โรงเรียนลำพูนพัฒนา

แก้

ประวัติย่อของโรงเรียน

แก้
               นายนริศ  มหาพรหมวัน มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดลำพูน แต่ได้ไปเรียนหนังสือและเติบโตอยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นเวลาหลายสิบปี 
        โดยได้ทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการหลายโรงเรียนจึงมีความคิดที่จะกลับบ้านภูมิลำเนาเดิม 
        จึงได้ปรึกษากับนางสาววิชาดา  มหาพรหมวันซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าว่าอยากจะกลับมาพัฒนาด้านการศึกษาที่ตัวเองมีความเชี่ยวชาญ 
        เหตุเพราะว่าการศึกษาเป็นความเจริญงอกงามของมนุษย์พร้อมทั้งมองไกลไปจนถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กซึ่งเป็นเยาวชนที่ต่อไปในอนาคต 
        จะได้ เติบโตกลับมาช่วยกันสร้างสรรค์สังคม บริหารงานบ้านเมืองให้เจริญถาวรสืบต่อไป 
              ดังนั้นจึงเกิดความคิดที่จะได้สร้างสถานศึกษา  เพื่อที่จะได้เป็นสถานศึกษาอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่กุลบุตร กุลธิดาในจังหวัดลำพูน และพื้นที่ใกล้เคียง ได้มีโอกาสมากยิ่งขึ้น
                   - วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ได้ซื้อที่ดิน จำนวน 12 ไร่ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน บนถนนสายเลี่ยงเมือง – ป่าซาง ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
                   - วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556 ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยนายพินิจ หาญพานิชย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเป็นประธานในพิธี
                   - วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ได้ประกอบพิธียกเสาเอก
               ในปีพ.ศ. 2557 โรงเรียนลำพูนพัฒนาได้ขออนุญาตเปิดทำการสอน ตั้งแต่ระดับชั้น ปฐมวัย ถึงระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โดยในปีการศึกษาแรกนี้ ได้เปิดรับสมัครตั้งแต่ ระดับชั้น อนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยมีนางสาววิชาดา  มหาพรหมวัน เป็นผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการ และนายนริศ  มหาพรหมวัน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ

จำนวนพื้นที่ และอาคารเรียนและอาคารประกอบ

แก้
               1.	อาคารเรียน	ขนาด 18 ห้องเรียน
               2. โรงอาหารและห้องพยาบาล	
               3. ห้องประชุม ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์	
               4. ห้องบริหารและธุรการ	
               5. อาคารป้อมยาม	
               6. ห้องพัสดุ	
               7. บริเวณที่พักนักเรียน	

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน (VISION)

แก้
               โรงเรียนลำพูนพัฒนา มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย และเป็นพลเมืองโลก
ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน มีความสามารถในการใช้ภาษา ก้าวทันเทคโนโลยีสู่ความเป็นสากล และดำรงตนอยู่ในสังคม
อย่างมีความสุข รวมทั้ง เจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ

ปรัชญาของโรงเรียน (MOTTO)

แก้
                          	“ยึดมั่นคุณธรรม  เลิศล้ำวิชาการ  มาตรฐานกิจกรรม  นำสู่สากล”

พันธกิจ (MISSION)

แก้
                 1. ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอนุรักษ์ และสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
                 2. ส่งเสริมให้นักเรียนมีความเป็นเลิศทางวิชาการ ภาษาและเทคโนโลยี
                 3. ส่งเสริม พัฒนา ครูและบุคลากรสู่ความเป็นมืออาชีพ 
                 4. พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและหลักธรรมาภิบาล 
                 5. ส่งเสริมความสัมพันธ์กับชุมชนและสนับสนุนการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

เป้าหมาย (GOAL)

แก้
                 1. นักเรียน และบุคลากรมีคุณธรรม จริยธรรมค่านิยมที่ดีงาม มีความเป็นประชาธิปไตย ปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ
                 2. นักเรียนมีจิตสำนึกในความเป็นไทย สามารถสืบสานวัฒนธรรมไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
                 3. นักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและภูมิคุ้มกันที่ดี สามรถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
                 4. นักเรียนได้รับการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ และพัฒนาความสามารถเต็มตามศักยภาพเป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
                 5. นักเรียนมีทักษะการใช้ภาษาอย่างน้อย 3 ภาษา และสามารถใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน และการสืบค้นข้อมูล
                 6. ครูและบุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ
                 7. โรงเรียนมีการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และหลักธรรมาภิบาลอย่างเป็นระบบ
                 8. โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่สะอาด ร่มรื่น สวยงาม ปลอดภัย ทันสมัย ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และการปฏิบัติงาน
                 9. โรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาสภาพแวดล้อม ตลอดจนสนับสนุนการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น