ผู้ใช้:Kkuarchive/กระบะทราย

พิมล กลกิจ

แก้

เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 12 แรม 2 ค่ำ ปีฉลู พ.ศ.2456  ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2456 สถานที่เกิดคือบ้านในตลาดล่าง ตำบลพระปฐม  อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม เดิมชื่อ “กิมเฮี้ยน”  เปลี่ยนเป็น “พิมล”  โดยนายกรัฐมนตรี จอมพล ป.พิบูลสงคราม  เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2481[1]

ชีวิตส่วนตัว

แก้

พ.ศ.2491  สมรสกับนางสาวไสวแข  สุขุม เป็นบุตรของ  นายสิงห์โต และนางสอางค์  สุขุม (บุตรของพระยาสมบัติภิรมย์ พี่ชายของพระยายมราช) มีบุตรชาย 3 หญิง 1 คน  ได้แก่

  • พ.ศ.2492  นางวิมลา ไตรทศาวิทย์ (สมรสกับนายพีรพล  ไตรทศาวิทย์  ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย  มีบุตรชาย 3 คน)
  • พ.ศ.2493  พันโทนารท  กลกิจ (สมรสกับนางสาวพรรณทิพย์  กรุงแก้ว) มีบุตรหญิง 1 คน พันตำรวจโทนกุล  กลกิจ (สมรสกับนางสาวสุพรรณ  เพียรกุศล) มีบุตรหญิง 1 คน

บุตรคคู่นี้เป็นแฝดชาย  อายุห่างกัน 15 นาที

  • พ.ศ.2514  นายชาลี กลกิจ[1]

การศึกษา

แก้
  • พ.ศ.2463 - 2470  โรงเรียนสตรีวิทยา - บำรุงวิทยา  จังหวัดนครปฐม จนจบชั้น ม.4
  • พ.ศ.2471 - 2472  โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย  นครปฐม จบชั้น ม.6
  • พ.ศ.2473 - 2474  วชิราวุธวิทยาลัย  จบชั้น ม.8
  • พ.ศ.2475 - 2478  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์  ในแผนกวิทยาศาสตร์  ด้วยทุนของกระทรวงศึกษาธิการ  จบปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) ทางคณิตศาสตร์รุ่นแรก
  • พ.ศ.2481 - 2485  ทุนบริติชเคานซิลรุ่นแรกไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ  วิชาฟิสิกส์  มหาวิทยาลัยลิเวอรพูล  สำเร็จปริญญา B. Sc. และ M. Sc. (Qualifying Exam) และถูกเรียกกลับประเทศไทยโดยเรือแลกเปลี่ยนเชลยศึก (ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2)[1]

การอุปสมบท

แก้

พ.ศ.2486 ได้อุปสมบท ณ วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม และเข้าศึกษานักธรรมที่วัดกลางบางแก้ว นครชัยศรี  เป็นเวลาหนึ่งพรรษา  ได้รับฉายาว่า “สุวิชาโน”

ตำแหน่งหน้าที่ราชการ เกียรติคุณที่ได้รับ

แก้
  • พ.ศ.2479 1 เมษายน รับราชการในแผนกฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาฯ  ในตำแหน่งอาจารย์ผู้ช่วย  อัตราเงินเดือน 110 บาท  และเป็นอาจารย์ผู้ควบคุมกีฬา  คณะกรรมการสโมสรจุฬาฯ  จนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2481  อนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษจนกลับมารับราชการต่อ 2485
  • พ.ศ.2487  อยู่ในคณะอาจารย์ที่ไปก่อสร้างมหาวิทยาลัย จุฬาฯ ที่ป่าแดง  จังหวัดเพชรบูรณ์
  • พ.ศ.2488 - 2494 อยู่ในระหว่างก่อตั้งชุมนุมวิทยาศาสตร์ และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  มีการจัดแสดงทางวิทยาศาสตร์ประจำปี  และก่อตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
  • พ.ศ.2495 - 2496  รัฐบาลให้องค์การสหประชาชาติ  ว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม (UNESCO) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศส  ขอยืมตัวไปเป็นผู้อำนวยการ  การแสดงวิทยาศาสตร์เคลื่อนที่สำหรับเอเซีย
  • พ.ศ.2496 - 2497  จุฬาฯ เรียกตัวกลับให้รับราชการในมหาวิทยาลัยต่อ
  • พ.ศ.2498 - 2502 รัฐบาลให้องค์การยูเนสโกขอยืมตัวอีกครั้งหนึ่ง ให้ไปเป็นผู้ชำนาญการของโครงการการสอนวิทยาศาสตร์ประจำที่สำนักงานใหญ่  กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
  • พ.ศ.2503  ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์  ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาฯ
  • พ.ศ.2504 ทุนฟุลไบรต์ ให้นำนักเรียนที่ชนะการประกวดโครงการวิทยาศาสตร์ไปร่วมการแสดงโครงงานการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ณ สหรัฐอเมริกา  ที่เมืองแคนแซส  รัฐมิสซูรี่ ต่อจากนั้นอีก 4 เดือน อเมริกันเคานซิลทางการศึกษา  ให้ทุนดูงานการบริหารมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ  โดยเฉพาะปัญหาต่าง ๆ ของนิสิต  นักศึกษาตามมหาวิทยาลัยต่างแบบ  ต่างระบบประมาณ 40 สถาบัน
  • พ.ศ.2505 - 2507  จุฬาฯ ให้ไปประชุมเรื่อง การสอนวิทยาศาสตร์ที่ประเทศอินเดีย และกระทรวงศึกษาฯ ให้เป็นผู้แทนทางฝ่ายวิทยาศาสตร์  ไปประชุมใหญ่สามัญของยูเนสโกที่กรุงปารีสในปี 2505 และปี 2507
  • พ.ศ.2509 - 2518  รัฐบาลให้โอนไปเป็นรองอธิการบดี  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  และเป็นอธิการบดีตั้งแต่  2512 - 2518
  • พ.ศ.2511  เป็นประธานรุ่นที่ 21  การสัมมนานักบริหารของสถาบันนิดา (NIDA)
  • พ.ศ.2512 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางนิติศาสตร์ (Doctor of   Laws  LL. D.) จากมหาวิทยาลัยแมนิโตบา  ประเทศแคนาดา
  • พ.ศ.2516 ได้รับปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วท.ด) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ.2516 - 2517  เป็นประธานคณะกรรมการการร่วมมือทางเทคโนโลยีระหว่างไทย - อเมริกา (TATCA)
  • พ.ศ.2518 - 2519 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นวุฒิสมาชิก  รัฐสภา
  • พ.ศ.2520 ได้รับปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วท.ด) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พ.ศ.2524  รับพระราชทานเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณของแผนกฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์  จุฬาฯ
  • พ.ศ.2534  เป็นนักวิทยาศาสตร์อาวุโสดีเด่นประจำปี
  • พ.ศ.2536 เป็นกรรมการบัญญัติศัพท์วิทยาศาสตร์ของราชบัณฑิตยสถาน
  • เป็นที่ปรึกษาสมาคมฟิสิกส์ไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  และมูลนิธิเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้
  • ปฐมาภรณ์ช้างเผือก  (ป.ช.)
  • ปฐมาภรณ์มงกุฎไทย  (ป.ม.)
  • ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ  (ต.จ.ว.)

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 80 ปี ศาสตราจารย์ ดร.พิมล กลกิจ 14 พฤศจิกายน 2536 / [สมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น] [กรุงเทพฯ] : วรรณมิตร : เพื่อนชีวิต, [2536].