Lady’s mantle (ชื่อวิทยาศาสตร์: Alchemilla vulgaris); ชื่อท้องถิ่น: Lion’s foot, Bear’s foot, Nine hooks, Stellaria, Leontopodium , Frauenmantle(German), Pied-de-lion(France) เป็นพืชล้มลุก ในวงศ์กุหลาบ (Rosaceae) ตั้งชื่อโดย Jerome Bock นักพฤกษศาสตร์ในศตวรรษที่ 16 รู้จักกันในชื่อ Tragus ในภาษาละติน นิยมนำมาปลูกประดับสวนให้เป็นพุ่มเล็กๆสะดุดตา และมีคุณสมบัติเป็นพืชสมุนไพร มีสีเขียวทั้งใบ ต้น และดอก ทั่วทั้งใบและลำต้นมีขนขนาดเล็กปกคลุม ใบย่นเล็กน้อย และมีความเป็นถ้วย ทำให้เมื่อหยดน้ำกระทบกับใบ ใบจะสามารถเก็บหยดน้ำเอาไว้บนใบได้ เมื่อมองจากที่ไกล ใบจะดูแวววาวจากหยดน้ำที่เกาะ พบได้ทั่วไปตามทุ่งหญ้าที่ไม่ได้รับการตัดแต่ง พุ่มหญ้าข้างถนน เนินเขา หรือตามพื้นที่ลาดชันบนภูเขา เป็นพืชที่สามารถเติบโตได้ดี แต่สามารถถูกโจมตีจากเชื้อราสีเหลือง ชื่อว่า Uromyces alchemillae ทำให้เกิดความผิดปกติของความยาวก้านใบ และทำให้ใบมีขนาดเล็กลง มีสีเขียวซีดได้

มูลค่าทางเศรษฐกิจ

เนื่องจากม้า, แกะ และวัว กินพืชชนิดนี้เป็นอาหาร ดังนั้นจึงได้รับการแนะนำว่าเป็นพืชอาหารสัตว์ที่ทำกำไรได้ แต่แนวคิดนี้พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผล เพราะว่าสัตว์กินหญ้าจะไม่กินใบจนกว่าความชื้นที่ใบจะหายไป และใบ Lady’s mantle สามารถเก็บหยดน้ำเอาไว้ได้มากกว่าใบไม้ชนิดอื่น จึงไม่แนะนำสำหรับการนำไปปลูกเป็นอาหารสัตว์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

Lady’s mantle เป็นไม้ล้มลุกยืนต้น สูงประมาณ 1 ฟุต พบมากในทวีปยุโรป โดยเฉพาะบริเวณสหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ รวมไปถึงกรีนแลนด์ มักขึ้นในบริเวณที่มีอากาศเย็น และพบไม่มากในบริเวณที่อากาศชื้น หรือทุ่งหญ้าโล่งเตียน ลำต้นใต้ดินมีสีดำ ลำต้นเหนือดินจะมีลักษณะตั้งตรง ทั้งต้นถูกปกคลุมด้วยขนขนาดเล็กจำนวนมาก ใบที่โตเต็มจะมีขนาดใหญ่ และงอกจากด้านล่างขึ้นมา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 นิ้ว ก้านใบเล็ก และยาว ประมาณ 6-18 นิ้ว ใบมีรอยหยักที่ตื้นแบ่งเป็น 7 แฉก หรือ 9 แฉก และขอบใบหยักเป็นฟันปลา ใบอ่อนที่ปลายยอด หรือใบที่ติดกับลำต้นจะมีลักษณะคล้ายกัน มีก้านสั้น หรือไม่มีเลย ใบที่ติดกับลำต้นจะมีหูใบที่มีลักษณะคล้ายใบขนาดเล็กติดอยู่ที่อีกฝั่งของโคนใบ ช่อดอกเป็นแบบแยกแขนงที่ปลายยอด มีก้านดอกสั้น ดอกมีสีเขียวอมเหลือง ไม่มีกลีบดอก ดอกแต่ละดอกประกอบด้วยริ้วประดับ 4 กลีบ และกลีบเลี้ยง 4 กลีบ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ 4 อัน และเกสรเพศเมีย 1 อันอยู่ตรงกลาง ออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายน จนถึงเดือนกันยายน มีผลแห้งเมล็ดอ่อน

ประวัติศาสตร์การใช้ประโยชน์

ทุกส่วนของต้น Lady’s mantle สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน Lady’s mantle ถูกใช้เป็นสารช่วยสมานผิว(Astringents) เนื่องจากมีแทนนินเป็นองค์ประกอบ จึงมีฤทธิ์ในการห้ามเลือด และใช้ใบในการสมานแผล

Etymology

Lady’s mantle ถูกใช้เป็นสมุนไพรอย่างแพร่หลายทั่วทวีปยุโรป จึงถูกนำมาตั้งชื่อสกุลว่า Alchemilla มาจากคำว่า alchemy หรือ alchemist บ้างก็ว่ามาจากภาษาอาหรับ alkemelych หมายถึง การเล่นแร่แปรธาตุ ในภาษาละตินยุคกลางเรียกพืชชนิดนี้ว่า Leontopodium มีความหมายว่า เท้าของสิงโต ซึ่งอาจมาจากการแตกรากของใบ และกลายเป็นภาษาฝรั่งเศส Pied-de-lion หรือบางครั้งอาจถูกเรียกว่า Stellaria เนื่องจากใบมีลักษณะแผ่กว้างคล้ายดาว

เรื่องเล่า ความเชื่อ

ในยุคกลาง เชื่อว่าพืชชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องกับพระแม่มารี เช่นเดียวกับดอกไม้มากมาย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงใช้ชื่อ Lady’s mantle ไม่ใช่ Ladies’ mantle และเนื่องจากพืชชนิดนี้มีสรรพคุณที่หลากหลาย และใบมีลักษณะที่สามารถกักเก็บหยดน้ำไว้บนใบได้ จึงเชื่อกันว่าหยดน้ำบนใบ Lady’s mantle สามารถใช้เป็นยาวิเศษ และสามารถเปลี่ยนเงินเป็นทองได้

การใช้ประโยชน์

Lady’s mantle มีกรดซาลิไซลิก(Salicylic acid) มีฤทธิ์ในการระงับประสาท ในการรักษาสมัยใหม่ จึงถูกนำมาใช้เป็นยาแก้ปวดในช่องท้อง, ยาแก้ปวดประจำเดือน และรักษาอาการมีประจำเดือนมากเกินไป สามารถรับประทานสมุนไพรแห้ง 1 ออนซ์ ต่อน้ำต้ม 1 ไพนต์ ในปริมาณถ้วยชาตามต้องการ และยังใช้เป็นยาฉีดได้อีกด้วย สารใน Lady’s mantle ถูกใช้เป็นสารช่วยสมานแผล(Astringents) เนื่องจากมีแทนนินเป็นองค์ประกอบ ทำให้มีรสฝาด ช่วยขับปัสสาวะ มีฤทธิ์ในการห้ามเลือด ใช้ใบในการสมานแผล ทำให้แผลแห้ง และยึดติด ทำให้นักสมุนไพรในสมัยโบราณ ถือว่าเป็นหนึ่งในสมุนไพรรักษาแผล และเป็นสมุนไพรที่ดีที่สุด

ยาต้มจากรากสดเข้มข้น ซึ่งบางคนถือว่าเป็นส่วนที่มีค่าที่สุดของพืช ได้รับการแนะนำว่ายอดเยี่ยมสำหรับการรับประทานเพื่อให้เลือดหยุดไหล รากแห้งถูกทำให้เป็นผงเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์เดียวกัน

ในสวีเดน มีการใช้สารสกัดจากใบ สำหรับกรณีที่เป็นโรคกระสับกระส่ายหรืออาการชัก และต้นตำรับเก่าระบุว่าหากวางไว้ใต้หมอนตอนกลางคืน สมุนไพรจะช่วยให้นอนหลับสบาย

Culpepper says of it:

'Lady's Mantle is very proper for inflamed wounds and to stay bleeding, vomitings, fluxes of all sorts, bruises by falls and ruptures. It is one of the most singular wound herbs and therefore highly prized and praised, used in all wounds inward and outward, to drink a decoction thereof and wash the wounds therewith, or dip tents therein and put them into the wounds which wonderfully drieth up all humidity of the sores and abateth all inflammations thereof. It quickly healeth green wounds, not suffering any corruption to remain behind and cureth old sores, though fistulous and hollow.'

คุณค่าทางโภชนาการ/คุณสมบัติสำคัญ

-ลดตกขาวระคายเคือง และการติดเชื้อในช่องคลอด

-แก้แผลในกระเพาะอาหาร

-แก้โรคอุจจาระร่วง

-แก้ปัญหาผิว บาดแผล

-ช่วยเรื่องกระเพาะและลำไส้

-แก้ปากมดลูกอักเสบ

-ลดความเสี่ยงเนื้องอกในสมอง

สาระสำคัญที่พบ

แทนนิน

ฟลาโวนอยด์

กรดซาลิไซลิก


อ้างอิง

[1][2][3][4]

  1. "Rosaceae - Michigan Flora". michiganflora.net.
  2. "เลดี้แมนเทิล (Lady Mantle)". www.checksukkaphap.com. 2018-02-23.
  3. "Alchemilla vulgaris - Lady's Mantle - Dummer. ゛☀ - Garden Manage - cuidado de las plantas, jardín de pusadee, flor". www.gardenmanage.com.
  4. "A Modern Herbal | Lady's Mantle". www.botanical.com.