ผู้ใช้:Luang Phutthaisong/ทดลองเขียน

นามสกุล "หลวงธาดาวรกุล"

แก้
ไฟล์:ณรงค์ หนูเกณ.jpg
นายณรงค์ และนางหนูเกณ หลวงธาดาวรกุล ชั้นหลานหลวงขุนพรหมสิทธิธาดาภักดี (พรหม)

ตระกูล  “หลวงธาดาวรกุล” (อังกฤษ : Luang-tha-da-wor-ra-kul)  มีต้นกำเนิดมาจากราชทินนานามของ หลวงขุนพรหมสิทธิธาดาภักดี (พรหม) ซึ่งเป็นกรมการเมืองนครราชสีมา เกิดเมื่อพ.ศ.2355 และถึงอนิจกรรมในปีกุน พ.ศ.2440 สิริอายุได้ 85 ปี ด้านชีวิตครอบครัวได้สมรสกับ นางลา เสนาสังข์ บุตรีของ พระเสนาสงคราม (อุปฮาดสบกรุง เสนาสังข์ ครองเมือง พ.ศ. 2410 - 2441 ) และยังมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของ พระยาเสนาสงคราม (เพีย ศรีปาก) เจ้าเมืองพุทไธสง คนแรก (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ ครองเมืองพ.ศ.2318 ถึง 2369) มีบุตรธิดารวมกัน 2 คน โดยเป็นชาย 1 คน  หญิง  1 คน คือ นายเขียนและนางจันดี ซึ่งได้ยื่นขอใช้นามสกุลจากทางราชการคือ “วรเพ็ญศิริวัฒน์ ” ภายหลังทั้งสองคนได้แยกย้ายออกไปมีครอบครัวเป็นของตนเอง มีรายละเอียดดังนี้

นายเขียน  วรเพ็ญศิริวัฒน์ (บุตรชาย) ได้สมรสกับ นางย่วน  เสนาสังข์ มีบุตรธิดาเป็นชั้น “หลานปู่”หลวงขุนพรหม ทั้งสิ้นจำนวน 6 คน (อ้างในหนังสือพงศาวลี)

และนางจันดี  วรเพ็ญศิริวัฒน์  (บุตรี) ได้สมรสกับ นายสัมฤทธิ์ ชนะหาญ (บุตรชายพ่อครูด้วง) มีบุตรธิดาเป็นชั้น “หลานตา”หลวงขุนพรหม ทั้งสิ้นจำนวน 4 คน  ประกอบด้วย

1.นางพยุงศักดิ์  (ใช้นามสกุลสามี)

2.นางพยงศรี    (ใช้นามสกุลสามี)

3.นางสุรพงษ์     ชนะหาญ (ใช้นามสกุลบิดา)

4.นายณรงค์   หลวงธาดาวรกุล (ขอใช้ราชทินนานามของคุณตา)

โดยได้รับความเมตาจากพระเถระผู้ใหญ่ คือ พระราชวิมลโมลี (ดำรง) เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา (มหานิกาย) เจ้าอาวาสวัดพายัพ (พระอารามหลวง) เป็นผู้พิจารณานำคำในราชทินนานามมาใช้ประกอบเป็นนามสกุลขึ้นใหม่และมอบให้แก่นายณรงค์ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานในชั้น“หลาน” ผู้สืบสันดาน ชั้นที่ 3 เพื่อนำไปยื่นขออนุญาตใช้เป็นนามสกุลต่อนายอำเภอพุทไธสงเมื่อปีพ.ศ. 2558 และภายหลังจากที่สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์ได้ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของพยานหลักฐานทั้งหมดครบถ้วนแล้ว นายเสรี  ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ จึงอนุญาตให้มีการจดทะเบียนใช้แก่ผู้ขอเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ณ ที่ทำการอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแบบหนังสือ ช.6 ที่ 1/2559 ด้านชีวิตครอบครัวได้สมรสกับ นางหนูเกณ หลวงธาดาวรกุล (ชาวอำเภอนาโพธิ์สกุลเดิม พาไธสง) และมีบุตรธิดาที่เป็นชั้น “เหลน” ของหลวงขุนพรหม และชั้น “ลื่อ” ของพระเสนาสงครามที่  3 (สบกรุง) จำนวนทั้งสิ้น 5 คน ประกอบด้วย

ไฟล์:ณรงค์ หลวงธาดาวรกุล.jpg

         1.นายกตตน์คณพศ  หลวงธาดาวรกุล

         2.บุตรชายไม่มีชื่อ  (เสียชีวิตในวัยเด็ก)

         3.นายแพทย์ศักดา   หลวงธาดาวรกุล

         4.บุตรชายไม่มีชื่อ (เสียชีวิตในวัยเด็ก)

         5.นางสาวอัญชนา  หลวงธาดาวรกุล

ต่อมาเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานในการประกอบพิธีสมรสพระราชทานแก่ นายแพทย์ศักดา  หลวงธาดาวรกุล บุตรชายคนกลางของนายณรงค์และนางหนูเกณ  หลวงธาดาวรกุล กับ ทันตแพทย์หญิง ปิติธิดา คงชีพ บุตรีของ พันตำรวจเอกบำรุง และนางศิริพร คงชีพ  ณ อาคารชัยพัฒนา พระราชวังสวนจิตรดา กรุงเทพมหานคร โดยมีคุณหญิงอารยา พิบูลนครินทร์ ราชเลขานุการในพระองค์เป็นผู้รับสนองพระราชบัญชา

ไฟล์:สมรสพระราชทาน 22กพ62.jpg
นายแพทย์ ศักดา และทันตแพทย์หญิง ปิติธิดา หลวงธาดาวรกุล

==หมายเหตุ : จัดทำและปรับปรุงข้อมูลไว้ ณ ที่ทำการอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2558==