Thai 43202 Research 
           Review Research Education Thai Programmed Lesson Th 43202 agree in Chulalongkorn University evaluation look at 02 09 2007:
           1. ชื่อเรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยระหว่างวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43202 กับวิธีการสอนแบบปกติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง อำเภอบางพลี ี จังหวัดสมุทรปราการ
           2. ผู้วิจัย นายรังสรรค ์ กลิ่นแก้ว
           3. สถานที่ติดต่อ โรงเรียนพุ ทธจักรวิทย า 728/2 ถ. พระรามที่ 4 แขวงสี่พระ ยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทร. 0868915381
           4. ปีที่ทำวิจัย 2548
           5. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 
           มาตรฐานการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยไม่สมบูรณ์ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนการสอน หนังสือเรียน หนังสือแบบ ฝึกหัด หนังสือนอก เวลาไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ตำรา คู่มือครูไ ม่ทันสมัย นักเรียนเรียนรู้ช้า นักเรียนเรียนนอกเวลา เรียนไม่ได ้ ความสามารถไม่สามารถทบทวนได้ สอนซ่อมเสริมไม่ถูกต้อง ครูเป็นผู้ควบคุมการเรียนของนักเรียน ครูเป็นผู้ดำเนินการเสียเอง เป็นผู้ป้อนความรู้ให้แก่นักเรียนเป็นผู้กำหนดว่านักเรียนควรรู้อะไร ควรเรียนอะไร จุดอ่อนคือ ครูบังคับให้ทุกคนต้อ งเรียนรู้ในอัตราความสามารถที่ ท่ากันด้วย วิธีเดียวกัน ตัดสินใจให้นักเรียนเองทุกอย่างว่าจะต้องทำอะไร เมื่อไร และอย่างไร ภาษาเป็นวัฒนธรรมผูกพันความเป็น ชาติภาษาจึงมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสังคมและประเทศชาติ (ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ , 2523, หน้า 2-3) กล่าวว่าชาติต้องมีภาษาของตนเอง การขาดภาษาเป็นการขาดเอกลักษณ์ที่สำคัญยิ่งความจำเป็นที่แท้จริงคือการมีภาษาที่สื่อสารได้สะดวกกันทั้งชาติ ดังนั้น การสอนภาษาของชาติจึงควรได้รับความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในวงการ ศึกษา การสอนภาษาไทยให้ได้ผลดี ผู้สอนต้องปูพื้นฐานในด้านทักษะทางภาษา ฟัง พูด อ่าน และเขียน เป็นเครื่องให้นักเรียนใช้ภาษาได้ถูกต้องตามที่ประสบการณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ครูจึงมีหน้าที่สอนให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถทางภาษาไทยจน นำไปศึกษาว ิชาแขนงต่าง ๆ เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ในสาขาวิทยาการอื่น ๆ และนำไปประกอบอาชีพได้ (สนม ครุฑเมือง, 2521, หน้า 3) ภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความเป็นนามธรรมมีสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จะต้องใช้ทักษะทางภาษาอย่างมีวิจารณญาณต้องศึกษาไปตามลำดับอย่างมีกระบวนการ โดยที่นักเรียนจะต้องมีทักษะขั้นพื้นฐานจึงจะโยงไปยังทักษะที่สูงกว่าต่อไป ในการสอนภาษาไทยพบว่านักเรียนมีความยุ่งยากมีปัญหาในการเรียน ยังมีความคิดเป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรมทำให้เกิดความสับสนในการเรียนวิชาภาษาไทย ปัญหาของนักเรียนดังกล่าวควรได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไปเป็นลำดับขั้น มิฉะนั้นปัญหาเหล่านี้จะเป็นผลท ำให้พื้นฐานทางวิชาภาษาไทยของนักเรียนล้มเหลว และจะเป็นผลในการเรียนระดับสูงต่อไป
           ดังนั้น ในการสอนวิชาภาษาไทยถ้านักเรียนไม่มีทักษะทางภาษาอาจจะส่งผลไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความล้มเหลวในการเรียนวิชาภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา โดยทั่วไปพบสาเหตุมาจากวิธีการสอนของครูส่วนใหญ่ยังยึดการสอนแบบบรรยาย ซึ่งเป็นการป้อนเนื้อหาวิชาให้นักเรียนเพียงอย่างเดียว เพื่อจะได้สอนทันตามท ี่กำหนดไว้ ในหลักสูตร โดยไม่คำนึงถึงตัวผู้ เรียนว่าจะ เกิดการเรี ยนรู้หรือไม่มากน้อยเพียงไร (บุญทัน อยู่ชมบุญ, 2529, หน้า 46-47) ผลจากการสอนนี้เองทำให้ผู้เรียน เกิดความท้อถอยหมดความพยายามที่จะเร ียนต่อไป นอกจากนี้ความสามารถหรือสติปัญญาทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนแต่ละคนยังแตกต่างกัน นักเรียนที่เรียนเก่งหรืออยู่ในระดับปานกลางก็จะสามารถสนองตอบต่อวิธีการสอนของครูได้ ส่วนนักเรียนเรียนช้าค่อย ๆ ไปก็จะไม่สามารถเรียนตามได้ทัน โดยเฉพาะนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นต้องมีการประเมินผลโดยการสอบปลายภาคเรียน เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป จึงเป็นการสมควรอย่าง ยิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องวางรากฐานความรู้ภาษาไทยให้กับนักเรียน โดยต้องแก้ไขปัญหาวิธีการสอน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น วิธีการหนึ่งที่ผู้วิจัยเชื่อว่าน่าจะนำเข ้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการสอนวิชาภาษาไทยให้ได้ผลดีก็คือ การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย เพราะบทเรี ยนสำเร็จรูปภาษาไทยสามารถช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเรียนด้วยตนเอง โดยไม่ต้องคอยเรียนไปพร้อม ๆ กัน สามารถสนองความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี ผู้ที่เรียนเก่งเรียนได้เร็วก็สามารถเรียนบทเรียนให้จบก่อนได้ ส่วนผู้ที่เรียนช้าก็เรียนไปตามความสามารถและความต้องการได้โดยที่บรรลุเป้าหมายของการเรียนเหมือนกัน การนำบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยมาใช้ช่วยประกอบการสอนนี้จะช่วยแบ่งเบาภาระในการสอนของครูทำให้ครูมีเวลาว่างที่จะเตรียมบทเรียนค้นคว้าสิ่งที่เป็นประโยชน์มาเพิ่มเติมให้แก่นักเรียนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูหรือช่วยแก้ปัญหาการเพิ่มนักเรียนมีจำนวนมากเกินกว่าความรับผิด ชอบของครูที่จะดูแลได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย (วิจิตร ศรีสอ้าน, 2512) จากปัญหาของการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย และข้อดีของบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย ผู้วิจัยต้องสร้างบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย ท 43202 สำหรับใช้สอนนักเรียนในระดับชั้ นมัธยมศึกษ าปีที่ 6 เพื่อช่วยแ ก้ปัญหาในก ารเรียนการ สอนภาษาไทย และคาดว่า การวิจัยนี ้น่าจะมีส่ วนกระตุ้นใ ห้ครูผู้สอ นได้ทำการศ ึกษาและสร้ างบทเรียนส ำเร็จรูปภา ษาไทย ที่จะเป็นป ระโยชน์ต่อ การศึกษา เป็นการเปิ ดโอกาสให้น ักเรียนได้ ศึกษาด้วยตนเอง ฝึกทักษะฟัง พูด อ่าน และเขียน ในการสื่อสารยังเป็นการแบ่งเบาภาระของครูอีกทางหนึ่งด้วย ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความแตกต่างระหว่างบุคคลนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการรับรู้และเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ต่างกัน แต่เวลาเรียนจำกัด สื่อที่สามารถสนองตอบต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี คือ บทเรียนสำเร็จรูปสอดคล้องกับความคิดของ Bloom (1976, p. 125) ที่เสนอแนะข้อบกพร่องของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพราะเป็นการแก้ไขตัวแปรด้านความถนัดของนักเรียนแต่ล ะคนที่ไม่เหมือนกันให้ลดลงได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะสร้างบทเรียนสำเร็จรูปขึ้นมาใช้ประกอบก ารสอนวิชาภาษาไทย ท 43202 เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้มีการเรียนเพิ่มเติม และสามารถเรียนได้ด้วยตนเองจนสามารถบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเ รียนตามที่กำหนดไว้ในจุดประสงค์การสอน
           ปัญหาเชิงทดลอง ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระคือวิธีการสอน และตัวแปรที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ต่อการวิจัย คือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยหลักจิตวิทยาแล้วนักเรียนสามารถเรียนได ้ด้วยตนเอง ตัดสินใจเรียนอะไรที่เขาต้องการเอง ผู้เรียนสามารถสร้างจุดประสงค์ในการเรียนรู้สามารถหาแหล่งวิชาทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง จุดประสงค์ของการสอนก็คือให้ผู้เรียนมีอิสระเต็มที่เป็นตัวของตนเอง ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และให้ความช่วยเหลือเท่านั้นเป็นวิธีการสอนแบบบท เรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43202
           6. วัตถุประสงค์การวิจัย 
                6.1 เพื่อสร้างบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43202 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80
                6.2 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยที่สอนด้วยวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43202
                6.3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยระหว่างวิธีกาสอนแบบบทเ รียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43202 กับวิธีการสอนแบบปกติ ชันมัธยมศึกษาปีที่ 6
           7. วิธีดำเนินการวิจัย/นวัตกรรมการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยระหว่างวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43202 กับวิธีการสอนแบบปกติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีขั้นตอนวิธีการวิจัย ดังนี้ การออกแบบการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การสร้างบท เรียนสำเร็จรูปภาษาไทย ท 43202 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติ
           8. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการวิ เคราะห์แสดงให้เห็นว่าค่าทีเรโซ (t-ratio) ที่คำนวณได้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษา ไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43202 กับวิธีการสอนแบบปกติ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ร ะดับ 0.05 และพบว่ากลุ่มที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ
           9. สรุปและอภิปรายผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยระหว่างวิธีกาสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43202 กับวิธีการสอนแบบปกติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยอมรับสมมติฐานว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43202 สูงกว่าการเรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ
           บทคัดย่อ
           การวิจัยครั้งนี้มีวั ตถุประสงค์ เพื่อที่จะเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ท 43202 ระหว่างวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพิ่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43202 กับวิธีการสอนแบบปกติ 
           ประชากรที่ศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง จำนวน 119 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง ่าย (simple random sampling) จำนวน 74 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม จำนวน 37 คน เรียนวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43202 กลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม จำนวน 37 คน เรียนวิธีการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.25/83.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบค่าที (t-test)
           ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43202 สูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
           ABSTRACT 
           The purposes of this research were to comparative achievement between Thai communication and searching programmed lesson Th 43202 method and conservative method.
           The research population was comprised of 74 Mathayom Suksa 6 students at Bangpleeratbamrung School who were enrolled in the second semester of the academic year 2005. The research population was selected through an application of the simple random sampling method to a sample population of 119 students. The research population was equally divided into an experimental and a control group for purposes of investigation. The experimental group consisted of 37 students studied the Thai communication and searching programmed lesson Th 43202. The 37 students of the control group studied the Thai in the traditional classroom conservative. The research tool was an academic achievement test having an efficiency level of 81.25/83.00. The data was analyzed using the t-test technique.
           The findings indicate that the academic achievement of those studying the Thai by means of the Thai communication and searching programmed lesson Th 43202 method had a higher level of academic achievement at the statistically significant level of 0.05 than those studying the Thai in the traditional classroom conservative method.