ประวัติศาสตร์ชนชาติม้งจากการศึกษาของนักวิชาการ

ดร.ลิ ติ่ง กุย (Dr.Li Ting Gui) อ้างโดยเลอภพ (2536) ได้สรุปว่าการอพยพครั้งใหญ่ๆในอดีตของชนชาติม้งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 4 ครั้งด้วยกันคือ

ครั้งที่ 1 อพยพออกจากบริเวณทางใต้ของสองฝั่งแม่น้ำเหลือหรือแม่น้ำฮวงโห (Southern Poition of the Yellow River)

ไฟล์:KingChiyou.GIF
กษัตริย์ “ชิยู” (Chiyou)

ราวๆ 5,000 ปีที่ผ่านมา ม้งได้อาศัยอยู่ 2 ฝั่งทางตอนใต้ของแม่น้ำเหลือง ในขณะนั้นม้งมีชื่เรียกว่า จู่ลี่ (Tyuj Liv) ชนกลุ่มจู่ลี่นี้เป็นชนกลุ่มแรกที่รู้จักใช้ทองสัมฤทธิ์(Brouze) รู้จักปลูกข้าว และการเลี้ยงปลาในนาข้าว ประชากรทุกคนมีความผาสุขภายใต้การปกครองของกษัตริย์ “ชิยู” (Chi Yu) ในขณะเดียวกันได้มีชนกลุ่มหนึ่งคือ “ชาวฮั่น” (Huaj) ได้อพยพมาจากทางทิศตะวันตกเข้ามาอยู่ในบริเวณของชนชาติจู่ลี่ ผู้นำของชนกลุ่มฮั่นคือ ฮั่นหย่า (Hran Yuan) ทั้งสองกลุ่มนี้อยู่ด้วยกันไม่นาเกิดความขัดแย้งกันจนถึงขั้นสู้รบกัน ผลสุดท้ายชนชาติจู่ลี่พ่ายแพ้แก่ชนชาติฮั่น ทั้งนี้เพราะชนชาติฮั่นมีประชากรเยอะกว่า ในขณะที่ชนชาติจู่ลี่เป็นเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา จึงได้ถอยร่นลงมาทางใต้ใกล้กับแม่น้ำแยงซี (Tangrse River)

ครั้งที่ 2 อพยพออกจากบริเวณปกครองม้ง (San Miao)

หลังจากที่ชาวจู่ลี่ได้อพยพลงมาทางตอนใต้ ได้มีการรวมกับชนพื้นเมือง “ซานเมียว” (San Miao) ขึ้น ชาวม้งและชนพื้นเมืองมีความรักใคร่อย่างแน่นแฟ้น ชาวม้งจึงเรียกกลุ่มนี้ว่า “จีน”(Suay) แต่กลุ่มฮั่นยังคงติดตามมารุกรานคอยทำร้ายฆ่าฟันชาวม้งหรือจู่ลี่อยู่เรื่อยๆ ชาวม้งจึงได้แตกออกเป็น 3 กลุ่ม หนีลงทางใต้ ในปัจจุบันนี้คือ มณฑลกวางสี (Guang – ti) มรฑลกวางโจและมณฑลยูนาน (Yuu-nan) อีกส่วนหนึ่งหนีร่นลงมาทางตะวันตกมุ่งหน้าไปยังซานเหวย (San Wei) ซึ่งกลับกับประเทศมองโกเลีย และตอนหลังก็ได้อพยพลงมาอยู่ในมณฑลยูนาน (Yuu-nan)

ครั้งที่ 3 อพยพออกจากการปกครองของกษัตริย์จู (Chou Kingdom/Chou State)

ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสตกาลประชาชนได้แก่กลุ่มชน 7 กลุ่ม ซึ่งแยกตัวเองออกเป็นประเทศปกครองและในจำนวน 1 ใน 7 ประเทศเหล่านั้น มีม้งเป็นประเทศหนึ่ง มีกษัตริย์ชื่อว่า “จู” ซึ่งมีอยู่สองคนในตระกูลซังหรือแซ่โซ้ง คนที่หนึ่งชื่อ “ชงยี่” คนที่สองชื่อ “ซงจี” ปีค.ศ. 221 ได้มีชนกลุ่มชิน (Chin) ได้เข้ามาต่อสู้แย่งชิงประเทศของกษัตริย์จูจนพ่ายแพ้ ชาวม้งได้แตกระส่ำระสายไปตามที่ต่างๆ มีกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นต่อสู้ อีกกลุ่มหนึ่งถอยร่นลงไปอยู่กับกลุ่มม้งในมณฑลกวางโจ เสฉวน และมณฑลยูนาน ต่อมาในปี ค.ศ. 1640 – 1919 ได้มีชาวม้งกลุ่มหนึ่งอพยพลงมาอยู่ในกลุ่มประเทศอินโดจีน(Indochina) ทางตอนใต้ของจีนซึ่งก็ได้แก่กลุ่มประเทศเวียตนาม ลาว และไทย

ครั้งที่ 4 ค.ศ. 1970 –1975 การอพยพออกจากประเทศลาว

ระบบการปกครองคอมมิวนิสต์ได้แผ่ขยายสู่กลุ่มประเทศอินโดจีน ทำให้กลุ่มม้งในลาวต้องแตกกระจายไปทั่วโลก การอพยพของชนชาติม้งในครั้งนี้นับได้ว่ามากที่สุดและอพยพไปไกลที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของชนชาติม้ง ชาวม้งมากมายได้อพยพย้ายไปอาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศศ ออสเตรเลีย แคนาดา อาร์เจนตินา ฝรั่งเศส และอิตาลี

การอพยพเข้าสู่ประเทศไทย

ชนชาติม้งกลุ่มแรกที่อพยพเข้าสู่ประเทศไทยนั้นไม่มีหลักฐานใดๆบ่งชี้ได้ชัดเจนแต่จากเอกสารของสถาบ้นวิจัยชาวเขาคาดว่าเริ่มต้นอพยพเข้ามาทางตอนเหนือของประเทศไทย ในราวปี พ.ศ. 2387 – 2417 จุดที่ชนเผ่าม้งเข้ามามีอยู่ด้วยกัน 3 จุดคือ

จุดที่ 1

เข้ามาทางห้วยทราย – เชียงของ อำเภอ เชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือสุด เป็นจุดที่เข้ามาก่อน และเข้ามามากที่สุด หลังจากนั้นแยกย้ากระจัดกระจายไปตามแนวทองของเส้นเขามุ่งไปทางทิศตะวันตกสู่จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตากและสุโขทัย

จุดที่ 2

เข้ามาทางไชยบุรี ปัว และทุ่งช้าง เขตอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน แล้วบางกลุ่มได้อพยพลงสู่ทางใต้และทางตะวันตกเข้าสู่จังหวัดแพร่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และจังหวัดตาก

จุดที่ 3

เข้าทางภูคา – นาแห้ว และด่านซ้าย อำเภอนาแห้ว และอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย แล้วบางกลุ่มได้เข้ามาสู่จังหวัดเพชรบูรณ์ในที่สุด (สุนทรี, 2524 : อ้างโดยประสิทธิ์, 2531)

นอกจากทั้งสามจุดนี้แล้ว จุดหนึ่งที่ชาวม้งได้อพยพผ่านมาแต่ไม่มีใครกล่าวถึงคือ เข้ามาทางอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยผ่านมาทางประเทศพม่า ช่องดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขันกันว่า ม้งกลุ่มนี้คือกลุ่มที่หลงทางจากการอพยพจากจุดที่1 ส่วนสาเหตุของการหลงทางครั้งนี้จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่ากล่าวไว้ว่ากลุ่มม้งที่อพยพมาก่อนเกิดความไม่ซื่อเมื่อมาถึงทางแยก(สองแพร่ง) ได้นำกิ่งไม้ขวางทางเส้นที่ตนเดินผ่าน กลุ่มหลังตามมาเข้าใจว่าทางที่นำกิ้งไม้มาขาวงนั้นมิใช่เส้นทางที่กลุ่มก่อนอพยพผ่าน จึงอพยพผ่านอีกเส้นทางหนึ่งซึ่งขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คือมุ่งเข้าสู่ประเทศพม่าตอนใต้ กลุ่มนี้มีน้อยได้กระจายสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ