มะหวด


มักพบตามป่าราบและป่าดิบชื้นในทุกภาคของไทย มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดใบเล็กยาว กับชนิดใบใหญ่


ชื่อวิทยาศาสตร์ แก้

   Lepisanthes rubiginosa (Roxb.)Leenh. Share

ชื่อวงศ์ แก้

  SAPINDACEAE

ชื่อเรียกอื่นๆ แก้

  หวดลาว หวดคา ชันรู มะหวดบาท มะหวดลิง กำซำ กำจำ


ลักษณะ แก้


  • ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร
  • ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ซึ่งจะมีใบย่อยอยู่ 3 - 6 คู่ กว้างประมาณ 2 - 11 เซนติเมตร ยาว 3 – 30เซนติเมตร ปลายใบมีลักษณะแหลม โคนใบสอบ

ผิวใบ มีขน

  • ดอก จะมีสีขาวไปจนถึงสีเหลืองอ่อนๆ ออกดอกเป็นช่อ และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ผล จะเป็นรูปรีเว้าและเป็นพู ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนจะมีสีเขียว และเมื่อแก่จัดจะมีสีม่วงดำ


การขยายพันธุ์ แก้


โดยวิธีการเพาะเมล็ด ซึ่ง มะหวด สามารถเติบโตได้ทุกสภาพพื้นดิน โดยเฉพาะดินร่วนปนทราย เพราะค่อนข้างระบายน้ำได้ดี และบริเวณที่ปลูกควรมีแสงแดดส่องถึง


ประโยชน์ แก้


  • ราก สามารถนำไปพอกที่ศีรษะเพื่อแก้อาการปวดศีรษะ รวมไปถึงแก้โรคผิวหนังและผื่นคัน
  • เปลือก สามารถแก้อาการโรคบิด
  • ผล / เมล็ด เหมาะสำหรับใช้เป็นยาบำรุงกำลัง เมล็ดสามารถรักษาอาการไอ อาการหอบ และอาการไข้ซางในเด็กได้
  • เนื้อไม้ เหมาะสำหรับใช้ในการก่อสร้าง และนำไปทำฟืน


การอ้างอิง แก้