กุ้งดีดขัน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
อันดับฐาน: Caridea
วงศ์ใหญ่: Alpheoidea
วงศ์: Alpheidae
Rafinesque, 1815
สกุล

กุ้งดีดขัน (SNAPPING SHRIMP) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alpheaus euphrosyne

Snapping shrimps จัดอยู่ในวงศ์ Alpheidae (เดิมจัดอยู่ในวงศ์ Crangonidae) จัดอยู่ในสกุล Alpheus รวมทั้งสกุลอื่นๆ อีก 4-5 สกุล เฉพาะสกุล Alpheus มีรายงานว่าพบในประเทศไทย 35 ชนิด ในจำนวนนี้พบเฉพาะที่อ่าวไทย 8 ชนิด เฉพาะในทะเลอันดามัน 5 ชนิด และพบอาศัยอยู่ในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน 22 ชนิด ซึ่งกุ้งดีด ใช้เรียกกุ้งในสกุลนี้ที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง และตามพื้นทรายในแนวน้ำขึ้นน้ำลง บนหาดทรายหรือตามกองหินและกลุ่มสาหร่ายทะเลริมฝั่ง เวลาน้ำลงกุ้งจะขุดรูฝังตัวอยู่ในพื้นทราย สีของตัวกุ้งจะเปลี่ยนไปตามสีของแหล่งที่อยู่เพื่อประโยชน์ในการพรางตาศัตรูและเหยื่อ ตามหาดทรายที่มีน้ำใสกุ้งจะมีลำตัวขาวซีด และมีจุดสีคล้ำ ชนิดที่มีความสำคัญเช่นชนิด Alpheus sublucanus, A. deuteropus ฯลฯ

ความสำคัญ

กุ้งดีดขันมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวแตกต่างจากกุ้งทั่วไปคือ ตอนหัวค่อนข้างกว้างเรียวไปทางปลายทาง ขาเดินคู่แรกเป็นก้ามหนีบขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีขนาดใหญ่เพียงข้างซ้ายหรือข้างขวาเพียงข้างเดียวเท่านั้น อีกข้างหนึ่งมีขนาดเล็กเท่าๆ กับก้ามปรกติ ก้ามนี้จะดีดกันทำเสียงดังกริ๊กๆ ได้ เพื่อบีบให้น้ำพุ่งเข้าใส่ศัตรูตกใจหนีไปหรือเหยื่อตกใจจนช็อกนิ่งอยู่กับที่ กุ้งดีดบางชนิดอาศัยอยู่เป็นคู่ในรูซึ่งมีปลาบางชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมด้วย ปลาว่ายน้ำได้เร็วกว่าและออกหากินไกลกว่า จะเห็นอันตรายที่มาถึงได้ก่อน ซื่งจะช่วยเตือนให้กุ้งรู้ แล้วหลบลงในรูได้ทันเวลา ในขณะที่ปลาก็ได้อาศัยอยู่ในรูของกุ้งดีดเป็นการตอบแทน กุ้งดีดหลายชนิดในต่างประเทศมีความสำคัญในด้านการประมง นิยมใช้เป็นอาหารกันมาก เช่น ชนิด Alpheus euphrosyne ในบังคลาเทศ ชนิด A. digitalis ในจีนและออสเตรเลียตอนเหนือ และชนิด A. japonicas ในจีนและญี่ปุ่น[1]

ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของสัตว์ชนิดนั้นกับญาติ การเกิดสปีชีส์ของกุ้งที่ต่างกัน 6 สปีชีส์ จากเดิมที่มีเพียงสปีชีส์เดียว แต่การเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนขยับของแผ่นทวีป ทำให้กุ้งเหล่านี้ถูกแยกจากกัน โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ และต่างก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเมื่อเวลาผ่านไป ลักษณะความแตกต่าง จึงเพิ่มขึ้นเรื่อยจนไม่อาจผสมพันธุ์กันได้อีก เกิดเป็นกุ้งต่างสปีชีส์ขึ้น (Allopatric Speciation)[2]

การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการด้านต่างๆของสัตว์ชนิดนั้น กุ้งดีดขัน มีการพัฒนาให้ก้ามข้างหนึ่งที่ใหญ่กว่าอีกข้าง เพื่อใช้ในการล่าเหยื่อ โดยกล้ามเนื้อจะปิดอย่างรวดเร็วและจะพ่นน้ำภายในออกมาใส่ศัตรู โดยเปลี่ยนจากฟองอากาศให้เป็นไอ จึงเป็นสาเหตุของการเกิดเสียง[3] กุ้งดีดขันบางชนิดอาศัยร่วมกับปลาบู่ โดยให้ปลาบู่อาศัยในรูของกุ้งดีดขัน ส่วนกุ้งดีดขันจะได้หลบหลีกศัตรูได้ทัน เนื่องจากปลาส่งสัญญาณให้[4]

References

  1. http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=42&i2=2
  2. http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter2/p1.html
  3. http://www.dosits.org/audio/marineinvertebrates/snappingshrimp/
  4. I. Karplus1, R. Szlep, Tsurnamal M.19881.Goby-shrimp partner specificity. I. Distribution in the northern Red Sea and partner specificity. Volume 51, Issue 1, 7 April 1981, Pages 1–19 http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0022098181901519