 ผูก อักษรธรรมอีสาน ฉบับเขียวทึบ ชนะสันทะ คำกลอน อักษรไทยน้อย ฉบับลานดิบ วัดบ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอ เมือง จังหวัดมหาสารคาม 13 13 พฤษภาคม 2521 รวมคัมภีร์ใบลาน 15 รายการ เช่น มูลนิพพาน, อาการวัตสูตร ลำวิสุทธิยา เป็นต้นแทนน้ำนมแม่ วัดงัวบา ตำบลวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 14 27 เมษายน 2522 บาลีมหาวรรค วัดบ้านแกดำ ตำบลแกดำ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 15 ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่รวบรวม จำปาสี่ต้น อักษรไทยน้อย บ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอ เมือง จังหวัดมหาสารคาม 16 ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่รวบรวม เวสสันดรชาดก (ขาดหิมพานต์ ชูชก มหาพน นครกัณฑ์), ลำมหาชาติ (ฉบับพลัดผูก) อักษรธรรม ฉบับรักทึบ วัดเปือยน้ำ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 17 ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่รวบรวม อภิธรรม อักษรธรรม ฉบับล่องรัก นายสร้อย บ้านนาพู ตำบลนาภู อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ถวายวัดมหาชัย 18 ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่รวบรวม ตักแตนโมคำ อักษรธรรม ฉบับรักทึบ สมบัติเดิมวัดบ้านเปลือย ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ตาราง 1 (ต่อ)

ลำดับที่ วัน เดือน ปี ชื่อคัมภีร์ใบลาน ชื่อสถานที่/บุคคล ที่ถวาย 19 ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่รวบรวม มูลกัจจายน์ อักษรธรรม ภาษาบาลี ฉบับล่องชาติ ของนายซุย มาอน บ้านดงน้อย ตำบลแวงน่าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 20 ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่รวบรวม ท้าวโสวัตร อักษรธรรม ฉบับล่องรัก ของวัดหนองโน ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 21 ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่รวบรวม อภิธรรม 7 คัมภีร์, แทนน้ำนมแม่ วัดบ้านหนองหว้า ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ถวายวัดมหาชัย 22 ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่รวบรวม อุรังคธาตุ วัดบ้านมะค่า ตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 23 ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่รวบรวม สังฮอมธาตุ อักษรธรรม ฉบับรักทึบ เจ้าคณะอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ถวายวัดมหาชัย 24 ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่รวบรวม ท้าวหัวข่อหล่อ อักษรธรรม ฉบับล่องรัก บ้านหนองตาไก้ ตำบลสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ถวายวัดมหาชัย 25 ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่รวบรวม ฎีกามหาวรรค ได้มาจากวัดหลวงอุบล จังหวัดอุบลราชธานี 26 ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่รวบรวม ไตรโลกวินิจฉัย ได้มาจากวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

จากตาราง 1 ในบัญชีการสำรวจเอกสารใบลานของหอสมุดแห่งชาติพบที่มาของคัมภีร์ใบลานที่มีการรวบรวมระหว่างปี พ.ศ.2509 – 2522 จากวัดในอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดมหาสารคามและบ้านเป้า อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ข้อมูลที่มีอีกส่วนไม่ระบุวันเวลาที่รวบรวม ซึ่งคัมภีร์ใบลานมาจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้ วัดในอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดมหาสารคาม เจ้าคณะอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย บ้านหนองตาไก้ ตำบลสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด วัดหลวงอุบล จังหวัดอุบลราชธานีและวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

6.ผลงานการปริวรรตของพระอริยานุวัตร มีการรวบรวมทั้งผลงานปริวรรตที่ได้รับการจัดพิมพ์และมีการจำหน่ายเพื่อสมทบเป็นเงินบำรุงวัด และผลงานปริวรรตฉบับลายมือที่ยังไม่จัดพิมพ์ ทางโครงการอนุรักษ์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มีการจัดเก็บข้อมูลเนื้อหาเหล่านั้นลงในคอมพิวเตอร์ จากการศึกษามีคนที่เคยเก็บข้อมูลผลงานปริวรรตของพระอริยานุวัตร ก่อนหน้าที่โครงการฯได้สำรวจ ประมาณ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกใน พ.ศ. 2497 – 2513 ผลงานปริวรรต จำนวน 50 เรื่อง ส่วนครั้งที่ 2 เริ่มตั้งแต่ ปี 2505 – 2525 จำนวนผลงานปริวรรต 90 เรื่อง ส่วนครั้งหลังสุดที่มีการสำรวจผลงาน ในปี พ.ศ. 2548 นั้น จำนวน 122 เรื่อง พบว่าอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2500 – 2530 เป็นข้อมูลที่มีความเหลื่อมกันในปี พ.ศ. จึงพอสันนิษฐานได้ว่า พระอริยานุวัตรได้มีการปริวรรตตั้งแต่ พ.ศ. 2497 – 2530 ซึ่งบัญชีการสำรวจครั้งแรกและครั้งที่ 2 นั้นมีปรากฏเพียงตัวเลขที่ อรรถ นันทจักร ได้รวบรวมและอ้างไว้ในอริยานุวัตรศึกษา ขาดแต่ชื่อเรื่องที่ปริวรรต ส่วนในครั้งหลังนี้ทางโครงการฯ ได้นำเนินการ มีการรวบรวมและจัดเรียงข้อมูลในรูปแบบของตารางซึ่งผู้วิจัยได้จัดเรียงเนื้อหาโดยเรียงลำดับปี พ.ศ. ใหม่ ดังตารางนำเสนอ

ตาราง 2 ตารางแสดงลำดับผลงานปริวรรตของพระอริยานุวัตร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500-2530

ลำดับ ชื่อเรื่อง วัน/เดือน/ปี หมายเหตุ 1 พงศาวดารสถาปนาเมืองมหาสารคาม เมืองวาปีปทุม 22 พ.ย. 2500 2 ทานศีลภาวนา ( คำกลอนภาษาลาววรรณคดี ) 16 ก.ค. 2501 3 สังขปัตถ์ชาดก ( วรรณคดีภาษาลาว ) 17 ก.ค. 2501 4 คติธรรม ( อัศจรรย์ – คำสอนอีสาน ) 23 ต.ค. 2505 5 เบ็ญจ-คติ ( คำกลอนอีสาน ) 8 พ.ย. 2505 6 ลำเถราภิเษก 17 ก.ย. 2506 จัดพิมพ์แล้ว 7 ล้านช้างสืบศาสนา (เชตพน) 19 ธ.ค. 2506 8 สังขปัตถ์ชาดก ( คำกลอน ) 29 ธ.ค. 2506 9 คิหิปฏิบัติคำกลอนอีสาน 16 ก.พ. 2507 10 ลำพระเจ้า 10 ชาติ ปางเสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเตเมย์ 7 ต.ค. 2507 11 การศัพท์ 9 ต.ค. 2507 12 เสียวสวาด ( คำสอนสมัยโบราณแยบคาย ) 9 ต.ค. 2507 จัดพิมพ์แล้ว 13 ลำพระเจ้า 10 ชาติ ปางเสวยพระชาติเป็นมหาชนก 12 พ.ย. 2507 14 ลำพระเจ้า 10 ชาติ ปางเสวยพระชาติเป็นมโหสถบัณฑิต 19 ม.ค. 2508 15 ลำพระเจ้า 10 ชาติ ปางเสวยชาติเป็นพระเจ้าจันทะโครพ 10 พ.ค. 2508 16 ลำพระเจ้า 10 ชาติ ปางเสวยชาติเป็นพรหมนารท 14 พ.ค. 2508 17 คำกลอนผญาย่อย ( อ้ายสอนน้อง ) 25 มิ.ย. 2510 2 สำนวน 18 คำกลอนกฤษณาสอนน้อง 25 มิ.ย. 2510 19 ลำจำปาสี่ต้น 10 ก.ค. 2510 จัดพิมพ์แล้ว 2 สำนวน 20 ชินกาลมาลีปกรณ์ 30 ส.ค. 2510 21 ผาแดงนางไอ่ 14 พ.ค. 2511 จัดพิมพ์แล้ว 22 ตำนานบุญบั้งไฟ อาณาจักรศรีโคตรล้านช้าง 15 มิ.ย. 2511 23 ตำนานบุญข้าวจี่ ( ล้านช้าง ) 18 มิ.ย. 2511 24 ตำนานบุญข้าวสารท 14 ก.ค. 2511 25 คันธะเกสา ( ผมหอม ) 20 ม.ค. 2512 2 สำนวน 26 ปฐมกัปป์ ( ตั้งฟ้าตั้งแผ่นดิน ) 30 ม.ค. 2512 27 สาส์นสมที่คึด 29 ก.พ. 2512 จัดพิมพ์แล้ว 28 นางผมหอม 11 มิ.ย. 2512 29 ธรรมดาสอนโลก 26 มิ.ย. 2512 30 บาศรีสูตรขวัญ 17 ก.ค. 2512 31 สุพรหมโมกขา 11 ส.ค. 2512 จัดพิมพ์แล้ว 32 พญาไก่แก้วหอมฮู 15 ก.ย. 2512 33 สมาสสงสาร 26 ธ.ค. 2512 34 พุทธทำนายศาสนา 21 ม.ค. 2513 35 ลำอุปคุตผาบมาร 17 ก.พ. 2513 จัดพิมพ์แล้ว 36 ลำนระชีวะชาดก 20 ก.พ. 2513 จัดพิมพ์แล้ว 37 ลำสุทธนูชาดก 9 ก.พ. 2513 จัดพิมพ์แล้ว 38 ลำชนะสันทะ ( ยอดคำสอน ) 23 มี.ค. 2513 จัดพิมพ์แล้ว 39 อุณหัสสะวิชัย 25 มี.ค. 2513 40 สาราการะวิชาสูตร 27 มี.ค. 2513 41 มัคคะสงสารเทศนา 5 มี.ค. 2513 42 พระธาตุมหาโมคคัลลาน์ อ. สุวรรณภูมิ จ. ร้อยเอ็ด 12 เม.ย. 2513 43 บัวระวงศ์ชาดก 30 เม.ย. 2513 44 มหามูลนิพพานสูตร 6 เม.ย. 2513 45 นกกระจอก ( ท้าววรกิต – นางจันทะจร ) 14 พ.ค. 2513 จัดพิมพ์แล้ว 46 พญาคำกอง ( สอนไพร่ ) 15 พ.ค. 2513 จัดพิมพ์แล้ว 47 โลกคณิต ( คำสอนโลก ) หรือ ลำโลกนิติ 2 มิ.ย. 2513 จัดพิมพ์แล้ว 48 สีทน - มโนรา 24 พ.ค. 2513 จัดพิมพ์แล้ว 49 มูลกิตติ 30 มิ.ย. 2513 50 สุริยวงศ์ 15 ส.ค. 2513 51 พญาคันคาก (จักรพรรดิคันคากน้อยเล็วพญาแถนหลวง ) 25 ต.ค. 2513 จัดพิมพ์แล้ว 2 สำนวน 52 ตำนานฟ้าแดดสงยาง 4 พ.ย. 2513 จัดพิมพ์แล้ว 53 ขุนลู - นางอั้ว 31 ธ.ค. 2513 54 ลำเวสสันดรชาดก 1 ม.ค. 2514 55 พระลักษณ์ – พระราม ( รามเกียรติ์ ) 4 ก.พ. 2514 จัดพิมพ์แล้ว 56 ท้าวหงส์หิน 24 เม.ย. 2514 57 สีทน – มโนรา สำนวนเอก ( ฉบับพิสดาร ) 27 ต.ค. 2514 จัดพิมพ์แล้ว 58 โลกคหณี ( ยอดคำสอน ) 4 พ.ย. 2514 59 บัวฮม บัวเฮียว บัวฮอง 3 ธ.ค. 2514 จัดพิมพ์แล้ว


ตาราง 2 (ต่อ)

ลำดับ ชื่อเรื่อง วัน/เดือน/ปี หมายเหตุ 60 ผญาคำคม ( รวบรวมชำระของเก่าดั้งเดิม ) 11 เม.ย. 2515 2 สำนวน พร้อม ลักษณะหญิง 61 คัชชะนาม ( ลูกช้าง – พญาคชสาร ) 7 ต.ค. 2515 62 ท้าวลิ้นทอง 24 พ.ย. 2515 จัดพิมพ์แล้ว 63 กาฬเกส ( ฉบับพิสดาร สำนวนเอก ) 25 ต.ค. 2516 จัดพิมพ์แล้ว 65 ปลาแดกปลาสมอ 27 เม.ย. 2517 จัดพิมพ์แล้ว 66 พระเจ้าเลียบโลก 17 พ.ค. 2517 67 ขุนทึงขุนเทือง 16 มิ.ย. 2517 68 นางแตงอ่อน ( ฉบับพิสดาร ) 2 มิ.ย. 2517 69 พระเจ้า 5 พระองค์ 30 ก.ค. 2518 70 ปู่สอนหลาน-หลานสอนปู่ 1 ต.ค. 2518 71 ศรีทัศน์ใยบัว 13 ส.ค. 2519 2 สำนวน 72 มูลตันไตร 22 ส.ค. 2519 73 พระเจ้าใช้ชาติ 29 ส.ค. 2519 74 ท้าวหมาหยุย 6 ส.ค. 2519 75 โสวัจ 2 ต.ค. 2519 76 นิทานท้าวหัวข่อหล่อ 15 เม.ย. 2520 จัดพิมพ์แล้ว ปริวรรต 2 สำนวน 77 ท้าวก่ำกาดำ 4 พ.ค. 2520 78 ท้าวยี่บัวไข 26 ส.ค. 2520 79 ศรีทัศน์ใยบัว 30 ส.ค. 2520 80 เทศนาสอนโลก 1 ก.ย. 2520 81 ไฟมไลย์กัลป์ไหม้โลก ( ไตรภูมิ ) 19 ก.ย. 2520 82 โลกคหณี 7 ก.ย. 2520 83 จันทรคราสสุริยคราส 12 ต.ค. 2520 84 พุทธภูมิ ( พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ) 25 ต.ค. 2520 85 ท้าวกำพร้าผีน้อย 5 ก.พ. 2521 จัดพิมพ์แล้ว 86 กาพย์เซิ้งบุญบั้งไฟ 18 มิ.ย. 2521 จัดพิมพ์แล้ว 87 สังฮอมธาตุ 20 ก.ย. 2521 88 ตำนานพระกึดพระบาน 4 ต.ค. 2521 89 เทศนาธรรมสอง บุญข้าวประดับดิน 21 ม.ค. 2522 90 เสียวสวาด ( ฉบับพิสดาร ) 28 ก.พ. 2522 จัดพิมพ์แล้ว 91 บัญหาคติธรรมคำคม ( เสียวสวาด ) 1 มี.ค. 2522 92 ลุงสอนหลาน 8 มี.ค. 2522 93 ปฐมมูลมูลี 29 พ.ค. 2522 94 กาลนับมื้อส่วย 22 มิ.ย. 2522 95 ตำราหนังสือใบลานก้อม ( ดูฤกษ์ยามอีสาน ) 22 มิ.ย. 2522 จัดพิมพ์แล้ว 96 เมตไตยสูตร 16 ก.ค. 2522 97 ลำบัวระพันธะ 2 ก.ค. 2522 98 ลำท้าวหัว 20 ส.ค. 2522 99 ลำพญาศรีเศร้า 21 ส.ค. 2522 100 ตำนานพระบาง 26 ก.ย. 2522 101 ตำนานพระแซกคำ ( พุทธสีหิงค์ ) 30 ก.ย. 2522 102 ลำท้าวกำพร้าผีน้อย 5 ก.ย. 2522 103 ไตรโลกวิตถาร 10 ต.ค. 2522 104 สองหอผาสารทเผิ้ง 4 ต.ค. 2522 105 โลกธรรมประทีป 14 พ.ย. 2522 106 อินทิญาณสอนลูก 28 พ.ย. 2522 107 คำสอนโลกประทีป 6 พ.ย. 2522 108 นิสัยบาเจือง 24 มิ.ย. 2523 109 ปฐมปันนา 12 ก.ค. 2523 110 นิทานฎีกานะโม 17 ส.ค. 2523 110 เทศน์มหาชาติอีสาน 16 ก.ย. 2523 2 สำนวน 111 ลำท้าวจันทะหมุด ( ท้าวกำพร้าครองเมือง ) “ หอมฮู ” 25 ก.ย. 2523 112 พระคาถาไสยศาสตร์ 16 ธ.ค. 2523 113 อุรังคนิทาน ( ร้อยแก้ว ) 9 มิ.ย. 2524 114 กาลนับมื้อส่วย ( สำนวนเก่า ) 7 ก.ย. 2524 115 คำสอนครองเรือน 2 ต.ค. 2524 116 ผญา-บูราณ 24 ม.ค. 2525 117 สินไชย 2526 จัดพิมพ์แล้ว 118 ลุงสอนหลานและลักษณะหลวง 26 ก.ย. 2530 119 ธรรมดาสอนโลก ไม่ทราบแน่นอน 120 แหล่ลำมหาชาติ ไม่ทราบแน่นอน 121 ท้าวคำสอน ไม่ทราบแน่นอน 122 สังขปัตถชาดก ไม่ทราบแน่นอน

จากตาราง 2 พบว่า มีงานปริวรรตจำนวน 122 รายการซึ่งได้รับการปริวรรตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 – 2530 ผลงานปริวรรตส่วนมากจะเป็นนิทานพื้นบ้านอีสาน

นอกจากนี้ยังปรากฏว่ามี คำเทศนา ประวัติและตำนานของสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่ระบุปี ที่แต่ง จำนวน 41 เรื่อง ดังตาราง 3

ตาราง 3 รายชื่อต้นฉบับ คำเทศนา ประวัติและตำนานของสถานที่ต่าง ๆ แต่งโดย พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ

ที่ ชื่อเรื่อง ต้นฉบับ พิมพ์ดีด ลายมือ 1 เทศนาสอนโลก - 1 2 นานา- ผญาภาษิต 2 - 3 กลอนสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี 1 1 4 ย่อตำนานฟ้าแดด 4 - 5 ตำนานบ้านเพียและพระพุทธรูปโบราณ 6 - 6 ประวัติศาสตร์เมืองวาปีปทุม 7 1 7 เหล่ากอเมืองปฐมอีสาน (เมืองทุ่งสรีภูมิ) 1 - 8 ตำนานของโบราณ - 2 9 ประวัติวัดธัญญาวาส - 1 10 กถารากแก้วแก่นธรรม - 1 11 สอง(ฉลอง)หอปราสาทผึ้ง - 1 12 ตำรายาฝน - 1 13 แหล่บุพกรรมกุมาร 1 1 14 ยาวิเศษ 1 15 ประวัติศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 1 16 อโรคยา ปรมาลาภา - 1 17 บทกล่อมลูก - 1 18 สูญโญ - 1 19 ปาฐกถากระจกเงาของวิชาทหาร เรื่อง ในความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ - 1 20 ปาฐกถาธรรมเรื่อง เยาวชนกับพระพุทธศาสนาชาติไทย ถือศาสนาพุทธจึงรุ่งเรืองถึงบัดนี้ 1 - 21 คติธรรมความเชื่อของชาวอีสาน 1 22 การเขี่ยใจ 1 23 คาถาเกื้อกูล ญาติพี่น้อง - 1 24 กถาว่าด้วยละชั่ว บำเพ็ญดี - 1 25 หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน - 1 26 หนี้บุญคุณเมื่อยามเพื่อนเลี้ยง - 1

ตาราง 3 (ต่อ)

ที่ ชื่อเรื่อง ต้นฉบับ พิมพ์ดีด ลายมือ 27 ปาฐกถาอบรม “ ความมั่งคั่ง สมบูรณ์ เพราะผืนหลังสู่ฟ้า หน้าสู้ดิน ” 1 - 28 กถาว่าด้วย “ต้นงอ ปลายซื่อ” - 1 29 หลักกวีนิพนธ์สังเขป วรรณคดีอีสาน 2 - 30 ระเบียบประเพณีทำบุญมหาชาติ 2 - 31 ทำวัตรเช้าเย็น,อาราธนา,ถวายทาน 2 - 32 มาตาปิตุอุปัฏฐานกถา 1 - 33 อโรคยะปาฐะปาลี 5 - 34 สมาสวิภาค 1 - 35 ธรรมบรรยาย - 1 36 กถายากแสนยาก - 1 37 ทำบุญอย่างไรจะประหยัด 1 - 38 พรหฺมกถา 1 - 39 สังขยาวิภาค 2 1 40 กิริยาวาจาวิภาค - 1 41 ฮีต 12 คอง 14 1 -

จากตาราง 3 พบว่ามีผลงานประพันธ์ทั้งต้นฉบับลายมือและต้นฉบับพิมพ์ดีด จำนวน 41 รายการ เนื้อหา เป็นคำเทศนา ประวัติและตำนานของสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่ระบุปี ที่แต่ง เข้าใจว่าพระอริยานุวัตรเป็นผู้แต่งเพื่อจะขึ้นเทศนาในงานพิธีต่าง ๆ หรือพิมพ์ดีดเพื่อแจกให้อุบาสกอุบาสิกาที่สนใจนำไปถ่ายเอกสารหรือโรเนียว

7.ผลงานจัดพิมพ์ ของพระอริยานุวัตร จากการรวบรวมเอกสารผลงานจัดพิมพ์ บทความวิชาการของพระอริยานุวัตร พบว่า ผลงานของพระอริยานุวัตรที่ได้รับการจัดพิมพ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2506 – 2533 พบว่า มีหนังสือที่จัดพิมพ์ทั้งหมด จำนวน 31 เรื่อง ไม่ทราบปีที่พิมพ์ จำนวน 20 เรื่อง บทความทางวิชาการ ของพระอริยานุวัตร พบว่า มีจำนวน 11 บทความ โดยได้รับการจัดพิมพ์จากแหล่งทุน และในวาระสำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ พ.ศ. 2506 เรื่อง ระเบียบโบราณประเพณีทำบุญมหาชาติภาคอีสาน จัดพิมพ์โดยพระวรนาถภิกขุ วัดพิชัยญาติ ฯ ธนบุรี ซึ่งท่านเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี พิมพ์แจกชำร่วย ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระสารคามมุนี เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม 6 – 9 มีนาคม 2506 ในขณะที่พระอริยานุวัตร เป็นรักษาการเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2513 เรื่อง นะระชีวะชาดก ชำระโดย พระยาอริยานุวัตร เขมจารีเถระ จัดพิมพ์โดย มูลนิธิอาเซีย เป็นสำนวนโบราณ มี คัมภีร์ ใบลาน 4 ผูก ได้มาจากหอไตรหนองขูหลุ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี โดยพระอริยานุวัตร ได้รับความอนุเคราะห์จาก พระวิโรจน์รัตโนบล วัดทุ่งศรีเมือง พระปริยัติโกศล วัดทุ่งศรีเมือง จัดพาหนะรถยนต์ และ พระครูปุญญสารวิสุทธิ์ เจ้าคณะอำเภอตระการพืชผล วัดศรีโพธิ์ชัย พ.ศ. 2513 เรื่อง พระอุปคุต ผาบมาร ชำระโดย พระยาอริยานุวัตร เขมจารีเถระ จัดพิมพ์โดย มูลนิธิอาเซีย เป็นสำนวนโบราณ มี คัมภีร์ ใบลาน 4 ผูก ได้มาจากหอไตรหนองขูหลุ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี โดยพระอริยานุวัตร ได้รับความอนุเคราะห์จาก พระวิโรจน์รัตโนบล วัดทุ่งศรีเมือง พระปริยัติโกศล วัดทุ่งศรีเมือง จัดพาหนะรถยนต์ และ พระครูปุญญสารวิสุทธิ์ เจ้าคณะอำเภอตระการพืชผล วัดศรีโพธิ์ชัย พ.ศ. 2513 เรื่อง ท้าวคำสอน-นางฟังคำ ชำระโดย พระยาอริยานุวัตร เขมจารีเถระ จัดพิมพ์โดย มูลนิธิอาเซีย พ.ศ. 2513 เรื่อง สุทธะนูชาดก ชำระโดย พระยาอริยานุวัตร เขมจารีเถระ จัดพิมพ์โดย มูลนิธิอาเซีย เป็นสำนวนโบราณ มี คัมภีร์ ใบลาน 3 ผูก ได้มาจากหอไตรหนองขูหลุ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี โดยพระอริยานุวัตร ได้รับความอนุเคราะห์จาก พระวิโรจน์รัตโนบล วัดทุ่งศรีเมือง พระปริยัติโกศล วัดทุ่งศรีเมือง จัดพาหนะรถยนต์ และ พระครูปุญญสารวิสุทธิ์ เจ้าคณะอำเภอตระการพืชผล วัดศรีโพธิ์ชัย พ.ศ. 2513 เรื่อง สุปุณณานาคชาดก ชำระโดย พระอริยานุวัตร เขมจารี จัดพิมพ์โดย มูลนิธิอาเซีย ภายใต้ศูนย์อนุรักษ์วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นวรรคดีเก่าแก่โดยสำนวนในใบลานมี 2 ผูก ได้มาจากหอไตรหนองขูหลุ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับความอนุเคราะห์จาก พระวิโรจน์รัตโนบล วัดทุ่งศรีเมือง พระปริยัติโกศล วัดทุ่งศรีเมือง จัดพาหนะรถยนต์ และ พระครูปุญญสารวิสุทธิ์ เจ้าคณะอำเภอตระการพืชผล วัดศรีโพธิ์ชัย พ.ศ. 2513 เรื่อง สีทน-มโนราห์ ชำระโดย พระอริยานุวัตร เขมจารี จัดพิมพ์โดย มูลนิธิอาเซีย ภายใต้ศูนย์อนุรักษ์วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม ได้มาจากบ้านค้อ ติดโรงพยาบาลเมืองมหาสารคาม หลวงตาผาง วัดมหาชัย นำมาให้ ได้รับการสนับสนุนจากท่านเจ้าคุณพระปริยัติโกศล (ถวัลย์ อาจารย์ สุโภ ป. 9, M.A.) วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2513 เรื่อง นกกระจอก (ท้าววรกิต-นางจันทะจร) จัดพิมพ์โดย มูลนิธิอาเซีย ภายใต้ศูนย์อนุรักษ์วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัย พ.ศ. 2513 เรื่อง พญาคันคาก จัดพิมพ์โดย มูลนิธิอาเซีย ภายใต้ศูนย์อนุรักษ์วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัย พ.ศ. 2513 เรื่อง พญาคำกองสอนไพร่ พิมพ์โดย โรงพิมพ์ศรีภัณฑ์ พ.ศ. 2513 เรื่อง มัคคะสงสารเทศนา จัดพิมพ์โดย ศูนย์อนุรักษ์วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัย พ.ศ. 2513 เรื่อง สาส์สมที่คึดและลึปสูญ จัดพิมพ์โดย ศูนย์อนุรักษ์วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัย พ.ศ. 2514 เรื่อง สุพรหมโมกขา ชำระโดย พระยาอริยานุวัตร เขมจารีเถระ จัดพิมพ์โดย มูลนิธิอาเซีย ได้มาจากบ้านแกดำ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม จารย์ครูเคน อนุอันต์ นำมาเพื่อให้ตรวจชำระพร้อมทั้งแต่งเป็นคำกลอน โดยได้รับการพิจารณาจากพระอริยานุวัตร ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือและพระปริยัติโกศล เลขานุการศูนย์อนุรักษ์วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2514 เรื่อง ตำนานฟ้าแดดสูงยาง ชำระโดย พระยาอริยานุวัตร เขมจารีเถระ โรงพิมพ์ ธรรมบรรณาคาร พ.ศ. 2515 เรื่อง จำปาสี่ต้น ชำระโดย พระยาอริยานุวัตร เขมจารีเถระ สำนักพิมพ์สาส์นสวรรค์ พ.ศ. 2518 เรื่อง พระลัก-พระลาม (รามเกียรติ์) สำนวนเก่าของอีสาน ตรวจชำระโดย พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ ศึกษิตสยาม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2519 เรื่อง วรรณคดีอีสาน เรื่อง กาฬเกษ จัดพิมพ์โดย สำนักงานค้นคว้าฟื้นฟูและรวบรวมวรรณคดีอีสาน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นสำนวนเอกจากท่านพระคัมภีร์ธรรมจารย์ วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดร้อยเอ็ด สำนวนเก่าแก่ โดยท่านได้รับการขอความอนุเคราะห์จากพระครูวิโรจน์รัตโนบล เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี วัดทุ่งศรีเมือง พ.ศ. 2521 เรื่อง สังข์ศิลป์ไชย จัดพิมพ์โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม และรองศาสตราจารย์สถาพร พันธ์มณี พิมพ์ที่ อภิชาติการพิมพ์ พ.ศ. 2522 เรื่อง เทพมาไลยคำกลอน จัดพิมพ์โดย ศูนย์วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือวัดมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. 2523 เรื่อง ลำเสียวสวาด ชำระโดย พระยาอริยานุวัตร เขมจารีเถระ ไม่ทราบเจ้าภาพจัดพิมพ์ ต้นฉบับได้มาจากอุบาสิกาบ้านข้างวัดพระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร จารด้วยอักษรลาวไทยน้อย มี 11 ผูก พ.ศ. 2524 เรื่อง ผาแดงนางไอ่ จัดพิมพ์โดย ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม พ.ศ. 2525 เรื่อง บทประพันธ์สำนวนวรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรื่องการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครอบ 200 ปี จัดพิมพ์โดย ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม วิทยาลัยครูมหาสารคาม พ.ศ. 2525 เรื่อง ประเพณีอีสานบางเรื่อง เล่ม 1 จัดพิมพ์โดย ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม วิทยาลัยครูมหาสารคาม พ.ศ. 2525 เรื่อง ประเพณีอีสานบางเรื่อง เล่ม 2 จัดพิมพ์โดย ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม วิทยาลัยครูมหาสารคาม พ.ศ. 2525 เรื่อง ชนะสันทะยอดคำสอน ปริวรรตโดย พระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ จัดพิมพ์โดย โครงการปริวรรตหนังสือผูกอีสาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม พ.ศ. 2526 เรื่อง ประเพณีและวรรณคดีเก่าอีสาน จัดพิมพ์โดย โครงการส่งเสริมหนังสือตามแนวพระราชดำริ อันดับ 2 พ.ศ. 2526 วังสมาลินี-บาเจือง สำนวนร้อยแก้ว จัดพิมพ์โดย ศูนย์อนุรักษ์วรรณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วัดมหาชัย พ.ศ. 2528 เรื่อง ลึปสูญ จัดพิมพ์โดย ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม วิทยาลัยครูมหาสารคาม พ.ศ. 2533 เรื่อง กาพย์พระมุนี ชำระโดย พระยาอริยานุวัตร เขมจารีเถระ ไม่ทราบ เจ้าภาพจัดพิมพ์ มีกาพย์ พระเวสสันดร กาพย์พระวิทูรบัณฑิต จารลงใบลานก้อม เป็นอักษรลาวไทยน้อย พิมพ์เนื่องในวาระ การทำบุญฉลองอายุ 75 ปี ตรงวันที่ 24 กันยายน 2533 พ.ศ. 2533 เรื่อง ประวัติศาสตร์ ข่า – ขอม ลุ่มน้ำของ – โขง ชำระโดย พระยาอริยานุวัตร เขมจารีเถระ พิมพ์เนื่องในวาระ การทำบุญฉลองอายุ 75 ปี ตรงวันที่ 24 กันยายน 2533 พ.ศ. 2533 เรื่อง วรรณกรรมอีสาน ลาวสมัยเก่าก่อน ย่างมาเลาะวัด อั่นหนังสือน้อย เสียดสีเจ้าหัวอ้ายในวัด รวบรวมโดย พระยาอริยานุวัตร เขมจารีเถระ พิมพ์เนื่องในวาระ การทำบุญฉลองอายุ 75 ปี ตรงวันที่ 24 กันยายน 2533 ไม่ทราบปีที่พิมพ์ จำนวน 20 เรื่อง ซึ่งจัดพิมพ์โดยศูนย์วรรณคดีท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้ คำสอนโลก เถราภิเษก ท้าวกำพร้าหมากส้าน ท้าวผีน้อย ท้าวลินทอง ท้าวหัวข้อหล่อ ทำวัตรสวดมนต์ บัวฮมบัวฮง บาศรี-สูตรขวัญ ใบลานก้อม ประเพณีกฐินแล่น ประเพณีทำบุญพระเวส ปริศนาธรรม ปลาแดกปลาสมอ พญาศรีเศร้า พระกึดพระพาน พระลักษมณ์-พระราม มหาชาติ 13 กัณฑ์ สงเคราะห์ญาติ

8.บทความทางวิชาการ ของพระอริยานุวัตร ในช่วงปี พ.ศ. 2521 – 2529 พบว่า พระอริยานุวัตรได้เขียนบทความทางวิชาการ มีจำนวน 11 บทความ มีรายละเอียด ดังนี้ พ.ศ. 2521 บทความเรื่อง “ตำนานพระกึด พระพาน” ใน เอกสารสัมมนาประวัติศาสตร์อีสาน หน้า 1-65 จัดทำโดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม พ.ศ. 2524 บทความเรื่อง “กาพย์เซิ้งบั้งไฟอีสาน (กาพย์วิฑูรย์บัณฑิต)” ในงาน“สัมมนา เพลงพื้นบ้านอีสาน” ร่วมจัดโดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม วิทยาลัยครูมหาสารคาม วิทยาลัยคณาสวัสดิ์ พ.ศ. 2524 บทความเรื่อง “เทศน์มหาชาติ (ลำมหาชาติ) สักขัตติกัณฑ์ 12 บั้นชั้น” ใน งานสัมมนาเพลงพื้นบ้านอีสาน ร่วมจัดโดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม วิทยาลัยครูมหาสารคาม วิทยาลัยคณาสวัสดิ์ พ.ศ. 2524 บทความเรื่อง “ฮีต 12 คอง 14 ” ใน งานสัมมนาเพลงพื้นบ้านอีสาน ร่วมจัดโดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม วิทยาลัยครูมหาสารคาม วิทยาลัยคณาสวัสดิ์ พ.ศ. 2524 บทความเรื่อง “ประเพณีเพลงกลอนประจำเดือน ” ใน งานสัมมนาเพลงพื้นบ้านอีสาน ร่วมจัดโดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม วิทยาลัยครูมหาสารคาม วิทยาลัยคณาสวัสดิ์ พ.ศ. 2524 บทความเรื่อง “คติตวามเชื่อของชาวอีสาน” ใน วัฒนธรรมพื้นบ้าน  : คติความเชื่อ หน้า 1- 65 จัดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2525 บทความเรื่อง “เสี่ยว” ใน งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย ครั้งที่ 5 หน้า 7 – 10 จัดโดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม พ.ศ. 2527 บทความเรื่อง “ประวัติเมืองมหาสารคาม” จัดโดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม พ.ศ. 2529 บทความเรื่อง “กบ-บ่มีปาก นาค-บ่มีฮูขี่” จำนวน 3 ตอน ของ หนังสือพิมพ์ที่ราบสูง ในฉบับ ที่ 5, 6,7 ในระหว่าง สิงหาคม - กันยายน

9.งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และงานวิชาการ ที่ต่อยอดจากผลงานพระอริยานุวัตร ' งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่ต่อยอดจากผลงานพระอริยานุวัตร ในระหว่าง พ.ศ. 2528 ถึง 2551 มีจำนวน 15 เรื่อง และยังปรากฏเอกสารวิชาการที่อ้างอิงผลงานของพระอริยานุวัตร ระหว่างปี พ.ศ. 2521 – 2537 จำนวน 3 เรื่อง งานแปลวรรณกรรมอีสานเป็นภาษาต่างประเทศ จำนวน 2 เรื่อง และ บทความที่เกี่ยวข้องเป็นบทความหลังการมรณภาพของพระอริยานุวัตร ในหนังสือพิมพ์ ต่าง ๆ ระหว่างปี พ.ศ. 2534 – 2536 จำนวน 4 เรื่อง มีรายละเอียดเรียงลำดับตามปี พ.ศ. ดังนี้

9.1 งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่ต่อยอดจากงานปริวรรต

               พ.ศ.  2528  รายงานการวิจัยตาม  โครงการปริวรรตวรรณกรรมอีสานจากหนังสือผูก ศึกษาอีสาน จากวรรณกรรมคำสอน โดย จารุวรรณ ธรรมวัตร และ "คำกลอนสอนโลก" โดย พระอริยานุวัตร เขมจารี  สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม

พ.ศ. 2529 วิทยานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาคุณค่าวรรณกรรมอีสานเรื่องเสียวสวาสดิ์ ของ นงลักษณ์ ขุนทวี สาขาไทยคดีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ศึกษาวรรณกรรมอีสานเรื่องเสียวสวาสดิ์ สำนวนขุนพรหมประศาสน์ ซึ่งแต่งเป็นอักษรไทยกลางด้วยภาษาไทยถิ่นอีสาน ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งพิจารณาถึงด้านต่างๆ คือ บ่อเกิดและที่มาของเรื่อง ต้นฉบับ ผู้แต่ง เนื้อเรื่อง ลักษณะคำประพันธ์ศิลปะการประพันธ์ สารัตถะ และองค์ประกอบทางสังคมที่ปรากฏในเรื่อง และบทบาทของวรรณกรรมเรื่องเสียวสวาสดิ์ ต่อสังคมอีสาน พ.ศ. 2529 วิทยานิพนธ์ เรื่อง วรรณคดีเรื่องผาแดงนางไอ่ ฉบับของพระอริยานุวัตร เขมจารี ของ สรายุทธ ทองคำใส การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก อ้างอิงผลงาน ผาแดงนางไอ่ (2524) พ.ศ. 2530 วิทยานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาเรื่องสุพรหมโมกขาสำนวนท้องถิ่นอีสาน ของ จันทิมา อัมฤทธิ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร อ้างอิงผลงาน ประเพณีโบราณบางเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่ 2 : 2526) สุพรหมโมกขา (2512) พ.ศ. 2531 วิทยานิพนธ์ เรื่อง ศาสนาชาวบ้านในวรรณกรรมนิทานพื้นบ้านอีสาน ของ กุสุมา ชัยวินิตย์ สาขาไทยคดีศึกษา-เน้นมนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ศึกษาศาสนาชาวบ้านที่ปรากฏในวรรณกรรมนิทานพื้นบ้านอีสานจำนวน 8 เรื่องคือ ท้าวฮุ่งหรือท้าวเจือง บุนบรม ขุนทึง พญาคันคาก หน้าฝากไกลกะด้น ผาแดงนางไอ่ ขูลู - นางอั้ว กำพร้าผีน้อย โดยศึกษาระบบและลักษณะของศาสนาชาวบ้านที่มีต่อวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานในด้านการวางโครงเรื่อง แนวคิด และพฤติกรรมตัวละคร กับศึกษาอิทธิพลของวรรณกรรมนิทานพื้นบ้านอีสานที่มีต่อการเสริมความเชื่อ การเผยแพร่ปรัชญา การสะท้อนภาพความขัดแย้งหรือความกลมกลืนทางศาสนา โดยอ้างอิงผลงาน เรื่องพญาคันคาก (2513) พ.ศ. 2532 วิทยานิพนธ์เรื่อง สตรีในวรรณกรรมอีสาน ของ พิชัย ศรีภูไฟ สาขาไทยคดีศึกษา-เน้นมนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำเอาวรรณกรรมอีสานปริวรรตโดยพระอริยานุวัตร มาศึกษาสตรีที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสาน จำนวน 7 เรื่อง คือท้าวฮุ่งหรือเจือง ขุนทึง ขูลูนางอั้ว อินทิญาณสอนลูก ท้าวคำสอน สุพรหมโมกขา คลองสิบสี่โดยศึกษาสตรีด้าน คุณสมบัติ ฐานะ และหน้าที่ ผลการวิจัย คุณสมบัติของสตรี จำแนกได้ 2 ประการ คือ คุณสมบัติภายนอก และคุณสมบัติภายใน อ้างอิงผลงาน สุพรหมโมกขา (2512) พ.ศ. 2532 วิทยานิพนธ์ เรื่อง การศึกษาประเพณีจากวรรณกรรมนิทานพื้นบ้านอีสาน ของ วิจิตรา ขอนยาง สาขาไทยคดีศึกษา-เน้นมนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ศึกษาความเชื่อจากประเพณีที่ปรากฏในวรรณกรรมนั้นอีกครั้งหนึ่ง ต่อจากนั้นจึงนำประเพณีที่ได้ ไปหาสัมพันธภาพกับประเพณีโบราณไทยอีสานที่ปริญญาณ ภิกขุ เป็นผู้รวบรวมไว้ วรรณกรรมนิทานพื้นบ้านอีสานที่นำมาศึกษาครั้งนี้มีทั้งหมด 20 เรื่อง ได้แก่ กาฬเกษ ก่ำกาดำ กำพร้าไก่แก้วกำพร้าผีน้อย ขุนทึง ขูลูนางอั้ว จำปาสี่ต้น จักษรพิษพรหมริน ท้าวเต่าคำ ท้าวลินทอง ท้าวหมาหยุยท้าวใสวัตร์ นางผมหอม ปาจิต อรพิม ผาแดงนางไอ่ พญาคันคาก พระลัก พระรามสังข์ศิลป์ชัย สุริยคราส จันทรคราส และหน้าผากไกลกะด้น พ.ศ. 2533 ปริญญานิพนธ์ เรื่อง ตัวละครเอกแหวกขนบในวรรณกรรมอีสาน  : ศึกษาเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ ของ เครือวัลย์ ปัญญามี หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนคริน- ทรวิโรฒ มหาสารคาม อ้างอิงผลงาน บทความ ตำนานพระกึด พระพาน (2521) พญาคันคาก (2513)และสุพรหมโมกขา (2512) พ.ศ. 2533 ปริญญานิพนธ์ เรื่อง อุดมคติเกี่ยวกับผู้นำในวรรณคดีอีสานประเภทวรรณกรรมคำสอน ของ ชัยณรงค์ โคตะนันท์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร-วิโรฒ มหาสารคาม อ้างอิงผลงาน คติความเชื่อของชาวอีสาน (2528) คำกลอนสอนโลก (ม.ป.ป.) ชนะสันทะยอดคำสอน (2525) พระยาคำกองสอนไพร่ (2513) พ.ศ. 2533 ปริญญานิพนธ์ เรื่อง ความขัดแย้งในวรรณกรรมนิทานพื้นบ้านอีสาน ของ เยาวลักษณ์ กิตติชัย หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม อ้างอิงผลงาน ตำนานฟ้าแดดสูงยาง (2514) ผาแดงนางไอ่ (2524) พญาคันคาก (2513) พ.ศ. 2534 วิทยานิพนธ์ เรื่อง ชื่อบ้านนามเมืองที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องผาแดงนางไอ่ ของ สมศักดิ์ เส็งสาย สาขาไทยคดีศึกษา-เน้นมนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ได้นำเอา วรรณกรรมเรื่องผาแดงนางไอ่ จำนวน 3 ฉบับคือ ฉบับของพระอริยานุวัตร เขมจารี ฉบับของปรีชา พิณทอง ฉบับของสุภณ สมจิตศรีปัญญาและเพื่อสืบค้นหาแหล่งสถานที่จริงของชื่อบ้านนามเมือง ที่มีปรากฏในวรรณกรรม เรื่องผาแดงนางไอ่ และเป็นชื่อที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน อ้างอิงผลงาน บทความตำนานพระกึด พระพาน (2521) ผาแดงนางไอ่ (2524) พ.ศ. 2535 วิทยานิพนธ์ เรื่อง โลกทัศน์ชาวอีสานกับวรรณกรรมคำสอน ของ จรูญรัตน์ รัตนากร หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม อ้างอิงผลงาน กาพย์วิฑูรย์บัณฑิต (2528) คำกลอนสอนโลก (ม.ป.ป.) ชนะสันทะยอดคำสอน (2525) ท้าวคำสอน (2531) พระยาคำกองสอนไพร่ (2513) พ.ศ. 2536 วิทยานิพนธ์เรื่อง คติในการครองเรือนจากวรรณกรรมอีสาน ของ ทวี ศรีแก้ว สาขาไทยคดีศึกษา เน้นมนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ศึกษา คติในการเลือกคู่ครอง คติในการครองเรือนและผลจากการครองเรือน วิธีการวิจัย โดยศึกษาจากวรรณกรรมอีสาน จำนวน 12 เรื่อง พ.ศ. 2542 วิจัยเรื่อง นิทานกำพร้า : ภาพสะท้อนชีวิตผู้ด้อยโอกาสและชาติพันธุ์ในเขตอุษาคเนย์ตอนกลาง = Orphan tales : reflectioris of people's lives with restricted opportunities and ethnic relationships in the middle southeast region ของ จารุวรรณ ธรรมวัตร รายงานการวิจัยโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สกว. กลุ่มสร้างเสริมศักยภาพนักวิจัยด้านอีสานคดี ประจำปี 2542 พ.ศ. 2551 วิทยานิพนธ์ เรื่อง กระบวนทัศน์ในนิทานชาดกพื้นบ้านอีสาน ของ ทิพย์วารี สงนอก ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับกระบวนทัศน์ในนิทานชาดกพื้นบ้านอีสาน ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ได้แก่ นิทานพื้นบ้านอีสาน จากผลงานการปริวรรตคัมภีร์ใบลานของพระอริยานุวัตร เขมจารีเถระ และเลือกศึกษานิทานชาดกพื้นบ้านอีสานจากสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน ที่ตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2542 จำนวน 15 เล่ม โดยคัดเลือกเฉพาะนิทานพื้นบ้านอีสานที่มีลักษณะเป็นวรรณกรรมชาดก ซึ่งมีจำนวน 16 เรื่อง

              9.2 เอกสารวิชาการ

พ.ศ. 2521 เอกสารวิชาการ เรื่อง ลักษณะวรรณกรรมอีสาน ของ จารุวรรณ ธรรมวัตร จัดพิมพ์โดย ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม พ.ศ. 2523 เอกสารวิชาการ เรื่อง โลกทัศน์ทางการเมืองจากวรรณกรรมอีสาน ของ จารุวรรณ ธรรมวัตร จัดพิมพ์โดย สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2537 เอกสารวิชาการ เรื่อง วรรณกรรมท้องถิ่น : อีสาน-ล้านช้าง ของ จารุวรรณ ธรรมวัตร จัดพิมพ์โดย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

              9.3 งานแปลวรรณคดีอีสานเป็นภาษาต่างประเทศ

พ.ศ. 2524 งานแปล Phadeang Nang Ai: a Translation of Thai/Isan Folk Epic in Verse, ของ Wajuppa Tossa จัดพิมพ์โดย Lewisburg, PA: Buclnell University Press. พ.ศ. 2524 งานแปล Phaya Khankaak: a Translation of an Isan Fertility Myth in Verse, ของ Wajuppa Tossa จัดพิมพ์โดย Buclnell University Press.

             9.4 บทความที่เกี่ยวข้อง

พ.ศ. 2534 บทความ เรื่อง พระอริยานุวัตร เขมจารี ผู้ประพฤติธรรมอันเกษม ของ ไพโรจน์ สโมสร. ใน มติชนสุดสัปดาห์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 577 วันที่ 13 ก.ย.34 หน้า 40-41 พ.ศ. 2536 บทความ เรื่อง พระอริยานุวัตร เขมจารี : พระนักวิชาการ ใน สยามรัฐ วันที่ 6 สิงหาคม 2536 หน้า 5 พ.ศ. 2536 บทความ เรื่อง พระอริยานุวัตร เขมจารี สัญลักษณ์และจิตวิญญาณแห่งงานอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ของ ธัญญา สังขพันธานนท์ ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 39 ฉบับที่44 วันที่ 4-10 เมษายน 2536 หน้า 36-38 พ.ศ. 2536 บทความ เรื่อง มรณธัมมานุสรณ์ แด่พระอริยานุวัตร(เขมจารี) ปราชญ์พื้นบ้าน ของ อรรถ นันทจักร ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 14 เล่มที่ 8 เดือน มิถุนายน 2536 หน้า 44-45

ไฟล์:ARIYA03

พระอริยานุวัตร แสดงธรรม ณ วัดโพธิ์ศรี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม วันที่ 21 กันยายน 2509

10. บทสรุป ผู้เขียนได้นำเสนอข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับ ประวัติพระอริยานุวัตร ผลงานปริวรรต ผลงานที่จัดพิมพ์ งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่ต่อยอดจากผลงานพระอริยานุวัตร ซึ่งพบว่ามี 1. การรวบรวมคัมภีร์ใบลาน พบว่า ในบัญชีการสำรวจเอกสารใบลานของหอสมุดแห่งชาติพบที่มาของคัมภีร์ใบลานที่โดยมีการรวบรวมระหว่างปี พ.ศ.2509 – 2522 จากวัดในอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดมหาสารคามและบ้านเป้า อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ข้อมูลที่มีอีกส่วนไม่ระบุวันเวลาที่รวบรวม ซึ่งคัมภีร์ใบลานมาจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้ วัดในอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดมหาสารคาม เจ้าคณะอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย บ้านหนองตาไก้ ตำบลสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด วัดหลวงอุบล จังหวัดอุบลราชธานีและวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2. ผลงานปริวรรต พบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 – 2530 มีจำนวน 122 เรื่อง นอกจากนี้ยังปรากฏว่ามีการแต่ง คำเทศนา ประวัติและตำนานของสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่ระบุปี ที่แต่ง จำนวน 41 เรื่อง 3. เอกสารผลงานจัดพิมพ์ งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่ต่อยอดจากผลงานพระอริยานุวัตร พบว่า ผลงานของพระอริยานุวัตรที่ได้รับการจัดพิมพ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2506 – 2533 มีหนังสือที่จัดพิมพ์โดยทราบปีที่พิมพ์ จำนวน 31 เรื่อง ไม่ทราบปีที่พิมพ์ จำนวน 20 เรื่อง บทความทางวิชาการ ของพระอริยานุวัตร พบว่า มีจำนวน 11 บทความ 4. อ้างอิงผลงานในงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ ในระหว่าง พ.ศ. 2528 ถึง 2551 จำนวน 15 เรื่อง และยังปรากฏ เอกสารวิชาการที่อ้างอิงผลงานของพระอริยานุวัตร ระหว่างปี พ.ศ. 2521 – 2537 จำนวน 3 เรื่อง งานแปลวรรณกรรมอีสานเป็นภาษาต่างประเทศ จำนวน 2 เรื่อง และ บทความที่เกี่ยวข้องเป็นบทความหลังการมรณภาพของพระอริยานุวัตร ในหนังสือพิมพ์ ต่าง ๆ ระหว่างปี พ.ศ. 2534 – 2536 จำนวน 4 เรื่อง รวมคัมภีร์ใบลานที่รวบรวม 574 รายการ จำนวน 4,355 ผูก สำรวจวันที่ 11-12 พฤษภาคม 2522 โดยเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติและงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับพระอริยานุวัตร ทั้งสิ้น จำนวน 249 เรื่อง

จากการนำเสนอข้อมูลได้สะท้อนให้เห็นถึง กระบวนการทางสังคมของฝ่ายอนุรักษ์กับการฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรม คือ 1) การต่อสู้ทางวัฒนธรรมของวัฒนธรรมท้องถิ่นกับกระแสวัฒนธรรมหลักในสังคมโลกาภิวัติ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง ครอบงำ จนวัฒนธรรมท้องถิ่นบางส่วนที่ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์ใบลานสูญหายไป 2) การผุพังทางกายภาพของคัมภีร์ใบลาน การขาดการสืบทอดกระบวนการทำและอ่านคัมภีร์ใบลาน จนทำให้ผู้ตระหนักถึงคุณค่าอย่างปราชญ์ท้องถิ่นและหน่วยงานด้านการศึกษาจำเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อดำรงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น 3) การประยุกต์ใช้มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อให้สามารถสร้างสรรค์ พัฒนาและนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องสร้างบทบาทใหม่ให้กับมรดกทางวัฒนธรรมประเภทคัมภีร์ใบลาน