เสียงในงานสื่อสารมวลชน

แก้
             เสียงในงานสื่อสารมวลชน เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ‘ไม่รู้จัก’ เพราะเสียงเหล่านั้นอยู่รอบ ๆ ตัวเราเสมอ ไม่ว่าจะเป็น โฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์ 

การจัดรายการวิทยุกระจายเสียง การทำภาพยนตร์ การสร้างเสียงประกอบ(Sound Effect) ฯลฯ การสร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้ องค์ประกอบอย่างหนึ่ง เช่น เสียง ย่อมมีความสำคัญไม่แพ้องค์ประกอบอื่น ๆ เช่น หากท่านกำลังดูภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง แล้วมีฉากหนึ่งในเรื่องนั้นท่านประทับเป็นอย่างมาก แต่เสียงประกอบของฉากนั้นมันไม่สอดคล้องกับภาพที่ปรากฏ ความสนุกสนานในการรับชมอาจจะขาดลงได้เช่นกัน ดังนั้นหากท่านไม่ต้องการให้ผลงานของท่านเป็นเช่นนั้น การศึกษาเรื่อง “เสียง” ย่อมเป็นสิ่งสำคัญ

              เสียง เป็นคลื่นเชิงกล เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน คลื่นเสียงก็จะเกิดการอัดตัวและขยายตัว จากนั้นจะถูกส่งผ่านตัวกลาง 

เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ คลื่นเสียงจึงจัดเป็นคลื่นกล ประเภทคลื่นตามยาว เนื่องจากอนุภาคของเสียงเดินทางไปในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของเสียง กล่าวคือ เสียงจะเดินทางไปทางซ้ายหรือทางขวา อนุภาคของคลื่นเสียงก็จะเดินทางไปทางซ้ายหรือทางขวาตามคลื่นเสียงเช่นกัน

องค์ประกอบของคลื่นเสียง

แก้
 
องค์ประกอบของคลื่นเสียง

1. สันคลื่น คือ ตำแหน่งสูงสุดของคลื่น ได้แก่จุด C และ C/ 2. ท้องคลื่น คือ ตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น ได้แก่จุด D และ D/ 3. อัมปลิจูด คือ ระยะจัดสูงสุดของคลื่นวัดจากตำแหน่งสมดุล แทนด้วย A ดังรูป 4. คาบ (Period) คือ ช่วงเวลาในการสั่น 1 รอบของอนุภาค มีหน่วยเป็นวินาที แทนด้วย T 5. ความถี่ (Frequency) คือ จำนวนรอบที่อนุภาคสั่นใน 1 วินาที มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที หรือหรือ เฮิรตซ์ (Hertz , Hz) 6. ความยาวคลื่น (Wavelength) คือ ระยะทางที่คลื่นไปได้ในช่วงเวลาของ 1 คาบ แทนด้วย บางทีความยาวคลื่นคือระยะจากระหว่างจุด 2 จุดที่อยู่ถัดกัน ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน เช่น จากจุด C ถึง C/ หรือจากจุด D ถึง D/ ลักษณะที่เหมือนกัน เรียกว่า มีเฟสตรงกัน (inphase) 7. อัตราเร็วคลื่นหรืออัตราเร็วเฟส คือ ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ได้ 1 ความยาวคลื่น ในเวลา 1 คาบ (T) มีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s)

              	ซึ่งตำแหน่งที่มีผลต่อระดับความดังของเสียง คือ ตำแหน่งของแอมปลิจูด(Amplitude) กล่าวคือถ้าตำแหน่งแอมปลิจูดอยู่ในระยะการกระจัดบวก 

การกระจัดยิ่งสูง ระดับเสียงยิ่งดัง แต่ถ้าระยะการกระจัดเป็นลบ ยิ่งตำแหน่งลบมาก ๆ เสียงก็จะยิ่งเบา ตำแหน่งต่อมาที่มีผลต่อเสียงแหลม-ทุ้ม คือ ตำแหน่งของความถี่(Frequency) ซึ่งถ้าความถี่สูง ความยาวคลื่นจะสั้น เสียงในความถี่สูงจะมีเสียงที่แหลมแต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ไกล ๆ หากเปรียบเป็นการส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง ความถี่สูงจัดเป็นคลื่น FM(Frequency Modulation) คือมีความคมชัดสูง แต่ไปได้ไม่ไกล ถ้าหากความถี่ต่ำ ความยาวคลื่นก็จะยาว เสียงในแถบความถี่ต่ำจะมีเสียงที่ทุ้มต่ำ ข้อดีของมันก็คือสามารถเดินทางไปได้ไกล หากเปรียบเทียบกับการส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง คลื่นที่มีความถี่ต่ำนี้จะเป็นคลื่น AM(Amplitude Modulation) ดังนั้นความถี่กับความยาวคลื่นจะมีค่าแปรผันกันเสมอ

การประยุกต์ใช้เสียงกับงานสื่อสารมวลชน

แก้
               ในการสร้างงานไม่ว่าจะเป็น รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุกระจายเสียง การทำสื่อโฆษณา การสร้างภาพยนตร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย  

ในการสร้างความรู้สึกให้ชิ้นงานดูลึกลับ น่าค้นหา เต็มไปด้วยความหวาดกลัว สิ่งที่เรามองเห็นก็คือ ภาพในโทนดาร์ก(Dark) ที่ออกแนวดำ ๆ มืด ๆ พร้อมกับบรรยากาศวังเวง เสียงที่ควรใช้ประกอบก็ควรจะเบา จนถึงเสียงเงียบ(Silent) เพื่อสร้างอารมณ์ร่วมไปกับบรรยากาศฉาก และเมื่อเรื่องดำเนินต่อไป ตัวละครในเรื่องได้พบเจอกับบางสิ่งบางอย่าง เราควรใช้เทคนิคการเพิ่มเสียงดังขึ้นอย่างรวดเร็ว(Fade Up)ประกอบ และถ้าสิ่งนั้นผ่านไปอย่างรวดเร็ว เสียงประกอบก็ควรที่จะลดลงอย่างรวดเร็ว(Fade down) จะสามารถดึงความรู้สึก ตกใจให้กับชิ้นงานดังกล่าวได้

               การจัดรายการเพลงทางวิทยุกระจายเสียง DJ(Disc Jockey) ก็ควรรู้เกี่ยวกับศัพท์ทางเทคนิค เพื่อที่การจัดรายการจะได้ดูมีสีสัน 

การเปิดรายการเพลงทางวิทยุกระจายเสียง หลาย ๆ คนนิยมใช้เพลงในการเปิดรายการ แต่เมื่อเพลงนั้นจบ เราก็ควรมีเทคนิคการลดเสียงที่เรียกว่า Fade out คือ การค่อย ๆ ลดความดังของเสียงลง จนกระทั่งไม่ได้ยินเสียงอีกต่อไป จากนั้น DJ ก็เริ่มพูดเพื่อเปิดรายการเป็นลำดับต่อไป หากไม่ Fade out เพลงสุดท้ายก่อนเริ่มพูดเปิดรายการ จังหวะของเชื่อมระหว่างเสียงเพลงกับเสียงพูดอาจจะดูโดด ขัดหู ไม่กลมกลืนกัน

               เทคนิคต่อมา  cross fade คือ การลดระดับเสียงต่าง ๆ ได้แก่ เสียงดนตรีหรือเสียงพูด (เสียงที่ 1)ค่อย ๆ จางหายไป ขณะที่เสียงที่ 2 ค่อย ๆ ดังขึ้นมาติด ๆ กัน 

เช่น เมื่อ DJ พูดแนะนำเพลงจบ ก็จะ Fade out เสียงที่ DJ พูดลง พร้อมกับ Fade in(การนำเสียงจากไม่มีเสียงเข้ามาด้วยวิธีค่อย ๆ เพิ่มทีละน้อย จนดังเป็นเสียงระดับปกติ) เสียงเพลงที่ DJ แนะนำขึ้นมา เพื่อให้การดำเนินรายการเป็นไปอย่างกลมกลืน ไม่มีสะดุด

               การเลือกใช้เสียงให้เหมาะสมกับชิ้นงานนั้น ทำให้งานเป็นที่น่าจดจำ มีจังหวะการดำเนินเรื่อง มีความรู้สึกคล้อยตามเรื่องและเรื่องราวดูมีชีวิตชีวา 

ดังนั้นในการสร้างสรรค์ผลงานควรเลือกใช้เสียงและเทคนิคให้เหมาะสม